บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไม่ "โหวตโน" เขามาแน่ ( จะหยุดทักษิณ ทำไม? ต้องเลือก ปชป. ทางนี้ง่ายกว่าเยอะ )

“พันธมิตรฯ” ยืนยันโหวตโนมีผลทางกฎหมาย “ปานเทพ” ยกบทความเลขานุการศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองประกอบ ชี้ช่องจำนวน ส.ส.ที่ชนะเลือกตั้งมีไม่ถึง 95% เปิดประชุมสภาไม่ได้ เลือกพรรคตรงข้าม “เผาไทย” เสียของยิ่งกว่า แย้มแค่ชนะให้ได้ 26 เขต ถึงจะหยุดระบอบทักษิณ-การเมืองที่ทุจริต “จำลอง” ยันไม่ได้อคติ-เกลียดการเลือกตั้ง แต่ต้องหาวิธีแก้ ด้าน “ประพันธ์” ฉะนักการเมืองใช้นักกฎหมาย-นักวิชาการให้ข้อมูลบิดเบือน
     
 
       (20 มิ.ย.) ที่บ้านพระอาทิตย์ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมด้วยนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ และนายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย ได้ร่วมกันแถลงข่าวถึงยุทธศาสตร์ในการรณรงค์ให้ประชาชนลงคะแนนในช่องไม่ ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโน โดยนายปานเทพได้กล่าวถึงบทความในหัวข้อ ผลทางนิตินัยของบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน (VOTE NO) เขียนโดยนายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา ซึ่งได้นำไปเผยแพร่ผ่านหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ
     
       โดยชี้ให้เห็นว่า การที่ประชาชนโหวตโนในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผลทางกฎหมาย ซึ่งในบทความนายอนุรักษ์ได้ให้ความเห็นว่า หากมีจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนมากกว่าคะแนนของผู้สมัครซึ่ง ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดจำนวนมากๆ หรือแม้แต่คะแนนของจำนวนบัตรเลือกตั้งที่โหวตโน รวมกับคะแนนของผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนในอันดับรองลงไป มากกว่าคะแนนของผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุด ก็อาจทำให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะได้
     
       ทั้งนี้ เพราะเสียงข้างมากของประชาชนหรือผู้ที่ได้รับคะแนนรองลงมานั้นไม่ใช่ตัวแทน เสียงข้างมากของประชาชนในตัว ขัดต่อหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ส. และ ส.ว.ปี 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในมาตรา 89 เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต ให้ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้ รับการเลือกตั้ง ดังนั้น ถ้ามีคะแนนโหวตโนมากนั้น นายอนุรักษ์มองว่าเป็นคะแนนที่อาจทำให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะในท้าย ที่สุด
     
       นายปานเทพกล่าวว่า จากบทความดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คะแนนช่องที่มีคนเคยพูดว่า การกากบาทลงในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนไม่มีความหมายทางกฎหมายนั้น ปรากฏว่ามีความหมายทางกฎหมายแล้ว จากประเด็นดังกล่าวภาคประชาชนได้ตรวจสอบไปยังกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้บัญญัติไว้ในมาตรา 93 วรรคท้าย ไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งวรรคที่ 7 บอกว่า ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใดๆ ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใดมีจำนวน ส.ส.ไม่ถึง 500 คน แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกจำนวนนั้นประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร และต้องดำเนินการให้มี ส.ส.ครบตามจำนวนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญภายใน 180 วัน และให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่าที่จะมีอายุของ ส.ส.ที่เหลืออยู่
     
       “นั่นหมายความว่า การเลือกตั้งนั้นถ้ามีจำนวน ส.ส.ไม่ครบ 95 เปอร์เซ็นต์ เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ ถ้ามีคะแนนโหวตโนที่ชนะเขตเลือกตั้งถึง 26 เขตเมื่อไหร่ ก็จะไม่มีการเปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ การประชุมสภาก็จะไม่เกิดขึ้น การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ก็จะยังไม่เกิดขึ้น ยิ่งภาคประชาชนเข้ามาสู่การโหวตโนกันมากถึง 26 เขต และแม้จะมีการเลือกตั้งใหม่ ประชาชนก็ยังยืนยันเจตนารมณ์เดิมแล้ว ก็หมายถึงว่าการเลือก ตั้งก็จะทำให้เกิดการประชุมสภาไม่ได้เช่นเเดียวกัน” นายปานเทพกล่าว
     
       โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวอีกว่า ที่ผลโพลออกมาล่าสุดว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะอย่างขาดลอย และจะทำให้มีการจัดตั้งรัฐบาล แล้วเข้ามาใช้มือในสภาเพื่อออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคนอื่นๆ นั้น พันธมิตรฯ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการชุมนุมในการต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณแต่เพียงอย่างเดียวแล้ว ขอเพียงแค่ชนะเขตเลือกตั้งเพียงแค่ 26 เขตเท่านั้นก็จะหยุดการกลับมาของระบอบทักษิณได้ การดำเนินการครั้งนี้เราจะเห็นว่า ถ้าประชาชนยังไม่ตัดสินใจเพราะว่ากลัว พ.ต.ท.ทักษิณกลับมา หรือกลัวการนิรโทษกรรมนั้น การเลือกตั้งพรรคการเมืองใดที่อยู่ตรงกันข้ามกับพรรคเพื่อไทยนั้น ผลโพลสรุปแล้วว่าไม่สามารถจะชนะพรรคเพื่อไทยได้เลย
     
       ดังนั้น คงเหลือแต่วิธีการเดียวเท่านั้นก็คือ ลงคะแนนไม่เลือกใคร ให้ได้มากกว่า 26 เขตเลือกตั้ง นำไปสู่การเรียกร้องในการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ และหยุดระบอบการเมืองที่ทุจริตเลือกตั้งครั้งมโหฬาร มีการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นจำนวนมาก มีการใช้ผู้ทรงอิทธิพลไปยิงหัวคะแนน ขว้างระเบิด ทุบป้าย ทำลายสถานที่ในการรณรงค์ของภาคประชาชน โดยที่ กกต. และเจ้าหน้าที่รัฐทำอะไรไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยแล้ว แต่เป็นการเลือกตั้งที่ราวกับเป็นระบบบ้านป่าเมืองเถื่อน ไร้ขื่อแป ใช้กระสุน ปืน และนักเลงอันธพาลในการได้รับชัยชนะการเลือกตั้ง เราจะเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ล้มเหลวและไม่เป็นประชาธิปไตย จึงมีทางเดียวคือต้องหยุดการกลับมาของการเมืองที่ฉ้อฉลเหล่านี้ให้ได้ 26 เขตเท่านั้น มีผลต่อการหยุดยั้งการเลือกตั้งที่ฉ้อฉลครั้งนี้
     
       ด้าน พล.ต.จำลองกล่าวว่า นายอนุรักษ์เป็นผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมายและมีความห่วงใยบ้านเมือง จะเห็นได้ว่าตอนที่มีข่าวว่านายวีระ สมความคิด และ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ สองคนไทยที่ถูกจับกุมและจำคุกอยู่ในกัมพูชานั้น นายอนุรักษ์ได้ไปค้นสนธิสัญญาระหว่างประเทศของไทยกับกัมพูชาที่ได้ลงนามไป เรียบร้อยแล้วว่าสามารถโอนผู้ที่เป็นนักโทษกลับมายังประเทศไทยได้ แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ไม่ได้ทำ คราวนี้มาถึงการเลือกตั้ง นายอนุรักษ์ก็เห็นแล้วว่าบ้านเมืองไปไม่ได้ จึงพิจารณาข้อกฎหมายต่างๆ แล้วมายืนยันให้พวกเราทราบ
     
       ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายฝ่ายพันธมิตรฯ ได้ชี้แจงเรื่องนี้ไปครั้งหนึ่งแล้ว ยืนยันว่าการลงคะแนนโหวตโนสามารถมีผลทางกฎหมาย เมื่อนายอนุรักษ์ได้ออกมายืนยันอีกทีก็มั่นใจว่ามีผลอย่างแน่นอน ดังนั้น ใครก็ตามที่กลัวว่าจะมีการนิรโทษกรรมคนที่ทำผิด แล้วถูกศาลตัดสินจำคุกแล้วให้พ้นโทษ และคนอื่นๆ รวมทั้งฝ่ายพันธมิตรฯ ซึ่งยืนยันว่าไม่ได้ทำผิดอะไรให้พ้นโทษ ก็คงจะแก้ได้ด้วยการมาร่วมกันลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ซึ่งจากเหตุการณ์ความรุนแรงถึงขั้นยิงหัวคะแนนอย่างต่อเนื่อง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องหาวิธีแก้ โดยไม่ได้อคติหรือเกลียดการเลือกตั้ง
     
       ส่วน นายประพันธ์กล่าวว่า การเลือกตั้งถือเป็นส่วนหนึ่งของการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชน ที่จะไปมอบให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดให้ได้รับเลือกตั้งเข้ามาใช้อำนาจแทนประชาชน ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ทั้งนี้ การที่ประชาชนไปหย่อนบัตรเลือกตั้งใช้สิทธิ ก็เป็นการมอบอำนาจของตัวเองให้แก่ผู้แทนผ่านระบบการเลือกตั้ง ซึ่งกฎหมายเลือกตั้งได้บัญญัติไว้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
     
       ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าในกฎหมายเลือกตั้งที่บัญญัติว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่จะได้รับการเลือกตั้งต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นๆ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 และศาลได้ตัดสินว่าเป็นโมฆะ และมีหลายเขตที่ผู้สมัครแพ้ให้คนที่ไม่ประสงค์ลงคะแนน ก็ไม่สามารถเป็น ส.ส.ได้ เพราะไม่ได้รับมอบอำนาจอธิปไตยจากประชาชน เมื่อมีการบัญญัติมาตรา 88 แล้วก็มีการบัญญัติมาตรา 89 ซึ่งถือว่าภายใต้การบังคับมาตรา 88 ซึ่งผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งนอกจากจะต้องได้รับคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นๆ แล้ว ต้องได้รับคะแนนมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ ขณะเดียวกัน ต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์ลงคะแนน ด้วย
     
       “ผลของการเลือกตั้งที่ที่มีผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนโหวตโนจำนวนมาก มันมีผลในทางกฎหมาย สามารถที่จะหยุดยั้ง ส.ส.หรือพรรคการเมืองที่ตัวเองไม่ชอบ ให้เข้ามามีอำนาจได้ด้วย ขณะนี้คนก็อาจจะวิตกว่า พ.ต.ท.ทักษิณและระบอบทักษิณจะฟื้นขึ้นมา ภาคประชาชนหวาดวิตกและเกรงว่าทักษิณจะฟื้นระบอบขึ้นมา ก็ไม่ต้องไปประท้วง ไปชุมนุมอะไรเลย เพียงแต่เดินเข้าคูหาแล้วไปกาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนให้มากๆ ก็จะสามารถหยุดไม่ให้ระบอบทักษิณฟื้นกลับมาได้ เพราะไม่สามารถที่จะเปิดสภาและดำเนินการไปได้ โดยที่ไม่ต้องไปชุมนุมหรือก่อความเคลื่อนไหวที่ประชาชนจะต้องออกแรงออก กำลัง” นายประพันธ์กล่าว
     
       โฆษกคณะกรรมการปกป้องราชอาณาจักรไทยยังกล่าวว่า นายอนุรักษ์ได้ชี้ให้เห็นถึงการโหวตโนว่า หากมีจำนวนมาก เมื่อรวมกับคะแนนของผู้ที่ไม่เลือกบุคคลผู้นั้นร่วมกัน จะมากกว่าคะแนนของผู้ที่ได้คะแนน การจะไปรับรองบุคคลผู้นั้นเป็นผู้แทนก็ไม่มีผลทางกฎหมายด้วยเหมือนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ประชาชนโหวตโนมากๆ และมีประชาชนที่ไม่เลือกพรรคใดพรรคหนึ่งมากๆ มารวมกันจะมีผลทำให้การเลือกตั้งมีโอกาสเป็นโมฆะได้มากกว่า เพราะคำวินิจฉัยของศาลที่เคยวินิจฉัยเรื่องการหันหีบบัตร ประเด็นนั้นมีความสำคัญน้อยกว่าคะแนนผู้ที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนมากกว่าผู้ ที่ได้คะแนน ซึ่งประเด็นนี้ถ้ามีผู้ร้อง ศาลจะให้น้ำหนักเรื่องสาระสำคัญ ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าเรื่องการหันหีบบัตร
     
       อย่างไรก็ตาม การโหวตโนที่มีจำนวนมาก เป็นการสะท้อนอำนาจอธิปไตยของประชาชนในการไม่เลือกคนหนึ่งคนใดหรือระบอบการ เมืองนั้นๆ ซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งจำต้องเคารพและวินิจฉัยไปตาม เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญซึ่งเห็นว่าอำนาจอธิปไตยของประชาชนเป็นอำนาจสูงสุด ผลในทางกฎหมายของการไม่ประสงค์ลงคะแนนที่มีคนอ้างว่าไม่มีผลทางกฎหมายเป็น เพราะนักการเมืองรู้อยู่แล้วว่าถ้าโหวตโนมากๆ จะมีผลทางกฎหมายเช่นนี้ และเกรงว่าประชาชนจะโหวตโนมากๆ จึงมีความพยายามให้นักกฎหมายและนักวิชาการให้ข้อมูลบิดเบือนประชาชน แต่บัดนี้ทั้งนักกฎหมายและทีมทนายความมีความเห็นตรงกันในทางกฎหมายว่า มาตรา 89 ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 88 ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่การเลือกตั้งเป็นแบบนี้ เนื่องจากมีการรณรงค์โหวตโน และคนมีความเข้าใจกฎหมายมากขึ้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง