บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

“พรรคการเมือง” ประสานเสียง เร่งกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

  • เขียนโดย ณัฐนันท์ อิทธิยาภรณ์

พท. รับปากอัดงบ 25% หนุนท้องถิ่น-เดินหน้าจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญฯ ให้ท้องถิ่น ขณะที่ ปชป.เล็งเพิ่มงบฯ 35% ภายใน 5 ปี เร่งเดินหน้าถ่ายโอนภารกิจ 425 ภารกิจไปสู่ท้องถิ่นอย่างจริงจัง
วันที่ 21 มิถุนายน วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า จัดการเสวนา “การเลือกตั้ง 54: นโยบายกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น” ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ เพื่อแลกเปลี่ยนซักถามเกี่ยวกับนโยบายกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นของพรรคการ เมืองต่างๆ โดยมีนักวิชาการและผู้แทนสมาคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ นายสุเทพ ชูชัยยะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ผู้แทนสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศ ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายชาตรี อยู่ประเสริฐ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้แทนสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย นายทนงศักดิ์ ทวีทอง เลขาธิการสมาคมสันติบาตรเทศบาลแห่งประเทศไทย ศ.ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นผู้ตั้งคำถาม
ขณะเดียวกันมีผู้แทนจากพรรคการเมือง อาทิ นายวิทยา บูรณศิริ พรรคเพื่อไทย นายถวิล ไพรสณฑ์ พรรคประชาธิปัตย์ นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ พรรคชาติไทยพัฒนา นายศุภชัย ใจสมุทร พรรคภูมิใจไทย และนายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ พรรคมาตุภูมิ ร่วมตอบข้อซักถามดังกล่าว
นายวิทยา กล่าวถึงแนวทางการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นว่า จะดำเนินการถ่ายโอน 18 ภารกิจให้กับท้องถิ่นภายในระยะเวลา 2 ปี ตาม พ.ร.บ.กระจายอำนาจฯ อีก ทั้งจะเน้นเรื่องโครงสร้างรายได้ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่มีรายได้ที่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทจะปรับให้เป็น 10 ล้านบาท ส่วน อบต. ที่มีรายได้ต่ำกว่า 20 ล้านบาทจะปรับขึ้นเป็น 20 ล้านบาท โดยงบประมาณดังกล่าว ไม่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่กระทรวง ทบวง กรม เป็นผู้มอบหมาย
“ส่วนแนวทางสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร จะเร่งเดินหน้านโยบายจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้กับท้องถิ่น ขณะเดียวกันจะมีการหารือถึงความพร้อมของอบต.ว่า มีแห่งใดบ้างที่จะสามารถควบรวมหรือยกฐานะให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบพิเศษได้”
นายวิทยา กล่าวถึงข้อห่วงใยเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นว่า วิสัยทัศน์ของผู้บริหารเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก อีกทั้งต้องนึกเสมอว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีความเป็นอิสระ ไม่จำเป็นต้องยอมตามผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอทุกเรื่อง ไม่ใช่ว่าขอเงินเท่าไหร่ก็จัดให้หมด เพราะที่ผ่านบางแห่งถึงขั้นกระเป๋าฉีก ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการทบทวน สลัดทิ้ง ไม่ให้มีการล้วงลูกเกิดขึ้นได้อีก
“อำนาจส่วนภูมิภาค ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแล ปัจจุบันดูเหมือนเป็นการก้าวก่ายมากกว่า แต่เชื่อว่าเมื่อถ่ายโอนภารกิจสำเร็จ บทบาทภูมิภาคจะลดลงไปเอง” นายวิทยา กล่าว และว่า นโยบายเรื่องการจัดเก็บภาษีในท้องถิ่น  ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้มีความจริงใจในการเก็บภาษีเท่าที่ควร อย่างเช่นกรณีภาษีล้อเลื่อนก็พบว่า ไม่ใช่ทุกคนที่เสียภาษีดังกล่าว อีกทั้งนโยบายลดภาษีที่ดินในอัตรา 0.01 %ก็ยังไม่มีการยกเลิก ฯ สิ่งเหล่านี้รัฐต้องเร่งดำเนินการแก้ไข ขณะเดียวกันมีมาตรการกำหนดฐานภาษีที่ชัดเจน ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพ จะเสียภาษีให้ท้องถิ่นเท่าไหร่จะต้องมีการตกลงกัน แต่ทั้งนี้พรรคเพื่อไทย ขอย้ำว่ารายได้ของ อปท. ซึ่งถูกกำหนดไว้ตามกฎหมาย นั่นคือร้อยละ 25% ของรายได้ที่รัฐจัดเก็บได้ จะต้องลงไปที่ท้องถิ่นเพียวๆ
ด้านนายถวิล กล่าวว่า ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ได้พิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับราชการส่วนท้อง ถิ่นหลายฉบับ รวมทั้งกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อเป็นหลักประกันว่า ท้องถิ่นจะมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องรอแต่เงินอุดหนุนจากส่วนกลาง
“ขณะนี้กฎหมายฉบับดังกล่าวบรรจุไว้ในวาระการประชุมเป็นที่เรียบ ร้อย หากประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล ภายใน 60 วันจะประกาศให้ดำเนินการต่อในทันที ผ่านเข้าวาระที่ 1, 2 และ 3 เข้ารัฐสภาได้เลย”
ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น  ราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคถือเป็นอุปสรรคสำคัญ เนื่องจากไม่ยอมถ่ายโอนอำนาจให้กับส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะในบางภารกิจท้องถิ่นมีความพร้อม ซึ่งราชการส่วนกลางควรมีอำนาจหน้าที่เฉพาะด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความยุติธรรม สาธารณูปโภค ฯ อีกทั้งการให้ความสำคัญกับการบริหารราชการส่วนภูมิภาคยังเป็นเรื่องล้าหลัก ในทางกลับกัน จะต้องส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง ไม่ใช่จะทำอะไรต้องขออนุมัติผู้ว่าฯ ตลอดเวลา
ส่วนเรื่องงบประมาณในการบริหารท้องถิ่นนั้น นายถวิล กล่าวว่า ปี 2554 ถือเป็นปีแรกที่ท้องถิ่นมีรายได้มากสุดถึง 26 % เนื่องจากมีการแก้กฎหมายเพื่อเพิ่มรายได้ แบ่งภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนหนึ่งให้กับท้องถิ่น อย่างประเทศสแกนดิเนเวอร์ ท้องถิ่นมีรายได้จากการเก็บภาษีในพื้นที่สูงมาก เพราะประชาชนอยากเสียรายได้ให้กับท้องถิ่นมากกว่ารัฐบาล เนื่องจากเห็นว่าท้องถิ่นนำเงินไปใช้เพื่อแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ขณะที่ส่วนกลางนำเงินไปใช้ในโครงการขนาดใหญ่เป็นหลัก
“การขยายสัดส่วนอัตราภาษีจะสร้างความเข้มแข็งให้กับ อปท. ซึ่งนอกจากการขยายภาษีแล้ว นโยบายหนึ่งที่น่าจะริเริ่มให้เกิดขึ้นคือ การสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะจะทำให้ อปท. มีรายได้ในการพัฒนา และเมื่อท้องถิ่นมีการพัฒนาแล้วก็เชื่อว่า ประชาธิปไตยจะพัฒนาตามไปด้วย”นายถวิล กล่าว และว่า พรรคประชาธิปัตย์เตรียมเดินหน้าขยับฐานงบประมาณ 35% ภายใน 5 ปี พร้อมทั้งเร่งถ่ายโอนภารกิจ 425 ภารกิจไปสู่ท้องถิ่นอย่างจริงจัง
ขณะที่นายศุภชัย กล่าวว่า ท้องถิ่นควรมีหน้าที่หลักในการพัฒนาท้องถิ่น อีกทั้งควรส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามาส่วนร่วม ให้ความเห็นชอบต่อการบริหารจัดการภายในพื้นที่ เรื่องเหล่านี้ประเทศไทยถึงเวลาต้องคุยกันอย่างจริงจัง และแม้ว่าจะมีเรื่องติดขัดอยู่บ้างก็สามารถขจัดไปได้ ขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้มีการกระจายอำนาจเกิดขึ้นจริงหรือไม่
“ญี่ปุ่นเติบโตได้ เพราะท้องถิ่นมีอำนาจในการบริหารจัดการ แต่ประเทศไทยส่วนราชการยังห่วงงานห่วงอำนาจอยู่มาก การกระจายอำนาจจึงเป็นเรื่องที่ต้องส่งเสริม อีกทั้งต้องเสริมทั้งในแง่อำนาจทางการคลังและบุคลากร ขณะเดียวกันภาคประชาชนก็ต้องเข้ามีบทบาทในการตรวจสอบ คานอำนาจ คัดง้างการบริหารดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้ท้องถิ่นเดินเคียงคู่ไปพร้อมกับประชาชน”
นายศุภชัย กล่าวถึงเรื่องงบประมาณว่า สัดส่วน 30% จะดำเนินการให้ลุล่วงภายใน 5 ปี แต่ต้องยอมรับว่า อปท.แต่ละแห่งมีความสามารถในการเก็บภาษีไม่เท่ากัน ดังนั้น รัฐก็ต้องอุดหนุนเพิ่มตามสมควร อีกทั้งควรมีการแก้กฎหมายเพื่อให้ท้องถิ่นมีเครื่องมือในการทำมาหากิน
"ขณะนี้กรุงเทพฯ พัทยาจัดเก็บภาษีได้มาก แต่เงินเข้ามาสู่ส่วนกลางหมด ซึ่งในอนาคตทั้งเทศบาลนครแม่สอด ภูเก็ตก็ต้องมีสภาพไม่ต่างกัน ดังนั้นในพื้นที่ที่มีศักยภาพ มีความพร้อมน่าจะมีการเริ่มทดลองให้มีการพัฒนาที่ก้าวไกลกว่านี้”นายศุภชัย กล่าว และว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อมีการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ประเทศไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในเรื่องโอกาส การเคลื่อนย้ายผู้คน รวมถึงการค้าขาย ซึ่งแน่นอนว่าจะมีผลต่อการหารายได้ของ อปท.ดังนั้นจะต้องหาวิธีการตั้งรับที่ดี

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง