วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555
“อมร จันทรสมบูรณ์” ฉะนักกฎหมายไทยนั่งดูละครการเมือง ลืมหน้าที่ตนเอง
ผู้เชี่ยวชาญ กม.มหาชน ค้านข้อเสนอลบล้างผลพวงการปฏิวัติ ชี้เป็นการช่วยเหลือผู้กระทำผิด ตอก ส.พระปกเกล้า บอกไม่ชัดให้ล้มการตรวจสอบ คตส.เพราะอะไร
วันที่ 4 เมษายน ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน ปาฐกถา เรื่อง "ผลไม้มีพิษ มาจากต้นไม้ที่มีพิษจริงหรือไม่" ในงานเสวนาวิชาการ ครั้งที่ 2 "การปรองดองvs.การปฏิรูปประเทศไทย" ของกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารบุญชนะ อัตถากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า การที่นักการเมืองบางพรรค มีความต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 โดยอ้างว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการปฏิวัติ รัฐประหาร ไม่ใช่วิธีการที่เป็นประชาธิปไตย
"การให้นำรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 กลับมาใช้บังคับ ขณะที่กลุ่มอาจารย์กฎหมายจากคณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง แสดงความเห็นในทางเดียวกันว่า รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ไม่เป็นประชาธิปไตย และมาจากการปฏิวัติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ในปี 2549 และชักชวนให้คนไทยช่วยกันล้มล้าง ผลพวงทั้งหลายที่มาจากการปฏิวัติ รัฐประหารทั้งหมดนั้นเปรียบเสมือนความคิดที่ว่า "ผลไม้มีพิษ มาจากต้นไม้ที่มีพิษ"
ศ.ดร.อมร กล่าวต่อว่า ในส่วนการแถลงข่าวผลการวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า เรื่อง การสร้างความปรองดองแห่งชาติ ในส่วนข้อเสนอให้มีการนิรโทษกรรม และให้เพิกถอนผลทางกฎหมาย ที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ทั้งหมด แล้วดำเนินการใหม่ตามกระบวนการยุติธรรมปกตินั้น สถาบันพระปกเกล้านำเสนอโดยไม่ได้กล่าวถึงเหตุผล
"สถาบันพระปกเกล้าไม่ได้ชี้แจงเหตุผลว่า เพราะเหตุใด จึงเสนอให้มีการล้มล้างผลทางกฎหมายที่ดำเนินการโดย คตส.ทั้งหมด อีกทั้งไม่ได้บอกว่า การล้มล้างผลทางกฎหมายดังกล่าว เป็นเพราะ คตส.เป็นองค์กรที่แต่งตั้งหรือมาจากผู้กระทำการปฏิวัติ รัฐประหาร อีกทั้ง การดำเนินคดีในศาลยุติธรรมจากผลการสอบสวนและตรวจสอบโดย คตส.ได้ทำให้ประชาชนทั่วไปขาดความเชื่อถือ เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และขั้นตอนใดของ คตส." ศ.ดร.อมร กล่าว และว่า เช่นเดียวกับที่นักการเมืองอาวุโสบางท่าน แนะนำให้เลิกแล้วต่อกัน ซึ่งเป็นการนิรโทษกรรมแบบบูรณาการ ด้วยเห็นว่าเผด็จการรัฐประหาร เป็นต้นเหตุของความผิดทั้งสิ้น
"ผมไม่สามารถเห็นด้วยกับคำกล่าวที่เปรียบเทียบว่า การปฏิวัติ รัฐประหาร เสมือนต้นไม่ที่มีพิษ และออกลูกเป็นผลที่มีพิษ เพราะเป็นคำกล่าวที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจาก "คน" ไม่ใช่ "ต้นไม้" หน้าที่ของนักกฎหมาย หรือนักวิชาการที่มีต่อสังคม คือ ให้ความจริงต่อสังคม ทั้งนี้ การปฏิวัติ รัฐประหารเป็นการกระทำของคน ที่ไม่ใช่ต้นไม้ ซึ่งจะเกิดผลอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้กระทำ ว่าเป็นคนดีหรือไม่ดี ซึ่งหากเป็นคนดี การกระทำดังกล่าวก็จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ดังนั้น การลบล้างผลพวงจากการปฏิวัติจึงเป็นการช่วยเหลือผู้ที่กระทำผิด"
ศ.ดร.อมร กล่าวอีกว่า แม้ว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี 2550 เป็นผลงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญปี 2549 แต่ก็ยังปรากฏว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับดังกล่าวยังคงใช้ "ระบบสถาบันการเมือง" ที่เป็นระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้การบริหารประเทศเสื่อมทรามลง และเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่น อันเป็นสาเหตุของการปฏิวัติ
"รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 กับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 มีความเหมือนกัน คือ เป็นฉบับที่บัญญัติให้พรรคการเมืองนายทุน เป็นสถาบันการเมืองที่มีอำนาจสูงสุดของประเทศ มีอำนาจควบคุมทั้งรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร กำหนดตัวบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งข้าราชการประจำ กำหนดเสียงข้างมากในการลงมติสภาฯ กำหนดการเสนอกฎหมาย แต่สิ่งที่แปลกของประเทศไทย คือ อาจารย์กฎหมายและนักวิชาการของไทย "มองไม่เห็น" อำนาจของพรรคการเมืองนายทุน" ศ.ดร.อมร กล่าว และว่า อาจารย์และนักกฎหมายกลุ่มดังกล่าว มองดูการบริหารประเทศของเราเหมือนกับ กำลังดู "ละคร" บนเวที ซึ่งก็ยอมรับและสนุกสนานไปกับบทละคร โดยลืมหน้าที่ของตนเอง ที่ต้องบอกให้คนไทยเห็นความจริง
"ความจริงที่ว่า คือ ละครบนเวทีนั้น มี "ผู้กำกับการแสดง" อยู่เบื้องหลัง และเป็นผู้กำหนดบทให้แก่นายกรัฐมนตรี รัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนฯ ซึ่งผู้กำกับการแสดงที่อยู่เบื้องหลังละครทางการเมืองนี้ ก็คือนายทุนเจ้าของพรรคการเมืองที่จ่ายค่าจ้างและแบ่งผลประโยชน์ให้บรรดาตัวละครที่แสดงให้เราดูอยู่บนเวที"
ศ.ดร.อมร กล่าวถึงปัญหาการเมืองของประเทศไทยว่า เป็นปัญหาของระบบสถาบันการเมืองที่เกิดมาจาก "ระบบเด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบที่รัฐสภา" ประเทศเดียวในโลก ที่ไม่ใช่ปัญหาจากการเผด็จการโดยการปฏิวัติ รัฐประหาร ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่ "ไม่มีอนาคต" ถ้าไม่ยกเลิก "ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน"
ในส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อการปฏิรูปการเมือง ศ.ดร.อมร กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องที่สมาชิกสภาจะมาถกเถียงกันว่าจำนวนสมาชิก ของ ส.ส.ร.จะมีจำนวน 99 คน หรือ 200 คน หรือเป็นเรื่องที่จะมาตั้งปัญหาถามกันว่า การเลือกสมาชิก ส.ส.ร.ดูต้องตราเป็นพระราชบัญญัติหรือไม่ สำหรับการเลือกตั้งกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็น ส.ส.ร.ได้ เหมือนกับการเลือกตั้งทั่วไป แต่ประเทศไทยคงไม่มีนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งที่เหมือนกับประธานาธิบดี Woodrow Wlson ของสหรัฐอเมริกา
"มองๆ ไปก็เห็นแต่คนธรรมดา ที่สนใจการแต่งตัว และชอบการร้องเพลง ประเทศไทยคงไม่มี statesman ซึ่งผมไม่ขอแปลว่ารัฐบุรุษ แต่จะหมายถึงผู้ที่มีความรู้ เสียสละและที่สำคัญ ต้องเป็นผู้บังเอิญมีอำนาจหรือบุญบารมีพอที่จะทำการปฏิรูปการเมืองให้คนไทย หากยังทำเช่นที่กล่าวไม่ได้ ประเทศไทยอย่าเพิ่งไปคิดถึงการแก้ปัญหาใน 4 จังหวัดภาคใต้ หรือปัญหาการเสียดินแดนให้กับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะหากยังแก้ระบบการบริหารประเทศของตัวเราเองไม่ได้ ก็คงแก้ปัญหาภายนอกไม่ได้"
ดร.พิชาย ฉะสมยอมให้โจรนำเรือไปปล้นประเทศ
ขณะที่รศ.ดร.พิชาย กล่าวว่า อาจจะมีความจริงที่ถูกซ้อนเร้นในท่าทีดังกล่าว ซึ่งตนรู้สึกผิดหวังในท่าทีของสถาบันพระปกเกล้าที่ยืนยันรายงานฉบับดังกล่าว และไม่กล้าประกาศจุดยืนถอนรายงาน
"ทำไมไร้เดียงสา ถึงขั้นที่ไม่รู้ว่า รัฐบาลจะไม่กระทำการอย่างที่ท่านได้นำเสนอ ทั้งที่ก็มีสัญญาณเตือนอยู่ก่อนแล้วว่ารายงานฉบับดังกล่าวได้หลุดมือจากสถาบันพระปกเกล้าไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งบ่งชัดว่า รัฐบาลจะนำผลการศึกษาไปเป็นบันไดในการนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแรก คือ การนิรโทษกรรม" รศ.ดร.พิชาย กล่าว และว่า อาจเป็นไปได้ว่าสถาบันฯ รับมาทำการวิจัย เนื่องจากเกรงใจ เพราะรู้จักกัน แต่ไม่แยกแยะความสัมพันธ์ส่วนตัวกับปัญหาบ้านเมือง นี่เป็นปมปัญหาหลักของนักวิชาการไทย
รศ.ดร.พิชาย กล่าวต่อว่า แม้ว่า ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้พยายามแก้ตัวว่า ในงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้พูดถึงเรื่องคอร์รัปชั่นอยู่ แต่ในบทสรุปสำหรับผู้บริหารกลับไม่พูดถึงเรื่องคอร์รัปชั่นเลย อีกทั้ง มีการวิเคราะห์ปัญหาแบบใช้ภาษาที่เกรงอกเกรงใจ ข้อเสนอฉบับนี้จึงไม่ได้แก้ปัญหาที่สาเหตุ วิเคราะห์ไม่ครบถ้วน และเป็นการเมืองของสิ่งที่ไม่ปรากฏ มองแต่พื้นผิว ไม่ตั้งคำถามว่าอะไรที่ยังไม่ปรากฏ
"4 ข้อเสนอระยะสั้นและ 2 ข้อเสนอระยะยาว ในบทสรุปผู้บริหาร ไม่ได้ระบุชัดว่าจะต้องทำข้อใดก่อน เป็นการเสนอรวมๆ ไป ส่วนข้อเสนอนิรโทษกรรม เพิกถอนงานของ คตส.กลับไปใช้กระบวนการยุติธรรมปกติ หรือสร้างกติกาใหม่ ก็ล้วนไม่ได้ตอบโจทย์ที่ตัวเองวิเคราะห์ สิ่งที่เสนอเป็นความรู้สึกกว่า 50% ของการนำเสนอ ไม่ได้เสนอภายใต้ข้อเสนอที่เป็นกลาง มีการชี้นำ ควรจะเสนอการพูดคุยในเรื่องที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง ฉะนั้น ข้อเสนอนิรโทษกรรม หรือยกเลิก คตส.จึงมีความโน้มเอียงชัดเจนว่าทางสถาบันฯ เห็นใจทักษิณ และเสื้อแดง"
รศ.ดร.พิชาย กล่าวย้ำว่า ข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า จะไม่นำไปสู่การปรองดอง แต่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง แตกแยกในรอบใหม่ เมื่อทราบดังนี้แล้ว หากยังไว้วางใจรัฐสภาที่นำโดยพรรคเพื่อไทยว่าจะไม่ใช่รายงานของตน ก็ถือว่าใช้ไม่ได้ เป็นการสมยอมให้โจรนำเรือที่ตนเองสร้างไว้ ไปปล้นประเทศไทย ตอนนี้อย่ารอ ต้องประกาศถอนผลให้ชัด เพื่อไม่ให้ถูกใช้เป็นเครื่องมืออีก
งานวิจัยทั้งขัดแย้งและตัดตอน ลงไม่ถึงรากเหง้า
ด้านนายจุมพล กล่าวว่า รายงานของสถาบันฯ เป็นการนำเสนอความขัดแย้งแบบตัดตอน ไม่ชี้ชัดถึงรากเหง้าของความขัดแย้งว่าปมดังกล่าว เกิดจากนักการเมืองหรือผลประโยชน์ของประเทศชาติ แตะเพียงรายละเอียดบางประเด็น ทั้งนี้ การจะปรองดองหรือปฏิรูปประเทศไทยจะต้องทำทั้งประเทศ ไม่ใช่บางส่วนหรือบางกลุ่ม ซึ่งทำไมได้อย่างแน่นอน
แทน ราศนา
ศจ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ให้ความกระจ่างอย่างที่สุดถึงสถานะการณ์การเมืองประเทศไทย จากการจัดเสวนาของกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์แบบฟันธงว่า ปัญหาของประเทศไทยทุกวันนี้อยู่ที่ “ความไม่มีมาตรฐานของบรรดาอาจารย์ทางกฎหมายและรัฐศาสตร์”
ท่านกล่าวว่า “การ จะรู้ว่าคุณภาพนักกฎหมายให้อ่านจากความที่ควรปรากฏแต่ไม่ปรากฏ ..และ..ต้องดูสิ่งที่นักกฎหมายเหล่านั้นควรเขียนแต่ไม่ได้เขียน แล้วต้องตั้งคำถามว่า..ทำไมพวกเขาไม่เขียนสิ่งที่ควรเขียน”
ประโยค หลังนี้จำเพาะเจาะจงไปที่ผลการวิจัยปรองดองของสถาบันพระปกเกล้าฯที่มีความ เคลือบแคลงจากสังคมว่าจะนำไปเพื่อรับใช้ทุนเผด็จการโดยตรง
ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวงกฎหมายที่มีลูกศิษย์ลูกหาเต็มบ้านเต็มเมือง เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ท่านเดียวก็ว่าได้ที่กล้าประกาศว่า
“เผด็จการทหารนั้นสิ้นสุดยุคของมันไปแล้วตั้งแต่ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕”
และที่ดำเนินมาตลอดช่วงครึ่งหลังของประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้นเป็น “เผด็จการโดยทุน” ไม่ใช่ “ระบอบประชาธิปไตย”แบบที่คนบางกลุ่มเพรียกหาอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ท่านกล่าวว่า นอกจากประชาชนไทยยังไม่ได้รับรู้แล้ว ก็ยังถูกหลอกถึงสองด้าน โดยยกตัวอย่างว่า ภาวะเช่นนี้เคยเกิดขึ้นกับประชาธิปไตยแบบอเมริกาตั้งแต่เมื่อร้อยปีเศษมา แล้ว นั่นคือราว ค.ศ. ๑๘๕๐ เป็นต้นมา เรียกได้ว่าเป็นยุค “คลั่งประชาธิปไตย”(คำ ของผู้เขียน)ของอเมริกันชน จนกระทั่งนักการเมือง ผู้มีอิทธิพลทั้งทางเศรษฐกิจการเงินคอร์รัปชั่นกันอย่างมโหฬารติดต่อยืด เยื้อกันยาวนานถึง ๓๐ ปี ประธานาธิบดีเจมส์ การ์ฟิลด์ ถูกลอบสังหารเพราะความคิดที่จะปราบปรามคอร์รัปชั่นในปี ค.ศ.๑๘๘๑
ท้ายที่สุด สหรัฐอเมริกาก็นำตัวเองออกจากยุคของการ “คลั่งประชาธิปไตย”หรือ “ยุคของเผด็จการโดยทุน”มา ได้ โดยอาศัย STATESMAN ซึ่งท่านไม่เรียกว่า “รัฐบุรุษ” ในที่นี้จะขอเรียกง่ายๆว่าเป็น “บุรุษแห่งรัฐ” บุรษแห่งรัฐของอเมริกาที่มาจากการเลือกตั้งชื่อวูดโรว์ วินสัน ประธานาธิบดีคนที่ ๒๘ ซึ่งบัญชรนี้ได้เคยนำวาทกรรมของท่านมานำเสนอและเป็นบางตอนของหน้งสือวิกฤติ ที่ไม่บอกกล่าว( THE UNTOLD CRISIS) ฝรั่งเศสแตกต่างออกไปเพราะ STATESMAN ที่ลุกขึ้นมากอบกู้ประชาธิปไตยจากทุนเผด็จการนั้น ชื่อ ชาร์ล เดอ โกล มาจากการทำรัฐประหาร ส่วนเยอรมันในยุคเดียวกันประชาชนลุ่มหลงกับคำว่าประชาธิปไตยจนประเทศล่มสลาย ในที่สุด
ประเทศอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่ประเทศ หนึ่งถูกควบคุมโดยระบบเครดิต การพัฒนาและการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจทั้งหมดของประเทศนี้ถูกควบคุมอยู่ในมือ ของคนส่วนน้อยอย่างสิ้นเชิง พวกเราได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองอันสุดจะเลอะเทอะ คือ-ตกอยู่ในการควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จที่สุดในโลก รัฐบาลไม่มีความเห็นที่เป็นอิสระได้อีก ไม่มีอำนาจในการออกกฎหมายได้อีกไม่เหมือนกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของ ประชาชนส่วนใหญ่ แต่เป็นรัฐบาลที่อยู่ภายใต้ความเห็นและแรงบีบของคนที่มีอำนาจควบคุมจำนวน น้อยนิดเหล่านั้น ผู้คนในอุตสาหกรรมในการค้าขายจำนวนมากของประเทศนี้ล้วนเกรงกลัวบางสิ่งบาง อย่าง เขารู้ว่าอำนาจที่มองไม่เห็นชนิดนี้มีการจัดตั้งกันขนาดไหน ลี้ลับขนาดไหน ไปได้ทุกที่ขนาดไหน รวมหัวกันขนาดไหน เบ็ดเสร็จทุกๆด้านขนาดไหน กระทั่งพวกเขาไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์อำนาจชนิดนี้อย่างเปิดเผย
วูดโรว์ วินสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ ๒๘
นี่หมายความว่า การพัฒนาประชาธิปไตย ความเข้าใจความหมายของประชาธิปไตยของคนในประเทศเรากำลังเดินย้ำซ้ำรอยเดิม ของประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อหนึ่งร้อยปีเศษที่ผ่านมา เป็นประชาธิปไตยที่ถูกควบคุมโดยอิทธิพลของทุนที่เต็มไปด้วยความฉ้อฉล ซึ่งไม่เคยมีคณาจารย์ทางกฎหมายและรัฐศาสตร์คนใดให้ความกระจ่างกับเรามาก่อนหน้านี้
ข้อเสนอของท่านเป็นข้อนำเสนอสองข้อเล็กๆจาก ปัญหาใหญ่ที่หมักหมมมานมนานในระบบการเมืองและพรรคการเมืองของประเทศไทย แต่หากได้รับปฏิบัติจริงก็จะส่งผลสะเทือนที่ใหญ่หลวงได้ นั่นก็คือหนึ่ง- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นอิสระได้โดยไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง และสอง- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยจิตสำนึกของการเป็น ตัวแทนปวงชนโดยปราศจากการควบคุมหรือการชี้นำจากผู้ใด
เชื่อ ว่าข้อเสนอด้งกล่าวจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขของระบบการเมืองแบบ ปัจจุบัน โดยเฉพาะในยุคของเผด็จการทุนนิยมที่เข้าครอบงำการเมืองไทยอย่างเบ็ดเสร็จไป แล้วตามที่ ศจ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ท่านได้แบ่งยุคเอาไว้
สำหรับ บัญชรความคิดตรงนี้ ยังใคร่ตอกย้ำภาพที่หลอกหลอนของประชาธิปไตยแบบนายทุนเอาไว้ด้วยว่า นอกจากระบอบการเมืองจะมีเอาไว้เพื่อรับใช้ทุนเผด็จการแล้ว มันยังได้กลายเป็นค่ายกลที่มีวังวนอันซับซ้อนสามารถลากจูงพลังฝ่ายที่ ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมเข้าไปติดกับอย่างถอนตัวไม่ขึ้น ในขณะที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกำลังถูกจัดสรรกันอย่างคึกโครมในยุคเรือง อำนาจของทุน.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น