ไทยรัฐ
ส.อ.ท.หวั่นอุตสาหกรรมไทยจมน้ำนานกว่า 4 เดือนทำจีดีพีติดลบ ขณะที่ดัชนีอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. ต่ำสุดรอบ 26 เดือน คาด ความเสียหายภาคอุตสาหกรรมเดือนละแสนล้านบาท…นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)เปิดเผยว่า วิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นไม่ได้สร้างความเสียต่อภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่กระทบต่อการจ้างงานและเศรษฐกิจของประเทศด้วย รัฐบาลจึงต้องเตรียมมาตรการฟื้นฟูหลังน้ำลดที่ไม่ล่าช้า เพราะขณะนี้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงไม่ควรนำข้ออ้างที่ติดขัดกับข้อกฏหมายหรือหลักเกณฑ์ใดๆ มาอ้าง แต่ต้องผ่อนปรนเงื่อนไขการช่วยเหลือให้เกิดขึ้นได้รวดเร็วที่สุด เพราะขณะนี้ความเสียหายต่อภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่าเดือนละกว่า 100,000 ล้านบาท หากปล่อยไว้นานเกิน 4 เดือนหลังน้ำลด แล้วแก้ไขหรือช่วยเหลือภาคเอกชนให้กลับมาผลิตสินค้าไม่ได้ อาจทำให้อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่ประมาณการไว้ว่าจะเติบ โต 4% อาจติดลบได้
นาย พยุงศักดิ์ กล่าวว่า ส.อ.ท.เข้าใจดีกว่ากรณีที่รัฐบาลไม่ยอมประกาศให้วิกฤตน้ำท่วมได้รับการแก้ไข โดยเร็วผ่านการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) เนื่องจากอาจเกรงว่าจะเป็นเงื่อนไขให้บริษัทประกันภัยไม่ยอมจ่ายค่าเสียหาย ให้กับลูกค้าที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมได้ แต่รัฐบาลก็ควรหามาตรการอื่นๆ เข้ามาทดแทนในเรื่องนี้ เพื่อให้วิกฤตคลี่คลายในเวลาที่รวดเร็ว สำหรับผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย.ของ ส.อ.ท. พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ 90.7 ปรับลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ระดับ 102.5 ต่ำสุดในรอบ 26 เดือนนับตั้งแต่เดือน ส.ค.2552 ที่ระดับ 88.0
เช่น เดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือนที่ลดลงจาก 110.0 มาอยู่ที่ระดับ 94.0 ต่ำสุดในรอบ 27 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ค.2552 ที่อยู่ระดับ 96.7 เนื่องจากซึ่งคาดว่าค่าดัชนีเดือน ต.ค.จะลดมากกว่านี้ เนื่องจากเป็นช่วงที่ความเสียหายจากน้ำท่วมเริ่มกระจายวงกว้างมากขึ้น
“ทั้ง นี้ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นและดัชนีคาดการณ์ล่วงหน้าต่างก็ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 100 ซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน และการที่ค่าดัชนีต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในระดับที่ไม่ดี และคาดว่าค่าดัชนีเดือน ต.ค.จะต่ำกว่านี้ เพราะดัชนีที่สำรวจในเดือน ก.ย.เป็นเพียงแค่ความเสียหายที่เกิดขึ้นเพียง 1 ใน 3 ของความเสียหายที่เกิดขึ้นเท่านั้น”
นาย พยุงศักดิ์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า รัฐบาลควรชะลอการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันออกไปก่อน ออกมาตรการลดผลกระทบสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบการ เร่งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือ และออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมโดยเร็ว
ขณะ ที่ นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.กล่าวว่า จากการประเมินเบื้องต้นถึงผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมต่อยอดผลิตรถยนต์ปีนี้ คาดว่าจะทำให้ยอดการผลิตรถยนต์อยู่ที่ 1.65 ล้านคัน ต่ำกว่าเป้าเดิมที่ตั้งไว้ 1.8 ล้านคัน หรือหายไปประมาณ 150,000 คัน โดย 9 เดือนแรกของปีนี้ผลิตรถยนต์ได้แล้ว 1.28 ล้านคัน
“เรื่อง นี้ ต้องดูสถานการณ์เป็นรายวัน เพราะตัวเลขนี้เป็นการประมาณเบื้องต้นก่อนที่แต่ละค่ายจะหยุดการผลิต ซึ่งในเดือน พ.ย.คาดว่าภาพจะชัดเจนขึ้น โดยขณะนี้แต่ละค่ายก็พยายามหาชิ้นส่วนจากที่อื่นมาทดแทนให้ทันกับการผลิต”
นาย สุรพงษ์ กล่าวว่า ยอดผลิตรถยนต์เดือน ก.ย.อยู่ที่ 174,212 คัน ถือว่าสูงสุดตั้งแต่มีการผลิตรถยนต์ปี 2504 เนื่องจากเป็นเดือนแรกที่อุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มได้รับชิ้นส่วนจากบริษัทแม่ ในญี่ปุ่นตามปกติ และทำให้การผลิตเพื่อส่งออกทำลายสถิติด้วย โดยผลิตเพื่อส่งออกได้90,293 คัน ส่วนการผลิตเพื่อขายในประเทศอยู่ที่ 87,012 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 27.5%
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น