บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ยิ่งลักษณ์เผยแผนฟื้นฟูประเทศ 3R – ตั้งกรรมการ 2 ชุดแก้ปัญหาระยะยาว

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 – หลังการประชุมคณะรัฐมนตรีในช่วงเช้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าว “มาตรการเชิงยุทธศาสตร์การฟื้นฟูประเทศ”
น.ส.ยิ่งลักษณ์ระบุว่า การแก้ไขปัญหาเร่งด่วนยังเป็นหน้าที่ของ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) แต่ในบางพื้นที่ ปัญหาน้ำท่วมเริ่มบรรเทาลง และเข้าสู่ระยะฟื้นฟูแล้ว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวแผนฟื้นฟูประเทศ

แผนฟื้นฟู 3R ระยะเฉพาะหน้า-สั้น-ยาว

รัฐบาลจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูประเทศ โดยแยกออกเป็น 3 ระยะคู่ขนานกันไป คือ 3 R ได้แก่ Rescue/Restore/Rebuild หรือ “กอบกู้/ซ่อม/สร้าง” ดังนี้
1) ระยะเฉพาะหน้า – จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1-2 เดือน คือการกู้ภัย (Rescue) โดยได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) ขึ้นมาเพื่อดำเนินการรับเรื่องร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาความต้องการ รับบริจาค ส่งมอบสิ่งของ ฯลฯ ให้แก่ผู้ประสบภัย ทำการรักษาพยาบาล ให้ที่พักพิงชั่วคราว ฯลฯ ดำเนินการจัดการเรื่องน้ำท่วม
2) ระยะสั้น – กำหนดให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี คือการซ่อม (Restore) เป็นการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูให้ระบบต่างๆ สามารถกลับมาทำงานได้อีกครั้งหนึ่งโดยเร็ว รวมถึงการเยียวยา ให้เงินช่วยเหลือ เงินกู้ สิทธิประโยชน์ ต่างๆ ด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 230/2554 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการและกลไกการปฏิบัติงานฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) เป็นประธานคณะกรรมการร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการทำหน้าที่วางแนวทาง/มาตรการ/บูรณาการ/ ติดตามการดำเนินงานในภาพรวม
หมายเหตุ: อ่านรายละเอียดของคณะกรรมการระยะสั้น 9 ชุดที่รัฐบาลแต่งตั้งได้จากข่าว ยิ่งลักษณ์ตั้งคณะกรรมการ 9 ชุด ฟื้นฟูและเยียวยาผู้ประสบภัย ที่ SIU นำเสนอไปแล้ว
3) ระยะยาว – เป็นการดำเนินการเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ฟื้นความเชื่อถือ และ สร้างความมั่งคั่งและมั่นคงของประเทศให้กลับคืนมาโดยการออกระเบียบสำนักนายก รัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 คณะ คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) และ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.)

‘วีรพงษ์’ รับประธาน กยอ. สร้างอนาคตประเทศ

สำหรับ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) จะมี ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีต รองนายกรัฐมนตรี มารับตำแหน่งประธานกรรมการ มีรองนายกรัฐมนตรี 2 ท่าน คือ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ และนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นกรรมการ
คณะกรรมการที่เหลือได้แก่
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 
  • นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ 
  • นายกิจจา ผลภาษี 
  • นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ 
  • นายวิษณุ เครืองาม 
  • นายศุภวุฒิ สายเชื้อ 
  • เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 
  • ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 
  • ประธานสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย
โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ร่วมแถลงข่าว (ภาพจากทำเนียบรัฐบาล)
ดร.โกร่ง ให้สัมภาษณ์ เร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่น เตรียมพบนักลงทุนญี่ปุ่น
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า วิกฤติอุทกภัยครั้งนี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนชาวต่างประเทศที่อาจจะทบทวนการลงทุนในประเทศไทยและย้ายฐาน การผลิตจากประเทศไทยไปที่อื่น ซึ่งหากเกิดขึ้นก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของประเทศในอนาคต ดังนั้นการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่ในเรื่องการวางระบบป้องกันน้ำท่วมและการบริหารจัดการน้ำในช่วง ต่อไปเท่านั้น แต่จะต้องให้ความมั่นใจในภาพรวมของเศรษฐกิจอย่างเชื่อมโยงกันในทุก ๆ ด้าน เช่น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนของระบบการเงินการคลัง ศักยภาพในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย โอกาสการลงทุนและการอำนวยความสะดวกในการลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง ความมั่นคงด้านพลังงาน โอกาสในการขยายพื้นที่การลงทุนใหม่ ซึ่งอาจรวมถึงความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีการพัฒนาในพื้นที่ใกล้ กับประเทศไทย เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการลงทุนในทุกประเทศล้วนมีความเสี่ยง ทั้งจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภัยธรรมชาติหรือปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งนักลงทุนก็จะพิจารณาว่าผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงแล้วเป็นอย่างไร คณะกรรมการชุดนี้จึงได้รับมอบหมายให้วางแผนการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศที่คำนึง ถึงความจำเป็นรอบด้านดังกล่าว เพื่อให้นักลงทุนมั่นใจว่าหลังจากวิกฤตอุกทกภัยครั้งนี้ประเทศไทยจะกลับมา เป็นแหล่งลงทุนที่น่าลงทุนมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต
โดยคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานอย่างประสานกันอย่างใกล้ชิดกับ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) เพื่อให้เกิดการลงทุนที่เกิดประโยชน์มากที่สุดและมีวินัยการคลัง และสามารถอธิบายให้นักลงทุนมั่นใจทั้งสองด้าน คือ ด้านระบบบริหารจัดการน้ำและด้านศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ขณะเดียวกันการสื่อสารกับนักลงทุนถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง และต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้นักลงทุนทราบความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นในเดือนนี้ (พ.ย.) ในฐานะประธานของคณะกรรมการชุดนี้ก็จะเดินทางไปพบนักธุรกิจและนักลงทุน ญี่ปุ่นซึ่งเป็นกลุ่มนักลงทุนที่สำคัญสำหรับประทศไทยและเป็นกลุ่มนักลงทุน ที่ได้รับผลกระทบอย่างมากในวิกฤติอุทกภัยครั้งนี้ เพื่อรับฟังความเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่นักลงทุนเป็นห่วง และให้ความมั่นใจถึงภารกิจที่ รัฐบาลชุดนี้ได้มอบหมายให้กับกรรมการชุดนี้ และเร่งการวางกรอบการทำงานของคณะกรรมการเพื่อเสนอแนะยุทธศาสตร์ให้กับรัฐบาล อย่างเป็นขั้นตอนต่อไป
ข้อมูลจาก ทำเนียบรัฐบาล

‘สุเมธ’ เป็นที่ปรึกษา กยน. – ‘กิตติรัตน์’ ประธาน

ส่วน คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.)  เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศในระยะยาว
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล (ภาพจากเว็บไซต์สภาพัฒน์ฯ)
คณะกรรมการชุดนี้มี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นที่ปรึกษา มี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีเศรษฐกิจเป็นประธาน และมีคณะกรรมการประกอบด้วย
  • นายกิจจา ผลภาษี
  • นายชูเกียรติ ทรัพย์ไพศาล
  • นายธีระ วงศ์สมุทร
  • นายนิพัทธ พุกกะณะสุต
  • นายปราโมทย์ ไม้กลัด
  • นายปลอดประสพ สุรัสวดี
  • นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา
  • นายรอยล จิตดอน
  • นายรัชทิน ศยามานนท์
  • นายศรีสุข จันทรางศุ
  • นายสนิท อักษรแก้ว
  • นายสมบัติ อยู่เมือง
  • นายสมิทธ ธรรมสโรช
  • นายอัชพร จารุจินดา
  • นายอำพน กิตติอำพน
  • เลขาธิการคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ                กรรมการและเลขานุการร่วม
  • เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ         กรรมการและเลขานุการร่วม
  • อธิบดีกรมชลประทาน            กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  • อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง           กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  • นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล           กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  • นายเสรี ศุภราทิตย์            กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  • นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา           กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ, กรุงเทพธุรกิจ



 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง