บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กับดักความคิด


โดยคำนูณ สิทธิสมานเมื่อ 5 มิถุนายน 2011 เวลา 8:18 น.
ณัฐ วุฒิ ใสยเกื้อโต้วาทีกับชำนิ ศักดิ์เศรษฐ์ในรายการคุยข่าวตอนเย็น 2 วันซ้อนเมื่อสัปดาห์ก่อน ยิงคำคมประโยคหนึ่งว่าถ้าเป็นนักประชาธิปไตยแล้วต้องยอมรับว่าในระบอบ ประชาธิปไตยไม่อนุญาตให้มีเงื่อนไขในการทำรัฐประหารได้ เพราะไม่ว่ารัฐบาลจะมีความผิดพลาดอย่างไรก็ต้องแก้ไขโดยกลไกระบอบ ประชาธิปไตยเท่านั้น ดังนั้นการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงไม่อาจจะยอมรับได้ ใครยอมรับถือว่าไม่ใช่นักประชาธิปไตย

ชำนิ ศักดิ์เศรษฐ์เหมือนถูกยิงหมัดตรงเข้าใส่ ถึงตอบโต้ไปก็ทำได้ไม่จะแจ้ง

หลัก การที่ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อพูดมานั้นถูก แต่ถูกภายใต้เงื่อนไขว่าระบอบการปกครอง ณ ขณะนั้นต้องเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ ไม่ใช่ประชาธิปไตยแต่เพียงรูปแบบทว่าเนื้อหาไม่ใช่ ถ้าเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ อย่างในนานาอารยะประเทศแล้วแน่นอนว่าไม่ว่ารัฐบาลจะทำผิดพลาดอย่างไรก็ไม่ ก่อให้เกิดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การรัฐประหาร เพราะกลไกของระบอบสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้ไม่ยาก ดีไม่ดีไม่ต้องให้กลไกเดินหน้าคนที่เป็นรัฐบาลก็จะตัดสินใจอำลาตำแหน่งเอง ตามมารยาทและมาตรฐานที่สังคมวางไว้เป็นประเพณี ส่วนคนถืออาวุธนั้นเรื่องยึดอำนาจรัฐไม่เคยอยู่ในพจนานุกรมความคิดของเขา
                 
ประเด็นคือเมืองไทยก่อน 19 กันยายน 2549 เป็นประชาธิปไตยจริง ๆ หรือไม่ ?

หรือขยายประเด็นให้กว้างขึ้นก็คือ...

เมืองไทยตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นประชาธิปไตยจริง ๆ หรือไม่ ??

กับ ดักความคิดที่คนไทยส่วนใหญ่ติดอยู่มาโดยตลอดคือเป็นประชาธิปไตย เพราะมีการเลือกตั้ง หรือเพราะมีรัฐธรรมนูญฉบับนั้นฉบับนี้ รวมทั้งรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ถือว่าเป็นประชาธิปไตยที่สุดเพราะมาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนและนำเอา มาตรการที่ทันสมัยจากประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกมาประยุกต์บรรจุไว้

ชำนิ ศักดิ์เศรษฐ์ก็ติดอยู่ในกับดักความคิดนี้จึงหาทางไปไม่ถูกเมื่อถูกยิงหมัดใส่ในประเด็นนี้

ถ้า เราไม่ติดอยู่ในกับดักความคิดนี้ เราก็จะเห็นได้ว่าระบอบการปกครองก่อน 19 กันยายน 2549 หรือว่าตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยแท้จริง หากแต่เป็นระบอบเผด็จการอีกประเภทหนึ่งคือเผด็จการรัฐสภา หรืออีกนัยหนึ่งที่ท่านศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ท่านเรียกให้เข้าใจง่ายขึ้นในชั้นหลัง ๆ ว่าระบอบเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง หรือระบอบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา มันจึงเปิดโอกาสให้มีเงื่อนไขในการรัฐประหารได้ การรัฐประหารก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากเปลี่ยนระบอบไปเป็นระบอบเผด็จการทหาร นี่คือสิ่งที่ดำรงอยู่ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2475 คือการสลับสับเปลี่ยนกันครองประเทศระหว่างระบอบเผด็จการรัฐสภาฯกับระบอบ เผด็จการทหาร

