*เอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมไทย สายใยประเทศชาติ*
..
..
.. " มุมนี้..เห็นอะไร !? "
..
..
.. คำตอบ คือ.. เห็นการข่มขู่ท้าทายทำสงครามประชาชน
..
.. พวกมากลากไป พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วม
.. โหวตรับร่าง รธน. 3 ฉบับ เรียบร้อยไปแล้ว
..
..
.. กรณีจะเป็นการแก้ไข หรือยกเลิก หรือล้มล้าง รัฐธรรมนูญ 50
..
.. อภิปรายถกกันในสภาฯ หัวหางโผล่ให้เห็นจับได้ไล่ทันกันแล้ว
..
.. เช้านี้ขอนำเสนอในชื่อตอน..
..
..
* รับร่าง รธน. 3 ฉบับ - ล้มล้างอ้างแก้ไขจุดไฟกลียุค !
.. หมกเม็ดล้มสถาบันฯ สู่วิกฤติวันนองเลือด !? *
..
..
.. ดังบทความวิเคราะห์เกาะติดสถานการณ์
.. ตามข่าวคัดมาพอสังเขป 4 ข่าว ต่อไปนี้.-
..
..
........................................
..
‘เหลิม’เมาป่วนสภา !
พท.ตั้งวงเหล้าสิ้นสติยกก๊วน/ไม่รับปากป้องสถาบัน
..
ประชาธิปไตยข้างมากกินรวบ ไม่สนเสียงเรียกขอคำมั่นไม่แก้หมวดพระมหากษัตริย์ ถามม้าตอบช้าง "ดร.เหลิม" ก้มหน้าก้มตาท่องไม่เปลี่ยนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข "เขยซีพี." จุดพลุรื้อศาล น้ำเน่า ส.ส.แดงยังไม่หยุดเผาเมือง ขณะที่ ส.ว.ชี้ ม.291 ไม่ให้ล้มรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ให้แก้รายมาตรา จับตา "หลากสี" เตรียมยื่นถอดถอน "ส.ส.-ส.ว." ที่หนุนให้ฉีกรัฐธรรมนูญ 50 ทิ้ง
ที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มีการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นวันที่สอง บรรยากาศการอภิปรายในช่วงเช้า เป็นการสลับกันขึ้นอภิปรายระหว่าง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล, ส.ส.ฝ่ายค้านและ ส.ว. ซึ่งการอภิปรายของ ส.ส.ซีกฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์และ ส.ว. ต่างอภิปรายเห็นพ้องกันว่าควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเฉพาะมาตราที่มีปัญหาเท่า นั้น ไม่ควรยกเลิกทั้งฉบับแล้วมายกร่างฉบับใหม่ นอกจากนี้ ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ให้อำนาจรัฐสภาแค่เพียงการแก้ไขและเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่ได้ให้อำนาจในการยกเลิก รวมทั้งเป็นห่วงการได้มาซึ่ง ส.ส.ร.ว่าจะมีการเมืองเข้าไปแทรกแซง ครอบงำ และเขียน รธน.เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเอง
"เมื่อเลือกที่จะยกเลิก รธน. หรือฉีก รธน.ปี 50 ผมไม่เห็นด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่ใช่แค่การแก้ไข แต่เป็นการยกเลิก รธน. ดังนั้นผมอยากจะบอกความจริงอีกแง่หนึ่งว่าใน รธน.ปี 50 มาตรา 136 ได้กำหนดให้อำนาจรัฐสภาเพียงแค่การแก้ไข รธน. แต่ไม่ได้ให้อำนาจรัฐสภาในการยกเลิก รธน. ดังนั้นพวกเราจึงไม่มีอำนาจที่จะมาฉีก รธน.ฉบับนี้ทิ้ง” นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหาอภิปราย
ต่อมา นายอาคม เอ่งฉ้วน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า อยากพูดถึงร่างรัฐธรรมนูญที่มีนางธิดา ถาวรเศรษฐ แกนนำ นปช.เป็นตัวแทนเสนอร่าง ที่เมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อนพาคนเสื้อแดงมาที่สภาฯ และ ส.ส.ในสภาฯ วันนั้นถอดเสื้อสูทแล้วไปเปลี่ยนใส่เสื้อแดงนั่งร่วมแถลงข่าวกับนางธิดา ท่านไม่ต้องทำถึงขนาดนั้น เพราะเขารู้ว่า นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กับนางธิดาเป็นอะไรกัน ไหนรัฐบาลบอกจะอยู่ถึง 12 ปี แล้วจะรีบแก้ไปไหน ใครสั่งให้แก้ ใครสั่งให้รีบ ไหนบอกจะรอประชาชน
ส่วนการอภิปรายของ ส.ส.ซีกรัฐบาล เน้นให้รื้อองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยนายวัฒนา เมืองสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า รัฐธรรมนูญปี 50 ทำให้ดุลยภาพระหว่าง 3 อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยเสียไป อำนาจตุลาการไม่สามารถตรวจสอบได้ ถึงเวลาอันสมที่ควรต้องมีการแก้ไขเพื่อสร้างสมดุลทางดุลยภาพทั้งหมด
นายวัฒนากล่าวว่า ควรปรับปรุงศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เนื่องจากมีหลักการขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ที่กำหนดให้ผู้ถูกพิพากษามีสิทธิ์ได้รับการต่อสู้คดีในศาลที่สูงกว่า แต่นี่ไม่ใช่เพราะของเราเป็นระบบตัดสินแบบศาลเดียว
ต่อมา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า แม้รัฐบาลจะระบุว่าแก้มาตราเดียว แต่ก็มีผลต่อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่ตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมาแก้ไข เสมือนกับการฉีกรัฐธรรมนูญ แต่ครั้งนี้แทนที่จะเป็นการฉีกโดยคณะปฏิวัติ กลับเป็นการฉีกด้วยการลงมติในสภาฯ ซึ่งตั้งเรื่องโดยรัฐบาล โดยอาศัยมือของ ส.ส.ร.เขียนขึ้นมาใหม่
ง้างปากรัฐบาล
เขาอภิปรายว่า เหตุผลที่รัฐบาลอ้างขึ้นมาแก้ไขรัฐธรรมนูญคือที่มา ซึ่งระบุว่ามาจากต้นไม้พิษ ผลที่ออกมาก็ต้องเป็นพิษ โดยไม่ได้ดูเนื้อหา และที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยออกมาระบุให้ชัดเจนว่า มาตราไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานเพื่อประชาชน การที่ให้ ส.ส.ร.เป็นผู้ดำเนินการแก้ไขถือเป็นการเซ็นเช็คเปล่า เพราะหลังจาก ส.ส.ร.ร่างเสร็จแล้วต้องส่งต่อไปทำประชามติ รัฐสภาไม่มีสิทธิ์ตรวจสอบ เป็นการจงใจปิดกั้นการปฏิบัติหน้าที่ นอกจากนี้ การลงประชามติก็เป็นการมัดมือชกว่าจะให้ประชาชนรับหรือไม่รับเท่านั้น
นายจุรินทร์กล่าวว่า การตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมาแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 เพราะสถานการณ์ที่ต่างกัน สมัยแก้ปี 40 ตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมาท่ามกลางความเห็นพ้องของทุกฝ่าย มีเป้าหมายชัดเจนที่จะมาปฏิรูปการเมือง แต่ครั้งนี้เกิดจากความต้องการของฝ่ายเดียว คือรัฐบาลและผู้ร่วมขบวนการ ขณะที่สังคมกังวลว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งวิกฤติรอบใหม่ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่ากระบวนการแก้ไข รธน.ครั้งนี้มีวาระซ่อนเร้น แม้รัฐบาลจะออกมาปฏิเสธ แต่ตนก็มีสิทธิ์ไม่เชื่อ เพราะมีการให้สัมภาษณ์จากคนในรัฐบาลว่าหากได้รธน.ฉบับใหม่ คนพิเศษก็จะได้กลับมาอย่างสง่างาม
นายจุรินทร์กล่าวอีกว่า การแก้ไขครั้งนี้ไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าจะไม่แตะต้องสถาบันหลักของประเทศ ทั้งสถาบันกษัตริย์, องค์กรอิสระ ไปจนถึงศาลยุติธรรม ซึ่งที่ผ่านมาคณะทำงานด้านกฎหมายของพรรคเพื่อไทยคนหนึ่งเคยระบุว่าจะต้องยก เลิกองค์กรอิสระ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ, คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพราะมีจุดเริ่มต้นจากการรัฐประหาร 2549
"อยากให้รัฐบาลระบุเป็นเงื่อนไขให้ชัดเจนในการแก้ไขมาตรา 291 ว่าจะไม่แตะเรื่องสถาบันและองค์กรอิสระ ไม่เช่นนั้นขั้นตอนหลังจาก ส.ส.ร.ร่างเสร็จแล้ว ต้องนำกลับมาให้สภาฯ พิจารณาแก้ไขได้ก่อนจะมีการลงประชามติ หรือหากเลยไปถึงขั้นตอนของการลงประชามติแล้ว และพบว่ามีการกระทบกระเทือนในเรื่องเหล่านี้ รัฐบาลต้องรณรงค์ให้ประชาชนโหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวเพื่อให้ต้องตก ไป แล้วค่อยนำกลับมาให้รัฐสภาได้มีการแก้ไขใหม่” นายจุรินทร์กล่าว
จากนั้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ในฐานะตัวแทนของ ครม.ผู้เสนอร่างแก้ไข ยืนยันว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แน่นอน แต่พรรคเพื่อไทยเป็นประชาธิปไตย ถ้ามีสมาชิกคนใดไปลงชื่อแก้ไขก็เป็นเรื่องที่ห้ามไม่ได้ เวลานี้ชัดเจนว่าประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอมีความชัดเจนอยู่แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นั้น เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ ฝ่ายค้านไม่ควรผูกขาดความจงรักภักดีไว้เพียงฝ่ายเดียว นอกจากนี้ ในร่างยังกำหนดหลักประกันไว้ในมาตรา 291/11 ว่า หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดต่อระบอบประชาธิปไตย ให้รัฐสภามีอำนาจให้ร่างนั้นตกไปได้
เขาอ้างว่าเมื่อปี 2540 มีพรรคการเมืองอุบาทว์พรรคหนึ่งคอยขัดขวางกระบวนการตลอด ขัดขวาง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ไม่ให้ลงสมัคร ส.ส.ร.ที่เชียงใหม่ เพื่อไม่ให้เข้ามามีส่วนร่างรัฐธรรมนูญ 2540
นายสุเทพลุกขึ้นใช้สิทธิ์พาดพิงว่า ไม่ทราบว่าพรรคการเมืองอุบาทว์ที่พูดนั้นเป็นพรรคที่ ร.ต.อ.เฉลิมเคยสังกัดหรือไม่ แต่ยันยืนว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ทำการใดๆ ที่จะมาอ้างว่าเป็นการสกัดกั้นพ.ต.ท.ทักษิณเป็น ส.ส.ร.
ขณะที่นายฮอซาลี ม่าเหร็ม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ประท้วง ร.ต.อ.เฉลิมให้ถอนคำพูดคำว่าพรรคอุบาทว์ เพราะเป็นคำพูดที่ไม่ดีมาจากสมองที่อุบาทว์ ซึ่งทำให้ ร.ต.อ.เฉลิมชี้แจงว่า คำว่าอุบาทว์แปลว่าไม่ดี พรรคการเมืองอุบาทว์ก็คือพรรคการเมืองไม่ดี ทั้งนี้ตนยอมถอนคำพูดดังกล่าว
'เทือก-ตู่' เปิดศึก
การอภิปรายในช่วงเที่ยงบรรยากาศเริ่มดุเดือด เมื่อนายขจิตร ชัยนิคม ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ได้พูดพาดพิงการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปถึงเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อ พ.ค.53 ว่า รัฐบาลที่แล้วสั่งให้ทหารสลายการชุมนุมและไม่ยอมรับผิดชอบ
ทำให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ขอใช้สิทธิ์พาดพิงทันทีว่า ยืนยันว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และตนไม่ได้สั่งให้ทหารปราบปรามประชาชน แต่มีผู้ก่อความไม่สงบเอาอาวุธสงครามมาฆ่าประชาชน รัฐบาลจึงต้องดูแลบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อย ตนรับผิดชอบในสิ่งที่สั่งการไป และไม่ได้สั่งให้ทหารฆ่าประชาชน พร้อมพิสูจน์ความจริงทุกกรณี
แต่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นสวนกลับทันทีว่า ทุกศพที่ตายไม่มีใครอยู่ในกองไฟ ทุกศพตายในสภาพมือเปล่า การตายทั้งหมดเกิดขึ้นก่อนเผาเซ็นทรัลเวิลด์ พวกคุณฆ่าแล้วเผา ช่วงที่นายสุเทพเป็นรัฐบาลพยายามดึงคดีไว้ไม่ให้ชันสูตรศพเป็นเวลา 19 เดือน และกระสุนปืนที่ใช้ 1.2 แสนนัด นายสุเทพจะรับผิดชอบอย่างไร
นายสุเทพขอใช้สิทธิ์พาดพิงอีกครั้งว่า ไม่ได้ดึงคดีไม่ให้มีการชันสูตรศพ 19 เดือน และไม่เคยแทรกแซงคดีในกระบวนการยุติธรรม ที่บอกว่าพวกตนฆ่าแล้วเผาเป็นการใส่ร้าย คนที่ยิงทหารและประชาชนเป็นผู้ก่อการร้ายปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม มีวิดีโอยืนยันชัดเจน ส่วนคนเผาเซ็นทรัลเวิลด์เป็นคนกลุ่มเดียวกับผู้ก่อการร้ายและผู้ชุมนุม ขณะที่กระสุนปืน 1.2 แสนนัด ตนไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีกระสุนมากขนาดนี้
"วันนี้พวกเผาบ้านเมืองได้เป็นเสนาบดี เมื่อมีอำนาจแล้วจะทำอะไรก็เชิญ ผมพร้อมพิสูจน์ความจริง ไม่หนีไปต่างประเทศ ไม่ต้องการกฎหมายนิรโทษกรรม" เมื่อนายสุเทพพูดจบ นายจตุพรได้ลุกขึ้นมาพูดอีกครั้ง แต่นายสุเทพรีบประท้วง บรรยากาศเริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานในที่ประชุม สั่งพักการประชุม 10 นาที
จากนั้นการประชุมเริ่มอีกครั้ง นายจตุพรได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า เนื่องจากคดีสลายการชุมนุมอยู่ในกระบวนการยุติธรรมแล้ว จึงขอถอนการใช้สิทธิ์พาดพิง ทำให้การประชุมดำเนินต่อไปได้ตามปกติ
นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย (กลุ่มมัชฌิมา) อภิปรายเห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ สิ่งที่ต้องการให้มีการแก้ไขคือ องค์กรตุลาการที่ต้องมีการตรวจสอบได้ และลดอำนาจองค์กรอิสระ เพราะที่ผ่านมามีอำนาจชี้เป็นชี้ตายยุบพรรคการเมืองได้ ให้กลับมามีอำนาจอย่างพอเพียงและเกิดการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน
ส.ว.ชี้ ม.291 ไม่ให้ฉีก รธน.
มีการอภิปรายที่น่าสนใจของสมาชิกวุฒิสภา โดยนายวันชัย สอนศิริ ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า "ที่ ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวไว้ว่า หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจริง ใครจะเป็นจะตายหรือไม่ ผมก็อยากถามกลับว่า ถ้าไม่แก้ไขจะมีใครเดือดร้อนหรือไม่ ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร ประชาชน เดือดร้อนหรือไม่ ผมไม่เห็นว่า มีใครเดือดร้อน แต่ก็เห็นด้วยที่จะแก้ไข เพียงแต่ไม่เห็นด้วยต่อวิธีการแก้ไข”
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. อภิปรายว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เท่ากับเป็นการรื้อใหม่ทั้งฉบับ และเป็นการถ่ายโอนอำนาจให้แก่ ส.ส.ร.โดยสิ้นเชิง โดยไม่มีการกำหนดกรอบโครงร่างไว้อย่างไร ก็ไม่ต่างจากที่ผู้เปรียบเทียบไว้ว่าเป็นการเซ็นเช็คเปล่า อีกทั้งขอตั้งข้อสังเกตว่า การใช้เวลาเพียง 180 วันในการยกร่างนั้น น่าจะสามารถเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตยจานด่วน รวมไปถึงที่มาของ ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ไม่ต่างจากนักการเมือง ส.ส.หรือ ส.ว. ดังนั้นควรจะใช้สภาฯ เป็นผู้แก้ไขจะดีกว่า
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า ร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับไม่ได้มีข้อความใดบอกไว้เลยว่าให้คงบทบัญญัติในหมวด 1 และ 2 มาตรา 1-25 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งเหมือนกับ 2540 ทุกตัวอักษร และเหมือนโดยสาระสำคัญกับรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ ก่อนหน้าตั้งแต่หลังปี 2500 เป็นต้นมา แถมในมาตรา 291/11 วรรคสอง ยังระบุไว้อีกว่า "...สภาร่างรัฐธรรมนูญอาจนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งที่เห็นว่ามีความเป็น ประชาธิปไตยสูงมาเป็นต้นแบบในการยกร่างก็ได้” อะไรคือความหมายของคำว่า "ประชาธิปไตยสูง" พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว 27 มิถุนายน 2475 มีความเป็นประขาธิปไตยสูงหรือไม่ การไม่มีคณะองคมนตรีเหมือนก่อนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 เป็นประชาธิปไตยสูงหรือไม่
นายตวง อันทะไชย ส.ว. สรรหา อภิปรายว่า พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลดูข้อกฎหมายไม่ดีและรีบทำ ซึ่งขัดต่อหมวด 13 สิทธิพิทักษ์ รธน.มาตรา 68 เพราะห้ามให้ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้ได้อำนาจในการปกครองโดยมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ใน รธน.นี้ แต่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยเป็นการเสนอจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ไม่เป็นไปตามการแก้ไขมาตรา 291 ที่ให้สามารถแก้ไขได้ทีละมาตรา หรือจะแก้ทั้งหมดก็ต้องทำในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มิใช่ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 50 อย่างที่กำลังกระทำอยู่
"การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องทำตามมาตรา 291 ซึ่งเป็นการกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น ซึ่งผมเห็นว่าไม่สามารถกระทำได้ และเชื่อว่าในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ จะมีประชาชนไปร้องทุกข์ตามขั้นตอนดังกล่าว และนำมาซึ่งการยุบพรรคและตัดสิทธิ์การเมืองอีกรอบ"
นายอรรถวิทย์ สุวรรณภักดี ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า มีข่าวลือมีการล็อบบี้ ส.ว.เลือกตั้งว่าถ้ายกมือผ่าน สมัยหน้าเลือกตั้งต่อได้เลยไม่ต้องเว้นวรรค คำอภิปรายดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับ ส.ว.เลือกตั้งจากภาคเหนือหลายคนที่ต่างพากันประท้วง พร้อมกับขู่ว่าถ้าไม่ถอนก็ไม่จบ สุดท้ายนายอรรถวิทย์ก็ถอนไป
ยกมือหนุน รธน.เจอถอดถอน
นอกห้องประชุมรัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่ ร.ต.อ.เฉลิมยืนยันว่าในร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาล จะไม่มีการแก้ไขที่กระทบกับสถาบันนั้น ก็คงต้องไปเรียนกฎหมายเพิ่ม เพราะสิ่งที่ปรากฏในร่างก็ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแล้ว ความหมายคือว่า ถ้าใครจะมาร่างรัฐธรรมแล้วบอกไม่มีพระมหากษัตริย์คงไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า แก้ไขบทบัญญัติในหมวดพระมหากษัตริย์ไม่ได้ ที่ผ่านมาก็มีสมาชิกของพรรคได้อภิปรายชัดเจน เช่น ไปแก้มาตรา 8 เรื่องการละเมิดพระมหากษัตริย์ก็แก้ได้ ไม่ได้ถูกห้ามโดยร่างที่ปรากฏในปัจจุบัน ในอดีตเรื่องเหล่านี้จะไม่เป็นปัญหาเลย ถ้าไม่มีกลุ่มคนออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องแบบนี้ ซึ่งจะเป็นปมขัดแย้ง แต่วันนี้เมื่อมีก็ต้องป้องกัน
ถามว่าสุดท้ายแล้ว การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นความต้องการของฝ่ายการเมือง นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คำตอบของ นพ.เหวงก็ชัดเจนว่า เมื่อแก้รัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ พ.ต.ท.ทักษิณจะกลับมา กลายเป็นเอาเรื่องกฎหมายสูงสุดของประเทศมาทำเพื่อรองรับเป้าหมายของคนคน หนึ่ง และที่มีการกล่าวว่า ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยส่วนหนึ่งเปรียบเทียบว่า เลือกนายกฯ ไม่ได้เลือกกษัตริย์โดยตรงนั้น ตนมองว่าจะมีการเลือกตั้งผู้บริหารอะไร อย่างไร ต้องดูในระบบในภาพรวม อยากให้หลีกเหลี่ยงการพูดที่จะทำให้เกิดการกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน
"เราเองก็ไม่อยากทำให้เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญลุกลามหรือไม่พอใจ และเป็นโอกาสของรัฐบาลในชั้นนี้ ความจริงในวาระที่ 1 นายกรัฐมนตรีควรจะมายืนยันด้วยตัวเอง เช่น เรื่องการแปรญัตติว่าไม่ให้มีการแก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ ซึ่งหากพูดอย่างนี้ก็จะช่วยได้ระดับหนึ่ง” นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย ยืนยันว่าจะไม่แตะหมวดพระมหากษัตริย์ ใครก็ตามที่ลองไปแตะดูจะไม่มีแผ่นดินอยู่ และคิดว่าคนที่มาแตะไม่มีด้วย ยืนยันว่าไม่มี แต่ก็พยายามที่จะพูดใส่ร้ายป้ายสีกันมา มีมาตั้งแต่อดีต
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า เมื่อจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็อยากให้มีการเขียนระบุอำนาจของ กกต.ในการทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ให้ชัดเจน โดยเฉพาะหลักเกณฑ์เรื่องการเลือกตั้งล่วงหน้าและการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ว่าสมควรให้มีขึ้นเหมือนการเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่ เพราะกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากไม่เขียนระบุให้ชัดเจนอาจเกิดการโต้แย้งภายหลังได้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่ดำเนินการได้ง่ายๆ เนื่องจากมีประชากรจำนวนมาก ซึ่งหากดำเนินการไม่ชัดเจน คนที่ไม่เห็นด้วยอาจออกมาระบุได้ว่าการเลือกตั้ง ส.ส.ร.มิชอบ รวมทั้งอาจนำข้อบกพร่องดังกล่าวมาล้ม กกต.ก็เป็นได้ ดังนั้นจึงเห็นว่าเรื่องดังกล่าวนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก จึงต้องรอบคอบและชัดเจน
นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี เปิดเผยว่า หลังจากที่มีการลงมติรับร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ตนจะไปขอรายชื่อต่อรัฐสภา ว่ามีสมาชิกรัฐสภาคนใดบ้างที่ลงชื่อรับร่างมติแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 291 ที่ให้อำนาจสภาฯ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้วทั้ง 308 มาตรา แต่สมาชิกรัฐสภาดันโอนอำนาจดังกล่าวไปให้ส.ส.ร.ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ภายใน 1-2 สัปดาห์ หากตนได้รับรายชื่อสมาชิกรัฐสภาที่ลงมติรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ แล้ว จะรวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวน 20,000 รายชื่อ เพื่อไปยื่นถอดถอนสมาชิกรัฐสภาดังกล่าวต่อประธานวุฒิสภา.
..
..
..
ผ่าประเด็นร้อน
ดันทุรังแก้ รธน.เพื่อแม้ว
เมินชาติหายนะจุดไฟกลียุค (ผ่าประเด็นร้อน)
..
