ยุคนั้นสมัยนั้นมีกลุ่มนายทหาร และพลเรือนหัวก้าวหน้าที่เรียกตนเองว่า “คณะราษฎร” ได้คิดการใหญ่หมายเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศ หรือที่เราเรียกว่า “ปฏิวัติ ๒๔๗๕” บรรดานักวิชาการ ตลอดจนคนรุ่นใหม่ๆหลายๆคนเริ่มวิพากษ์วิจารณ์ว่าการกระทำในครั้งนั้น “ชิงสุกก่อนห่าม” หรือไม่ประการใด แต่ทว่าก็มีหนังสืออีกจำนวนหนึ่งที่แย้งว่าการอภิวัฒน์(ปฏิวัติ)ในครั้งนั้น ไม่ใช่ชิงสุกก่อนห่ามอย่างที่หลายคนเข้าใจแต่สถานการณ์ในตอนนั้น “สุกงอม” พอดีต่างหากเล่า!
ไม่ว่าจะ ชิงสุกก่อนห่าม หรือ สุกงอมพอดี ก็ตามที(ไว้จะว่าในวันหลัง)เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ผ่านพ้นมาด้วยดี ไม่มีเสียเลือดเสียเนื้อแต่ประการใด คงเหลือไว้แต่ “อุดมการณ์ประชาธิปไตย” ที่กลายเป็น “ฉากหน้า” ให้คนในยุคนี้ได้ “แอบอ้าง” กันเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น!
จะว่าไป “ตัวละครการเมือง” ท่านหนึ่งผมมักจะเจอชื่อท่านบ่อยๆในฐานะที่เป็น “คณะราษฎร” และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในเหตุการต่างๆมากมาย แต่เราๆท่านๆมักจะไม่ได้คุ้นหูคุ้นชื่อสักเท่าไหร่ ท่านที่ผมกำลังจะพูดถึงนี้คือ “หลวงกาจสงคราม” – กาจ กาจสงคราม
หลวงกาจสงคราม (กาจ กาจสงคราม) หนึ่งในคณะราษฎรฝ่ายทหาร เดิมชื่อ เทียน เก่งระดมยิง จบโรงเรียนนายร้อยทหารบก รับราชการทหารอยู่ที่เชียงใหม่และที่พระนคร หลังจากนั้นหลวงพิบูลสงคราม(จอมพล ป. พิบูลสงคราม)ได้ชักชวนให้เข้าร่วมการปฏิวัติด้วย ซึ่งหลังการปฏิวัติหลวงกาจสงครามถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในคณะ ราษฎร และมีความใกล้ชิดกับหลวงพิบูลสงคราม จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับการกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒ ในพระนคร และหลวงกาจสงครามก็ได้เข้าร่วมการรัฐประหารครั้งแรกซึ่งนำโดยพระยาพหลพล พยุหเสนา และได้เข้าร่วมในการปราบ “กบฎบวรเดช” จนได้รับ บาดเจ็บ ซึ่งรัฐบาลได้ปูนบำเน็จและย้ายให้ไปควบคุมกรมอากาศยาน(กองทัพอากาศ) และหลังจากนั้นหลวงกาจสงครามก็ได้เป็นเสนาธิการกองทัพอากาศคนแรก แต่เนื่องด้วยหลวงกาจสงครามมีความขัดแย้งกับนายทหารในกองทัพอากาศทำให้ รัฐบาลย้ายให้หลวงกาศสงครามไปเป็นอธิบดีกรมศุลกากร
ด้วยความ ที่หลวงกา จสงครามมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับจอมพล ป. เป็นพิเศษทำให้เมื่อจอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนาตรี หลวงกาจสงครามก็ได้เป็นรัฐมนตรี จนเมื่อญี่ปุ่นบุกไทย จอมพล ป. ยอมรับกองทัพญี่ปุ่นทำให้หลวงกาจสงครามไม่พอใจลาออกจากรัฐมนตรีและได้เข้า ร่วมกับ “ปรีดี พนมยงค์” ในภาระกิจ “เสรีไทย”
หลวงกา จสงครามได้เข้าร่วมกับปรัดี พนมยงค์ ก่อตั้งพรรคสหชีพซึ่งเป็นพรรคของคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน แต่เพราะความคิดเห็นและแนวทางหลายๆอย่างไม่ตรงกันทำให้หลวงกาจสงครามได้ถอย ห่างออกจากกลุ่มคณะราษฎรสายของปรีดี(พลเรือน)และเริ่มมีแนวโน้มในการต่อต้าน แนวทางประชาธิปไตยของปรีดี พนมยงค์อยู่เนืองๆ
ครั้งหนึ่งหลวงกาจสงครามได้อภิปรายโจมตีรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๔๘๙ ว่า “พอเปลี่ยนรัฐธรรมนูญได้ไม่กี่วัน เราก็เสียองค์พระมหากษัตริย์”
หลังจาก นั้นหลวงกาจสงครามก็รวบรวมนายทหาร(ส่วนใหญ่จะนอกประจำการ)และพลเรือนทำ การรัฐประหารรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และตั้งนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่คณะรัฐประหารประกาศตัวไว้ล่วงหน้าว่าจะไม่ขอยุ่งงานการเมืองใดๆทั้ง สิ้นทั้งปวง!
โดยที่ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นหลวงกาจสงครามก็เป็นผู้ที่ มีส่วนร่วมสำคัญมากที่สุดคนหนึ่งโดยตั้งแต่ก่อนการรัฐประหารหลวงกาจสงคราม ได้ทำการร่างรัฐธรรมนูญไว้ก่อนแล้วและซ่อนไว้ที่ “ใต้ตุ่ม” หลังจากรัฐประหารเสร็จท่านก็นำออกมาปรับปรุงก่อนประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญปี ๒๔๙๐ ซึ่งรัฐธรรมนูญนี้ก็ได้รับฉายาว่า “รัฐธรรมนูญ ฉบับใต้ตุ่ม”
และหลวงกาจสงครามนี้เองที่เป็นผู้เปิดเผยแผนการ “มหาชนรัฐ” ใส่ความปรีดี พนมยงค์ ว่ามีส่วนร่วมในการก่อตั้งพรรคมหาชนรัฐที่ต้องการเปลี่ยนประเทศไทยเป็น “สาธารณรัฐ” จนเป็นที่โจษจัญไปทั่วและเกิดการจับกุมผู้ต้องสงสัยหลายรายซึ่งล้วนแต่เป็น กลุ่มของนายปรีดี หลวงกาจสงครามอ้างเรื่องแผนมหาชนรัฐว่าจะก่อให้เกิดการวินาศกรรมครั้งใหญ่ จึงได้ตัดสินใจรัฐประหารเสียก่อน (ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความชอบธรรมให้กับตนเองและคณะรัฐประหาร) แต่ทว่าหลังจากการตรวจสอบแล้วก็พบว่าแผนมหาชนรัฐนี้เป็นเพียงรัฐธรรมนูญ ของอเมริกา รวมทั้งผู้ต้องหาที่จับมามากมายก็ไม่มีหลักฐานสืบสาวไปได้ว่าเกี่ยวข้องกับ แผนการมหาชนรัฐ ทำให้ต้องปล่อยไป ทำให้คณะรัฐประหารต้องยอมวางมือในเรื่องนี้ปล่อยให้ตำรวจจัดการแทน นำมาซึ่งความเสื่อมเสียเป็นอย่างมาก
แต่ ผลจากการรัฐประหารในครั้งนั้นทำให้เป็นการ “ปิดฉาก” คณะราษฎรฝ่ายปรีดี จากศูนย์กลางอำนาจ และเป็นการเริ่มตันของคณะราษฎรฝ่ายทหารที่นำโดยจอมพล ป. และทำให้การเมืองไทยตกอยู่ใต้อำนาจกองทัพอีกครั้ง
และหลัง จากการเลือกตั้งในปี ๒๔๙๑ นายควง อภัยวงศ์ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และหลังจากการริหารประเทศเพียงไม่นาน หลวงกาจสงครามพร้อมนายทหารสี่คนก็เดินทางไปที่บ้านพักของนายควงบังคับให้นาย ควงลาออกจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายควงก็ลาออกแต่โดยดี เราเรียกการรัฐประหารครั้งนี้ว่า “รัฐประหารเงียบ” และตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็เป็นของ “จอมพล ป. พิบูลสงคราม”
ชีวะประวัติคร่าวๆของ “หลวงกาจสงคราม” ท่านนี้ไม่ธรรมดานะครับ เรียกได้ว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์สำคัญๆหลายๆอย่างในอดีตมาโดยตลอด แต่ทว่ามีน้อยคนนักหล่ะครับที่จะจำได้ว่ามีคนชื่อ “กาจ กาจสงคราม” คนนี้อยู่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยอยู่ด้วย!!!!
***หมาย เหตุ บทความนี้เขียนขึ้นเนื่องในวันที่ ๘ พฤศจิกายน เป็นวันที่หลวงกาจสงครามได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลพล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น