บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นักเศรษฐศาสตร์บอกทักษิณหลอกเรื่องค่าแรง300บาท

โดย ใหม่เมืองเอก
บทความที่ผมนำเสนอนี้ นำมาจากมติชนออนไลน์ เขียนโดยไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ สถาบันวิจัยสังคมและเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

ซึ่งผมก็ขอตัดมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องค่าแรง300บาท เนื้อหาตามนี้

V


V




ความขัดแย้งในสังคมประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ แต่ผู้นำที่มีลักษณะและมีสไตล์ทางการเมืองเป็น populist ที่ผ่านมาในรอบเกือบสิบปี อย่างคุณทักษิณและพรรคของคุณทักษิณ มีแนวโน้มเพิ่มความขัดแย้งจนเกิดเป็นความรุนแรงและความเสียหายแก่ประเทศได้ง่าย โดยเฉพาะการคิดว่าการได้เสียงข้างมากจากประชาชนนั้นสามารถจะทำอะไรได้ตามใจชอบหรือมีการใช้อำนาจในทางที่มิชอบและขาดความชอบธรรม

ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของวิธีการและกระบวนการซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า เป้าหมาย กรณีที่มาของข้อเสนอค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทของพรรคเพื่อไทยอาจจะเป็นตัวอย่างหนึ่งซึ่งมีที่มาเป็นส่วนผสมของ

(ก.) การมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับค่าจ้างของคนระดับล่างและการใช้ค่าจ้างขั้นต่ำเป็น เครื่องมือของพรรคของทักษิณและทีมเศรษฐกิจซึ่งจะถูกจะผิดเป็นอีกเรื่องหนึ่ง และ

(ข.) การแข่งขันทางการเมืองซึ่งทำให้พรรคต้องฉวยโอกาสในการให้ข้อเสนอที่ดีกว่าคู่แข่งทั้งที่รู้ว่า ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ โดยเฉพาะถ้าค่าจ้าง 300 บาทนี้ทำเหมือนกันทั่วประเทศ ซึ่งคุณทักษิณก็คงรู้ว่าพรรคกำลังหลอกประชาชน!!

ผู้เขียนไม่แปลกใจที่ว่า แม้พรรคเพื่อไทยจะได้เสียงข้างมากแต่ความเหมาะสมของนโยบายเมื่อถูกประเมิน โดยนักเศรษฐศาสตร์กว่าเจ็ดสิบคน นโยบายของพรรคเพื่อไทยได้คะแนนน้อยกว่าพรรคประชาธิปัตย์

ที่คุณทักษิณทำเช่นนี้ได้เพราะวัฒนธรรมทางการเมืองทั้งในช่วงการหาเสียง เลือกตั้งและก่อนหน้าไม่ใช่กระบวนการประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสและเป็นผลมา จากกระบวนการไตร่ตรองผ่านการถกเถียงอย่างเข้มข้นกว้างขวางของประชาชนโดยการ ใช้ฐานความรู้ ข้อมูล เหตุและผลซึ่งเป็นแนวคิดกระบวนการประชาธิปไตยแบบไตร่ตรอง หรือ deliberative democracy ตามแนวคิดของ Habermas นักปรัชญาชาวเยอรมัน

ในเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท คุณทักษิณและพวกสามารถปกปิดไม่ให้รายละเอียด นโยบายที่เสนอขาดกระบวนการไตร่ตรองถกเถียงอย่างเข้มข้นโดยประชาชนอย่างเท่า เทียมกันเพราะวัฒนธรรมทางการเมืองสามารถเปิดโอกาสให้แม้กระทั่งว่าที่นายกฯ หัวหน้าพรรคและผู้บริหารของพรรคไม่จำเป็นต้องผูกมัดตัวเองที่จะต้องมาเข้า สู่กระบวนการอภิปรายอย่างเข้มข้นในระดับชาติเหมือนที่เราพบเห็นในประเทศอื่น

กกต.ก็ไม่สามารถออกกติกาเพื่อให้นโยบายที่เสนอมาต้องผ่านกระบวนการไตร่ตรองก่อนการเลือกตั้ง พรรคการเมืองสามารถขึ้นป้ายเพียงหนึ่งบรรทัดก็โฆษณาชวนเชื่อได้แล้ว

ทักษิณและทีมเศรษฐกิจต้องการเห็นอะไรจากการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท นอกเหนือจากการดึงแรงงานระดับล่างมาเป็นฐานเสียง ถ้าคิดว่าการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 เพราะคิดว่าค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันเป็นอุปสรรคทำให้ไทยโตได้ช้าไม่เหมือน จีน หรือเห็นว่าประเทศไทยกำลังอยู่ในกับดักภาวะเงินฝืดเพราะค่าจ้างนิ่งเกินไป ถ้าเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ถึงกว่า 100 แล้วจะกระชากเศรษฐกิจไทยได้

คุณทักษิณกำลังเข้าใจผิดและจะทำร้ายเศรษฐกิจไทย

PERON ในปี ค.ศ.1947 เคยหาเสียงกับสหภาพแรงงานของอาร์เจนตินา โดยเพิ่มค่าแรงที่แท้จริงปีละ 25% PERON ทำได้ 2 ปีเศรษฐกิจก็ทรุด เป็นที่ทราบกันดีว่ามรดกประชานิยมของ PERON นอกจากประเทศแตกแยกแล้วเงินเฟ้อระดับปีละเป็นร้อยเป็นพันเปอร์เซ็นต์ เศรษฐกิจก็ล่มสลายอยู่หลายทศวรรษ

ค่าจ่ายขั้นต่ำของไทยต่ำไปหรือไม่ ? ถ้าดูตามหลักเกณท์ของ ILO ค่า จ้างขั้นต่ำควรจะอยู่ระหว่างร้อยละ 40 ถึง 60 ของรายได้ต่อหัวค่าจ้างเฉลี่ย หรือ MEDIAN ซึ่งของไทยก็อยู่ในเกณท์นี้ (เช่น ระดับค่าจ้างขั้นต่ำระดับ 6,000 บาทเมื่อเทียบกับค่าจ้างเฉลี่ยที่ 9,600 บาท ในปี 2553) เมื่อเทียบกับร้อยละ 20 ถึง 30 กรณีของรัสเซียและจีนตามลำดับ

คนที่บอกว่าอยากเห็นประเทศไทยใช้นโยบายสองสูงคือค่าจ้างสูงและราคาสินค้าเกษตรสูงสับสนความเป็นเหตุและผล

ประเทศที่มีค่าจ้างสูงและเจริญมาได้เพราะประเทศนั้นมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงเพราะแรงงานการสะสมทุนเทคโนโลยีและการจัดการมีคุณภาพสูง

มูลค่าเพิ่มต่อคนงานในภาคการผลิตของเกาหลีสูงกว่าไทยอย่างน้อย 3 เท่า ค่าจ้างโดยเฉลี่ยของเราต่ำ เพราะ PRODUCTIVITY โดยรวมต่ำ

ถ้าทีมเศรษฐกิจของคุณทักษิณมีกึ๋นจริงไม่ต้องเล่นแร่แปรธาตุและสร้างวิมานใน อากาศขอให้ใช้เวลาที่จะได้เป็นรัฐบาลอยู่ได้นานๆ สามารถสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมและระบบแรงจูงใจที่เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในการกำหนดอัตราต่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนให้ดูประเทศกลุ่ม NICS เป็นตัวอย่าง

คุณทักษิณต้องไม่ลืมว่าตั้งแต่ประเทศไทยเจอวิกฤตจากต้มยำกุ้งในสิบกว่าปีที่ ผ่านมา ที่มาของความเจริญเติบโตของเรามาจากการสะสมทุนน้อยลงและมาจากการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีก็น้อยมาก

ที่มาของ GROWTH ส่วนใหญ่มาจากแรงงานที่ไร้ฝีมือจากภาคชนบทและจากแรงงานต่างด้าวซึ่งทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นไม่ได้มาก

จากการศึกษาของธนาคารโลกการศึกษาของไทยมีบทบาทต่อการเพิ่มคุณภาพของแรงงาน ที่มีส่วนช่วยการเจริญเติบโตของไทยเพียง 0.35% ต่อปี ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา

การไม่ดันทุรังและยอมรับความจริงและขอโทษประชาชนเรื่องความเป็นไปไม่ได้ที่จะขึ้นค่าแรง 300 บาททันที โดยไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศน่าจะเป็นความกล้าหาญของพรรคเพื่อไทย แค่นี้ก็ถือว่าตบหน้าว่าที่นายกฯหญิงและพี่ชายพอสมควรแล้ว จาก การที่ 3 สมาคมการค้าและอุตสาหกรรมรวมทั้งนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับนโยบายที่ไม่ผ่านการไตร่ตรองด้วยเหตุด้วยผล แถมยังสอนด้วยว่าอัตรานี้ควรเป็นอัตราที่ควรใช้ในสามถึงสี่ปีข้างหน้าซึ่ง เหมือนกับให้ว่าที่นายกฯยิ่งลักษณ์ ไปดูข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์จะดีกว่า

อย่าลืมว่าการที่สหภาพแรงงานไทยอ่อนแอเมื่อบวกกับความมีเอกภาพของสมาคม ธุรกิจทั้งหลายรวมทั้งความสามารถในการปรับตัว ถ้าค่าแรงขั้นต่ำเริ่มเป็นภาระที่ผู้ประกอบการรับไม่ได้ผู้ประกอบการมีวิธี ปรับตัว ซึ่งหมายความว่าอำนาจของรัฐตามกฎหมายจะไม่ศักดิ์สิทธิ์จะเกิดผลที่คาดไม่ถึง ตามมามากมายทำให้ได้ไม่คุ้มเสีย

อันที่จริงมีสัญญาณตั้งแต่ปีที่แล้วที่การแข่งขันทางการเมืองเริ่มให้ความ สำคัญกับแรงงานระดับล่าง คุณอภิสิทธิ์อยากเห็นค่าจ้างขั้นต่ำที่ 250 บาท จนทำให้เพื่อไทยทนไม่ได้ต้องเสนอเป็น 300 บาท ถ้าใช้สูตรของประชาธิปัตย์ที่ค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นได้ 12.5% ค่าจ้างขั้นต่ำก็สามารถจะเพิ่มได้ 1 เท่าตัว ภายในเวลาไม่เกิน 6 ปี ซึ่งยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย

ผู้เขียนอยากเห็นค่าจ้างขั้นต่ำที่อิงกับผลิตภาพและอัตราเงินเฟ้อ โดยให้ค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นสูงกว่าอัตราค่าจ้างทั่วๆ ไปเพื่อลดความแตกต่างทางด้านค่าจ้างและลดความไม่เท่าเทียมกันในรายได้ โดยทำควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับระบบสวัสดิการสังคม การศึกษา และการสาธารณสุข

อ่านบทความต้นฉบับที่นี่

------------------------------


ใหม่เมืองเอก ขอสรุปคร่าวๆง่ายๆของสาระสำคัญของบทความนี้ ก็คือ


ค่าแรงไทยจะสูงก็ได้ ถ้าไทยเราเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยี คนงานไทยส่วนใหญ่ ย้ำ!! คนงานไทยส่วนใหญ่ ต้องมีต้นทุนความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสูง สามารถผลิตสินค้าไฮเทคของตัวเองได้ (สินค้าไฮเทคที่ผลิตในเมืองไทย เขาก็จ้างแรงงานมีฝีมือสูงกว่า300บาทอยู่แล้ว)


แต่ทุกวันนี้ แรงงานไทยส่วนใหญ่ยังเป็นแค่รับจ้างผลิตสินค้าให้ประเทศที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เท่านั้น


และ สินค้าที่ไม่ใช่สินค้าไฮเทค คนงานไทยก็เป็นแค่ลูกจ้างแรงงานธรรมดา ถ้าค่าแรงแพง เขาก็ไปจ้างแรงงานไม่ต้องการฝีมือที่ประเทศอื่นก็ได้

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถ้ารัฐบาลประกาศบังคับให้จ่าย 300 และผู้ประกอบการจะมีวิธีจัดการอย่างไร
เห็นด้วยว่าประเทศไทยว่าควรจะเริ่มการให้ค่าจ้างแบบวัดตามชิ้นงานและประสิทธิภาพของชิ้นงาน ได้ทั้งสองฝ่ายลูกจ้างเก่งขึ้นมีฝีมือดี นายจ้างก็คงยินดีจ่ายตามผลที่ได้รับ แต่ปัจจุบันลูกจ้างทำงานไก่เขี่ยมาก ไม่รับผิดชอบพอโดนนายจ้างตำหนิก็วิ่งโร่ ฟ้องๆ
อนาจกับความคิดและประสิทธิภาพของคนไทยส่วนใหญ่

คนไทยกู้แผ่นดิน กล่าวว่า...

ใช่ครับ พูดกันจริงๆ ประสิทธิภาพการทำงานของคนไทยเราส่วนมาก ยังไม่สมกับที่จะได้ 300 บาทจริงๆครับ ปัญหามันไม่ได้ว่าค่าแรงน้อยหรอก รัฐควรไปจัดการเรื่องค่าครองชีพมากกว่า

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง