พันโชติ
วัน
เพ็ญเดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษซึ่งตรงกับ
วันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๐ เจ็ดเดือนหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา กอง
ทัพเรือพระยาวชิรปราการที่ยกมาจากจันทบุรี หลังจากปราบนายทองอิน
ยึดธนบุรีได้แล้ว ก็เคลื่อนทัพจากธนบุรีเข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น
ปราบพม่ามอญจนราบคาบ กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้สำเร็จ
พระยาวชิรปราการย้ายมาตั้งราชธานีที่เมืองธนบุรีแล้วจึงทำพิธีราชาภิเษกขึ้น
เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
วีรกรรม
ครั้งนั้นพลิกสถานการณ์ของชาติจากการสูญเสียอย่างยับเยิน แผ่นดินเป็นกลียุค
ไร้อำนาจรัฐ กลับมาเริ่มต้นสร้างบ้านแปลงเมืองกันใหม่
เพื่อให้กรุงศรีอยุธยากลับมายิ่งใหญ่เหมือนเดิมอีกครั้ง
ปัจจุบัน
เวลาผ่านไปแล้ว ๒๔๓ ปี
ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นจนผู้คนในอดีตคงคาดไม่ถึง
แน่นอนว่าบุญคุณของบรรพชนผู้เสียสละทุกผู้ทุกนามเป็นเรื่องที่ทดแทนกันไม่
ได้
แต่อย่างน้อยการรำลึกถึงเรื่องราววีรกรรมของท่านเหล่านี้ก็เป็นเรื่องพึง
กระทำ
เมื่อ
วันที่ ๖ พ.ย.๕๓ ณ ห้างอิมพิเรียล ชั้น๕ กลุ่มคนเสื้อแดงได้จัดงานเสวนา๒๔๓
ปีการกอบกู้เอกราชของพระเจ้าตาก โดยมีผู้ร่วมอภิปรายได้แก่ นที สรวารี, รุ่งโรจน์(อริน สุขวัฒน์) วรรณศูทร
ผม
เห็นหัวข้อแล้วเกิดความสนใจเพราะชื่นชอบเรื่องราวประวัติศาสตร์อยุ่แล้ว
โดยเฉพาะส่วนตัวใช้ชีวิตตั้งแต่เด็กจนหนุ่มเติบโตอยู่ฝั่งธนบุรี
เรื่องราวของพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีความประทับใจเป็นพิเศษ
ว่าไปแล้วกิจกรรมทำนองนี้เป็นเรื่องดี น่าสนับสนุนให้แพร่หลายมากกว่านี้ เพียงแต่วัตถุประสงค์ของการจัดยังน่าเคลือบแคลงสงสัย
ผม
ไม่ใช่ทั้งคนเสื้อแดง หรือคนเสื้อเหลือง ยิ่งการเป็นนักประวัติศาสตร์ หรือ
นักวิชาการก็ยิ่งไม่ใช่ใหญ่ แค่เป็นชาวบ้านธรรมดาที่สนใจใคร่รู้
และชอบอ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์เท่านั้น
แต่เมื่อได้ฟังท่านผู้อภิปรายทั้งสองท่าน(ซึ่งผู้ดำเนินรายการบอกว่า เป็น “นักวิชาการอิสระ” ) ฟังแล้วก็เกิดความสับสนว่าไอ้ที่เราเคยอ่านเคยรู้ทำไมมันไม่เหมือนกับที่ทั้งสองท่านมานั่งอภิปรายให้ฟัง ท่านเชื่อในสิ่งที่พูดออกมาจริงๆ หรือมีอะไรแอบแฝง
ต่อไปนี้เป็นประเด็นที่ นาย นที สรวารี ผู้อภิปรายคนหนึ่งกล่าวนำเพื่อ“จั่วหัว”ให้ผู้อภิปรายอีกคนหนึ่งกล่าวต่อ นาย นทีกล่าวในประเด็นต่อไปนี้ครับ
- สังคมไทยลืมพระเจ้าตาก
“เรื่อง
สมเด็จพระเจ้าตากสินถูกทำให้ลืมเลือนโดยเฉพาะยุค๔-๕ ปีหลัง นอกจากวันที่ ๑๘
ธ.ค.ของทุกปีที่เป็นวันสถาปนากรุงธนบุรีซึ่งเขาให้ถือว่าเป็นวันพระเจ้าตาก
แล้ว ประวัติศาสตร์ไม่เคยพูดถึง วันที่ ๗ พ.ย.๒๓๑๐
เป็นวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินกอบกู้กรุงศรีอยุธยาประกาศเป็นเอกราช”
ขอแยกเป็นประเด็นอย่างนี้ครับ
๑ เรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินถูกทำให้ลืมเลือน จริงหรือไม่?
๒ โดยเฉพาะยุค๔-๕ ปีหลัง จริงหรือไม่?
๓ ประวัติศาสตร์ไม่เคยพูดถึง วันที่ ๗ พ.ย.๒๓๑๐ จริงหรือไม่?
ผม
ว่าการที่จะทำให้ใครลืมอะไรนี่ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆนะครับ
ผมไม่ได้บอกว่าทำไม่ได้ แต่มันคงต้องใช้เวลานานในการไม่พูดถึง
ไม่เสนอเรื่องราวอะไรเกี่ยวกับบุคคลที่เราต้องการให้คนทั่วๆไปลืม
แต่เรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ถูกนำเสนอเป็นประจำทางสื่อมวลชน
แขนงต่างๆ เมื่อถึงวาระสำคัญที่พระองค์มีความเกี่ยวข้อง
ผมก็ยังได้ยินบทความประกาศเกียรติคุณของพระเจ้ากรุงธนบุรีอยู่ทุกปีนะครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีหน่วยทหารอย่างน้อยสองหน่วยละครับ ที่ทำพิธีรำลึกถึงพระองค์ท่าน
หน่วยทหารสองหน่วยที่ว่านี่คือ กองทัพบก กับ กองทัพเรือ
กองทัพบกถือว่าวันที่ ๔ มกราคม ของทุกปี เป็นวันทหารม้า ครับ
ทำไม
ถึงวันที่ ๔มกราคม ก็เพราะเมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๓๐๙
เกิดวีรกรรมการรบบนหลังม้าที่ บ้านพรานนก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภออุทัย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาน่ะซีครับ
ใน
วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๐๙ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่
จุลศักราช ๑๑๒๘ ปีจอ อัฐศก
พระยาวชิรปราการเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า
จึงร่วมกับนักรบคู่ใจพร้อมด้วยทหารกล้าราว ๕๐๐ คน มีปืนเพียงกระบอกเดียว
แต่ชำนาญด้านอาวุธสั้น ยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัย
และตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าไปทางทิศตะวันออก
ครั้น
รุ่งเช้าคือวันที่ ๔ มกราคม ขณะตั้งค่ายพักอยู่ที่บ้านพรานนก
มีทหารพม่ากองหนึ่งซึ่งประกอบด้วยทหารม้าประมาณ ๓๐ คน ทหารเดินเท้าประมาณ
๒๐๐ คน เดินทาง มาจากแขวงเมืองปราจีนบุรี
สวนทางมาพบทหารพระยาวชิรปราการที่เที่ยวหาเสบียงอาหาร ทหารพม่าก็ไล่จับและ
ติดตามมายังบ้านพรานนก
พระยาวชิรปราการจึงให้ทหารแยกออกซุ่มสองทาง ตัวท่านขึ้นขี่ม้าพร้อมกับทหารอีก ๔ คน ควบตรงไปไล่ฟันทหารม้าพม่า
อย่าลืมว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่าง ๔ ต่อ ๓๐ เชียวนะครับ
แต่
ที่สู้กันได้เพราะฝ่ายพระยาวชิรปราการอาศัยการจู่โจม
ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวตกใจถอยกลับ ไปปะทะกับทหารเดินเท้า เกิดการอลหม่าน
ทหารไทยที่ซุ่มอยู่สองข้างจึงแยกเป็นปีกกาตีโอบทหารพม่าไว้สองข้าง
แล้วไล่ฟันทหารพม่า ล้มตายและแตกหนีไป
จากวีรกรรม
บนหลังม้าครั้งนี้กองทัพบกไทยจึงมีมติให้วันที่ ๔ มกราคม ของทุกปี
เป็นวันทหารม้า มีพิธีสักการะอนุสรณ์สถานพระเจ้ากรุงธนบุรี
ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
และมีการจัดงานวันที่รำลึกทหารม้าในวันดังกล่าวทุกปีด้วยครับ
กองทัพเรือก็ไม่เคยลืมวันที่ ๖ พฤศจิกายนครับ
เพราะวันนี้เป็นวันสำคัญของกองทัพเรืออีกวันหนึ่ง
การ
ที่พระยาวชิรปราการยกทัพเรือกู้ชาติเดินทางจากเมืองจันทบุรี
มาทางทะเลเข้าสู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
และได้ยกพลขึ้นบกเข้าโจมตีค่ายข้าศึกจากทางทะเลในครั้งนั้น
ถือเป็นการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบกครั้งแรกของกองทัพเรือไทย
กองทัพเรือจึงได้อนุมัติให้วันที่ ๖ พฤศจิกายน ของทุกปี
เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ
มีพิธีบวงสรวงและทำบุญกันทุกปี
นอก
จากนี้ ทุกหน่วยงานสถานที่
และทุกจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวเนื่องกับพระราชประวัติล้วนจัดให้มี
กิจกรรมต่างๆเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในวาระสำคัญนั้นๆเป็นประจำ
นาย
นที เน้นย้ำว่า โดยเฉพาะยุค ๔-๕ ปีหลังที่มีการทำให้พระเจ้าตากถูกลืม
เรื่องนี้ผมยังสงสัยเพราะกิจกรรมต่างๆที่เคยจัดเพื่อรำลึกถึงพระองค์ก็เห็น
ยังจัดกันอยู่เป็นปกติ หรือว่านายนทีต้องการบอกว่า
รัฐบาลหรือใครก็ตามในช่วง ๔-๕ปีนี้ตั้งใจทำให้คนลืมพระเจ้าตาก
นายนทีบอกได้ไหมครับว่า ๔-๕ ปีหลังที่ว่านี้ รัฐบาลหรือใครก็ตาม
ทำอะไรหรือไม่ทำอะไร ที่ทำให้เห็นเจตนาอย่างที่ว่า
และพฤติกรรมที่ว่านี้มันเพิ่งเกิดขึ้นในรัฐบาลนี้หรือว่าเกิดขึ้นมาตั้งแต่
รัฐบาลก่อนๆ
จริงหรือที่ นาย นทีบอกว่า ประวัติศาสตร์ไม่เคยกล่าวถึง วันที่ ๗ พ.ย.๒๓๑๐?
ผมเองก็สงสัยครับว่าทำไมประวัติศาสตร์ไม่กล่าวถึงวันสำคัญอย่างนี้
ยัง
ไม่มีเวลาไปเปิดดูพงศาวดารทุกฉบับหรอกครับ
แต่ที่เปิดดูสองสามฉบับก็เห็นกล่าวถึงเหตุการณ์ยกทัพเรือของพระเจ้าตากมาตี
กรุงธนบุรี แล้วยกทัพไปตีค่ายโพธิ์สามต้นทุกฉบับ
หรือนายนทีหมายถึงแบบเรียนของเด็กๆครับ
ผมยังไม่มีเวลาไปเปิดดู แต่ถ้าไม่ได้บรรจุเรื่องนี้เอาไว้
หากปรับปรุงหลักสูตรคราวหน้าก็ควรจะใส่ไว้นะครับ
ประเด็นต่างๆที่นายนทีพูดถึง ยังมีอีกหลายเรื่องครับ แล้วจะหยิบยกมาทีละประเด็น เรื่องนี้ยาวครับ ยังต้องประดาบกันอีกหลายวัน
การขยับปรับมุมอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช
รู้ไม่จริงหรือตั้งใจบิดเบือน(๒)
เมื่อวันที่ ๖ พ.ย.๕๓ ณ ห้างอิมพิเรียล ชั้น๕ กลุ่มคนเสื้อแดงได้จัดงานเสวนา ๒๔๓
ปี การกอบกู้เอกราชของพระเจ้าตาก ผู้ร่วมอภิปรายคนหนึ่ง คือ นาย นที
สรวารี นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ในประเด็นที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับอนุสาวรีย์ของพระองค์ท่าน
นาย นที นำเสนอว่า
“..ได้
มีการขยับปรับมุมอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช ในสมัยเผด็จการ
ก่อนหน้านี้สมเด็จพระเจ้าตากสินจะผินพระพักตร์มาทางสะพานพระพุทธยอดฟ้า
ก็ด้วยตระกูลที่เกรงกลัวเรื่องไสยศาสตร์จนขึ้นสมองไปทั้งตระกูลเขาบอกว่า
สมเด็จพระเจ้าตากสินผินหน้ามาทางสะพานพุทธพยายามจะเอามีดมาฟันคนที่นั่งอยู่
ริมสะพาน ก็ผินหน้าไปเสีย หันหน้าไปอีกทาง
อันนี้ก็เป็นเรื่องที่สมเด็จพระเจ้าตากสินแม้จะสิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ยัง
ถูกกระทำอย่างต่อเนื่อง..”
เรื่อง
นี้เป็นเรื่องใหม่สำหรับผม เพราะไม่เคยได้ยินที่ไหนมาก่อน ต้องขอบคุณ นาย
นทีเป็นอย่างมาก ผมไม่ทราบว่าเรื่องนี้ นาย นทีไปเอามาจากไหน ใครเล่าให้ฟัง
หรือ แต่งขึ้นมาเอง
ถ้ามีหลักฐานมายืนยันกันสักหน่อยจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนรู้น้อยอย่าง
ผม จะได้ฉลาดทันคนขึ้นมาบ้าง
ผม
เป็นเด็กตรอกสารภีครับ วงเวียนใหญ่นี่เป็นสนามเด็กเล่นของผม
เมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน
ไปวิ่งเล่นแทบทุกเย็นกับสมัครพรรคพวกเด็กแถวบ้านสิบกว่าคน
พอมืดหน่อยก็มานั่งดูโทรทัศน์สาธารณะที่เขาตั้งเอาไว้บริการประชาชน
สมัยนั้นเพิ่งจะทดลองออกอากาศ ยังแพร่ภาพเป็นขาวดำอยู่ครับ
ราคาเครื่องรับโทรทัศน์ยังแพงอยู่ต้องอาศัยดูตามที่สาธารณะ
เช่นที่วงเวียนใหญ่ สะพานพุทธฯเป็นต้น
รายการที่ผมกับเพื่อนๆชอบดูเป็นประจำคือหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณีของคณะ
นายเปียก ประเสริฐกุล
แต่วันไหนมีถ่ายทอดมวยตู้วันนั้นเป็นอันอดดูโทรทัศน์ครับ
เพราะถูกผู้ใหญ่แย่งดูมวย เด็กๆเรากลับบ้านกันแต่วัน
โต
ขึ้นอีกหน่อยย้ายบ้านจากตรอกสารภีมาอยู่สำเหร่ แถวโรงเรียนสมบุญวิทยา
ถนนตากสิน ต้องข้ามฟากมาเรียนหนังสือฝั่งพระนคร
ก็นั่งรถเมล์จากบ้านมาต่อรถที่วงเวียนใหญ่ทุกวัน วันละสองเที่ยวไปกลับ
ด้วยความเคารพครับ ท่านนักวิชาการอิสระ ตั้งแต่จำความได้จนบัดนี้อายุหกสิบกว่าปีแล้ว ผมไม่เคยเห็นอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน “ผินพระพักตร์” ไปทางไหนเลย ส่วนข้อที่ว่าก่อนหน้านี้ท่าน“ผินพระพักตร์”ไป
ทางสะพานพุทธหรือเปล่า
ผมเองก็อยากรู้เหมือนกันเพราะตอนที่สร้างนั้นผมยังเด็กอยู่จำความไม่ได้
วันก่อนก็เลยลองสอบถามญาติผู้ใหญ่ที่ยังเหลืออยู่
และเคยเห็นวงเวียนใหญ่มาตั้งแต่ยังไม่มีพระบรมรูป ท่านก็ว่า
ตั้งแต่แรกสร้างแล้ว ก็เห็นพระองค์ทรงม้าชูดาบ หันพระพักตร์ไปทิศทางนี้แหละ
เรื่อง
ทิศทางนี่มันมีนัยยะครับ แต่ไม่เกี่ยวกับไปฟันไปแทงหลังใครทั้งนั้น
ความคิดของผู้ที่กำหนดรูปแบบ ลักษณะพระบรมรูป ตลอดจนทิศทางการวาง
ไม่ตื้นเขินเบาปัญญาด้วยเรื่องไร้สาระแบบนี้
ลักษณะของพระบรมรูปพระราชอนุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี มีรายละเอียดอย่างนี้ครับ
“พระ
บรมรูปทรงม้าพระที่นั่งออกศึก ทรงเครื่องกษัตริย์นักรบ สวมพระมาลาเบี่ยง
พระหัตถ์ขวาทรงเงื้อพระแสงดาบนำพลออกรุกไล่ข้าศึก พระหัตถ์ซ้ายทรงบังเหียน
หล่อด้วยทองสำริด ประดิษฐานบนแท่นเสาใหญ่ หล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
ทั้ง
สองด้านของแท่นฐานจารึกรูปนูนตามความหมายทางประวัติศาสตร์ด้านละ ๒ กรอบรูป
ความสูงประมาณ ๑๕ เมตร คือ จากแท่นที่ม้ายืนถึงพระหัตถ์ที่ชูพระแสงดาบ ๔
เมตร ๒๐ เซนติเมตร จากพื้นดินถึงแท่นที่ม้ายืน ๙ เมตร ๙๐ เซนติเมตร
ผินพระพักตร์ ทางตะวันออกเฉียงใต้สู่จังหวัดจันทบุรี
การปั้นหล่อพระบรมรูปพระราชอนุสาวรีย์และการสร้างแท่นฐานลานพระบรมรูปตลอดจนสิ่งอื่นๆ อันเนื่องในการนี้ สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ๕,๑๙๗,๘๘๒ บาท ๔๕ สตางค์”
คณะ
กรรมการเขากำหนดทิศทางมาตั้งแต่แรกแล้วครับให้ผินพระพักตร์สู่จังหวัด
จันทบุรี
เพราะเป็นพระประสงค์ของพระองค์มาตั้งแต่ฝ่าทัพพม่าออกมาจากวัดพิชัยแล้ว
ที่จะมุ่งตะวันออก แล้วไปตั้งหลักรวมพลทางฝั่งทะเลตะวันออก
ซึ่งสุดท้ายแหล่งปรับกำลังจัดทัพก็อยู่ที่จันทบุรีนั่นแหละ
ส่วน
พระบรมราชานุสาวรีย์ที่จันทบุรีซึ่งสร้างขึ้นทีหลังนั้น
ท่านกำหนดทิศทางให้หันพระพักตร์มาทางกรุงธนบุรี กรุงศรีอยุธยาครับ
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการนำทัพจากฝั่งทะเลตะวันออกมากู้เอกราชกรุงศรีอยุธยา
นั่นเอง
คณะ
กรรมการเขากำหนดเอาไว้เหมาะสมแล้วครับ
สนองตามพระราชประสงค์เดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสินทุกประการ
ไม่ได้ผินพระพักตร์ไปทางนั้นด้วยเหตุใด
ผู้ที่บังอาจบิดเบือนแนวพระราชประสงค์นี้เพื่อประโยชน์อื่น
ถือว่าชั่วช้าเนรคุณต่อพระองค์มากนะครับ
การ
กำหนดรูปแบบและทิศทางการวางพระบรมรูปนั้นไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่ง
หรือตระกูลใดตระกุลหนึ่ง(ไม่ว่าจะไสยศาสตร์ขึ้นสมองหรือไม่ก็ตาม)จะเป็นผู้
กำหนดได้ เพราะการดำเนินการสร้างอยู่ในการกำกับดูแลของคณะกรรมการ
ซึ่งกว่าจะสร้างเสร็จต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการหลายคณะด้วยกัน
ผมขอเล่าประวัติการก่อสร้างพระราชอนุสาวรีย์ย่อๆให้ฟังอย่างนี้นะครับ
แนว
ความคิดเรื่องการก่อสร้างพระราชอนุสาวรีย์มีมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๗ แล้ว
โดยต้องให้เครดิตแก่ นายทองอยู่ พุฒพัฒน์
ผู้แทนราษฎรจังหวัดธนบุรีคนแรกเป็นผู้ริเริ่มและติดตามโครงการนี้เป็นเวลา
ยาวนานถึง ๓๐ ปี จนสำเร็จ
นายทองอยู่ไม่ได้ทำคนเดียวนะครับแต่ได้เชิญผู้แทนตำบลในจังหวัดธนบุรี ๑๒๖ คน กับผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้แทนตำบลอีก๑๐ คนมาเป็นกรรมการ
คณะ
กรรมการได้พยายามติดต่อกับ บุคคลสำคัญหลายท่านในยุคนั้น
นับตั้งแต่ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไปจนถึงนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีอีกหลายคนเพื่อขอความเห็นชอบและความสนับสนุน
เดือน
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ รัฐบาลมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่ง
มีหน้าที่พิจารณาจัดสร้าง ประเด็นสำคัญที่โต้เถียงกันมาก คือ
ลักษณะของพระราชอนุสาวรีย์ซึ่งแยกออกเป็น ๒ ฝ่าย
“ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ไม่ควรสร้างเป็นพระบรมรูป โดยให้เหตุผลว่าจะหาพระบรมรูปที่แท้จริงมาจำลองไม่ได้ถ้าสร้างก็จะผิดจากพระบรมรูปจริง
ควร
สร้างเป็นถาวรวัตถุอย่างใดขึ้น แล้วจารึกพระนามาภิไธยของพระองค์ท่านไว้
และให้เปลี่ยนชื่อจากพระราชอนุสาวรีย์เป็นพระราชอนุสรณีย์
เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงเท่านั้น
อีก
ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ควรสร้างเป็นพระราชอนุสาวรีย์พระบรมรูป
ทำนองเดียวกับพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ซึ่งก็เป็นพระบรมรูปที่สมมุติขึ้นเหมือนกัน
ถ้าสร้างเป็นถาวรวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว
ความสนใจในพระองค์ท่านจากประชาชนจะน้อยไป แต่ถ้าสร้างขึ้นเป็นพระบรมรูปแล้ว
จะทำให้เกิดความสนใจมากขึ้นและจะเป็นเครื่องเตือนใจให้เกิดความเลื่อมใสใน
คุณงามความดีของพระองค์ท่านที่ได้ทรงกอบกู้ประเทศชาติให้เป็นเอกราชมาจนทุก
วันนี้
ผลของการประชุม มีมติให้สร้างเป็นพระบรมรูป”
จะเห็นได้ว่าคณะกรรมการพิจารณาอย่างรอบคอบครับ ที่ให้สร้างเป็นพระบรมรูป “ทำนองเดียวกับพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” แสดงว่า ความคิดเรื่องการแบ่งแยกแตกต่างไม่มีอยู่เลย คงถวายพระเกียรติเฉกเช่นที่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของพสกนิกรทุกคนเสมอกัน
เมื่อตกลงใจว่าจะสร้างเป็นพระบรมรูป ต่อไปก็เป็นเรื่องของการออกแบบครับ
คณะกรรมการกำหนดแนวความคิดของรูปแบบเป็น ๒ ประการ คือ
ก. อนุสาวรีย์จะต้องเป็นของสูงใหญ่ งามสง่ากระทบตากระเทือนใจให้ผู้ดูรู้สึกความสูงใหญ่มั่นคง ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงทำให้แก่ประเทศชาติ และ
ข. รูปอนุสาวรีย์ควรเป็นหลักหกหลัก
หรือถ้าเป็นหลักเดียวก็ควรให้เห็นเป็นหกเหลี่ยมหกซีก
รัดรึงตรึงกันเป็นอันเดียว ซึ่งแสดงความหมายในทางประวัติศาสตร์ว่า
เมื่อเสียกรุงแก่พม่าใน ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้น สยามได้แตกแยกเป็นหกส่วน
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รวบรวมสยามที่แตกแยกให้กลับเป็นอันหนึ่งอันเดียว
กัน
งาน
ที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทำให้แก่ชาติเรานั้น ก่อให้เกิดลัทธิที่ว่า
สยามต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแบ่งแยกกันมิได้
ลัทธิอันนี้ได้เป็นบทรัฐธรรมนูญมาตราต้น ในเวลานั้น
คณะ
กรรมการคำนึงถึงงานที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทำให้แก่ชาติ นั่นคือ
ทรงรวบรวมสยามที่แตกแยกให้กลับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
แล้วกำหนดรูปแบบของพระราชอนุสาวรีย์ให้สื่อถึงพระราชกรณียกิจนั้น
ใคร
ก็ตามที่พยายามสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในชาติ
มันผู้นั้นประพฤติสวนทางกับพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีครับ
ไม่ว่าปากจะอ้างว่าเทิดทูนพระองค์เพียงใดก็ตาม
ปี
พ.ศ. ๒๔๘๐ หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีกรมศิลปากร
ได้มอบให้ช่างของกรมศิลปากรปั้นพระบรมรูปเล็กๆขึ้น ๗ แบบ
แล้วนำไปตั้งแสดงที่ร้านของกรมศิลปากรในงานฉลองรัฐธรรมนูญ เพื่อขอมติมหาชน
ให้ร่วมกันพิจารณาและออกคะแนนเสียงแสดงความปรารถนาว่าจะเลือกสร้างแบบไหน
คณะกรรมการจะมาแอบตกลงใจกันเงียบๆก็ไม่ได้นะครับ ต้องขอมติมหาชนก่อน ส่วนวิธีการขอประชามติก็เข้าที ท่านทำกันแบบนี้ครับ
ด้านหน้าของพระบรมรูปแบบต่างๆที่ตั้งแสดงจะมีตู้บริจาคเงินวางไว้ตู้ละใบ
ใครชอบแนวความคิดพระบรมรูปแบบใด ก็ให้บริจาคเงินเป็นคะแนนเสียงใส่ในตู้
การนับคะแนนเสียงไม่ได้คำนึงถึงค่าของเงิน แต่จะนับสตางค์หนึ่งเหรียญก็เป็นหนึ่งเสียง หรือ ธนบัตรพันบาทหนึ่งแผ่น ก็นับเป็นหนึ่งเสียงเหมือนกัน
และ ทรัพย์ที่มหาชนบริจาคในการลงคะแนนเสียงนั้น จะส่งเข้าร่วมสมทบทุนสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทั้งหมด
ผล
ของการขอมติมหาชนแบบนี้ ปรากฏว่า หีบพระบรมรูปพระราชอนุสาวรีย์ทรงม้า
พระหัตถ์ขวาเงื้อพระแสงดาบประดิษฐานอยู่บนแท่นสูง
ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันได้รับคะแนนสูงสุด คือ ๓๙๓๒ คะแนน
การ
ก่อสร้างพระราชอนุสาวรีย์ต้องชะงักลงระยะหนึ่ง เพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒
สถานภาพทางบ้านเมืองไม่อำนวยให้ รัฐบาลต้องเปลี่ยนไปหลายคณะ
กว่าจะมาเริ่มโครงการกันใหม่ก็ ปีพ.ศ. ๒๔๙๑ แล้วครับ
พ.ศ. ๒๔๙๒ คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติเงินงบประมาณจำนวน๒๐๐,๐๐๐ บาท เป็นทุนเริ่มแรกในการสร้าง แต่พอเอาเข้าจริงต้องขยายพระบรมรูป ขยายม้าทรง แท่นฐาน ฯลฯ งบประมาณบานปลายเป็นกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท คณะกรรมการ จึงต้องมีมติให้หาทุนโดยการเปิดการเรี่ยไรขึ้น
ใน
ส่วนของพระบรมรูปนั้น กรมศิลปากรมอบให้ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี ( ซี.
เฟโรจี ) เป็นผู้ปั้นหุ่น การปั้นสำเร็จเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๔
และเททองหล่อพระเศียรเป็นปฐมฤกษ์ในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๔
จากนั้นใช้เวลาอีกประมาณ ๒
ปีในการหล่อพระบรมรูปและการจัดสร้างแท่นฐานตลอดจนปรับปรุงบริเวณจนสำเร็จ
เรียบร้อยและ
กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบันเสด็จพระราช
ดำเนินเปิดในวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗ เวลา ๗.๓๐ น.
ทางราชการได้กำหนดวันถวายบังคมพระบรมรูปประจำปี ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ของทุกปีอย่างที่เราท่านทราบกันอยู่แล้ว
ว่าจะเล่าย่อๆแต่ไหงกลายมาเป็นยืดยาวไปได้
แต่เห็นว่าจำเป็นครับ
เพราะคำพูดที่ว่า “สมเด็จพระเจ้าตากสินแม้จะสิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ยังถูกกระทำอย่างต่อเนื่อง” นี่ละครับ
ใครกระทำพระองค์ครับ?
ผมเห็นแต่พระองค์ท่านถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างต่อเนื่องต่างหาก
อย่าปฏิเสธเลยครับว่าที่นำเรื่องราวของพระองค์ท่านมานำเสนอนั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
ถ้า
อ้างว่าต้องการเรียกร้องความยุติธรรมให้สมเด็จพระเจ้าตากสินแล้ว
ท่านก็ต้องให้ความยุติธรรมต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯด้วยเช่นกัน
เรา
ไม่ควรปฏิเสธประวัติศาสตร์ในแง่ของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นครับ
ไม่ว่าความจริงนั้นจะถูกใจเราหรือไม่
แต่ทั้งหลายทั้งปวงนั้นต้องมีหลักฐานที่แน่นอน ตรวจสอบได้
ไม่ใช่ยกขึ้นมากล่าวลอยๆให้คนฟังเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ข้อมูล
ที่ว่ามาทั้งหมดนั้น ผมคัดมาจากวารสารศิลปากร เรียบเรียงโดย คุณ ประพัฒน์
ตรีณรงค์ แห่งกองวรรณคดีเเละประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ครับ ขอขอบพระคุณ
คุณประพัฒน์ มา ณ ที่นี้
ผม
เองก็ไม่ได้เก่งกล้าสามารถมาจากไหน แต่เมื่อพบเห็นอะไรที่ไม่ถูกต้อง
และจะทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิด ก็ต้องไปหาความรู้มาขยายกันให้ทราบครับ
นัก
วิชาการ จะอิสระหรือมีสังกัดก็ตาม เมื่อเป็นนักวิชาการแล้ว
ก็ต้องนำเสนอความรู้ในเชิงวิชาการเพื่อสร้างสรร ครับ อย่ามีอคติ
หรือจงใจบิดเบือนข้อเท็จจริง
ไม่งั้นก็อย่าให้ใครเขาแนะนำตัวท่านว่าเป็นนักวิชาการเลย
สมัยนี้แยกกันไม่ค่อยออกเสียด้วยว่าใครเป็นนักวิชาการจริง ใครเป็นนักวิชาการเก๊
ยิ่ง
เขากล่าวหาว่าในกลุ่มคนเสื้อแดงนี่มีพวกแดงล้มจ้าวแอบแฝงอยู่
มันจะเสียชื่อคนเสื้อแดงส่วนมากที่เขายังเทิดทูนระบอบกษัตริย์อยู่นะครับ
ผมรักเสื้อแดงนะครับ ถึงได้เตือน
รู้ไม่จริงหรือตั้งใจบิดเบือน (3)
“..อยู่ๆสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมาจากไหนถึงได้มา ผมขออนุญาตใช้คำแรง “ชุบมือเปิบ” แล้วบอกว่าเป็นคนร่วมกอบกู้เอกราชด้วย ทั้งๆที่ไม่เคยร่วมรบกับพม่าเลยแม้แต่ครั้งเดียวนะครับนับตั้งแต่กอบกู้เอกราช..”
คำพูดของนายนที สรวารี ในงานเสวนา๒๔๓ ปีการกอบกู้เอกราชของพระเจ้าตากจัดโดยกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ ๖ พ.ย.๕๓ ณ ห้างอิมพิเรียล ชั้น๕
วันนี้ยังเดินหน้าเข้าคลองไปไม่ได้ถึงไหนละครับ เศษสวะมันเยอะเหลือเกิน ขอหยุดเรือจัดการเก็บกวาดกันสักหน่อยก่อนนะครับ
นายนที กล่าวนำ “จั่วหัว” เพื่อ
ให้นายอริน พูดต่อ
อันที่จริงผมตั้งใจว่าจะรอเก็บกวาดเสียพร้อมกันทีเดียวเลย แต่ยิ่งฟัง
นายนทีก็ยิ่งเลอะเทอะไปกันใหญ่ ไม่อยากให้ผู้ที่บังเอิญได้ฟังการเสวนา
หรือได้ข้อมูลเหล่านี้มาจากทางไหน เข้าใจผิดตามนายนทีไปด้วย
จึงขอตัดตอนเฉพาะของนายนทีก่อนนะครับ ส่วนของนายอรินนั้นใจเย็นๆครับ
แล้วจะชี้ให้ดูว่าเลอะเทอะเพ้อเจ้อพอกันหรือมากกว่านี้แค่ไหน
ประเด็นแรก นายนที กล่าวว่า
“…. ชื่อ
ตำแหน่งว่าสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
มีจริงหรือเปล่าในประวัติศาสตร์ไทยนะครับ
และตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของใครครับ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
ตำแหน่งของนายทองด้วง
ที่ในประวัติศาสตร์กล่าวกันว่าเป็นเพื่อนรักร่วมสาบานกับพระยาตากมา
แล้วมามีเหตุการณ์กันเบื้องหลังภายหลัง
ซึ่งเดี๋ยวพี่อรินจะมาเล่าให้ฟังว่าแท้จริงมันเป็นยังไง..”
ตำแหน่ง
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมีจริงหรือเปล่าในประวัติศาสตร์
ตอบได้เลยว่าไม่มีอยู่ในทำเนียบข้าราชการสมัยอยุธยาแน่นอน ครับ
เพราะเป็นตำแหน่งที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ทรงกำหนดขึ้นใหม่ในรัชสมัยของพระองค์ เพื่อบุคคลคนเดียว คือ
ผู้ที่นายนทีใช้คำว่า “นายทองด้วง”
สมเด็จ
พระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถหลายประการ
ทรงเป็นแม่ทัพที่เก่งกาจด้านการนำทัพ รวมทั้งการบังคับบัญชาที่ยอดเยี่ยม
มีความกล้าหาญและมีพระวิริยะอุตสาหะแรงกล้า
และที่สำคัญที่สุดคือการที่ทรงเป็นนักบริหารชั้นเยี่ยม
ทรงรู้จักใช้คนให้เหมาะสมกับภารกิจ
และปูนบำเหน็จแก่นักรบของพระองค์อย่างถ้วนหน้าสมกับความดีความชอบที่ได้
กระทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้กระทำระหว่างศึกสงคราม
ใน
ขณะที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯนั้น
ก็ทรงเป็นนักรบที่เคียงคู่กับพระอนุชาของพระองค์(ซึ่งต่อมาคือ
สมเด็จกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท) นำทัพรบมาแล้วทุกภาคของประเทศ
ว่ากันเฉพาะศึกสงครามก่อนที่จะได้รับพระราชทานบำเหน็จให้เป็นสมเด็จเจ้า
พระยามหากษัตริย์ศึก
ก็ทรงได้รับความไว้วางพระทัยให้เป็นแม่ทัพรับผิดชอบภารกิจสำคัญมาแล้วหลาย
ครั้ง ซึ่งทุกครั้งไม่เคยทำให้พระเจ้ากรุงธนบุรีผิดหวัง เริ่มตั้งแต่..
พ.ศ.๒๓๑๑ เมื่อ
ครั้งที่ยังปราบปรามชุมนุมต่างๆเพื่อรวบรวมอาณาจักรให้เป็นหนึ่งเดียวอีก
ครั้งนั้น คราวที่ยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
ขณะนั้นยังดำรงยศเป็นพระราชรินทร์ ทรงได้รับมอบหมายให้ร่วมกับพระอนุชา
ยกทัพน้อยแยกออกอีกเส้นทางหนึ่งเข้าตีประสานกับทัพของพระเจ้ากรุงธนบุรี
ครั้งนั้นตีนครราชสีมา ปราบปรามชุมนุมเจ้าพิมายลงได้
ทรงได้เลื่อนยศเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์
พ.ศ. ๒๓๑๒ ขณะ
ที่ยังคุมพลอยู่ที่นครราชสีมาไม่ทันกลับเข้าเมืองหลวง
ก็ได้รับคำสั่งให้ร่วมกับพระอนุชา
นำกำลังยกทัพไปตีเขมรและโจมตีได้เมืองเสียมราฐ
พ.ศ.๒๓๑๓
พระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพตีหัวเมืองเหนือ หลังเสร็จจากศึกสงคราม
ได้ตั้งข้าราชการที่มีบำเหน็จความชอบในสงคราม
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงได้เลื่อนจาก พระยาอภัยรณฤทธิ์
เป็นพระยายมราช บัญชาการมหาดไทยแทนเจ้าพระยาจักรี(แขก) สมุหนายกคนเก่า
ถ้าไม่มีความดีความชอบท่านคิดว่าจะได้รับพระราชทานเลื่อนยศหรือครับ
พ.ศ. ๒๓๑๔ พระเจ้ากรุงธนบุรี เลื่อนพระยายมราช หรือ “นายทองด้วง” ที่
นายนทีเรียก เป็น เจ้าพระยาจักรี แล้วให้เป็นแม่ทัพบกคุมพล ๑๐๐๐๐
ยกทัพไปตีเขมรอีกครั้ง ถ้าพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ไว้วางพระทัย ไม่เชื่อฝีมือ
จะทรงเลือกให้ไปปฏิบัติงานนี้หรือครับ
และขุนศึกคู่พระทัยก็ไม่ทำให้ทรงผิดหวังครับ
ครั้งนั้นทัพไทยตีได้เมืองโพธิสัตว์ เมืองพระตะบอง เมืองบริบูรณ์
เมืองกำพงโสม และเมืองบันทายมาศ
พ.ศ.๒๓๑๔ เป็นแม่ทัพใหญ่ร่วมกับพระยาสุรสีห์ฯคุมกำลังเมืองเหนือขึ้นไปตีเชียงใหม่ กองทัพไทยชนะ ยึดนครเชียงใหม่คืนจากพม่าได้
พ.ศ.๒๓๑๔ เสร็จ
ศึกเชียงใหม่ ไม่ทันได้พักละครับ เพราะศึกพม่าเข้ามาทางราชบุรีอีกทางหนึ่ง
ขณะนั้นพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปยันศึกไว้ก่อน
ทำให้เจ้าพระยาจักรีต้องรีบยกทัพจากเมืองเหนือลงมาสมทบทัพพระเจ้ากรุงธนบุรี
ที่บางแก้ว ราชบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงทรงมอบหมายให้บัญชาการล้อมพม่าต่อ
แสดงว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงไว้วางพระทัยทหารเอกของพระองค์มาก
ครั้น
ทัพเจ้าพระยาสุรสีห์ฯกับพวกหัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาสมทบอีกจึงได้ช่วยกันตั้ง
ค่ายสกัดทัพพม่าไม่ให้ทัพพม่าช่วยเหลือกันได้ ในที่สุดพม่าจึงต้องยอมแพ้
ชัยชนะในครั้งนี้ส่งผลให้ผู้คนที่หลบซ่อนตามที่ต่าง ๆ
เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากหมดความกลัวเกรงพม่า
นับเป็นสงครามแบบจิตวิทยาโดยแท้
พ.ศ. ๒๓๑๘-๒๓๑๙
คราวอะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือนี่ละครับที่เป็นสงครามครั้งสำคัญที่สุด
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งทัพหลวงอยู่ที่ ปากพิง นครสวรรค์
คอยสนับสนุนส่งกำลังบำรุง โดยมี เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) เป็นแม่ทัพหน้า และ เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช(บุญมา)เจ้า
เมืองพิษณุโลก ช่วยกันบัญชาการรบ
ดำเนินแผนทางยุทธศาสตร์ให้พม่าขาดแคลนเสบียง เข้ามาติดกับในเมืองพิษณุโลก
และต้องแยกกำลังออกเป็นส่วนย่อย จนถูกกองทัพไทยล้อมทำลาย
กองทัพพม่าพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ต้องสูญเสียอย่างหนัก
พอดีกับพระมหากษัตริย์พม่าสวรรคต
อะแซหวุ่นกี้ต้องนำทัพพม่าที่ยังคุมกันได้ถอยกลับไปรักษาสถานการณ์ที่อังวะ
ระหว่างทางถูกทัพไทยไล่ตีติดตามจนล้มตายบ้าง ถูก
จับเป็นเชลยบ้าง สูญเสียไพร่พล สรรพาวุธยุทโธปกรณ์เหลือคณานับ
จนพงศาวดารพม่าต้องบันทึกไว้ว่าอะแซหวุ่นกี้ หรือ มหาสีหสุระ
ยกทัพมาครั้งนี้ พ่ายแพ้อย่างยับเยิน
ศึกอะแซหวุ่นกี้คราวนี้แหละครับที่พิสูจน์ว่า
เจ้าพระยาจักรีท่านเป็นจ้าวยุทธศาสตร์ตัวจริง
(ถ้าสนใจเหตุการณ์ตอนนี้โดยละเอียด พร้อมการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ ผมแนะนำหนังสือ “ยุทธศาสตร์สงคราม ไทย-พม่า กรณีศึกอะแซหวุ่นกี้ พ.ศ.๒๓๑๙” ของ คุณ บดินทร์ กินาวงศ์ ครับ เป็นหนังสือน่าสนใจอีกเล่มหนึ่งที่มีมุมมองทางยุทธศาสตร์ดีมากๆ)
พ.ศ. ๒๓๑๙
เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง)เป็นแม่ทัพยกไปปราบเจ้าเมืองนางรอง แล้ว
ออกไปปราบเมืองจำปาสักและยังตีได้เมืองอัตตะปือด้วย
ต่อจากนั้นยังออกเกลี้ยกล่อมเมืองเขมรป่าดง
ซึ่งอยู่ระหว่างจำปาสักกับนครราชสีมาเป็นพวกได้อีก ๓ เมือง คือ สุรินทร์
สังขะ ขุขันธ์ ทั้ง ๓ เมืองยอมเข้าเป็นเขตเมืองไทย
เสร็จศึกครั้งนี้ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพอพระทัยในผลงานมาก โปรดเกล้าฯให้เลื่อน เจ้าพระยาจักรี เป็น “สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ” มี
เครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม ทั้งที่ไม่เคยมีตำแหน่งนี้มาก่อน
แต่ด้วยความดีความชอบที่มีมาก
พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงสถาปนายศฐาบรรดาศักดิ์ใหม่
เพื่อขุนศึกคู่พระทัยของพระองค์ ทั้งยังสถาปนาให้เป็น “เจ้าต่างกรม” มีฐานันดรเสมอกับเชื้อพระวงศ์พระองค์หนึ่ง
ถูก
ต้อง อย่างที่นายนทีว่าไว้ครับ ตำแหน่งนี้ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์
แต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นผู้โปรดเกล้าฯตั้งขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ “นายทองด้วง” ผู้มีความดีความชอบอย่างยิ่ง ได้รับความไว้วางพระทัยให้ทำงานใหญ่มาตลอด อย่างที่ขุนศึกอีกหลายคนที่ “นที-อริน”กล่าวอ้าง ไม่เคยได้รับความไว้วางพระทัยเช่นนี้ และ “นายทองด้วง” ก็ไม่เคยทำให้พระเจ้ากรุงธนบุรีผิดหวัง
“…แต่
เอาแน่ๆครับว่าช่วงระหว่างกอบกู้เอกราช
เจ็ดเดือนนี่ไม่มีชื่อนายทองด้วงร่วมรบอยู่ด้วยเลยแม้แต่ครั้งเดียว
อันนี้ประวัติศาสตร์ชัดเจนมาก..”
นายนทีกล่าวถูกต้องอีกครับ “ไม่มีชื่อนายทองด้วงร่วมรบอยู่ด้วยเลยแม้แต่ครั้งเดียว” ตลอด
เวลาเจ็ดเดือนนับแต่เสียกรุง คือตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๓๑๐ ถึง พฤศจิกายน
๒๓๑๐ ท่านยังเป็นยกบัตรเมืองราชบุรีอยู่ครับ
ราชบุรีนั้นเป็นทางผ่านของทัพพม่า จะทิ้งหน้าที่ทิ้งประชาชนมาก็ยังไงอยู่
นะครับ อีกอย่างหนึ่งขณะนั้นยังไม่มีใครรู้หรอกครับว่า วัน ว.
คือวันลงมือปฏิบัติการของพระยาวชิรปราการเป็นวันไหน เมื่อไหร่
แต่ก็ได้สนับสนุนให้น้องชายของท่าน เข้าร่วมกับทัพพระยาวชิรปราการ
พร้อมกับฝากแหวนของท่านมากับน้องชายเพื่อยืนยันว่าท่านเอาด้วยกับภารกิจนี้
และเมื่อได้ทราบข่าวว่าทัพพระยาวชิรปราการลงมือปฏิบัติการ
และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี
ท่านยกบัตรเมืองราชบุรีก็ลงเรือเดินทางมาเข้าเฝ้าทันที
และได้เข้าร่วมศึกกู้ชาติบ้านเมืองกันนับแต่บัดนั้น
แต่
การกอบกู้เอกราชไม่ได้ยุติลงแค่เจ็ดเดือนแรกนี่ครับ
นั่นมันแค่ขับไล่ข้าศึกออกไปจากดินแดนเท่านั้น
แต่เรายังต้องรบราปราบปรามชุมนุมต่างๆอีกหลายชุมนุม
กว่าจะสถาปนาความเป็นปึกแผ่นเอกภาพขึ้นมาได้
นอก
จากนี้ ทัพพม่าก็ไม่ได้ยุติการรุกรานนะครับ
ยังยกทัพใหญ่น้อยเข้ามาเกือบทุกปี หลากหลายเส้นทาง ตั้งแต่เหนือจรดใต้
ย้อนกลับไปอ่านข้างต้นนี้ก็ได้ครับ แต่นี่เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ “นายทองด้วง” ที่ทรงเป็นแม่ทัพเท่านั้นนะครับ ครั้งที่ “นายบุญมา” น้องชายของพระองค์เป็นแม่ทัพตีพม่าแตกไปยังมีอีกหลายครั้งทีเดียว
ฟุตบอล
ชนะแล้วบอกว่าผู้รักษาประตูไม่มีส่วนร่วมในทีม
เพราะไม่เคยยิงประตูนี่มันยังไงๆอยู่นะครับ
ตอนที่เปลี่ยนตำแหน่งมาเล่นเป็นศูนย์หน้า ยิงระเบิดเถิดเทิง
ทำแฮตทริกตั้งหลายครั้งทำไมไม่เอามาพูดถึงกันบ้าง ยุติธรรมหน่อยสิครับ
“…นาย
ทองด้วงตอนนั้นกินตำแหน่งหลวงยกบัตร ที่..ที่ไหนนะครับพี่..ราชบุรี
อำเภอยกบัตรนะครับ เป็นแค่อำเภอ
เป็นแค่เหมือนกับนายอำเภอสมัยนี่นะครับอยู่ที่ราชบุรี…”
นั่ง
ฟังมาถึงตอนนี้ก็สงสัยเต็มทีครับว่า
ท่านผู้อภิปรายคิดยังไงถึงกล้าขึ้นไปนั่งแสดงความไม่รู้ให้คนอื่นฟัง
หรือคิดว่าคนฟังนี่โง่ หลอกง่าย พูดยังไงก็เชื่อ
ถ้ายังงั้นก็ดูถูกคนฟังเกินไปครับ นายนทีไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่า “นายทองด้วง” รับ
ราชการอยู่ที่ไหน ต้องหันไปถามผู้ร่วมอภิปรายที่นั่งอยู่ข้างๆ
แต่ก็ยังแสดงความไม่รู้ต่อไปอีก โดยเข้าใจว่า ยกบัตรนี่เป็นชื่อของอำเภอ
อำเภอยกบัตรน่ะมีเสียที่ไหนกันครับ นายนทีมั่วจนเลอะเทอะไปหมด เอาเถอะ
อย่างน้อยสมัยนั้นก็ยังไม่มีอำเภอแน่ๆ การจัดการปกครองเป็นรูปอำเภอนั้น
เพิ่งมามีเอาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ครับ
แล้วโปรดทราบด้วยครับว่าจะเทียบตำแหน่งยกบัตรว่าเหมือนกับนายอำเภอสมัยนี้
นั้นไม่ได้ เพราะ
ยกบัตรนั้นเป็นตำแหน่งเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลเกี่ยวกับอรรถคดี
ด้านพระอัยการ ด้านกฎหมาย ถ้าจะเปรียบให้ได้ละก็
เป็นอัยการจังหวัดราชบุรีดูจะใกล้เคียงกว่าครับ
“..หลัง
จากปราบดาภิเษกขึ้นมาแล้วระยะหนึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถึงเรียกสองคนพี่
น้องนะครับ ตอนนั้นมี ผมไม่แน่ใจ ชื่อพระมหามนตรีหรือเปล่า หรือนายสุดจินดา
หรือนายบุญมา ที่เป็นน้องร่วมสาบานของนายทองด้วงอีกทีหนึ่ง ซึ่งต่อมา
มาเป็นวังหน้าในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นะครับ ถึงเรียกสองคนนี้เข้ามา..”
ตอนนี้นายนทียิ่งแสดงให้เห็นว่ารู้ไม่จริงยิ่งขึ้น เอ๊ะ! หรือที่จริงรู้ แต่พยายามบิดเบือนกันแน่ “นายบุญมา”น่ะ น้องแท้ๆของ “นายทองด้วง” นะ
ครับ ไม่ใช่น้องร่วมสาบาน ถ้ารู้ไม่จริงก็แล้วไป ถือว่าโง่อวดฉลาด
แต่ถ้ารู้แล้วแกล้งบิดเบือน
ผมก็ต้องกล่าวหาว่านายนทีต้องการลดบทบาทความสำคัญของสมาชิกพระราชวงศ์จักรี
คนหนึ่ง โดยพยายามบอกกับผู้ฟังว่า “นายบุญมา” เป็นเพียงน้องร่วมสาบานเท่านั้น ตกลงโง่จริงหรือแกล้งโง่ครับจะได้เรียกถูก
สำหรับชื่อของท่าน ซึ่งนายนทีสารภาพว่าไม่แน่ใจนั้น(โง่แล้วยอมรับยังพออภัยครับ) ชื่อตัวท่านชื่อ “บุญมา” ครับ ท่านเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก มีตำแหน่งเป็น “นายสุดจินดา” ที่
เรียกว่านายสุดจินดานี่เป็นชื่อตำแหน่งหนึ่งของมหาดเล็กนะครับ ไม่ใช่ชื่อคน
มหาดเล็กในตำแหน่งนี้ต้องรับใช้ใกล้ชิดพระมหากษัตริย์ขณะที่เสด็จออกฝ่ายนอก
ซึ่งยุคนั้นก็คือ พระเจ้าเอกทัศน์นั่นแหละครับ
ต้องเป็นคนที่ได้รับความไว้วางพระทัยอย่างยิ่งเท่านั้นจึงจะรับหน้าที่นี้
ได้
ตำแหน่ง
มหาดเล็กมี๑๒ตำแหน่ง มีหน้าที่แตกต่างกัน พูดอย่างปัจจุบันก็แบ่งออกเป็น ๔
ทีม มีหัวหน้าเป็นหลวงนายเวรรับผิดชอบ
ผลัดเปลี่ยนเวรกันทำหน้าที่ตลอด๒๔ชั่วโมงครับ คงไม่ลงลึกในรายละเอียดละครับ
เอาแค่ทราบว่ามหาดเล็กที่ว่า มีชื่อเรียกตำแหน่งต่างๆดังนี้
๑)นายสนิท ๒)นายเสน่ห์ ๓)นายเล่ห์อาวุธ
๔)นายสุดจินดา ๕)นายพลพ่าย (มาถึงร.๖ ทรงเปลี่ยนเป็นนายพลพ่าห์) ๖)นายพลพัน
๗)นายชัยขรรค์ ๘)นายสรรค์วิชัย ๙)นายพินัยราชกิจ
๑๐)นายพินิจราชการ ๑๑)นายพิจิตร์สรรพการ ๑๒)นายพิจารณ์สรรพกิจ
๔)นายสุดจินดา ๕)นายพลพ่าย (มาถึงร.๖ ทรงเปลี่ยนเป็นนายพลพ่าห์) ๖)นายพลพัน
๗)นายชัยขรรค์ ๘)นายสรรค์วิชัย ๙)นายพินัยราชกิจ
๑๐)นายพินิจราชการ ๑๑)นายพิจิตร์สรรพการ ๑๒)นายพิจารณ์สรรพกิจ
(ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/168)
สรุปว่า นายสุดจินดา นั้นเป็นชื่อตำแหน่งครับ
ท่าน
บุญมานั้น ไม่ได้ไปร่วมกับพระยาวชิรปราการตั้งแต่แรกเมื่อตีฝ่าวงล้อมพม่า
เพราะตอนนั้นท่านยังอยู่ในกรุงศรีอยุธยาครับ
เป็นมหาดเล็กของพระเจ้าแผ่นดินอยู่จะละทิ้งไปได้อย่างไร
ต่อเมื่อเสียกรุงแล้วท่านจึงหลบหลีกทัพพม่าออกมาจากกรุงได้
ตามหาพี่ชายจนเจอ แล้วจึงไปสมทบกับพระยาวชิรปราการที่จันทบุรี
ตอน
ยกทัพกันมาจากจันทบุรีน่ะ ท่านบุญมาก็มาด้วยนะครับ
ตอนเข้าตีค่ายนายทองอินที่ธนบุรีท่านก็เข้าตีด้วย
ไปรบพม่าที่โพธิ์สามต้นท่านก็รบด้วย
ร่วมรบกันมากับพระเจ้ากรุงธนบุรีมาตั้งแต่แรก
ยกเว้นตอนตีฝ่าพม่าออกจากวัดพิชัยมาเท่านั้น
อย่างนี้จะเรียกว่าท่านก็มีส่วนร่วมในการ “กอบกู้เอกราช” ด้วย
ไหมครับ หรือว่าไม่อยากเอ่ยถึงเพราะท่านเป็นสมาชิกพระราชวงศ์จักรี
นายนทีจึงพยายามบอกผู้ฟังว่าเป็นแค่น้องร่วมสาบาน รู้ไม่จริง หรือ
บิดเบือนครับ ตอบหน่อย
ดังนั้น ที่นายนทีบอกว่า หลังจากปราบดาภิเษกขึ้นมาแล้วระยะหนึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถึงเรียกสองคนพี่น้องนี้เข้ามา น่ะ ผิดนะครับ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้“เรียกสองคนนี้เข้ามา”ครับ ถ้าเป็นเพลงลูกทุ่งก็ต้องร้องว่า “เปล่าชวนนะ เขามาเอง” เพราะ
ทั้งสองท่านตั้งใจเข้าร่วมกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
และเดินทางไปพบด้วยตนเอง โดยน้องชายเข้าร่วมตั้งแต่ที่จันทบุรี
ส่วนพี่ชายนั้น มาทีหลังเมื่อรบพม่าโพธิ์สามต้นแล้ว ถึงถ้าจะมีการชวนก็เป็น “น้องชาย” เป็นผู้ชวน “พี่ชาย” มากกว่าครับ
“….คำ
ถามที่จะต้องถามต่อมา ที่จะต้องให้พี่อรินเล่า
อาจจะช่วยกันแลกเปลี่ยนกันไปด้วยนะครับว่าในช่วงเจ็ดเดือนของการต่อสู้เพื่อ
กอบกู้เอกราชนั้นนักรบตัวจริงห้าขุนพล ห้าทหารเอกของพระยาตากเป็นใครบ้าง
แล้วบทสรุปของห้าทหารเอกของพระยาตาก ใครเป็นอะไรอยู่ที่ไหน
แล้วอยู่ๆสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมาจากไหนถึงได้มา
ผมขออนุญาตใช้คำแรง “ชุบมือเปิบ” แล้วบอกว่าเป็นคนร่วมกอบกู้เอกราชด้วย ทั้งๆที่ไม่เคยร่วมรบกับพม่าเลยแม้แต่ครั้งเดียวนะครับนับตั้งแต่กอบกู้เอกราช..”
มา
ถึงตรงนี้ก็คงชัดเจนแล้วว่า สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมาจากไหน
ใครเป็นผู้ตั้งตำแหน่งนี้ ตั้งให้ใคร เพราะเหตุใด
หากไม่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับแล้ว
ท่านคิดหรือว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะทรงยกย่องใครถึงขนาดเป็น “สมเด็จ” ซึ่งเทียบเท่าเป็นเชื้อพระวงศ์ด้วยผู้หนึ่ง
การ
กอบกู้เอกราชไม่ได้หมายความแค่ไล่พม่าออกไปจากแผ่นดินเท่านั้นครับ
การเป็นเอกราชหมายถึง
การที่สามารถสถาปนาอำนาจรัฐให้ครอบคลุมไปทั่วทั้งพระราชอาณาจักร
มีความมั่นคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศอีกด้วย ดังนั้น ตลอด๗เดือนที่ “นที-อริน” พูดถึง จึงเป็นเพียงแค่การเตรียมการและการขับไล่ข้าศึกสตรูออกไปจากแผ่นดินเท่านั้น การกอบกู้เอกราชจริงๆเกิดขึ้นหลังจากนั้นต่างหาก
ขับ
ไล่ข้าศึกน่ะไม่ยากเท่าไหร่ครับ เพราะถึงตอนนั้นกำลังพม่ากลับไปมากแล้ว
เหลือคุมพื้นที่อยู่เล็กน้อย
เพื่อขุดค้นทรัพย์สินและรวบรวมผู้คนที่ยังหลงเหลืออยู่จับเป็นเชลยเท่านั้น
เมื่อเรารวบรวมกำลังได้มากพอ การโจมตีค่ายพม่าเหล่านี้จึงสำเร็จโดยง่าย
แต่
ที่ยากยิ่งกว่าหลายเท่าคือการกอบกู้เอกราชครับ
เอกราชคือการมีพระราชาพระองค์เดียวผู้เป็นใหญ่เหนือเอกรัฐคือรัฐที่เป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกัน ในขณะบ้านเมืองแตกเป็นเสี่ยงๆ งานนี้ยากยิ่งกว่าหลายเท่า
กว่าจะสร้างอำนาจรัฐขึ้นมาใหม่ให้เป็นที่ยอมรับ กว่า
ชุมนุมต่างๆจะยอมรับสถานะ
การเป็นพระเจ้าแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นยากเย็นแสนเข็ญ
สูญเสียเลือดเนื้อกันไปไม่รู้เท่าไหร่
เจ็ด
เดือนก่อนสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์นั้น
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยังไม่ได้เข้าร่วมมีส่วนครับ
แต่อีกสิบห้าปีต่อจากนั้น ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกรบมาหนักหนาแล้วครับ
และถ้าจะว่าไปแล้ว ตั้งแต่
พ.ศ.๒๓๑๙ คือเสร็จศึกอะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองฝ่ายเหนือเป็นต้นมา
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็มิได้เสด็จออกนำทัพเองอีกเลย
การศึกสงครามนับแต่นี้ไปจะมีแต่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและ/หรือ“น้องชาย” เท่านั้นที่เป็นแม่ทัพบัญชาการรบ
นั่นคือ ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงรบอยู่ ๙ ปีครับ โดยมี “นายทองดี” กับ “นายบุญมา” ได้
รับความไว้วางพระทัยให้เป็นแม่ทัพหน้า หลังจากนั้นอีก๖ปี
พระองค์ไม่ได้เสด็จไปในสนามรบแล้วครับ
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและ/หรือ“น้องชาย” เท่านั้น ที่รบมาตลอด
แบบนี้ยังจะกล่าวหาว่าพระองค์ไม่ได้มีส่วนในการรบเพื่อกู้เอกราชอีกหรือ “นที-อริน”
สมเด็จ
เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกท่านไม่เคยบอกว่าเป็นคนร่วมกอบกู้เอกราชด้วยหรอก
ครับ เพราะคงไม่มีความจำเป็นต้องบอก ด้วยผู้คนสมัยนั้นคงจะรู้กันอยู่
จะมีคนสมัยนี้แหละครับที่ถูกบิดเบือนข้อเท็จจริงจนทำให้ไขว้เขวเกิดความ
สงสัยกันขึ้น
กล่าวหาว่าสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกท่าน “ชุบมือเปิบ” ไปได้ยังไง
รู้ไม่จริง หรือบิดเบือน กันแน่ครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น