โดยดร.ไก่ Tanond
ได้ยินนักวิชาการหลายท่าน นำวลีทองของท่าน Lord Acton ที่ว่า..
"Power tends to corrupt and absolute power corrupts absolutely." มาออกทีวีกันบ่อย
โดยมีผู้แปลความเป็นภาษาไทย อยู่หลายท่าน แต่ที่ติดตาผมมานานเป็นสิบปี คืออันนี้..
"ที่ใดมีอำนาจ ที่นั่นย่อมมีการฉ้อฉล ที่ใดมีอำนาจเหลือล้น ที่นั่นย่อมมีการฉ้อฉลสุดประมาณ"
ไม่ทราบท่านใดแปลเอาไว้ ได้อย่างไพเราะและตรงจุดที่สุดเลยนะขอรับ
เช่น นี้แล้ว จุดกึ่งกลางบนพื้นฐานของความพอดี ของอำนาจทางการเมืองนั้นอยู่ตรงไหน?คำถามนี้ตอบได้โดยง่ายเลยครับ หากเราใช้วลีที่เป็นสากลมากๆในทางรัฐศาสตร์นี้ก็จะอยู่ที่ "ท่อนแรกของวลี" ที่ว่านี่แหละครับ มาดูเหตุผลกันครับ -
..ที่ใดมีอำนาจ ที่นั่นย่อมมีการฉ้อฉล ท่อนแรกนี้บ่งบอกและมีนัยใน2-3อย่างด้วยกัน
1.ใน ทางรัฐศาสตร์นั้น เกี่ยวข้องและสัมพันธ์โดยตรงกับ1.ที่มาของอำนาจ 2.รูปแบบของอำนาจ 3.กรอบของอำนาจ และ4.การจัดสรรอำนาจทางการเมือง
2.ในทางรัฐศาสตร์นั้น โดยนิยามและความหมายของทางเยอรมัน คือ self - serving behaviour หรือ หาประโยชน์ใส่ตน
3.เช่น นี้แล้ว จากข้อ1.และ2. จึงอาจตีความให้เข้ากับ ท่อนแรกของวลีนี้ได้ว่า ..เมื่ออยู่ในอำนาจ การหาประโยชน์ใส่ตนบ้างนั้น มันเป็นเรื่องธรรมดา ธรรมชาติของการเมือง ..ผมใช้คำว่า "บ้าง" นะครับ ที่ไม่ได้ใกล้เคียงกับประเด็นใหญ่ของสังคมในขณะนี้ ที่ว่า..นักการเมือง / รัฐบาลโกงได้ แต่ขอให้ทำงานเก่งทำงานเป็น.. อันนี้มันคนละเรื่องกันนะ(สำหรับบทความนี้)
จากท่อนแรกนี้ เราจึงน่าที่จะพอเปิดใจ เข้าใจกันได้เพราะ กระบวนการต่างๆในทางการเมือง ของนักการเมืองที่ว่า"ดี"นั้น ก็มีบริบทวนเวียนอยู่กับการหาเสียง ให้แก่ตนเอง และพรรคอยู่แล้ววันยังค่ำ ไม่หาเสียงเข้าตัว แล้วเมื่อไหร่จะได้เป็นผู้แทน? ไม่หาเสียงเข้าพรรค แล้วเมื่อไหร่จะได้เป็นรัฐบาล อันนี้ตรงไปตรงมา self - serving behaviour จึงเป็นไปตามธรรมชาติ สำหรับการมีอำนาจ ที่อาจมีอภิสิทธิ์ มีอะไรที่เหนือความธรรมดาๆกันอยู่บ้าง สำหรับบ้านอื่นเมืองเขานะ แต่สำหรับการเมืองในบ้านเรา ความเป็นไปตามธรรมชาตินี้ จะมีจะเกิดให้เห็นอยู่บ้าง ก็แต่ในสภาแต่งตั้ง หรือ ที่เรียกกันว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติเท่านั้น ส่วนสภาที่มาจากการเลือกตั้งนั้น เราก็ทราบดีกันอยู่ ว่าฉ้อฉลอย่างสุดประมาณจริงๆ ไม่รู้จะมาไม้ไหน? จะกินอะไร? กินกันแบบพิลึกพิศดารกันขนาดไหน? ซึ่งก็คงจะเป็นเช่นนี้ไป ถ้าคนไทยไม่เลิกซื้อสิทธิ์ - ขายเสียงกัน และประชาชนยังมองการเมืองแบบอยู่เหนือ "ความผิดชอบชั่วดี"กัน เช่นนี้แล้วการเมืองไทยก็ยังเท่ากับ ไม่มีท่อนแรกของวลีนี้ จะมีก็แต่ท่อน2 ที่ว่า..
..ที่ใดมีอำนาจเหลือล้น ที่นั่นย่อมมีการฉ้อฉลสุดประมาณ ที่มีความหมายชัดเจน พอเห็นภาพกันได้ เพียงแต่หากจะถามว่า..แล้วทำไม? เพราะเหตุใด? อำนาจมันจึงเหลือล้น ขึ้นมาได้! อันนี้นี่ซิน่าคิดสำหรับฝรั่งมัน! แต่สำหรับคนไทยแทบไม่ต้องคิด เห็นมันอยู่คาตามาหลายสิบปีดีดักกันแล้ว ว่า
1. การเมือง ยังคงเป็นเรื่องของนักการเมืองแต่โดยลำพังมาโดยตลอด ประชาชนในฐานะผู้เลือก ก็ต่างทำหน้าที่ทางการเมืองกันด้วยการหย่อนบัตร หย่อนเสร็จก็จบกันไป อย่างที่เราได้ยินได้ฟังกันจากนักวิชาการ จากพันธมิตรในฐานะแกนกลางและแกนนำของภาคประชาชน ที่นำเสนอมาในช่วง4-5ปีให้หลังนี้
2. จากข้อที่1.นี้ จึงเป็นสาเหตุหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่เราต่างได้ร่วมกันทำให้การเมืองมันอัปลักษณ์ มันน้ำเน่า โดยที่เราต่างไม่รู้ตัวกอรปกับยังมีความเข้าใจอย่างผิดมหันต์ไปว่า.. การเมืองเป็นเรื่องของนักการเมือง / เรื่องการเมืองต้องปล่อยให้นักการเมืองเขาทำไป / กระทั่งการเมืองจะเป็นเช่นไรก็ต้อง "เดินหน้าไป" ต้องตั้งต้องมี รัฐบาลมีสภากันไป ไม่งั้นประเทศชาติจะเสียหาย ความคิดแบบโบราณๆเช่นนี้ยังมีอยู่มากในสังคมไทย การที่ผมเองพยายามจะทำให้ "การเมืองเป็นเรื่องของประชาชน" จึงยังดูห่างไกลอยู่เอาการ
3.เช่น นี้แล้วหนทางเดียว ที่จะให้ ..ที่ใดมีอำนาจเหลือล้น ที่นั่นย่อมมีการฉ้อฉลสุดประมาณ..วกกลับมาที่ความพอดีที่มีอยู่ในท่อนแรก สิ่งสำคัญสุด จึงอยู่ที่ การทำการเมืองให้เป็นเรื่องของประชาชน ที่จะมีประชาชนยืนอยู่เหนืออยู่สูงกว่าการเมือง เพื่อลิขิตการเมือง ให้มีอำนาจ ให้อยู่ในบริบทที่เหมาะสมได้ในทุกเวลา มิใช่แต่เฉพาะในตอนเลือกตั้งเท่านั้น(ที่คนไทยหมู่มากก็ยืนต่ำกว่าด้วยการ ขายสิทธิขายเสียงตน) เมื่อนั้นจะมีประชาชนเองเป็นผู้จำกัดอำนาจทางการเมือง และนักการเมืองเองจะกลับมาสู่สถานะ ของการได้รับมอบหมายสิทธิเป็นการชั่วคราว ประชาชนหาได้มอบอำนาจ ให้กระทำในทุกเรื่องตามอำเภอใจ อย่างที่เป็นๆอยู่นี้นะครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น