บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แยกส่วนนิติราษฎร์เพื่อเป้าหมายใหม่

: ขยายปมร้อน โดยสมถวิล เทพสวัสดิ์


จับตาปฏิกิริยากลุ่มก้อนซีกรัฐบาลทั้งจาก "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี "ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง" รองนายกรัฐมนตรี "ส.ส.เพื่อไทย" และ "แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง" ที่ขอให้ "กลุ่มนิติราษฎร์" หยุดการเคลื่อนไหวแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าด้วยเรื่องปกป้องคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ต้องการแสดงให้เห็นการแยกส่วนเคลื่อนไหวฝ่ายกลุ่มก้อนของรัฐบาลกับ "กลุ่มนิติราษฎร์" คนละส่วนกัน

นั่นเพราะมองออกว่าสังคมเริ่มมีปฏิกิริยาด้านลบต่อการเคลื่อนไหวของ "กลุ่มนิติราษฎร์" และอาจกลายเป็นชนวนทำให้เกิดการเมืองนอกระบบขึ้นได้

นอกจากจะแสดงอาการ "ไม่เอา" แนวคิดของกลุ่มนิติราษฎร์ ในประเด็นเคลื่อนไหวเรื่องมาตรา 112 แล้ว รัฐบาลและกลุ่มก้อนของพรรคเพื่อไทย ยังประสานเสียงกับ "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ผู้บัญชาการทหารบก ที่ออกมาปรามการเคลื่อนไหวของ "กลุ่มนิติราษฎร์" ด้วยเสียงปรามมีความถี่มากขึ้นกว่าเดิม

โดยมี "ผู้นำเหล่าทัพ" ทยอยออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 ด้วยเช่นกัน

เมื่อฝ่ายการเมืองประสานเสียง "ไม่เอา" แนวคิดการแก้ไข มาตรา 112 โอกาสการเดินหน้าของ "กลุ่มนิติราษฎร์" ในประเด็นนี้แทบมองไม่เห็นแนวทางในการขับเคลื่อนต่อ

เพราะท้ายที่สุดการแก้ไขกฎหมายก็เป็นหน้าที่ของ "ฝ่ายนิติบัญญัติ" เมื่อเสนอมาแต่ "ส.ส." ไม่ขานรับ โอกาสแก้ไขก็เป็นไปได้ยาก

ขณะที่แนวคิดของ "นิติราษฎร์" เกี่ยวกับการแก้ไขมาตรา 112 เริ่มจะริบหรี่ลง แต่ "ฝ่ายการเมือง" พรรคเพื่อไทย ก็มีภารกิจใหม่ในการเคลื่อนไหวที่มีความคืบหน้ามากขึ้น คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550

ล่าสุด "คณะกรรมการประสานงาน" (วิป) รัฐบาล ได้มีมติเห็นชอบตามที่ "พรรคเพื่อไทย" มีมติดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เข้ามายกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำนวน 99 คน โดยจะยื่นเสนอต่อประธานรัฐสภาได้วันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้

หากดูจากรายละเอียดมติ "วิปรัฐบาล" เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่งมีเนื้อหารวม 5 มาตรา ส่วนใหญ่เป็นการแจกแจงรายละเอียดถึงที่มาของ ส.ส.ร. ที่จะเข้ามาทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ รวมทั้งหมด 99 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนจังหวัดละ 1 คน และอีก 22 คน ให้ที่ประชุมรัฐสภาเป็นผู้คัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา

แต่มติดังกล่าวไม่ได้มีการพูดถึงประเด็นปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ที่เป็นสาเหตุให้ต้องมีการแก้ไข และเมื่อแก้ไขแล้วประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ และขอบเขตในการแก้ไขมีแค่ไหนเพียงใด จะใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดเป็น "ต้นร่าง"

ขณะเดียวกันก็มีภาคประชาชน เช่น "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ" (นปช.) เตรียมยื่นรายชื่อประชาชนที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ต่อประธานรัฐสภาในวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ด้วยเช่นกัน

โดย "วรวุฒิ วิชัยดิษฐ" รักษาการโฆษก นปช. ยืนยันว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับมาตรา 112 แม้ว่าจะมี "คนเสื้อแดง" บางกลุ่มไปร่วมสนับสนุน ก็ถือว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคล

ส่วนความเคลื่อนไหวของ "วิปฝ่ายค้าน" ก็มีความเป็นห่วงเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมีวาระซ่อนเร้นล้างความผิดให้บุคคลเพียงคนเดียว, ห่วงว่า ส.ส.ร.ทั้ง 99 คน จะเป็นร่างทรงของรัฐบาล และกังวลการแก้ไขจะไปแตะหมวดที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์, ยกเลิกองค์กรอิสระ, แก้ไขมาตรา 309 หรือมาตรา 102 ที่กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับสมัครเลือกตั้งเป็น ส.ส.

เมื่อกระแสสังคมเริ่มไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของ "กลุ่มนิติราษฎร์" การชงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ถูกจุดพลุขึ้นมาแทนที่ โดยยังไม่มีรายละเอียดประเด็นที่จะแก้ไขให้ชัดเจน

ความกังวลของสังคมก็จะเบนเข็มมาที่สาระของการแก้ไขรัฐธรรมนูญแทน โดยเฉพาะในหมวดที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หมวดศาล และองค์กรอิสระ

โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องไปเกี่ยวโยงกับอำนาจตุลาการที่สังคมยังฝากความหวังไว้ได้ เนื่องจากขณะนี้ 2 อำนาจในการปกครองประเทศคือ "นิติบัญญัติกับบริหาร" ถูกมองว่าเป็นคนกลุ่มก้อนเดียวกันไปแล้ว เพราะพรรคการเมืองของไทยในขณะนี้ถูกมองว่าเป็นของบุคคลไม่ใช่ของประชาชน จะเห็นได้จากการขับเคลื่อนของพรรคจะถูกกำหนดโดยตัวบุคคล

จึงเหลือเพียง "อำนาจตุลาการ" เท่านั้นที่ยังเป็นที่พึ่งของสังคมได้

การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้นอกจากจะต้องจับตามองเรื่องการแก้ไขในหมวดที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ยังจะต้องจับตามองว่าจะมีการแก้ไขในประเด็นใดบ้างที่เข้าไปเชื่อมโยงเกี่ยวกับฝ่ายตุลาการ เพราะระบอบประชาธิปไตยอุปถัมภ์แบบไทยๆ บางครั้งก็เป็นจุดอ่อนที่อาจก่อให้เกิดประชาธิปไตยแบบเบ็ดเสร็จขึ้นได้

ดังนั้นจากนี้ไปต้องจับตาดูการขับเคลื่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญจะออกมาในรูปแบบใด จะเป็นประชาธิปไตยโดยเนื้อแท้ หรือเป็นเพียงแค่ "เสื้อคลุมประชาธิปไตย แต่ใต้เสื้อเป็นเผด็จการ"

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง