บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แผน PDCA


โดย Prida Kunchol เมื่อ 30 กรกฎาคม 2011 เวลา 17:01 น.
                                                  
                            

                                                    แผน PDCA
                                   ตามแนวทางปฏิรูปการเมืองของนอร์เวย์

  • การบริหารที่ทันสมัย คือ หัวใจในการเป็นรัฐบาล
  • การบริหารที่ทันสมัย คือ TQM (Total Quality Management)
  • การบริหารที่ทันสมัย TQM คือ ทิศทางปฏิรูปประเทศของทั่วโลก
  • การบริหารที่ทันสมัย TQM มีวัตถุประสงค์ปรับปรุงคุณภาพให้ลูกค้าพอใจ
  • การบริหารที่ทันสมัย TQM ต้องมี’ระบบงาน’ และ ‘กระบวนการทำงาน’
  • PDCA รัฐบาลยุคใหม่ใช้บริหารประเทศที่สร้างความปรองดองได้


สาเหตุความแตกแยกของชาติ: ต้น เหตุความแตกแยกในประเทศไทยเกิดจากความบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยที่อาศัย การเลือกตั้ง โดยมีช่องโหว่ให้นายทุนใช้เงินซื้อเสียงและซื้อ ส.ส. เข้าไปยึดอำนาจนิติบัญญัติและยึดอำนาจบริหารตั้งรัฐบาลปกครองประเทศและ ทุจริตประพฤติมิชอบตามความพอใจของพรรคพวกนายทุน... โดยประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยไม่มีเสียงเพียงพอเพื่อคัดค้านใน สภา... จึงออกมาชุมนุมคัดค้านรัฐบาลโดยสันตินอกสภา หรือคัดค้านโดยใช้วิธีรุนแรงจนเกิดการนองเลือด ...PDCA แก้ปัญหานี้ได้

ปฏิรูปการเมืองเพื่อสร้างความปรองดอง: ทำ ได้โดยการแก้ไขความบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยที่ใช้การเลือกตั้งแบบเก่า โดยให้เลือกด้วยวิธีใหม่เช่นใช้ไอซีทีเลือกตัวแทนของประชาชนแต่ละกลุ่มที่มี ประโยชน์และอุดมการณ์แตกต่างกันเข้าไปในสภาเพื่อร่างแผน PDCA สร้างโครงการที่ตรงตามความต้องการของประชาชนในชาติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง...

                   สำหรับวิธีการของสภาเพื่อตั้งรัฐบาลให้บริหารแผน PDCA ดังกล่าว โดยให้กลุ่มต่างๆที่อาสาเป็นรัฐบาลได้อภิปรายแสดงความสามารถโดยมีเอกสารสนับ สนุนในรูป   “ระบบงาน” (Work Systems) และ “กระบวนการทำงาน” (Work Processes) ที่แสดงขั้นตอนวิธีปฏิบัติให้เกิดความสำเร็จตามแผน โดยแจกเอกสารระบบดังกล่าวให้สมาชิกสภาได้ศึกษาก่อนลงมติรับรองให้เป็น รัฐบาล….ในวันลงมติรับรองตั้งรัฐบาล...สมาชิกสภาจะฟังคำอภิปรายของกลุ่ม ต่างๆที่แสดงวิธีบริหารและในที่สุด  สภาลงมติให้กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดเป็นรัฐบาล สำหรับกลุ่มที่ได้คะแนนนรองลงมาให้เป็นรัฐบาลเงาทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงาน ของรัฐบาลในนามของสภาปีละ 1 ครั้ง โดยทบทวนการทำงานทั้ง 4 ไตรมาสของรัฐบาลใน 2 ประเด็น คือ 1. การพัฒนายุทธศาสตร์(Strategy Development) ว่ามีการพัฒนาให้มีการปรับปรุงให้งานสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่ และ 2. การแปลงยุทธศาสตร์(Strategy Deployment): ไปสู่ภาคปฏิบัติ.

แผน PDCA, Plan-Do-Check-Act : เป็น แผนระยะสั้น 1 ปี (Annual Plan) แต่เชื่อมโยงกับแผนระยะยาว 5 ปีหรือ 10 ปี โดยเน้นที่แผน 1 ปีเพื่อให้ทันเหตุการณ์ ...การดำเนินแผน PDCA แบ่งเป็น 4 ช่วง โดยฝ่ายนิติบัญญัติรับผิดชอบด้านทฤษฎี Plan…Act-Plan…Act-Plan  สำหรับฝ่ายบริหารรับผิดชอบด้านปฏิบัติ Do-Check…Do-Check…Do-Check เป็นการแยกอำนาจโดยเด็จขาด(Separation of Power) แต่ร่วมกันปรับปรุงประเทศให้มีความสามารถแข่งขันโดยไม่มีฝ่ายค้าน

1.  ช่วง PLAN: ใน ช่วงนี้มีการเตรียมการค่อนข้างมากโดยสภาเพื่อให้เป็นแผนที่มีประสิทธิภาพใน การบริหารของฝ่ายรัฐบาล โดยการรวบรวมข้อมูลจากหลายฝ่ายเพื่อนำมาประกอบการวางแผน เช่น 1.ข้อมูลวิสัยทัศน์ของประเทศโดยมีตัวอย่างประเทศมาเลเซียวางวิสัยทัศน์ถึง 20 ปีตั้งแต่ปี 2000  โดยตั้งวิสัยทัศน์ Vision 2000 ให้ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศพัฒนาแล้วเหมือนประเทศในยุโรป เป็นต้น 2. ข้อมูลแผนระยะยาวของประเทศ เช่น แผน 5 ปีของสภาพัฒน์ฯ 3. ข้อมูลความต้องการของประชาชน(Customer) 4. ข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจ และ 6. ข้อมูลจากการดำเนินงานของรัฐบาลปีที่ผ่านมา
                   ข้อมูล ข้างต้นเป็นสาระแผนของบุคคลสำคัญระดับต่างๆ แผนของนายกรัฐมนตรี...แผนของรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ...แผนของกรม/กอง...แผนของ หน่วยงานที่ปฏิบัติ  โดยนำแผนทั้งหมดของบุคคลข้างต้นมารวมกันเพื่อจัดทำเป็นแผน PDCA ซึ่งเป็นแผน 1 ปี Annual Plan อันเป็นแผนที่แท้จริง(Plan)ที่สภาเป็นผู้จัดทำเพื่อใช้เป็นแผนชี้นำให้ฝ่าย รัฐบาลนำไปปฏิบัติ(Do)...สิ่งสำคัญยิ่งของแผนที่สภาจัดทำนี้จำเป็นต้องมี ระบบแสดงวิธีปฏิบัติให้ครบทุกเรื่องในรูป ระบบงาน และ กระบวนการทำงาน  โดยสภาจะละเว้นการจัดทำระบบดังกล่าวมิได้

2.   ช่วง DO: รัฐบาล มีแผนที่ได้จากสภาพร้อมระบบงานที่แสดงวิธีปฏิบัติให้รัฐบาลแล้ว  ดังนั้น การทำงานของรัฐบาลจึงสะดวกไม่ต้องไปคิดหาวิธีปฏิบัติงาน การทำงานของรัฐบาลจึงหนักไปที่การประชุมชี้แจงเพื่อให้ปฏิบัติตามแผน และวางกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานเป็นทีม โดยมี Process Owner คุมระบบ ฝ่ายรัฐบาลอาจมีวิธีการเพิ่มเติมที่ออกเป็นรูป SOP (Standard Operating Procedure) หรือ คำสั่ง ระเบียบต่างๆ(Instructions)

3.   ช่วง CHECK: มี การตรวจสอบหรือทบทวนการปฏิบัติตามแผนโดยผู้บริหารสูงสุดขององค์กร เช่น นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทน ปกติ การทบทวนจะทำกันทุกรายไตรมาสหรือ 3 เดือนโดยวิธีการประชุมที่เรียกว่า Formal Review ได้แก่การประชุมที่หัวหน้าผู้ปฏิบัติตามแผนเป็นผู้ชี้แจง(Presenter) โดยมีผู้แทนผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้ฟังและซักถาม(Reviewers)  การทบทวนตรวจสอบโดยดูว่ามีการปฏิบัติตามระบบงานหรือไม่ และมีวิธีการปรับปรุงโดยชี้วัดที่กระบวนการทำงาน หรือไม่

4.   ช่วง ACT: ฝ่ายสภาเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ โดย ทบทวนปีละครั้งว่าปฏิบัติตามระบบงานและกระบวนการทำงานที่จัดให้ฝ่ายบริหาร  ทบทวนการตรวจสอบรายไตรมาสของฝ่ายรัฐบาลและเสนอแนะวิธีการปรับปรุง (Improvement) เพื่อจัดทำเป็นแผนฉบับใหม่ให้ฝ่ายบริหารรับไปปฏิบัติต่อในปีหน้า...อันเป็น การปรับปรุงประเทศอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement).

                   ข้อเขียนข้างต้นมีรากฐานมาจากหนังสือของ Sarv Singh Soin เรื่อง Total Quality Control Essentials เกี่ยว กับการวางแผน PDCA ที่เรียกว่า Hoshin Planning ที่มาตรฐานสากล ISO 9000:2008 แนะนำให้ทั่วโลกใช้แผนนี้  โดยประเทศนอร์เวย์นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิรูปการเมืองจากคำบอกเล่าของ อาจารย์บุญส่ง ชเรทร และ คุณหมอสำเริง (Sumroeng Tritilanunt) โดยคุณหมอให้ความเห็นจับประเด็นได้ดังนี้

1.    การ ออกเสียงเลือกตั้งและการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญให้ใช้บริการของศูนย์ เรียนรู้ไอซีทีชุมชน เมื่อลงคะแนนในคอมพิวเตอร์  แล้วพิมพ์สำเนาถือเก็บเป็นหลักฐาน

2.    ประชาชน รวมตัวแก้รัฐธรรมนูญเพื่อปิดประตูนักธุรกิจการเมืองที่ซื้อเสียง ซื้อ สส. ยึดอำนาจนิติบัญญัติ ยึดอำนาจบริหาร...โดยให้ สส. มาจากทุกกลุ่มสายอาชีพที่เป็นตัวแทนประชาชนทั่วประเทศที่แท้จริง โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้นำกลุ่มหรือนายกสมาคมได้รับเลือกจากสมาชิกและ ปฏิบัติตามความต้องการของสมาชิก

3.    ใช้ วงจร PDCA บริหารทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารโดยไม่มีการแบ่งเป็นฝ่ายรัฐบาลและ ฝ่ายค้าน เพราะเมื่อฝ่ายค้านสู้เสียงในสภาไม่ได้เพราะถูกฝ่ายนายทุนยึดสภา จึงชักชวนประชาชนออกมาต่อสู้นอกสภารุนแรงจนนองเลือด
สรุป:  1. แผน PDCA จัดทำโดยสภานิติบัญญัติ ซึ่งจำเป็นต้องมี"ระบบงาน" และ "กระบวนการทำงาน" รองรับ หากขาดระบบดังกล่าว การบริหาร PDCA และ การตรวจสอบจะทำได้ยากยิ่งและไม่ได้มาตรฐาน เพราะระบบเป็นมาตรฐาน การออกแบบระบบยากมาก อย่างไรก็ตาม...กลุ่มปฏิรูปประเทศไทย:TQM ช่วยได้
2. การปฏิบัติ Do ของรัฐบาลฝ่ายบริหาร: ให้ปฏิบัติไปตาม"ระบบงาน" และ "กระบวนการทำงาน" ที่ฝ่ายนิติบัญญัติทำให้ตามข้อ 1. หากฝ่ายบริหารมีการปฏิบัติเพิ่มเติม ให้ทำเป็น"ระบบ"เสริม เช่น SOP (Standard Operating Procedures) หรือ Work Instructions.
3. การตรวจสอบ Check:ของฝ่ายบริหารให้ทำทุกไตรมาสในรูปการประชุมซักถาม(Formal Review) โดยใช้ระบบงาน และ กระบวนการทำงาน เป็นรากฐานสำคัญในการตรวจสอบ
4. การปรับปรุง Act: ให้ศึกษารายงานทบทวนรายไตรมาสของฝ่ายบริหาร(Formal Review)ทั้ง 4 ไตรมาส เพื่อหาจุดอ่อนในการปรับปรุงบนพื้ฐานของ"กระบวนการทำงาน"

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง