วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ผ่าร่าง พ.ร.บ. ฉบับ บิ๊กบัง
หมายเหตุ : พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ และหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ เสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... และได้รับการบรรจุเป็นวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 อันเป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับคนในชาติ
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ......
______________________
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ....."
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้บรรดาการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมืองตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๘ จนถึงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หากมีการกระทำใดที่เป็นความผิดกฎหมาย ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
การกระทำตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงการกระทำของบุคคล ดังต่อไปนี้
(๑) การกระทำทั้งหลายของบุคคลที่เกิดจากการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามการชุมนุม การกล่าววาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีใดเพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการประท้วงด้วยวิธีใดๆ อันเป็นการกระทบต่อร่างกายหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง
(๒) การกระทำทั้งหลายของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการป้องกันระงับหรือปราบปรามในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว
มาตรา ๔ เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา ๓ อยู่ในระหว่างการสอบสวนให้ผู้มีอำนาจสอบสวนระงับการสอบสวนผู้นั้น ถ้าอยู่ในระหว่างการฟ้องร้องให้พนักงานอัยการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีถ้าใต้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิด ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดและปล่อยตัวผู้นั้น
มาตรา ๕ ให้ถือว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการหรือการปฏิบัติทั้งหลายขององค์กรหรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เป็นไปตามประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ หรือการดำเนินการหรือการปฏิบัติทั้งหลายขององค์กร หรือหน่วยงานอื่นใดอันเป็นผลเสียเนื่องจากการดำเนินการหรือการปฎิบัติขององค์กรหรือของคณะบุคคลโดยอนุโลม และให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฎิบัติต่อบุคคลที่ได้รับผลกระทบนั้นให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมต่อไป
มาตรา ๖ เพื่อให้บุคคลได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศซึ่งเป็นการสร้างความปรองดองในสังคม ให้การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลผู้เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองเพราะเหตุมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองเป็นอันสิ้นสุดลง และให้ถือว่าบุคคลผู้นั้นไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๗ การดำเนินการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งมิใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐที่จะเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งจากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย
มาตรา ๘ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
........................................................
นายกรัฐมนตรี
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ......
______________________
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ....."
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้บรรดาการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมืองตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๘ จนถึงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หากมีการกระทำใดที่เป็นความผิดกฎหมาย ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
การกระทำตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงการกระทำของบุคคล ดังต่อไปนี้
(๑) การกระทำทั้งหลายของบุคคลที่เกิดจากการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามการชุมนุม การกล่าววาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีใดเพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการประท้วงด้วยวิธีใดๆ อันเป็นการกระทบต่อร่างกายหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง
(๒) การกระทำทั้งหลายของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการป้องกันระงับหรือปราบปรามในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว
มาตรา ๔ เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา ๓ อยู่ในระหว่างการสอบสวนให้ผู้มีอำนาจสอบสวนระงับการสอบสวนผู้นั้น ถ้าอยู่ในระหว่างการฟ้องร้องให้พนักงานอัยการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีถ้าใต้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิด ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดและปล่อยตัวผู้นั้น
มาตรา ๕ ให้ถือว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการหรือการปฏิบัติทั้งหลายขององค์กรหรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เป็นไปตามประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ หรือการดำเนินการหรือการปฏิบัติทั้งหลายขององค์กร หรือหน่วยงานอื่นใดอันเป็นผลเสียเนื่องจากการดำเนินการหรือการปฎิบัติขององค์กรหรือของคณะบุคคลโดยอนุโลม และให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฎิบัติต่อบุคคลที่ได้รับผลกระทบนั้นให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมต่อไป
มาตรา ๖ เพื่อให้บุคคลได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศซึ่งเป็นการสร้างความปรองดองในสังคม ให้การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลผู้เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองเพราะเหตุมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองเป็นอันสิ้นสุดลง และให้ถือว่าบุคคลผู้นั้นไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๗ การดำเนินการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งมิใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐที่จะเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งจากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย
มาตรา ๘ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
........................................................
นายกรัฐมนตรี
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
บก.ลายจุด จัดหนัก แม้ว!
ครั้งที่ม่านควันแห่งการสลายการชุมนุมเมื่อพฤษภาคม53 ยังหนาทึบ พรางสายตาให้คนเสื้อแดงลอยเคว้ง ไร้หลักทิศ “สมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด)” ได้ส่งแคมเปญ “วันอาทิตย์สีแดง”ทำกิจกรรมผูกผ้าที่แยกราชประสงค์กระตุกสติคนเสื้อแดง
กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่ว่า แม้จะไม่ส่งผลแบบทันด่วน แต่การใช้สันติวิธี พร้อมขยายแนวร่วมรบแบบที่เรียกว่า ”แกนนอน” ทำหน้าที่ “สื่อสาร”และเรียกสติแนวร่วมแบบไม่ขาดตกบกพร่อง ทำให้คนเสื้อแดงเริ่มรวมติดก่อนจัดขบวนต่อรองกับรัฐบาลใหม่
ครบรอบ2ปีการชุมนุม มีบริบทที่พิเศษกว่าครั้งไหน ด้วยวีดีโอลิงค์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เปรียบเปรย"เสื้อแดง" เป็นดั่ง "เรือ" ที่ส่งถึงฝัง โดยที่จากนี้ไปเขาเลือก “สละเรือ”เพื่อ"นั่งรถ" ได้ซ่อนนัยยะสู่การตีความได้หลายหลาก
คุณทักษิณกำลังหลงตัว คิดว่าตัวเองเป็นเป้าหมาย คำพูดล่าสุดมันชัดเจนที่คิดว่าตัวเองคือเป้าหมายการต่อสู้ครั้งนี้ ทั้งที่จริงๆ แม้จะรักคุณทักษิณแต่คนเหล่านั้นเรียกร้องประชาธิปไตย ถึงจะชอบคุณทักษิณ แต่เงื่อนไขการสู้เพื่อคุณทักษิณอย่างเดียวไม่สามารถเรียกคนออกมาได้ขนาดนี้ อย่างน้อยก็ไม่มีทางเรียกคนอย่างผมได้ หรือเรียกปัญญาชน กระทั่งชาวบ้านออกไม่ได้ขนาดนี้ ลำพังคุณทักษิณมันไม่เพียงพอหรอก เพราะประเด็นใหญ่ที่ประชาชนสนใจคือสังคมที่จะวิวัฒนาการไปสู่สังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น มีคุณภาพทางการเมืองที่สูงกว่าสมัยคุณทักษิณด้วยซ้ำ แต่พอคุณทักษิณพูดแบบนี้มันก็กลายเป็นรถไฟสายประชาธิปไตยถึงแค่สถานีคุณทักษิณ ซึ่งคุณทักษิณอาจจะบอกนี้คือสถานีประชาธิปไตย แต่นั่นคือการหลงตัวเอง
วิเคราะห์ว่าเหตุใดคุณทักษิณถึงพูดเช่นนั้น
คงคิดเป็นอื่นไม่ได้นอกจากไปเจรจากับฝั่งโน้นมา และฝ่ายโน้นเองอาจจะให้ทหารเริ่มออกจากประชาธิปัตย์ หัวหน้าอำมาตย์ก็ไปฟังเพลงที่ทำเนียบรัฐบาล มีรดน้ำดำหัวกัน นั่นมันคือการส่งสัญญาณชัดว่ามีการเจรจาต่อรองกัน ทางนี้ (ฝ่ายคุณทักษิณ) จึงส่งสัญญาณมาก ผมว่าสิ่งที่น่ากลัวสำหรับอำนาจนอกระบบไม่ใช่คุณทักษิณแล้ว แต่มันคือเสื้อแดง ดังนั้นเขาต้องหยุด และคุณทักษิณอาจรับจ็อบมาให้ช่วยหยุดคนเหล่านี้
หรืออาจจะประเมินแล้วว่าเสื้อแดงอย่างพวกคุณ ที่ถือเป็นแดงฝ่ายก้าวหน้ามีน้อย
ผมว่าเขาไมได้ประเมินเรื่องนั้น แต่เขาคงคิดว่าเมื่อพูดแล้วทุกคนจะเห็นตามเลย มันอาจมีทีมาจากการประเมินผิด ทุกคนเวลาเจอคุณทักษิณก็แสดงออกถึงความรัก มีคนอยากไปหาเยอะ คือมีทั้งคนที่รักเขาจริงๆ อีกอย่างคือเขาเป็นศูนย์รวมอำนาจ มีแต่คนอยากเข้าถึง อยากเป็นสายตรง ดังนั้นเขาอาจจะมั่นใจว่าเป็นที่รัก มีความสำคัญ แต่คิดบนฐานตัวเอง ไม่ได้คิดบนฐานชาวบ้าน เขาไม่รู้ว่าในประเทศไทยมันมีมิติอย่างไรบ้าง
คนเสื้อแดงที่มองไปไกลกว่าเรื่องคุณทักษิณมีมากขนาดไหน
ที่ไปไกลกว่าคุณทักษิณอาจมีไม่เยอะ แต่ว่าคนที่คิดมากกว่าทักษิณมันมีมาก กล่าวคือพร้อมจะต่อสู้เรื่องที่มากกว่าเรื่องของคุณทักษิณมาก เพียงแต่เสื้อแดงส่วนใหญ่ยังยึดติดกับคุณทักษิณเพราะอยากจะพาไปด้วย นึกออกไหม คือเขาเองก็อยากจะลากไปด้วย คิดว่าลงเรือลำเดียวกัน แต่การปราศรัยครั้งนี้มันเป็นโอกาสดีที่จะทำให้ก้าวข้ามเพราะการพูดเช่นนี้ทำให้คนจำนวนหนึ่งก้าวข้ามคุณทักษิณได้
แนวคิดแบบก้าวหน้า จะช่วงชิงแกนนำในหมู่คนเสื้อแดงได้อย่างไร
ไม่ ไม่ (ส่ายหน้า) ผมไม่กล้าขนาดนั้น ผมไม่มีศักยภาพพอจะไปนำใครขนาดนั้น ผมเป็นแค่คนขายไอเดีย และคิดว่านี่คือเวลาที่ดีที่สุด แต่ต้องให้เวลาเขาถกเถียงกันสักพักนี่เป็นประเด็นที่ร้อนที่สุดแล้วในหมู่คนเสื้อแดง เพราะนี่หมายถึงการสร้าง ทิศทางของคนเสื้อแดงต่อจากนี้ว่าจะเอาอย่างไร ซึ่งคนที่ควรจะพูดก่อนและผมเองก็ให้เกียรติคือ อ.ธิดา (ถาวรเศรษฐ์) ประธานนปช.มิเช่นนั้นหากไม่พูดมันก็เปรียบเสมือนมวลชนถูกทิ้งกลางทะเล
ตอนนี้ผมเองเพียงตะโกนบอกว่า “เราต้องไปต่อ” เพราะวันนี้เถ้าแก่ดูไบไปแล้ว เราก็ต้องทำใจ ใครจะไป ไม่มีใครว่าหรือใครจะอาลัยอาวรณ์ผมก็เข้าใจ แต่ผมเองไม่มี ผมเพียงแต่รู้สึกว่าเมื่อคุณคิดลงจากขบวนก็น่าจะทำให้ดูดีหน่อย ผมรับไม่ค่อยได้ที่จะบอกว่าผมเพียงแค่มาส่งคุณ ผมเองก็มีศักดิ์ศรีไม่ต่างกัน และมีสถานะเป็นแนวร่วม คือเรากำลังวิ่งไปหาสั่งคมประชาธิปไตย เพราะคิดว่าสังคมแบบนี้จะให้ความเป็นธรรมกับเราทุกคน ถ้าคุณเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นธรรมคุณก็โดดขึ้นมา แต่จู่ๆคุณก็บอกว่าคุณถึงแล้ว แต่เรายังไม่ถึงนะ
คุณคิดว่าความเป็นธรรมของคุณคือการไปเจรจาก็ตามใจ แต่ว่าคุณขึ้นเขาได้คนเดียวนะ แล้วชาวบ้านเยอะแยะจะทำยังไง จะรักษาขบวนอย่างไร แล้วขอโทษนะ…ผมคิดว่าภารกิจนี้เป็นภารกิจประวัติศาสตร์จริงๆ คุณทักษิณนั้นเล็กน้อยมาก เมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์ที่สำคัญของคนประชาชนแต่มันปฏิเสธไม่ได้ว่าความแข็งแรงของคนเสื้อแดงในวันนี้ กลุ่มคนชอบคุณทักษิณมีส่วนสำคัญอย่างมากเพราะมันอ้างประชาธิปไตยไง ถึงมีคนตามมา ถ้าไปบอกว่าเพื่อทักษิณคนจะไม่ตามมาขนาดนี้
ก้าวต่อไปของคนเสื้อแดงควรจะเป็นอย่างไร
ผมยืนยันว่าขบวนการประชาธิปไตยต้องประกอบไปด้วยองค์กรขนาดเล็กจำนวนมาก และองค์กรขนาดเล็กนี้เองถึงจะล้อมเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่เรียกว่าสมาพันธ์หรือสมัชชา แต่ที่ผ่านมาเราไม่มีองค์กรขนาดเล็ก มีแต่องค์กรขนาดใหญ่ และองค์กรขนาดใหญ่นี่เองที่รวบการนำ การคิด เป็นคนกำหนด แต่ถ้าเรามีองค์กรขนาดเล็กจำนวนมากแล้ว เวลาเคลื่อนก็จะทำให้ภาพใหญ่มันแน่น อีกอย่างการรวมกลุ่มขนาดเล็กทำให้เกิดการปฏิบัติการ ซึ่งเมื่อเปลี่ยนมวลชนเป็นผู้ปฏิบัติการได้ มันจะมีศักยภาพมาก พลังของขบวนจะเพิ่ม วันนี้เสื้อแดงเยอะมากพอแล้ว เพียงแต่ต้องเปลี่ยนจากมวลชนมาเป็นผู้ปฏิบัติงานให้ได้ เพื่อศักยภาพมันจะสูงสุด เมื่อเขารวมกลุ่มกัน มันจะเกิดการศึกษาเรียนรู้ ไม่ใช่ฟังการปราศรัยเสร็จ ใครพูดอย่างไรก็ว่าตามนั้น
กลุ่มย่อยที่ว่าหมายถึงอะไร หรือเป็นการตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงแบบที่ทำอยู่
ได้หมด อาจจะเป็นตามซอย ที่ทำงาน ชุมชน เรื่องนี้มันเกิดขึ้นสมัย14ตุลา 16 มันทำสิ่งที่เรียกว่ากลุ่มศึกษา ที่อาจไม่ต้องมีการชุมนุมใหญ่โตก็ได้ แต่กลุ่มศึกษา อาจจะเป็นผู้นำตามธรรมชาติ ชุมชน มีแดงประจำซอย แดงประจำออฟฟิศ มีการเกาะกลุ่มใกล้บ้าน เป็นพรรคพวกสถาบันเดียวกัน รวมกลุ่มกัน มีวิทยากรมาให้ความรู้ เหมือนสมัยก่อนที่ศึกษาจากบทความ มาวิเคราะห์กัน
เสื้อแดงในเชิงปริมาณพอแล้ว สิ่งที่เราขาดคือคุณภาพ ถ้าเสื้อแดงเปลี่ยนเป็นคุณภาพได้ ชนชั้นกลางก็จะยอมรับมากขึ้น พวกที่เคยต่อต้านก็จะลดการต่อต้าน อาจจะไม่ถึงขนาดกลับข้างมาเป็นพวกแต่จะลดการต่อต้านลง
การชนะเร็วๆคือการชนะแบบชนชั้นนำ ไม่เกิดประชาธิปไตยจริงๆ นี่คือโอกาสดีที่จะเปลี่ยนคุณภาพของคนในสังคม ประชาธิปไตยที่สุดคือการเปลี่ยนคุณภาพในสังคม ไม่ใช่แค่การมีรัฐบาลที่ดีเท่านั้น แต่คุณภาพคนในสังคมต้องเปลี่ยน
จริงอยู่การล้มอำมาตย์เป็นภารกิจหนึ่ง แต่หากเราล้มอำมาตย์โดยไม่ได้เน้นการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยก็ไม่ต่างอะไรกับพันธมิตร ที่บอกว่านักการเมืองเลว ซึ่งผมเองก็ไม่เคยขัด แต่พันธมิตรฯก็ไม่มีรูปแบบการนำเสนอทางใหม่ๆ อย่างช่วงหลังที่คนเสื้อแดงเริ่มพูดถึง Primary vote แบบนี้ เพราะไม่มีทางเลยที่นักการเมืองจะพูดก่อน แต่มวลชนต้องเสนอเรื่องแบบนี้
นี่เฉพาะเรื่อง primary Vote น่ะ แต่ต่อไปมันต้องพูดไปถึงประชาธิปไตยกินได้ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งของการสร้างพรรคการเมือง ที่ตอบสนองคนในพื้นที่ สร้างการมีส่วนร่วมและสังเคราะห์ปัญหา หรือข้อเสนอ นำไปสู่การพัฒนาชุมชนตนเอง และข้อเสนอใดที่ต้องขึ้นไปในระดับนโยบายพรรคก็ต้องมีช่องทางที่จะรับจากข้างล่างและทำการสังเคราะห์ผลักดันเป็นนโยบายไปสนับสนุน นี่คือระบบพรรคการเมืองในฝันที่เราอยากจะเห็น แต่สิ่งเหล่านี้ไม่อยู่ในการออกแบบในพรรคการเมืองไทย ที่มีแต่ระบบเหมาทำ จะดีหน่อยก็ตรงที่บางพรรคอาจจะมีนักวิชาการส่วนหนึ่งที่ออกไปสำรวจ วิจัย แล้วผลิตเป็นนโยบาย ซึ่งถือว่ายังดีกว่าการนั่งเทียน แต่ก็ถือว่าไม่ใช่กระบวนการมีส่วนร่วมอยู่ดี ลองคิดดูถ้าพรรคเพื่อไทยทำได้เช่นนี้ พวกฝ่ายพันธมิตรก็รับได้
การสร้างสังคมตื่นรู้แบบใช้แกนนอน สำหรับคนเสื้อแดงเองจะเริ่มเมื่อใด
จะทำอะไรขอรอดูก่อน ผมยอมรับตอนนี้ผมทะเล่อทะล่าพอสมควร หมายความถ้าพูดมากกว่านี้ว่าผมกลัวว่าจะกลายเป็นเรื่องชิงดีชิงเด่น ผมวางตัวแบบนี้เพื่อผมจะมีพื้นที่เสนอต่อ ดังนั้นจะไม่ทำตัวในลักษณะการช่วงชิงแกนนำ และศักยภาพผมเองก็ทำขนาดนั้นไม่ได้ ผมประเมินตัวเองแล้ว ผมเป็นเพียงนักออกแบบนวัตกรรม เสนอความคิด แต่ผมคงไปนำคงไม่ไหว อย่าสงไรก็ตามพวกคุณต้องให้โอกาส นี่มันเพิ่งผ่านไม่กี่วัน และไม่มีใครแม้แต่คนเดียวสนับสนุนกับสิ่งที่คุณทักษิณคนเสื้อแดงก่อน จริงอยู่มีคนยังรักคุณทักษิณอยู่ แต่ข้อเสนอไม่มีใครเห็นด้วย
ความขัดแย้งในครั้งนี้ไมได้เกิดจากชนชั้นนำเหมือนที่เป็นมา จริงอยู่ที่วิกฤติการณ์ส่วนหนึ่งคือการที่ช้างชนกัน คือเป็นเรื่องของชนชั้นนำผู้มีอิทธิพล แต่ครั้งนี้มันมี2มิติ คือการปะทะด้านบน และการขยับตัวของชนชั้นกลาง และที่ซ้อนกว่านั้นคือการขยับในระดับฐานล่าง ที่ คนเหล่านี้มันลุกขึ้นมาอีก แล้วมีมิติการเคลื่อน ดันจากข้างล่างมาข้างบน เรื่องชนชั้นผมยืนยันมันมีอยู่จริง โคตรจริงเลย เพียงแต่ตัวละครที่เห็นมักจะมีแต่ระดับแกนนำที่ออกมาชนกันตามหน้าสื่อ
หลังการสลายการชุมนุม คุณออกเคลื่อนไหวด้วยการใช้สัญลักษณ์ด้วยการผูกผ้าแดง จะเกิดขึ้นสัญลักษณ์อะไรกับประเด็นนี้
ครั้งนั้นถึงผมไม่ออกมาทำวันอาทิตย์สีแดง มันก็ต้องมีคนออกมาอยู่ดี นั่นเพราะเจตจำนงมันมี ผมไม่ได้มีศักยภาพสูงขนาดนั้น แต่ความเป็นจริงทางสังคมทำให้เกิด มันเป็นความเป็นจริงที่คนรู้สึกอยากจะสู้ เหมือนกับรอบนี้ซึ่งต้องอ่านให้ออก ประเด็นคือตอนนั้นหลังจากปี 53 คนยังไม่ยอมแพ้แต่ไม่รู้สู้อย่างไร พอมีคนเคลื่อนเขาก็เกาะสิ่งนี้ ตอนนี้ก็เหมือนกัน คนมันยังไม่อยากหยุดแม้คุณทักษิณบอกจะพอแล้ว แต่คนไม่อยากหยุด มันเหมือนกันทุกประการ เพียงแต่รอใครมาทำหน้าที่และมีทิศทาง ปักธง เพื่อเดินไปอีกรอบ
แต่เมื่อบริบทเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน ก็ต้องคิดวิธี ผมคิดเล่นๆอาจจะมีทัวร์รถไฟสายประชาธิปไตยสักรอบ อาจเช่าโบกี้ขึ้นรถไฟไปอยุธยา ไปบ้านอ.ปรีดี (พนมยงค์) เชิญตัวหลักๆนักวิชาการที่ก้าวหน้า เชิญหลากหลายกลุ่มที่มีนัยยะ มาหารือบนรถไฟ และทบทวนกันว่าทำไมเส้นทางสายประชาธิปไตยมันไม่สุดสักที ถ้าจะเดินทางมันต้องทำอย่างไร ก็ใช้เส้นทางนี้หารือ ส่งสัญญาณเชิงสัญลักษณ์ ให้เปรียบเสมือนว่าการขึ้นรถไฟที่มีตัวแทนจากคนหลายกลุ่ม
(หมายเหตุ : สัมภาษณ์พิเศษ : 'สมบัติ บุญงามอนงค์' ก้าวข้าม 'ทักษิณ' แบบแกนนอน)
กุ้งอินเตอร์
กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่ว่า แม้จะไม่ส่งผลแบบทันด่วน แต่การใช้สันติวิธี พร้อมขยายแนวร่วมรบแบบที่เรียกว่า ”แกนนอน” ทำหน้าที่ “สื่อสาร”และเรียกสติแนวร่วมแบบไม่ขาดตกบกพร่อง ทำให้คนเสื้อแดงเริ่มรวมติดก่อนจัดขบวนต่อรองกับรัฐบาลใหม่
ครบรอบ2ปีการชุมนุม มีบริบทที่พิเศษกว่าครั้งไหน ด้วยวีดีโอลิงค์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เปรียบเปรย"เสื้อแดง" เป็นดั่ง "เรือ" ที่ส่งถึงฝัง โดยที่จากนี้ไปเขาเลือก “สละเรือ”เพื่อ"นั่งรถ" ได้ซ่อนนัยยะสู่การตีความได้หลายหลาก
คุณทักษิณกำลังหลงตัว คิดว่าตัวเองเป็นเป้าหมาย คำพูดล่าสุดมันชัดเจนที่คิดว่าตัวเองคือเป้าหมายการต่อสู้ครั้งนี้ ทั้งที่จริงๆ แม้จะรักคุณทักษิณแต่คนเหล่านั้นเรียกร้องประชาธิปไตย ถึงจะชอบคุณทักษิณ แต่เงื่อนไขการสู้เพื่อคุณทักษิณอย่างเดียวไม่สามารถเรียกคนออกมาได้ขนาดนี้ อย่างน้อยก็ไม่มีทางเรียกคนอย่างผมได้ หรือเรียกปัญญาชน กระทั่งชาวบ้านออกไม่ได้ขนาดนี้ ลำพังคุณทักษิณมันไม่เพียงพอหรอก เพราะประเด็นใหญ่ที่ประชาชนสนใจคือสังคมที่จะวิวัฒนาการไปสู่สังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น มีคุณภาพทางการเมืองที่สูงกว่าสมัยคุณทักษิณด้วยซ้ำ แต่พอคุณทักษิณพูดแบบนี้มันก็กลายเป็นรถไฟสายประชาธิปไตยถึงแค่สถานีคุณทักษิณ ซึ่งคุณทักษิณอาจจะบอกนี้คือสถานีประชาธิปไตย แต่นั่นคือการหลงตัวเอง
วิเคราะห์ว่าเหตุใดคุณทักษิณถึงพูดเช่นนั้น
คงคิดเป็นอื่นไม่ได้นอกจากไปเจรจากับฝั่งโน้นมา และฝ่ายโน้นเองอาจจะให้ทหารเริ่มออกจากประชาธิปัตย์ หัวหน้าอำมาตย์ก็ไปฟังเพลงที่ทำเนียบรัฐบาล มีรดน้ำดำหัวกัน นั่นมันคือการส่งสัญญาณชัดว่ามีการเจรจาต่อรองกัน ทางนี้ (ฝ่ายคุณทักษิณ) จึงส่งสัญญาณมาก ผมว่าสิ่งที่น่ากลัวสำหรับอำนาจนอกระบบไม่ใช่คุณทักษิณแล้ว แต่มันคือเสื้อแดง ดังนั้นเขาต้องหยุด และคุณทักษิณอาจรับจ็อบมาให้ช่วยหยุดคนเหล่านี้
หรืออาจจะประเมินแล้วว่าเสื้อแดงอย่างพวกคุณ ที่ถือเป็นแดงฝ่ายก้าวหน้ามีน้อย
ผมว่าเขาไมได้ประเมินเรื่องนั้น แต่เขาคงคิดว่าเมื่อพูดแล้วทุกคนจะเห็นตามเลย มันอาจมีทีมาจากการประเมินผิด ทุกคนเวลาเจอคุณทักษิณก็แสดงออกถึงความรัก มีคนอยากไปหาเยอะ คือมีทั้งคนที่รักเขาจริงๆ อีกอย่างคือเขาเป็นศูนย์รวมอำนาจ มีแต่คนอยากเข้าถึง อยากเป็นสายตรง ดังนั้นเขาอาจจะมั่นใจว่าเป็นที่รัก มีความสำคัญ แต่คิดบนฐานตัวเอง ไม่ได้คิดบนฐานชาวบ้าน เขาไม่รู้ว่าในประเทศไทยมันมีมิติอย่างไรบ้าง
คนเสื้อแดงที่มองไปไกลกว่าเรื่องคุณทักษิณมีมากขนาดไหน
ที่ไปไกลกว่าคุณทักษิณอาจมีไม่เยอะ แต่ว่าคนที่คิดมากกว่าทักษิณมันมีมาก กล่าวคือพร้อมจะต่อสู้เรื่องที่มากกว่าเรื่องของคุณทักษิณมาก เพียงแต่เสื้อแดงส่วนใหญ่ยังยึดติดกับคุณทักษิณเพราะอยากจะพาไปด้วย นึกออกไหม คือเขาเองก็อยากจะลากไปด้วย คิดว่าลงเรือลำเดียวกัน แต่การปราศรัยครั้งนี้มันเป็นโอกาสดีที่จะทำให้ก้าวข้ามเพราะการพูดเช่นนี้ทำให้คนจำนวนหนึ่งก้าวข้ามคุณทักษิณได้
แนวคิดแบบก้าวหน้า จะช่วงชิงแกนนำในหมู่คนเสื้อแดงได้อย่างไร
ไม่ ไม่ (ส่ายหน้า) ผมไม่กล้าขนาดนั้น ผมไม่มีศักยภาพพอจะไปนำใครขนาดนั้น ผมเป็นแค่คนขายไอเดีย และคิดว่านี่คือเวลาที่ดีที่สุด แต่ต้องให้เวลาเขาถกเถียงกันสักพักนี่เป็นประเด็นที่ร้อนที่สุดแล้วในหมู่คนเสื้อแดง เพราะนี่หมายถึงการสร้าง ทิศทางของคนเสื้อแดงต่อจากนี้ว่าจะเอาอย่างไร ซึ่งคนที่ควรจะพูดก่อนและผมเองก็ให้เกียรติคือ อ.ธิดา (ถาวรเศรษฐ์) ประธานนปช.มิเช่นนั้นหากไม่พูดมันก็เปรียบเสมือนมวลชนถูกทิ้งกลางทะเล
ตอนนี้ผมเองเพียงตะโกนบอกว่า “เราต้องไปต่อ” เพราะวันนี้เถ้าแก่ดูไบไปแล้ว เราก็ต้องทำใจ ใครจะไป ไม่มีใครว่าหรือใครจะอาลัยอาวรณ์ผมก็เข้าใจ แต่ผมเองไม่มี ผมเพียงแต่รู้สึกว่าเมื่อคุณคิดลงจากขบวนก็น่าจะทำให้ดูดีหน่อย ผมรับไม่ค่อยได้ที่จะบอกว่าผมเพียงแค่มาส่งคุณ ผมเองก็มีศักดิ์ศรีไม่ต่างกัน และมีสถานะเป็นแนวร่วม คือเรากำลังวิ่งไปหาสั่งคมประชาธิปไตย เพราะคิดว่าสังคมแบบนี้จะให้ความเป็นธรรมกับเราทุกคน ถ้าคุณเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นธรรมคุณก็โดดขึ้นมา แต่จู่ๆคุณก็บอกว่าคุณถึงแล้ว แต่เรายังไม่ถึงนะ
คุณคิดว่าความเป็นธรรมของคุณคือการไปเจรจาก็ตามใจ แต่ว่าคุณขึ้นเขาได้คนเดียวนะ แล้วชาวบ้านเยอะแยะจะทำยังไง จะรักษาขบวนอย่างไร แล้วขอโทษนะ…ผมคิดว่าภารกิจนี้เป็นภารกิจประวัติศาสตร์จริงๆ คุณทักษิณนั้นเล็กน้อยมาก เมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์ที่สำคัญของคนประชาชนแต่มันปฏิเสธไม่ได้ว่าความแข็งแรงของคนเสื้อแดงในวันนี้ กลุ่มคนชอบคุณทักษิณมีส่วนสำคัญอย่างมากเพราะมันอ้างประชาธิปไตยไง ถึงมีคนตามมา ถ้าไปบอกว่าเพื่อทักษิณคนจะไม่ตามมาขนาดนี้
ก้าวต่อไปของคนเสื้อแดงควรจะเป็นอย่างไร
ผมยืนยันว่าขบวนการประชาธิปไตยต้องประกอบไปด้วยองค์กรขนาดเล็กจำนวนมาก และองค์กรขนาดเล็กนี้เองถึงจะล้อมเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่เรียกว่าสมาพันธ์หรือสมัชชา แต่ที่ผ่านมาเราไม่มีองค์กรขนาดเล็ก มีแต่องค์กรขนาดใหญ่ และองค์กรขนาดใหญ่นี่เองที่รวบการนำ การคิด เป็นคนกำหนด แต่ถ้าเรามีองค์กรขนาดเล็กจำนวนมากแล้ว เวลาเคลื่อนก็จะทำให้ภาพใหญ่มันแน่น อีกอย่างการรวมกลุ่มขนาดเล็กทำให้เกิดการปฏิบัติการ ซึ่งเมื่อเปลี่ยนมวลชนเป็นผู้ปฏิบัติการได้ มันจะมีศักยภาพมาก พลังของขบวนจะเพิ่ม วันนี้เสื้อแดงเยอะมากพอแล้ว เพียงแต่ต้องเปลี่ยนจากมวลชนมาเป็นผู้ปฏิบัติงานให้ได้ เพื่อศักยภาพมันจะสูงสุด เมื่อเขารวมกลุ่มกัน มันจะเกิดการศึกษาเรียนรู้ ไม่ใช่ฟังการปราศรัยเสร็จ ใครพูดอย่างไรก็ว่าตามนั้น
กลุ่มย่อยที่ว่าหมายถึงอะไร หรือเป็นการตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงแบบที่ทำอยู่
ได้หมด อาจจะเป็นตามซอย ที่ทำงาน ชุมชน เรื่องนี้มันเกิดขึ้นสมัย14ตุลา 16 มันทำสิ่งที่เรียกว่ากลุ่มศึกษา ที่อาจไม่ต้องมีการชุมนุมใหญ่โตก็ได้ แต่กลุ่มศึกษา อาจจะเป็นผู้นำตามธรรมชาติ ชุมชน มีแดงประจำซอย แดงประจำออฟฟิศ มีการเกาะกลุ่มใกล้บ้าน เป็นพรรคพวกสถาบันเดียวกัน รวมกลุ่มกัน มีวิทยากรมาให้ความรู้ เหมือนสมัยก่อนที่ศึกษาจากบทความ มาวิเคราะห์กัน
เสื้อแดงในเชิงปริมาณพอแล้ว สิ่งที่เราขาดคือคุณภาพ ถ้าเสื้อแดงเปลี่ยนเป็นคุณภาพได้ ชนชั้นกลางก็จะยอมรับมากขึ้น พวกที่เคยต่อต้านก็จะลดการต่อต้าน อาจจะไม่ถึงขนาดกลับข้างมาเป็นพวกแต่จะลดการต่อต้านลง
การชนะเร็วๆคือการชนะแบบชนชั้นนำ ไม่เกิดประชาธิปไตยจริงๆ นี่คือโอกาสดีที่จะเปลี่ยนคุณภาพของคนในสังคม ประชาธิปไตยที่สุดคือการเปลี่ยนคุณภาพในสังคม ไม่ใช่แค่การมีรัฐบาลที่ดีเท่านั้น แต่คุณภาพคนในสังคมต้องเปลี่ยน
จริงอยู่การล้มอำมาตย์เป็นภารกิจหนึ่ง แต่หากเราล้มอำมาตย์โดยไม่ได้เน้นการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยก็ไม่ต่างอะไรกับพันธมิตร ที่บอกว่านักการเมืองเลว ซึ่งผมเองก็ไม่เคยขัด แต่พันธมิตรฯก็ไม่มีรูปแบบการนำเสนอทางใหม่ๆ อย่างช่วงหลังที่คนเสื้อแดงเริ่มพูดถึง Primary vote แบบนี้ เพราะไม่มีทางเลยที่นักการเมืองจะพูดก่อน แต่มวลชนต้องเสนอเรื่องแบบนี้
นี่เฉพาะเรื่อง primary Vote น่ะ แต่ต่อไปมันต้องพูดไปถึงประชาธิปไตยกินได้ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งของการสร้างพรรคการเมือง ที่ตอบสนองคนในพื้นที่ สร้างการมีส่วนร่วมและสังเคราะห์ปัญหา หรือข้อเสนอ นำไปสู่การพัฒนาชุมชนตนเอง และข้อเสนอใดที่ต้องขึ้นไปในระดับนโยบายพรรคก็ต้องมีช่องทางที่จะรับจากข้างล่างและทำการสังเคราะห์ผลักดันเป็นนโยบายไปสนับสนุน นี่คือระบบพรรคการเมืองในฝันที่เราอยากจะเห็น แต่สิ่งเหล่านี้ไม่อยู่ในการออกแบบในพรรคการเมืองไทย ที่มีแต่ระบบเหมาทำ จะดีหน่อยก็ตรงที่บางพรรคอาจจะมีนักวิชาการส่วนหนึ่งที่ออกไปสำรวจ วิจัย แล้วผลิตเป็นนโยบาย ซึ่งถือว่ายังดีกว่าการนั่งเทียน แต่ก็ถือว่าไม่ใช่กระบวนการมีส่วนร่วมอยู่ดี ลองคิดดูถ้าพรรคเพื่อไทยทำได้เช่นนี้ พวกฝ่ายพันธมิตรก็รับได้
การสร้างสังคมตื่นรู้แบบใช้แกนนอน สำหรับคนเสื้อแดงเองจะเริ่มเมื่อใด
จะทำอะไรขอรอดูก่อน ผมยอมรับตอนนี้ผมทะเล่อทะล่าพอสมควร หมายความถ้าพูดมากกว่านี้ว่าผมกลัวว่าจะกลายเป็นเรื่องชิงดีชิงเด่น ผมวางตัวแบบนี้เพื่อผมจะมีพื้นที่เสนอต่อ ดังนั้นจะไม่ทำตัวในลักษณะการช่วงชิงแกนนำ และศักยภาพผมเองก็ทำขนาดนั้นไม่ได้ ผมประเมินตัวเองแล้ว ผมเป็นเพียงนักออกแบบนวัตกรรม เสนอความคิด แต่ผมคงไปนำคงไม่ไหว อย่าสงไรก็ตามพวกคุณต้องให้โอกาส นี่มันเพิ่งผ่านไม่กี่วัน และไม่มีใครแม้แต่คนเดียวสนับสนุนกับสิ่งที่คุณทักษิณคนเสื้อแดงก่อน จริงอยู่มีคนยังรักคุณทักษิณอยู่ แต่ข้อเสนอไม่มีใครเห็นด้วย
ความขัดแย้งในครั้งนี้ไมได้เกิดจากชนชั้นนำเหมือนที่เป็นมา จริงอยู่ที่วิกฤติการณ์ส่วนหนึ่งคือการที่ช้างชนกัน คือเป็นเรื่องของชนชั้นนำผู้มีอิทธิพล แต่ครั้งนี้มันมี2มิติ คือการปะทะด้านบน และการขยับตัวของชนชั้นกลาง และที่ซ้อนกว่านั้นคือการขยับในระดับฐานล่าง ที่ คนเหล่านี้มันลุกขึ้นมาอีก แล้วมีมิติการเคลื่อน ดันจากข้างล่างมาข้างบน เรื่องชนชั้นผมยืนยันมันมีอยู่จริง โคตรจริงเลย เพียงแต่ตัวละครที่เห็นมักจะมีแต่ระดับแกนนำที่ออกมาชนกันตามหน้าสื่อ
หลังการสลายการชุมนุม คุณออกเคลื่อนไหวด้วยการใช้สัญลักษณ์ด้วยการผูกผ้าแดง จะเกิดขึ้นสัญลักษณ์อะไรกับประเด็นนี้
ครั้งนั้นถึงผมไม่ออกมาทำวันอาทิตย์สีแดง มันก็ต้องมีคนออกมาอยู่ดี นั่นเพราะเจตจำนงมันมี ผมไม่ได้มีศักยภาพสูงขนาดนั้น แต่ความเป็นจริงทางสังคมทำให้เกิด มันเป็นความเป็นจริงที่คนรู้สึกอยากจะสู้ เหมือนกับรอบนี้ซึ่งต้องอ่านให้ออก ประเด็นคือตอนนั้นหลังจากปี 53 คนยังไม่ยอมแพ้แต่ไม่รู้สู้อย่างไร พอมีคนเคลื่อนเขาก็เกาะสิ่งนี้ ตอนนี้ก็เหมือนกัน คนมันยังไม่อยากหยุดแม้คุณทักษิณบอกจะพอแล้ว แต่คนไม่อยากหยุด มันเหมือนกันทุกประการ เพียงแต่รอใครมาทำหน้าที่และมีทิศทาง ปักธง เพื่อเดินไปอีกรอบ
แต่เมื่อบริบทเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน ก็ต้องคิดวิธี ผมคิดเล่นๆอาจจะมีทัวร์รถไฟสายประชาธิปไตยสักรอบ อาจเช่าโบกี้ขึ้นรถไฟไปอยุธยา ไปบ้านอ.ปรีดี (พนมยงค์) เชิญตัวหลักๆนักวิชาการที่ก้าวหน้า เชิญหลากหลายกลุ่มที่มีนัยยะ มาหารือบนรถไฟ และทบทวนกันว่าทำไมเส้นทางสายประชาธิปไตยมันไม่สุดสักที ถ้าจะเดินทางมันต้องทำอย่างไร ก็ใช้เส้นทางนี้หารือ ส่งสัญญาณเชิงสัญลักษณ์ ให้เปรียบเสมือนว่าการขึ้นรถไฟที่มีตัวแทนจากคนหลายกลุ่ม
(หมายเหตุ : สัมภาษณ์พิเศษ : 'สมบัติ บุญงามอนงค์' ก้าวข้าม 'ทักษิณ' แบบแกนนอน)
กุ้งอินเตอร์
ปิยบุตร แสงกนกกุล: ทำความเข้าใจหลักการ “เงินเยียวยา” ทำไมห้ามฟ้องแพ่ง
เรียบเรียงโดยกองบรรณาธิการ
กรณีการรับเงินเยียวยาความเสียหายจากการชุมนุม และมีข้อกำหนดห้ามฟ้องเป็นคดีต่อศาลเพื่อเรียกค่าเสียหายจากรัฐนั้น สามารถกระทำได้ เพราะฐานของการได้รับค่าเสียหายนี้ คือ ความรับผิดโดยปราศจากความผิด (ชดใช้ให้ไปก่อน โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าคนชดใช้ คือรัฐนั้น กระทำละเมิดหรือไม่ ทั้งนี้เป็นไปตามนิตินโยบาย) ในต่างประเทศระยะหลัง ศาลวางแนวรับรองความรับผิดโดยปราศจากความผิดเพิ่มขึ้นมา และขยายวงออกไปในหลายเรื่อง เช่น ผู้เสียหายจากการก่อการร้าย การรักษาพยาบาลฯ จนทำให้ผู้เสียหายฟ้องศาลมากขึ้น เพื่อขอค่าเสียหายจากรัฐ เพราะผู้เสียหายไม่ต้องพิสูจน์ว่ารัฐทำละเมิด ถ้าศาลเห็นว่าเป็นความรับผิดโดยปราศจากความผิด ศาลก็จะให้เอง
พอคดีแบบนี้เพิ่มมากขึ้น ฝ่ายนิติบัญญัติก็เข้ามาช่วยด้วยการออกกฎหมายรายฉบับ กำหนดเรื่องที่ใช้ความรับผิดโดยปราศจากความผิด (เช่น ผู้เสียหายจากการักษาพยาบาล, ผู้เสียหายจากการชุมนุม, ผู้เสียหายจากการก่อการร้าย เป็นต้น) มีหลักการคือ ให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่ง พิจารณากำหนดค่าเสียหายให้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่ารัฐผิด พิจารณาแค่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับความเสียหาย และดูความร้ายแรงของความเสียหายเพื่อกำหนดจำนวนเงินมากน้อยต่างกันไป
เมื่อกำหนดค่าเสียหายให้แล้ว ผู้เสียหายยังไม่พอใจ ก็จะอุทธรณ์ไปยังคณะกรรมการอีกชุดเพื่อให้ชี้อีกครั้งก็ได้
หากผู้เสียหายพอใจตกลงรับเงินค่าเสียหาย ก็ไม่อาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายต่อศาลได้อีก แต่หากไม่พอใจ ก็ฟ้องศาลได้อีก
นี่เป็นหลักการปกติ คือ ฝ่ายนิติบัญญัติลงมาช่วย เพื่อให้คดีไม่รกศาล และผู้เสียหายก็ได้เงินรวดเร็ว
กฎหมายแบบนี้มีมากมายที่ฝรั่งเศส เคยมีผู้ร้องไปยังศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเหมือนกันว่า การกำหนดว่าถ้ารับเงินแล้ว ห้ามฟ้องศาลเพื่อเรียกค่าเสียหายนั้นขัดกับสิทธิการฟ้องคดี แต่ศาลวินิจฉัยว่า ไม่ขัด
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นคดีเรียกค่าเสียหาย เรียกเงินเท่านั้น ไม่ได้ตัดสิทธิการฟ้องคดีอาญา
ดังนั้น ที่รัฐบาลทำอยู่ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน คือ รับเงินแล้ว ฟ้องเรียกเงินอีกไม่ได้ แต่เมื่อมีการกำหนดตัวเงินมาแล้ว ผู้เสียหายยังไม่พอใจ ก็สามารถฟ้องศาลต่อได้ และที่สำคัญ การรับเงิน หรือไม่รับเงิน ไม่ได้ไปตัดเรื่องฟ้องคดีอาญา
ที่ฝรั่งเศส มีกฎหมายอยู่ฉบับหนึ่ง ตราเมื่อ 4 มีนาคม 2002 กฎหมายนี้กำหนดว่า บุคคลผู้เสียหายจากการตรวจ การรักษาพยาบาล โดยที่ความเสียหายนี้ ไม่ได้เกิดจากการกระทำละเมิด ผู้เสียหายอาจร้องขอต่อคณะกรรมการชุดหนึ่ง เพื่อพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้ได้ โดยต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ความเสียหายเกิดจากการกระทำ ความเสียหายผิดปกติ ความเสียหายร้ายแรง
อาจเป็นไปได้ว่า เกิดใช้สองช่อง คือ ฟ้องศาล และ ร้องกับคณะกรรมการ
เช่น ฟ้องศาลไปแล้ว ศาลยังไม่ตัดสิน แล้วมาขอคณะกรรมการอีก กฎหมายกำหนดให้ผู้ร้องต้องแจ้งแก่คณะกรรมการฯด้วยว่า ได้ฟ้องศาลในเรื่องนี้ไปแล้ว ผลก็คือ อายุความของศาล และกระบวนพิจารณาในศาล หยุดลงชั่วคราวไปก่อน
เช่น ร้องขอคณะกรรมการแล้ว แต่คณะกรรมการยังไม่วินิจฉัย ก็เลยไปฟ้องศาลอีก กฎหมายกำหนดให้ ผู้ฟ้องต้องแจ้งแก่ศาลด้วยว่า ตนได้ร้องต่อคณะกรรมการฯไว้ด้วย
ในกรณีที่คณะกรรมการฯวินิจฉัยให้จ่ายแล้ว ก็จะแบ่งเป็น
1.) พอใจ รับเงิน จบ ห้ามฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายในเรื่องนี้อีก
2.) ไม่พอใจ อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการฯ วินิจฉัยมา พอใจ จบ ห้ามฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายในเรื่องนี้อีก
3.) ไม่พอใจ อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการฯ วินิจฉัยมา ไม่พอใจ ไปฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายในเรื่องนี้ อีก กรณีนี้คู่พิพาทกัน ก็คือ ผู้เสียหาย กับ คณะกรรมการกองทุนนี้ โดยเรื่องที่พิจารณาคือ ควรได้ค่าเสียหายเท่าไร ศาลอาจบอกว่า เท่าเดิม หรือ ศาลอาจเพิ่มให้ (แต่ลดลงไม่ได้)
สำหรับกรณีของไทย เข้าใจดีว่าผู้เสียหายหลายคนอาจยังติดใจว่า ทำไมฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพื่อให้จ่ายค่าเสียหายไม่ได้ ขออธิบายดังนี้
1.) พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539 วางหลักว่า กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องฟ้องตัวหน่วยงาน แต่ถ้ากรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในนามส่วนตัว ทำนอกการปฏิบัติหน้าที่ ต้องฟ้องตัวเจ้าหน้าที่
2.) กรณีสลายการชุมนุม ไม่มีช่องไหนที่จะฟ้องตัวคนได้เลย เพราะการสั่ง การปฏิบัติการ การสลายชุมนุมอยู่ในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งนั้น หากไปละเมิดก็เป็นละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น ต้องฟ้องหน่วยงานเสมอ ไม่มีทางฟ้องอภิสิทธิ์ สุเทพ ได้
3.) เมื่อฟ้องหน่วยงานไปแล้ว หากศาลพิจารณาว่าเป็นละเมิดจริง ก็จะสั่งให้หน่วยงานชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหาย จะเห็นได้ว่า เป็นเงินที่มาจากงบประมาณแผ่นดินเช่นเดียวกัน
4.) หากหน่วยงานจ่ายไปแล้ว เห็นว่า เจ้าหน้าที่ที่กระทำละเมิด กระทำโดยจงใจหรือประมาทร้ายแรง หน่วยงานก็ไปไล่เบี้ยเอากับเจ้าหน้าที่คนนั้น (ซึ่งไม่เกี่ยวกับผู้เสียหายแล้ว ผู้เสียหายได้รับเงินไปแล้ว หน่วยงานกับเจ้าหน้าที่เขาว่ากันเอง)
5.) จะเห็นได้ว่า หากใช้ช่อง พ.ร.บ. ปี 39 แล้ว กระบวนการจะช้าและเป็นภาระแก่ผู้เสียหายมาก ดังนี้ 1. ผู้เสียหายต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นให้ได้ว่ามีการละเมิด 2. สมมติศาลพิพากษาให้หน่วยงานจ่าย หน่วยงานก็จะสู้คดีต่ออีกในชั้นอุทธรณ์ ฎีกา 3. ค่าเสียหายที่ผู้เสียหายขอต่อศาลไปนั้น อาจไม่ได้ตามที่ขอ เพราะศาลจะดูหลายๆ อย่างประกอบ เช่น ระดับความเสียหาย, ค่าเสียโอกาสในอนาคตมีจริงหรือไม่, ผู้เสียหายมีส่วนร่วมกระทำผิดในการละเมิดนั้นหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งปกติแล้ว ขอไปทีไร ศาลให้ไม่เต็มเสมอๆ 4. องค์คณะของศาลแต่ละคดี อาจตัดสินไม่เหมือนกันก็ได้
6.) การสลายการชุมนุมในปี 52 มีคดีตัวอย่าง ทนายสุวิทย์ ทองนวล (ทำคดีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ร่วมกับทนายคารม พลพรกลาง) เป็นคนทำคดีฟ้องฐานละเมิดโดยเอา พ.ร.บ. 39 มาใช้ ขอไปประมาณกว่า 3 ล้าน ศาลสั่งให้หน่วยงานชดใช้ ได้มาล้านกว่าๆ (เคยเป็นข่าวใน น.ส.พ. ข่าวสด) และไม่แน่ใจว่าหน่วยงานสู้คดีต่อหรือไม่
7.) กรณีระเบียบฯเยียวยานี้ เปิดทางเลือกให้ผู้เสียหาย หากผู้เสียหายไม่เอาทางนี้ ก็ไปฟ้องได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าไปฟ้องต่อศาล ก็ต้องใช้หลักตาม พ.ร.บ. ปี39 ซึ่งไม่มีทางที่จะฟ้องอภิสิทธิ์-สุเทพได้โดยตรง แต่ต้องฟ้องหน่วยงาน
8.) ระเบียบฯนี้ ไม่ได้ตัดเรื่องความผิดอาญา ในระบบกฎหมายเท่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ ไม่มีกฎหมายใดตัดความผิดอาญาจากการสลายการชุมนุมได้ นอกจากจะมีการตรากฎหมายนิรโทษกรรม
นอกจากนี้ยังมีอีกปัญหาด้วย คือ กรณีความรับผิดแบบ without fault นั้น ศาลไทยยังไม่ค่อยพัฒนาเท่าไร พอพูดเรื่องละเมิด ก็ต้องลากไปประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 420 คือ ต้องไปพิสูจน์ว่ากระทำผิด ละเมิด ให้ได้ ถึงจะได้ค่าสินไหมทดแทน
ทีนี้ ในกรณีกฎหมายปี 2002 ของฝรั่งเศสนั้น เขาก็เอาเฉพาะเรื่องกรณี without fault เท่านั้น ที่ให้ใช้ช่องคณะกรรมการฯ แต่ถ้าเป็นการฟ้องความรับผิดที่มี fault ขึ้นมา ก็ไปว่ากันเอง ซึ่งว่ากันเองนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องฟ้องหน่วยงานก่อนอยู่ดี (หากเป็นการละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่)
แต่พอมากรณีของไทย มันจะผสมมั่วๆ อยู่นิดหนึ่ง คือ กรณีระเบียบเยียวยา ไม่ได้พูดเรื่อง without fault เพราะ เขาอาจไม่รู้จักก็ได้ แต่ผมเห็นว่าฐานที่รัฐบาลยอมจ่ายนี้ เป็น without fault แน่นอน เพราะจ่ายโดยไม่ได้ไปหาฐานละเมิด
แต่ระเบียบฯนี้ก็ไปเขียนอีกว่า ตัดสิทธิฟ้องแพ่ง (เดาว่า เขาไม่รู้จักเรื่อง without fault กับ fault จริงๆ เลยไม่รู้จะเขียนตัดยังไง) และหากมีการไปฟ้องศาล เป็นไปได้ว่าศาลเองก็อาจไม่รู้เรื่องอีกเหมือนกัน
นักกฎหมายไทยไม่ค่อยรู้จัก เรื่อง without fault ทุกวันนี้ตอนบรรยายวิชากฎหมายปกครอง ผมจะพูดเรื่องนี้ประมาณ 3 คาบทุกครั้ง เพราะ concept แบบ without fault ต่อไปจะใช้เยอะขึ้นแน่นอน ตามความคิดการพึ่งพาอาศัยกันฉันมิตร (national solidarity)
จริงๆ เรื่องนี้พอมีโผล่ๆ มาอยู่บ้าง เช่น กรณี ม.41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, กรณีร่าง พ.ร.บ. ความเสียหายจากการรับริการสาธารณสุข, กรณี พ.ร.บ. เกี่ยวกับเรื่องการชดเชยให้กับคนติดคุก ซึ่งต่อมาศาลพิพากษาว่าบริสุทธิ์
อีกประเด็น ก็คือ คนไทยส่วนใหญ่ถูกความคิดแบบกฎหมายเอกชนครอบงำมานาน พอพูดเรื่องฟ้องกันทีไร จะต้องคิดภาพตัวคนลอยมาทันที เช่น ก ตีกบาล ข ก ก็ฟ้องเรียกเงินจาก ข ข ก็เอาเงินของตนมาจ่าย ก แต่ในทางคดีปกครอง เขาไม่ได้เล่นกันที่ตัวคน เช่น ฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งที่เจ้าหน้าที่ ก ออกมา ก็เล่นไปที่ตัวคำสั่ง ไม่ได้เล่นไปที่เจ้าหน้าที่ ก หรือ เช่น เจ้าหน้าที่ ก ปฏิบัติหน้าที่แล้วไปละเมิด ข ข ก็ฟ้องหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ ก เพราะ การกระทำของ ก เป็นไปเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ทำในนามของหน่วยงานนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผ่านมา ไม่มีคำพิพากษาใดพูดชัดเรื่อง without fault เลย นอกเสียจากมี พ.ร.บ. กำหนดไว้ชัดเจน เช่นพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544
และหากฟ้องแบบ fault ไปได้ ก็ต้องเจอกับ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ปี 2539 ที่ไปฟ้องเอากับหน่วยงานอยู่ดี และใช้กระบวนการนานมาก
รัฐบาลเองก็อาจแยกไม่ออกกระมัง เลยเขียนระเบียบออกมาแบบเร็วๆ แบบนี้
ตอนทำระเบียบ ไม่รู้ว่าเขาเอาแบบของ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 มาดูไหม เพราะอันนี้เขียนค่อนข้างใช้ได้ มีคณะกรรมการพิจารณา คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และเขียนชัดว่าไม่ตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ผู้เสียหายหรือจำเลยพึงได้ตามกฎหมายอื่น
หากจะทำให้เป็นระบบกว่านี้ ควรออกมาในรูปแบบ ดังนี้
1.) มีคณะกรรมการพิจารณา ผู้เสียหายยื่นคำร้อง
2.) คณะกรรมการกำหนดจำนวนเงิน ผู้เสียหายพอใจ รับไป จบ
3.) คณะกรรมการกำหนดจำนวนเงิน ผู้เสียหายไม่พอใจ อุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ผู้เสียหายพอใจ จบ
4.) คณะกรรมการกำหนดจำนวนเงิน ผู้เสียหายไม่พอใจ อุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ผู้เสียหายไม่พอใจ ฟ้องศาล เพื่อให้ศาลกำหนดจำนวนเงินให้ใหม่
5.) กรณีไม่เลือกช่องทางคณะกรรมการ ก็ไปฟ้องศาลได้โดยตรง
6.) นี่เป็นความรับผิดแบบ without fault ไม่ใช่ความรับผิดแบบ fault หากตั้งฐานเอาแบบ fault ก็ไปฟ้องได้
(ประเด็น คือ ผู้ปฏิบัติกฎหมายไทยจะรู้จักและแยกแยะ without fault กับ fault ได้หรือไม่ หรือเหมารวมไปหมด ดังนั้น จริงๆ น่าจะตรากฎหมาย เขียนระเบียบให้ชัด ผมจึงคาดเดาว่า ด้วยเหตุนี้เอง ระเบียบฯ จึงไปเขียนว่าตัดสิทธิฟ้องแพ่ง เพราะ ไม่รู้จักเรื่อง without fault กับ fault รู้จักแค่ว่าถ้าฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน เรียกเงินกัน ต้องเป็นฟ้องแพ่งแบบละเมิดหมด)
ที่มา: เฟซบุ๊คส่วนตัวปิยบุตร แสงกนกกุล
มีการเรียบเรียงเพิ่มเติมในเวลา 00.34 น.(25 พ.ค.55)
วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ทักษิณพยายามเดินตามร็อธสไชล์ดโมเดล
โดย แทน ราศนา
ทักษิณพยายามเดินตามร็อธสไชล์ดโมเดล คือยึดธนาคารกลางของรัฐเพื่ออำนาจในการควบคุมการออกเงินตรา
“ห้วงเวลา 1 ปีบวกลบจากนี้ไปจะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประเทศไทย แนวรบด้านการเมือง เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างประเทศ เพิ่มอำนาจนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ลดอำนาจองค์กรอิสระ สร้างกลไกถ่วงดุลอำนาจตุลาการ ส่วนแนวรบด้านเศรษฐกิจ ครอบงำธนาคารกลาง ดึงทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้ลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน 2.27 ล้านล้านบาท และ ฯลฯ เพื่อสร้างคะแนนนิยมและวางเดิมพันก้อนโตกับอนาคตว่่าจะหาเงินคืนได้มากกว่า เพราะวิธีการนี้โดยสารัตถะก็คือการพิมพ์ธนบัตรเงินบาทออกมาใช้นั่นเอง !!..” - คำนูณ สิทธิสมาน
ความลับที่คนทั้งโลกไม่รู้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED)เป็นธนาคารของเอกชน
ไม่ใช่คำกล่าวที่เกินไป จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ประเทศไทยอาจจะมีนักเศรษฐศาสตร์ไม่กี่คนที่รู้ว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาความจริงแล้วเป็นธนาคารของเอกชนที่เรียกว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา(Federal Reserve Bank) ความจริงแล้วทั้งไม่ใช่Federal และยิ่งไม่มีการ Reserve และไม่สมควรนับว่าเป็นธนาคาร
เจ้าหน้าที่พนักงานรัฐบาลทั่วโลกส่วนมากอาจคิดว่าแน่นอนต้องเป็นรัฐบาลอเมริกาที่ออกเงินดอลลาร์ แต่สภาพความเป็นจริงก็คือรัฐบาลอเมริกาไม่มีอำนาจในการออกเงินเลย หลังจากประธานาธิบดีเคเนดีถูกลอบสังหารในปี ๑๙๖๓ รัฐบาลอเมริกาก็สูญเสียอำนาจในการออกเงิน หลังอสัญกรรมของประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี รัฐบาลอเมริกาเหลือไว้อำนาจในการออกเงินเหรียญเท่านั้น รัฐบาลอเมริกาคิดจะได้เงินดอลลาร์จะต้องนำเอาภาษีในอนาคตของประชาชนอเมริกา(พันธบัตรรัฐบาลไปค้ำกับธนาคารกลางสหรัฐฯของเอกชนแล้วธนาคารกลางสหรัฐฯก็จะออกเงินดอลลาร์ให้ซึ่งดูแล้วก็เหมือนกับตั๋วเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯนั่นเอง)
ในปี๑๙๑๓ ธนาคารกลางของสหรัฐฯได้ก่อตั้งขึ้น ถึงแม้ว่าบิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐอเมริกา(Founding Fathers of the United State) หมายถึงผู้นำทางการเมืองที่ได้ลงนามในคำประกาศอิสรภาพในช่วงปี ๑๗๗๖ หรือได้มีส่วนในสงครามปฏิวัติอเมริกา ในฐานะผู้นำผู้รักชาติผู้ได้มีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ ๑๑ ปีให้หลังเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ จะต่อต้านแนวคิดของการมีธนาคารแห่งชาติ ซึ่งมีอำนาจควบคุมปริมาณเงินเป็นอย่างมาก การที่ไม่ได้รับการศึกษาด้านการเงินอย่างเพียงพอ ทำให้น้อยคนจะทราบว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) ไม่ได้เป็นหน่วยงานของรัฐ ไม่มีเงินทุนสำรอง และก็ไม่ใช่ธนาคารแต่อย่างใด เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯได้เกิดขึ้น มันได้มีกติกาขึ้นมาสองกลุ่มในเรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน กฎกลุ่มแรก-ใช้กับผู้ที่ทำงานเพื่อเงิน กฎกลุ่มที่สอง -จะใช้สำหรับคนรวยผู้ที่พิมพ์เงินขึ้นมา
กลุ่มอภิมหาเศรษฐีโลก
ธนาคารกลางสหรัฐฯ----------------------------กระทรวงการคลังของสหรัฐ
ธนาคารกลางของสหรัฐฯไม่ใช่ธนาคารของสหรัฐฯและก็ไม่ได้เป็นอเมริกันชนด้วย ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีกลุ่มครอบครัวคนรวยที่สุดในโลก เป็นการรวมกลุ่มของทุนผูกขาด(Cartel)ทางการเงินเช่นเดียวกับที่โอเปกเป็นการรวมกลุ่มการผูกขาดของผู้ทรงอิทธิพลด้านน้ำมัน มีแต่คนจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ทราบว่ามันไม่มีการสำรอง(Reserved)จริง เพราะว่ามันไม่มีเงิน และไม่มีห้องขนาดใหญ่สำหรับเอาไว้เก็บเงินเช่นเดียวกันธนาคารทั่วไป
เจ็ดยักษ์ใหญ่แห่งถนนวอลลสตรีทเท่านั้นที่เป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา
“บุคคลทั้งเจ็ดบนถนนวอลล์สตรีทปัจจุบันได้ควบคุมอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรรมชาติพื้นฐานส่วนใหญ่ของอเมริกา ในเจ็ดยักษ์ใหญ่นี้มี เจพี.มอร์แกน จอร์จ เบเกอร์ (George Fisher Baker -March 27, 1840 – May 2, 1931)และประธานของเฟิรสท์เนชั่นแนลแบงก์ออฟนิวยอร์ค ทั้งสามคนนี้สังกัดอยู่ในทุนมอร์แกนที่เหลืออีกสี่คนมีจอห์น ร็อคกี้เฟลเลอร์,วิลเลียม ร็อคกี้เฟลเลอร์, ทีม เสตียแมน ประธานของเนชั่นแนลซิตี้แบงก์ออฟนิวยอร์ค,จาคอบ สคิป จากคูนโรแบนคอมพะนี ทั้งสี่คนนี้สังกัดอยู่ในกลุ่มแสตนดาร์ดออย ซิตี้แบงก์ พวกเขาประกอบขึ้นเป็นศูนย์กลางของเงินทุนที่ควบคุมอเมริกาอยู่”
จอห์น มูดดี้(ผู้ก่อตั้งมูดดี้อินเวสต์เมนต์ เดคอเรชั่นซิสเต็ม) ๑๙๑๑
ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งเจ็ดคนบนถนนวอลสตรีทก็คือผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังตัวจริงของการก่อตั้งธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา พวกเขาประสานกันอย่างลับๆ กับครอบครัวร็อธสไชล์ดในยุโรปสามารถสร้างแบบอย่างของธนาคารกลางอังกฤษ(Bank of England)ในอเมริกา
ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นผู้ถือหุ้นและผู้บริหารคนสำคัญที่มาจากยุโรปทั้งสิ้น ลักษณะดังกล่าวมิได้มีการเปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบัน ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา มิได้มีรัฐบาลอเมริกาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เหมือนอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่ ๘ อันดับต้น ประกอบด้วย
๑. Rothschild Bank [ London and Paris ]
๒. Lazard Brothers Bank [ Paris ]
๓. Israel Moses Seif Bank [ Italy ]
๔. Warburg Bank [ Hamburg and Amsterdam ]
๕. Lehman Brothers Bank [ New York ]
๖. Loeb Bank [ New York ]
๗. Chase Manhattan Bank [ New York ]
๘. Goldman Sachs Bank [ New York ]
(ดูเพิ่มเติมที่-http://www.lawfulpath.com/ref/federal_reserve.shtml)
เมเยอร์ อัมสเชล ร็อธสไชล์ด Mayer Amschel Rothschild เคยกล่าวเอาไว้ว่า“ถ้าข้าพเจ้ามีอำนาจควบคุมการออกเงินตราของประเทศ ข้าพเจ้าก็ไม่จำเป็นต้องสนใจว่าใครคือผู้ออกกฎหมาย”
สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับประเทศไทยก็คือ หากทักษิณทำตามแผนการของเขาที่จะยึดธนาคารแห่งประเทศไทยที่ยังมีโครงสร้างเป็นหน่วยงานของรัฐ โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองและเข้าควบคุมการพิมพ์ธนบัตรได้เอง สถานการณ์ในประเทศไทยจะยิ่งเลวร้ายกว่าสหรัฐอเมริกา เพราะนั่นหมายความว่า คนที่ควบคุมการออกเงินตราของประเทศ กับคนที่ออกกฎหมายเป็นคนเดียวกัน และโอกาสต่อไปของเขาก็คือการแปรธนาคารแห่งประเทศไทยให้เป็นธนาคารที่ควบคุมโดยเอกชนเช่นเดียวกับธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา หายนะกำลังมาเยือนประเทศไทยอย่างเงียบเชียบ. (ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือวิกฤติไม่บอกกล่าว THE UNTOLD CRISIS)
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
คิกออฟปราบโกง จัดการมะเร็งร้ายกัดกร่อนประเทศ ...ใครเริ่มก่อน ?
เขียนโดย isranews
ถือเป็นนิมิตหมายอันดี วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 2555 เป็นอีกหนึ่งวัน
ที่คนไทย ต้องจดจำ เพราะรัฐบาลเปิดยุทธศาสตร์ต้านโกง ภายใต้แนวคิด “ประเทศไทยก้าวไกลไร้ทุจริต” งาน
นี้ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ นำครม.
รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการประทับฝ่ามือทำพิธีเพื่อประกาศเจตนารมณ์ในการต่อ
ต้านการทุจริตอย่างเป็นทางการ
พร้อมกับเปิดศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption
War Room)
เนื้อหาสาระ ความน่าสนใจ อยู่ที่การนำเสนอตัวอย่างต่างประเทศที่เป็นเลิศ (Best Practices) ในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น: กรณีสาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยนาย ชัว เชอร์ ยัค อดีตผู้อำนวยการ Corrupt Practices Investigation Bureau (CPIB) ประเทศสิงคโปร์ บินตรงข้ามประเทศมาถอดบทเรียนให้เห็น การคอร์รัปชั่นซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนานั้น ในอดีตประเทศสิงคโปร์ก็มีปัญหาคอร์รัปชั่นอย่างรุนแรงเช่นกัน
ช่วงเวลานั้น สิงคโปร์ ยังประเทศที่ยากจนมากๆ แต่เมื่อทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า ทางเดียวที่จะอยู่รอดได้ คือ ต้องรวมกันแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นให้ได้ เพื่อนำเม็ดเงินทุกบาททุกสตางค์มาใช้ในการพัฒนาประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างเม็ดเต็มหน่วย
เขาบอกเคล็ดลับและองค์ประกอบของความสำเร็จในการต่อต้านทุจริตในประเทศ สิงคโปร์ ประกอบด้วย 1.หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption Agency) 2.กฎหมาย 3.การทำงานของศาล และ 4. การจัดการ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีธรรมาภิบาล กฎหมายต้องมีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นผลในทางการบังคับใช้ ประการสำคัญรากฐานความสำเร็จในการต่อต้านคอร์รัปชั่นมาจากเจตนารมณ์ทางการ เมือง (Political will)
สิ่งที่อดีตผอ. CPIB ของสิงคโปร์ เน้นย้ำเป็นพิเศษ ก็คือ บทบาทเชิงรุกของผู้นำทางการเมือง ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการแก้ปัญหานี้
โดยผู้นำต้องเป็นต้นแบบ ไม่ทุจริต เพื่อแสดงความตั้งใจจริงของรัฐบาล ขณะ เดียวกันเมื่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงกระทำความผิด ต้องถูกลงโทษเช่นกัน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับประชาชนในการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชั่น
เพราทั้งหมดล้วนสะท้อนว่า ประเทศนั้นๆ มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
งบฯคอร์รัปชั่น ต้องเกลี่ยจากงบฯ อื่นมาใช้
สำหรับ แนวทางการแก้ไขปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบในประเทศไทย หนึ่งในองค์กรอิสระ ที่เราต้องพูดถึง คือ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) นำเสนอการดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของ ป.ป.ช.ที่ผ่านมาว่า ได้ให้ความสำคัญกันตั้งแต่ต้นน้ำ คือ
1.การป้องกัน ปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยมให้กับทุกภาคส่วน
2.ปราบปรามการทุจริตที่ต้องรวมพลังกันทั้งแผ่นดิน
3.การสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานต่อต้านการทุจริต เช่น ด้านกฎหมาย
และ4.สร้างบุคคลากรมืออาชีพ ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อการขยายป้องกันและต่อต้านทุจริต
แต่แล้วการดำเนินการตามแผนงานดังกล่าว ก็ยังมีข้อจำกัด นายปานเทพ มองว่า ต้องมีการปรับปรุงพอสมควร อาทิ การให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนด้านงบประมาณ
" ที่ ผ่านมารัฐบาลได้ระบุให้การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นวาระแห่งชาติ แต่ในทางปฏิบัติกลับมีปัญหาด้านงบประมาณ เนื่องจากส่วนกลางไม่ได้กำหนดลงไปชัดเจนว่า งบส่วนนี้ใช้เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ทำให้พบว่า มีการเกลี่ยงบฯจากส่วนอื่นมาใช้ ซึ่งไม่พอต่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น"
ทั้งๆ ที่ปัจจุบันปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น มีความซับซ้อน รุนแรง ฝังรากลงลึกไปในระดับองค์กรส่วนท้องถิ่น ขณะเดียวกัน รัฐบาลต้องมีมาตรการระยะสั้น และระยะยาวในการแก้ปัญหานี้
สำหรับมาตรการระยะสั้นนั้น ประธาน ป.ป.ช. เสนอให้ภาครัฐต้องมีเครื่องมือ ที่สร้างหลักประกันความเสี่ยงในการดำเนินโครงการต่างๆ ว่าจะต้องปลอดจากการทุจริต เช่น ในระดับรายละเอียดเสนอของบโครงการ ต้องระบุไว้ชัดเจนว่า จะประกันความเสี่ยง ไม่ให้เกิดการคอร์รัปชั่นอย่างไร เขียนไว้ให้ชัดเจน
ขณะเดียวกัน ระบบการศึกษา ก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยหลักสูตรการศึกษาในช่วงต่อไปต้องเน้น "สร้างคนเก่ง มีคุณธรรมและจริยธรรม" ไม่ใช่คนเก่งอย่างเดียวอีกต่อไป
นอกจากนี้ต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปราม การทุจริตอย่างเต็มที่ด้วย
ส่วนการจัดซื้อจัดจ้างนั้น นายปานเทพ เห็นว่า ควรกำหนดให้ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลาง เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องเปิดเผย ซึ่งเรื่องนี้ ป.ป.ช. ได้เสนอไปแล้ว โดยคณะรัฐมนตรีระบุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติ่มอ ยู่
วงจรอุบาทว์ "โง่ จน เจ็บ"
ขณะที่การตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินนั้น นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน บอกว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นที่ชั่วช้าและเลวทรามที่สุด คือ การทุจริตเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชนทั้งชาติ
จุดนี้เองที่เขาเห็นว่า นำมาซึ่งวงจรอุบาทว์ "โง่ จน เจ็บ" และสร้างความเจ็บช้ำให้กับคนที่เสียภาษีที่สุด
จากประสบการณ์ในการทำงานตรวจเงินแผ่นดิน รองผู้ว่าฯ สตง. ได้พบการรั่วไหลเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐหลายรูปแบบ เช่น การประกาศภัยพิบัติ น้ำแล้ง น้ำท่วม เพลี้ย ภัยเชื้อราต่างๆ ล้วนมาพร้อมกับสตางค์ทั้งสิ้น
"ภัยพิบัติจะหายไปได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับสตางค์เช่นกัน"
หรือกรณีการใช้งบในสร้างสิ่งปลูกสร้างของภาครัฐ ซึ่งสุดท้ายพบปล่อยทิ้งร้าง ไม่ได้ใช้งาน เขาคาดว่า มีมูลรวมกันทั่วประเทศเป็นพันเป็นหมื่นล้านบาท
ก่อนจะสรุปเป็นความเห็นส่วนตัวว่า ปัญหาคอรัปชั่นในประเทศไทย มาจาก "ตัวบุคคล" มากกว่า "ตัวระบบ"
"เพราะต่อให้ระบบดีแค่ไหน แต่ถ้าคนยังไม่ดี ปัญหาก็ยังคงมีอยู่ ฉะนั้น ผู้บริหารประเทศต้องเป็นแบบอย่าง เป็นผู้นำในการต่อต้านทุจริต ขณะเดียวกันข้าราชการไทยที่กระทำความผิดทางวินัยอย่างรุนแรง ถูก ป.ป.ช. ชี้มูล ต้องไม่พบว่า มีการล้างมลทินและกลับเข้ามาทำงานในตำแหน่งเดิมได้อีก"
ทุจริตเชิงนโยบาย ริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อใช้งบฯ
ส่วนนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น พาเราย้อยไปดูผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เกี่ยวกับสถานการณ์การจ่ายเงินตอบแทนผลประโยชน์ให้กับคู่ค้า ที่พบว่า เอกชนบางรายจ่ายเงินตอบแทนสูงสุดอยู่ที่ 25%-30% ของงบประมาณทั้งหมดของโครงการ เพื่อแลกกับการได้งาน
แตกต่างจากสมัยก่อน การให้สินน้ำใจแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐอยู่ที่ 3%-5% เท่านั้น
สิ่งเหล่านี้เขาสะท้อนว่า การทุจริตในโครงการเกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการทุจริตในเชิงนโยบาย การริเริ่มสร้างโครงการต่างๆ เพื่อใช้งบฯ
" ที่ผ่านมาประเทศไทยมีท่าเรือ สนามบิน ถนนที่สร้างขึ้นแล้วไม่ใช่ประโยชน์จำนวนมาก แต่นักการเมืองก็ถือโอกาสสร้างเพื่อหาเสียง หวังผลประโยชน์ เม็ดเงินจากโครงการมาสร้างอำนาจให้ตนเอง อีกทั้งในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยกำลังกู้ยืมเงิน 4-5 แสนล้านบาทมาใช้เพื่อเป็นงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาประเทศ หากเกิดการทุจริตคิดคราวๆ เพียง 10 % เราต้องสูญเสียงบ 4-5 หมื่นล้านบาท ทั้งที่เงินจำนวนดังกล่าว ควรนำมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศ" ผู้นำภาคีเครือข่ายต้านคอร์รัปชั่น ระบุพร้อมกับยอมรับว่า ปัญหาทุจริต ภาคเอกชนมีส่วนครึ่งหนึ่ง
แน่นอนว่า ถ้าไม่มีผู้จ่ายก็จะไม่มีผู้รับ
"ฉะนั้น เราพยายามที่จะร่วมตัวกัน จับมือกันประกาศเจตนารมณ์ไม่จ่าย ไม่ฮั้ว สร้างเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น ตลอดจนปลุกฝังส่งเสริมค่านิยมให้กับเด็ก เยาวชน แต่การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นจะสำเร็จได้นั้น ก็ต้องมาจากรัฐบาลเป็นผู้นำ ประชาชน ภาคธุรกิจเอกชนต้องมีส่วนร่วม ขณะที่องค์กรอิสระต้องรวมกันตรวจสอบ" ประมนต์ บอกสูตรสำเร็จ ปราบคอร์รัปชั่นในบ้านเรา ทิ้งท้าย
เนื้อหาสาระ ความน่าสนใจ อยู่ที่การนำเสนอตัวอย่างต่างประเทศที่เป็นเลิศ (Best Practices) ในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น: กรณีสาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยนาย ชัว เชอร์ ยัค อดีตผู้อำนวยการ Corrupt Practices Investigation Bureau (CPIB) ประเทศสิงคโปร์ บินตรงข้ามประเทศมาถอดบทเรียนให้เห็น การคอร์รัปชั่นซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนานั้น ในอดีตประเทศสิงคโปร์ก็มีปัญหาคอร์รัปชั่นอย่างรุนแรงเช่นกัน
ช่วงเวลานั้น สิงคโปร์ ยังประเทศที่ยากจนมากๆ แต่เมื่อทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า ทางเดียวที่จะอยู่รอดได้ คือ ต้องรวมกันแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นให้ได้ เพื่อนำเม็ดเงินทุกบาททุกสตางค์มาใช้ในการพัฒนาประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างเม็ดเต็มหน่วย
เขาบอกเคล็ดลับและองค์ประกอบของความสำเร็จในการต่อต้านทุจริตในประเทศ สิงคโปร์ ประกอบด้วย 1.หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption Agency) 2.กฎหมาย 3.การทำงานของศาล และ 4. การจัดการ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีธรรมาภิบาล กฎหมายต้องมีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นผลในทางการบังคับใช้ ประการสำคัญรากฐานความสำเร็จในการต่อต้านคอร์รัปชั่นมาจากเจตนารมณ์ทางการ เมือง (Political will)
สิ่งที่อดีตผอ. CPIB ของสิงคโปร์ เน้นย้ำเป็นพิเศษ ก็คือ บทบาทเชิงรุกของผู้นำทางการเมือง ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการแก้ปัญหานี้
โดยผู้นำต้องเป็นต้นแบบ ไม่ทุจริต เพื่อแสดงความตั้งใจจริงของรัฐบาล ขณะ เดียวกันเมื่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงกระทำความผิด ต้องถูกลงโทษเช่นกัน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับประชาชนในการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชั่น
เพราทั้งหมดล้วนสะท้อนว่า ประเทศนั้นๆ มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
งบฯคอร์รัปชั่น ต้องเกลี่ยจากงบฯ อื่นมาใช้
สำหรับ แนวทางการแก้ไขปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบในประเทศไทย หนึ่งในองค์กรอิสระ ที่เราต้องพูดถึง คือ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) นำเสนอการดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของ ป.ป.ช.ที่ผ่านมาว่า ได้ให้ความสำคัญกันตั้งแต่ต้นน้ำ คือ
1.การป้องกัน ปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยมให้กับทุกภาคส่วน
2.ปราบปรามการทุจริตที่ต้องรวมพลังกันทั้งแผ่นดิน
3.การสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานต่อต้านการทุจริต เช่น ด้านกฎหมาย
และ4.สร้างบุคคลากรมืออาชีพ ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อการขยายป้องกันและต่อต้านทุจริต
แต่แล้วการดำเนินการตามแผนงานดังกล่าว ก็ยังมีข้อจำกัด นายปานเทพ มองว่า ต้องมีการปรับปรุงพอสมควร อาทิ การให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนด้านงบประมาณ
" ที่ ผ่านมารัฐบาลได้ระบุให้การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นวาระแห่งชาติ แต่ในทางปฏิบัติกลับมีปัญหาด้านงบประมาณ เนื่องจากส่วนกลางไม่ได้กำหนดลงไปชัดเจนว่า งบส่วนนี้ใช้เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ทำให้พบว่า มีการเกลี่ยงบฯจากส่วนอื่นมาใช้ ซึ่งไม่พอต่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น"
ทั้งๆ ที่ปัจจุบันปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น มีความซับซ้อน รุนแรง ฝังรากลงลึกไปในระดับองค์กรส่วนท้องถิ่น ขณะเดียวกัน รัฐบาลต้องมีมาตรการระยะสั้น และระยะยาวในการแก้ปัญหานี้
สำหรับมาตรการระยะสั้นนั้น ประธาน ป.ป.ช. เสนอให้ภาครัฐต้องมีเครื่องมือ ที่สร้างหลักประกันความเสี่ยงในการดำเนินโครงการต่างๆ ว่าจะต้องปลอดจากการทุจริต เช่น ในระดับรายละเอียดเสนอของบโครงการ ต้องระบุไว้ชัดเจนว่า จะประกันความเสี่ยง ไม่ให้เกิดการคอร์รัปชั่นอย่างไร เขียนไว้ให้ชัดเจน
ขณะเดียวกัน ระบบการศึกษา ก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยหลักสูตรการศึกษาในช่วงต่อไปต้องเน้น "สร้างคนเก่ง มีคุณธรรมและจริยธรรม" ไม่ใช่คนเก่งอย่างเดียวอีกต่อไป
นอกจากนี้ต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปราม การทุจริตอย่างเต็มที่ด้วย
ส่วนการจัดซื้อจัดจ้างนั้น นายปานเทพ เห็นว่า ควรกำหนดให้ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลาง เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องเปิดเผย ซึ่งเรื่องนี้ ป.ป.ช. ได้เสนอไปแล้ว โดยคณะรัฐมนตรีระบุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติ่มอ ยู่
วงจรอุบาทว์ "โง่ จน เจ็บ"
ขณะที่การตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินนั้น นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน บอกว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นที่ชั่วช้าและเลวทรามที่สุด คือ การทุจริตเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชนทั้งชาติ
จุดนี้เองที่เขาเห็นว่า นำมาซึ่งวงจรอุบาทว์ "โง่ จน เจ็บ" และสร้างความเจ็บช้ำให้กับคนที่เสียภาษีที่สุด
จากประสบการณ์ในการทำงานตรวจเงินแผ่นดิน รองผู้ว่าฯ สตง. ได้พบการรั่วไหลเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐหลายรูปแบบ เช่น การประกาศภัยพิบัติ น้ำแล้ง น้ำท่วม เพลี้ย ภัยเชื้อราต่างๆ ล้วนมาพร้อมกับสตางค์ทั้งสิ้น
"ภัยพิบัติจะหายไปได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับสตางค์เช่นกัน"
หรือกรณีการใช้งบในสร้างสิ่งปลูกสร้างของภาครัฐ ซึ่งสุดท้ายพบปล่อยทิ้งร้าง ไม่ได้ใช้งาน เขาคาดว่า มีมูลรวมกันทั่วประเทศเป็นพันเป็นหมื่นล้านบาท
ก่อนจะสรุปเป็นความเห็นส่วนตัวว่า ปัญหาคอรัปชั่นในประเทศไทย มาจาก "ตัวบุคคล" มากกว่า "ตัวระบบ"
"เพราะต่อให้ระบบดีแค่ไหน แต่ถ้าคนยังไม่ดี ปัญหาก็ยังคงมีอยู่ ฉะนั้น ผู้บริหารประเทศต้องเป็นแบบอย่าง เป็นผู้นำในการต่อต้านทุจริต ขณะเดียวกันข้าราชการไทยที่กระทำความผิดทางวินัยอย่างรุนแรง ถูก ป.ป.ช. ชี้มูล ต้องไม่พบว่า มีการล้างมลทินและกลับเข้ามาทำงานในตำแหน่งเดิมได้อีก"
ทุจริตเชิงนโยบาย ริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อใช้งบฯ
ส่วนนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น พาเราย้อยไปดูผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เกี่ยวกับสถานการณ์การจ่ายเงินตอบแทนผลประโยชน์ให้กับคู่ค้า ที่พบว่า เอกชนบางรายจ่ายเงินตอบแทนสูงสุดอยู่ที่ 25%-30% ของงบประมาณทั้งหมดของโครงการ เพื่อแลกกับการได้งาน
แตกต่างจากสมัยก่อน การให้สินน้ำใจแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐอยู่ที่ 3%-5% เท่านั้น
สิ่งเหล่านี้เขาสะท้อนว่า การทุจริตในโครงการเกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการทุจริตในเชิงนโยบาย การริเริ่มสร้างโครงการต่างๆ เพื่อใช้งบฯ
" ที่ผ่านมาประเทศไทยมีท่าเรือ สนามบิน ถนนที่สร้างขึ้นแล้วไม่ใช่ประโยชน์จำนวนมาก แต่นักการเมืองก็ถือโอกาสสร้างเพื่อหาเสียง หวังผลประโยชน์ เม็ดเงินจากโครงการมาสร้างอำนาจให้ตนเอง อีกทั้งในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยกำลังกู้ยืมเงิน 4-5 แสนล้านบาทมาใช้เพื่อเป็นงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาประเทศ หากเกิดการทุจริตคิดคราวๆ เพียง 10 % เราต้องสูญเสียงบ 4-5 หมื่นล้านบาท ทั้งที่เงินจำนวนดังกล่าว ควรนำมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศ" ผู้นำภาคีเครือข่ายต้านคอร์รัปชั่น ระบุพร้อมกับยอมรับว่า ปัญหาทุจริต ภาคเอกชนมีส่วนครึ่งหนึ่ง
แน่นอนว่า ถ้าไม่มีผู้จ่ายก็จะไม่มีผู้รับ
"ฉะนั้น เราพยายามที่จะร่วมตัวกัน จับมือกันประกาศเจตนารมณ์ไม่จ่าย ไม่ฮั้ว สร้างเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น ตลอดจนปลุกฝังส่งเสริมค่านิยมให้กับเด็ก เยาวชน แต่การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นจะสำเร็จได้นั้น ก็ต้องมาจากรัฐบาลเป็นผู้นำ ประชาชน ภาคธุรกิจเอกชนต้องมีส่วนร่วม ขณะที่องค์กรอิสระต้องรวมกันตรวจสอบ" ประมนต์ บอกสูตรสำเร็จ ปราบคอร์รัปชั่นในบ้านเรา ทิ้งท้าย
วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
รายละเอียดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 7 ต่อ 1 ให้”ตู่ จตุพร”พ้นส.ส.
ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธาน ได้ออกนั่งบัลลังก์ อ่านคำวินิจฉัยในคดีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ ขอให้ศาลวินิจฉัยความเป็นสมาชิกภาพของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (4) ประกอบมาตรา101 (3) หรือไม่
บรรยากาศโดยรอบสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 18 พฤษภาคม ปรากฏว่ามีบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 100 คนเดินทางมาคอยให้กำลังใจกับนายจตุพร ท่ามกลางการจัดกำลังดูแลความเรียบร้อย 1 กองร้อย
นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี อ่านคำวินิจฉัยระบุว่า มีประเด็นที่ต้องพิจารณาก่อนวินิจฉัยในข้อเท็จจริงว่ากกต.ไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยการสิ้นสุดสมาชิกภาพการเป็นส.ส.ของนายจตุพรได้อีก เนื่องจากกกต.ได้รับสมัครและประกาศรับรองให้นายจตุพรเป็นส.ส.แล้ว ตามที่นายจตุพรร้องหรือไม่
เห็นว่าการดำเนินการของกกต.ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.มาตรา40 ประกอบมาตรา 45 ที่กำหนดให้กกต.ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อเพิกถอนรายชื่อผู้ที่ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อนั้นเป็นขั้นตอนก่อนการเลือกตั้ง
แต่คำร้องที่กกต.ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้นเป็นการขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติส.ส.สิ้นสุดลงเฉพาะตัวหรือไม่ ซึ่งเป็นอำนาจที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย ซึ่งก่อนการเลือกตั้งหากกกต.พบว่ามีการขาดคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยดำเนินการตามอำนาจไปแล้ว แต่ต่อมาภายหลังพบว่า ส.ส.คนใดมีเหตุที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงกกต.ก็มีอำนาจที่จะส่งเรื่องให้ประธานสภาฯ ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ ข้ออ้างของนายจตุพรจึงฟังไม่ขึ้น
ส่วนสมาชิกภาพการเป็นส.ส.ของนายจตุพรสิ้นสุดลงหรือไม่ จากข้อเท็จจริงตามคำร้องและการแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องรับฟังได้ว่า นายจตุพรได้รับการเลือกตั้งเป็นส.ส.เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.50 และสมัครเข้าเป็นสมาชิกของพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.51 ต่อมาถูกฟ้องดำเนินคดีอาญาฐานก่อการร้าย ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งภายหลังเมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาในปี 2554 และมีการกำหนดวันเลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค. 54 ศาลได้ถอนประกัน นายจตุพรจึงถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค.54 เป็นต้นมา
ต่อมา กกต.เปิดรับสมัครส.ส.บัญชีรายชื่อซึ่งพรรคเพื่อไทย ได้ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครที่มีชื่อนายจตุพร เป็นผู้สมัครอยู่ในลำดับที่ 8 เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 54 และก่อนการเลือกตั้ง 3 ก.ค.นายจตุพรได้ยื่นคำร้องของอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวหลายครั้ง แต่ศาลไม่อนุญาต จนวันที่ 3 ก.ค. นายจตุพรจึงไมได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และได้ทำหนังสือแจ้งเหตุอันไมได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ยื่นต่อผอ.สำนักงานเขตวังทองหลางที่พิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุผลเพียงพอ
หลังการเลือกตั้งกกต.ได้ประกาศรับรองผลให้นายจตุพรเป็นส.ส.ในวันที่ 1 ส.ค. 54 พร้อมมีมติให้สำนักงานกกต.ดำเนินการสืบสวนสอบสวนคุณสมบัติการเป็นส.ส.ของนายจตุพร ซึ่งกกต.ได้มีมติเสียงข้างมากในเวลาต่อมาให้ยื่นคำร้องต่อประธานสภาฯเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพการเป็นส.ส.ของนายจตุพรสิ้นสุดลงหรือไม่
คดีมีประเด็นต้องพิจารณาว่านายจตุพรเป็นบุคคลต้องห้ามไม่ให้ไปใช้สิทธิหรือไม่ เห็นว่าในมาตรา100(3) ระบุว่า ผู้ต้องคุมขังโดยหมายของศาลไม่ให้เป็นบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งนายจตุพรถูกดำเนินคดีอาญาฐานก่อการร้าย ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการพิจารณา แต่เมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภา ศาลเพิกถอนสัญญาประกัน และนายจตุพรถูกควบคุมตัวไว้ใน เรือนจำ จึงเห็นได้ว่านายจตุพรเป็นบุคคลต้องห้ามไม่ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 100(3)
นายนุรักษ์ กล่าวว่า มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า นายจตุพรเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่มิให้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือไม่ และเป็นเหตุให้นายจตุพรพ้นจากการเป็นส.ส.หรือไม่ เห็นว่าหากพิจารณา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 8 ,19 และ 20 แล้วมีเจตนาว่าผู้ที่จะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต้องมีสัญชาติไทยไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตามที่กฎหมายกำหนด และต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญมาตรา 100 ได้กำหนดลักษณะบุคคลที่มิให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไว้ 4 ลักษณะ ภิกษุ สามเณร ผู้มีสติฟั่นเฟือน ผู้ที่อยู่ระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และบุคคลที่ถูกจับกุมคุมขังโดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย บุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลที่ต้องห้ามไม่ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง โดยบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิในวันเลือกตั้งเป็นบทบัญญัติที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2492
ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองนั้น เริ่มมีบัญญัติในปี 2498 เป็นฉบับแรก ซึ่งก็ใช้เรื่อยมาและมีอีกหลายฉบับ เช่น 2511 2517 2524 สำหรับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง จะบัญญัติบุคคลที่จะสามารถสมัครเข้าพรรคการเมืองได้ โดยบุคคลต้องห้าม จะระบุไว้เพียง ภิกษุ สามเณร นักบวช แต่เมื่อมีการตราพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2541 และ 2550 มีการบัญญัติลักษณะต้องห้ามไม่ให้เป็นสมาชิกพรรคไว้ในแนวทางเดียวกัน
โดยเฉพาะ ฉบับปี 2550 มาตรา 8 เป็นการเขียนข้อความให้ล้อตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 100 คือบุคคลที่ต้องห้ามมิให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งแตกต่างกับพ.ร.บ.พรรคการเมืองในอดีตที่ผ่านมา โดยเป็นการบัญญัติให้ครอบคลุมถึงลักษณะต้องห้ามทั้ง 4 ลักษณะ รวมถึงต้องถูกคุมขังโดยหมายของศาล ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้บุคคลที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของกฎหมาย และระเบียบวินัยของพรรคการเมือง
การถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาของศาล โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว แสดงให้เห็นว่าเป็นการกระทำผิดที่มีความรุนแรง และมีเหตุให้ศาลไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว อันเป็นวัตถุประสงค์ของการกำหนดลักษณะต้องห้ามดังกล่าว นอกจากนี้ผู้ที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองและมีลักษณะต้องห้ามมิให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง โดยเฉพาะการใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญกว่าบุคคลทั่วไป ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ดังนั้นเมื่อผู้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองไมได้ปฎิบัติตนอยู่ในกรอบของกฎหมาย จนถูกดำเนินคดี และต้องถูกคุมขังโดยหมายของศาล โดยไม่ได้อนุญาตให้ปล่อยตัวในวันเลือกตั้ง ทำให้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 100 ( 3) ย่อมจะเป็นลักษณะต้องห้ามการเป็นสมาชิกพรรคตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 มาตรา 20 ประกอบมาตรา 19 และ มาตรา 8 เมื่อพิจารณามาตรา 20 ของพ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว บุคคลที่จะสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากต้องไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามในขณะที่สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองแล้ว จะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองด้วย
หากผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามเกิดขึ้นภายหลัง ย่อมมีผลให้สมาชิกภาพของผู้นั้นสิ้นสุดลง ดังนั้นเมื่อนายจตุพร เป็นบุคคลต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล จึงเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 100 ( 3) อันเป็นบุคคลต้องห้ามเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ส่งผลให้สมาชิกภาพการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยของนายจตุพรสิ้นสุดลงตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง ( 3)
มีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การสิ้นสุดสมาชิกภาพสมาชิกพรรคของนายจตุพร ทำให้สิ้นสุดสมาชิกภาพการเป็นส.ส.ตามมาตรา 106 ( 4) หรือไม่
รัฐธรรมนูญมาตรา 101(3) บัญญัติให้บุคคลผู้มีคุณสมบัติสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ได้ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่กรณีการยุบสภาให้ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
และมาตรา 106 (4) ที่บัญญัติว่าสมาชิกภาพส.ส.สิ้นสุดลงเมื่อขาดคุณสมบัติตามาตรา 101(3) แล้วเห็นว่า การที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งส.ส. และกำหนดการระยะเวลาการเป็นสมาชิกพรรคก่อนการเลือกตั้งเพื่อให้สมาชิกพรรคการเมืองมีระเบียบวินัย ยึดมั่น เจตนารมณ์ทางการเมือง และดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตลอดไป ให้พรรคการเมืองเป็นเสาหลักของปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองจึงไม่เพียงต้องมีอยู่ในวันสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น แต่ต้องมีอยู่ตลอดเวลาของการเป็นส.ส.
ส่วนการถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลฯ แม้รัฐธรรมนูญมาตรา 102(3) จะไม่กำหนดให้เป็นลักษณะต้องห้ามไม่ให้สมัครรับเลือกตั้งแต่การสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส. กับการใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนและหลัง ต่างเวลากัน แม้ว่าบุคคลที่ถูกคุมขังโดยหมายของศาลมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง อันไม่เป็นลักษณะต้องห้าม แต่การพิจารณาการสิ้นสุดสมาชิกภาพส.ส. เป็นคนละกรณีกัน หากในวันเลือกตั้งบุคคลดังกล่าวถูกคุมขังอยู่ย่อมถือว่า เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
และเมื่อพิจารณาตามคุณสมบัติของส.ส. ซึ่งต้องเป็นสมาชิกพรรคคาการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง อันเป็นคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ตามมาตรา 101(3) ประกอบกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 106(4) ที่บัญญัติให้สมาชิกภาพของส.ส.สิ้นสุดลง เมื่อขาดคุณสมบัติตามมาตรา 101 แล้วเห็นว่าคุณสมบัติของบุคคลที่จะสมัครส.ส.ซึ่งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง มิใช่ต้องมีอยู่เฉพาะวันสมัคร แต่ต้องมีอยู่ตลอดระยะเวลาการเป็นส.ส. เมื่อขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดก็จะส่งผลให้สิ้นสุดสมาชิกภาพการเป็นส.ส.
สำหรับการพิจารณาเกี่ยวกับความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้นเห็นว่า บทบัญญัติรัฐธรรมนูญจะบัญญัติหลักเกณฑ์สำคัญที่เกี่ยวกับการปกครองประเทศ ส่วนรายละเอียดสำคัญที่จะช่วยขยายบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้มีความครบถ้วนยิ่งขึ้นนั้น รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับพรรคการเมืองนั้น บัญญัติให้ตราขึ้น เป็นพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 ซึ่งเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับคุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามพ.ร.บ.ดังกล่าว ในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกพรรคการเมืองจะบัญญัติไว้ในมาตรา 8 ,19 และ 20
อีกทั้งรัฐธรรมนูญมาตรา 106 เป็นการวางหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการที่ส.ส.ต้องสิ้นสุดสมาชิกภาพแต่การวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพส.ส.สิ้นหรือไม่ ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ เช่นเรื่องสัญชาติ ก็ต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.สัญชาติ เพราะรายละเอียดต่าง ๆ ไม่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องนำกฎหมายอื่น มาประกอบการวินิจฉัยเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามเจตนารมณ์อย่างแท้จริง มิใช่เป็นการนำกฎหมายที่ต่ำกว่าหรือมีบทบัญญัติที่ขัดแย้งในกรณีที่สิ้นสุดสมาชิกภาพการเป็นส.ส.มาขยายหรือตีความให้เป็นโทษตามที่นายจตุพรยกขึ้นอ้างแต่อย่างใด และไม่ใช่การกำหนดเหตุขึ้นใหม่
ดังนั้นเมื่อการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยของนายจตุพร สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101(3) จึงทำให้สมาชิกภาพส.ส.ของนายจตุพรสิ้นสุดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 ( 4) ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยด้วยเสียงข้างมาก 7 ต่อ 1 เสียง ว่าสมาชิกภาพ ส.ส.ของนายจตุพร สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (4) ประกอบมาตรา 101 ( 3) นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่ตุลาการเริ่มอ่านคำวินิจฉัย นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญได้แจ้งกับนายจตุพรว่า นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ขอถอนตัวจากคดีนี้ เนื่องจากภรรยาของนายจรัญ มีคดีฟ้องร้องกับนายจตุพรอยู่ จึงมีตุลาการนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยเพียง8 คน แต่โดยระหว่างที่นายอุดมศักดิ์ อ่านคำวินิจฉัยอยู่นั้นก็ได้มีเสียงสัญญาณเตือนภัย (ไฟไหม้) ดังขึ้นประมาณ 10 วินาทีก็เงียบ ส่งผลให้การอ่านคำวินิจฉัยหยุดลงไปช่วงขณะหนึ่ง
แต่นายอุดมศักดิ์ กล่าวว่า “ขออ่านต่ออะไรจะเกิดก็ค่อยว่ากัน” ทำให้การอ่านดำเนินต่อไปจนจบ ขณะที่เจ้าหน้าที่ก็เร่งตรวจสอบว่าเกิดจากสาเหตุขัดข้องของสวิทช์ไฟในลิฟสปาร์คขึ้น จึงตามเจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคารมาซ่อม
สำหรับตุลาการเสียงข้างน้อย 1 เสียง คือนายชัช ชลวร ที่เห็นว่า กรณีดังกล่าวนั้น เห็นว่าการสิ้นสุดของส.ส.จะต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะไม่สามารถเอากฎหมายอื่นที่มีศักดิ์ต่ำกว่ามาประกอบการพิจารณาได้
อีกทั้งเมื่อกกต.พิจารณารับรองผลไปแล้วก็ถือว่ามีผลถูกต้องสมบูรณ์ไปแล้ว กกต.ก็ไม่มีอำนาจวิจิฉัยชี้ขาดในประเด็นดังกล่าวแล้ว อีกทั้งเห็นว่า ที่กกต.ส่งมานี้เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตีความในข้อสงสัยของกกต.เองซึ่งห็นว่าทำไม่ได้
APEC NEWS
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ตรวจ DNA“เอเชีย อัพเดต” บิ๊กรมต.-นักการเมืองเพื่อไทย ผ่องถ่ายหุ้นอุตลุต
ตรวจ DNA ทีวีแดงดาวเทียม Asia Update พบนักการเมืองเพื่อไทย– บิ๊กรัฐมนตรี-ทายาทถือหุ้นใหญ่ช่วงก่อตั้ง ก่อนโยกถ่ายอุตลุต 3 ตลบหลังนั่งเก้าอี้ใหญ่ เครือข่ายกลุ่มทุนยุ่บยั่บ โยง บ.เก่า “เจ๊แดง”
ในขณะที่เครือข่ายกลุ่มทุนของ BLUE SKY เชื่อมโยงกับนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ หากตรวจดีเอ็นเอ “เอเชีย อัพเดต” ทีวีดาวเทียมของคนเสื้อแดงเชื่อมโยงนักการเมืองยิ่งกว่า?
เอเชีย อัพเดต (Asia Update) เกิดขึ้นภายกลังจากรัฐบาลได้สั่งปิดสถานีโทรทัศน์ ดี สเตชั่น และ พีเพิลแชนแนล ในการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงในช่วงสงกรานต์ 2552
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบพบว่า เอเชีย อัพเดต จดทะเบียนในชื่อ บริษัท เดโมเครซี นิวส์ เน็ตเวิร์ค จำกัด วันที่ 18 พฤษภาคม 2552 ทุน 5 ล้านบาทประกอบธุรกิจ จำหน่ายอุปกรณ์และกล่องรับสัญญาณภาพ สัญญาณเสียงระบบดิจิตอล ที่ตั้งเลขที่ 2539 อาคารอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว ชั้น 5 ถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ
ณ วันที่ 30 เม.ย.2553 นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ถือหุ้น 15,000 หุ้น นายวิมล จันทร์จิราวุฒิกุล 15,000 หุ้น นายจารุวงศ์ เรืองสุวรรณ 10,000 หุ้น น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก 10,000 หุ้น รวม 50,000 หุ้นมูลค่า หุ้น ละ 100 บาท นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นกรรมการ
ต่อมา วันที่ 30 เมษายน 2554 นายจารุพงศ์ โอนหุ้นให้นายวรุธ ทัฬหสุคนธ์ ส่วนนายวิมล จันทร์จิราวุฒิกุล นางสาวจารุพรรณ กุลดิลก นายจารุวงศ์ เรืองสุวรรณ ยังคงถือหุ้นเท่าเดิม นายวรุธ ทัฬหสุคนธ์ เป็นกรรมการ
กระทั่งวันที่ 25 สิงหาคม (หลังเลือกตั้งเดือน 3 ก.ค.2554) นายวรุธ ทัฬหสุคนธ์ กรรมการ บริษัท ทำหนังสือถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 2 เปลี่ยนรายชื่อผู้ถือหุ้น (ระบุว่าคัดจากสมุดทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 20 เม.ย.2554) เป็น นายวรุธ ทัฬหสุคนธ์ ถือหุ้นใหญ่ 49,998 หุ้น (ดูตาราง)
บริษัท เดโมเครซี นิวส์ เน็ตเวิร์ค จำกัด แจ้งผลประกอบการปี 2553 รายได้ 14,517 บาท ขาดทุนสุทธิ 156,386 บาท
ทั้งนี้ นางสาวจารุพรรณ กุลดิลก เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย เป็นบุตรสาวของ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเคยมีตำแหน่งรองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขณะที่นายจารุวงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นบุตรชายนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
จากการตรวจสอบพบว่า นายวรุธ ทัฬหสุคนธ์ นอกจากเป็นกรรมการบริษัท เดโมเครซี นิวส์ เน็ตเวิร์ค จำกัด ยังเป็นกรรมการ บริษัท ดี สเตชั่น จำกัด บริษัท มีเดียคาสท์ จำกัด และ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดแคสติ้ง แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด
บริษัท มีเดียคาสท์ จำกัด ประกอบกิจการ คือ ให้บริการ จัดการ จัดหา ให้คำปรึกษาและดำเนินการวางระบบเครือข่ายการสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม เลิกกิจการวันที่ 2 ธันวาคม 2553 ส่วน บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดแคสติ้ง แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด เลิกกิจการ วันที่ 6 ธันวาคม 2550
นายชัยธวัช เสาวพนธ์ เป็นเจ้าของ บริษัท เทคโนโลยี อินโนเวชั่น จำกัด ประกอบธุรกิจ จำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านวางระบบ ที่ตั้งเลขที่ 82 ซอยสุขุมวิท 62 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็นกรรมการ บริษัท วินโคสท์ อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และทายาทเป็นเจ้าของ ปัจจุบันมีนายจักร จามิกรณ์ และห้างหุ้นส่วนจำกัดสามประสิทธิ์ ของนายสมบัติ เพชรตระกูล ถือหุ้นใหญ่
(ตอนหน้าว่าด้วย คนใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใน ดีสเตชั่น )
ที่มา:กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ,สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รวบรวม
วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
การบริหารนโยบาย ที่ผิดพลาดของยิ่งลักษณ์
โดย Boon Wattanna
“นับจากการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ประเทศไทย เราได้มีนายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ก็คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ในระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมานั้น การบริหารประเทศของรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าทางการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจ หรือทางด้านสังคม รวมถึงยังมีเเนวคิดที่จะช่วยเหลือนักโทษชายหนีคดี อย่างนายทักษิณ ชินวัตร โดยการพยายามทำลายระบบนิติรัฐ นิติธรรม
1. เริ่มตั้งเเต่การเเต่งตั้งคณะรัฐมนตรี เเทนที่จะเลือกคนดีมีความรู้ความสามารถเข้ามาบริหารงานประเทศ เเต่กลับเลือกที่จะตอบสนองกลุ่มทุน เเละยังมีการแทรกเเซงจากบุคคลที่ห้ามเคลื่อนไหวในทางการเมืองเข้ามาจัดการเเต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
2. มีการเอาคนที่มีคดีความรวมถึงคนที่มีเเนวคิดอันตรายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่เป็นพรรคพวกตนเอง มาเเต่งตั้งให้ดำรงตำเเหน่งในทางการเมือง
3. มีการโยกย้าย เเต่งตั้งข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรม
4. นายกไม่สนใจการทำงานในสภา โดยเฉพาะการตอบกระทู้สดของฝ่ายค้าน
5. มีการเเทรกเเซงสื่อไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ตั้งเเต่ใช้คนในระบอบทักษิณไปข่มขู่คุกคามสื่อมวลชน รวมถึงการเเทรกทางโดยทางตรงของทางรัฐบาลเอง ในการสั่งห้าม น.ส.สมจิตต์ นวเครือสุนทร ไปร่วมทำข่าวกับคณะของนายกที่ไปเยือนประเทศกัมพูชา
6. มีการบริหารงานผิดพลาด ในอุทกภัยน้ำท่วม 54 จนทำให้มีผู้เสียชีวิต ถึง 815 ราย ยังไม่นับความเสียหายในด้านอื่นๆ อีกมากมายมหาศาล รวมถึงยังมีคดีการทุจริตจัดซื้อ จัดจ้างถุงยังชีพ ที่ยังอยู่ในการตรวจสอบของ ปชป.
7. มีการบิดพลิ้วกับนโยบายที่เคยหาเสียงไว้กับประชาชนในช่วงเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่ในหลายโครงการตอนหาเสียงประกาศไว้ว่าจะทำทันที เเต่ในที่สุดก็ทำไม่ได้ตามที่ได้เคยหาเสียงไว้ เช่นค่าเเรง 300 บาท เงินเดือน 15,000 บาท การเเจกแท็บเล็ต สำหรับนักเรียนทั่วประเทศ
8 มีการปล่อยให้เกิดการทุจริตในโครงการของรัฐบาล โดยเฉพาะที่ชัดเจนอย่างโครงการรับจำนำข้าว จำนำหัวหอม
9. มีการออกนโยบาย ทีมีผลกระทบต่อประชาชน ประเทศชาติ อย่างค่าเเรง 300 บาท ซึ่งทำให้คนตกงาน SME ได้รับผลกระทบ มีการย้ายโรงงานไปประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนนโยบายจำนำข้าวก็ทำให้ไทยต้องเสียตำแหน่งประเทศที่มีการส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก
10. ในการปราบปรามกวาดล้างยาเสพติด มีข้อร้องเรียนเป็นระยะว่ามีการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม จากเจ้าหน้าที่รัฐ
11. จากวาทะกระชากค่าครองชีพ แต่ปล่อยให้ข้าวของขึ้นราคา จนประชาชนเดือดร้อนกันถ้วนทั่วทุกหัวระเเเหงเป็นประวัติการณ์
12. ส่วนพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ ประชาชนเดือดร้อน ต้องออกมาประท้วงกันทั้งประเทศ
. มีการปล่อยให้เกิดการทุจริตในโครงการของรัฐบาล โดยเฉพาะที่ชัดเจนอย่างโครงการรับจำนำข้าว จำนำหัวหอม
13. การแก้ปัญหาภาคใต้ ยังไร้ทิศทาง ทำให้เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายที่รุนเเรงอยู่ทุกวัน
14. มีการช่วยเหลือนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ตั้งเเต่ก่อนที่ยังไม่มีการทำงานอย่างเป็นทางการ ในการที่ช่วยให้นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นได้
15. ไม่ยอมขอตัวผู้ร้ายข้ามเเดนเมื่อทราบว่านักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางไปในประเทศต่างๆ ที่ได้ทำสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกับไทย
16. ในด้านภาษา ทักษะไหวพริบ ภาวะ การเป็นผู้นำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะผู้นำประเทศ สร้างความอับอายให้ชาวไทย ทั้งในเวทีไทยและเวทีโลก ทั้งคำพูดและการกระทำ หลายต่อหลายครั้ง
17. ออกพระราชบัญญัติปรองดอง รวมถึงการแก้รัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 โดยขาดความร่วมมือของภาคประชาชน เพื่อผลประโยชน์ของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร เพียงคนเดียว ที่ถือว่าเป็นการกระทำที่พยายามทำลายนิติรัฐนิติธรรมที่จะส่งผลต่อความเสียหายของประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง รวมถึงจะทำให้เกิดความแตกเเยก ขัดเเย้งในหมู่ประชาชน
“นับจากการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ประเทศไทย เราได้มีนายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ก็คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ในระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมานั้น การบริหารประเทศของรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าทางการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจ หรือทางด้านสังคม รวมถึงยังมีเเนวคิดที่จะช่วยเหลือนักโทษชายหนีคดี อย่างนายทักษิณ ชินวัตร โดยการพยายามทำลายระบบนิติรัฐ นิติธรรม
1. เริ่มตั้งเเต่การเเต่งตั้งคณะรัฐมนตรี เเทนที่จะเลือกคนดีมีความรู้ความสามารถเข้ามาบริหารงานประเทศ เเต่กลับเลือกที่จะตอบสนองกลุ่มทุน เเละยังมีการแทรกเเซงจากบุคคลที่ห้ามเคลื่อนไหวในทางการเมืองเข้ามาจัดการเเต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
2. มีการเอาคนที่มีคดีความรวมถึงคนที่มีเเนวคิดอันตรายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่เป็นพรรคพวกตนเอง มาเเต่งตั้งให้ดำรงตำเเหน่งในทางการเมือง
3. มีการโยกย้าย เเต่งตั้งข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรม
4. นายกไม่สนใจการทำงานในสภา โดยเฉพาะการตอบกระทู้สดของฝ่ายค้าน
5. มีการเเทรกเเซงสื่อไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ตั้งเเต่ใช้คนในระบอบทักษิณไปข่มขู่คุกคามสื่อมวลชน รวมถึงการเเทรกทางโดยทางตรงของทางรัฐบาลเอง ในการสั่งห้าม น.ส.สมจิตต์ นวเครือสุนทร ไปร่วมทำข่าวกับคณะของนายกที่ไปเยือนประเทศกัมพูชา
6. มีการบริหารงานผิดพลาด ในอุทกภัยน้ำท่วม 54 จนทำให้มีผู้เสียชีวิต ถึง 815 ราย ยังไม่นับความเสียหายในด้านอื่นๆ อีกมากมายมหาศาล รวมถึงยังมีคดีการทุจริตจัดซื้อ จัดจ้างถุงยังชีพ ที่ยังอยู่ในการตรวจสอบของ ปชป.
7. มีการบิดพลิ้วกับนโยบายที่เคยหาเสียงไว้กับประชาชนในช่วงเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่ในหลายโครงการตอนหาเสียงประกาศไว้ว่าจะทำทันที เเต่ในที่สุดก็ทำไม่ได้ตามที่ได้เคยหาเสียงไว้ เช่นค่าเเรง 300 บาท เงินเดือน 15,000 บาท การเเจกแท็บเล็ต สำหรับนักเรียนทั่วประเทศ
8 มีการปล่อยให้เกิดการทุจริตในโครงการของรัฐบาล โดยเฉพาะที่ชัดเจนอย่างโครงการรับจำนำข้าว จำนำหัวหอม
9. มีการออกนโยบาย ทีมีผลกระทบต่อประชาชน ประเทศชาติ อย่างค่าเเรง 300 บาท ซึ่งทำให้คนตกงาน SME ได้รับผลกระทบ มีการย้ายโรงงานไปประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนนโยบายจำนำข้าวก็ทำให้ไทยต้องเสียตำแหน่งประเทศที่มีการส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก
10. ในการปราบปรามกวาดล้างยาเสพติด มีข้อร้องเรียนเป็นระยะว่ามีการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม จากเจ้าหน้าที่รัฐ
11. จากวาทะกระชากค่าครองชีพ แต่ปล่อยให้ข้าวของขึ้นราคา จนประชาชนเดือดร้อนกันถ้วนทั่วทุกหัวระเเเหงเป็นประวัติการณ์
12. ส่วนพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ ประชาชนเดือดร้อน ต้องออกมาประท้วงกันทั้งประเทศ
. มีการปล่อยให้เกิดการทุจริตในโครงการของรัฐบาล โดยเฉพาะที่ชัดเจนอย่างโครงการรับจำนำข้าว จำนำหัวหอม
13. การแก้ปัญหาภาคใต้ ยังไร้ทิศทาง ทำให้เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายที่รุนเเรงอยู่ทุกวัน
14. มีการช่วยเหลือนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ตั้งเเต่ก่อนที่ยังไม่มีการทำงานอย่างเป็นทางการ ในการที่ช่วยให้นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นได้
15. ไม่ยอมขอตัวผู้ร้ายข้ามเเดนเมื่อทราบว่านักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางไปในประเทศต่างๆ ที่ได้ทำสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกับไทย
16. ในด้านภาษา ทักษะไหวพริบ ภาวะ การเป็นผู้นำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะผู้นำประเทศ สร้างความอับอายให้ชาวไทย ทั้งในเวทีไทยและเวทีโลก ทั้งคำพูดและการกระทำ หลายต่อหลายครั้ง
17. ออกพระราชบัญญัติปรองดอง รวมถึงการแก้รัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 โดยขาดความร่วมมือของภาคประชาชน เพื่อผลประโยชน์ของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร เพียงคนเดียว ที่ถือว่าเป็นการกระทำที่พยายามทำลายนิติรัฐนิติธรรมที่จะส่งผลต่อความเสียหายของประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง รวมถึงจะทำให้เกิดความแตกเเยก ขัดเเย้งในหมู่ประชาชน
ปทุมโมเดล!
โดย Boon Wattanna
จากปรากฏการณ์ปทุมธานีโมเดล คนเสื้อแดงสั่งสอนพรรคเพื่อนักโทษหนีคุกได้อย่างลงตัวและเป็นไปตามธรรมชาติ อันเนื่องมาจากชาวปทุมธานีได้เห็น ธาตุแท้ของนักการเมืองภายใต้การควบคุมสั่งการของนักโทษหนีคุก จากเหตุการณ์มหาอุทกภัย ปทุมธานีจมน้ำไม่น้อยกว่า 2 เดือน ชาวบ้านเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส โดยปราศจากการดูแลอย่างจริงจังของรัฐบาลปูแดง ดีแต่สร้างภาพ “เอาอยู่” ไปวัน ๆ !!!
การสั่งสอนพรรคเพื่อไทย ด้วยการบอยคอตไม่ลงคะแนนเลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อนักไทยทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น เป็นความสวยงามของระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนคนปทุมธานีได้แสดงให้สังคมได้เข้าใจถึงหลักการ “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย”
เมื่อนักการเมืองไม่ซื่อสัตย์ใช้กลยุทธหลอกลวงในการหาเสียงกับประชาชน ตลอดจนตระบัดสัตย์ละทิ้งประชาชน จึงสมควรได้รับบทเรียน ซึ่งชาวปทุมธานีได้ใช้สิทธิ์ประท้วงอย่างสันติและโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อเรียกร้องและสั่งสอนนักการเมือง จากภัยเดือดร้อนที่ประสบกับตัวเองโดยตรง ทำนองว่าปี 2555 และปีต่อ ๆ ไป รัฐบาลอย่าทำให้ชาวปทุมธานีจมน้ำและทอดทิ้งประชาชนให้เดือนร้อนเหมือนปี 2554 อีกนะ!!! อะไรทำนองนี้
แต่สิ่งที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศขณะนี้ ปรารถนาได้เห็นปรากฏการณ์ “เชียงใหม่โมเดล” ในเร็ว ๆ นี้ และภาวนาขอให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวจริง ๆ เป็นรูปธรรม เพราะ
1. จากผลของนโยบายหาเสียงหลอกลวงประชาชนคนไทยทั้งประเทศ เช่น กระชากค่าครองชีพ ลดราคาพลังงาน ขึ้นค่าแรง ฯลฯ แต่ผลการบริหารประเทศออกมากลับทำให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ได้รับความเดือดร้อนอย่างถ้วนทั่วหน้า
2. จากการบริหารงานไร้ประสิทธิภาพ ไร้กึ๋น มีผลทำให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศเดือดร้อนจาก “แพงทั้งแผ่นดิน” แต่รัฐบาลปูแดง ยังหลอกชาวบ้านและกล่าวหาชาวบ้านว่าคิดไปเอง แม้แต่เมื่อ 2 – 3 วันนี้ (11 พ.ค. 2555) นายกฯปู ยังพร่ำพูด “ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายท่อ” แบบมั่ว ๆ และยังมีความเชื่อว่ากระแสข้าวของแพงเพราะ “ห่วงโซ่อุปทาน” ซึ่งหมายความว่าประชาชนคนไทยทั้งประเทศอุปทานเอาเองว่า “ข้าวยากหมากแพง” จึงเกณฑ์บรรดาลิงหลอกเจ้าทั้งหลายออกมายืนยันนอนยัน “ของถูก” ล้างสมองประชาชนคนไทยทั้งประเทศทุกวัน
3. จากความพยายามของนักการเมืองรัฐบาล ตั้งหน้าตั้งตาช่วยคน เพียงคน ๆ เดียว จึงมุ่งทำงานเพียงเรื่องเดียวคือ เปลี่ยนรัฐธรรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และเร่งจะออกกฏหมายปรองดอง เพื่อให้คนบางคนกลับบ้านเท่ ๆ ได้ทรัพย์สินที่ถูกยึดคืน โดยไม่สนใจความเดือดร้อนของคนไทยทั้งประเทศ แต่อย่างใด (หรือทำทีสนใจ แต่ก็ไม่มีปัญญาแก้ปัญหา เพราะไม่มีกึ๋น)
ดังนั้น ประชาชนคนไทยทั้งประเทศจึงหวังที่จะได้เห็นคนเชียงใหม่ (ทั้งเสื้อแดงและไม่ใช่เสื้อแดง) สร้างวีรกรรมแสดงพลังช่วยสั่งสอนนักการเมือง เพื่อช่วยคนไทยทั้งประเทศให้หลุดพ้นจากสภาวะ “แพงทั้งแผ่นดิน”
เพื่อทำให้รัฐบาลสำนึก และหันกลับมาสนใจความเดือดร้อนของคนไทยทั้งประเทศอย่างแท้จริง แทนที่จะมุ่งช่วยเศรษฐีคนดียวที่รวยล้นฟ้า (แต่ขี้เหนียวสุด ๆ) และเลิกพฤติกรรมเกณฑ์บรรดาลิงหลอกเจ้าออกมาสร้างกระแส “ถูกทั้งแผ่นดิน” ซึ่งเป็นการดูถูกของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ โดยไม่ยอมรับความจริงถึงความเดือดร้อนของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
จากปรากฏการณ์ปทุมธานีโมเดล คนเสื้อแดงสั่งสอนพรรคเพื่อนักโทษหนีคุกได้อย่างลงตัวและเป็นไปตามธรรมชาติ อันเนื่องมาจากชาวปทุมธานีได้เห็น ธาตุแท้ของนักการเมืองภายใต้การควบคุมสั่งการของนักโทษหนีคุก จากเหตุการณ์มหาอุทกภัย ปทุมธานีจมน้ำไม่น้อยกว่า 2 เดือน ชาวบ้านเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส โดยปราศจากการดูแลอย่างจริงจังของรัฐบาลปูแดง ดีแต่สร้างภาพ “เอาอยู่” ไปวัน ๆ !!!
การสั่งสอนพรรคเพื่อไทย ด้วยการบอยคอตไม่ลงคะแนนเลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อนักไทยทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น เป็นความสวยงามของระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนคนปทุมธานีได้แสดงให้สังคมได้เข้าใจถึงหลักการ “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย”
เมื่อนักการเมืองไม่ซื่อสัตย์ใช้กลยุทธหลอกลวงในการหาเสียงกับประชาชน ตลอดจนตระบัดสัตย์ละทิ้งประชาชน จึงสมควรได้รับบทเรียน ซึ่งชาวปทุมธานีได้ใช้สิทธิ์ประท้วงอย่างสันติและโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อเรียกร้องและสั่งสอนนักการเมือง จากภัยเดือดร้อนที่ประสบกับตัวเองโดยตรง ทำนองว่าปี 2555 และปีต่อ ๆ ไป รัฐบาลอย่าทำให้ชาวปทุมธานีจมน้ำและทอดทิ้งประชาชนให้เดือนร้อนเหมือนปี 2554 อีกนะ!!! อะไรทำนองนี้
แต่สิ่งที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศขณะนี้ ปรารถนาได้เห็นปรากฏการณ์ “เชียงใหม่โมเดล” ในเร็ว ๆ นี้ และภาวนาขอให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวจริง ๆ เป็นรูปธรรม เพราะ
1. จากผลของนโยบายหาเสียงหลอกลวงประชาชนคนไทยทั้งประเทศ เช่น กระชากค่าครองชีพ ลดราคาพลังงาน ขึ้นค่าแรง ฯลฯ แต่ผลการบริหารประเทศออกมากลับทำให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ได้รับความเดือดร้อนอย่างถ้วนทั่วหน้า
2. จากการบริหารงานไร้ประสิทธิภาพ ไร้กึ๋น มีผลทำให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศเดือดร้อนจาก “แพงทั้งแผ่นดิน” แต่รัฐบาลปูแดง ยังหลอกชาวบ้านและกล่าวหาชาวบ้านว่าคิดไปเอง แม้แต่เมื่อ 2 – 3 วันนี้ (11 พ.ค. 2555) นายกฯปู ยังพร่ำพูด “ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายท่อ” แบบมั่ว ๆ และยังมีความเชื่อว่ากระแสข้าวของแพงเพราะ “ห่วงโซ่อุปทาน” ซึ่งหมายความว่าประชาชนคนไทยทั้งประเทศอุปทานเอาเองว่า “ข้าวยากหมากแพง” จึงเกณฑ์บรรดาลิงหลอกเจ้าทั้งหลายออกมายืนยันนอนยัน “ของถูก” ล้างสมองประชาชนคนไทยทั้งประเทศทุกวัน
3. จากความพยายามของนักการเมืองรัฐบาล ตั้งหน้าตั้งตาช่วยคน เพียงคน ๆ เดียว จึงมุ่งทำงานเพียงเรื่องเดียวคือ เปลี่ยนรัฐธรรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และเร่งจะออกกฏหมายปรองดอง เพื่อให้คนบางคนกลับบ้านเท่ ๆ ได้ทรัพย์สินที่ถูกยึดคืน โดยไม่สนใจความเดือดร้อนของคนไทยทั้งประเทศ แต่อย่างใด (หรือทำทีสนใจ แต่ก็ไม่มีปัญญาแก้ปัญหา เพราะไม่มีกึ๋น)
ดังนั้น ประชาชนคนไทยทั้งประเทศจึงหวังที่จะได้เห็นคนเชียงใหม่ (ทั้งเสื้อแดงและไม่ใช่เสื้อแดง) สร้างวีรกรรมแสดงพลังช่วยสั่งสอนนักการเมือง เพื่อช่วยคนไทยทั้งประเทศให้หลุดพ้นจากสภาวะ “แพงทั้งแผ่นดิน”
เพื่อทำให้รัฐบาลสำนึก และหันกลับมาสนใจความเดือดร้อนของคนไทยทั้งประเทศอย่างแท้จริง แทนที่จะมุ่งช่วยเศรษฐีคนดียวที่รวยล้นฟ้า (แต่ขี้เหนียวสุด ๆ) และเลิกพฤติกรรมเกณฑ์บรรดาลิงหลอกเจ้าออกมาสร้างกระแส “ถูกทั้งแผ่นดิน” ซึ่งเป็นการดูถูกของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ โดยไม่ยอมรับความจริงถึงความเดือดร้อนของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
“มหกรรมเลือกตั้งท้องถิ่น” พรรคใหญ่จ้องกินรวบ – ผู้นำรุ่นใหม่เกิดยาก
ปี 2555 ถือเป็นปีแห่งมหกรรมการเลือกตั้งของคนไทยอีกครั้ง เพราะเป็นจังหวะพอดีที่ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นหลายพันแห่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ทำให้คนไทยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศ ต้องไปใช้สิทธิ์ เข้าคูหาหย่อนบัตรคึกคักทุกเดือนเพื่อเลือกตัวแทนไปปกป้องผลประโยชน์ และดูทุกข์สุกของประชาชนในท้องถิ่น และถ้าไม่ไปใช้สิทธิ์ก็จะเสียสิทธิ์ในการยื่นคัดค้านบางประการตามที่กฎหมาย กำหนด
ข้อมูลของคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า จำนวนองค์กรปกครองส่วนที่จะครบวาระในปี 2555 มีทั้งสิ้น 3,118 แห่ง ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) 76 แห่ง เทศบาล 839 แห่ง แยกเป็น เทศบาลนคร 18 แห่ง เทศบาลเมือง 95 แห่ง เทศบาลตำบล 726 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 2,202 แห่ง และการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 แห่ง คือ เมืองพัทยา
ในกระแสการเลือกตั้งท้องถิ่น ก็สอดแทรกด้วยการเลือกตั้งซ่อม สส. ในบางพื้นที่ ส่วนหนึ่งถูกกกต.แจก ใบเหลืองย้อนหลังฐานทำผิดกฎหมายในการเลือกตั้ง สส. ปีที่แล้ว บางรายถูกชี้มูลความผิดกรณีฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ เช่น ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ สส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ที่ถูกศาลฎีกานักการเมืองตัดสินเว้นวรรคการเมือง 5 ปี ในคดีซุกหนี้ 100 ล้าน บางรายลาออกจาก สส. ไปลงนายกฯอบจ. เช่น กรณี สส.พรรคเพื่อไทย ไขก๊อกไปลงเลือกตั้งนายกฯอบจ.ปทุมธานี จนแพ้เลือกตั้งเป็นข่าวใหญ่ครึกโครม
อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจอยู่ที่ การเลือกตั้งนายกฯอบจ. ในแต่ละจังหวัด ที่แข่งขันกันเข้มข้น โดยเฉพาะในพรรคเดียวกันอย่างพรรคเพื่อไทยที่ฟาดฟันกันเอง ระหว่างกลุ่มต่างๆ ในพรรค เกิดการต่อสู้ ลงชิงเก้าอี้นายกฯอบจ.กันหนัก ในภาคอีสาน ภาคเหนือ ที่เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย สส.ต้องบินไปขอการสนับสนุนจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อให้ชี้ขาดว่า กลุ่มใดจะได้เป็นตัวแทนเสียงจริงของพรรค รวมถึงกลุ่มเสื้อแดงที่กดดันพรรคเพื่อไทยให้ส่งตัวแทนของคนเสื้อแดงลง โดยแกนนำนปช. ถึงกับประกาศว่า จะสนับสนุนคนเสื้อแดงให้ลงเลือกตั้งท้องถิ่นเพื่อปักหมุดคนเสื้อแดงตาม จังหวัดต่างๆ
เช่น การเลือกตั้งนายกฯอบจ. นครราชสีมา เมื่อเดือนมี.ค. เป็นศึกระหว่างกลุ่มเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยกันเอง ฝ่ายหนึ่งมี สส.เพื่อไทย 5 คน มีแรงหนุนจากนพดล ปัทมะ และคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ที่ไปจับมือร่วมกับ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรครวมชาติพัฒนา สนับสนุน ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ชิงเก้าอี้นายกฯอบจ. ส่วนอีกฝ่าย มีสุพร อัตถาวงศ์ แกนนำนปช. และ วิรัช รัตนเศรษฐ์ แกนนำเพื่อไทยโคราช สนับสนุน น.พ.สำเริง แหยงกระโทก อดีตนายก อบจ. ก่อนฝ่ายนี้จะแพ้ไปฉิวเฉียด ทิ้งความแตกแยกในทีมโคราชของพรรคเพื่อไทยเอาไว้
ยังมีที่ จ.นครพนม ที่จะเลือกกันในวันที่ 27 พ.ค. ก็แข่งกันเดือดระหว่างคนของเพื่อไทย แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมี ไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม เขต 3 ให้การสนับสนุน “สมชอบ นิติพจน์” อดีตนายก อบจ.นครพนม แชมป์เก่าสู้กับ นส.ณัฎฐ์พัชร์ ยงใจยุทธ หลานสาว “บิ๊กจิ๋ว”พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธซึ่งก็ได้ สส.นครพนมของพรรคเพื่อไทยหลายคน เป็นแขนขาสนับสนุน นับเป็นศึกวัดบารมี กลุ่มก๊วนในพรรคเดียวกัน
ที่ดุเดือดอีกสนาม คือ เก้าอี้นายกฯอบจ. จ.เชียงราย ในวันที่ 27 พ.ค. เมื่อคนของเพื่อไทยและเสื้อแดงมาลงแข่งตัดคะแนนกันเอง ถึง 3 กลุ่ม กลุ่มแรกสนับสนุนนางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ภรรยา ยงยุทธ ติยะไพรัช กลุ่มที่สองสนับสนุน สฤษฎ์ อึ้งอภินันท์ อดีต ส.ส.เชียงราย พรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน กลุ่มที่สาม มี น.ส.พนิดา มะโนธรรม แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่ชื่อกลุ่ม “เชียงรายตะวันแดงกระตุ้นเศรษฐกิจ” ลงสมัครอีกคนหนึ่งด้วย โดยมี คู่แข่งคนสำคัญคือ รัตนา จงสุทธนามณี อดีตนายก อบจ.เชียงราย สมัยล่าสุดลงแข่งอีกครั้ง
เรื่อยไปถึงศึกตระกูลดังใน จ. ร้อยเอ็ด "จุรีมาศ-พลซื่อ-ยนต์ตระกูล เลือกตั้ง วันที่ 27 พ.ค. เช่นกัน ที่ต้องแย่งกันประกาศว่า เป็นตัวแทนของพรรคเพื่อไทยตัวจริง ระหว่าง มังกร ยนตร์ตระกูล อดีตนายกฯอบจ. คนล่าสุด คนเพื่อไทยเก่า กับ คนใหม่เพื่อไทย รัชนี พลซื่อ สอดแทรกด้วย ทินกร จุรีมาศ จากพรรคชาติไทยพัฒนา
นายกฯอบจ. มีวาระ 4 ปี มีหน้าที่พัฒนาจังหวัด เศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข สาธารณูปโภค ด้านต่างๆ มีอำนาจและเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มากจากการคุมเม็ดเงินภาษีทางตรงที่ อบจ. จัดเก็บในจังหวัด บางจังหวัดมีรายได้หลายร้อยหลายพันล้านบาท เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ บางส่วนมาจากภาษีบางชนิดที่รัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บเองแล้วจัดสรรให้ อบจ. เหล่านี้ เป็นปัจจัยเอื้อให้ ผู้มีอิทธิพลในจังหวัดต่างอยากเข้ามาคุมงบประมาณ และสร้างฐานเสียงในจังหวัด เชื่อมต่อกับพรรคการเมือง
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวกับ “ทีมข่าวปฏิรูป ศูนย์ข่าวอิศรา” ว่าการเลือกตั้งท้องถิ่น ครั้งนี้เป็นรอบของมันที่ครบวาระ 4 ปี และก็ต้องเลือกตั้งกันใหม่ แต่มีข้อสังเกตุ 3 เรื่องสำคัญ
ประการแรก ท้องถิ่นหลายแห่งมีการช่วงชิงเพื่อเอาชนะคะคานกัน นายกฯอบจ. นายก.อบต.หลายแห่งลาออกก่อนครบวาระ กรณีนี้เป็นปัญหาแท็คติคของการชิงความได้เปรียบกันในทางการเมือง สังเกตได้ จะมีการเลือกตั้งนายกฯอบจ. วันหนึ่ง ถัดมาอีกเดือนก็จะเลือกสมาชิกสภาจังหวัด ทั้งที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในวาระพร้อมกัน แต่กฎหมายไม่ได้บังคับเรื่องการลาออกก่อนกำหนด การลาออกก่อนกำหนดก็เพื่อไม่ให้มีการเลือกนายกฯ กับ สมาชิกสภาท้องถิ่น พร้อมกัน ฉะนั้น นายกฯที่เลือกตั้งก่อน ถ้าใครชนะจะมีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาในช่วงถัดไป ซึ่งในทางหลักวิชาการ มันควรจะเลือกพร้อมกันเพราะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในภาพรวม แต่ถ้าเลือกไม่พร้อมกัน มันก็สิ้นเปลือง
ประการที่สอง มีแนวโน้มที่เห็นได้ชัดว่า พรรคการเมืองระดับชาติ ต้องการขยายอิทธิพล องคาพยพของตนในการเลือกตั้งท้องถิ่นมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งที่ผ่านมา พรรคขนาดใหญ่ของไทย ไม่ค่อยพยายามขยายตัวแทนเข้าไปครอบงำการเมืองท้องถิ่น เพราะมันเกี่ยวข้องกับปัญหาความขัดแย้งของผู้สมัคร กลุ่มต่างๆ ในพรรค ซึ่งจะทำให้พรรคการเมืองมีความยากในการจัดการ แต่พรรคการเมืองของไทยมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก โดยเฉพาะตั้งแต่พรรคไทยรักไทยที่แปรเปลี่ยนเป็นพรรคพลังประชาชนและ พรรคเพื่อไทยซึ่งมีเสียงข้างมากในสภา เพราะเขาคงคิดว่า การครอบงำการเมืองท้องถิ่น อาจจะทำให้บริหารประเทศได้แบบเบ็ดเสร็จ และพรรคก็สามารถคุมนโยบาย งบประมาณ เครือข่าย สาขาพรรคได้เป็นเอกภาพมากขึ้น
เขาบอกว่า แนวคิดนี้ต้องการให้เกิดประชาธิปไตยที่เน้นเสียงข้างมากหรือ เน้นประสิทธิภาพเป็นใหญ่ เช่น รัฐบาลมีนโยบายเรื่องโอท็อป ท้องถิ่นก็ต้องทำโอท็อปด้วย รัฐบาลต้องการทำสวัสดิการคนชรา ท้องถิ่นก็ต้องทำสวัสดิการคนชราเช่นกัน เพื่อให้เป็นนโยบายอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งองคพายพ ซึ่งก็เห็นชัดในการเมืองของต่างประเทศหลายประเทศที่พรรคการเมืองระดับชาติลง ไปเล่นการเมืองท้องถิ่นเอง
“แต่ผลด้านลบ คือ องค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นองค์กรประชาธิปไตยขนาดเล็ก คือ เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ฉะนั้น ประชาชนก็ต้องมีอิสระ ดุลยพินิจในการตัดสินด้วยตัวเอง เช่น สามารถตัดสินในเชิงของประชาธิปไตยชุมชน ท้องถิ่นเอง ฉะนั้น นโยบายของท้องถิ่นในความเห็นผม ไม่ควรที่จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับรัฐบาลมากนัก แต่ถ้าอยากเห็นรัฐบาลมีนโยบายอย่างไร รัฐบาลก็ควรจะมอบหมายให้ท้องถิ่นทำแทน และรัฐบาลก็ต้องส่งเครื่องมือ งบประมาณไปด้วย ขณะเดียวกัน ท้องถิ่นก็มีปัญหาหลากหลาย เช่น บางท้องถิ่นอาจมีปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยมาก เพราะมีสลัม แออัดมาก ก็ต้องแก้เรื่องที่อยู่อาศัย บางท้องถิ่นมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเหตุผลที่เรามีท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง ก็เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้ในการปกครองตนเอง ตัดสินใจด้วยตนเอง รับผิดชอบด้วยตัวเอง นี่จึงเป็นข้อเสียที่พรรคแกนนำรัฐบาลตั้งใจจะครอบงำ หรือ มีอิทธิพลครอบงำท้องถิ่นอย่างเต็มที่”
ประการที่สาม แนวโน้มที่เห็นชัด คือ บรรดาผู้นำท้องถิ่น กลุ่มการเมืองท้องถิ่น มีความพยายามจะต่อสู้ กลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มผลประโยชน์ รวมถึง กลุ่มอุดมการณ์ย่อย เช่น กลุ่มรักษ์ท้องถิ่น กระทั่ง กลุ่มเสื้อแดง ที่ก็มีลักษณะเป็นผู้นำท้องถิ่นเช่นเดียวกัน ที่เห็นได้ชัดกรณีของการส่ง สส.ในการเลือกตั้งซ่อม สส.เชียงใหม่ กลุ่มเสื้อแดงก็อยากให้ส่งผู้แทนของกลุ่มเสื้อแดง แต่พรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ตัดสินใจส่งตัวแทนของตัวเองลงสมัคร กรณีเลือกตั้งนายกฯอบจ. และ สส.ปทุมธานี ก็เช่นเดียวกัน เป็นความขัดแย้งกันระหว่างพรรคกับ ตัวแทนของกลุ่มท้องถิ่น
รองอธิการบดีธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นรอบนี้ถือเป็นรอบที่สี่ ถ้าคิดจุดเริ่มจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ทำให้มีการเลือกตั้งเลือกตั้งอปท. เต็มพื้นที่จริงๆปี 2542 ส่วนรอบสอง ปี 2546 รอบสามปี 2550 รอบสี่ปี 2554 - 2555 แม้จะผ่านมาสี่ครั้ง แต่พัฒนาการโดยรวมก็ยังไม่ได้ดีขึ้น ยังมีปัญหาเรื่องการพัฒนา ความพร้อม ถ้าประเมินแล้วอาจมีแค่ 10% หรือ 700-800 หน่วย ที่อยู่ในระดับที่ดี น่าพอใจ เป็นประชาธิปไตย มีความสามารถในการจัดการ พัฒนาตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม ท้องถิ่นจะพัฒนาได้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายเรื่อง ประชาธิปไตยเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งเท่านั้นในการที่จะให้ประชาชนไปเลือกตัว แทนมาปกครองตนเอง องค์ประกอบที่สอง คือ งบประมาณ ภาษี ที่ท้องถิ่นเก็บได้ ภาษีที่รัฐแบ่งให้ เงินอุดหนุนต่างๆ ประชาธิปไตยมันต้องการเงินพอสมควร รวมถึง ศักยภาพของคน ผู้นำ ที่สำคัญที่สุด คือ กลุ่มผลประโยชน์ที่มันยังมีลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น คือเรายังไม่ค่อยมีดุลยภาพที่พอเหมาะพอควรในการเปลี่ยนแปลงระดับท้องถิ่น ของไทย
ส่วนแนวโน้มที่จะได้เห็น “ผู้นำรุ่นใหม่” ในระดับท้องถิ่น ซึ่งผ่านการเลือกตั้งมาหลายครั้งนั้น นครินทร์ เห็นว่า มีไม่มาก แต่ก็มีข้อสังเกตุว่า ผู้นำท้องถิ่นผูกขาดอำนาจได้ประมาณ 2 วาระ ความจริงกฎหมายเก่าเรื่องท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง นายกฯอบจ. นายกฯอบต. นายกฯเทศมนตรี อยู่ได้แค่สองรอบเท่านั้น แต่มาแก้กฎหมายในสมัยที่พรรคภูมิใจมาดูแลกระทรวงมหาดไทย ทำให้การเลือกตั้งนายกฯอบจ. มันต่อเนื่องไปได้ 3-4 รอบ อีกด้านหนึ่งก็เห็นว่า ท้องถิ่นดีๆ อยู่ได้ประมาณ 2 รอบเท่านั้น เพราะมันมีการแข่งขัน ต่อสู้กันเยอะ ระหว่างกลุ่มต่างๆ มากพอสมควร
สำหรับความขัดแย้งภายในพรรคเพื่อไทยกับกลุ่มเสื้อแดงในการส่งตัวผู้สมัคร ลงนายกฯอบจ.นั้น เห็นว่า พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคของหลายส่วนไม่ใช่เสื้อแดงอย่างเดียว มีทั้งเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ แกนนำ นปช. และอีกหลายกลุ่ม การขัดแย้งในเรื่องตัวผู้นำที่จะลงเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นแค่ปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งซึ่งก็สำคัญ แต่เรื่องสำคัญอย่างยิ่ง คือ ปัจจัยเรื่องอุดมการณ์ การแก้รัฐธรรมนูญ เรื่องนโยายปรองดอง ดังนั้น จะยังไม่ขัดแย้งแตกแยกเสียทีเดียว
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า การเลือกตั้งท้องถิ่น ถือเป็นรากเหง้าของระบอบประชาธิปไตย ชาวบ้านรู้สึกว่า สามารถเลือกผู้นำของเขาเองได้ ไม่ใช่ได้คนที่เจ้านายส่งมา แต่ปัญหาด้านหนึ่งที่เป็นข้อเสีย คือ มีการแข่งขันสูง ใช้ความรุนแรง และหลายพื้นที่ ก็มีการสืบทอดอำนาจกันโดยผู้มีอิทธิพลในจังหวัด แต่โดยรวมการเลือกตั้งท้องถิ่นที่มีขึ้นมา 10 ปีมันค่อยๆ พัฒนาขึ้น หลายพื้นที่มีการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ช่วยทลายการผูกขาดของกลุ่มผู้มีอิทธิพลได้ สิ่งที่ต้องติดตามในการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ คือ จะแข่งกันด้วยอะไร การรณรงค์หาเสียง นโยบาย ข้อเสนอที่จะตอบแทนประชาชนอย่างไร เช่น ปรับปรุงระบบการศึกษาในพื้นที่ แต่งานวิจัยพบว่า การหาเสียงโดยรวม เน้นข้อเสนอในระยะสั้นมากกว่าระยะยาว และส่วนใหญ่ยังเป็นตระกูลนักการเมืองเป็นคุมฐานเสียงในจังหวัด ขณะที่กลุ่มใหม่มักจะขายความคิดคใหม่ในเรื่องการดูแลประชาชน
“โดยรวมทิศทางการเลือกตั้งท้องถิ่น เลือกกันมาแล้ว 2 ครั้ง ในรอบ 10 ปี ช่วยให้คนฉลาดและรู้ทันขึ้น ว่า เขาควรเลือกเพราะอะไร เชื่อว่าในอนาคต เครื่องมือที่จะใช้ในการหาเสียงจะเป็นข้อเสนอในการพัฒนาท้องถิ่นให้เป็น รูปธรรม เช่น จะทำสวนสาธารณะเพิ่มขึ้นไหม จะทำโรงเรียนสอนเด็กเล็ก และผู้สมัครที่มาจากนักการเมืองระดับชาติที่ลาออก หรือ กลุ่มผู้มีอิทธิพล จะต้องเจอการท้าทายจากผู้สมัครที่มีการศึกษา มีความคิดก้าวหน้า มีอุดมการณ์ การแข่งขันด้านนโยบายจะเข้มข้นมากขึ้น” สิริพรรณ ทิ้งท้าย
โดย isranews
เครือข่ายธุรกิจปั๊มซีดี“ฉลอง เรี่ยวแรง”โยงผู้ค้าหวยใหญ่-ที่ตั้งเดียว“จตุพร-พวก”
ถ้านายฉลอง เรี่ยวแรง ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ไม่ออกมาให้สัมภาษณ์ขัดขวางการขึ้นสู่เก้าอี้รัฐมนตรีของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเดียวกัน แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก็จะไม่ถูกแฉกลับจาก ส.ส.เครือข่ายของนายจตุพรว่าเกี่ยวพันกับธุรกิจซีดีและอื่นๆ
ด้วยเหตุนี้หรือไม่? วันถัดมาจากท่าทีแข็งกร้าวดุดันนายฉลองได้พลิกกลับมาเชียร์นายจตุพรราวไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สาธารณะจึงไม่มีโอกาสรู้ความจริงว่าแท้จริงแล้วนายฉลองเกี่ยวพันธุรกิจผลิตซีดีอย่างไร?
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำข้อมูลเครือข่ายธุรกิจของนายฉลองกับพวกมาเปิดเผย
นายฉลองได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตอนเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.นนทบุรี วันที่ 2 สิงหาคม 2554 ระบุว่า นอกจากเงินเดือน ส.ส.ยังมีรายได้จากการเป็นที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการ บริษัท ปารมีโปรโมชัน จำกัด เดือนละ 20,000 บาท รวม 12 เดือน 240,000 บาท แต่นายฉลองก็มิได้ระบุว่ามีเงินลงทุนในบริษัทดังกล่าว
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า บริษัท ปารมีโปรโมชั่น จำกัด ประกอบธุรกิจขายภาพยนตร์ วีซีดี แผ่นเสียง จดทะเบียนวันที่ 21 ธันวาคม 2544 ทุนเริ่มแรก 2 ล้านบาท ปัจจุบัน 4 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 163 หมู่ที่ 2 ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 เมษายน 2554 นางสาวจิรวรรณ เรี่ยวแรง (บุตรสาวนายฉลอง) จำนวน 31,600 หุ้นหรือ 79% นางสาววิไล ทองทวี 2,000 หุ้น หรือ 5% นางกฤตยา ธนวรกาญจน์ นางสาวภูริดา สุพยนต์ นางสาววิลาวัลย์ มุนีมงคลทร คนละ 1,600 หุ้น นางเจริญ ทองทวี 1,000 หุ้น นายศรีชาติ เรี่ยวแรง 600 หุ้น นางเจริญ ทองทวี เป็นกรรมการ
บริษัท ปารมีโปรโมชั่น จำกัดได้แจ้งข้อมูลต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปี 2552 มีรายได้ 8,329,251 บาท ขาดทุนสุทธิ 179,349 บาท
ปี 2553 รายได้ 6,781,560 บาท ขาดทุนสุทธิ 16,820 บาท
ปี 2554 รายได้ 5,134,683 บาท กำไรสุทธิ 42,667 บาท สินทรัพย์ 6,223,480 บาท
จากการตรวจสอบพบว่า นางเจริญ ทองทวี หุ้นส่วนและกรรมการบริษัท ปารมี โปรโมชั่น จำกัด เป็นกรรมการ บริษัท โมทีฟเฮ้าส์ จำกัด จดทะเบียนวันที่ 28 มีนาคม 2549 ทุน 1 ล้านบาท ผลิตและจำหน่ายของตกแต่งบ้านและงานศิลปะทั้งในและต่างประเทศ ที่ตั้งเลขที่ 62 ซอยสุภาพงษ์ 3 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ ณ วันที่ 29 มีนาคม 2549 นางเจริญ ทองทวี ถือหุ้น 5,000 หุ้น หรือ 50% นายสุพจน์ พรหมสว่างศิลป์ 4,970 หุ้น หรือ 49.7% และร่วมเป็นกรรมการ บริษัทนี้มิได้ส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
จากการตรวจสอบพบว่านายฉลองเคยทำธุรกิจค้าเพชรพลอยอัญมณีชื่อ บริษัท เมมโมรี่ จำกัด ทะเบียนวันที่ 9 มิถุนายน 2537 ทุน 2 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 904 หมู่ที่ 6 อาคารซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ มีนางพรพิไล กาญจนศักดิ์ชัย และนายธีระศักดิ์ กาญจนศักดิ์ เป็นกรรมการ เลิกกิจการในปี 2545
จากการตรวจสอบพบว่า นางพรพิไล กาญจนศักดิ์ชัย และนายธีระศักดิ์ กาญจนศักดิ์ เป็นเจ้าของธุรกิจค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลชื่อ บริษัท แพน-คอสโม จำกัด และ บริษัท จีโร่ เทคโนโลยี่ จำกัด ที่ตั้งเลขที่ 93 ซอยพัฒนาการ 56 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ และ บริษัท ไนน์ ล็อตโต (2000) จำกัด จดทะเบียนวันที่ 30 พฤษภาคม 2534 ทุน 20 ล้านบาท ประกอบธุรกิจซื้อ จัดหา รับเช่า ถือกรรมสิทธิ์ ปรับปรุง ใช้ ที่ตั้งเลขที่ 69/10 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ และได้แจ้งเลิกบริษัทซึ่งนายทะเบียนได้รับจดทะเบียน เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2545
น่าสังเกตว่า ที่ตั้งเลขที่ 69/10 ถนนวิภาวดีรังสิต เป็นที่ตั้งเดียวกับธุรกิจ 5 แห่งของนายจตุพร กับพวก ได้แก่ หจก.สยามเชนจ์ พอยท์ หจก.วิชั่น แอนด์ ซีนะรี หจก.ศรีหมวดเก้า หจก.บุตรตะวัน และ หจก. ศรีสมุย ลองสเตย์ รวมเงินลงทุน 25 ล้านบาท (เฉพาะนายจตุพร 8.6 ล้านบาท) ซึ่งทั้ง 5 แห่งเปิดดำเนินการเพียงสั้นๆในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2545 และแจ้งเลิกกิจการพร้อมกัน วันที่ 24 ธันวาคม 2547
ทั้งนี้ นายฉลองยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินทรัพย์สิน (แจ้งสถานภาพหย่า) ระบุมีทรัพย์สินรวม 27,284,428.24 บาท 4 รายการ ประกอบด้วย
เงินฝาก 88,428.24 บาท
ที่ดิน 200,000 บาท (ภบท.5 หมู่ 7 ต.ทับตะโก อ.เมือง จ.ราชบุรี เนื้อที่ 45 ไร่)
ยานพานะ 10,000 บาท (มอเตอร์ไซค์)
ทรัพย์สินอื่น 26,950,000 บาท (ในจำนวนนี้เป็นพระเครื่องมูลค่า 25 ล้านบาท)
หนี้สิน 88,790,232.42 บาท (หนี้สินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ)
รวมมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 61,541,804.18 บาท
โดย เสนาะ สุขเจริญ
เปิดสัญญาลับ“ก่อแก้ว”โอนหุ้นให้“นอมินี” ใช้กระดาษเอ4 -ไร้ค่าตอบแทน
ในการปรากฏรายชื่อเป็นผู้ถือครองหุ้น บริษัท นิวสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด แทน นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชี รายชื่อพรรคเพื่อไทย แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จำนวน 112,500 หุ้น รวมมูลค่า 56,458,612.78 บาท ของนายประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ และนายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล (นายก่อแก้ว ระบุในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตอนรับตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ วันที่ 2 สิงหาคม 2554 ว่า จากงบดุลของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ส่วนของผู้ถือหุ้นมีมูลค่ารวม 150,556,300.76 บาท ดังนั้นมูลค่าในส่วนของผู้ยื่น = 0.375*150,556,300.76 หรือ =56,458,612.78 บาท)
อาจทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า นายประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ และนายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล สองหุ้นส่วนธุรกิจของนายก่อแก้ว ได้อะไรต่อแทนจากการถือครองหุ้นแทนครั้งนี้ตอบแทนบ้าง?
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบพบว่า การโอนหุ้นของนายก่อแก้ว พิกุลทอง ไปยังนายประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ และนายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล ดังกล่าว ได้มีการทำหนังสือสัญญาการถือหุ้นแทน ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการถือหุ้นแทน ระหว่าง นายก่อแก้ว ในฐานะ “ผู้ถือหุ้น” กับ นายประคัลภ์ และนายพงศ์ศักดิ์ ในฐานะ “ผู้ถือหุ้นแทน”
โดยเบื้องต้น ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันทำสัญญาถือหุ้นแทน ดังมีข้อความต่อไปนี้
1. นายก่อแก้ว พิกุลทอง “ผู้ถือหุ้น” ตกลงให้นาย ประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ และนายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล ถือหุ้นแทน ใน บริษัท นิวสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จำนวน 112,500 หุ้น ดังต่อไปนี้
- นาย ประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ ถือแทนจำนวน 37,250 หุ้น (12.42%)
- นายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล ถือแทน จำนวน 75,250 หุ้น (25.08%)
2. นาย ประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ และนายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล ยินยอม “ถือหุ้นแทน” นายก่อแก้ว พิกุลทอง “ผู้ถือหุ้น” ในบริษัท นิวสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตามข้อ 1 โดยไม่มีค่าตอบแทน
3. นาย ประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ และนายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล “ผู้ถือหุ้นแทน” ยินยอมคืนหุ้นที่ถือแทนให้ นายก่อแก้ว พิกุลทอง “ผู้ถือหุ้น” ในบริษัท นิวสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตามข้อ 1 ทันที เมื่อนายก่อแก้ว พิกุลทอง “ผู้ถือหุ้น” มีความประสงค์เข้าถือหุ้นด้วยตนเอง
4. นาย ประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ และนายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล “ผู้ถือหุ้นแทน” ตกลงจะไม่โอน ขายหรือยกให้ หรือกระทำการใดๆ เกี่ยวกับหุ้นของผู้ให้ถือทั้งสิ้น เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจาก “ผู้ถือหุ้น”
5. หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ประพฤติผิดสัญญาแม้ข้อใดข้อหนึ่งคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องร้อง บังคับ/ให้เป็นไปตามสัญญานี้ได้ ทั้งมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอีกส่วนหนึ่งได้ด้วย
ทั้งนี้ หนังสือสัญญาฉบับดังกล่าว ระบุว่า จัดทำขึ้นที่บริษัท นิวสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553 ซึ่งเป็นช่วงก่อนหน้าที่บริษัท นิวสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จะมีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553 โดยมีไม่ชื่อนายก่อแก้ว และคนในตระกูล พิกุลทอง เข้ามาเกี่ยวข้องอีก ก่อนที่นายก่อแก้ว จะเข้ารับตำแหน่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2554 ในเวลาต่อมา โดยหนังสือสัญญาการถือหุ้นแทน ฉบับนี้ นายก่อแก้ว ได้ส่งมอบให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับทราบเป็นหลักฐานด้วย
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า หนังสือสัญญาดังกล่าว ใช้กระดาษเอ 4 ธรรมดา ในการทำ และไม่ปรากฏตราสัญญาลักษณ์บริษัท นิวสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ประทับไว้เป็นหลักฐานบนสัญญาแต่อย่างใด
โดย isranews
วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
โชคดีคนกรุง!
ผลจากการเซ็นสัญญาว่าจ้างระหว่างบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี และบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด หรือเคที ซึ่งเป็นวิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในการเดินรถขนส่งมวลชนของ กทม. 30 ปี ด้วยงบประมาณกว่า 1.9 แสนล้านบาท กลายเป็นประเด็นร้อนในขณะนี้ ระหว่างพรรคเพื่อไทยฟากรัฐบาลที่เป็นพรรคคู่แข่งของพรรคประชาธิปัตย์ที่กุมเสียงข้างมากในพื้นที่กรุงเทพฯ
ไม่แปลกที่เรื่องนี้จะกลายเป็นประเด็นทางการเมืองขึ้นมา เพราะตั้งแต่อดีตรัฐบาลพรรคไทยรักไทย (พรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน) ก็มีแนวคิดที่จะซื้อกิจการของบีทีเอส เพื่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เข้ามาควบคุมกำกับดูแลโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้งหมดให้เป็นระบบเดียวกันทำได้ยากขึ้น ประกอบกับการเซ็นสัญญาของ กทม.ครั้งนี้เป็นวงเงินที่สูงถึง 1.9 แสนล้านบาท และอยู่ในช่วงที่เรียกได้ว่าโค้งสุดท้ายของการดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ของผู้บริหารชุดปัจจุบัน ที่จะครบวาระในต้นปี 2556 นี้ เป็นการกระทำที่ถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ ซึ่งล่าสุดทางพรรคเพื่อไทย ได้ส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ตรวจสอบการดำเนินการดังกล่าวว่า เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการงานและกิจการของรัฐ (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐหรือไม่
รถไฟฟ้า “บีทีเอส” เป็นขนส่งมวลชน สายแรกของประวัติศาสตร์ชาติไทย เกิดขึ้นในยุคของพล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี 2532 ได้เปิดให้บริษัทเอกชนเข้ายื่นข้อเสนอต่อ กทม. เพื่อดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯโดยไม่จำกัดรูปแบบปรากฏว่า กลุ่มบริษัท ธนายง หรือบีทีเอสซี ในปัจจุบัน เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการ ลงทุนเองทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่การก่อสร้างโครงสร้าง วางรางระบบ ขบวนรถและการเดินรถ โดย กทม.ได้ลงนามสัญญาสัมปทาน เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2535 เป็นรถไฟฟ้ายกระดับ 2 สายคือ สายสุขุมวิท จากหมอชิต-อ่อนนุช และสายสีลม จากสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน เริ่มเปิดเดินรถตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปีสิ้นสุดในปี 2572 โดยตลอดเวลาสัมปทานรายได้จากค่าโดยสารและค่าพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวกับสถานีและตัวรถไฟฟ้าทั้งหมดเป็นของบริษัทฯและเก็บค่าโดยสารได้สูงสุดที่ 56 บาท โดยขณะนี้ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทางวิ่งรางรถไฟทั้งหมดตกเป็นทรัพย์สินของ กทม. ตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยในส่วนของระบบการเดินรถตัวรถรวมทั้งรายได้จากค่าโดยสารจะตกเป็นของ กทม. เมื่อสิ้นสุดสัมปทานคือในอีก 17 ปีหลังจากนี้ โดยไม่รวมจำนวนรถที่บริษัทฯจัดซื้อมาเพิ่มเพื่อเดินรถในส่วนต่อขยาย ซึ่งการทำสัญญาที่มีการลงนามไปเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมา ประกอบด้วยสัญญาว่าจ้างเดินรถในส่วนของสัญญาสัมปทานออกไปอีก 13 ปี และสัญญาจ้างเดินรถ 30 ปีในส่วนต่อขยายสายสีลม จากสถานีตากสิน-บางหว้า 7.5 กิโลเมตร (ขณะนี้เปิดเดินรถถึงแค่วงเวียนใหญ่ โดยจะเปิดเดินรถถึงรัชดา-ราชพฤกษ์ในวันที่ 5 ธ.ค. นี้ และเปิดเดินรถถึงบางหว้า 12 ส.ค. 2556) และส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทจากอ่อนนุช-แบริ่ง ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร ทั้งหมดจะสิ้นสุดสัญญาพร้อมกันในเดือน พ.ค. 85 ค่าจ้างรวม 187,790 ล้านบาท
โดยข้อครหาการเซ็นสัญญาล่วงหน้ายาวไกลเช่นนี้ ทั้ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. และ นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. คุมสำนักการจราจรและชนส่ง ออกมายืนยัน ว่าการเซ็นสัญญาครั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลมาฮุบรถไฟฟ้าบีทีเอสไปจาก กทม. เพราะ กทม.เป็นคนริเริ่ม และสร้างโครงข่ายต่อขยายเพิ่มขึ้น โดยรองผู้ว่าฯ ธีระชน ก็กล่าวถึงการยื่นเรื่องถึงดีเอสไอให้ตรวจสอบ กทม.ว่า “โครงการดังกล่าว กทม. ดำเนินการภายใต้ระเบียบ ข้อบัญญัติ กทม.ที่เกี่ยวข้อง 7 ฉบับ รองรับการดำเนินการของเคที รองรับเรื่องการทรัพย์สินในส่วนของระบบขนส่งรถไฟฟ้าที่บีทีเอสลงทุนเป็นทรัพย์สินของ กทม. รวมทั้งขั้นตอนการงบประมาณที่ใช้รายได้จากค่าโดยสารมาจ่ายเป็นค่าเดินรถได้เลย เพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารและการงบประมาณของ กทม. นอกจากนี้ยังดำเนินการตามแนวทางที่ได้มีการหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาอีก 3 ฉบับ เป็นเรื่องที่ กทม.หารือไป 1ฉบับ (เรื่องเสร็จที่ 222/2550) เรื่องที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ได้หารือ 1 ฉบับ (เรื่องเสร็จที่ 228/2550) และที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หารือไปอีก 1 ฉบับ (เรื่องเสร็จที่ 284/2552) ซึ่งยืนยันได้ว่าการว่าจ้างเดินรถบีทีเอส ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ และการว่าจ้างในวงเงินดังกล่าวยังเป็นราคาที่ถูกกว่าสัญญาจ้างเดินรถที่ทางสำนักบริหารหนี้ (สบน.) และเอดีบีคำนวณไว้ โดยในจำนวนเงินที่ กทม.จ่ายจริง 1.9 แสนล้านบาท เป็นค่าจ้างบีทีเอส 187,790 ล้านบาท และค่าจ้างเคที 1,800 ล้านนั้น จะเป็นเงินที่ กทม. ต้องใช้งบประมาณมาจ่ายจริงเพียง 6,400 ล้านบาทเท่านั้น เพราะ กทม. สามารถใช้ค่าโดยสารที่ได้รับมาจ่ายเป็นค่าจ้างได้ โดยในช่วงของสัญญาสัมปทานที่เหลืออยู่ 17 ปีรายได้จากส่วนต่อขยายจะยังไม่เพียงพอกับค่าจ้าง แต่เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดรายได้ในส่วนของสัญญาสัมปทานทั้งหมดจะเป็นของ กทม. รวมกับค่าโดยสารจากส่วนต่อขยายที่ได้รับอยู่เดิม จะทำให้ กทม. มีรายรับจำนวนมากซึ่งจะมีรายได้เหลือจากจ่ายค่าจ้างเดินรถอีกอย่างน้อยปีละ 3,000 ล้านบาทตั้งแต่ปีที่ 18 ไปจนถึงครบสัญญาในปีที่ 30 คิดเป็นรายได้ที่ กทม.จะได้รับตลอดสัญญาที่ 1.1 แสนล้านบาท
ส่วนเรื่องการทำผิดต่อการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐนั้นก็ไม่ได้กังวลเช่นกัน เพราะ กทม. จ้างเคทีเป็นกรณีพิเศษได้ตามข้อบัญญัติ กทม. และการว่าจ้างก็ใช้งบประมาณน้อยเมื่อเทียบกับการจ้างของหน่วยงานอื่น หรือหาก กทม.ต้องจ้างโดยตรงก็ต้องเป็นภาระงบประมาณในการเพิ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ส่วนการที่เคทีจ้างบีทีเอสโดยไม่เปิดโอกาสให้บริษัทฯ อื่นเข้าแข่งขันนั้น ก็เป็นเรื่องที่ได้เจรจาโดยได้ค่าจ้างในอัตราที่ต่ำกว่าการประเมินของหน่วยงานกลางที่เชื่อถือได้อย่าง สบน.หรือเอดีบี รวมทั้งบีทีเอสยังได้สิทธิตามสัญญาที่ กทม. จะต้องเจรจากับบริษัทฯ เป็นรายแรก ดังนั้นถ้าเห็นว่าตรงไหนไม่ถูกต้องอยากจะฟ้องก็ฟ้องได้เลย ตนไม่กังวล”
งานนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า กทม.มัดตราสัง รถไฟฟ้า บีทีเอส เพื่อผูกปมให้ใหญ่ขึ้น ยากที่รัฐบาลจะเจรจาซื้อคืนไปได้โดยง่าย เสมือนเป็นเกราะป้องกันทางอ้อมให้ บริษัทบีทีเอสซี วางแนวทางให้ได้อยู่บริหารกิจการไปอีกยาวนานในสภาวะที่กิจการรถไฟฟ้าสายนี้ มีแต่ขาขึ้นไปเรื่อย ๆ
ไม่มีคำว่าลง เพราะเป็นเส้นทางทำเลทองสายเศรษฐกิจที่เป็นหัวใจของกรุงเทพฯ ที่เชื่อมต่อทั้งเหนือใต้ออกตก ทำให้ฟากรัฐบาลมองเห็นถึงปัญหานี้ เพราะในความเป็นจริงนโยบายเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายของรัฐบาลดูแล้วจะเกิดขึ้นยากมากในเร็ววันนี้ เพราะลำพัง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่รัฐบาลดูแลอยู่ สายเดียวยังเก็บ 20 บาทไม่ได้เลย จะควบรวมทุกสาย ต้องใช้เงินอุดหนุนมหาศาล ย่อมเป็นเรื่องยาก อาจเป็นประเด็นให้พรรคเพื่อไทย ใช้ประเด็นการเซ็นสัญญาครั้งนี้เป็นข้ออ้างว่าทำให้โครงการเก็บค่าโดยสาร 20 บาท เกิดขึ้นช้าทำให้การเดินทางของประชาชนมีราคาแพง ย้อนเกล็ดประชาธิปัตย์ ก็เป็นได้ แถมเรื่องการเอื้อประโยชน์ให้บีทีเอสเข้าไปอีก ยิ่งไปกันใหญ่
เรื่องนี้หากตัดประเด็นข้อครหาต่าง ๆ ออกไป อาจมองว่า พรรคประชาธิปัตย์ หวังยึดหัวหาดพ่อเมือง กทม. ไปอีกยาวเนื่องจากมั่นใจในฐานที่มั่น จึงคิดว่า รถไฟฟ้ายังเป็นตัวเรียกคะแนนเสียง เพราะไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลยุคไหนหรือการหาเสียงของพรรคการเมืองใดก็ต้องหยิบยกขึ้นมาเป็นเรื่องหลักในการหาเสียงกับชาวบ้าน การให้รัฐบาลดึงรถไฟฟ้าบีทีอสไปควบรวมกับเส้นทางรถไฟฟ้าตามแผนที่จะเกิดอีก 10 กว่าสาย ที่ รฟม. ดูแลอยู่โดยง่าย ย่อมเป็นจุดอ่อนมิใช่น้อย
หากวันนี้รัฐบาลและผู้บริหารกทม.มาจากพรรคเดียวกัน เรื่องจะลงเอยเช่นที่เป็นอยู่ขณะนี้หรือไม่ ใครที่อ้างว่าทำเพื่อประชาชน จริงหรือ??.
พัชรินทร์ ธรรมรส
พรรคเพื่อไทย ทั้งโกรธและแค้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เซ็นสัญญาจ้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นเวลานานถึง 30 ปี
เพราะทำให้แผนการชุบมือเปิบฮุบรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเป็นของ กทม. พังไปโดยปริยาย อย่างน้อยที่สุดก็ต้องรอไปจนกว่าสัญญาจะหมดอายุในปี 2585
สมมติว่าพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งหน้า หรือครั้งต่อๆ ไปในอนาคต แล้วต้องการเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกสัญญา ก็ใช่ว่าจะทำได้โดยพลการ เพราะ กทม. โดยบริษัท กรุงเทพธนาคม ได้สัญญาว่าจ้างบีทีเอสให้เป็นผู้เดินรถแล้ว
จะใช้เสียงข้างมากลากไป แก้กฎหมายเพื่อโอนรถไฟฟ้าไปเป็นของรัฐบาลก็คงไม่ง่ายเหมือนแก้รัฐธรรมนูญ หรือเขียนกฎหมายใหม่เพื่อล้างความผิดของ นช.ทักษิณ ชินวัตร
สัญญาระหว่างกรุงเทพธนาคม และบีทีเอสซี ซึ่งมีการลงนามไปเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา ต้องถือว่ เป็นแผนเหนือเมฆ ที่พรรคเพื่อไทยคาดไม่ถึงว่า กทม.จะใช้วิธีนี้รักษารถไฟฟ้าให้พ้นจากเงื้อมมือของรัฐบาลไปได้ มารู้ตัวเอาก็ต่อเมื่อการเซ็นสัญญาปรากฏเป็นข่าวไปแล้ว
พรรคเพื่อไทยทำได้มากที่สุดแค่ตีปี๊บ คือให้ทีมโฆษกพรรคออกมาให้ข่าวสร้างกระแสว่าสัญญาว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส ระหว่างกรุงเทพธนาคม กับบีทีเอส ผิด พ.ร.บ.ร่วมทุน และใช้ให้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รับลูกไปตั้งทีมสอบสวน ข่มขู่ รังควาน สร้างความรำคาญให้แก่บริษัท กรุงเทพธนาคม และบีทีเอสซี ต่อไป
รถไฟฟ้ากรุงเทพมหานคร หรือรถไฟฟ้าบีทีเอสนั้น เป็นเป้าหมายที่พรคเพื่อไทยไทยต้องการยึดมาเป็นของรัฐบาล ตั้งแต่ครั้งยังเป็นพรรคไทยรักไทย สมัยรัฐบาลทักษิณ นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหารบีทีเอสซี ยืนยันเองว่าเคยถูกนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตอนนั้น เรียกเข้าไปคุยเรื่องนี้ โดยมี นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ รฟม.ในขณะนั้นอยู่ด้วย นายประภัสร์ถามนายคีรีว่าจะขายไหม นายคีรีตอบว่าไม่ขาย
รัฐบาลทักษิณยังจับส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า ช่วงสะพานตากสินถึงวงเวียนใหญ่ เป็นตัวประกัน ไม่ยอมอนุมัติงบประมาณให้ กทม. เพื่อลงทุนวางราง และก่อสร้างสถานี ทั้งๆ ที่ตัวโครงสร้างก่อสร้างเสร็จนานแล้ว เพราะต้องการเจรจาซื้อหุ้นบีทีเอสให้เสร็จก่อน จน กทม.ในยุคที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการฯ ตัดสินใจลงทุนเองจนสามารถเปิดให้บริการได้ และกำลังจะให้บริการในเส้นทางที่ต่อไปจนถึงบางหว้า เพชรเกษม ในขณะที่ส่วนต่อขยายจากอ่อนนุชไปถึงแบริ่ง ก็ให้บริการมาหลายเดือนแล้ว ทำให้คนกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยมีการเดินทางที่สะดวกสบายขึ้นกว่าเดิมมาก
เมื่อรัฐบาลนายกฯ นกแก้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นมาบริหารประเทศ นโยบายลำดับต้นๆ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรงคมนาคมทั้งคนก่อน คือ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณฑัต และคนปัจจุบันคือ จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ประกาศอย่างเปิดเผยคือ จะต้องโอนรถไฟฟ้าของ กทม.มาให้กระทรวงคมนาคม หรือ รฟม.ดูแล เพื่อให้นโยบาย ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสายที่พรรคหาเสียงไว้เป็นจริง
พรรคเพื่อไทยหวังจะใช้โครงข่ายรถไฟฟ้าบีทีเอสมาปิดบังความล้มเหลว และความหลอกลวง ของนโยบายรถไฟฟ้า 10 สาย ค่าโดยสาร 20 บาท ตลอดสายที่หาเสียงไว้ เพราะเวลาผ่านไป 8-9 เดือนแล้วนับตั้งแต่เข้ามาเป็นรัฐบาล ความคืบหน้าของนโยบายนี้มีแต่เรื่องการล้มประมูลรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต การเปลี่ยนแบบ แก้แบบ ขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งเป็นช่วงต่อจากรถไฟบีทีเอส จากหมอชิตถึงสะพานใหม่ ที่พรรคภูมิใจไทยไปขโมยจาก กทม.มาให้ รฟม.ทำในสมัยรัฐบาลที่แล้ว สายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ และบางซื่อ-ท่าพระ ที่มีการก่อสร้างโครงสร้างแล้ว แต่การวางระบบราง การหาผู้มาเดินรถยังไม่มีความคืบหน้าเลย
โครงการเดียวที่เริ่มลงมือสร้างได้ในรัฐบาลนี้ คือ ช่วงต่อจากแบริ่ง ไปสมุทรปราการ ก็เป็นเพราะว่ามีการเปิดประมูลและเซ็นสัญญาก่อสร้างงานโยธา ในช่วงรอยต่อระหว่างรัฐบาลอภิสิทธิ์กับรัฐบาลนี้
อีก 9 สายที่เหลือที่หาเสียงไว้คงไม่แคล้วเป็นเรื่อง “แหกตา” เหมือนนโยบายอื่นๆ ของรัฐบาลนี้
รถไฟฟ้าของ กทม. ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่บีทีเอส เป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง และรับสัมปทานจาก กทม. คือ สายหมอชิต-อ่อนนุช และสายสนามกีฬา-สะพานตากสิน กับส่วนต่อขยาย คือ ช่วงสะพานตากสิน วงเวียนใหญ่ และช่วงอ่อนนุช แบริ่ง ที่ กทม.เป็นผู้ลงลงทุนก่อสร้าง และจ้างบีทีเอสบริหาร จึงเป็นเป้าหมายที่พรรคเพื่อไทยต้องการฮุบมาเป็นของรัฐบาล เพื่อปกปิดความล้มเหลวในนโยบายรถไฟฟ้า 10 สายของพรรคที่หาเสียงไว้
จะว่าเป็นโชคดีของคน กทม.ก็ได้ ที่ กทม.เซ็นสัญญาว่าจ้างบีทีเอสให้บริหารรถไฟฟ้าทุกเส้นทางไปเลย จนถึง ปี 2585 ปิดทางไม่ให้พรรคเพื่อไทยมาฮุบไป เหมือนตลาดนัดจตุจักร
ไม่แปลกที่เรื่องนี้จะกลายเป็นประเด็นทางการเมืองขึ้นมา เพราะตั้งแต่อดีตรัฐบาลพรรคไทยรักไทย (พรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน) ก็มีแนวคิดที่จะซื้อกิจการของบีทีเอส เพื่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เข้ามาควบคุมกำกับดูแลโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้งหมดให้เป็นระบบเดียวกันทำได้ยากขึ้น ประกอบกับการเซ็นสัญญาของ กทม.ครั้งนี้เป็นวงเงินที่สูงถึง 1.9 แสนล้านบาท และอยู่ในช่วงที่เรียกได้ว่าโค้งสุดท้ายของการดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ของผู้บริหารชุดปัจจุบัน ที่จะครบวาระในต้นปี 2556 นี้ เป็นการกระทำที่ถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ ซึ่งล่าสุดทางพรรคเพื่อไทย ได้ส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ตรวจสอบการดำเนินการดังกล่าวว่า เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการงานและกิจการของรัฐ (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐหรือไม่
รถไฟฟ้า “บีทีเอส” เป็นขนส่งมวลชน สายแรกของประวัติศาสตร์ชาติไทย เกิดขึ้นในยุคของพล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี 2532 ได้เปิดให้บริษัทเอกชนเข้ายื่นข้อเสนอต่อ กทม. เพื่อดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯโดยไม่จำกัดรูปแบบปรากฏว่า กลุ่มบริษัท ธนายง หรือบีทีเอสซี ในปัจจุบัน เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการ ลงทุนเองทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่การก่อสร้างโครงสร้าง วางรางระบบ ขบวนรถและการเดินรถ โดย กทม.ได้ลงนามสัญญาสัมปทาน เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2535 เป็นรถไฟฟ้ายกระดับ 2 สายคือ สายสุขุมวิท จากหมอชิต-อ่อนนุช และสายสีลม จากสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน เริ่มเปิดเดินรถตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปีสิ้นสุดในปี 2572 โดยตลอดเวลาสัมปทานรายได้จากค่าโดยสารและค่าพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวกับสถานีและตัวรถไฟฟ้าทั้งหมดเป็นของบริษัทฯและเก็บค่าโดยสารได้สูงสุดที่ 56 บาท โดยขณะนี้ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทางวิ่งรางรถไฟทั้งหมดตกเป็นทรัพย์สินของ กทม. ตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยในส่วนของระบบการเดินรถตัวรถรวมทั้งรายได้จากค่าโดยสารจะตกเป็นของ กทม. เมื่อสิ้นสุดสัมปทานคือในอีก 17 ปีหลังจากนี้ โดยไม่รวมจำนวนรถที่บริษัทฯจัดซื้อมาเพิ่มเพื่อเดินรถในส่วนต่อขยาย ซึ่งการทำสัญญาที่มีการลงนามไปเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมา ประกอบด้วยสัญญาว่าจ้างเดินรถในส่วนของสัญญาสัมปทานออกไปอีก 13 ปี และสัญญาจ้างเดินรถ 30 ปีในส่วนต่อขยายสายสีลม จากสถานีตากสิน-บางหว้า 7.5 กิโลเมตร (ขณะนี้เปิดเดินรถถึงแค่วงเวียนใหญ่ โดยจะเปิดเดินรถถึงรัชดา-ราชพฤกษ์ในวันที่ 5 ธ.ค. นี้ และเปิดเดินรถถึงบางหว้า 12 ส.ค. 2556) และส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทจากอ่อนนุช-แบริ่ง ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร ทั้งหมดจะสิ้นสุดสัญญาพร้อมกันในเดือน พ.ค. 85 ค่าจ้างรวม 187,790 ล้านบาท
โดยข้อครหาการเซ็นสัญญาล่วงหน้ายาวไกลเช่นนี้ ทั้ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. และ นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. คุมสำนักการจราจรและชนส่ง ออกมายืนยัน ว่าการเซ็นสัญญาครั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลมาฮุบรถไฟฟ้าบีทีเอสไปจาก กทม. เพราะ กทม.เป็นคนริเริ่ม และสร้างโครงข่ายต่อขยายเพิ่มขึ้น โดยรองผู้ว่าฯ ธีระชน ก็กล่าวถึงการยื่นเรื่องถึงดีเอสไอให้ตรวจสอบ กทม.ว่า “โครงการดังกล่าว กทม. ดำเนินการภายใต้ระเบียบ ข้อบัญญัติ กทม.ที่เกี่ยวข้อง 7 ฉบับ รองรับการดำเนินการของเคที รองรับเรื่องการทรัพย์สินในส่วนของระบบขนส่งรถไฟฟ้าที่บีทีเอสลงทุนเป็นทรัพย์สินของ กทม. รวมทั้งขั้นตอนการงบประมาณที่ใช้รายได้จากค่าโดยสารมาจ่ายเป็นค่าเดินรถได้เลย เพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารและการงบประมาณของ กทม. นอกจากนี้ยังดำเนินการตามแนวทางที่ได้มีการหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาอีก 3 ฉบับ เป็นเรื่องที่ กทม.หารือไป 1ฉบับ (เรื่องเสร็จที่ 222/2550) เรื่องที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ได้หารือ 1 ฉบับ (เรื่องเสร็จที่ 228/2550) และที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หารือไปอีก 1 ฉบับ (เรื่องเสร็จที่ 284/2552) ซึ่งยืนยันได้ว่าการว่าจ้างเดินรถบีทีเอส ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ และการว่าจ้างในวงเงินดังกล่าวยังเป็นราคาที่ถูกกว่าสัญญาจ้างเดินรถที่ทางสำนักบริหารหนี้ (สบน.) และเอดีบีคำนวณไว้ โดยในจำนวนเงินที่ กทม.จ่ายจริง 1.9 แสนล้านบาท เป็นค่าจ้างบีทีเอส 187,790 ล้านบาท และค่าจ้างเคที 1,800 ล้านนั้น จะเป็นเงินที่ กทม. ต้องใช้งบประมาณมาจ่ายจริงเพียง 6,400 ล้านบาทเท่านั้น เพราะ กทม. สามารถใช้ค่าโดยสารที่ได้รับมาจ่ายเป็นค่าจ้างได้ โดยในช่วงของสัญญาสัมปทานที่เหลืออยู่ 17 ปีรายได้จากส่วนต่อขยายจะยังไม่เพียงพอกับค่าจ้าง แต่เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดรายได้ในส่วนของสัญญาสัมปทานทั้งหมดจะเป็นของ กทม. รวมกับค่าโดยสารจากส่วนต่อขยายที่ได้รับอยู่เดิม จะทำให้ กทม. มีรายรับจำนวนมากซึ่งจะมีรายได้เหลือจากจ่ายค่าจ้างเดินรถอีกอย่างน้อยปีละ 3,000 ล้านบาทตั้งแต่ปีที่ 18 ไปจนถึงครบสัญญาในปีที่ 30 คิดเป็นรายได้ที่ กทม.จะได้รับตลอดสัญญาที่ 1.1 แสนล้านบาท
ส่วนเรื่องการทำผิดต่อการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐนั้นก็ไม่ได้กังวลเช่นกัน เพราะ กทม. จ้างเคทีเป็นกรณีพิเศษได้ตามข้อบัญญัติ กทม. และการว่าจ้างก็ใช้งบประมาณน้อยเมื่อเทียบกับการจ้างของหน่วยงานอื่น หรือหาก กทม.ต้องจ้างโดยตรงก็ต้องเป็นภาระงบประมาณในการเพิ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ส่วนการที่เคทีจ้างบีทีเอสโดยไม่เปิดโอกาสให้บริษัทฯ อื่นเข้าแข่งขันนั้น ก็เป็นเรื่องที่ได้เจรจาโดยได้ค่าจ้างในอัตราที่ต่ำกว่าการประเมินของหน่วยงานกลางที่เชื่อถือได้อย่าง สบน.หรือเอดีบี รวมทั้งบีทีเอสยังได้สิทธิตามสัญญาที่ กทม. จะต้องเจรจากับบริษัทฯ เป็นรายแรก ดังนั้นถ้าเห็นว่าตรงไหนไม่ถูกต้องอยากจะฟ้องก็ฟ้องได้เลย ตนไม่กังวล”
งานนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า กทม.มัดตราสัง รถไฟฟ้า บีทีเอส เพื่อผูกปมให้ใหญ่ขึ้น ยากที่รัฐบาลจะเจรจาซื้อคืนไปได้โดยง่าย เสมือนเป็นเกราะป้องกันทางอ้อมให้ บริษัทบีทีเอสซี วางแนวทางให้ได้อยู่บริหารกิจการไปอีกยาวนานในสภาวะที่กิจการรถไฟฟ้าสายนี้ มีแต่ขาขึ้นไปเรื่อย ๆ
ไม่มีคำว่าลง เพราะเป็นเส้นทางทำเลทองสายเศรษฐกิจที่เป็นหัวใจของกรุงเทพฯ ที่เชื่อมต่อทั้งเหนือใต้ออกตก ทำให้ฟากรัฐบาลมองเห็นถึงปัญหานี้ เพราะในความเป็นจริงนโยบายเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายของรัฐบาลดูแล้วจะเกิดขึ้นยากมากในเร็ววันนี้ เพราะลำพัง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่รัฐบาลดูแลอยู่ สายเดียวยังเก็บ 20 บาทไม่ได้เลย จะควบรวมทุกสาย ต้องใช้เงินอุดหนุนมหาศาล ย่อมเป็นเรื่องยาก อาจเป็นประเด็นให้พรรคเพื่อไทย ใช้ประเด็นการเซ็นสัญญาครั้งนี้เป็นข้ออ้างว่าทำให้โครงการเก็บค่าโดยสาร 20 บาท เกิดขึ้นช้าทำให้การเดินทางของประชาชนมีราคาแพง ย้อนเกล็ดประชาธิปัตย์ ก็เป็นได้ แถมเรื่องการเอื้อประโยชน์ให้บีทีเอสเข้าไปอีก ยิ่งไปกันใหญ่
เรื่องนี้หากตัดประเด็นข้อครหาต่าง ๆ ออกไป อาจมองว่า พรรคประชาธิปัตย์ หวังยึดหัวหาดพ่อเมือง กทม. ไปอีกยาวเนื่องจากมั่นใจในฐานที่มั่น จึงคิดว่า รถไฟฟ้ายังเป็นตัวเรียกคะแนนเสียง เพราะไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลยุคไหนหรือการหาเสียงของพรรคการเมืองใดก็ต้องหยิบยกขึ้นมาเป็นเรื่องหลักในการหาเสียงกับชาวบ้าน การให้รัฐบาลดึงรถไฟฟ้าบีทีอสไปควบรวมกับเส้นทางรถไฟฟ้าตามแผนที่จะเกิดอีก 10 กว่าสาย ที่ รฟม. ดูแลอยู่โดยง่าย ย่อมเป็นจุดอ่อนมิใช่น้อย
หากวันนี้รัฐบาลและผู้บริหารกทม.มาจากพรรคเดียวกัน เรื่องจะลงเอยเช่นที่เป็นอยู่ขณะนี้หรือไม่ ใครที่อ้างว่าทำเพื่อประชาชน จริงหรือ??.
พัชรินทร์ ธรรมรส
พรรคเพื่อไทย ทั้งโกรธและแค้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เซ็นสัญญาจ้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นเวลานานถึง 30 ปี
เพราะทำให้แผนการชุบมือเปิบฮุบรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเป็นของ กทม. พังไปโดยปริยาย อย่างน้อยที่สุดก็ต้องรอไปจนกว่าสัญญาจะหมดอายุในปี 2585
สมมติว่าพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งหน้า หรือครั้งต่อๆ ไปในอนาคต แล้วต้องการเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกสัญญา ก็ใช่ว่าจะทำได้โดยพลการ เพราะ กทม. โดยบริษัท กรุงเทพธนาคม ได้สัญญาว่าจ้างบีทีเอสให้เป็นผู้เดินรถแล้ว
จะใช้เสียงข้างมากลากไป แก้กฎหมายเพื่อโอนรถไฟฟ้าไปเป็นของรัฐบาลก็คงไม่ง่ายเหมือนแก้รัฐธรรมนูญ หรือเขียนกฎหมายใหม่เพื่อล้างความผิดของ นช.ทักษิณ ชินวัตร
สัญญาระหว่างกรุงเทพธนาคม และบีทีเอสซี ซึ่งมีการลงนามไปเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา ต้องถือว่ เป็นแผนเหนือเมฆ ที่พรรคเพื่อไทยคาดไม่ถึงว่า กทม.จะใช้วิธีนี้รักษารถไฟฟ้าให้พ้นจากเงื้อมมือของรัฐบาลไปได้ มารู้ตัวเอาก็ต่อเมื่อการเซ็นสัญญาปรากฏเป็นข่าวไปแล้ว
พรรคเพื่อไทยทำได้มากที่สุดแค่ตีปี๊บ คือให้ทีมโฆษกพรรคออกมาให้ข่าวสร้างกระแสว่าสัญญาว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส ระหว่างกรุงเทพธนาคม กับบีทีเอส ผิด พ.ร.บ.ร่วมทุน และใช้ให้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รับลูกไปตั้งทีมสอบสวน ข่มขู่ รังควาน สร้างความรำคาญให้แก่บริษัท กรุงเทพธนาคม และบีทีเอสซี ต่อไป
รถไฟฟ้ากรุงเทพมหานคร หรือรถไฟฟ้าบีทีเอสนั้น เป็นเป้าหมายที่พรคเพื่อไทยไทยต้องการยึดมาเป็นของรัฐบาล ตั้งแต่ครั้งยังเป็นพรรคไทยรักไทย สมัยรัฐบาลทักษิณ นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหารบีทีเอสซี ยืนยันเองว่าเคยถูกนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตอนนั้น เรียกเข้าไปคุยเรื่องนี้ โดยมี นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ รฟม.ในขณะนั้นอยู่ด้วย นายประภัสร์ถามนายคีรีว่าจะขายไหม นายคีรีตอบว่าไม่ขาย
รัฐบาลทักษิณยังจับส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า ช่วงสะพานตากสินถึงวงเวียนใหญ่ เป็นตัวประกัน ไม่ยอมอนุมัติงบประมาณให้ กทม. เพื่อลงทุนวางราง และก่อสร้างสถานี ทั้งๆ ที่ตัวโครงสร้างก่อสร้างเสร็จนานแล้ว เพราะต้องการเจรจาซื้อหุ้นบีทีเอสให้เสร็จก่อน จน กทม.ในยุคที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการฯ ตัดสินใจลงทุนเองจนสามารถเปิดให้บริการได้ และกำลังจะให้บริการในเส้นทางที่ต่อไปจนถึงบางหว้า เพชรเกษม ในขณะที่ส่วนต่อขยายจากอ่อนนุชไปถึงแบริ่ง ก็ให้บริการมาหลายเดือนแล้ว ทำให้คนกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยมีการเดินทางที่สะดวกสบายขึ้นกว่าเดิมมาก
เมื่อรัฐบาลนายกฯ นกแก้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นมาบริหารประเทศ นโยบายลำดับต้นๆ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรงคมนาคมทั้งคนก่อน คือ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณฑัต และคนปัจจุบันคือ จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ประกาศอย่างเปิดเผยคือ จะต้องโอนรถไฟฟ้าของ กทม.มาให้กระทรวงคมนาคม หรือ รฟม.ดูแล เพื่อให้นโยบาย ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสายที่พรรคหาเสียงไว้เป็นจริง
พรรคเพื่อไทยหวังจะใช้โครงข่ายรถไฟฟ้าบีทีเอสมาปิดบังความล้มเหลว และความหลอกลวง ของนโยบายรถไฟฟ้า 10 สาย ค่าโดยสาร 20 บาท ตลอดสายที่หาเสียงไว้ เพราะเวลาผ่านไป 8-9 เดือนแล้วนับตั้งแต่เข้ามาเป็นรัฐบาล ความคืบหน้าของนโยบายนี้มีแต่เรื่องการล้มประมูลรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต การเปลี่ยนแบบ แก้แบบ ขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งเป็นช่วงต่อจากรถไฟบีทีเอส จากหมอชิตถึงสะพานใหม่ ที่พรรคภูมิใจไทยไปขโมยจาก กทม.มาให้ รฟม.ทำในสมัยรัฐบาลที่แล้ว สายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ และบางซื่อ-ท่าพระ ที่มีการก่อสร้างโครงสร้างแล้ว แต่การวางระบบราง การหาผู้มาเดินรถยังไม่มีความคืบหน้าเลย
โครงการเดียวที่เริ่มลงมือสร้างได้ในรัฐบาลนี้ คือ ช่วงต่อจากแบริ่ง ไปสมุทรปราการ ก็เป็นเพราะว่ามีการเปิดประมูลและเซ็นสัญญาก่อสร้างงานโยธา ในช่วงรอยต่อระหว่างรัฐบาลอภิสิทธิ์กับรัฐบาลนี้
อีก 9 สายที่เหลือที่หาเสียงไว้คงไม่แคล้วเป็นเรื่อง “แหกตา” เหมือนนโยบายอื่นๆ ของรัฐบาลนี้
รถไฟฟ้าของ กทม. ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่บีทีเอส เป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง และรับสัมปทานจาก กทม. คือ สายหมอชิต-อ่อนนุช และสายสนามกีฬา-สะพานตากสิน กับส่วนต่อขยาย คือ ช่วงสะพานตากสิน วงเวียนใหญ่ และช่วงอ่อนนุช แบริ่ง ที่ กทม.เป็นผู้ลงลงทุนก่อสร้าง และจ้างบีทีเอสบริหาร จึงเป็นเป้าหมายที่พรรคเพื่อไทยต้องการฮุบมาเป็นของรัฐบาล เพื่อปกปิดความล้มเหลวในนโยบายรถไฟฟ้า 10 สายของพรรคที่หาเสียงไว้
จะว่าเป็นโชคดีของคน กทม.ก็ได้ ที่ กทม.เซ็นสัญญาว่าจ้างบีทีเอสให้บริหารรถไฟฟ้าทุกเส้นทางไปเลย จนถึง ปี 2585 ปิดทางไม่ให้พรรคเพื่อไทยมาฮุบไป เหมือนตลาดนัดจตุจักร
วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
เรื่องขำขันขององค์ในหลวง
เรื่องขำขันขององค์ในหลวง
ระยะแรกราวปี พ.ศ.2498 เป็นต้นมา
คราใดที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชวังไกลกังวลนั้น
จะทรงขับรถยนต์พระที่นั่งไปยังท้องที่ห่างไกลทุรกันดารย่านหัวหิน หนองพลับแก่งกระจาน ด้วยพระองค์เอง
ทำนองเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ห้า
โดยที่ราษฎรไม่รู้ตัวล่วงหน้าว่าทรงมาถึงแล้ว
วันหนึ่งทรงขับรถยนต์พระที่นั่งผ่านไปถึงยังบริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่งย่านหมู่บ้านห้วยมงคล อำเภอหัวหิน
ซึ่งราษฎรกำลังช่วยกันตบแต่งประดับซุ้มรับเสด็จกันอย่างสนุกสนานครื้นเครง
และไม่คาดคิดว่าเป็นรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์
ต้องให้ในหลวงเสด็จฯก่อนแล้วพรุ่งนี้ถึงจะลอดผ่านซุ้มได้..
วันนี้ห้ามลอดผ่านซุ้มนี้ เพราะขอให้ในหลวงผ่านก่อนนะ..
ทรงขับรถพระที่นั่งเบี่ยงข้างทางไม่ลอดซุ้มดังกล่าว
วัน รุ่งขึ้นเมื่อทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรใน หมู่บ้านนี้อย่างเป็นทางการพร้อมคณะข้าราชบริพารผู้ติดตามและทรงมีพระดำรัส ทักทายกับชายผู้นั้นที่เฝ้าอยู่หน้าซุ้มเมื่อวันวานว่า
”วันนี้ฉันเป็นในหลวง..คงผ่านซุ้มนี้ได้แล้วนะ.."
+++
อีกครั้งหนึ่งที่ภาคอีสาน
เมื่อ เสด็จขึ้นไปทรงเยี่ยมบนบ้านของราษฎรผู้หนึ่งที่คณะผู้ตามเสด็จทั้งหลายออก แปลกใจในการกราบบังคมทูลที่คล่องแคล่วและใช้ราชาศัพท์ได้อย่างน่าฉงน
เมื่อในหลวงมีพระราชปฏิสันถารถึงการใช้ราชาศัพท์ได้ดีนี้ จึงมีคำกราบทูลว่า
”ข้าพระพุทธเจ้าเป็นโต้โผลิเกเก่า บัดนี้มีอายุมากจึงเลิกรามาทำนาทำสวน พระพุทธเจ้าข้า.."
มาถึงตอนสำคัญที่ทรงพบนกในกรงที่เลี้ยงไว้ที่ชานเรือน ก็ทรงตรัสถามว่า เป็นนกอะไรและมีกี่ตัว..
พ่อ ลิเกเก่ากราบบังคมทูลว่า "มีทั้งหมดสามตัว พระมเหสีมันบินหนีไป ทิ้งพระโอรสไว้สองตัว ตัวหนึ่งที่ยังเล็ก ตรัสอ้อแอ้อยู่เลย และทิ้งให้พระบิดาเลี้ยงดูแต่ผู้เดียว"
เรื่องนี้ ดร.สุเมธเล่าว่าเป็นที่ต้องสะกดกลั้นหัวเราะกันทั้งคณะไม่ยกเว้นแม้ในหลวง
+++
มีเรื่องนึงเคยฟังจากผู้ใหญ่เล่าเมื่อนานมาแล้ว
มีช่างไปทำฝ้าเพดานในวัง คนนึงกำลังยืนบนบันได ส่วนหัวอยู่ใต้ฝ้า
อีกคนคอยจับบันไดอยู่ด้านล่าง พอดีในหลวงเสด็จมา
คนที่อยู่ข้างล่างเห็นในหลวงก็ก้มลงกราบ คนอยู่ด้านบนไม่เห็น ก็บอกว่า “เฮ้ย จับดีๆ หน่อยสิ อย่าให้แกว่ง”
ในหลวง ทรงจับบันไดให้ เค้าก็บอกว่า “เออ ดีๆ เสร็จงานนี้จะให้เป็นช่างจริง” (สงสัยคงจะเพิ่งเข้ามาทำงานยังไม่ผ่านโปร) พอเสร็จก็ก้าวลง พอเห็นว่าในหลวงเป็นคนจับบันไดให้
ถึงกับเข่าอ่อน จะตกบันได รีบลงมาก้มกราบ
ในหลวงทรงตรัสกับช่างว่า “แหม ดีนะที่ชมว่าใช้ได้ แถมจะปรับตำแหน่งให้เป็นช่างอีกด้วย"
+++
เมื่อครั้งท่านพระชนม์มายุ 72 พรรษา มีการผลิตเหรียญที่ระลึกออกมาหลายรุ่น
เจ้าของกิจการนาฬิกายี่ห้อหนึ่งได้ยื่นเรื่องขออนุญาตนำพระบรมฉายาลักษณ์ของท่านมาประดับที่หน้าปัดนาฬิกาเป็นรุ่นพิเศษ
ท่านทราบเรื่องแล้วตรัสกับเจ้าหน้าที่ว่า "ไปบอกเค้านะ เราไม่ใช่มิกกี้เมาส์"
+++
เรื่อง การใช้ราชาศัพท์กับในหลวง ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ใครต่อใครเกร็งกันทั้งแผ่นดิน เพราะเรียนมาตั้งแต่เล็กแต่ไม่เคยได้ใช้เมื่อออกงานใหญ่จึงตื่นเต้นประหม่า ซึ่งเป็นธรรมดาของคนทั่วไป
และไม่เว้นแม้กระทั่งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายรายงาน หรือกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทในพระราชานุกิจต่างๆนานัปการ
ท่าน ผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ เคยเล่าให้ฟังว่า ด้วยพระบุญญาธิการและพระบารมีในพระองค์นั้นมีมากล้นจนบางคนถึงกับไม่อาจ ระงับอาการกิริยาประหม่ายามกราบบังคมทูล จึงมีผิดพลาดเสมอ แม้จะซักซ้อมมาอย่างดีก็ตาม
ครั้งหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน มีข้าราชการระดับสูงผู้หนึ่งกราบบังคมทูลรายงานว่า
”ขอ เดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า พลตรีภูมิพลอดุลยเดช ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกราบบังคมทูลรายงาน ฯลฯ"
เมื่อคำกราบบังคมทูล ในหลวงทรงแย้มพระสรวลอย่างมีพระอารมณ์ดีและไม่ถือสาว่า "เออ ดี เราชื่อเดียวกัน..."
ข่าวว่าวันนั้นผู้เข้าเฝ้าต้องซ่อนหัวเราะขำขันกันทั้งศาลาดุสิดาลัยเพราะผู้รายงานตื่นเต้นจนจำชื่อตนเองไม่ได้
+++
เรา มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับท่านให้เพื่อนๆ ฟังตั้งหลายเรื่อง วันนี้เริ่มเรื่องนี้ก่อนแล้วกันนะ เรื่องมีอยู่ว่า เหตุการณ์เมื่อปี 2513 วันนั้นท่านทรงเสด็จไปหมู่บ้านท้ายดอยจอมหด พร้าว เชียงใหม่ ผู้ใหญ่บ้านลีซอกราบทูลชวนให้ไปแอ่วบ้านเฮา ท่านก็ทรงเสด็จ ตามเขาเข้าไปบ้านซึ่งทำด้วยไม้ไผ่และมุงหญ้าแห้ง เขาเอาที่นอนมาปูสำหรับประทับ แล้วรินเหล้าทำเองใส่ถ้วยที่ไม่ค่อยจะได้ล้างจนมีคราบดำๆ จับ ทางผู้ติดตามรู้สึกเป็นห่วง เพราะปกติไม่ทรงใช้ถ้วยมีคราบ จึงกระซิบทูลว่าควรจะทรงทำท่าเสวย แล้วส่งถ้วยมาพระราชทานผู้ติดตามจัดการเอง แต่ท่านก็ทรงดวดเอง กร้อบเดียวเกลี้ยง ตอนหลังทรงรับสั่งว่า "ไม่เป็นไร แอลกอฮอล์เข้มข้นเชื้อโรคตายหมด" ซึ้งไหมหล่ะ
+++
เคยมีคน เล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งพ่อหลวงทรงเสด็จไปทีตลาดสด ทรงแวะไปเสวยก๋วยเตี๋ยว แม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยว เห็นก็สงสัย จึงทูลถามท่านว่า
"ทำไมหน้า เหมือนในหลวงจัง?"
ท่านไม่ตอบอะไรได้แต่ยิ้มๆ ทรงจ่ายเงินค่าก๋วยเตี๋ยวแล้วตรัสชมว่าก๋วยเตี๋ยวอร่อย ส่วนแม่ค้ามารู้ที่หลังว่าเป็นท่านก็ได้แต่ปลื้ม
+++
มี อยู่ครั้งหนึ่ง ทรงเสด็จไปพระราชทานปริญญาบัตรให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในระหว่างที่ทรงเปลี่ยนในครุย ทรงสูงมวนพระโอสถ แต่ว่าทรงหาที่จุดไม่ได้ ทางอธิการบดีซึ่งเฝ้าอยู่ก็จุดไฟให้พร้อมทูลว่า "ถวายพระเพลิงพระเจ้าข้า" ในหลวงทรงชะงัก ก่อนจะแย้มสรวลน้อยๆกับอธิการบดีว่า "เรายังไม่ตาย ถวายพระเพลิงไม่ได้หรอก"
+++
เคยมีเรื่องเล่าให้ฟังว่า ในหลวงเสด็จไปในถิ่นทุรกันดารเพื่อเยี่ยมเยียนราษฎร มีอยู่ครั้งหนึ่งพระองค์ท่านทรงแจกพระเครื่องให้กับราษฎรจนหมดแล้ว ราษฎรผู้หนึ่งจึงกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานพระเครื่องว่า "ขอเดชะ ขอพระหนึ่งองค์"
ในหลวงทรงตรัสว่า "ขอเดชะ พระหมดแล้ว"
+++
>วันหนึ่งพระองค์ท่านเสด็จเยี่ยมเยียนพสกนิกรของท่านตามปกติที่ต่างจังหวัด
>ก็มีชาวบ้านมาต้อนรับในหลวงมากมายพระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาตามลาดพระบาท
>ที่แถวหน้าก็มีหญิงชราแก่คนหนึ่งได้ก้มลงกราบแทบพระบาทแล้วก็เอามือของแกมาจับ
>พระหัตถ์ของในหลวง แล้วก็พูดว่ายายดีใจเหลือเกินที่ได้เจอในหลวง
>แล้วก็พูดว่ายายอย่างโน้น ยายอย่างนี้ อีกตั้งมากมายแต่ในหลวงก็ทรงเฉย ๆ
>มิได้ตรัสรับสั่งตอบว่ากระไร แต่พวกข้าราชบริภารก็มองหน้ากันใหญ่
>กลัวว่าพระองค์จะทรงพอพระราชหฤหัย หรือไม่
>แต่พอพวกเราได้ยินพระองค์รับสั่งตอบว่ากับหญิงชราคนนั้น
>ก็ทำให้เราถึงกับกลั้นหัวเราะไว้ไม่ไหวเพราะ พระองค์ทรงตรัสว่า
>"เรียกว่ายายได้อย่างไร อายุอ่อนกว่าแม่ฉันตั้งเยอะ ต้องเรียกน้าซิ
>ถึงจะถูก"
--------------------
>พระองค์ท่านเสด็จไปที่จังหวัดสกลนคร เพื่อเยี่ยมเยียนชาวบ้าน
>และพระองค์ก็ทรงตรัสถามชายคนหนึ่งที่มาเข้าเฝ้าเพราะแขนเจ็บเข้าเฝือก
>ในหลวงทรงรับสั่งถามว่า "แขนเจ็บไปโดนอะไรมา "
>ชายคนนั้นตอบว่า "ตกสะพาน"
>แล้วในหลวงทรงรับสั่งกลับไปอีกว่า " แล้วแขนอีกข้างหนึ่งละ "
>ชายคนนั้นก็ตอบกลับมาอีกว่า "
>แขนข้างนี้ไม่ได้ตกลงไปด้วยตกข้างเดียว"
>ในหลวงของเราก็ทรงพระสรวล
----------------------------
>พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรที่ ทางภาคใต้
> คือจังหวัดนราธิวาส ทางใต้นี้มีปัญหาเรื่องดินเป็นกรดมีความเค็ม
>พระองค์จึงทรงรับสั่งถามกับชาวบ้าน ที่มาเฝ้ารับเสด็จว่า
>"ดินหลังบ้านเป็นอย่างไร เค็มไหม " ชาวบ้านก็มองหน้ากันแล้วทำหน้างง
>ก่อนตอบกลับมาว่า " ไม่เคยชิมซักที "
>ในหลวงก็รับทรงสั่งกับข้าราชบริภารที่ตามเสด็จว่า
>"ชาวบ้านแถวนี้เขามีอารมณ์ขันกันดีนะ "
>ครั้งหนึ่งหลายๆ ปีมาแล้ว
>พระเจ้าอยู่หัวทรงประชวรนิดหน่อยเกี่ยวกับพระฉวีมีพระอาการคัน
>มีหมอโรคผิวหนังคณะหนึ่งไปเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายการรักษา
>คุณหมอเป็นผู้วชาญทางโรคผิวหนังแต่ไม่ได้วชาญทางราชาศัพท์
>ก็กราบบังคมทูลว่า "เอ้อ - ทรง... อ้า-
>ทรงพระคันมานานแล้วหรือยังพะยะค่ะ"
>พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระสรวล ตรัสว่า "ฉันไม่ใช่ผู้หญิงนี่
>จะท้องได้ยังไง"
>แล้วคงจะทรงพระกรุณาว่าหมอคงจะไม่รู้ราชาศัพท์ทางด้านอวัยวะร่างกายจริงๆ
>ก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตว่า - เอ้าพูดภาษาอังกฤษกันเถอะ-
>เป็นอันว่าก็กราบบังคมทูลซักพระอาการกันเป็นภาษาอังกฤษไป
+++
มี เรื่องอีกเรื่องหนึ่งค่ะ เกิดขึ้นที่ อ.พร้าว บ้านดิฉันเอง พระองค์ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรเผ่าลีซอ พอจะเสด็จกลับ ผู้เฒ่าคนหนึ่งยื่นถุงห่อข้าวให้ท่าน เกรงว่าท่านจะหิวขณะเดินทาง เป็นน้ำพริกตาแดง กับข้าวเหนียวหนึ่งห่อ พร้อมกับบอกในหลวงว่า "หมู่บ้านเฮามันไกล กว่าเฮาจะเดินเข้าเมืองได้ใช้เวลาหลายวัน กลัวว่าท่านจะหิวกลางทาง" ปลื้มไหมคะ เรื่องนี้พ่อเล่าให้ฟัง แต่พ่อไม่ได้เป็นลีซอนะคะ เป็นเพื่อนเฉย ๆ ค่ะ
+++
เช้า วันหนึ่ง เวลาประมาณ 7 โมงเช้า นางสนองพระโอฐ(เขียนไม่ค่อยถูกนะ) ของฟ้าหญิงองค์เล็ก ได้รับโทรศัพท์เป็นเสียงผู้ชาย ขอพูดสายกับฟ้าหญิง ทางนางสนองพระโอฐก็สอบถามว่าใครจะพูดสายด้วย ก้อมีเสียงตอบกลับมาว่า คนที่แบงค์ นางสนองพระโอฐก้อ งง ...งง ว่าคนที่แบงค์ทำไมโทรมาแต่เช้า แบงค์ก้อยังไม่เปิดนี่หว่า พอฟ้าหญิงรับโทรศัพท์แล้วถึงได้รู้ว่า คนที่แบงค์น่ะ ที่แบงค์จริงๆนะ ไม่เชื่อเปิดกระเป๋าตังค์ แล้วหยิบแบงค์มาดูสิ อิ อิ ขนลุกเลย
+++
เรื่องนี้รุ่นพี่ ที่จุฬาฯเล่าให้ฟังว่า มีอยู่ปีนึงที่ในหลวงทรงเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร อธิการบดีอ่านรายชื่อบัณฑิตแล้วบังเอิญว่ามีเหตุขัดข้องบางประการ ทำให้อ่านขาดตอน ก็ต้องรีบหาว่าอ่านรายชื่อไปถึงไหนแล้ว ปรากฏว่าในหลวงท่านทรงจำได้ ท่านเลยตรัสกับอธิการไปว่าเมื่อกี้นี้ (ชื่อ....) เค้ารับไปแล้ว และมีอีกปีนึงขณะที่พระราชทานปริญญาบัตรอยู่ดีๆ ไฟดับไปชั่วขณะ ทำให้บัณฑิตคนหนึ่งพลาดโอกาสครั้งสำคัญในการถ่ายรูป พอในหลวงทรงพระราชทานปริญญาบัตรเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะให้พระบรมราโชวาท ท่านทรงให้อธิการบดีเรียกบัณฑิตคนนั้นมารับพระราชทานอีกครั้งเพื่อจะได้มี รูปไว้เป็นที่ระลึก ตื้นตันกันถ้วนทั่วทั้งหอประชุม
+++
ครั้งหนึ่ง พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
ทางทะเล ระหว่างทางผ่านเกาะช้าง ทรงถาม
ข้ราชการท้องถิ่นคนหนึ่งว่า
"เกาะนั้นชื่ออะไร"
ข้าราชการทูลตอบว่า
"เกาะนั้นทรงพระนามว่า เกาะช้าพะย่ะคะ"
ตรัสว่า "ถ้างั้นก็เป็นญาติกับฉันน่ะสิ"
(ถ้างงก็กลับไปอ่านอีกรอบ)
สมัยก่อนเมื่อทรงเรือใบไปทางทะเล
แต่ละครั้งเป็นเวลานานๆ ก็มีผู้อยากรู้ว่า
ทางทำอะไรระหว่างเสด็จอยู่กลางทะเล
ตรัสว่า "ฟังลิเกวิทยุ"
พระเจ้าอยู่หัวของเรานั้นถือได้ว่าทรงใช้วิทยุ
มากที่สุดพระองค์หนึ่ง และทรงมีรหัสส่วนพระองค์
ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ใช้วิทยุจะทราบดี วันหนึ่งก็เกิดเรื่องนี้ขึ้น
ตำรวจนายหนึ่งโอดครวญมาตามเสียงวิทยุว่า
เข้าเวรกลางคืนไม่มีอะไรกิน หิว โโยไม่ทราบว่าผู้อยู่
ปลายสายคือใคร หลังจากนั้นไม่นาน หลังจากปลายสาย
รู้ที่มาของต้นสายแล้ว จึงวิทยุไปยังหน่วยบัญชาการตำรวจว่า
"ขอตู้เย็น 1 เครื่องให้ตำวรจที่... เอาไว้เก็บอาหารไว้กิน"
เมื่อครั้งหนึ่ง มีเหตุการณ์นำ้ท่วมแรง
พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงตรัสถามทางโทรพิมพ์
ถึงตี 1 ตี 2ถามเรื่องยๆจนเจ้าหน้าที่ปลายทางทูลบ่น
เมื่อตี 3 ว่า
"ไม่รู้จักหลับจักนอนหรือไง"
แต่ก็ไม่ลืมบอกว่า
"น้ำลดแล้ว"
เมื่อครั้งหนึ่ง กรมศิลปากรไม่มีครูที่จะประกอบพิธีไหว้ครู
เพราะเนื่องจากไม่มีการมอบหมายหน้าที่เอาไว้
ในที่สุดเพื่อแก้ปัญหานี้ ต้องไปทูลเชิญพระเจ้าอยู่หัว
ในฐานะว่าทรงเป็นเสมือนสมตุิเทพ ต้องให้ทรงเป้น
ผู้มอบหมาย เมื่อความทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว
รับสั่งว่า "จะให้เป็นครูใหญ่ใช่ไหม"
พระเจ้าอยู่หัวของเรานั้นทรงได้ัรบปริญญาบัตรมากมาย
ครั้งหนึ่งเมื่อมีการถวายปริญญาทางดิน ตรัสว่า
"ตอนนี้เราเป็นหมอดินแล้ว"
ไม่นานก็มีการถวายปริญญาทางดนตรีอีก ตรัสอีกว่า
"ในตอนนี้เราเป็นหมอลำ"
เมื่อสมัยก่อนเสด็จแปรพระราชฐานไปยังหัวหิน
มักจะเสด็จออกไปยังตลาดหัวหินบ่อยครั้ง
และบางครั้งโโยลำพังพระองค์ มีครั้งหนึ่ระหว่างจะ
เสด็จกลับ ซาเล้งที่ตลาดูลถามว่า "ไปไหมเสี่ย"
ปรากฎว่าเสี่ยพระองค์นี้สนพระทัยก็ตรัสจ้างไปยัง
พระราชวังไกลกังวล โโยที่ซาเล้งคนนั้นไม่รู้ นึกว่าเป็น
ข้าราชการ แต่พอถึงหน้าพระราชวัง ทหารสั่ง
วันทยาวุธ เท่านั้นแหละ ซาเล็งถึงร้ว่า เสี่ยที่มาส่งน่ะเป็นใคร
นอกจากนี้ยังโปรดจะเสด็จพระดำเนินระยะไกลตามชายทะเลจาหน้าพระราชวังอีกด้วย และเสด็จกลับมาใน
ตนอเย็นๆ เมื่อเสด็จกลับถึงปรากฏวา ทหารนั้นไม่ให้พระองค์เข้า
"ไม่ได้ครับ ไม่มีบัตรผ่านเข้าไม่ได้" ทหารทูล
"ขอโทษที ฉันไม่มีบัตร แต่เอาเป็นว่าตอนนี้
เธอมีธนบัตรไหม"ทรง ตรัสตอบ
ทหารว่า มีครับ ทำไมหรือ ก็ตรัสว่า
"นั่นแหละบัตรของฉัน"
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพร้อมด้วย
สมเด็จพระเทพฯ ไปทอดพระเนตรกิจการตาม
พระราชดำริ ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับข้าวกล้องอยู่ด้วย
พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า "ข้าวกล้องนี้ดี เรากินข้าวกล้องทุกวัน" สมเด็จพระเทพฯเห็นว่า น่าสนใจแต่นักข่าว
ไม่สนใจเท่าไรจึงตรัสว่า "น่าสนใจนะ น่าจะเก็บไว้"
ก็เลยมีการทูลขอให้ทรงตรัสอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสมเด็จพระ
เทพฯก็ทรงช่วยเหลือ และนำมาซึ่คำตอบที่ไม่คิดว่าจะได้
"ข้ากล้องนี้ดี มีประโยชน์ คนอื่นเขาว่าเป็นข้าวของคนจน
เรากินข้าวกล้องทุกวัน เรานี่แหละคนจน"
"ฑีฆายุโก โหตุ ปรมิทรมหาราชา"
เครดิต : http://www.pocketonline.net/board/view.php?id=911
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
▼
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)