รัฐบาลทักษิณส่วนหน้าและพรรคเพื่อไทยถูกตั้งข้อสงสัยว่ากำลังโกหกหลอกลวง
ประชาชนว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ได้มีเป้าหมายแอบแฝงเพื่อ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ผู้เป็นนายใหญ่และไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประเทศครั้ง
ใหญ่อันจะเป็นการปูทางไปสู่ความเป็นรัฐไทยใหม่
เพราะหากเป้าหมายสำคัญสูงสุดในการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ได้มีเป้าหมาย
เพื่อ"นายใหญ่แม้ว"แล้ว
ทำไมพรรคเพื่อไทยถึงตั้งหน้าตั้งตามุ่งที่จะแก้รัฐธรรมนูญให้ได้แม้จะต้อง
แลกด้วยความหายนะของชาติบ้านเมือง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ก็ประกาศชัดเจนอยู่ทนโท่ไม่ใช่เหรอว่า จะพา พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศอย่างสง่างาม ซึ่งจะทำอย่างนั้นได้นั่นหมายความว่าต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญยกเลิกมาตรา 309 เพื่อให้คำสั่ง ประกาศหรือการการกระทำใดๆทั้งหมดจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 เป็นโฆฆะ ซึ่งเท่ากับเป็นการลบล้างโทษความผิดทั้งหมดให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ และทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ทรัพย์สิน 46,000 ล้านบาทที่ถูกยึดตกเป็นของแผ่นดินคืน การแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลทักษิณส่วนหน้าครั้งนี้ยังส่อเป้าหมายแอบแฝง มุ่งจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประเทศครั้งใหญ่ด้วยการลดอำนาจบทบาทหรือล้าง บางสถาบันหลักของชาติไม่ว่าจะเป็นสถาบันกองทัพ สถาบันศาล และองค์กรอิสระต่างๆที่เป็นก้างขวางคอการคุมอำนาจยึดครองประเทศอย่างเบ็ด เสร็จเด็ดขาดของระบอบทักษิณ นอกจากคำประกาศของ ร.ต.อ.เฉลิม ซึ่งเป็นใบเสร็จสะท้อนว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ส่อมีเป้าหมายแอบแฝง เพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ แล้ว ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลและของพรรคเพื่อไทยเองก็เผยไต๋เป้าหมายแอบ แฝงของการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไว้ค่อนข้างชัดเจนด้วยข้อความที่ว่า " การได้มาซึ่งองค์กรและบุคคลในองค์กรอิสระต่างๆตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันขาดการ เชื่อมโยงกับอำนาจของประชาชน ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ไม่มีระบบถ่วงดุลย์อำนาจในองค์กรตุลาการและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ " ซี่งส่อเจตนาชัดเจนว่ารัฐบาลและพรรคเพื่อไทยมุ่งที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อ เปลี่ยนแปลงอำนาจบทบาทของสถาบันศาลและองค์กรอิสระต่างๆ ส่วนการแก้ไขมาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การตั้ง ส.ส.ร.นั้งก็เป็นเพียงเล่ห์แบบศรีธนญชัย อาศัยคราบของ ส.ส.ร.ร่างทรงเป็นข้ออ้างสร้างความชอบธรรมในการรื้อรัฐธรรมนูญปัจจุบันใหม่ ทั้งฉบับแล้วยกร่างใหม่ตามพิมพ์เขียวที่ "นายใหญ่แม้ว" ต้องการ ก่อนที่พรรคร่วมรัฐบาลจะสุมหัวกันอาศัยพวกมากลากไปผ่านร่างรัฐธรรมนูญในขั้น ตอนสุดท้าย เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีเป้าหมายแอบแฝงเพื่อ "นายใหญ่แม้ว" รวมทั้งคิดการใหญ่ส่อรื้อโครงสร้างประเทศปูทางไปสู่รัฐไทยใหม่จึงทำให้พลัง ประชาชนที่รู้เท่าทันออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน จนมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่วิกฤติกลียุคมิคสัญญีจากการเผชิญหน้าระหว่างพลังมวล ชนสองฝ่าย คือฝ่ายที่ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ออกมาแสดงจุดยืนชัดเจนแล้วอาทิ กลุ่มเสื้อหลากสี กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่ม 50 สมาชิกวุฒิสภา(สว.)โดยมองว่าการตั้ง ส.ส.ร.เพื่อรื้อรัฐธรรมนูญปัจจุบันทั้งฉบับครั้งนี้ไม่ต่างอะไรจากการรัฐ ประหารยึดอำนาจประเทศด้วยการอาศัยคราบเผด็จการรัฐสภา การออกมาประกาศจุดยืนต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อแม้วครั้งนี้ถือเป็นการรวม ตัวกลุ่มพลังประชาชนครั้งใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่นัดหารือแกนนำทั่วประเทศใน วันที่ 10 มี.ค.นี้เพื่อกำหนดจังหวะก้าวแนวทางการออกมาชุมนุมใหญ่ โดยประกาศจะต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อแม้วให้ถึงที่สุด ขณะที่แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงทั้ง นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานกลุ่มเคนเสื้อแดง นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย และ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.พรรคเพื่อไทย ประกาศแข็งกร้าวพร้อมนำม็อบเสื้อแดงทำสงครามกับฝ่ายที่ต่อต้านการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญครั้งนี้ โดยจะมีการแสดงพลังครั้งใหญ่ของคนเสื้อแดงวันที่ 25 ก.พ.ที่โบนันซ่ารีสอร์ต เขาใหญ่ เพื่อข่มขวัญฝ่ายตรงข้าม ดร.คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฏหมาย(คปก.) ดูเหมือนมองเห็นแนวโน้มแห่งกลียุคมิคสัญญีที่จะเกิดขึ้น จึงส่งสัญญาณเตือนด้วยการทำหนังสือถึง นายสมศักดิ์ เกียรติ์สุรนนท์ ประธานรัฐสภา ก่อนหน้านี้ให้เลื่อนวาระการพิจารณาแก้ไขแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 ออกไปก่อนรวมทั้งรัฐบาลไม่ควรรวบรัดขั้นตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยควรเปิด โอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างโปร่งใสให้เป็น ที่ยอมรับและป้องกันความขัดแย้ง แต่สัญญาณเตือนของ ดร.คร.คณิต ถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงจากฝ่ายรัฐบาล ล่าสุด น.พ.ประเวศ วะสี ราษฏรอาวุโส ประเมินว่าความแตกแยกในชาติขณะนี้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่กลียุคครั้งใหญ่ จากการประเมินของนักวิเคราะห์ทางการเมืองเชื่อว่าวิกฤติรัฐธรรมนูญที่เกิด ขึ้นส่งสัญญาณอันตรายบ่งชี้แนวโน้มสถานการณ์จากนี้ไปที่เริ่มนับถอยหลังไป สู่วิกฤติกลียุคจากการดันทุรังเห็นแก่ตัวเพราะและเพื่อคนเพียงคนเดียวโดยไม่ คำนึงถึงวิบัติหายนะที่จะเกิดกับชาติบ้านเมือง |
|
วันที่ 24/2/2012 |
..
..
..
เลียบวิภาวดี
เผชิญหน้า (เลียบวิภาวดี)
..
การเมืองไทยที่หลายฝ่ายต่าง "โหมโรง" มาพักใหญ่ บัดนี้ได้เวลายกทัพเข้า "เผชิญหน้า" กันแล้ว หลายฝ่ายหรือหลายทัพที่ต่างกำหนดเส้นตาย "กูไม่ยอมมึง" นั้น ล้วนเกิดจาก "ยอมไม่ได้" ที่รัฐบาลคนเสื้อแดงต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบ "สับขาหลอก" โดยซ่อนเป้าหมายแก้ไว้สองประการ คือ 1. ฟอกขาวให้นายห้าง 2. กระชับอำนาจให้แก่เผด็จการสภาให้เข้มแข็งขึ้น หลายฝ่ายที่ออกมาประกาศ "กูไม่ยอมมึง" หรือต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบ "สับขาหลอก" เพราะเชื่อว่านี่คือ "การปฏิวัติเงียบของเผด็จการรัฐสภา" ประกอบไปด้วยกลุ่มคนเสื้อเหลือง กลุ่มคนเสื้อหลากสี กลุ่ม 50 สว. และกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ รวมถึง สส.ฝ่ายค้าน โดยบางกลุ่มเริ่มระดมมวลชนเพื่อออกมากดดันรัฐบาลคนเสื้อแดงให้ชะลอการแก้ไข รัฐธรรมนูญ "สับขาหลอก" ไว้ก่อน แต่แล้วบรรยากาศการเมืองก็ร้อนระอุขึ้นมาทันทีทันใด เมื่อพรรคร่วมรัฐบาลต่างยืนยันจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ได้ และแกนนำคนเสื้อแดงก็เริ่มระดมพลคนเสื้อแดงออกมาหนุนรัฐบาลซึ่งเท่ากับเป็น การ "เผชิญหน้า" ระหว่างกลุ่มคัดค้าน และกลุ่มสนับสนุน ดูจากทิศทางลม ทุกฝ่ายต่างก็ "แรง" และทุกฝ่ายต่างก็ไม่ยอมโยนผ้าขาวขึ้นเวทีแน่ ฝ่ายต่อต้าน "แรง" เพราะเห็นว่า นอกจากเป็นการ "สับขาหลอก" เพื่อช่วยนายห้างให้พ้นผิดทุกคดี การกระทำครั้งนี้ยังเท่ากับเป็นการ "ยึดอำนาจประเทศไทย" โดยใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือ ฝ่ายต่อต้านแจงต่อไปว่า ลำดับต่อไปคือการล้างบาง กกต. ล้างบาง ป.ป.ช. และควบคุมองค์กรอิสระให้อยู่ในโอวาท จากนั้นจะปรับอำนาจตุลาการให้อยู่ในอำนาจฝ่ายของสภา การแต่งตั้งตำแหน่งตุลาการระดับสูงจะต้องมาจากสภาเท่านั้น ซึ่งจะทำให้การพิจารณาคดีต่างๆ ทุกระดับชั้นการเมืองเข้าสอดแทรกได้ แล้วโอกาสที่ศาลจะมีคำพิพากษาลงโทษนักการเมืองที่คอร์รัปชั่นและอยู่ฝ่าย รัฐบาลแทบจะไม่เกิดขึ้น เท่ากับ "นิติรัฐ" ถูกเผด็จการรัฐสภาทำลายล้างโดยสิ้นเชิง ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลคนเสื้อแดงก็ยืนยันจะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ได้ โดยมีแกนนำคนเสื้อแดงพร้อมที่จะปลุกระดมคนเสื้อแดงมา "เผชิญหน้า" ผู้คัดค้าน ลงต่างฝ่ายต่าง "ไม่ถอย" ให้กันเช่นนี้ ทำนายได้เลยว่า "วันนองเลือด" จะมาเยือนประเทศไทยอีกครั้ง และเป็นครั้งที่จะมีคนตายมากมายเป็นพิเศษ |
|||||||||||||||||
ปูทางทักษิณยึดประเทศไทย เขียน รธน.ใหม่ "ฉบับยาพิษ"
.. การแก้ไขชำเรารัฐธรรมนูญ 2550 เดินหน้าไม่มียั้ง ตามปฏิทินการเมืองที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและรัฐบาลพรรคเพื่อไทย วางไว้ คือทุกอย่างห้ามรอช้า ให้รีบเร่งดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามแผนการเมืองที่วางไว้ นั่นคือ การออกกติกาภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากขึ้น- ปิดกั้นระบบตรวจสอบและกลไกที่จะมาทำลายล้างอำนาจรัฐบาลได้จากฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะองค์กรอิสระ-ศาล ขณะเดียวกันก็ต้องทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นอาวุธในการทำลายความ เข้มแข็งของฝ่ายปฏิปักษ์ที่จ้องเล่นงานรัฐบาลได้ทุกเมื่อ เช่นการยุบหรือรอนอำนาจของ ป.ป.ช.-วุฒิสภา-ศาลรัฐธรรมนูญ-ศาลปกครอง ส่วนประเด็นซ่อนเร้น ที่จะอยู่ในรัฐธรรมนูญ เพื่อช่วยทักษิณ ชินวัตร ให้กลับประเทศไทยและพ้นผิดทุกคดีความ รวมถึงล้างผิดคนในเครือข่ายสายรัฐบาลและเพื่อไทย อาทิแกนนำเสื้อแดง-แกนนำเพื่อไทย ที่มีปัญหาการเมืองค้างคาอยู่เช่นคดีความต่างๆ ทั้งคดีอาญาและคดีการเมืองก็ต้องเขียนไว้ในรธน.ฉบับใหม่แบบให้เนียนมากที่ สุด เพื่อป้องกันแรงต่อต้านในการจะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ “ทีมข่าวการเมืองASTVผู้จัดการ”ของชี้ว่า นับจากนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นโหมดสำคัญการเมืองตลอดทั้งปี 2555 ที่เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งทุกฝ่ายต้องจับตามองและให้ความสำคัญอย่างแท้จริง “เรา-ทีมข่าวการเมือง”ขอเรียกร้องให้ประชาชนทุกภาคส่วนช่วยกันติดตาม สอดส่อง กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนับจากนี้โดยพร้อมเพรียง อย่าได้ละวางเรื่องนี้เป็นอันขาด เพราะรัฐธรรมนูญคือกติกาสูงสุดทางการเมือง ที่หากนักการเมือง-พรรคการเมือง คิดจะวางฐานอำนาจเพื่อแสวงหาประโยชน์แบบไม่รู้จักอิ่ม ให้ตรวจสอบไม่ได้ หรือเอาผิดได้ยาก และอยู่ในตำแหน่งได้ยาวนาน สิ่งสำคัญที่นักการเมือง-พรรคการเมืองจะทำก็คือ ต้องทำให้รัฐธรรมนูญออกมาแล้วฝ่ายตัวเองได้เปรียบมากที่สุด ด้วยเหตุนี้ “เรา-ทีมข่าวการเมือง”ถึงได้บอกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือวาระแห่งชาติที่ทุก คนต้องร่วมกันติดตามกระบวนการนี้ทุกแง่มุม และหากสุดท้ายเมื่อถึงจุดที่เราเห็นว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นรัฐธรรมนูญที่ออกมาเพื่อประโยชน์ของคนๆเดียวอย่าง “ทักษิณ ชินวัตร”หรือเพื่อพรรคการเมืองบางพรรคเช่น พรรคเพื่อไทย ถึงตอนนั้น ประชาชนทุกคนก็ต้องออกมาแสดงพลังในการคัดค้าน ต่อต้านไม่ให้รัฐธรรมนูญที่จะออกมาแล้ว ทำให้ประเทศถอยหลังลงคลองมีผลบังคับใช้ได้ เพราะตอนนี้ถือว่าก้าวแรกของการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านไปแล้ว หลังรัฐสภาได้มีการพิจารณาญัตติแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา จักรไทยพ.ศ. 2550 ในมาตรา 291 ระหว่างการประชุมรัฐสภาเมื่อ 23-24 กุมภาพันธ์ 2555 หากทุกอย่างเดินไปตามที่ฝ่ายรัฐบาลวางไว้ ปลายปี 2555 ก็อาจได้เห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ออกมาจากสภาเพื่อไทย ภายใต้เงากำกับจากชายที่ชื่อทักษิณ ชินวัตร ที่ทั้งเพื่อไทยและทักษิณจะคอยกำกับฉากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกือบทุก ขั้นตอน แม้กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเป็นอำนาจของสมาชิกสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อดูจากฐานเสียง-คะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ทั่วประเทศ ทั้งระบบเขตและระบบปาร์ตี้ลิสต์ -การเริ่มเตรียมคนลงสมัครเป็นส.ส.ร.จังหวัดของเครือข่ายเพื่อไทยและคนเสื้อ แดงทั่วประเทศ จึงเชื่อได้ว่าส.ส.ร.จังหวัดจะมีคนในสายเพื่อไทย-พรรคร่วมรัฐบาลอยู่มากที่ สุดในจำนวน 77 คน นอกจากนี้ ด้วยจำนวนเสียงของส.ส.รัฐบาลบวกกับสมาชิกวุฒิสภาที่เห็นด้วยกับรัฐบาลในการ แก้ไขรัฐธรรมนูญที่รวมกันแล้วมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนเสียงสมาชิกรัฐสภา ก็ทำให้ฝ่ายรัฐบาลกุมความได้เปรียบในการจะเลือกส.ส.ร.สายผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 22 คน ตามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งของรัฐบาลและเพื่อไทยที่จะเป็นร่างหลักในการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้รายชื่อเบื้องต้นของโผส.ส.ร.ผู้ทรงคุณวุฒิ 22 คนจะมาจากสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งส่งชื่อไปให้รัฐสภาพิจารณาคัดเลือก แต่ฝ่ายรัฐบาลที่มีเสียงส.ว.อยู่ในมือด้วยจนเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา ก็ต้องมี “โผส.ส.ร.”ชี้นำกำกับออกมาอยู่แล้ว ก่อนเลือกว่าจะเอาใครมามาเป็นส.ส.ร.ผู้ทรงคุณวุฒิ 22 คน ที่ส่วนใหญ่ส.ส.ร.กลุ่มนี้ก็จะเข้าไปเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญตัวหลัก การเลือกส.ส.ร.ผู้ทรงคุณวุฒิ โผส่วนใหญ่ก็จะมาจากสายรัฐบาลเป็นส่วนมาก ดังนั้น เมื่อเป็นดังนี้ ก็ทำให้ฝ่ายรัฐบาลคุมเสียงส่วนใหญ่ในสภาร่างรัฐธรรมนูญ 99 คน ที่จะสั่งการให้ยกร่างรัฐธรรมนูญออกมาอย่างที่ฝ่ายตัวเองต้องการ อย่างไรก็ได้ ด้วยเหตุนี้ ที่หลายฝายทั้งฝ่ายค้าน-สว.-นักวิชาการ-นักกฎหมาย-กลุ่งองค์กรเคลื่อนไหวการ เมืองภาคประชาชนนอกรัฐสภาที่ทรงพลังอย่าง “กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เห็นตรงกันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญรอบนี้ มีวาระซ่อนเร้นทางการเมือง เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีเพียงคนกลุ่มเดียวได้ประโยชน์คือนักการเมือง ไม่ใช่ประชาชน ไม่ใช่ประเทศชาติ เพราะนักการเมืองจะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อทำให้ตัวเองมีอำนาจมากขึ้น ถูกตรวจสอบลำบากขึ้น ลงจากอำนาจได้ยากขึ้น จึงย่อมเป็นเรื่องจริงแน่นอน เข้าข่ายภาษิตกฎหมายที่ว่า ชนชั้นใดยกร่างออกกฎหมาย กฎหมายที่จะออกมาก็เพื่อประโยชน์ของชนชั้นนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญรอบนี้ “เรา-ทีมข่าวการเมือง”จึงเห็นว่า นักการเมือง-พรรคการเมืองไหน ยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือแก้ไขกฎหมาย โดยแอบอ้างประชาชน -ประชาธิปไตย แต่จริงๆแล้ว ก็เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก เรื่องนี้จึงต้องจับตาดูกันให้ดี ว่าการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะเกิดขึ้น จะมีการกระทำการใดๆ เพื่อหาทางเปิดช่องช่วยเหลือทักษิณ ชินวัตร ผ่านรัฐธรรมนูญหรือไม่ เช่น ปัจจุบันรัฐธรรมนูญปี 2550 มีบทบัญญัติมาตรา 102 เรื่องบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนรา ษฏร โดยมีการระบุไว้ใน 102(7) ว่าให้รวมถึงผู้เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่น ดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ หากส.ส.ร.หรือกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เขียนรัฐธรรมนูญโดยลดสเปกของผู้มีสิทธิลงเลือกตั้งดังกล่าว เพียงแค่ไม่มีข้อห้ามนี้เอาไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยที่คนติดตามกันไม่ทัน เพราะเป็นรายละเอียดปลีกย่อย แค่นี้ ก็เปิดประตูให้ทักษิณสามารถกลับมาลงสมัครส.ส.ได้แล้วในอนาคต เพราะหากยังคงคุณสมบัติต้องห้ามนี้อยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทักษิณก็ลงสมัคร ส.ส.เพื่อกลับมาเล่นการเมืองมาเป็นนายกรัฐมนตรีหรือมาเป็นส.ส.ในสภาคุมลูก พรรคเพื่อไทยเต็มตัวไม่ได้ เพราะมีชนักติดหลังคดียึดทรัพย์อยู่ หรือจะเขียนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาตราใดมาตราหนึ่ง ด้วยข้อความสั้นๆ แต่เปิดช่องให้นำไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองกับทักษิณหรือคนในเครือข่าย อาทิเช่นบัญญัติให้คดีความการเมืองที่เกิดขึ้นก่อนการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือก่อนมีรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นโมฆะ ถูกล้มล้างไปทั้งหมดเสมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นมาก่อน ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฏร์ แค่นี้ ทักษิณก็ได้กลับประเทศไทยแล้วเพราะคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ ที่ทักษิณถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯตัดสินจำคุกสองปี แม้จะสิ้นสุดแล้วและเป็นคดีอาญาเช่นเดียวกับคดีอีกหลายคดีของทักษิณที่ค้าง คาอยู่ในชั้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ -ศาลอาญา แต่ก็สามารถเล่นแง่ให้คดีเหล่านั้นถือเป็นคดีการเมืองได้ไม่ยาก เพราะต้นกำเนิดมาจากการสอบสวนดำเนินคดีหลังการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ด้วยเหตุนี้ “เรา-ทีมข่าวการเมือง”ถึงบอกว่าต้องติดตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญรอบนี้ให้ดีว่า มีอะไรหมกเม็ดซ่อนเร้นทางการเมืองจริงไหม จะเป็นอย่างที่พันธมิตรฯบอกไว้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้แท้ที่จริงก็ คือนิติกรรมอำพรางเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญยึดอำนาจประเทศไทยหรือไม่ ที่สำคัญอย่าคิดว่าทักษิณจะไม่หาประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญรอบนี้เด็ด ขาด กระแสคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญรอบนี้ ต้องยอมรับว่ายังอ่อนแรงอยู่ ขณะนี้มีที่ประกาศตัวยืนหยัดคัดค้านและจับตามองการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างจริง จังก็แค่ไม่กี่กลุ่ม แต่ก็ยังดีกว่าที่จะไม่มีใครคิดทำอะไร และควรต้องให้กำลังใจกันไป ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักวิชาการอย่าง “สยามประชาภิวัฒน์”ที่ มีจุดยืนชัดเจนคือมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญรอบนี้จะเกิดขึ้นเพื่อตอบแทน นักการเมืองและกลุ่มทุนผลประโยชน์การเมืองเท่านั้น ไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปการเมืองให้ดีขึ้น หรือกลุ่มภาคประชาชน “กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”ที่ ประกาศจุดยืนชัดแจ้งว่ารู้เท่าทันการแก้ไขรัฐธรรมนูญรอบนี้ว่าทำเพื่อใคร และใครจะได้ประโยชน์ โดยพร้อมจะออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทุกเมื่อในอนาคต เมื่อเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นรัฐธรรมนูญ “ฉบับยาพิษ”ที่จะทำร้ายประเทศไทย หากวันนั้นมาถึง เมื่อถึงเวลา ก็ขอให้ประชาชนอย่าได้รอช้าในการออกมาแสดงพลังเพื่อบอกไปยังนักการ เมือง-พรรคการเมือง-สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญว่า พวกเรารู้ทัน และเราจะไม่ยอมให้รัฐธรรมนูญถูกทำคลอดออกมาเพื่อประโยชน์ของคนไม่กี่คนอย่าง ที่พวกนักการเมืองกำลังวางแผนกันตอนนี้ .. .. |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น