บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กรณีการเก็บค่าภาคหลวงจากการขุดเจาะน้ำมันของปิโตรเลียมไทย




 อ.ประสาท มีแต้ม

รัฐบาลไหน ๆ ก็แค่หุ่นเชิดในมือของบริษัทพลังงาน!

           ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการครองชีพของประชาชน  รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เข้าแทรกแซงราคาน้ำมันดีเซล (ซึ่งเชื่อว่ามีผลต่อราคาสินค้ามาก) ไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร
            วิธีการของรัฐบาลก็คือ เริ่มต้นด้วยการ (1) ลดการเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงาน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการรณรงค์ประหยัดพลังงาน  (2) นำเงินกองทุนน้ำมันมาชดเชย และ (3) หากราคาน้ำมันดิบยังคงพุ่งสูงขึ้นอีกในปี 2554 รัฐบาลก็มีแนวคิดที่จะลดภาษีสรรพสามิตลงมา ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ราคาน้ำมันดีเซลราคาเกิน 30 บาทต่อลิตร
            ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2553 ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ที่ลิตรละ  29.99 บาท ในจำนวนนี้เป็นค่าภาษีสรรพสามิต 5.31 บาท ค่ากองทุนอนุรักษ์พลังงาน 0.25 บาท  โดยที่ได้นำเงินกองทุนน้ำมันมาชดเชย 0.35 บาท
            ในวันนี้ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ประมาณ 91 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่อย่าลืมว่าในปี 2551 มันเคยขึ้นไปสูงสุด 142  หรือสูงกว่าราคาวันนี้ไปถึง  56 %
            ผมมีคำถาม 2 ข้อที่อยากจะถามรัฐบาลหรือชวนผู้อ่านร่วมกันคิด
              ข้อแรก แล้วรัฐบาลจะเอาเงินภาษีที่ไหนมาบริหารประเทศ เพราะจากตัวเลขดังกล่าว ในแต่ละปีรัฐบาลมีรายได้จากภาษีน้ำมันดีเซลถึงประมาณ  5-6  หมื่นล้านบาท  ถ้าไม่เก็บส่วนนี้ จะเอาเงินที่ไหนมาทำถนน มาให้นักการเมืองโกง (ฮา)
            ข้อที่สอง ทำไมรัฐบาลไม่หันกลับไปดูบ้างว่า บริษัทน้ำมันได้คิดค่าการกลั่นและค่าการตลาดในอัตราเท่าใด เป็นธรรมกับผู้บริโภคหรือไม่ สูงหรือต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ หรือไม่ เป็นต้น
แทนที่จะคิดแต่ในกรอบของข้อแรกอยู่ร่ำไป
            จากข้อมูลของกระทรวงพลังงาน (29 ธ.ค. 53) พบว่า  ค่าการกลั่น (หมายถึงราคาขายเฉลี่ยหน้าโรงกลั่นของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดลบด้วยราคาน้ำมันดิบ) อยู่ที่ลิตรละ 1 บาท 12 สตางค์ต่อลิตร
            สำหรับค่าการตลาดเฉลี่ย (หมายถึงรายได้บริษัทขายส่งน้ำมันหน้าโรงกลั่นรวมกับรายได้ของปั๊มน้ำมัน โดยที่ค่าขนส่งน้ำมันเป็นภาระของผู้เติมน้ำมัน)  อยู่ลิตรละ  1 บาท 23 สตางค์ (เท่าที่ผมทราบเจ้าของปั๊มน้ำมันจะได้ในช่วง 50 ถึง 75 สตางค์)


ค่าภาคหลวง คล้ายการ เก็บภาษี ใช้กับน้ำมัน แร่ธาตุ ฯลฯ ผลประโยชน์ที่เก็บเข้ารัฐจา​กการขุดเจาะ ขายน้ำมันที่ควรเก็บมากกว่านี้ และควรเอามาใช้พัฒนาประเทศใ​ห้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม(ป​ระชาชนทั้งประเทศ โดยเท่าเทียม)จริงๆ ไม่ใช่เอื้อประโยชน์ให้คนไม่กี่ตระกูล

ขอบคุณข้อมูลจากพี่ Dada Dew 



ค่าภาคหลวง คือค่าธรรมเนียม ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รั​บอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จ​ากทรัพยากรของชาติต้องชำระใ​ห้แก่รัฐ

http://www.uthailocal.go.t​h/dnm_file/govdoc_stj/323_​center.PDF
ลองดูที่เค้าให้การโอนเงินค​่าภาคหลวงปิโตรเลียมงวดที่1​/2554


 จากพี่ Amy Wong

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง