โปรเจกต์ใหญ่ส่งท้ายปลายปีของไทยรัฐออนไลน์
พูดได้คำเดียวว่าต้องเป็นของขวัญสุดพิเศษสำหรับแฟนๆ แน่นอน คือ
การเปิดคอลัมน์ใหม่ที่มีชื่อว่า "คนดังนั่งเขียน"
ซึ่งเป็นการรวบรวมนักเขียนจากหลากหลายวงการ รวม 12 คน
ที่จะมาหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันวันละ 2 คอลัมน์
โดยเริ่มต้นฤกษ์งามยามดีกันตั้งแต่วันที่ 11 เดือน 11 ปี 2011 เป็นต้นไป
วันนี้ เราจะมาเปิดหน้าบทสนทนาเพื่ออัพเดทชีวิตของ 1 ใน 12 คอลัมนิสต์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นวีรบุรุษของคนไทยในช่วงเกิดวิกฤติมหาอุทกภัยในทุกพื้นที่ แม้จะได้เห็นน้ำตาของชายผู้นี้ในวันที่โรงงานมูลค่า 3,500 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นธุรกิจใหม่แกะกล่องของ ตัน อิชิตัน กำลังจมน้ำ และคำพูดที่หล่อยิ่งกว่าหัวใจของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น นายจ้าง "ผมจะเป็นคนสุดท้ายที่ออกจากโรงงาน กัปตันต้องสละเรือเป็นคนสุดท้าย"
อัพ
เดทชีวิตช่วงนี้หน่อยทำอะไร? ตอนนี้ทำธุรกิจเพื่อภารกิจ ก็ทำบริษัทไม่ตัน
ผมถือหุ้นครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งพนักงานถือหุ้น ซึ่งส่วนที่ผมถือหุ้น
จะเอากำไร 50% ตั้งแต่วันแรกที่ตั้งบริษัทให้กับมูลนิธิ และอีก 8
ปีข้างหน้า ผมอายุ 60 ปี ผมจะปลดเกษียณ
แล้วจะมอบกำไรส่วนที่ผมและภรรยาถือหุ้นอยู่ให้กับมูลนิธิไม่ต่ำกว่า 90%
ไปทำเรื่องการศึกษา และสิ่งแวดล้อม หลังจากผมอายุ 60 ปีแล้ว
ผมก็ยังจะทำงานอยู่ต่อ แต่ผมจะไม่ทำธุรกิจแล้ว
ผมจะเป็นอาสาสมัครทำอะไรก็ได้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และตัวเองมีความสุข
ขอเน้นเลยว่าตัวเองต้องมีความสุขกับสิ่งเหล่านั้น คุณถึงจะช่วยต่อไปได้
ผมอยากจะใช้คำว่าใช้หนี้สังคม เพราะในชีวิต เราเกิดมาอายุถึง 60 ปี
เราใช้ธรรมชาติไปเยอะเลย พอถึงวันหนึ่ง
เราก็ไปทำให้กับธรรมชาติและสังคมบ้าง
ถ้า
คุณตันทำอย่างนั้น แล้วลูกหลานคุณตันจะได้อะไร?
ผมไม่เคยได้อะไรจากพ่อแม่เลย แล้วทำไมผมจะต้องให้อะไรกับลูกผมด้วย พ่อผมตาย
ผมเอาแหวนมาวงเดียว จากแม่ก็เอาพระมาองค์เดียว ผมก็ไม่ได้อะไร
ถามว่าลูกได้อะไรจากผมเยอะกว่าผมได้จากพ่อเป็นพันเท่าแล้ว คือ ผมจบ ม.3
ลูกผมไปเรียนถึงอังกฤษ ได้ไปใช้ชีวิต มีบ้าน แต่ตอนที่ผมอยู่กับพ่อแม่
ผมอยู่บ้านเช่า ลูกผมอยู่หมู่บ้าน อิสระดีกว่าตั้งเยอะ
ผมเคยอยู่แต่บ้านเช่า ผมไม่เคยมีรถเก๋งส่วนตัวขับ และผมก็ให้ลูกไป 20
ล้านบาทเป็นทุน ซึ่งมันเยอะมากเมื่อเทียบกับคนอื่นๆแต่ให้ไป 20 ล้าน คือ 20
ล้านแรก และ 20 ล้านสุดท้ายนะ ที่เหลือเป็นของผม และภรรยาซึ่งเราทำมา
เราเป็นคนตัดสินใจว่าจะใช้เงินก้อนนี้ในบั้นปลายชีวิตยังไง
ลูกได้ไปเยอะแล้ว
และเชื่อว่าลูกมีชีวิตที่ดีกว่าหลายคนที่อิจฉาเขาด้วยซ้ำไป
ตั้งใจ
ไว้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้วว่าต่อไปจะทำเพื่อสังคม? อย่าเรียกว่าทำเพื่อสังคม
ทำธุรกิจ ทุกคนก็ทำเพื่อกำไร ถ้าเกิดว่าผมทำมา 30 ปี แล้วเรื่องกำไร
เรื่องสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว ผมคิดว่าทุกๆ คนต้องมีอยู่แล้ว
แต่ผมว่ามันเลยแล้ว เกินพอแล้ว คนที่จบ ม.3 มีวันนี้มันมากเกินพอแล้ว
สำหรับคนที่พอแล้วเท่านั้นนะ แต่ถ้าสำหรับคนที่ยังไม่พอ
ยังต้องการอีกเยอะเลย เทียบกับคนรวย ผมยังเป็นคนจนอยู่
แต่ถ้าถามว่าสถานะเงินที่ผมมีอยู่ ถ้าใช้แบบปกติของมนุษย์ทั่วไป
มันเหลือเฟืออยู่แล้ว เงินส่วนตัวผมไม่ได้ใช้แล้ว
และผมก็เป็นคนที่ไม่ได้ศรัทธาเงิน แต่บางคนชอบเงินมาก
ผมไม่รู้ว่าตัวเองมีเงินเท่าไรด้วยซ้ำไป ผมไม่ได้สะสมนาฬิกา ไม่ได้สะสมพระ
ไม่มีรถสปอร์ต ไม่มีเพ้นท์เฮาส์ ผมไม่มีสักอย่าง ชีวิตผมมีแค่นี้
แต่งตัวเล็กๆ น้อยๆ กินภัตตาคารก็ได้ กินข้างถนนก็ได้ ชีวิตผมสบายๆ
ผมคาดว่าชีวิตผมอายุ 60 ปี ผมจะหันหลังให้เงินแล้ว
อายุ
60 ปี จะหันหลังให้เงิน หมายความว่าอะไร?
ผมไม่เคยจัดงานวันเกิดให้ตัวเองเลย
แต่ผมจะจัดงานวันเกิดให้ตัวเองครั้งเดียวในชีวิต และเป็นครั้งแรก ตอนอายุ
60 ปี ที่อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ซึ่งที่นั่นผมปลูกป่าไว้ 30 ไร่
ซึ่งในงานวันเกิด ผมจะจัดการทุกอย่างให้เคลียร์(พินัยกรรม)
และผมจะไปทำเรื่องอาสาสมัคร ซึ่ง ณ วันนั้น
ทรัพย์สินของผมจะไม่เพิ่มขึ้นอีกแล้ว เพราะผมจะไม่ทำธุรกิจแล้ว ณ
วันนั้นผมจะหยุดแล้ว ผมจะไปปลูกต้นไม้ ไปเป็นอาสาสมัคร
คืออยากทำอะไรสะดวกที่ไหน ชอบไปที่ไหนก็ไปทำเลย แต่ถ้าทำอะไรแล้วเกิดกำไร
ผมจะไม่ทำแล้ว
เล่า
เรื่องน้ำท่วมให้ฟังหน่อย เห็นว่ามีไอเดียที่ได้จากญี่ปุ่น ? เรื่องคลอง
ในคลองมันมีที่มา คือ เมื่อ 2 ปีก่อนผ มได้ไปญี่ปุ่น ไปเกียวโต
แล้วนั่งรถไปเจอคลองหนึ่ง คือ คลองนั้น จะเป็นเหมือนกราฟลง คือมีคลอง
แล้วข้างล่างมีคลองอีกทีหนึ่ง ผมก็เรียกไกด์จอดรถ
คือผมเห็นว่าคลองบริเวณชั้น 2 มันเป็นที่ขายของ นั่นหมายความว่า
สมัยก่อนมันเล็ก แล้วเค้าขยายขึ้นทำเป็น 2 ชั้น พอขยายขึ้นยาวตลอด
มันเสียที่เยอะมาก เค้าเลยเอาขอบคลองรอบที่ 2 เป็นพื้นที่ขยาย
แล้วถามว่าทำไมต้องมาเป็นพื้นที่ขายของเพราะมันยาว มันใหญ่มาก
เสียพื้นที่เยอะ แล้วญี่ปุ่นมันเล็ก การที่ทำคลองใหญ่ อาจจะต้องใช้ที่เยอะ
มันอาจจะต้องเวียนคืน แล้วก็เอาคนมาทำธุรกิจข้างล่าง
แล้วทำไมถึงมีคลองในคลอง คือ คลองข้างล่างมันมีน้ำไหลอยู่แล้ว
ปกติน้ำจะใช้แค่คลองข้างล่างเท่านั้น ชั้น 2 จะเอาไว้ขายของตลอด
แต่ในอดีตหลาย 10 ปีก่อน เคยน้ำท่วมครั้งหนึ่ง ทำให้เดือดร้อนทั้งหมดเลย
เค้าเลยไปขุดคลองให้ใหญ่ขึ้นแต่ขุดแล้วแทบจะไม่ได้ใช้เลย
ก็เลยเอามาทำธุรกิจ แต่วันหนึ่งอาจจะได้ใช้ เมื่อน้ำมาเยอะๆ
คนก็จะย้ายออกคลองนี้ก็จะกลายเป็นที่บรรจุน้ำ 10 เท่าทันที
มันเลยเรียกเป็นคลองในคลอง
แล้วจะ
นำมาประยุกต์ใช้เมืองไทยได้? ผมเห็นเหตุการณ์ครั้งนี้
แล้วเหมือนกับว่าถ้าเราไปเห็นคลองชั้นแรก มันยังไม่มีน้ำเลย
แล้วมันจะมีใหญ่ขนาดนี้ชั้นที่ 2 เพื่ออะไร คือมันไม่ได้ใช้วันนี้
แต่ว่าวันไหนน้ำท่วมเยอะๆ มันก็จะได้ใช้ เพราะฉะนั้นคลองเราต้องใหญ่ไว้ก่อน
เปรียบเสมือนอ่านหนังสือหรือทำงานก็ได้ คือ อ่านหนังสือน้อย
คนที่อ่านหนังสือเยอะๆ ฟังบรรยาย อะไรเยอะๆ หาความรู้ให้ตัวเอง
ก็ไม่เกี่ยวกับตัวเอง ไม่ได้ใช้ บางคนทำงานเกี่ยวกับเรื่องแอร์
ก็จะอ่านแต่เรื่องแอร์เท่านั้น ความจริงคืออ่านไปเหอะ อ่านทุกเรื่อง
อ่านเยอะๆ เหมือนการขุดคลองของตัวเองให้ใหญ่ขึ้น อนาคตวันหนึ่ง
วิกฤติมาปุ๊บคลองคุณใหญ่กว่าคนอื่น คุณก็จะเป็นคนได้เปรียบ
เพราะว่าพอคุณเห็นคนที่เจอวิกฤติบางคนแก้ไขได้แต่ทำไมบางคนแก้ไขไม่ได้
เพราะความรู้เค้าเหมือนคลองเล็กๆ แต่คนนี้คลองมันใหญ่ มันรับน้ำได้เยอะ
ถ้าคลองของคุณ คือ ทะเล คุณไม่มีวันท่วม นั่นคืออย่าไปเกี่ยง
คลองใหญ่เป็นทะเลยิ่งดี ก็คือที่มาของน้ำท่วมว่า
ชีวิตของคนเราไม่ว่าคลองจริงๆ หรือว่าอ่านหนังสือ หรือประสบการณ์นำความรู้
บางคนทำงานไม่เอา ผมเป็นพวกเสือกทุกเรื่อง เรื่องที่ผมไม่รู้
ผมอยากทำหมดเลย มันเป็นการสะสมคลองในตัวเราให้ใหญ่ขึ้น
เข้า
มาเขียนคอลัมน์ให้ไทยรัฐออนไลน์ได้อย่างไร?
ไทยรัฐออนไลน์ให้เกียรติติดต่อมา
ซึ่งมันตรงกับช่วงจังหวะที่ผมอยากจะถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิต
เพื่อให้เป็นประโยชน์กับคนอื่นไม่มากก็น้อย แต่จริงๆผมก็ไม่มีความรู้
(หัวเราะอย่างถ่อมตัว) แล้วก็ต้องออกตัวจริงๆ
ว่าผมไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรบ้าง
ตอนติดต่อไป คุณตันรู้สึกอย่างไรบ้าง? จริงๆไม่อยากรับ เพราะไม่ได้เป็นนักเขียน ไม่รู้จะเขียนอะไรให้แต่ทางทีมงานบอกเขียนได้ ก็เลยลองดู ได้ก็ได้
คุณ ตันยังทอล์กโชว์ได้เลย เขียนคอลัมน์น่าจะสบาย? มันไม่เหมือนกัน เพราะทอล์กโชว์ ผมเอาประสบการณ์ถึง 30 ปี มาทอล์กโชว์ แต่ตอนนี้มันหมดแล้วไง ชีวิตผมบนทอล์กโชว์มันหมดไปครึ่งหนึ่งแล้ว แล้วผมก็ได้ไปเขียนเรื่องวิธีการในเฟซบุ๊กอีก 30 ตอน คือ ต้องเข้าใจว่าการเขียนวิธีการในเฟซบุ๊กผมจะเขียนจากเรื่องในอดีตที่ผมพบ หรือสิ่งรอบๆ ตัวผม ถ้าไปอ่านแล้วจะรู้ว่าผมเอาสิ่งรอบตัว เอาธรรมชาติมาเขียน แต่นักเขียนมันเขียนได้ทุกเรื่อง ทุกเหตุการณ์ ผมไม่ได้เป็นนักพูดนะ แต่ผมไปบรรยายทุกวัน แต่ตามหัวข้อที่ผมถนัดเท่านั้นนะ แต่ถ้านักพูดมืออาชีพ คือ คุณเขียนหัวข้อมา เขาพูดได้ทุกหัวข้อ ถ้าให้ผมไปพูดในเรื่องที่ผมพูดไม่ได้ ผมพูดได้แต่เรื่องที่ผมเป็นอยู่ หรือสิ่งที่ผมเห็น และผมเข้าใจ เป็นประสบการณ์ของเรา ถ้าให้ไปพูดเรื่องอื่น ผมพูดไม่ได้เลย แต่ถ้าเป็นนักพูด ถ้าคุณไปจ้างเขาแล้วบอกว่าอยากให้พูดเรื่องอะไร เขาสามารถไปหาข้อมูล และพูดให้คุณได้เลย แต่ผมไม่มีเวลาไปหาข้อมูล
คาด
หวังกับการเขียนครั้งนี้อย่างไรบ้าง?
คงจะใช้ประสบการณ์ในชีวิตมาเขียนบอกเล่าให้ทุกคนฟัง เช่น ในเรื่องธุรกิจ
ที่สไตล์ตันตัน ทำในสิ่งที่ทุกคนมองข้าม
แต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่แปลกประหลาดจากคนอื่น
แต่ตอนนี้อยากโฟกัสเรื่องน้ำท่วมก่อน เพราะตอนนี้ทุกคนต้องการกำลังใจ
และแรงใจในการช่วยเหลือ อยากให้ทุกคนมีจิตสาธารณะ
เพราะประเทศไทยจะอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีทุกคนมาช่วยเหลือ ไม่ต้องถามหรอกว่า
ผมเสียหายไปเท่าไร แต่ถามว่าเมื่อไรพวกคุณจะออกมาช่วยเหลือทุกคน
และก็ขอให้ติดตามไทยรัฐออนไลน์ เพราะผมจะมาเขียนที่นี่
และจะมาบอกเล่าเรื่องราวว่า สิ่งที่ผ่านมาในชีวิต ผมเจออะไร
เผื่อที่จะเป็นประโยชน์กับคุณบ้างไม่มากก็น้อย
อยาก
ให้ฝากถึงแฟนๆ ที่จะมาอ่านคอลัมน์ของคุณตันในไทยรัฐออนไลน์?
อย่ามาคาดหวังอะไรกับผม (หัวเราะ) ผมก็จะพยายามเอารอบๆ ตัว
ที่มีอะไรลองมาเล่าให้ฟัง เผื่อพวกเราจะเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
คือ ไม่มีถูกกับผิด จริงๆ ไม่ต้องให้ผมมาเขียนให้หรอก
ผมเชื่อว่าธรรมชาติรอบๆ ตัวเราสอนเราทุกเรื่อง ถ้าเราไปคิดสักนิดหนึ่ง
คือผมเป็นคนที่มองแล้วมองผ่าน คือบางคนไปเที่ยว ก็อาจจะได้แต่เที่ยว
ดูหนังก็ได้แต่ความสนุก แต่ผมไปเที่ยว ผมก็ได้ธุรกิจ ผมดูหนัง
ผมก็ได้ข้อคิด ผมเห็นน้ำท่วม ผมเห็นต้นไม้ ผมเห็นลมแรง ผมเห็นกระถางต้นไม้
ผมเห็นอะไร ผมก็สามารถที่จะเอามาเป็นข้อคิดให้กับตัวเองได้ทั้งนั้น จริงๆ
ทุกคนก็ทำได้ แต่พวกคุณไม่ได้ไปคิดเฉยๆ เพียงแต่ผมชอบคิดสิ่งรอบๆตัวง่ายๆ
ผมเขียนเรื่องยากๆ เขียนเรื่องเทคโนโลยี เขียนเรื่องความรู้ทางวิชาการ
ผมเขียนไม่ได้เลย ผมเขียนได้แต่เรื่องง่ายๆ ที่ทุกคนรู้อยู่แล้ว
เพียงแต่ว่าผมหยิบมาพูด
นี่
เป็นเพียงน้ำจ้ิมของผู้ชายหัวใจหล่อ ตัน อิชิตัน
ซึ่งใครที่เป็นแฟนคลับตัวจริงของคุณตัน ต้องมาติดตามคอลัมน์
"คนดังนั่งเขียน" ของไทยรัฐออนไลน์ ซึ่งได้ฤกษ์เปิดประเดิมด้วยเลขสวย
วันที่ 11 เดือน 11 ปี 2011 เชื่อว่าถ้าได้อ่านคอลัมน์ของชายผู้นี้แล้ว
เราจะหลงรักความมีน้ำใจที่ยิ่งใหญ่ของเขาอีกเยอะ.
วันนี้ เราจะมาเปิดหน้าบทสนทนาเพื่ออัพเดทชีวิตของ 1 ใน 12 คอลัมนิสต์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นวีรบุรุษของคนไทยในช่วงเกิดวิกฤติมหาอุทกภัยในทุกพื้นที่ แม้จะได้เห็นน้ำตาของชายผู้นี้ในวันที่โรงงานมูลค่า 3,500 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นธุรกิจใหม่แกะกล่องของ ตัน อิชิตัน กำลังจมน้ำ และคำพูดที่หล่อยิ่งกว่าหัวใจของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น นายจ้าง "ผมจะเป็นคนสุดท้ายที่ออกจากโรงงาน กัปตันต้องสละเรือเป็นคนสุดท้าย"
ตอนติดต่อไป คุณตันรู้สึกอย่างไรบ้าง? จริงๆไม่อยากรับ เพราะไม่ได้เป็นนักเขียน ไม่รู้จะเขียนอะไรให้แต่ทางทีมงานบอกเขียนได้ ก็เลยลองดู ได้ก็ได้
คุณ ตันยังทอล์กโชว์ได้เลย เขียนคอลัมน์น่าจะสบาย? มันไม่เหมือนกัน เพราะทอล์กโชว์ ผมเอาประสบการณ์ถึง 30 ปี มาทอล์กโชว์ แต่ตอนนี้มันหมดแล้วไง ชีวิตผมบนทอล์กโชว์มันหมดไปครึ่งหนึ่งแล้ว แล้วผมก็ได้ไปเขียนเรื่องวิธีการในเฟซบุ๊กอีก 30 ตอน คือ ต้องเข้าใจว่าการเขียนวิธีการในเฟซบุ๊กผมจะเขียนจากเรื่องในอดีตที่ผมพบ หรือสิ่งรอบๆ ตัวผม ถ้าไปอ่านแล้วจะรู้ว่าผมเอาสิ่งรอบตัว เอาธรรมชาติมาเขียน แต่นักเขียนมันเขียนได้ทุกเรื่อง ทุกเหตุการณ์ ผมไม่ได้เป็นนักพูดนะ แต่ผมไปบรรยายทุกวัน แต่ตามหัวข้อที่ผมถนัดเท่านั้นนะ แต่ถ้านักพูดมืออาชีพ คือ คุณเขียนหัวข้อมา เขาพูดได้ทุกหัวข้อ ถ้าให้ผมไปพูดในเรื่องที่ผมพูดไม่ได้ ผมพูดได้แต่เรื่องที่ผมเป็นอยู่ หรือสิ่งที่ผมเห็น และผมเข้าใจ เป็นประสบการณ์ของเรา ถ้าให้ไปพูดเรื่องอื่น ผมพูดไม่ได้เลย แต่ถ้าเป็นนักพูด ถ้าคุณไปจ้างเขาแล้วบอกว่าอยากให้พูดเรื่องอะไร เขาสามารถไปหาข้อมูล และพูดให้คุณได้เลย แต่ผมไม่มีเวลาไปหาข้อมูล
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น