บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

จินตนาการประเทศไทยใหม่ อำนาจรัฐหรืออำนาจโลก


“ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมด ที่ดำรงอยู่จนถึงบัดนี้ ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ทางชนชั้น อิสร ชนกับเจ้าทาส ผู้ดีมียศศักดิ์กับชนชั้นต่ำ เจ้ากับไพร่ นายช่างฝีมือกับช่างลูกมือ ซึ่งก็คือผู้กดขี่กับผู้ถูกกดขี่ ต่างอยู่ในฐานะที่เป็นปฏิปักษ์กันตลอดมา ได้ดำเนินการต่อสู้กันอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งบางทีก็มีลักษณะปิดบังอำพราง บางทีก็มีลักษณะที่เปิดเผย และการต่อสู้แต่ละครั้งล้วนจบลงด้วยการเปลี่ยนแปลงที่ปฏิวัติ ซึ่งก่อเกิดสังคมใหม่ทั้งสังคมขึ้นมา หรือไม่ก็ชนชั้นที่ต่อสู้กันนั้นถูกทำลายไปด้วยกัน.. 
        สังคมนายทุนสมัยใหม่ซึ่งงอกขึ้นมาจากซากของสังคมศักดินาที่เสื่อมถอยลงนั้น ก็ยังมิได้ทำลายความเป็นปฏิปักษ์ทางชนชั้นลงไป หากแต่มันได้ก่อให้เกิดชนชั้นใหม่ๆ เงื่อนไขใหม่ๆในการกดขี่ใหม่และรูปแบบใหม่ของการต่อสู้ขึ้นมาแทนที่อันเก่าๆ เท่านั้น อย่างไรตาม  ยุคของเราซึ่งเป็นยุคของชนชั้นนายทุน*
(* คาร์ล มาร์กซ เขียน ข้อความนี้ในปี ค.ศ.๑๘๑๘ –ผู้เขียน) มีลักษณะเด่นอยู่ที่ว่า มันทำให้ความเป็นปฏิปักษ์ทางชนชั้นเห็นได้ง่ายขึ้น โดยที่สังคมทั้งสังคมยิ่งนับวันแยกกันออกเป็นสองค่ายใหญ่ที่เป็นศัตรูกัน เป็นสองชนชั้นใหญ่ที่เผชิญหน้ากันโดยตรง นั่นก็คือ ชนชั้นนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ” (คาร์ล มาร์กซ และเฟอเดอริค เองเกลส์-แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์)

          คำประกาศของนักคิดผู้ได้รับการโหวตให้เป็นนักคิดผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในรอบ สหัสวรรษ ของสถานีวิทยุบีบีซี ประเทศอังกฤษเมื่อหลายปีก่อน ยังคงขลัง ศักดิ์สิทธิ์อยู่หรือไม่ หรือเป็นวาทกรรมที่ล้าหลังไปแล้วในยุคใหม่ หลังการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศที่กระแสโลกาภิวัตน์เชี่ยวกราก สังคมโลกพลิกผัน ....

          ความสับสนต่อยุทธศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา มีโจทย์ข้อใหญ่ท้าทายวิจารณญานปัญญาชน โดยเฉพาะเหล่าบรรดานักคิดที่เข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวสังคมและเรียกตนเอง เป็นพลังก้าวหน้า ว่าจะให้น้ำหนักกับการเปลี่ยนแปลง “อำนาจรัฐ” ซึ่งเคยคิดว่า เป็นอำนาจที่คอยควบคุม ปกครอง  อันเป็นการมองปัญหาแค่เพียงขอบเขตปริมณฑลของรัฐชาตินั้น  หรือจะให้ความสำคัญกับ “อำนาจโลก” ในยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งโลกทั้งใบเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียว  ซึ่งอำนาจทุนนิยมที่ขับเคลื่อนด้วยพลังเทคโนโลยีสามารถครอบงำโลกได้ทั้งใบ และเป็นที่แจ่มชัดขณะนี้ว่า อำนาจดังกล่าวที่มีอิทธิพลเหนือรัฐชาติ ได้เข้าแทรกแซงเบียดเสียดชนชั้นขูดรีดทุกกลุ่มที่มีอยู่เดิม เข้าดูดซับความมั่งคั่งจากบรรดารัฐชาติอย่างฝังลึกและซ่อนเร้น ปรากฎการณ์ดังนี้ ทำให้มองได้ว่า ในยุคปัจจุบันเกิดการแบ่งสังคมโลกเป็นเพียงสองขั้วใหญ่ และทำให้คนสองชนชั้นใหญ่เผชิญหน้ากันอย่างแหลมคมทั้งในขอบเขตปริมณฑลของรัฐ ในความหมายขอบเขตโลกและรัฐในขอบเขตของรัฐชาติ  เกิดสภาพสองโลก นั่นก็คือ

โลกทุนนิยมศูนย์กลางและโลกของทุนนิยมบริวาร*

ซึ่งปัจจุบัน เป็นขณะเวลาที่ “อำนาจรัฐ”กำลังเผชิญหน้าต่อการท้าทายของ “อำนาจโลก”อย่างแหลมคม และกำลังทบทวนบทบาท ภาระหน้าที่ทางประวัติศาสตร์อันยาวนานของมันอย่างงวยงง

ประเด็น อันน่าสนใจในปัจจุับันก็คือ การทุ่มเทความสนใจศึกษาระบบโลกหลังยุคการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่พลังของเทคโนโลยีการสื่อสารได้ทำให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นไปอย่างรวด เร็ว พลิกโฉมหน้าของการลงทุน/ร่วมทุน ไปสู่ยุคการเก็งกำไรจากทุน แทนการแสวงหากำไรจากการขายผลผลิตจริง และด้วยเทคโนโลยีนี้เองที่ทำให้อุตสาหกรรมการเงินได้ก้าวขึ้นมาแทนที่ อุตสาหกรรม “ภาคการผลิตจริง”อย่างมีฐานะครอบงำ

แม้ว่ายุครุ่ง อรุณของทุนนิยมหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมเครื่องจักรไอน้ำจะเป็นยุคแห่งการ ปลดปล่อยพลังการผลิตจากระบอบทาสกสิกรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนได้รับการยกระดับสู่คุณภาพใหม่ ระบอบทุนนิยมได้นำพาสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์มาเป็นของขวัญ แก่ชนชั้นกลางที่กำเนิดขึ้นในท่ามกลางยุคบุกเบิกของทุนนิยม  ต่อมาชนชั้นนี้ได้กลายเป็นชนชั้นใหม่ที่มีบทบาทสูงต่อการพัฒนา ดำรงอยู่หรือแม้กระทั่งชี้ขาดอนาคตของระบอบทุนนิยม

แต่ เนื่องด้วยระบบทุนนิยมเป็นระบบที่กัดกินตัวเอง การแก่งแย่งแข่งขัน การเอารัดเอาเปรียบเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด ลักษณะปัจเจกชนของมัน การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ทำให้ลักษณะที่ก้าวหน้าดำรงอยู่ได้ไม่นาน การกระจายโภคผลจากระบบเป็นข้อจำกัดโดยตัวมันเอง ในขณะที่การผลิตมีรูปแบบสาธารณะ มีการรวมหมู่ลักษณะชุมชน  แต่การแบ่งปันกลับกลายเป็นของผู้ครอบครองปัจจัยการผลิตเกือบทั้งหมด 

ทวิ ลักษณะของระบอบทุนนิยมทำให้มันเป็นระบอบที่มีความขัดแย้งภายในสูง เป้าหมายการผลิตของมันเป็นไปเพื่อปัจเจกชนล้วนๆ แต่ลักษณะการเมืองที่มันสร้างและสนับสนุนอยู่ก็คือการเมืองแบบประชาธิปไตย (ซึ่งได้รับการขานรับจากชนชั้นกลางที่เกิดใหม่ผู้โหยหาเสรีภาพ) สร้างวิถีการดำรงชีพแบบ “เสรีนิยม”หรือ “เสรีประชาธิปไตย”ให้กับผู้คน และต่อมาในภายหลังก็พบว่า มันกลายเป็นเพียงภาพลวงตา

การ สะสมทุนเพื่อความมั่งคั่ง เป็นพื้นฐานการดำรงอยู่และขยายตัวของ ระบอบทุน แนวคิดเสรีนิยม ได้มีอิทธิพลเหนือกิจกรรมการผลิตและบริโภค ทุนนิยมยุคแรกได้สร้างกลไกตลาดและกำกับมันด้วยแนวคิด “ตลาดเสรี” นัยของมันก็คือการแข่งขันกันอย่างเสรีเพื่อให้กลไกตลาดปรับตัวสู่สมดุลของ มันเอง (ออกแบบโดย อดัม สมิธ จากอิทธิพลความคิดวิทยาศาสตร์กลไกยุคนิวตัน) ในทางเป็นจริง ตลาดเสรีกลับมีแนวโน้มที่เสรีสุดขั้ว เพราะไม่เพียงแต่กลไกตลาดเท่านั้นที่ชี้นำการผลิต การเก็งกำไรและความไม่มั่นคงทางจิตใจของผู้กุมปัจจัยการผลิต กลับมีส่วนอย่างมากมาย ทำให้การแข่งขันที่เสรีไม่เป็นจริง สิ่งทีเกิดขึ้นก็คือ การแข่งขันกันผลิตและแย่งชิงพื้นที่ตลาดอย่างเอาเป็นเอาตาย เป็นยุคของมือใครยาวสาวได้สาวเอา หรือ “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก”กระทั่งมาสู่ยุค “ปลาเร็วกินปลาช้า”อันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศที่ข้อมูลและเงินทุนเดินทางเร็วเท่าแสง

เงิน ตรามีอิทธิพลเหนือชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เพราะสามารถดลบันดาลความสุขทุกสิ่งทุกอย่างในทางวัตถุได้หมด  ซึ่งต่อมา เงินตราก็ได้กลายสภาพเป็นสินค้าโดยตัวของมันเองอย่างเบ็ดเสร็จ หลังการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศนี่เอง



โลกทุนนิยมเปลี่ยนผ่านอย่างก้าวกระโดดจากทุนนิยมแบบโรงงาน(ทุนนิยมอนาล็อค-analog capitalism) สู่ยุคทุนเสมือนจริง ( ทุนนิยมดิจิทัล-digital capitalism) ด้าน ที่เป็นภัยของมันได้แสดงตนออกมาเป็นด้านหลัก ด้านที่เป็นคุณกลับกลายเป็นด้านรอง เสถียรภาพและความมั่งคงของระบบและของมนุษย์เปลี่ยนเป็นภาวะอนาธิปไตยไปอย่าง รวดเร็วและรุนแรง การเก็งกำไรอย่างไร้สติของทุนยุคนี้  ส่งผลให้ระบบทุนนิยมสั่นคลอนอย่างหนัก

จอร์จ โซรอสสลัดทางการเงินโลก ผู้นำทุนนิยมดิจิทัลรายหนึ่ง ได้เขียนหนังสือวิพากษ์วิจารณ์ระบอบทุนนิยมว่ากำลังก้าวไปสู่การล่มสลาย และเรียกร้องการปฎิรูประบบโดยเร่งด่วนเพื่อต่อลมหายใจให้กับมัน

ทุนนิยมยุคใหม่ได้ตั้งข้อสังเกตต่อแนวคิดวิทยาศาตร์กลไกที่สร้างตลาดเสรีของอดัม สมิธและ จอห์น เมนาร์ด เคนส์  และได้นำเสนอแนวคิดแบบ “ปฏิสัมพันธ์แบบส่งผลสะท้อนกลับ” (Two Way Reflexive Interaction)เข้าแทนที่ปรัชญาแบบ “คลั่งตลาด” (Market fundamentalism) *แบบเดิม (*เป็นข้อเสนอของจอร์จ โซรอสในหนังสือ The Crisis of Global Capitalism  เขา เสนอว่าลัทธิบูชาตลาดอย่างหลงใหลแบบเดิมเป็นอันตรายต่อสังคมเปิดในปัจจุบัน ยิ่งเสียกว่าอุดมการณ์อำนาจนิยมใดๆ และเป็นอันตรายต่อสังคมเปิด เนื่องมาจากการตีความผิดพลาดที่ว่า ระบบตลาดจะทำงานอย่างก้าวไปสู่จุดดุลยภาพเป็นประโยชน์กับทุกคน ความเชื่อว่าตลาดการเงินจะเคลื่อนไหวไปสู่จุดสมดุลเหมือนกับการแกว่งของ ลูกตุ้มนั้นเป็นความเชื่อที่ผิดพลาด )

แต่ถึง อย่างไรก็ตามแนวคิดในการปฏิรูปตลาดเงิน มันก็ยังเป็นไปเพื่อ/และ เป็นไปโดยชั้นชนของผู้ควบคุมปัจจัยการผลิต พวกเขายังแสวงหากำไรอย่างไม่ลดละ ทำการกระตุ้นตลาดและการบริโภคให้เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ก้าวไปสู่ยุคของการ ซื้อ/ขาย และเก็งกำไรในอนาคต รวมถึงการซื้อขายแรงงานในอนาคต

ในทางปรัชญาแนวคิดของทุนนิยมดิจิทัลของจอร์จ โซรอส ก็คือ การเรียกร้องที่จะนำหลักคิดแบบ “วิภาษวิธี” ซึ่งเป็นแนวคิดวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้ากว่า เข้าแทนที่แนวคิด “กลไก”แบบเดิม* (*ปฏิ สัมพันธ์แบบส่งผลสะท้อนกลับ ๒ ทาง ก็คือ การมองตลาดเป็นเพียงกลไกทาง “วัตถุ”ที่สะท้อนเข้าสู่ความคาดหมายของผู้มีส่วนร่วมหรือสิ่่งที่เรียกว่า “จิต” เมื่อวัตถุกำหนดจิต จิตจะส่งผลสะท้อนกลับไปเปลี่ยนแปลงวัตถุ)

การ ปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดการปฏิวัติเงียบในพลังการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิต หลังจากเงินตรากลายเป็นสินค้า การผลิตเงินตรา การซื้อขายเงินตรา การเก็งกำไรเงินตรากลายเป็นรูปแบบหนึ่งของอุตสาหกรรมใหม่ คือ “อุตสาหกรรมทางการเงิน”

การก่อกำเนิดของ “ตลาดเงิน”และ “ตลาดทุน”นำความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของรูปแบบการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิตของสังคม

มีอาชีพใหม่ที่เรียกกันว่า “นักลงทุน”(ผู้ไม่เคยได้สร้างสรรค์ผลผลิตใดๆใหักับสังคม)เกิด ขึ้น ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายย่อยเหล่านี้มีเพียงคอมพิวเตอร์หรืออาศัย เพียงจอมอนิเตอร์ในตลาดหุ้น เพื่อการเก็งกำไรราคาหุ้นของภาคการผลิตจริง ที่อ่อนไหวขึ้นลงโดยไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงของปัจจัยการผลิตพื้นฐานกำหนด ความเคลื่อนไหวของราคา บางครั้งเพียงแค่ข่าวลือที่ทำให้ผู้คนดีใจ เศร้าหรือตื่นตระหนก กลับส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งทะยานหรือดิ่งเหวโดยไม่มีสาเหตุอันใดที่เกี่ยว เนื่องกัน

การเกิดขึ้นของ “ตลาดเงิน”และการเก็งกำไรในตลาดเงินระหว่างประเทศ เป็นนวัตกรรมของการซื้อขายสินค้ากระดาษ(เงินและตราสาร)รูป แบบใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องอิงกับเศรษฐกิจภาคการผลิต การทำกำไรในตลาดหุ้น การทำกำไรในตลาดทุนและการโจมตีค่าเงินระหว่างประเทศ สร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ลงทุนได้มากกว่าการลงทุนในภาคการผลิตจริงหลาย ร้อยเท่า และปรากฏการณ์ขูดรีดสังคมแบบใหม่นี้ ได้ส่งผลกระทบที่สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจที่สัมพันธ์เชื่อมร้อยเป็น ลักษณะโครงข่ายไปทั่วทั้งโลกอย่างรุนแรงและทั่วถึง

โดยเฉพาะในที่ๆตลาดทุนหรือตลาดเงินกำลังได้รับการสถาปนาหรือที่เรียกกันว่า “ตลาดเกิดใหม่”(ที่มีลักษณะเศรษฐกิจภาคการเงินอ่อนแอ)

ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการเงิน ขยายตัวใหญ่โตกว่าการขยายตัวของภาคการผลิตจริง*(*ข้อมูลจาก indexthai ระบุว่าราว ๗-๘ เท่าตัว)ที่มีผู้บริโภคจำนวนจำกัดและครอบงำระบบการผลิตจริงได้ทั้งหมดในที่สุด

สังคม ก้าวเข้าสู่ระยะใหม่ หลังจากที่ทุนการเงินได้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นจักรพรรดิแห่งทุนทั้งปวง จักรพรรดิแห่งทุนตนนี้ ได้เปลี่ยนยุคของสังคมมนุษย์จากสังคมแห่งการแข่งขันการผลิตและแก่งแย่งตลาด ผู้บริโภค(ยุคแห่งการผลิตและการขูดรีดในโรงงาน) ไปสู่ยุคของการควบรวมกิจการและจัดสรรตลาด*(*การ ควบรวมกิจการยังรวมไปถึงการควบรวมทางนโยบายการเมือง ซึ่งขณะนี้พรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครดของสหรัฐอเมริกาได้ทำงานร่วมกันโดย ส่งนางฮิลลารี คลินตันเข้าเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศในรัฐบาลของนายโอบามา และมีเป้าหมายจะกลับสู่ตลาดในภูมิภาคเอเชียอีกครั้งหลังยุคสงครามเย็นสิ้น สุดโดยอเมริกาเคยประสบความพ่ายแพ้ในรูปแบบการทหาร คำประกาศของนายบารัค โอบามาที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจอเมริกาด้วยการเพิ่มการส่งออกเป็นสองเท่าตัว ได้ริเริ่มกระทำแล้ว ด้วยการส่งออกอาวุธให้แก่ใต้หวัน อันเป็นวิถีแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำแบบจัดรวรรดินิยม นั่นก็คือหันเข้าไปสู่การค้าอาวุธและก่อเงื่อนไขสงคราม)

ความร่วมมือระหว่างทุนการผลิตใดๆทั้งปวง อยู่ภายใต้ข้อเสนอแนะและการกำกับของนายทุนแห่งอุตสาหกรรมการเงินทั้งสิ้น (ยุคแห่งการขูดรีดนอกโรงงาน) พวกเขาต่างเติมเต็มให้แก่ข้อจำกัดของกันและกัน ไม่จำเป็นที่ทุกคนจะทำทุกอย่าง หากมีการคำนวณอย่างแม่นยำแล้วว่า สามารถหยิบยืมมือระหว่างทุนด้วยกัน จัดสรรผลประโยชน์ให้ลงตัว  พวกเขาก็จะเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง จากการแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตายและอาจไม่มีใครอยู่รอด ก็กลับฟื้นคืนชีวิตใหม่ขึ้นมาได้และพร้อมที่จะสถาปนาระบบขูดรีดสังคมแบบใหม่ นั่นก็คือ

“การขูดรีดจากอนาคตของโลกทุนนิยมบริวารและอนาคตของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก”

การ ปรากฏตัวของ “ตลาดหุ้น”และ “ตลาดทุน”และตลาดเงิน ก็คือนวัตกรรมของการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยจากทุนนิยมโรงงานที่ขูดรีดกำไรส่วน เกินจากสายพานการผลิต มาสู่ยุค การขูดรีดนอกโรงงงานที่ใช้การเก็งกำไรค่าของเงิน การขูดรีดด้วยดอกเบี้ย และด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือประมวลผลอันทรงพลัง เข้าโจมตีและแย่งชิงทรัพยากรที่ให้คุณค่าแก่ความมั่งคั่งของสังคมที่เรา เรียกว่า “เงินตรา”

การขูดรีดแบบใหม่นี้ ไม่ได้มีความหมายแบบเดิมซึ่ง “อำนาจ รัฐ”หนึ่งที่เหนือกว่า กระทำต่ออีก “อำนาจรัฐ”หนึ่งที่อ่อนแอกว่าโดยกำลังทหาร  แต่มันเป็นการขูดรีดโดยใช้กลไกทางเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้สถาบันการเงินในประเทศไทยเป็นของนายทุนการเงินต่างชาติเกินครึ่ง นั่นแสดงว่าธนาคารซึ่งเป็นที่สะสมความมั่งคั่งของประเทศ มีทรัพย์สินที่ดินซึ่งนำไปค้ำประกันการจำนองในขอบเขตทั่วประเทศได้ตกอยู่ใน มือของทุนการเงินต่างชาติไปเกือบทั้งหมดแล้ว

ภาวะเช่นนี้ก็คือ ภาวะของการสูญเสียเอกราช ภาวการณ์สูญเสียอำนาจการจัดสรรทรัพยากรของรัฐไปอย่างเงียบเชียบและอย่างน่าสลดใจ

นายทุนแห่งยุคอุตสาหกรรมการเงิน(world funds-ศัพท์บัญญัติของ indexthai)ใช้ การไหลเวียนของกระแสการเงินในตลาดการเงินของโลก สร้างความมั่งคั่งให้กับตนเอง ทุกรอบของการไหลเวียนของเงินตราจากประเทศศูนย์กลางทุนนิยมไปสู่ประเทศที่ อยู่ในพื้นที่ชายขอบ ก็คือพลวัตของการขูดรีดอันร้อนแรง ทำให้เศรษฐกิจประเทศชายขอบทรุดตัวลงคล้ายกับคนป่วยไข้ที่ถูกสูบเลือดจนไม่ สามารถทรงตัวได้ ในขณะเม็ดเงินที่ไหลกลับสู่ศูนย์กลาง ได้สร้างความมั่งคั่งอย่างท่วมท้นให้กับนายทุนอุตสาหกรรมการเงินผู้ควบคุม กระแสการไหลเวียนของเงินตรา(World currencies) และกุมชะตากรรมเศรษฐกิจโลกอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่คน

ที่ น่าเจ็บปวดกว่านั้น ก็คือ เงินที่ไหลออกจากศูนย์กลางนั้นเป็นเพียงกระดาษที่ถูกพิมพ์ออกมาจำหน่ายโดย ไม่มีแม้สิ่งค้ำประกันมูลค่าของมันเช่นทองคำ* (* สหรัฐนำดอลล่าร์ออกจากระบบทองคำปี ๑๙๗๑ในยุคของ ริชาร์ด นิกสัน และสามารถพิมพ์เงินได้เองโดยไม่ต้องค้ำประกันมูลค่า ดังเช่นประเทศอื่นๆ) หากแต่เม็ดเงินที่ไหลกลับสู่ศูนย์กลางนั้น เป็นเม็ดเงินที่มีมูลค่าจริง เป็นเม็ดเงินที่มีสัดส่วนทองคำรองรับ มีทรัพยากรของประเทศทุนนิยมบริวารค้ำประกัน ผ่านการอาบเหงื่อไคลของผู้ใช้แรงงานในประเทศทุนนิยมชายขอบทั่วโลกในรูปของ การส่งภาษีให้กับรัฐ

การปรากฏตัวของจักรพรรดิแห่งทุน ได้ทำให้การจัดแบ่งชั้นชนในระดับสากลเปลี่ยนศูนย์กลางของการขูดรีดมวล มนุษยชาติไปจากการจำกัดกรอบ ที่เคยอยู่ในเส้นรุ้งตะแคงแวงตั้ง ไปสู่ภาวะที่ไร้พรมแดนและจัดแบ่งผู้คนด้วยชนิดของการดำรงอยู่ในวิถีการผลิต หรืออาชีพของผู้คน จักรพรรดิแห่งทุนใช้รูปแบบของการโจมตีค่าเงิน ดูดซับเอาทรัพยากรและความมั่งคั่งของสังคมได้แม้กระทั่งใต้ถุนบ้านของตนเอง  (การโจมตีแนสแดคในสหรัฐอเมริกา ทำให้เศรษฐกิจและความมั่งคั่งของอเมริกาสูญหายอยู่ในภาวะล่มสลายและส่งผล สะเทือนต่อโลกทั้งใบ  / การโจมตีค่าของเงินไทยในปี ๒๕๔๐และในประเทศอื่นๆ ทำให้เป็นชนวนวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก หรือแม้กระทั้งการปล่อยข่าวโจมตีหุ้นมอนตาเนโกรและหุ้นไทยเมื่อเร็วๆนี้ ข้อมูลจาก indexthai ระบุว่าทำให้มูลค่าความเสียหายของตลาดหุ้นไทยมีถึงสี่แสนหกหมื่นล้านบาท)

เป็น เพราะว่า บรรดาสถาบันการเงิน สถาบันประกันภัยและแหล่งระดมเงินทุกประเภท ได้ค่อยๆปลีกหนีต่อภาระหน้าที่ที่มีต่อ “รัฐชาติ” ไปสู่ขอบเขตทางสากล  โดยมีจุดเริ่ม ก็คือ การเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นสถาบันรับฝากเงินออม-ปล่อยเงินกู้ ไปสู่การจัดตั้ง “กองทุน”เพื่อนำเอาเงินออมของสังคมไปลงทุนและเก็งกำไรในตลาดหุ้น-ตลาดทุน ซึ่งให้ผลตอบแทนมากกว่าการปล่อยกู้ในระบบการผลิตแบบเดิมหลายร้อยหลายพัน เท่า* (* การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อการลงทุนของธนาคารออมสินประเทศไทยในยุคผู้นำ CEO เป็นหมุดหมายและเป็นรูปธรรมของการเปลี่ยนยุคสถาบันการเงินในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี)

การ เก็งกำไรค่าเงินและสินค้าในอนาคตเช่น ราคาน้ำัมันและราคาทองคำทำให้เกิดการกิจการธุรกิจคาสิโนระดับโลก เกิดการได้-เสีย ที่นับได้ว่าเป็นการขูดรีดความมั่งคั่งจากสังคมมนุษย์ ที่มีขนาดใหญ่และรุนแรงกว่าการรีดนาทาเร้นทุกรูปแบบที่มนุษย์เคยกระทำต่อ กัน

จินตนาการของ สังคมไทยถูกบิดเบือนไปตามผลประโยชน์ของผู้กุมอำนาจรัฐและใช้อำนาจรัฐเพื่อ การนี้เสมอมา เมื่อกลุ่มทุนสามานย์เข้ายึดครองสัมปทานอำนาจรัฐด้วยวิธีการทุ่มทุนซื้อ เสียงทั้งทางตรงและทางอ้อมและถูกโค่นลงไปด้วยพฤติกรรมโฉดโกงกินชาติ ก็ได้เร่งสร้างขบวนการประชาธิปไตยจอมปลอมขึ้นบังหน้า เพื่อการแย่งยึดอำนาจและการครองอำนาจยาวนาน

พวกเขา มีความปรารถนาแรงกล้าที่จะปรับเปลี่ยนโฉมหน้าของประเทศให้รองรับระบบขูดรีด สังคมแบบใหม่ที่เชื่อมต่อเป็นพันธมิตร เป็นหุ้นส่วนกับทุนสามานย์โลก นั่นคือ อุตสาหกรรมการเงินและอุตสาหกรรมหนี้สิน  โดยการใช้สารพัดกองทุนเพื่อการลงทุนที่ไม่มีผลผลิตใดๆเป็นชิ้นเป็นอัน และเป้าหมายที่ใหญ่ไปกว่านั้นก็คือ การก่อตั้งกองทุนความมั่งคั่งของประเทศ(WSF) นัยหนึ่งก็เพื่อการแย่งชิงและ/หรือ ทำข้อตกลงร่วมทุนกับกองทุนของสลัดการเงินในขอบเขตทั่วโลก

“กอง ทุน”เหล่านี้เป็นกองทุนที่ไร้สัญชาติ ไม่ติดยึดสีผิวและเผ่าพันธุ์เหมือนทุนนิยมประเภทอื่นๆ   เงินตราและผลประกอบการของการเก็งกำไรในอนาคตเท่านั้นที่แสดงให้เห็นว่า พวกเขาคือชนชั้นแห่งเผ่าพันธุ์ใหม่ เป็นชนชั้นขูดรีดที่ใช้วิธีการอันซับซ้อนโดยอาศัยพลังแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ก้าวหน้า การขูดรีดความมั่งคั่งจากสังคมโลก สามารถเพิ่มความร่ำรวยของพวกเขาและกำหนดความยากจนของประชากรในโลกทั้งใบได้ ภายในระยะเวลาชั่วข้ามคืน

วิธีการที่จักรพรรดิแห่งทุนใช้ก็ คือการเก็งกำไรล้วนๆ ที่ไม่จำเป็นต้องผูกพันกับสายพานการผลิตแบบโรงงาน เป้าหมายก็คือสร้างผลกำไร- กำไรกว่าและกำไรสูงสุด จักรพรรดิแห่งทุนสามารถปั่นมูลค่าของเม็ดเงินจริงขึ้นไปได้ถึงกว่าสิบเท่า ตัวหรือมากกว่านั้น จากการซื้อขายเงินตราเกินราคาเม็ดเงินจริงที่มีของมูลค่าเชิงสัญลักษณ์บน กระดาษ ซึ่งเดิมเป็นเงินที่ยังอยู่ในรูปของอะตอม ไปสู่เงินตราที่เป็นเพียงตัวเลขดิจิทัลในโลกไซเบอร์คือเป็นความมั่งคั่งใน รูปของบิท  หากแต่เงื่อนไขในการบีบรัดนั้นรุนแรงกว่าการขูดรีดกำไรส่วนเกินจากกรรมกรใน โรงงานหลายเท่าพันทวี


วัฒนธรรมการบริโภคของทุนนิยม ซึ่งมีมาแต่เดิม เป็นประโยชน์ต่อทุนการเงินมากยิ่งขึ้น พวกเขาสนับสนุนให้มีการกระตุ้นเร้าการบริโภคอย่างหนักหน่วง นำเสนอข้อความโฆษณาที่ใช้ความจริงเพียงครึ่งเดียว สร้างการบริโภคลักษณะตามกันแบบ “อุปทานหมู่”ขึ้นมา สร้าง “อุปสงค์เทียม-อุปทานแท้” (Artificial demand-Real supply)* (อ่านเรื่องราวของน้ำยาบ้วนปากลิสเตอรีนและข้อมูลอื่นๆประกอบ)  ทลายปราการของความพอดีที่ปิดกั้นความอยาก จับจูงจริตผู้คนให้ทะเยอทะยานเกินตัว โดยเฉพาะเยาวชนที่มีกำลังซื้อมาจากเงินที่แบมือขอ ใช้อิทธิพลสื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติการบริโภคของผู้คน จากการประหยัดอดออม เลือกซื้อแต่สิ่งที่ “จำเป็นต้องกิน จำเป็นต้องใช้” ไปสู่ความ “จำเป็นต้องมี” เพื่อ แสดงฐานันดรทางสังคม จัดงบประมาณโฆษณาซึ่งในบางผลิตภัณฑ์ มีมูลค่ามากกว่าต้นทุนการผลิตสินค้า มอมเมาเพื่อสร้างกำลังซื้อเทียมในตลาด สร้างพื้นที่ตลาดเสมือนจริงบนแผ่นปลิว ที่ไม่ต้องอาศัยระวางพื้นที่และการว่าจ้างพนักงาน (งบประมาณโฆษณาใน ประเทศไทยทั้งปี จากสินค้าโภคภัณฑ์หลัก ๘ บริษัทข้ามชาติ รวมกับงบโฆษณาในประเทศ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ ๑๐๐,๐๐๐ -๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาทในภาวะเศรษฐกิจปกติ-ข้อมูลหาดูได้จากบริษัทนีลสัน มีเดีย รีเสิร์ทช )

นอก จากนั้น กลุ่มทุนการเงินยังได้อำนวยความสะดวกให้ผู้คนซื้อสินค้าโดยการขายรายได้และ แรงงานในอนาคต ด้วยการออกแบบระบบสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ หรือ Flat rate (บางคนเรียก “เรทนรก”) เอาไว้รองรับ รวมทั้งยังมีรูปแบบเงินกู้ที่อัตราดอกเบี้ยสามารถทบต้นได้ อันเป็นการทำมูลค่าส่วนเกินเชิงซ้อนแบบเกลียวสว่าน  เป็นนวัตกรรมผีดิบที่เรียกว่า “การเช่าซื้อ”  ยุคสมัยที่ว่านี้เป็นยุคแห่งการทำลายระบบเงินออมลงอย่างยับเยิน

ระบบ เงินออม แม้จะเริ่มด้วยการออมส่วนบุคคลไปสู่การรักษาไว้ซึ่งเงินคงคลัง ที่แสดงถึงความมั่นคงของรัฐชาติ ได้ถูกบ่อนเซาะจากทุนระบบสายพานการผลิตมายาวนาน และมาจบลงเมื่อจักรพรรดิแห่งทุน ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้เหลือน้อยที่สุด เป็นผลให้ผู้คนต้องจำต้องถ่ายโอนเงินออมไปสู่การลงทุนใน “กองทุน”ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เม็ดเงินที่ผ่านการอาบเหงื่อของชนชั้นผู้ใช้แรงงานถูกลำเลียงเข้าสู่สายพาน กระแสการเงินโลกที่มองไม่เห็น ไปสู่การเก็งกำไรในอนาคตและถูกนำไปชดเชยความเสียหายที่จักรพรรดิแห่งทุนเคย สูบกินไปจากสังคมนับครั้งไม่ถ้วน

นอกเหนือจากการเก็งกำไรค่าเงิน ราคาทองคำและน้ำมัน จักรพรรดิแห่งทุน ยังได้สะสมความมั่งคั่งมาจากระบบการทำงานของ “ดอกเบี้ย” และใช้การสำเนาตัวเองของ  “ดอกเบี้ย” เป็นเงื่อนไขในการขูดรีดที่มองไม่เห็นในระบบการขูดรีดยุคใหม่

การขูดรีดไปยังอนาคตนี้เองที่ทำให้เกิด “ชนชั้นกรรมาชีพใหม่” อันได้แก่ ผู้ใช้แรงงาน ทั้งแรงงานกาย แรงงานสมอง  คนงานในโรงงาน พนักงานห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่มีรายได้ประจำ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ครูอาจารย์ วิชาชีพอิสระ เช่นทนายความ แพทย์พยาบาลและนักวิชาการต่างๆ รวมทั้งนักลงทุนรายย่อย ไม่เว้นแม้ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวนและเกษตรกรรมอื่นๆ เช่น ปศุสัตว์และประมง ที่ต้องพึ่งพาสถาบันการเงิน(ปัจจุบันความยากจน ของเกษตรกรไม่ได้มาจากการขูดรีดแบบศักดินา หากตกอยู่ภายใต้การขูดรีดด้วยกลไกราคาของพ่อค้าคนกลางและกลไกดอกเบี้ยของ ธนาคารที่ผูกขาดสินค้าภาคการเกษตร)  แรงงานเหล่านี้เมื่อพลัดหลงเข้าไปในกับดักแห่งอุตสาหกรรมการเงิน พวกเขาจะถูกขูดรีดด้วยอัตราดอกเบี้ยต่อหัวเป็นมาตรฐานที่ไม่เสมอกัน หนี้สินจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ หากมีการผิดนัดชำระหนี้ด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้ให้สัมภาษณ์ในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน หลังจากมีผู้ถามท่านว่า “ท่านคิดว่าแรงใดเป็นแรงที่มีพลังมากที่สุดในโลก” ไอน์สไตน์ตอบว่า “ดอกเบี้ย ทบต้น” -Compound interest is the most powerful force on Earth คำตอบของอัจฉริยะบุคคล ผู้คิดค้นสมการระเบิดทำลายล้างที่ทรงอานุภาพที่สุด ได้ให้นัยสำคัญของการมองโลก มองกิจกรรมแห่งการขูดรีดที่มนุษย์ชั้นชนหนึ่งกระทำต่อเพื่อนมนุษย์อีกชั้นชน หนึ่ง ได้เปิดประตูสู่การแสวงหาอนาคตอันยั่งยืน และได้ตอบคำถามอันสับสนของทุนนิยมยุคตะวันตกดินลงไปแล้ว เหลือแต่เพียงการค้นคว้าหาแนวทางและวิธีการที่จะปลดเปลื้องมวลมนุษยชาติ ออกจากระบบขูดรีดอันซับซ้อนของทุนอุตสาหกรรมการเงิน


การ ชูประเด็นต่อสู้ทางการเมืองด้วยวาทกรรม “ล้มเจ้า" จึงเป็นความพยายามอำพรางระบบการขูดรีดแบบทุนที่นับวันจะทวีความรุนแรงยิ่ง ขึ้นและยิ่งขึ้น เป็นการ “ล่อเป้า”ด้วยการหยิบยกระบบกษัตริย์ยุโรปในยุคของการโค่นล้มราชวงศ์ที่เป็น แบบศักดินาค่าเช่านา  โดยการยัดเยียดจินตนาการเก่าๆให้กับสถาบันกษัตริย์ไทยที่ได้ถอยห่างออกไปจาก หน่วยทางการปกครองหลังการรัฐประหาร ๒๔๗๕  เป้าหมายสูงสุดของทุนสามานย์ประเทศไทยก็คือ การกรุยทางให้กับการเชื่อมต่อระบบทุนสามานย์ทางสากลที่ไร้อุปสรรคกับสิ่งที่ เรียกว่า “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”จากสถาบันอันเป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณแบบชาติรัฐที่ กำลังจะเป็นแนวโน้มใหม่ของกระแสโลก.
 
ทักษิณกับCFRองค์กรอิทธิพลโลก คงกำลังแสดงวิสัยทัศน์ว่าจะขายชาติให้กับทุนโลกอย่างไร(ภาพจากอินเทอร์เน็ท)
จับ ตาภูมิภาคอาเซียน เหยื่อรายต่อไปของทุนสามานย์ทางการเงินที่กระตุ้นให้เปิดตลาดหุ้น เส้นทางเงินผีผ่าน(Monetary Gate way)กับการรุกรานทางเศรษฐกิจยุคใหม่ผ่านผู้นำเผด็จการนายหน้าที่ร่วมสมคบขาย ชาติให้กับทุนการเงิน




โลก ยุคหลังการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง รองจากการปฏิวัติด้วยเครื่องจักรไอน้ำ โลกยุคดิจิทัลนำพาสังคมมนุษย์ก้าวกระโดดจากศตวรรษที่ ๑๙ เข้าสู่ศตวรรษที่ ๒๐ อย่างฉับพลัน การก้าวกระโดดของพลังการผลิตครั้งนี้ ทำให้กระบวนทัศน์ต่างๆทางสังคมพลิกผันไปสู่คุณภาพใหม่อย่างที่ใครก็คาดไม่ ถึง กระบวนทัศน์เก่าๆที่นอกเหนือจากผลิตผลของมัน กลายเป็นความล้าหลังสำหรับคนส่วนใหญ่ที่ก้าวไม่ทันเทคโนโลยียังคงจมปลักอยู่ ในโลกใบเก่ากับจินตนาการเก่าๆ แนวทางเก่าๆ และที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้ได้รับประโยชน์และใช้ประโยชน์จากมันได้มากที่สุด ก็คือกลุ่มอุตสาหกรรมทางการเงินและการบริการ ที่ไม่ใช่ภาคการผลิตจริง(Real Sector)  



จินตภาพ ใหม่ของโลกยุคหลังการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายโลกาภิวัตน์ได้สยายปีกการควบคุมระบบสังคมโลกทั้งระบบ ตั้งแต่เศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อทุนนิยมก้าวเข้ามาถึงจุดหนึ่งที่สถาบันเงินและอุตสาหกรรมการเงินมี อำนาจผูกขาดเป็นจักรพรรดิแห่งทุนเหนือธุรกิจอุตสาหกรรมภาคการผลิตจริงอื่นใด ทั้งหมด การแปรเปลี่ยนรูปแบบการขูดรีดครั้งมโหฬารได้เกิดขึ้นในรูปของดอกเบี้ยและการ เก็งกำไร  ชั้นชนในสังคมตั้งแต่ กรรมกร ชาวนา นายทุนน้อย ถูกหลอมรวมกันเป็นชนชั้นเดียวคือชั้นที่ถูกขูดรีดในลักษณาการเดียวกัน  การ ขูดรีดแบบศักดินาเก็บกินค่าเช่านาได้หายไปเกือบทั้งหมดของสังคมไทย การขูดรีดแรงงานในโรงงานแบบเก่าแม้จะคงดำรงอยู่ แต่ก็ไม่ใช่ด้านหลัก การปรากฏตัวของชนชั้นกรรมาชีพยุคใหม่ที่ไม่ได้ทำงานเฉพาะในโรงงาน หากพวกเขาขายทั้งแรงงานกายแรงงานสมอง เพื่อปลดโซ่ตรวนของหนี้สินอันเกิดขึ้นจากนวัตกรรมทางการเงินแบบระบบสินเชื่อ เครดิตและระบบเช่าซื้อในภาคธุรกิจทุกหนทุกแห่ง ในตลาดแรงงานทุกที่ที่มีบรรษัท บริษัท โรงงานขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก แม้กระทั่งในภาคเกษตรกรรมเอง ทุนผูกขาดภาคการเกษตรขนาดใหญ่ก็ได้ใช้รูปแบบวิธีการดังกล่าวเช่นกัน การคุกคามของทุนอุตสาหกรรมการเกษตรระดับโลกต่อเกษตรกรรายย่อยในประเทศยากจน เริ่มมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุน แหล่งพันธุกรรมพืชและสัตว์จากทุนผูกขาดขนาดใหญ่ที่มีลักษณะข้ามชาติ 



ในยุคนี้ อุตสาหกรรม การเงินและบริการ เติบใหญ่ขยายตัวไปในพื้นที่อนาคต การผลิตเพื่ออนาคต การตลาดเพื่ออนาคต การเก็งกำไรในอนาคตรวมทั้งการขูดรีดแรงงานจากอนาคตของผู้ใช้แรงงานหรือ กรรมาชีพใหม่ที่ไม่ใช่เพียงกรรมกรในโรงงาน หากหมายรวมถึงมนุษย์เงินเดือนทั้งภาครัฐ-เอกชนที่มีหลักประกันในการหยิบยืม เงินในอนาคตมาใช้จ่ายเกินตัว เนื้อแท้ของอุตสาหกรรมการเงินและบริการก็คือการยืดระยะเวลาล่มสลาย(ในขณะ เดียวกันก็เป็นตัวเร่งให้เกิดการล่มสลาย)ของระบบทุนนิยมแบบเดิมที่เน้นการ ผลิตเพื่อการแข่งขัน จนกระทั่งสินค้าล้นตลาดและผู้แข่งขันแต่ละรายแทบจะไม่มีโอกาสรอดจากหายนะ   



ยุค สมัยได้เปลี่ยนผ่านจากการแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตายจนก่อให้เกิด สภาพอนาธิปไตย มาสู่ยุคของการควบรวมกิจการเพื่อประสานผลประโยชน์ โดยการจับมือถือหุ้นไขว้ และใช้รัฐบาลนอมินีของทุนซึ่งได้กลายสถานะจากหน่วยปกครองไปเป็นกลไกอำนวย ความสะดวกต่อการลงทุน เป็นเจ้าภาพผู้ซื่อสัตย์ต่อทุนภายใน เป็นนายหน้าพนักงานต้อนรับผู้มากด้วยไมตรีจิตก้บทุนต่างชาติที่เข้ามาครอบงำ แสวงหาทรัพยากรโลกที่เริ่มจำกัดจำเขี่ยจากการผลาญของทุนนิยมแบบเก่ามายาวนาน และทรัพยากรที่ยังไม่ได้ขุดค้นอันอุดมสมบูรณ์



จะ สร้างจินตนาการใหม่ประเทศไทยก็ต้องจินตนาการผ่านกระบวนทัศน์แบบใหม่หลังการ ปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะโลกใบใหม่ที่เผชิญหน้ากับเราขณะนี้ ยุทธศาสตร์โลกกับยุทธศาสตร์รัฐชาติมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างแยก ไม่ออก กรอบความคิดของกระบวนทัศน์เก่าๆแบบของศตวรรษที่ ๑๙ ย่อมไม่อาจทำให้ผู้คนมองโลกตามความเป็นจริงที่ดำรงอยู่อย่างซับซ้อนได้  



ประเด็น ที่เป็นหลักการของกระบวนทัศน์แบบใหม่ คือภาพที่ฉายออกมาเป็นปรากฏการณ์ทางความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ-การเมือง ที่เปลียนแปลงไปอย่างน้อยเป็นปรากฏการณ์ดังนี้ คือ 



๑.เทคโนโลยีสื่อสารนำพาประชาธิปไตยที่เป็นจริงไปสู่ประชาชนได้มากกว่าประชาธิปไตยทางการเมือง(ที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงไม่ว่าในรัฐชาติใด แม้ในประเทศทุนนิยมศูนย์กลางเอง)



๒.ยุค ของการครอบงำและแผ่ขยายอำนาจทางเศรษฐกิจของทุนครอบโลก ทำให้ความเรียกร้องต้องการอธิปไตยทางเศรษฐกิจอยู่เหนือข้อเรียกร้อง ประชาธิปไตยทางการเมืองที่หลุดลอยจากผลประโยชน์ของประชาชน 



๓.คำขวัญประชาธิปไตยทางการเมือง กลายเป็นข้ออ้างในการแย่งชิงอำนาจของระบบทุนที่สมคบคิดกัน ผ่านเหล่านักป่วนเมือง หรือเหล่า “DEMAGOGUE” ผู้ ไต่เต้าเอาเงิน และจะกลายเป็นกลไกทางเศรษฐกิจของทุนข้ามชาติกับทุนนายหน้าที่จะนำไปแสวงหา กำไรจากการแก้ไขระบอบการปกครองการแก้ไขกฎหมาย การทำลายสถาบันเก่าแก่ของสังคม ให้เป็นระบบการขูดรีดประชาชน เป็น นายหน้าสำหรับการ “ฮั้ว”ข้ามชาติ ข้ามรัฐ และการแย่งชิงทรัพยากรที่หนักขึ้นกว่าเดิมด้วยการแปรรัฐชาติเป็นตลาด แปรประชาชนเป็นผู้บริโภค



๔.ความ ขัดแย้งทางสังคมใดๆในรัฐชาติ เป็นส่วนหนึ่งของการสมคบคิดของทุนที่มีการควบรวมกิจการทั้งการควบรวมทาง เศรษฐกิจ และควบรวมทางการเมือง และ มีสาเหตุหลักมาจากทุนครอบโลกที่กำลังดิ้นรนต่ออายุให้กับตัวเองโดยใช้ ทรัพยากรของรัฐชาติที่เล็กกว่าอ่อนแอกว่าโดยเฉพาะรัฐชาติซึ่งมีผู้นำนายหน้า ผู้โลภโทสัน มันคือการผลักภาระความยุ่งยากของตัวเองลงสู่ชาติเล็กที่อุดมสมบูรณ์กว่า 



๕.รัฐ ชาติที่อ่อนแอ มีผู้นำที่โลภโมโทสันจะถูกลากเข้าสู่กับดักของลัทธิเสรีประชาธิปไตย(ที่ไม่ เคยมีจริงบนโลกใบนี้) ทรัพยากรจะถูกปล้นชิงอย่างต่อเนื่องและจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นและมากขึ้น บนข้ออ้างของความร่วมมือทางการค้า 



๖.จะ เป็นยุคของการปฏิรูปชนชั้นกลาง แม้ว่าชนชั้นกลาง-สูง จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่พวกเขายังคงมีพื้นที่ที่กว้างขวางที่จะสร้างไอคอนทางสังคมเพื่อชักนำผู้ คนไปในทางพิทักษ์ระบอบทุนแบบเก่า และเฉื่อยชาต่อการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะชนชั้นกลาง-กลางและ กลาง-ล่าง ที่ทยอยหล่นสลายลงไปเป็นคนชั้นล่างหรือค่อยๆหลอมรวมกันเป็น ๙๙ เปอร์เซนต์ของสังคมโลกจะเริ่มตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นกลุ่มคนที่ได้ รับผลกระทบจากการเปลี่ยนหนักที่สุด 



๗.กระบวน ทัศน์ใหม่ของศตวรรษที่ ๒๑ อันเป็นที่รับรู้กันทั่วโลกคือ โลกกำลังเข้าสู่ยุคของความขาดแคลนและสงครามอันเนื่องจากภัยพิบัติทั้งที่ มนุษย์สร้างขึ้นและภัยธรรมชาติที่คาดเดาไม่ได้



๘.ศตวรรษ ที่ ๒๑ กระแสโลกจะเริ่มหวนกลับไปให้ความสำคัญของรัฐชาติ ข้อต่อรองในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรชาติจะแข็งแรงขึ้นในฐานล่างของสังคม หลังจากกระแสการเปิดเสรีสู่สากลได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า กระแสเสรีประชาธิปไตยแท้จริงมันคือการปล้นชิงของชาติใหญ่ที่ได้เปรียบกระทำ ต่อรัฐชาติที่อ่อนแอกว่า

 

ศตวรรษที่๒๑ ฤาจะเป็นจุดจบของเสรีประชาธิปไตย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง