ภาพถ่ายไทยก่อน-หลังน้ำท่วม
edition.cnn.com เผยภาพถ่ายดาวเทียม เปรียบเทียบประเทศไทย
ก่อน-หลังน้ำท่วม ผู้เชี่ยวชาญสับ! เติบโตแบบไร้การวางแผน
4 พ.ย.54 สำนักข่าวต่างประเทศ เผยภาพถ่ายดาวเทียม ที่ถ่ายได้ในช่วงก่อน และหลังเกิดน้ำท่วมในไทย ที่แสดงให้เห็นสภาพภูมิประเทศว่า ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งเห็นความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของพื้นที่ ก่อน-หลังน้ำท่วม ของประเทศไทย
ภาพถ่ายด้วยระบบ โมเดอเรท เรสโซลูชั่น อิมเมจจิ้ง สเป็คโตรเรดิโอมีเทอร์
(Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer) บนดาวเทียมเทอร์ร่า
ขององค์การบริหารอวกาศ และการบินแห่งชาติของสหรัฐ หรือ นาซ่า
ได้แสดงให้เห็นภาพของ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่ง
เป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อศตวรรษที่ 14
บริเวณจุดบรรจบกันของแม่น้ำ 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำลพบุรี
และแม่น้ำป่าสัก ทำให้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ
และครั้งหนึ่งเคยได้รับการขนานนามว่าเป็น " เวนิซแห่งตะวันออก "
ปัจจุบัน เมืองเก่าแก่แห่งนี้ อาจได้รับคำนิยามใหม่ หลังจากถนนทุกสายกลายเป็นแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่โอบอ้อมพื้นที่เพาะปลูก และที่ราบน้ำท่วมถึง (floodplains) จมหายไปในน้ำ ซึ่งเห็นได้จากภาพถ่ายดาวเทียมระบบแอดวานซ์ แลนด์ อิมเมจเจอร์ (Advanced Land Imager) ของนาซ่า ที่ถ่ายไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคมปีนี้
สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และทรัพยากรธรรมชาติ หรือ IUCN ได้ประเมินว่า มีพื้นที่เพาะปลูก 1 ล้าน 2 แสน 5 หมื่นไร่ ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั่วประเทศไทย ส่วน ในเขตเศรษฐกิจก็จมอยู่ในน้ำ และมีโรงงานราว 1 พันแห่งที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ การที่ไทยได้ชื่อว่า เป็นศูนย์กลางการผลิตให้กับบรรดาบริษัทอิเล็คทรอนิคส์หลายร้อยแห่ง ทำให้คาดว่า จะเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากภัยพิบัติครั้งนี้ เป็นมูลค่าสูงถึง 3 พันล้านดอลล่าร์ หรือราว 9หมื่นล้านบาท
บริเวณทางเหนือของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามบินดอนเมือง ซึ่งให้บริการเฉพาะเที่ยวบินในประเทศ ได้ปิดทำการมาตั้งแต่สิ้นเดือนตุลาคม หลังจากรันเวย์จมน้ำ ทำให้เที่ยวบินต่าง ๆ ต้องไปใช้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิ ที่ได้รับการปกป้องจากคันกั้นน้ำ
IUCN ระบุว่า ที่ราบน้ำท่วมถึงโดยธรรมชาติ มีความสำคัญต่อการเก็บกักน้ำในช่วงน้ำท่วม และเมื่อรวมกับพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetlands) และช่องทางสำหรับน้ำไหลผ่านด้วยแล้ว ก็จะช่วยจำกัดความรุนแรงของผลกระทบจากน้ำท่วมได้
คเนศ ปันกาเร ผู้อำนวยการโครงการน้ำของ IUCN ประจำภูมิภาคเอเชีย ให้ความเป็นเชิงเสียดสีว่า นี่เป็นกรณีที่สุดคลาสสิคของเมืองที่ทำอะไรแบบสุ่มสี่สุ่มห้า ระบบระบายน้ำหายไป ที่ราบน้ำท่วมถึงก็หายไป ต้นไม้ที่คอยช่วยดูดซับน้ำก็หายไปหมด สิ่งที่เกิดขึ้นได้ทำให้เห็นถึงการเติบโตที่ไม่ได้มีการวางแผนใด ๆ
...............................................
(หมายเหตุ : ที่มา : edition.cnn.com)
ปัจจุบัน เมืองเก่าแก่แห่งนี้ อาจได้รับคำนิยามใหม่ หลังจากถนนทุกสายกลายเป็นแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่โอบอ้อมพื้นที่เพาะปลูก และที่ราบน้ำท่วมถึง (floodplains) จมหายไปในน้ำ ซึ่งเห็นได้จากภาพถ่ายดาวเทียมระบบแอดวานซ์ แลนด์ อิมเมจเจอร์ (Advanced Land Imager) ของนาซ่า ที่ถ่ายไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคมปีนี้
สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และทรัพยากรธรรมชาติ หรือ IUCN ได้ประเมินว่า มีพื้นที่เพาะปลูก 1 ล้าน 2 แสน 5 หมื่นไร่ ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั่วประเทศไทย ส่วน ในเขตเศรษฐกิจก็จมอยู่ในน้ำ และมีโรงงานราว 1 พันแห่งที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ การที่ไทยได้ชื่อว่า เป็นศูนย์กลางการผลิตให้กับบรรดาบริษัทอิเล็คทรอนิคส์หลายร้อยแห่ง ทำให้คาดว่า จะเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากภัยพิบัติครั้งนี้ เป็นมูลค่าสูงถึง 3 พันล้านดอลล่าร์ หรือราว 9หมื่นล้านบาท
บริเวณทางเหนือของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามบินดอนเมือง ซึ่งให้บริการเฉพาะเที่ยวบินในประเทศ ได้ปิดทำการมาตั้งแต่สิ้นเดือนตุลาคม หลังจากรันเวย์จมน้ำ ทำให้เที่ยวบินต่าง ๆ ต้องไปใช้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิ ที่ได้รับการปกป้องจากคันกั้นน้ำ
IUCN ระบุว่า ที่ราบน้ำท่วมถึงโดยธรรมชาติ มีความสำคัญต่อการเก็บกักน้ำในช่วงน้ำท่วม และเมื่อรวมกับพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetlands) และช่องทางสำหรับน้ำไหลผ่านด้วยแล้ว ก็จะช่วยจำกัดความรุนแรงของผลกระทบจากน้ำท่วมได้
คเนศ ปันกาเร ผู้อำนวยการโครงการน้ำของ IUCN ประจำภูมิภาคเอเชีย ให้ความเป็นเชิงเสียดสีว่า นี่เป็นกรณีที่สุดคลาสสิคของเมืองที่ทำอะไรแบบสุ่มสี่สุ่มห้า ระบบระบายน้ำหายไป ที่ราบน้ำท่วมถึงก็หายไป ต้นไม้ที่คอยช่วยดูดซับน้ำก็หายไปหมด สิ่งที่เกิดขึ้นได้ทำให้เห็นถึงการเติบโตที่ไม่ได้มีการวางแผนใด ๆ
...............................................
(หมายเหตุ : ที่มา : edition.cnn.com)
คมชัดลึก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น