oแล้ว ต่อไปนี้คนไทยก็คงจะได้เห็นการแฉหลักฐานที่จะนำมาใช้โจมตีรัฐบาลอภิสิทธิ์ กันยกใหญ่ ยิ่งเป็นเอกสารความลับของทางราชการที่เกี่ยวกับการสกัดกั้นคนเสื้อแดงหรือ ทักษิณด้วยแล้ว ก็จะยิ่งเป็นที่ต้องการนำมาแฉอย่างเจาะจงเลยทีเดียว และในขณะเดียวกันก็จะมีคนออกมาแก้ตัวให้ทักษิณหรือบริวารที่เกี่ยวข้องเป็น พัลวัน รวมทั้งหลักฐานที่บ่งชี้ความผิดต่างๆอีกด้วย
oจตุ พร พรหมพันธุ์ ให้สัมภาษณ์สื่อว่าจะเรียกร้องความเป็นธรรมให้คนเสื้อแดงเป็นการตอกย้ำอีก ครั้ง เหมือนจะให้เรื่องนี้ไปเข้าหู'เจ๊ปู'เป็นรายวัน โดยเฉพาะถ้าไม่จัดตำแหน่งรมต.ให้ก็ไม่ว่า แต่อย่าพูดว่าคนเสื้อแดงไม่ดี ไม่เหมาะสม
ขอ เชิญติดตามข่าวที่อ่านแล้วยั่วโมโหมากบ้างน้อยบ้าง ในบรรยากาศของรัฐบาล'เจ๊ปู'ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปกันเถิดครับ ทนๆกันเอาหน่อย แต่อย่าละสายตาจากการเมืองไทยเป็นอันขาด เพราะพวกลิงค่างบ่างชะนีมันจะยิ่งลำพองที่เห็นว่าเรายอมแพ้มันน่ะครับ
....................................................
โปรยหัวข่าวเด่น
suthichaiyoon.com : "ธีระชัย"โพสต์ในเฟซบุ๊ค โต้ "กรณ์ จาติกวณิช" ยันสอบ"ยิ่งลักษณ์" ผ่าน 6 ชั้นโปร่งใส-ไม่มีผลประโยชน์เก้าอี้รัฐมนตรี
suthichaiyoon.com : "สุเทพ”ปัด ปชป. ไม่มีกระบวนการใต้ดินหักตัวเอง ลั่น ชนะพรรคอื่นได้ ต้องไม่สู้คนเดียว ระบุ เร่งเดินหน้าลงพื้นที่สร้างมวลชน ยกเครื่องใหม่ เร่งเจาะพื้นที่เหนือ-อีสาน
suthichaiyoon.com : 'มาร์ค-สุเทพ-ธาริต' ปัดพัลวัน ไม่รู้ 'คำสั่งลับ' ศอฉ. สั่ง 'ทบ.' ใช้ 'ลูกซอง' จัดการ 'คนเสื้อแดง' อ้าง ยังไม่เห็นเอกสาร
คม ชัด ลึก : ขบวนจยย.สกน.กว่า 100 คัน มุ่งหน้า กทม. เรียกร้อง "ปู" ให้บรรจุนโยบายปฏิรูปที่ดิน และผลักดันราคาข้าวให้ได้เกวียนละ 15,000 บาท ตานโยบายที่ได้หาเสียงไว้
โพสต์ทูเดย์ : สวนดุสิตโพลเผย คนสนับสนุนยิ่งลักษณ์ทำงานเกิน 6 เดือน ต้องการให้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ-ของแพง-ขึ้นค่าแรงเป็นอันดับแรก
.......................................................
สารบัญพาดหัวข่าววันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554
1.)ธีระชัยโต้กรณ์สอบ'ปู'ไม่มีผลประโยชน์เก้าอี้รมต.
2.)เมื่อ'สุเทพ เทือกสุบรรณ'ถอยฉากไปอยู่'เบื้องหลัง'
3.)ประชาธิปัตย์ต้องปฏิวัติพรรค!
4.) หลักสูตร-โรงเรียนประชาธิปัตย์ ต่อยอด-ขยายพันธุ์
5.)ปชป.เดินหน้าสร้างมวลชนลุยเหนืออีสาน
6.)'มาร์ค-เทือก-ธาริต'ใบ้คำสั่งลับศอฉ.
7.)จยย.นับ100บุกกรุงจี้'ปู'ปฏิรูปที่ดิน
8.)แอร์พอร์ตลิงก์กับไข่ชั่งกิโล
9.)เจาะใจ จตุพร เตือนเสื้อแดงอย่าหลงใหลชัยชนะ
10.)กลุ่ม "ทหารตำรวจประชาธิปไตย 2554" เผยแพร่เอกสาร
11.)โพลเผยคนหวัง"ปู"เร่งแก้ของแพง-ค่าแรง
.........................................................
NEWS TODAY
Sunday 7th , August 2011
suthichaiyoon.com
1.)ธีระชัยโต้กรณ์สอบ'ปู'ไม่มีผลประโยชน์เก้าอี้รมต.วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554
"ธี ระชัย"โพสต์ในเฟซบุ๊ค โต้ "กรณ์ จาติกวณิช" ยันสอบ"ยิ่งลักษณ์" ผ่าน 6 ชั้นโปร่งใส-ไม่มีผลประโยชน์เก้าอี้รัฐมนตรี "ย้อนศร"ระบุ ก.ล.ต.สอบถูกต้องเพราะมีคนใกล้ชิดอดีต รมว.คลังทั้ง"นวพร-ประสาร"ร่วมด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊ค ตอบโต้กรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง กล่าวหาพาดพิงถึงนายธีระชัย ที่อาจได้รับตำแหน่ง รมว.คลัง ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์? 1 ว่า เพราะได้ทำงานรับใช้การเมืองจนได้รับตำแหน่ง
นาย ธีระชัย ได้โฟสต์ข้อความตอบโต้ว่า ตามที่คุณกรณ์ อดีต รมว. คลัง ได้พาดพิงว่า ผมดำเนินการตรวจสอบกรณีคุณยิ่งลักษณ์ โดยหวังผลตอบแทน เป็นการกล่าวหาว่าการทำงานของ ก.ล.ต.ไม่ถูกต้องตรงไปตรงมานั้น ผมขอชี้แจงเรื่องนี้ว่า ก.ล.ต. ได้ดำเนินการเรื่องนี้ ตามหลักเกณฑ์ปกติ เมื่อแรกที่มีการจัดตั้ง ก.ล.ต.นั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักดีว่า ทุกๆ เรื่องที่ ก.ล.ต. จะต้องดำเนินการนั้น จะเกี่ยวข้องกับเงินและผลประโยชน์จำนวนมาก และหลายบริษัทก็จะมีนักการเมือง หนุนหลังอยู่ จึงต้องออกแบบการทำงานให้เข้มงวดกว่าองค์กรอื่นๆ
ดัง นั้น การทำงานจึงจำเป็นต้องออกแบบขั้นตอน ให้มีการถ่วงดุลระหว่างเลขาธิการ(ซึ่งแต่งตั้งโดยภาคการเมือง) กับพนักงานภายใน ก.ล.ต. ไว้อย่างหนาแน่นแบบอัตโนมัติ ระบบงานที่ออกแบบไว้นั้น กรณีหากเลขาธิการ อยากจะบิดเบือนเรื่อง จะมีด่านป้องกันถึง 5 ชั้น ชั้นที่หนึ่ง เจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจสอบรวบรวมข้อเท็จจริงนั้น กฎหมายจะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ไว้โดยตรงเต็มที่ โดยเลขาธิการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว
ชั้นที่สอง เมื่อรวบรวมข้อเท็จจริงแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะนำเข้าพิจารณาใน Enforcement Committee(คณะงานตรวจสอบ) ซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการฝ่ายงาน line function หรือฝ่ายงานหลักทุกฝ่ายงานมาประชุมร่วมกัน โดยม ีรองเลขาธิการ ก.ล.ต. เป็นประธาน ซึ่งในขั้นนี้ เลขาธิการยังไม่เข้าไปร่วม
ชั้นที่สาม ต่อเมื่อ Enforcement Committee มีการลงมติตัดสินเรื่องแล้ว จึงจะมีการเสนอเรื่องต่อเลขาธิการ โดยจะต้องเสนอตามสายงาน ผ่านหลายระดับ หากใครเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ต้องบันทึกความเห็นเอาไว้
ชั้นที่สี่ เมื่อเลขาธิการสั่งการไปแล้ว ฝ่ายตรวจสอบกิจการภายในก็มีการสุ่มตรวจเรื่องตามหลังอีกครั้ง
ชั้น ที่ห้า หากเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เช่น กรณีของคุณยิ่งลักษณ์ ก็จะมีการนำเสนอให้ บอร์ด ก.ล.ต. รับทราบด้วย เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและความเห็นจากบอร์ดสำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มบริษัท ชินคอร์ปนั้น ยังมีการตรวจสอบซ้ำพิเศษอีกหนึ่งชั้นด้วย โดยคณะกรรมการ คตส. ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ที่ตั้งขึ้นภายหลังการปฏิวัติรัฐประหาร เท่ากับมีการถ่วงดุลตรวจสอบกันถึงหกชั้น
การคิดว่า เลขาธิการ ก.ล.ต. สามารถจะบิดเบือนเรื่อง เพื่อหาประโยชน์ทางการเมืองนั้น เป็นการไม่ให้เกียรติพนักงาน ก.ล.ต. หากผมมีการฝืนหรือบังคับใจเจ้าหน้าที่ คงจะมีใครไปฟ้องสื่อมวลชนไปแล้ว ละครับ แต่ที่สำคัญ จะเป็นการไม่ให้เกียรติ คุณนวพร เรืองสกุล ซึ่งเป็นบุคคลที่นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีคลังได้เลือกเฟ้นด้วยตนเอง และคัดหามากับมือ ให้เป็นประธาน ก.ล.ต. เรียกว่าเป็นบุคคลที่ท่านคัดแล้วคัดอีก
อีกทั้งนายกรณ์ ยังเคยออกมาพูดผ่านสื่อ รับรองสรรพคุณของคุณนวพร เป็นพิเศษด้วย ซึ่งผมก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าคุณนวพร เป็นผู้ที่เที่ยงธรรม และมีความรู้ความสามารถ
และยังจะเป็นการไม่ให้เกียรติ ดร.ประสาร ไตรรัตนวรกุล ซึ่งเป็นบุคคลที่นายกรณ์ ได้เลือกเฟ้น และแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการแบงค์ชาติ ด้วยตัวเอง ซึ่ง ดร.ประสารนี้ ท่านก็เป็นหนึ่งในบอร์ด ก.ล.ต. อีกด้วยและยังจะเป็นการไม่ให้เกียรติ คุณอารีพงศ์ ภู่ชะอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งก็เป็นผู้ที่ท่านคัดเลือกเองอีกเช่นกัน และท่านก็เป็นหนึ่งในบอร์ด ก.ล.ต. ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ และอดีตปลัดกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย อดีตคณบดีคณะกฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตผู้ว่าการ สตง. ที่นั่งอยู่ใน บอร์ด ก.ล.ต. อีกด้วยที่พูดเช่นนี้ เนื่องจากผมได้นำเรื่องเกี่ยวกับคุณยิ่งลักษณ์ ซึ่งได้ผ่านการคัดกรอง 4 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นแล้ว นำเสนอต่อ บอร์ด ก.ล.ต. ในการประชุมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 โดยมีการชี้แจงให้ บอร์ด ทราบอย่างละเอียดผลการประชุมปรากฏว่า บอร์ด ก.ล.ต. ได้รับทราบ โดยไม่มีผู้ใดเสนอแนะให้ดำเนินการใดๆ ที่แตกต่างไปจากที่ผมได้ทำไว้แม้แต่ผู้เดียว
“ซึ่งจากข้อชี้แจงข้าง ต้นนี้ จะเห็นได้ว่า บอร์ด ก.ล.ต. ล้วนเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์สูงทั้งนั้น และ มีบุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้ง จากนายกรณ์ ถึง 3 ท่าน แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่ให้ความเห็นแตกต่างไปจากที่ผมดำเนินการไปเลย ครับ ผมจึงขอยืนยันว่าการดำเนินการเกี่ยวกับกรณีคุณยิ่งลักษณ์นั้น ได้ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมาเสมอ จึงขอชี้แจงให้ทราบโดยทั่วกันครับ
2.)เมื่อ'สุเทพ เทือกสุบรรณ'ถอยฉากไปอยู่'เบื้องหลัง'
วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554
**
สุ เทพ เทือกสุบรรณ กลายเป็นอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อย่างเป็นทางการไปแล้ว แต่ก็ไม่วายถูก "แฉส่งท้าย" เรื่องความพยายามล็อบบี้ในการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่ ที่มีข่าววงในระบุว่าเขาพยายามส่ง ส.ส.ในกลุ่มไปล็อบบี้สมาชิก เพื่อสกัด เฉลิมชัย ศรีอ่อน ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ วันที่ต้องพ้นจากหน้าที่ เขาจึงต้องเคลียร์ข้อกังขาเรื่องนี้ด้วยตัวเอง "ไม่เป็นความจริง ผมวางตัวอย่างเคร่งครัด จะเลือกใครยังไม่บอกน้องๆ ส่วนสมาชิกจะชอบใครเลือกใครให้เป็นดุลยพินิจของสมาชิกโดยเสรี แต่สิ่งที่ขอทุกคนว่า การเลือกหัวหน้าพรรคต้องเป็นเอกฉันท์ ไม่มีการลุกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานที่ผ่านมาทั้งสิ้น เพราะไม่อยากให้เสียบรรยากาศ ผมพูดอย่างเปิดเผยและกับ ส.ส.ทุกคนทุกภาคในการประชุมทีละ 20-30 กรณีการนัดกินและมีการสรุปอธิบายสถานการณ์บ้านเมืองให้ทราบ เรื่องใหญ่ที่พูด คือ เรื่องสถานการณ์บ้านเมืองในภาพรวมว่าจะต้องเผชิญสถานการณ์อะไรบ้าง พรรคประชาธิปัตย์จะต้องทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ อย่างไร การที่มีความพยายามออกมาปล่อยข่าวว่าผมไปล็อบบี้ใครอย่างไรนั้น ยืนยันอีกครั้งว่าไม่มี"
ส่วนกระแสข่าวที่เขาไม่สามารถทำงานร่วมกับ นายเฉลิมชัยได้นั้น สุเทพชี้แจงว่า ไม่มีเรื่องอย่างนี้ ที่ผ่านมา เคยกล่าวกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ว่าจะช่วยงานหัวหน้าพรรค ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล แต่เป็นเรื่องของพรรคและระบบ และได้แจ้งก่อนตั้งแต่เลือกตั้งเสร็จ ว่าจะไม่รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคหรือกรรมการบริหารพรรค เพราะตนต้องการออกไปทำงานการเมืองซึ่งมีทั้งคนในและคนนอกพรรคที่เป็นงานการ เมืองเหมือนกัน
"ผมอยากจะบอกกับประชาชนคนไทยทั้งหลาย ว่า ในขณะนี้ ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างพรรคการเมืองกับพรรคการเมือง แล้วมันเป็นเรื่องของลัทธิบางลัทธิที่ต้องการจะครอบงำประเทศไทย คนไทยควรจะได้รู้ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ บังเอิญผมรู้ผมก็จะได้เดินสายไปบอก ผมก็จะไม่มีเวลามาทำงานในพรรค" นายสุเทพกล่าว
ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุที่บางคนไม่ยอมรับนายเฉลิมชัย เพราะเห็นว่านายเฉลิมชัยไม่ใช่ลูกหม้อที่เกิดจากพรรคมาดั้งเดิมกลัวว่าจะมี การย้ายพรรคไปนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่เป็นไร วันนี้เมื่อใครมาอยู่ในพรรคแล้วก็เหมือนกัน วันนี้เป็นสมาชิกพรรค เป็นคนหนึ่งของพรรค และที่กล่าวว่านายเฉลิมชัยถูกมองว่าเป็นลูกทุ่ง มากกว่านายจุติ ไกรฤกษ์ นั้นก็ไม่เกี่ยวกันว่าจะเป็นลูกทุ่งหรือลูกกรุง อยู่ที่ว่าทำงานได้ ไม่ได้เท่านั้นเองอยู่ที่สมาชิกที่สำคัญ คือ อยู่ที่หัวหน้าพรรคจะเป็นผู้เสนอชื่อ
เมื่อถามย้ำว่า ที่ผ่านมา คิดว่าอดีตเลขาธิการพรรคทำงานที่มาตรฐานสูงไว้ คนใหม่จะทำได้หรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่แน่ ซึ่งระหว่างที่นายสุเทพให้สัมภาษณ์ก็ได้มีสมาชิกพรรคคนหนึ่งเอากระดาษที่ เขียนว่า "กล้าที่จะกลับมา ก็ต้องกล้าเปลี่ยน" มาชูให้ดู ซึ่งนายสุเทพก็พูดกับสื่อยิ้มๆ ว่า เขาก็เป็นอย่างนี้
อีกข้อสงสัย นอกจากในเรื่องการเลือกเลขาธิการพรรคแล้วยังมีความพยายามที่จะล็อบบี้ใน เรื่องการเลือกรองหัวหน้าพรรค โดยมีการนัดหารือที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง เพื่อหักผู้ใหญ่ในพรรคบางคนนั้น สุเทพ กล่าวว่า "ต้องถามว่าใครนัดไปรับประทานข้าว แต่ไม่ใช่ผม ที่ผ่านมา ผมจะนัดเป็นกลุ่มๆ ทุกคนทราบดีภาคเหนือ อีสาน กลางใต้ แต่หากเป็นคนอื่นใครจะไปนัดกับใครที่ไหนบ้าง ผมไม่ทราบ ส่วนใครจะหักในสิ่งผมเสนออะไรบ้างนั้นยืนยันได้ว่าผมไม่เสนออะไรเลย และไม่เสนอใครแม้แต่คนเดียว ในการประชุมวันนี้ ผมเป็นผู้จัดการประชุมใหญ่"
ผู้ สื่อข่าวถามว่า กลุ่มคนใหม่ที่มีตำแหน่งในพรรคต้องการที่จะหักอดีตเลขาธิการพรรค เพราะต้องการเข้ามาเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ภายในพรรคหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่าตนไม่คิดว่าจะเป็นแบบนั้นเพราะเวลาเลือกตั้ง ก็มักจะเป็นเรื่องปกติที่ดีๆ กันอยู่ แต่เมื่อถึงเวลาเลือกตั้งอาจจะคิดไม่เหมือนกันได้เป็นธรรมดา ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องผิดปกติ ทุกอย่างจบวันนี้ (6 ส.ค.)
เมื่อถาม ว่าอยากฝากอะไรกับเลขาธิการพรรคคนใหม่หรือไม่ สุเทพ กล่าวว่า ไม่ต้องฝาก เพราะต่อไปมีอะไรในพรรคก็สามารถพูดคุยกันได้ และคงไม่ต้องมาคอยดูแลเพราะคนที่เป็นเลขาฯ คนใหม่เป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่หากต้องการคำปรึกษาตนก็ยินดีและตนก็พร้อมเสนอความเห็น
ส่วนที่มี ผู้ใหญ่ในอดีตของพรรคออกมากล่าวถึง ความก้าวพลาดของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาที่ไม่ประสบความ สำเร็จ เพราะการใช้คนของหัวหน้าพรรคไม่ถูกคนและเลือกคนมาใช้งานไม่ถูกต้อง นายสุเทพ กล่าวว่า ท่านเป็นผู้ใหญ่ ตนไม่ขอวิจารณ์ อย่าไปโทษท่านหัวหน้าพรรค เป็นเรื่องของทั้งพรรคและการที่อดีตหัวหน้าพรรคในอดีตเรื่องการทำงานนั้นก็ จะทำให้ตนเจ็บตัวได้ (กล่าวทั้งหัวเราะ)
ทิ้งท้ายถึงอนาคตพรรคประชาธิ ปัตย์ ในสายตาของอดีตเลขาธิการพรรคอย่างสุเทพ มองว่าพรรคจะต้องปรับกลยุทธ์อย่างไรถึงจะชนะพรรคอื่นได้นั้น สุเทพ ระบุว่า "พรรคประชาธิปัตย์ จะต้องไม่สู้คนเดียว ต้องแสวงหามิตรและแนวร่วมและจะต้องทำงานหนัก ลงพื้นที่จัดตั้งมวลชนแสวงหาสมาชิก และยืนยันได้ว่า ไม่ได้เป็นอย่างที่กล่าวว่า เมื่อมีการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ จึงจะเริ่มลงพื้นที่หาสมาชิก ซึ่งความจริงมีการทำมาตลอดแต่บางคนทำได้ดีแข็งแรง แต่บางคนประมาท และเรื่องใหญ่ที่เราต้องเร่งทำคือเรื่องมวลชน ในพื้นที่ภาคอีสานนั้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวคนที่เป็นรองหัวหน้าพรรค แต่อยู่ที่ทิศทางของพรรค"
นี่เป็นบทส่งท้ายของ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" ที่กำลังเริ่มต้นบทคนอยู่เบื้องหลัง!
3.)ประชาธิปัตย์ต้องปฏิวัติพรรค!
วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2
**
การ ประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี 2554 ของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อคัดเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ได้ ก็ผ่านพ้นไปอีกหนึ่งครั้ง พร้อมกับโฉมหน้ากรรมการบริหารพรรคพรรคชุดใหม่ ทั้ง 19 คน ภายใต้การนำของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยรองหัวหน้าภาค กทม.ในโควตาของหัวหน้าพรรค คือ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้ 95.0666 เปอร์เซ็นต์ จุติ ไกรฤกษ์ 92.5091 เปอร์เซ็นต์ ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ 91.4887 เปอร์เซ็นต์
สำหรับ รองหัวหน้าพรรคภาคกลาง คือ นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้ 57.5554 เปอร์เซ็นต์ ภาคเหนือนางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ได้ 56.57 เปอร์เซ็นต์ ภาค กทม.คือ นายกรณ์ จาติกวณิช ได้ 49.2739 เปอร์เซ็นต์ ภาคใต้ คือ นายถาวร เสนเนียม ได้ 49.348 เปอร์เซ็นต์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ นายอิสสระ สมชัย ได้ 51.6349 เปอร์เซ็นต์
ส่วนเฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ ด้วยคะแนน 72.8918 สำหรับตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค คือ นิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.บัญชีรายชื่อ นราพัฒน์ แก้วทอง ส.ส.พิจิตร ศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี
ส่วนกรรมการบริหารพรรค อีก 3 คน ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรคเรียงตามลำดับ คือ ธนิตพล ไชยนันทน์ได้ 53.6293 เปอร์เซ็นต์ สาทิตย์ วงศ์หนองเตยได้ 40.3784 เปอร์เซ็นต์ และ น.ส.รัชดา ธนาดิเรก ได้คะแนน 39.9589 เปอร์เซ็นต์
การ คัดเลือกกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ เป็นผลพวงมาจากการประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคของนายอภิสิทธิ์ หลังพ่ายแพ้พรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา การยกเครื่องใหญ่ในครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์มีเป้าหมายการเลือกตั้งครั้งหน้า ในการปรับทัพหาคนมานั่งตำแหน่งที่สำคัญ
แต่เมื่อเอกซเรย์ลงไปในแล้ว เห็นว่าการปรับทัพในครั้งนี้ ก็น่ากังขาว่าประชาธิปัตย์กำลังหลงประเด็นหรือไม่ เพราะแทนที่ทุกฝ่ายจะระดมมันสมอง เพื่อสรุปบทเรียนความพ่ายแพ้การเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ถึง 2 ครั้ง 2 ครา
ทั้งที่ควรจะ อุดรูรั่ว ปรับจุดอ่อน ไปทีละเปลาะ พร้อมกับปรับเปลี่ยนจากตั้งรับมาเป็นเชิงรุก บริหารจัดการพรรคแบบโซนนิ่ง และพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้ดูกระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา เปิดรับฟังความเห็นของประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วม โดยทำฐานเสียงดึงพลังมวลชน ให้กลับมาเป็นพรรคพวกของประชาธิปัตย์ โดยใช้ "ใจสื่อใจ" และเปิดใจให้กว้าง สลายกลุ่มก้อน โดยหันหน้าเข้าหากันอย่างจริงจัง
ไม่ใช่ทำแบบ "ยามศึกเราร่วมรบ ยามสงบเรารบกันเอง" หรือจะรอให้พรรคเพื่อไทยสะดุดขาตัวเอง จากโครงการประชานิยมแบบหัวทิ่มหัวตำ
หากรอ วันนั้นประชาธิปัตย์ก็จะมีแต่ "ทรง" กับ "ทรุด" ดังนั้น ประชาธิปัตย์ถามตัวเองได้หรือยังว่า ถึงเวลาปฏิวัติตัวเองครั้งใหญ่ได้หรือยัง โดยเริ่มตั้งแต่วินาทีนี้ ในการเดินสายทำมวลชนเก็บเกี่ยวทำกิจกรรมในพื้นที่และคลุกวงในอย่างต่อเนื่อง แม้จะช้าแต่ก็ไม่ถือว่าสายจนเกินไป และหยุดโทษชาวบ้านตาดำๆ ว่า "ถูกซื้อ"
ถาม หน่อยเถอะว่า ประชาธิปัตย์รู้หรือไม่ว่า วันนี้ประชาชน "คนเสื้อแดง" ตลอดจน "คนรากหญ้า" ได้ก้าวข้ามจุดนั้นไปนานแล้ว เพราะแกนนำเสื้อแดงได้ทำพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง 4-5 ปี
ถ้าพรรคประ ชาธิปัตย์ ยังไม่สามารถได้ชัยชนะในภาคอีสาน ก็อย่าคิดหวังว่าจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และเลิกฝากความหวังไว้ที่พรรคการเมืองอื่น ตลอดจน "อำนาจนอกระบบ"
แม้ ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ "กองทัพ" จะยังคงสนับสนุนประชาธิปัตย์อย่างเต็มที่ แต่พรรคประชาธิปัตย์เองเมื่อมีโอกาสในช่วงที่เป็นรัฐบาลถึง 2 ปี กลับไม่ทำ ทั้งที่มีงบประมาณ มีกำลังคน อาทิเช่น ข้าราชการอาสาสมัครทั่วประเทศ ของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข ถือว่าเป็นฐานเสียงที่สำคัญ ที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ควรที่จะละเลย
หากประชาธิปัตย์ไม่ผ่าตัดใหญ่ วิธีการทำงาน คิดหาคนมาเติมเต็มข้อจำกัดของตัวเองและเปิดกว้างพรรคให้มากกว่านี้ บริหารจัดการพรรคที่ดีและเป็นระบบทั้งที่บางเรื่อง สามารถที่จะลดขั้นตอนในเรื่องของการทำงานได้
ในส่วนของผู้บริหารพรรค เองก็ต้องลงไปคลุกคลีในพื้นที่ ไม่ใช่นั่งรอรายงานบนหอคอยงาช้าง ปล่อยให้พรรคการเมืองคู่แข่ง วางยุทธศาสตร์ "รุกคืบ" กินเขตแดนอยู่เรื่อยๆ อย่างที่เห็นในภาคอีสาน และกำลังจะเป็นไปในภาคใต้ หรือประชาธิปัตย์จะขอแค่เป็นเพียงฝ่ายค้านให้มีที่ยืนในสภาก็เพียงพอ
ประ ชาธิปัตย์ตอบโจทย์ของตัวเองได้หรือไม่ ว่า การปรับเปลี่ยนกรรมการบริหารพรรคในครั้งนี้ สามารถอุดจุดบอดในภาคเหนือและภาคอีสานได้หรือไม่
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะอ้างว่า เฉลิมชัย ศรีอ่อน ประสบความสำเร็จ ในการกวาดคะแนนพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีการช่วงชิงฐานเสียงของพรรคได้ แล้วอภิสิทธิ์คิดว่าในความเป็นจริงเฉลิมชัยจะสามารถพลิกฟื้นนำชัยชนะ ในพื้นที่อีสานและพื้นที่ภาคเหนือ ได้เหมือนกับภาคกลางหรือไม่ เพราะการต่อสู้ทางการเมือง ทุกพื้นที่ย่อมมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
ความจริงแล้วประชาธิปัตย์กำลังหลงประเด็นหรือไม่ ที่พยายามให้น้ำหนักกับตำแหน่งเลขาธิการพรรค เพราะไม่ใช่ตำแหน่งแคนดิเดทว่าที่นายกรัฐมนตรี
วันนี้ ประชาชนอยากเห็นแม่ทัพหลวงคนใหม่ของประชาธิปัตย์ เพราะได้อภิสิทธิ์กลับมา ก็ไม่มีอะไรให้ลุ้นว่า จากนี้ไปการนำพาพรรคเป็นอย่างไร เพราะชาวบ้านเขาไม่อยากดูหนังที่ฉายออกมาซ้ำๆ หรือไม่มีอะไรน่าติดตามอีกต่อไป ทั้งที่บุคลากรของประชาธิปัตย์ที่มีศักยภาพยังมีอยู่อีกมากมาย หากเปิดใจรับคนนอกเข้ามาผลัดเปลี่ยนแนวความคิด
เมื่อถึงวันนั้นจะเป็น 4 ปีหรือ 8 ปี อภิสิทธิ์จะกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคและเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ก็ยังไม่สาย
ประชาชาติธุรกิจ
4.) หลักสูตร-โรงเรียนประชาธิปัตย์ ต่อยอด-ขยายพันธุ์-เปิดแผล"เสื้อแดง" ตั้งหลัก ครม.เงา "ฝ่ายค้านขั้นเทพวันที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 13:00:46 น.
1 เดือนหลังเลือกตั้ง ภารกิจเรียงหมากในกระดานการเมืองก็เสร็จสิ้นทั้งแกนนำรัฐบาล-ฝ่ายค้าน
ฝั่ง พรรคเพื่อไทยเตรียมขยับนั่งเก้าอี้ทำเนียบรัฐบาล เปิดโฉมหน้า "ครม.ปู 1" อย่างเป็นทางการ ลุยบริหารนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชน
ฝั่ง พรรคประชาธิปัตย์ ยังยินดีใช้บริการ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นำทีม 19 กรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ปรับยุทธศาสตร์ภายในและวางแผนสู้ศึกภายนอก
แม้ รัฐบาล-ฝ่ายค้านจะออกตัวจากลู่วิ่งพร้อมกัน แต่ ปชป.ที่เปี่ยมไปด้วยยอดฝีมือฝ่ายค้านยังเสียเปรียบอยู่หลายช่วงตัว เพราะมีภารกิจ-ยุทธศึกให้ปรับเปลี่ยนขนานใหญ่
ภารกิจแรกของ "19 อรหันต์" จำเป็นต้องสรุปบทเรียนหลังปราชัยคว้าเก้าอี้ ส.ส.ได้เพียง 159 ที่นั่ง
พ่ายแพ้เป็นครั้งที่ 6 ในรอบ 2 ทศวรรษ
"อภิรักษ์ โกษะโยธิน" พร้อมทีมงาน "ฟิวเจอร์ไทยลีดเดอร์" เดินเกมทันทีหลังการเลือกตั้งด้วยการจัดชุดระดมความเห็นภาคประชาชน ผู้สมัคร ส.ส. และสาขาพรรคทั่วประเทศใน 3 ช่องทาง
ทางแรก เปิดอีเมล์รับฟังความเห็น ในชื่อ future@democrat.or.th
ทางที่ 2 สร้างเครือข่าย www.facebook.com/futuredp หวังฟังเสียงกลุ่มโหวตเตอร์รุ่นใหม่ผ่านแบบสอบถาม 5 ข้อ ภายใต้สโลแกน "ร่วมสร้างอนาคตไทยกับพรรคประชาธิปัตย์" ขณะนี้มีผู้เข้าร่วมแล้ว 5,021 คน
ทาง ที่ 3 "อภิรักษ์" เดินสายผ่านระบบสาขาพรรค จัดเวทีพบประชาชนทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มที่เลือกและไม่เลือกพรรค เพื่อสร้างความใกล้ชิดชุมชนระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะในเขตแดนแดงภาคอีสาน-เหนือ ที่พรรคยังหาที่ยืนแทบไม่ได้
อภิรักษ์-อดีต เจ้าพ่อวงการมาร์เก็ตติ้ง ทั้งเคยทำการตลาดให้สินค้าอุปโภคและยักษ์ใหญ่บริษัทโทรคมนาคมบอกว่า ข้อมูลทั้งหมดจะทำให้พบสาเหตุของการพ่ายแพ้ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายใน พร้อมวางแผนขยายฐานเสียงของพรรคในระดับรากหญ้า
"เราไม่ได้ฟังเฉพาะผู้ ที่สนับสนุนพรรค 11 ล้านคน แต่ยังเข้าถึงกลุ่มที่ไม่ได้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น ได้ร่วมแสดงความเห็นเพื่อหาคำตอบว่าพรรคควรเดินหน้าต่อไปอย่างไร"
"ผู้ ให้ข้อมูลส่วนใหญ่บอกว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีนโยบายช่วยเหลือคนจน ทำงานไม่รวดเร็ว และห่างไกลเกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน หรือที่เรียกว่า กลุ่มรากหญ้า คือเขาอยากให้เราทำงานแบบติดดินมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคอีสาน"
ขณะที่ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" เมื่อหลบฉากทิ้งเก้าอี้เลขาธิการเข้าประจำการในตำแหน่งฝ่าย เสธ.-กุนซือของพรรค และวางทายาทการเมืองไว้ใน 19 อรหันต์-กรรมการบริหารพรรคในโควตา "รองประธานภาค" ที่ต่อจากนี้ต้องรับหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการเมืองโดยตรง
"สุเทพ" พลิกบทบาทมาเป็น"ครูใหญ่" เปิดโรงเรียนการเมืองเพื่อฝึกวิชาทั้งบุ๋น-บู๊ให้แก่ ส.ส.หน้าใหม่กว่า 30 คน ปลูกฝังแนวคิด อุดมการณ์ เพื่อคอยต่อกรกับขั้วตรงข้ามในอนาคต โดยมีชื่อ "ไตรรงค์ สุวรรณคีรี" เป็นครูผู้สอน
แผนระยะสั้น เพื่อฝังความคิดอุดมการณ์เรื่อง "คนเสื้อแดง" เป็นภัยต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
แผน ระยะยาว เพื่อสร้างนักการเมืองระดับรัฐมนตรี บ่มเพาะหน้าที่งานบริหาร งานนิติบัญญัติ งานกฎหมาย อีกนัยหนึ่งคือการจัดระเบียบ ส.ส.ทั่วประเทศ เพราะที่ผ่านมาบรรดาสาขาพรรคมักจะเดินแตกแถว
แม้จะมีเสียงวิพากษ์ วิจารณ์ทั้งจากคนใน-นอกว่ามีลักษณะคล้ายทั้ง "โรงเรียนเสื้อแดง" ของ นปช. และโครงการ "ยุวประชาธิปัตย์" ของพรรค จนทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำก่อตัว "เพิกเฉย" กับแนวคิดดังกล่าว
แต่ "สุเทพ" ก็เดินเกมรุกเรียกประชุม ส.ส.รายภาค กล่อมเกลางานประชาสัมพันธ์แนวคิดโรงเรียนการเมือง ปลุกเร้าฉายภาพการขยายพันธุ์ของ "คนเสื้อแดง" ที่จะแตกกอ-ต่อยอดกับ "พรรคเพื่อไทย"
ทั้งองคาพยพของประชาธิปัตย์ ตั้งใจดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนเกมการเมืองทั้งใน-นอกระบบ ไม่จำกัดรูปแบบ เต็มพิกัด
ด้าน ยุทธวิธีในการทำหน้าที่ฝ่ายค้านงานถนัด ได้จัดเตรียมกองกำลังตรวจสอบ-จับผิดชนิดกัดไม่ปล่อย งัดวิชา "ครม.เงา" คอยตอบโต้ประเด็นนโยบายต่าง ๆ ประกบตัวต่อตัวกับรัฐมนตรีรายกระทรวงที่พรรคจะประกาศเริ่มงานทันทีเมื่อ พิธีกรรมแถลงนโยบายของฟากรัฐบาลเริ่มต้นขึ้น
พร้อมติดอาวุธด้วยศูนย์ประสานงาน ทำงานคู่ขนานกับ "ครม.เงา" เสมือนกุนซือข้างกายขุนศึก
ภาย ใต้ชื่อ "สถาบันติดตามนโยบายและการทุจริตคอร์รัปชั่น" มีหน้าที่แจกจ่ายข้อมูลด้วยผลงานจากการค้นคว้าวิจัย งานสัมมนาวิชาการจากสถาบันทั้งในและนอกประเทศ เน้นหนักเจาะ-จับผิดทุกนโยบายโดยเฉพาะแผนการ ปรองดองพาคนดูไบกลับบ้าน
รวมถึงภารกิจลับที่อาจเป็นถังข้อมูลไว้เปิดศึก "อภิปรายไม่ไว้วางใจ" ตามวาระของสภาผู้แทนราษฎร
จึงปรากฏรายชื่อหัวขบวนที่ล้วนแต่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ-ค้นคว้าวิจัย อย่าง น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์, นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ, นาย เกียรติ สิทธีอมร และนายสรรเสริญ สมะลาภา รวมถึงการเดินหน้าติดต่อแนวร่วมนักวิชาการจากทุกศาสตร์ทุกสาขา เพื่อสร้างแรงสนับสนุนให้กับประเด็นต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
ก่อน ที่จะเดินหน้ากันต่อ หนึ่งในกรรมการบริหารพรรคชุดเก่าได้ฝากข้อความถึงกลุ่มบริหารชุดใหม่ว่า "ประชาธิปัตย์มีคนดีมากมาย แต่มักหาคนกล้าไม่ค่อยได้ อำนาจเบ็ดเสร็จ เด็ดขาดตกอยู่ที่คนนั่งหัวโต๊ะ จึงไม่มีใครกล้าปริปากเสนอแนวคิด เพราะกลัว ตกโผ ครม.หากได้กลับมาเป็นรัฐบาล
"หลังจากนี้พรรคประชาธิปัตย์จำเป็น ต้องหลอมรวมทุกภูมิภาคให้เป็นหนึ่ง เสมือนวิ่ง 31 ขาสามัคคี ต้องพากันเดินไปพร้อมกันถึงมีโอกาสกลับมาชนะเลือกตั้ง"
ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์ในมาด "ฝ่ายค้านมืออาชีพ" จะเดินหน้าแบบก้าวกระโดดหรือถอยหลังลงคลอง ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจในทุกฝีก้าวของ 19 อรหันต์ชุดใหม่กับผู้นำคนเดิมที่ชื่อ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"
คม ชัด ลึก
5.)ปชป.เดินหน้าสร้างมวลชนลุยเหนืออีสานนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวว่า มีความพยายามส่งเด็กในกลุ่มของ ไปล็อบบี้ไม่ให้เลือกนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคคนใหม่ว่า ไม่เป็นความจริง ยืนยันว่า เขาวางตัวอย่างเคร่งครัด
"จะเลือกใครยังไม่บอกน้อง ๆ ส่วนสมาชิกจะชอบใครเลือกใคร ให้เป็นดุลพินิจของสมาชิกโดยเสรี แต่สิ่งที่ขอทุกคนว่า การเลือกหัวหน้าพรรคต้องเป็นเอกฉันท์ ไม่มีการลุกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานที่ผ่านมาทั้งสิ้น เพราะไม่อยากให้เสียบรรยากาศ ผมพูดอย่างเปิดเผยและกับส.ส.ทุกคนทุกภาคในการประชุมทีละ 20-30"
เขาบอกว่า กรณีการนัดทานข้าว และมีการสรุปอธิบายสถานการณ์บ้านเมืองให้ทราบ เรื่องใหญ่ที่พูดคือ เรื่องสถานการณ์บ้านเมืองในภาพรวมว่า จะต้องเผชิญสถานการณ์อะไรบ้าง พรรคประชาธิปัตย์จะต้องทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ อย่างไร การที่มีความพยายามออกมาปล่อยข่าวว่า ไปล็อบบี้ใครอย่างไรนั้น ยืนยันอีกครั้งว่า ไม่มี
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข่าวว่าตัวนายสุเทพ ไม่สามารถทำงานร่วมกับนายเฉลิมชัยได้ หากนายเฉลิมชัยได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรค นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่มี ที่ผ่านมา เขากล่าวกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคว่า จะช่วยงานหัวหน้าพรรค ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล แต่เป็นเรื่องของพรรคและระบบ และได้แจ้งก่อนตั้งแต่เลือกตั้งเสร็จว่า จะไม่รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคหรือกรรมการบริหารพรรค เพราะต้องการออกไปทำงานการเมือง ซึ่งมีทั้งคนในและคนนอกพรรคที่เป็นงานการเมืองเหมือนกัน
“ผมอยากจะบอกกับประชาชนคนไทยทั้งหลายว่า ในขณะนี้ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างพรรคการเมืองกับพรรคการเมือง แล้วมันเป็นเรื่องของลัทธิบางลัทธิที่ต้องการจะครอบงำประเทศไทย คนไทยควรจะได้รู้ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ บังเอิญผมรู้ ผมก็จะได้เดินสายไปบอก ผมก็จะไม่มีเวลามาทำงานในพรรค” นายสุเทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุที่บางคนไม่ยอมรับนายเฉลิมชัย เพราะเห็นว่า นายเฉลิมชัยไม่ใช่ลูกหม้อที่เกิดจากพรรคมาดั้งเดิม กลัวว่า จะมีการย้ายพรรคไปนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่เป็นไร วันนี้เมื่อใครมาอยู่ในพรรคแล้วก็เหมือนกัน วันนี้เป็นสมาชิกพรรค เป็นคนหนึ่งของพรรค และที่กล่าวว่านายเฉลิมชัยถูกมองว่าเป็นลูกทุ่ง มากกว่านายจุติ ไกรฤกษ์ นั้น ก็ไม่เกี่ยวกันว่า จะเป็นลูกทุ่งหรือลูกกรุง อยู่ที่ว่าทำงานได้ ไม่ได้เท่านั้นเองอยู่ที่สมาชิกที่สำคัญคืออยู่ที่หัวหน้าพรรคจะเป็นผู้เสนอ ชื่อ
ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า ที่ผ่านมาคิดว่าอดีตเลขาธิการพรรคทำงานที่มาตรฐานสูงไว้ คนใหม่จะทำได้หรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่แน่ (ระหว่างที่นายสุเทพให้สัมภาษณ์ ได้มีสมาชิกพรรคคนหนึ่งเอากระดาษที่เขียนว่า “กล้าที่จะกลับมา ก็ต้องกล้าเปลี่ยน") มาชูให้ดู ซึ่งนายสุเทพก็พูดกับสื่อยิ้ม ๆ ว่า เขาก็เป็นอย่างนี้
เมื่อถามว่า นอกจากในเรื่องการเลือกเลขาธิการพรรคแล้ว ยังมีความพยายามที่จะล็อบบี้ในเรื่องการเลือกรองหัวหน้าพรรค ด้วยการนัดหารือที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง เพื่อหักผู้ใหญ่ในพรรคบางคนนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ต้องถามว่า ใครนัดไปทานข้าว แต่ไม่ใช่เขา ที่ผ่านมา จะนัดเป็นกลุ่มๆ ทุกคนทราบดีภาคเหนือ อีสาน กลางใต้ แต่หากเป็นคนอื่นใครจะไปนัดกับใครที่ไหนบ้าง ไม่ทราบ
ส่วนใครจะหัก ในสิ่งเขาเสนออะไรบ้างนั้น ยืนยันได้ว่า เขาไม่เสนออะไรเลย และไม่เสนอใครแม้แต่คนเดียว และในการประชุมที่ผ่านมา เขาก็เป็นผู้จัดการประชุมใหญ่
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มคนใหม่ที่มีตำแหน่งในพรรค ต้องการที่จะหักอดีตเลขาธิการพรรค เพราะต้องการเข้ามาเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ภายในพรรคหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่คิดว่า จะเป็นแบบนั้นเพราะเวลาเลือกตั้ง ก็มักจะเป็นเรื่องปกติที่ดี ๆ กันอยู่ แต่เมื่อถึงเวลาเลือกตั้งอาจจะคิดไม่เหมือนกันได้เป็นธรรมดา ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องผิดปกติ ทุกอย่างจบในวันเลือกกรรมการบริหารพรรค
ส่วนจะต้องฝากอะไรกับเลขาธิการพรรคคนใหม่หรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ต้องฝาก เพราะต่อไปมีอะไรในพรรคก็สามารถพูดคุยกันได้ และคงไม่ต้องมาคอยดูแล เพราะคนที่เป็นเลขาฯคนใหม่เป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่หากต้องการคำปรึกษา เขาก็ยินดีและพร้อมเสนอความเห็น
ส่วนที่มีผู้ใหญ่ในอดีตของพรรค ออกมากล่าวถึงความก้าวพลาดของพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะการใช้คนของหัวหน้าพรรคไม่ถูกคน และเลือกคนมาใช้งานไม่ถูกต้อง นายสุเทพ กล่าวว่า ท่านเป็นผู้ใหญ่ ไม่ขอวิจารณ์ อย่าไปโทษท่านหัวหน้าพรรค เป็นเรื่องของทั้งพรรค และการที่อดีตหัวหน้าพรรคในอดีต เรื่องการทำงานนั้น ก็จะทำให้เขาเจ็บตัวได้(กล่าวทั้งหัวเราะ)
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคประชาธิปัตย์จะต้องปรับกลยุทธ์ อย่างไรถึงจะชนะพรรคอื่นได้ อดีตเลขาธิการพรรค กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ จะต้องไม่สู้คนเดียว ต้องแสวงหามิตรและแนวร่วม และจะต้องทำงานหนัก ลงพื้นที่จัดตั้งมวลชนแสวงหาสมาชิก
"ยืนยันได้ว่า ไม่ได้เป็นอย่างที่กล่าวว่า เมื่อมีการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ จึงจะเริ่มลงพื้นที่หาสมาชิก ซึ่งความจริงมีการทำมาตลอด แต่บางคนทำได้ดีแข็งแรง แต่บางคนประมาท และเรื่องใหญ่ที่เราต้องเร่งทำคือเรื่องมวลชน ในพื้นที่ภาคอีสานนั้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวคนที่เป็นรองหัวหน้าพรรค แต่อยู่ที่ทิศทางของพรรค"
ปชป.ยกเครื่องใหม่ เร่งเจาะพื้นที่เหนือ-อีสาน
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ส.ส.ระบบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ภารกิจการทำงานเบื้องต้น ต้องรอให้นายอภิสิทธิ์ เป็นผู้มอบหมายงานให้รองหัวหน้าพรรคส่วนกลาง ทั้ง 3 คน และรอฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน ซึ่งเขาจะร่วมทำงานกับเลขาธิการพรรค กรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ประธานภาค และส.ส.ของพรรค จากนั้น จะมาร่วมประชุมเพื่อกำหนดทิศทางการทำงานของพรรคอีกครั้ง
"นโยบายที่จะทำเป็นเชิงรุก พรรคประชาธิปัตย์จะบุกพื้นที่ทั้งภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือ เพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชนต่อไป"
กก.บห. ส่วนใหญ่ ยังสายตรง "สุเทพ"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมวิสามัญสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรค ในส่วนของเลขาธิการพรรค เป็นไปตามคาด ที่นายเฉลิมชัย เป็นผู้ได้รับตำแหน่งไป เพราะได้รับการผลักดันจากคนใกล้ชิดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ซึ่งมีความสนิทสนมมากเป็นพิเศษ รวมถึงนายอภิสิทธิ์ เอง ก็ต้องการปลดแอกจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคฯ เพื่อลบคำครหา และต้องการเป็นตัวของตัวเอง หลังจากถูกควบคุมตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ นายเฉลิมชัย เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในขณะนี้ เพราะนายอภิรักษ์ ตัวเลือกแรก ถูกคดีจัดซื้อรถดับเพลิงกทม. สมัยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่ากทม.เป็นชนักติดหลัง ขณะที่นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก ที่เป็นแคนดิเดตอีกคนหนึ่ง ถูกขอร้องจากผู้ใหญ่ภายในพรรคให้ถอนตัวออกไป โดยรับปากว่า จะมีสำรองเก้าอี้รองหัวหน้าพรรคโควตากลางไว้ให้
สำหรับกรณีดังกล่าว ได้ทำให้นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ที่คาดกันว่า จะได้ตำแหน่งนี้ไปในตอนแรก หลุดออกไปแข่งในรองหัวหน้าพรรค กทม.ซึ่ง นายกรณ์ ก็ยอมรับแต่โดยดี นั่นเพราะนายกรณ์มั่นใจคะแนนเสียง หลังจากขอคะแนนส.ส.ภาคกลางผ่านนายเฉลิมชัย โดยทั้ง 2 คน ระหว่างนายกรณ์และนายเฉลิมชัยนั้น เข้าลักษณะพึ่งพิงกัน
ทั้งนี้ กลุ่มส.ส.กรุงเทพฯ ของนายกรณ์ สนับสนุนนายเฉลิมชัย ขณะที่กลุ่มของนายเฉลิมชัย ก็หนุนนายกรณ์ ขณะที่นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ที่ลงแข่งรองหัวหน้าภาคกทม.ด้วยนั้น ถูกผู้ใหญ่ในพรรคขอร้องไม่ให้สู้กับ นายกรณ์
มีรายงานแจ้งว่า แม้นายเฉลิมชัย จะได้ตำแหน่งเลขาธิการไป แต่ส่วนตำแหน่งอื่นๆ อาทิ รองหัวหน้าพรรคในแต่ละภาคนั้น ส่วนใหญ่ยังเป็นคนของนายสุเทพ ที่ได้รับตำแหน่ง อาทิ นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ที่ได้ในส่วนของภาคเหนือ นายถาวร เสนเนียม ในส่วนของภาคใต้ และนายอิสระ สมชัย ในส่วนภาคอีสาน
ขณะที่ตำแหน่งรองเลขาธิการ มีการกระจายโควตาภาค ทั้งภาคเหนือจากนายนราพัฒน์ แก้วทอง ส.ส.พิจิตร บุตรชายนายไพทูรย์ แก้วทอง แกนนำภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งเป็นที่ปรึกษานายเฉลิมชัย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นรมว.แรงงาน นายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี สายนายวิฑูรย์ นามบุตร แกนนำภาคอีสาน นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ สายนายบัญญัติ บรรทัดฐาน สภาที่ปรึกษา
อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่า จำนวนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนกว่า 30 % ที่ไม่โหวตสนับสนุนนายเฉลิมชัย น่าจะมาจากส.ส.ใต้ กลุ่มนายสุเทพ
6.)'มาร์ค-เทือก-ธาริต'ใบ้คำสั่งลับศอฉ.
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า มีการนำเอาคำสั่งลับของศูนย์อำนวยแก้ไขสถานการร์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) คำสั่งนรม.10 เม.ย.53 ให้ขอคืนพื้นที่ กลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง บริเวณสะพานผ่านฟ้ลีลาศ มาเผยแพร่ในเวปไซด์ โดยมีเนื้อหาตามคำสั่งระบุว่า ได้สั่งกองทัพบก ให้จัดชุดปฏิบัติการพิเศษใช้แก๊สน้ำตาทางอากาศ ตามด้วยคำสั่งใช้ปืนลูกซอง โดยเล็งส่วนล่างตั้งแต่เข่าลงมา แต่ห้ามใช้อาวุธต่อผู้หญิงและเด็กว่า เอกสารที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ ไม่มี เพราะศอฉ.คงไม่ทำเอกสารแบบนั้นไว้
"ผมไม่ทราบว่า ใครนำไปเผยแพร่บนเวปไซด์ ตามที่เป็นข่าว ดังนั้น คงต้องไปถามนายสุเทพ(เทือกสุบรรณ) และคงต้องไปเอาเอกสารมาให้นายสุเทพ ดูว่า เป็นเอกสารที่ออกโดยศอฉ.จริงหรือไม่"
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง กล่าวปฏิเสธว่า ยังไม่เห็นข่าวดังกล่าว และไม่ทราบว่า เป็นเอกสารของใครอย่างไร ซึ่งขอไปดูรายละเอียดของข่าว และที่มาที่ไปของเอกสารก่อน จึงจะบอกได้ว่า เป็นเอกสารที่ออกโดยศอฉ.หรือไม่
ขณะเดียวกัน นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก็อ้างว่า ยังไม่เห็นเอกสารดังกล่าว จึงไม่สามารถให้ความเห็นได้ เนื่องจากไม่แน่ใจว่า เป็นเอกสารฉบับจริงหรือไม่ และมีการตัดต่อเอกสารหรือไม่
"โดยปกติ เอกสารลับ ของ ศอฉ. จะถูกเก็บรักษาไว้ในหน่วยทหาร จึงมีความเป็นไปได้ว่า ผู้ที่นำออกมาเผยแพร่ อาจเป็นทหาร หรือตำรวจแตงโม ส่วนเนื้อหาเอกสารดังกล่าวนั้น จะเป็นหลักฐานส่วนหนึ่งในสำนวนการสอบสวนคดีก่อการร้ายของดีเอสไอหรือไม่ ผมยังไม่สามารถยืนยันได้ เนื่องจากคดีมีหลักฐานเป็นจำนวนมาก คงต้องใช้เวลาตรวจสอบก่อน" นายธาริต กล่าว
7.)จยย.นับ100บุกกรุงจี้'ปู'ปฏิรูปที่ดิน
**
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 7 สิงหาคม ที่หน้าศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ขบวนรถจักรยานยนต์ของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (สกน.) จำนวนกว่า 100 คัน รวมตัวกันพบ นายปรีชา เรืองจันทร์ ผวจ.พิษณุโลก เพื่อยื่นแถลงการณ์ของเครือข่ายฯ ที่ต้องการให้ปฏิรูปการถือครองที่ดิน ส่งผ่านถึงนายกรัฐมนตรี พร้อมกับออกเดินทางจากพิษณุโลกมุ่งสู่กรุงเทพมหานคร เป้าหมายคือในวันที่ 8 สิงหาคม จะขอพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี ให้บรรจุการปฏิรูปที่ดินไว้ในนโยบายของรัฐบาลที่จะแถลงต่อรัฐสภา
นายวัชรินทร์ อุประโจง คณะกรรมการสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สำหรับขบวนจักรยานยนต์ เพื่อรณรงค์การกระจา?ยการถือครอง ที่เป็นธรรม และยั่งยืนเป็นการประสาแรงกายแรงใจ เครือข่ายพี่น้อง เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย และเครือข่ายที่ดินภาคเหนือตอนล่าง ทั้ง 15 จังหวัดภาคเหนือ
**
เพื่อแสดงพลังและนำเสนอนโยบายการจัดการที่ดินโดยชุมชนต่อรัฐบาล ที่คาดว่าจะมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเร็วๆนี้ ให้บรรจุนโยบายโฉนดชุมชนเข้าเป็นนโยบายของรัฐบาล ที่แถลงต่อรัฐสภาเพื่อให้การดำเนินในการจัดการที่ดิน โดยชุมชนมีการขับเคลื่อนต่อไปเพื่อลดปัญหาข้อพิทาทต่างๆ รวมถึงสร้างบรรทัดฐานการจัดการที่ดินที่เป็นธรรมและยั่งยืนต่อไปโดยโดยขบวน จักรยานยนต์เพื่อรณรงค์การกระจา?ยการถือครองที่เป็นธรรม
นอกจากนี้เครือข่ายที่ดินภาคเหนือตอนล่างยังมีข้อเสนอร่วม “ผลักดันให้ชาวนาขายข้าวได้เกวียนละ 15,000 บาท ตานโยบายหาเสียงของพรรคการเมือง และให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติในภาคเหนือตอนล่างอย่างจริงจัง”
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เครือข่ายนักพัฒนาองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือตอนล่าง เครือข่ายที่ดินภาคเหนือตอนล่าง จะเดินทางเข้าร่วมสมทบกับเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย วันที่ 8-9 สิงหาคม ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล โดยขบวนขับขี่มุ่งหน้า ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ เพื่อถึงหน้ารัฐสภาในวันที่ 8 สิงหาคม เพื่อเตรียมยื่นข้อเสนอต่อฝ่ายนโยบายรัฐบาลต่อไป
เดลินิวส์
8.)แอร์พอร์ตลิงก์กับไข่ชั่งกิโล วันอาทิตย์ ที่ 07 สิงหาคม 2554 เวลา 0:00 น
.เนื้อหาข่าว
หลังจากรอคอยมานานถึง 40 ปีสนามบินสุวรรณภูมิ ณ หนองงูเห่า ก็ได้เกิดขึ้น
วันนั้นผมดีใจมาก เพราะบ้านของผมอยู่ปากน้ำ (สมุทรปราการ) จะได้ไปสนามบินสะดวกกว่าที่ดอนเมือง
ขณะที่ได้ใช้สนามบินแห่งใหม่ผมได้ทราบต่อมาว่า
กรุงเทพฯ กำลังจะมีรถไฟฟ้าเส้นทางสายใหม่ที่มีชื่อว่าแอร์พอร์ตลิงก์
ฟัง ครั้งแรกผมนึกว่าเป็นรถไฟฟ้าที่แล่นระหว่างสนามบินสุวรรณภูมิกับดอนเมือง เพื่อให้ความสะดวกกับผู้โดยสารที่จะต้องใช้สนามบินสองแห่งเดินทางไปต่าง ประเทศและในประเทศจะได้ไปมาหาสู่กันสะดวก
ทว่า ผมเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง เพราะที่แท้แล้ว เป็นแอร์พอร์ตลิงก์ที่ไม่ได้ลิงก์หรือเชื่อมต่อระหว่างสองสนามบินแต่เป็นการ ลิงก์ระหว่างสนามบินสุวรรณภูมิกับมักกะสันเท่านั้น
“ก็ดีเหมือนกัน” ผมคิดในใจ เพราะจะได้เป็นการขนคนจากใจกลางเมืองไปส่งสนามบินและจากสนามบินมาส่งคนในเมือง
ถือเป็นเจตนาดีของรัฐบาลสมัยนั้นที่มี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
อีก ทั้งผู้โดยสารเครื่องบินสามารถเช็กเอาต์เข้าสนามบินได้ที่มักกะสันโดยไม่ ต้องไปเสียเวลาที่สนามบิน แล้วยังใช้ประโยชน์ในการเป็นยานพาหนะให้กับคนทั่วไปด้วย เพราะมีสถานีให้หยุดลงกลางทางได้หลายแห่ง
แค่รู้ว่าแอร์พอร์ตลิงก์มีประโยชน์อย่างนี้ก็ทำให้ทุกคนตั้งใจรอคอย
ที่ต้องรอก็เพราะ การก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนดเป็นปี ๆ (จำไม่ได้แล้วว่ากี่ปี)
ถึง จะนานเท่าไรก็รอได้ เพราะคิดว่าเมื่อแอร์พอร์ตลิงก์สามารถรับผู้โดยสารได้ ก็จะทำให้การจราจรติดขัดน้อยลง อีกทั้งยังทำให้คนเมืองหลวงและใกล้เคียงได้รับความสะดวกอีกต่างหาก
ผมจึงอดที่จะชื่นชมรัฐบาลสมัยนั้นไม่ได้ ที่คิดดี ทำดี แล้วก็ทำได้ ถึงแม้ต้องใช้เงินหลายหมื่นล้าน ก็ไม่เป็นไร
แอร์พอร์ตลิงก์แล่นรับผู้โดยสารได้เมื่อไรก็สามารถคุ้มทุนได้เพียงไม่กี่ปี และถ้าคิดไประยะยาวก็จะได้กำไรตามมาอีกไม่รู้เท่าไร
ทว่า พอถึงเวลาขึ้นมาจริง ๆ แอร์พอร์ตลิงก์เปิดใช้รับผู้โดยสารเพียงไม่ถึงปี ปรากฏว่าขาดทุนยับเยิน
ตั้งเป้าว่าจะมีผู้โดยสารวันละหลายพันคน แต่มีแค่หลักร้อยเท่านั้น
ขาดทุนชนิดว่าถ้าหาแหล่งเงินทุนมาเพิ่มเติมไม่ได้จะต้องหยุดรับผู้โดยสารเลยทีเดียว
ที่ เป็นเช่นนี้ก็เพราะคนไม่นิยมนั่งแอร์พอร์ตลิงก์นั่นเอง คนที่ใช้แอร์พอร์ตลิงก์ส่วนมากจะเป็นนักท่องเที่ยวที่มาพักโรงแรมและคนที่ อยู่ใจกลางกรุงใกล้ ๆ กับมักกะสัน นอกนั้นแทบไม่มีเลย
คนอยู่รอบนอก ๆ ไม่นิยมใช้ เพราะนั่งรถไปบนทางด่วนและถนนวงแหวนไปยังสนามบินสุวรรณภูมิง่ายและสะดวกกว่าเยอะ
ถ้าระยะทางไม่ไกลมากนักก็จะนิยมขับรถไปเอง
ที่แน่ ๆ ถ้านั่งแท็กซี่หลายคนจะเสียเงินค่าโดยสารถูกกว่านั่งแอร์พอร์ตลิงก์
เมื่อมีผู้โดยสารไม่ได้ตามเป้าก็ต้องขาดทุนตามระเบียบ
ทีนี้หันมาดูไข่ชั่งกิโลบ้าง ก็เป็นเรื่องทำนองเดียวกัน
สมัยรัฐบาลที่แล้วไข่อภิสิทธิ์ราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่แก้ไขก็จะทำให้คนกินไข่เดือดร้อน
เนื่อง จากไข่เป็นอาหารหลักของคนไทย ถ้ารัฐบาลปล่อยให้ไข่มีราคาแพงโดยไม่ติดเบรก นอกจากทำให้คนกินไข่เดือดร้อนแล้ว รัฐบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต้องเดือดร้อนกว่า
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลอภิสิทธิ์จึงต้องคิดหาหนทางทำให้ไข่ราคาถูกลง
วิธีหนึ่งที่จะทำให้ไข่ราคาถูกลงก็คือการชั่งกิโล เพราะถ้าคัดไข่เพื่อแยกขนาดขายเหมือนเดิมต้องมีค่าใช้จ่ายในการคัดแยก
ถูกแล้ว หากตัดขั้นตอนนี้ออกไป โดยนำไข่ขนาดต่าง ๆ มาขายรวม ๆ ด้วยการชั่งกิโลก็จะทำให้ไข่ราคาถูกลง
ทว่า พอใช้วิธีนี้ขึ้นมาจริง ๆ กลับมีปัญหาตามมามากมาย เช่น คนซื้อไม่นิยมซื้อแบบชั่งกิโล เพราะการได้ไข่ที่มีขนาดแตกต่างกันทำให้ไม่สะดวกในการใช้ โดยเฉพาะแม่ค้าที่ต้องทำไข่พะโล้ขาย หรือทำข้าวผัด เพราะคิดค่าไข่กับลูกค้ายาก
หรือแม่บ้านก็ปวดหัวถ้าไปซื้อไข่มา กินแล้วได้ไข่ที่มีขนาดไม่เท่ากัน ไม่ต้องอะไรมากแม้จะทอดไข่เจียวกิน ถ้าต้องใช้ไข่ 3 ฟองที่มีขนาดไม่เท่ากันทำให้ใส่น้ำปลาไม่ถูก
ยังมีอื่น ๆ อีกที่ไม่สะดวก เช่น การนำไข่หลายขนาดขึ้นตาชั่ง
สรุปแล้วไข่ชั่งกิโลจึงไปไม่รอด เพราะไม่เป็นที่นิยมทั้งคนขายและคนซื้อ
จึงเป็นอันว่า ทั้งไข่ชั่งกิโลกับแอร์พอร์ตลิงก์มีปัญหาเหมือนกันคือเป็นเจตนาดีของรัฐบาล แต่ไปไม่รอด
ไข่ชั่งกิโลดีอยู่อย่างเดียวคือพอไปไม่รอดก็หยุดขายได้
แต่แอร์พอร์ตลิงก์พอไปไม่รอดหยุดเดินรถไม่ได้ ต้องทนขาดทุนต่อไปจนกว่าจะทนไม่ไหว
นี่แหละเมืองไทย.
ไมตรี ลิมปิชาติ
มติชน
9.)เจาะใจ จตุพร เตือนเสื้อแดงอย่าหลงใหลชัยชนะ ไม่ได้รมต.ต้องไม่ใช่เรื่องภาพลักษณ์ไม่ดี
วันที่ 07 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 12:35:57 น.
แทบ ลอยด์ ไทยโพสต์ สุดสัปดาห์นี้ สัมภาษณ์ จตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดง และส.สงปาร์ตี้ลิสต์ พรรคเพื่อไทย คนล่าสุด ให้สัมภาษณ์ถึงบทบาทคนเสื้อแดงและตำแหน่งแห่งที่ของแกนนำเสื้อแดง
มติชนออนไลน์ นำบางตอนมานำเสนอ ดังนี้
รัฐบาลใหม่กับการปรองดอง
"แค่ รัฐบาลยืนตัวให้ตรงในชั้นที่อยู่ในการกำกับของรัฐบาล ทำทุกอย่างอย่างตรงไปตรงมา ผมเชื่อว่าการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมนั้นจะนำไปสู่การปรองดอง การปรองดองไม่ใช่ไปละเว้นศัตรูและเล่นงานมิตร แต่เป็นเรื่องว่าทั้งหมดเอาให้เท่ากัน เมื่อพันธมิตรฯ ได้รับชะตากรรมเท่ากับ รัฐบาลได้รับชะตากรรมเท่ากัน แต่ละกลุ่มได้รับชะตากรรมเท่ากัน จะได้มีความรู้สึกที่เท่ากัน คือถ้าคุณสุเทพ คุณอภิสิทธิ์ไปนอนเรือนจำบ้าง อาจจะไม่ต้องเท่ากับพวกผมก็ได้ คุณก็จะได้ซึมซับ เพราะคดีคุณ 13 คดีจาก 91 นั่นประหารชีวิต 13 หนนะ แต่พยายามไปชี้คดีคุณหญิงพจมานซื้อที่รัชดาฯ ซึ่งมันเท่าขี้เล็บเมื่อเทียบกับโทษประหารชีวิต 13 คดี และถ้าเดินหน้าสอบต่อ 91 คดีก็จบ และพยายามฆ่าอีก 2,000 คดี มันเรื่องใหญ่มาก แต่ปรากฏว่าเรื่องใหญ่มันถูกกลบด้วยเรื่องเล็ก ต้องมาว่ากันตามเนื้อผ้า ถ้าอย่างนั้นมันจะเดินหน้าต่อไปได้"
มวลชนเสื้อแดงรอฟังแกนนำว่าจะก้าวเดินอย่างไรต่อ
"ผม เป็นผู้แทนหรือไม่เป็นผู้แทน ผมก็ปฏิบัติตัวเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น และเราก็ได้พิสูจน์ให้เห็น เพราะฉะนั้นตำแหน่งหน้าที่ ส.ส.มันเล็กกว่าตำแหน่งประชาชน จุดยืนที่สำคัญก็คือว่าวันนี้คนเสื้อแดงเขาไม่ได้รับความยุติธรรม เราต้องเดินหน้าทวงความยุติธรรมให้กับคนเสื้อแดง และความยุติธรรมของคนเสื้อแดงให้เท่ากับความยุติธรรมของคนไทย 63 ล้านคน นี่เป็นทิศทางที่อย่างไรก็ต้องเดินไปอย่างนั้น เพราะผมเชื่อว่าตราบใดไม่มีความยุติธรรมเกิดขึ้น ประชาชนเขาหยุดไม่ได้ และขณะเดียวกันนั้นอย่างที่ผมบอกว่าประชาชนเขาไม่เป็นอุปสรรคกับรัฐบาล แต่เขาไม่ไว้วางใจในสถานการณ์ เพราะฉะนั้น 91 ศพว่ายังไง การดูแลเยียวยาเรื่องทางคดีความ เรื่องข้อเท็จจริงว่ายังไง"
มั่น ใจได้อย่างไรว่าเพื่อไทยจะร่วมแนวทางทวงคืนความเป็นธรรมให้คนเสื้อแดง เพราะในความเป็นนักการเมืองคงไม่อยากสร้างเงื่อนไขที่กระทบกับอำนาจ
"การ เป็นนักการเมืองต้องฟังประชาชน เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยมีบทเรียนมากมายในช่วงที่ผ่านมา ผ่านร้อนผ่านหนาวและเขาต้องรู้ว่าชัยชนะที่ได้มาครั้งนี้ได้มาจากประชาชนที่ เขามีความเชื่อมั่นว่าประชาธิปไตยกับความผาสุกเขาจะได้กลับคืนมา ถ้าตราบใดนักการเมืองไปหลงใหลต่อชัยชนะและก็คิดว่าวันนี้สมประโยชน์แล้ว มองประชาชนที่เขามาต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมว่าเป็นอุปสรรค ไม่ว่านักการเมืองใดพรรคการเมืองใดต่อให้มีอำนาจมากเท่าไหนก็ตาม ถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อประชาชนแล้วจะอยู่ไม่ได้ ดังนั้นผมก็มีความเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะต้องมีสำนึกข้อนี้ คือการเป็นรัฐบาลสำคัญที่สุดคือการซื่อสัตย์ต่อประชาชนผู้เลือกตั้ง ต้องซื่อสัตย์กับ 15.7 แสน ต้องซื่อสัตย์กับ 63 ล้าน เพราะคุณพูดเขาได้ยินกันทั้งประเทศ ทั้งฝ่ายที่เลือกและฝ่ายไม่เลือก ทุกอย่างมันเป็นสัจธรรมทางการเมือง ถ้าคุณไม่สามารถรักษาสัจจะ คุณก็จะเสียความรู้สึกจากประชาชน เสียหัวใจที่เขามอบให้ ผมจึงเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่ปฏิบัติอย่างนั้น”
นี่รวมถึงตำแหน่งแห่งที่ในคณะรัฐมนตรีของแกนนำเสื้อแดงด้วย
“ประเด็น เรื่องการเป็นรัฐมนตรีหรือไม่ได้เป็น ผมพูดหลังจากออกจากเรือนจำหลายครั้งแล้วว่าพวกผมสนใจว่าจะต้องเป็นรัฐมนตรี หรือไม่ได้เป็น เพียงแต่ว่าจะต้องไม่มีการอธิบายว่าเหตุที่คนเสื้อแดงไม่ได้เป็น เพราะภาพลักษณ์ไม่ดี ภาพพจน์ไม่ดี ผมก็เปรียบเปรยว่าในประวัติศาสตร์ของโลกนักรบนักสู้ทั้งหลายต่อให้มีความ เก่งกาจสักเพียงใด ขึ้นชื่อว่าเป็นนักรบล้วนแต่มีบาดแผลทั้งสิ้น การต่อสู้มันก็ต้องมีบาดแผล มันก็ต้องมีพลาดพลั้งบ้าง เพราะฉะนั้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าหลังจากเสร็จศึกสงครามนั้น นักรบจะอยู่ในสภาพที่บาดเจ็บ เพราะเขาไปต่อสู้เขาไปรบ ทัพใดก็ตามที่มองนักรบที่เขาไปต่อสู้และบาดเจ็บ บอกว่าพวกนี้ภาพลักษณ์ไม่ดี เพราะมีบาดแผล แต่อีกพวกหนึ่งไม่เคยต่อสู้ ไม่เคยสู้รบปรบมืออะไรก็ไม่มีบาดแผล หน้านวลหน้าขาว ร่างกายครบบริบูรณ์ แต่นักรบมันแขนขาดขาขาดมันบาดเจ็บ มันเขยกเข้ามาเลย การได้เป็นหรือไม่ได้เป็นรัฐมนตรีเรื่องเล็ก แต่ต้องไม่อธิบายว่าเป็นเพราะว่าภาพลักษณ์ไม่ดี”
10.)กลุ่ม "ทหารตำรวจประชาธิปไตย 2554" เผยแพร่เอกสาร
อ้างเป็น "คำสั่ง ศอฉ." ว่อนเน็ต
วันที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16:05:00 น.
หนังสือ พิมพ์ข่าวสด ฉบับประจำวันที่ 6 สิงหาคม รายงานว่า ขณะนี้เว็บไซต์หลายแห่งเผยแพร่แถลงการณ์ของกลุ่มที่ใช้ชื่อ "ทหารตำรวจประชาธิปไตย 2554" ฉบับที่ 3 ซึ่งเปิดเผยเอกสารที่อ้างว่าออกจากศอฉ. เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 เป็นเอกสารลับมาก ถึงผู้รับปฏิบัติ ใจความว่า
ข้อ 2. ตามที่นรม.สั่งการให้ศอฉ.ทำการผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อขอคืนพื้นที่และ พื้นผิวการจราจร บริเวณสะพานผ่านฟ้าและพื้นที่ใกล้เคียง ตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.53 เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป
ข้อ 2.7 นปพ.ทบ.จัดชุดปฏิบัติการพิเศษ ปฏิบัติภารกิจร่วมกับหน่วยบินเฉพาะกิจศอฉ.ในการตรวจการณ์และการใช้แก๊สน้ำตา ทางอากาศเพื่อสนับสนุนภารกิจของทภ.1/กกล.รส.ทภ.1 บริเวณพื้นที่ชุมนุมตามขั้นตอนของกฎการใช้กำลัง
นอกจากนี้ กลุ่มทหารตำรวจประชาธิปไตย 2554 ยังเผยแพร่เอกสารลับของศอฉ.อีกฉบับ อ้างว่าเป็นคำสั่งด่วนภายในลงวันที่ 13 เม.ย.53 จากศอฉ.ถึงผู้รับปฏิบัติ ใจความว่า
ข้อ 2. เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของศอฉ.เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์ จึงให้หน่วยพิจารณาใช้ปืนลูกซอง ซึ่งเป็นอาวุธที่ไม่ร้ายแรงและสามารถควบคุมการยิงได้ ในการป้องกันตนเองของเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยกำหนดแนวทางในการใช้ ดังนี้
2.1 ใช้อาวุธทำการยิงเมื่อปรากฏภัยคุกคาม หรือกลุ่มติดอาวุธที่มีท่าทีคุกคามต่อชีวิตเจ้าหน้าที่หรือประชาชนผู้บริสุทธิ์
2.2 ให้ใช้อาวุธต่อเป้าหมาย ตามข้อ 2.1 ในระยะ 30-50 เมตร ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมวิถีกระสุนและควบคุมความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ให้สมควรแก่เหตุและห้ามใช้อาวุธต่อเป้าหมายที่เป็นผู้หญิงและเด็ก
2.3 การใช้อาวุธ ให้ดำเนินการโดยไม่มุ่งประสงค์ต่อชีวิตของเป้าหมาย ดังนั้นจึงให้เล็งส่วนล่างของร่างกาย(ตั้งแต่เข่าลงมา) เพื่อระงับ ยับยั้ง การกระทำของกลุ่มติดอาวุธซึ่งมีท่าทีคุกความต่อชีวิตของเจ้าหน้าที่และ ประชาชนผู้บริสุทธิ์
ทั้งนี้ กลุ่มทหารตำรวจประชาธิปไตย 2554 ยังระบุด้วยว่า เร็วๆ นี้จะเผยแพร่เอกสารลับของศอฉ.ชุดใหม่ตามมาอีก
โพสต์ทูเดย์
11.)โพลเผยคนหวัง"ปู"เร่งแก้ของแพง-ค่าแรง 07 สิงหาคม 2554 เวลา 09:52 น.สวน ดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ต่อ “นายกรัฐมนตรีหญิง"คนแรกของไทย ในสายตาประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,336 คน ระหว่างวันที่ 5-6ส.ค.พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 52.38% ให้เวลา น.ส.ยิ่งลักษณ์แสดงฝีมือในการบริหารประเทศมากกว่า 6 เดือน โดยให้เหตุผลว่า ปัญหาต่างๆของประเทศในขณะนี้มีมาก ต้องใช้เวลาในการศึกษา แก้ไขและจะต้องคำนึงถึงผลดี ผลเสีย ที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
รอง ลงมา 25.51% ให้เวลาภายใน 6 เดือน เพราะเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่รัฐบาลน่าจะดำเนินการให้เห็นผลงานที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมได้ ขณะที่ 19.16% ให้เวลาภายใน 3 เดือน เพราะคิดว่าเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมแล้ว ที่จะลงมือหรือดำเนินการแก้ไขในเรื่องสำคัญต่างๆ ฯลฯ และ 2.95% ให้เวลาภายใน 1 เดือน เพราะ ประเทศชาติมีปัญหามากมายที่ต้องการให้รัฐบาลใหม่เข้ามาแก้ไข ไม่สามารถรอต่อไปได้อีก ฯลฯ
ขณะที่เรื่องเร่งด่วนที่ประชาชน อยากให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำ อันดับ 1 การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ราคาสินค้าแพง /การเพิ่มค่าแรง 300 บาท ขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท 46.87% อันดับ 2 การแก้ปัญหายาเสพติด /ผู้มีอิทธิพล /ปัญหาอาชญากรรม 17.94% อันดับ 3 ความมั่นคงของประเทศ /ปัญหาชายแดน 11.46% อันดับ 4 การพัฒนาการศึกษาของไทย /การปฏิรูปการศึกษา 11.03% อันดับ 5 การสร้างความปรองดองของคนในชาติ 7.66% และ อื่นๆ เช่น นโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลใหม่สัญญาไว้กับประชาชน,ปัญหาน้ำท่วม ,การจราจร ฯลฯ
สำหรับ ความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกขอประเทศไทยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 47.66% เห็นว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการเมืองไทยที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิงคน แรก อันดับ 2 เป็นไปตามที่คาดไว้ เพราะเป็นผู้ที่พรรคเพื่อไทยวางตัวไว้ให้เป็นนายกฯ ตั้งแต่แรก21.35% อันดับ 3 ไม่มั่นใจในตัวคุณยิ่งลักษณ์ /บางคนมองว่าเป็นเพียงนายกฯ เงาที่ไม่มีอำนาจในการบริหารอย่างแท้จริง /การบริหารประเทศจะต้องอาศัยประสบการณ์ มีความคลุกคลีเกี่ยวข้องกับการเมืองมาพอสมควร 14.33%
อันดับ 4 คงจะต้องพิสูจน์ตนเองอย่างเต็มที่และเร่งทำผลงานตามที่ได้ประกาศไว้กับ ประชาชนในช่วง หาเสียงเลือกตั้ง 8.68% และอันดับ 5 บ้านเมืองจะดีขึ้นหรือแย่ลงคงจะขึ้นอยู่กับการบริหารประเทศของนายกฯ คนใหม่ ว่าจะจริงจังหรือมีความตั้งใจจริงในการบริหารประเทศมากน้อยเพียงใด 7.98%
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น