ความไม่ชอบธรรมของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หาได้ทำให้รัฐบาลและระบอบการเมืองก่อน 19 กันยายน 2549 ชอบธรรมขึ้นไม่

ไม่ ต้องอรรถาธิบายด้วยภาษาของศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ก็ได้ คณิน บุญสุวรรณที่ระยะหลังขึ้นเวทีคนเสื้อแดงด้วยก็เคยเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ตั้งแต่ปี 2547 ชื่อว่ารัฐธรรมนูญตายแล้ว รัฐธรรมนูญ 2540 ในมุมมองของเขาถูกฆาตกรรมโดยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นศพไปก่อนหน้ารัฐประหารไม่น้อยกว่าสองสามปีแล้ว
                  
วิกฤตของประเทศเกิดจากระบอบเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง

ถ้าจะแก้ไขก็มีแต่ต้องทำลายระบอบนั้นในทันที !

ความ ไม่ชอบธรรมของการรัฐประหาร 19 กันนยายน 2549 ในมุมมองของผมไม่ได้อยู่ที่เหตุในการทำรัฐประหาร แต่อยู่ที่เมื่อทำแล้วกลับพยายามสวมตอระบอบเผด็จการเดิม โดยใช้กุศโลบายทุกวิธีสลายพรรคการเมืองที่ครองอำนาจอยู่เดิม ดึงออกมาก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ แล้วเร่งรัดจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยตรารัฐธรรมนูญที่คิดผิด ๆ ว่าจะทำให้พรรคการเมืองใหม่ของตนชนะเลือกตั้ง แล้วถอดเครื่องแบบออกมานั่งเป็นรัฐบาลแทนที่ภายใต้กับดักความคิดเดิมว่าเป็น รัฐบาลประชาธิปไตย

แปลกแต่จริง อดีตหัวหน้าคระรัฐประหารคณะนั้นวันนี้ก็ยังมาตั้งพรรคการเมืองโดยหวังจะมี สัก 7 – 8 ที่นั่ง ประกาศพร้อมร่วมเป็นรัฐบาลกับทุกพรรค

ใน มุมมองของศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ที่ท่านยืนยันมาตั้งแต่ปี 2535 โน่นแล้ว วิธีการแก้ไขในเบื้องต้นที่ต้องทำทันทีหลังหลุดออกจากกับดักความคิดแล้วก็ คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตัดบทบัญญัติอย่างน้อย ๆ สองสามประการ คือ (1) บังคับผู้สมัครส.ส.ให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง (2) ให้พรรคการเมืองมีอำนาจให้ส.ส.ที่ไม่ปฏิบัติตามคำบงการสามารถพ้นจากตำแหน่ง ได้ (3) ให้นายกรัฐมนตรีมาจากส.ส.เท่านั้น จากนั้นขั้นต่อไปก็คือเริ่มกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อการ ปฏิรูปการเมือ และการปฏิรูปประเทศ โดยคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้มีประสบการณ์ในการบริหารบ้านเมืองร่วมกับผู้ เชี่ยวชาญโดยผ่านระบบการคัดเลือกจากรัฐบุรุษหรือผู้นำ ในความหมายของ Statesman ไม่ใช่ในลักษณะของ “สภา” หรือ “สมัชชา” ที่มีที่มาหลากหลาย ขั้นสุดท้ายเมื่อได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พร้อมด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่จะต้องทำเสร็จพร้อมกันแล้วให้นำมาผ่านการลงประชามติจากประชาชนโดยตรง

ไม่ ว่าใครจะเห็นพ้องหรือเห็นต่างอย่างไรท่านก็ยืนยันของท่านอย่างนี้มา 20 ปีแล้วนับตั้งแต่นำข้อเขียนเรื่อง “รัฐธรรมนูญ : โครงสร้างและกลไกทางกฎหมาย” เสนอต่อที่ประชุมในการสัมมนาทางวิชาการที่โรงแรมเอเซีย จัดโดยสถาบันนโยบายศึกษา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2534 และเป็นหัวหน้าคณะวิจัยรวมทั้งเขียนบทความต่อเนื่องด้วยตนเองตลอด 2 ปีต่อมา ก่อนจะตกรวบยอดเป็นบทสรุปด้วยการเขียนบทความขนาดยาวเรื่อง “Constitutionalism : ทางออกของประเทศไทย” ลงในนสพ.ผู้จัดการรายวันช่วงเดือนเมษายน 2537 และจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มโดยสถาบันนโยบายศึกษาในอีก 3 เดือนต่อมา

หนังสือ “Constitutionalism : ทางออกของประเทศไทย” เดี๋ยวนี้กลายเป็นตำราคลาสสิคไปแล้ว

ท่าน อาจารย์หมอประเวศ วะสีก็เคยนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานของคณะกรรมการพัฒนา ประชาธิปไตย (คพป.) เมื่อปี 2537 และเป็นรากฐานที่นำไปสู่การแก้ไขมาตรา 211 รัฐธรรมนูญ 2534 ในปี 2539 ก่อให้เกิดสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำรัฐธรรมนูญ 2540 ขึ้นมาในที่สุด แม้นวัตกรรมทางการเมืองหลายอย่างจะมาจากแนวคิดวิชากฎหมายมหาชนยุคใหม่ แต่หลักสำคัญที่สุดสองสามประการที่กล่าวข้างต้นไม่ได้รับการแก้ไข

ผลที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ 2540 ในที่สุดจึงคือการกระชับอำนาจให้กับระบอบเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง

ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ไม่ได้ย่อท้อ หรือเปลี่ยนแปลงความคิด ท่านนำเสนอแนวคิดพื้นฐานของท่านอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งหนึ่ง 2 ศิษย์เอกอย่างท่านอาจารย์สมยศ เชื้อไทยและท่านอาจารย์บรรเจิด สิงคเนติถึงกับก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาพรรคหนึ่งชื่อ “พรรคทางเลือกที่สาม” ในช่วงปี 2547

ช่วงวิกฤตเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2553 ก่อนจะนองเลือด ท่านก็เสนอทางออกของประเทศไทยอีกครั้งภายใต้แนวคิดพื้นฐานเดิมแต่ประยุกต์ไป ตามสถานการณ์

ล่าสุดเมื่อคุณอัมพา สันติเมทนีดลแห่ง ASTV ไปสัมภาษณ์ท่านขอความเห็นเรื่องโหวตโน ท่านก็ตอบตรงไปตรงมาว่าโหวตโนเป็นของดี แต่โหวตโนเป็นเพียงจุดเริ่มต้นก้าวแรกเท่านั้น เมื่อถามต่อก้าวต่อไปจะต้องเป็นอย่างไร ท่านตอบว่ามีได้หลายวิธี แต่เป้าหมายก็คือเป็นกลไกเพื่อให้เกิด Statesman และให้ Statesman ได้มีโอกาสทำงานที่จำเป็นภายในช่วงเวลาหนึ่ง โดยสุดท้ายตัดสินที่การลงประชามติของประชาชน

ท่านบอกว่าวิธีการมีได้หลายวิธี อาจเกิด Statesman ขึ้นจากนักการเมืองในระบบก็ได้ จะเป็นวิธีไหนขึ้นอยู่กับพระสยามเทวาธิราช

แต่ก่อนอื่น คะแนนโหวตโนต้องมีมากในระดับที่จะส่งผลสะเทือนได้
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง