บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คำสั่ง "ยิ่งลักษณ์" อัมพาต ทักษิณ-บรรหาร-บ้าน 111 หน่วยชูชีพ-กู้ภัยน้ำท่วมรัฐบาล

ประชาชาติธุรกิจ
ภาพ-การบัญชาการแก้ปัญหาน้ำท่วมประเทศไทย ในนาม 5 พรรคร่วมรัฐบาล 299 เสียง

ยังมีเฉพาะภาพ "พรรคเพื่อไทย"

ทั้ง ที่ทำเนียบรัฐบาล-ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ดอนเมือง ทั้งคณะกรรมการเฉพาะหน้า มีแต่หน้ารองนายกรัฐมนตรี-รัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย

มือซ้าย-มือขวา ของ น.ส.ยิ่งลัษณ์ ชินวัตร จึงมีเฉพาะ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ปฏิบัติงานควบคู่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

ทั้ง ๆ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์-กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ก็อยู่ในการกำกับของรัฐมนตรีจาก พรรคชาติไทยพัฒนา ของ นายบรรหาร ศิลปอาชา

กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ดูแลนิคมอุตสาหกรรม อยู่ในการกำกับของรัฐมนตรีจากพรรครวมชาติพัฒนา ของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ

แต่การบัญชาการทั้งหมด ยังกระจุกอยู่ในมือของรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย

การ บริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ- คำสั่งที่ออกจากทำเนียบรัฐบาลจึงเป็นอัมพาต นานนับสัปดาห์ กว่าจะเกิดคณะกรรมการแบบ single command-ศูนย์รวมสั่งการ ที่สนามบินดอนเมือง

แหล่งข่าวในพรรคเพื่อไทย อธิบายปัญหา-อุปสรรค "การเมือง" ในการจัดการน้ำท่วม พ.ศ. 2554 ว่า เป็นเพราะที่ทำเนียบรัฐบาลมีนายกรัฐมนตรี+รองนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี+โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรองโฆษก เป็น "มือใหม่ทั้งหมด"

ทั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์-นายยงยุทธ-น.พ.สุรวิทย์ คณสมบูรณ์-น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์-นางฐิติมา ฉายแสง ต่างเป็นคนใหม่ ไม่เคยเผชิญหน้าและแก้ปัญหาวิกฤตระดับชาติ

มีแต่เพียง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีคนเดียวเท่านั้น ที่เคยมีประสบการณ์ เป็นรัฐมนตรี แต่ก็ไม่ปรากฏชื่อ-ภาพ อยู่ในทีม "พิเศษ" เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม

การ โอเปอเรชั่น สั่งการทีมทำงาน-ผลิตข้อเสนอ-แนวนโยบายระดับปฏิบัติการ จึงถูกส่งมาจาก "ทีมพี่เลี้ยง" กลุ่มนักการเมืองบ้านเลขที่ 111 เป็นหลัก

แต่ การปฏิบัติการในช่วงแรกไม่ ราบรื่นนัก เพราะกูรู-เรื่องน้ำ ในพรรคร่วมรัฐบาล มี "บรรหาร ศิลปอาชา" แห่งพรรคชาติไทยพัฒนา บัญชาการอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง

เป็นการบัญชาการที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับการปฏิบัติการของพรรคเพื่อไทย

จึงเกิดปัญหาระหว่าง นายพายัพ ปั้นเกตุ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ที่เปิดศึกกับนายบรรหาร เพราะเหตุน้ำไม่ท่วม จ.สุพรรณบุรี

กลาย เป็นญัตติด่วน เรื่องแก้ปัญหาน้ำท่วม ในสภาผู้แทนราษฎรที่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลจากเพื่อไทย ตะลุมบอนกับ ส.ส. ของพรรคชาติไทยพัฒนา พาดพิงไป ถึงการสร้างบึงฉวากเป็นเหตุหนึ่งของ น้ำท่วม

นายพายัพอธิบายว่า "สาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำไม่ท่วมสุพรรณบุรี มาจากการระบายน้ำน้อยเกินไปจากประตูน้ำพลเทพตรงแม่น้ำสุพรรณบุรี ส่งผลให้ น้ำไปเอ่อท่วมจังหวัดอุทัยธานี อ่างทอง และชัยนาท ทางผ่านของแม่น้ำสุพรรณบุรี มีบางพื้นที่ของสุพรรณบุรี น้ำท่วมบ้างจริง แต่อยู่ใน อ.เดิมบางนางบวช พื้นที่ของนายสหรัฐ กุลศรี ส.ส.สุพรรณบุรี พรรคเพื่อไทย"

ก่อนศึกระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลจะบานปลาย "พ.ต.ท.ทักษิณ" ต้องสั่งการข้ามน้ำ ข้ามทะเลทราย มาจากนครดูไบ

คำ สั่งมีว่า "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โทรศัพท์มาประสานงานว่าอยากให้ ส.ส.พรรค เพื่อไทยยุติการแสดงท่าทีเกี่ยวกับ ปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะการแสดง ความคิดเห็นพาดพิงพรรคชาติไทยพัฒนาในฐานะที่เป็นพรรคที่ดูแล กรมชลประทานหน่วยงานในสังกัด ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีส่วนสำคัญทำให้สุพรรณบุรีน้ำไม่ท่วม"

"สำหรับ ปัญหานี้ พ.ต.ท.ทักษิณจะขอหารือกับนายบรรหารเป็นการ ส่วนตัว เพราะหากปล่อยให้ ส.ส.แสดงความคิดเห็นกันต่อไปกังวลว่าอาจจะกระทบความสัมพันธ์กับพรรคร่วม รัฐบาลได้"

อ้างถึง-คำสั่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ นำไปสู่การชี้แจงของนายบรรหาร มีใจ ความสำคัญว่าด้วย "สุพรรณบุรีน้ำก็ท่วมเหมือนจังหวัดอื่น"

ทั้ง นายบรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ปรึกษา นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคและรัฐมนตรีการท่องเที่ยวและกีฬา ต่างพากันชี้แจงเรื่อง จ.สุพรรณบุรี

"ยืนยันจังหวัดสุพรรณบุรีก็ประสบกับปัญหาน้ำท่วม กินพื้นที่ความเสียหายไปแล้วประมาณ 3.4 แสนไร่"

ข้อ เสนอเฉพาะหน้าของนายบรรหาร คือ 1.ใช้โมเดลคลองลัดโพธิ์ สร้างประตูน้ำใหม่ 4 จุด 2.สร้างเขื่อนทุกจังหวัด เช่น จ.อุทัยธานี จ.ชัยนาท โดยเน้นการป้องกันเขตเทศบาลเมืองเป็นหลัก

ขณะที่ฝ่ายพรรคเพื่อไทย พลิกข้อเสนอของ พ.ต.ท.ทักษิณขึ้นมาขยายเป็นนโยบาย ที่เคยเสนอไว้ในวาระที่น้ำท่วมภาคใต้-ต้นฤดูร้อน 2554 นโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ มี 5 ข้อ อาทิ

1.สร้างเขื่อนและประตูกันน้ำทะเลหนุนและประตูเพื่อระบายน้ำลงทะเลรอบกรุงเทพฯ/สมุทรปราการ และสร้างพื้นที่สีเขียวเพื่อเป็นที่พักผ่อน

2.สร้างแก้มลิงตามแนวพระราชดำริ ในลุ่มแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ รวมไปถึงแม่น้ำโขงเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูที่น้ำน้อย

3.ขุด เขื่อนแม่น้ำสายหลักที่ไม่ไกลกันมากเข้าหากันเหมือนที่เคยทำแล้ว โดยเชื่อมแม่น้ำยมเข้ากับแม่น้ำน่าน ทำให้สามารถผันน้ำไปตามปริมาณน้ำได้

4.สร้างป่าชุมชนขึ้น 1 หมู่บ้าน 1 ป่าชุมชน เพื่อเกิดพื้นที่ชุ่มน้ำมากขึ้น

5.พื้นป่าต้นน้ำ ปลูกหญ้าแฝกกันดิน (soil erosion) ตามแนวพระราชดำริ

ดัง คำแถลงของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่กล่าวออกรายการวิทยุว่า จำพลาดจากคำ "หญ้าแฝก" เป็น "หญ้าแพรก" จึงมีที่มา ข้อแนะนำของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้พี่ 5 ข้อนี้

ระหว่างที่ "คำสั่ง" จากรัฐบาลอัมพาต ไม่อาจลงสู่ระดับปฏิบัติการ

ระหว่าง ที่รอฟัง "ยิ่งลักษณ์" ออกโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ออกทีวีคอนเฟอเรนซ์ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด รายงานสถานการณ์น้ำท่วมทุกวัน

ข้าราชการ-ประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 พรรค 299 เสียง อาจต้องคอยเงี่ยหูฟัง "คำสั่ง" ข้ามทะเลทราย เสียงจาก "พ.ต.ท.ทักษิณ" ด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง