ใน
ที่สุด...มหานครเมืองหลวงก็จมบาดาล ทำเอาผู้คนปั่นป่วนกันทั่วเมืองกรุงฯ
โดยมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันหนาหูถึงการบริหารจัดการของ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์
ชินวัตร” ว่า “ล้มเหลว...อย่างสิ้นเชิง”
เพราะทำให้ “คนกรุงฯ”
ต่างเดือดร้อนกันถ้วนหน้า...หลายบ้านต้องเสียเงินเสียทอง...แบบคาดไม่ถึง
ในการต้อง “ป้องกันบ้านตัวเอง”
และหลายบ้าน-หลายคน...ก็ไม่เคยได้สัมผัสกับรสชาติแบบนี้มาก่อน
เพื่อให้ได้ความเป็นกลางที่แท้จริง “ไทยอินไซเดอร์”
ขอนำไปสนทนากับ “อ.สมชาย ภคภาสวิวัฒน์” นักกลยุทธ์ระดับ “กูรูของเมืองไทย”
ซึ่งเป็นผู้คร่ำหวอดในด้านการจัดการธุรกิจ เศรษฐกิจและการเมือง
เพราะชั่วโมงนี้...หากให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกมาวิพากษ์วิจารณ์ก็ย่อมมี
“อคติ” อย่างแน่นอน...โปรดติดตาม
Q :
มองสถานการณ์ความวิตกกังวลต่อปัญหาน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้อย่างไร
โดยเฉพาะคนในพื้นที่กทม.ที่ค่อนข้างอ่อนไหวกับกระแสข่าวที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการทำงานของรัฐบาลใช่หรือไม่
A :
ผมคิดว่าแบ่งเป็น 2 กลุ่ม...กลุ่มแรกคือกลุ่มคนซึ่งสนใจรัฐบาล
มองว่าคุณยิ่งลักษณ์ (ชินวัตร นายกรัฐมนตรี) ขยัน
คนในส่วนนี้คือพวกเสื้อแดง หรือพวกที่มีใจยอมรับอยู่
อีกส่วนหนึ่งคือ...ส่วนที่เป็นกลาง-ไม่ได้เป็นเสื้อแดง มีจำนวนไม่น้อย
ซึ่งอาจมองว่านายกฯขยัน แต่ก็ถือเป็นหน้าที่ของนายกฯที่ต้องทำตัวขยัน
เพราะทุกประเทศผู้นำต้องพยายามที่จะแสดงออกให้เห็นว่า “พยายามทำงานหนัก”
แต่คนกลุ่มนี้ก็มองว่า สถานการณ์นี้มันบ่งบอกเรื่องของการบริหารจัดการขาด
ประสิทธิภาพ ความร่วมมือกับด้านต่างๆที่มีปัญหา
และข้อมูลข่าวสารที่ให้ประชาชน ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
จะเห็นว่ามีการวิเคราะห์ว่าจะเกิดอย่างโน้นอย่างนี้บ้าง
ในที่สุดก็ไม่ได้เกิดตามที่วิเคราะห์ไว้เลย
เพราะฉะนั้นสำหรับคนกลุ่มนี้...ผมคิดว่าเรื่องของการบริหารการจัดการเรื่อง
นี้ โดยเฉพาะคนขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการบริหารการจัดการ
หรือขาดประสิทธิภาพในการบริหารการจัดการ
Q : ปัญหาเรื่องการบริหารการจัดการ จะพุ่งเป้าไปที่ “ศปภ.” ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้ได้หรือไม่
A
: ผมคิดว่า จริงๆ แล้ว...อันนี้คือส่วนหนึ่งแน่นอน
เพราะว่าเขาทำหน้าที่เป็นศูนย์ในเรื่องการบริหารการจัดการ แต่อย่างน้อยมี 2
เรื่อง คือด้านข่าวสาร จะเห็นในระยะแรกและระยะหลัง
ได้เห็นว่าค่อนข้างขาดเอกภาพ
และเป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง-ความเป็นจริง
รัฐบาลจะอ้างว่าถ้าบอกความเป็นจริงแล้วจะแตกตื่น อันนี้ผมคิดว่า “ไม่ใช่”
การที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
ในที่สุดถ้ารู้ว่าเรื่องน้ำท่วมมันจะต้องออกมาแบบนี้
การบริหารจัดการในแง่การป้องปราม ยกตัวอย่างเรื่องของการย้ายศูนย์พักพิง
ถ้าหากว่ามีการบริหารการจัดการและรู้จริง
ในกรณีอย่างธรรมศาสตร์ที่ย้ายไปย้ายมา แต่ละศูนย์มีปัญหาหมด
อันนี้ผมคิดว่าเป็นประเด็นปัญหาที่กระทบกับความเชื่อมั่นของประชาชนส่วน
หนึ่ง
Q : ความเชื่อมั่นที่หมดลงไปรวมถึงตัวนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในศูนย์ศปภ.ด้วยหรือไม่
A
: แน่นอน...ตัวนายกฯถูกกระทบจากเรื่องการบริหารการจัดการของตัวศูนย์ฯ
เพราะตัวศูนย์เป็นเหมือนตัวแทนของรัฐบาลในการบริหารจัดการ
อันนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ
เหมือนเป็นการรวมศูนย์ให้การบริหารมีประสิทธิภาพ อันนี้คงหลีกเลี่ยงไม่ได้
เพราะตัวนายกฯเองคงจัดการเองไม่ได้ จึงมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับผิดชอบ
Q : มีคนออกมาชมเชยการทำหน้าที่ของคุณปลอดประสพ (สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ) ส่วนตัวคิดว่าคุณปลอดประสพทำหน้าที่ได้ดีหรือไม่
A
: ในแง่คุณปลอดประสพ เราจะเห็นได้ว่าคุณปลอดประสพเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล
การสื่อสารก็มีความลักลั่นไปจากตัวของรัฐบาล คุณปลอดประสพพูดอย่างหนึ่ง
ทางศูนย์กลับพูดอย่างหนึ่ง
ผมคิดว่าในกรณีนี้เวลาจะมองเรื่องประสิทธิภาพมันไม่ใช่เรื่องคนๆ
เดียวแน่นอน ควรมองในแง่ของกลุ่ม
Q : ศปภ.ยังให้ข้อมูลกับประชาชนไม่เพียงพอหรือไม่
A
: มันไม่เพียงพอ มันไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง
ที่นี้มันจะกระทบต่อความเชื่อมั่นของข่าวสารทั้งหมด เราจะเห็นว่า
ระยะหลังคนจะมาให้ความสำคัญกับรายการโทรทัศน์ที่เชิญผู้เชี่ยวชาญมาอธิบาย
อะไรต่างๆ
คนให้ความสนใจกับรายการเหล่านี้มากขึ้น...มากกว่าด้วยซ้ำในระยะหลัง
Q : คิดเห็นอย่างไรกับการปรับแผนของศปภ.ที่เปลี่ยนตัวโฆษกศปภ. โดยแต่งตั้งนายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษาฯ มาทำหน้าที่นี้
A
: ขณะนี้มันอยู่ในขั้นที่...แต่ละคนตัวใครตัวมันแล้วครับ
เพราะฉะนั้นการปรับโฆษกหรือปรับอะไรมันเป็นเพียงเรื่องการสื่อสาร
แต่ข้อเท็จจริงผลปรากฏว่า “กรุงเทพฯท่วม”
และเป็นที่แน่นอนว่าตัวใครตัวมันทั้งหมดแล้ว
มันไม่ใช่ประเด็นว่าจะเปลี่ยนโฆษก
โฆษกฯก็ทำหน้าที่สื่อสารความเป็นจริงเท่านั้นเอง
แต่ที่เห็นได้ชัดก็คือว่ากรุงเทพฯมีลักษณะตัวใครตัวมันแล้ว
Q : ตัวใครตัวมันคือ..???
A
: “ตัวใครตัวมัน”
คือตอนนี้ความรู้สึกของคนที่พึ่งรัฐบาลเหลือน้อยลงไปเยอะ...ลงไปทุกที
ต่างคนต่างต้องมาพึ่งตัวเอง ว่าจะรอดได้ยังไง
อันนี้เป็นความรู้สึกของคนจำนวนไม่น้อยที่เกิดแบบนี้
Q : ความเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่มีปัญหาจะมีผลระยะยาวต่อเสถียรภาพ การคงอยู่ของรัฐบาลหรือไม่
A
: จริงๆ รัฐบาลนี้มีปัญหาอย่างไร การคงอยู่มีปัญหาแน่
เพราะว่าอย่างน้อยที่สุดกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่เป็นรากหญ้าที่ได้ประโยชน์จาก
รัฐบาล ได้คะแนนเสียงต่างๆเหล่านี้ เพราะฉะนั้น “ฟ้าจะถล่ม-ดินจะทลาย”
คะแนนเสียงเหล่านี้ไม่ค่อยถูกกระทบหรอกครับ เพราะรัฐบาลเองก็มีลูกเล่น
เพราะฉะนั้นความรู้สึก ความสัมพันธ์ส่วนตัว
ประกอบกับวัฒนธรรมแบบความรู้สึกส่วนตัวค่อนข้างจะเยอะ
ความผูกพันกับคนที่ดีกับเขาในแง่ชุมชน นโยบาย เพราะฉะนั้นกรณีนี้
(หมายถึงน้ำท่วม) ไม่มีผลกระทบ แต่อาจจะมีบ้างบางกลุ่มที่เป็นกลาง
ไม่ผูกพันกับทางรัฐบาล อย่างเช่นกลุ่มชนชั้นกลาง คนมีการศึกษาก็คงจะกระทบ
แต่ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วผลกระทบกับรัฐบาลไม่มากนัก
Q : ถึงแม้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่อาจจะล้มเหลว ก็จะไม่มีผลกระทบ
A
: อย่าลืมว่า...ในภาคอีสาน ก็ไม่ได้ถูกกระทบอะไร (หมายถึงน้ำท่วม)
เพราะฐานเสียงไม่ได้ถูกท่วม
เพราะฉะนั้นเพียงแต่ความเชื่อมั่นในรัฐบาลที่กระทบวันนี้...อาจจะไม่ไปกระทบ
คำว่า “รัฐบาล” ต้องแยก รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ รัฐบาลเพื่อไทย
ในส่วนของเพื่อไทย...ผมคิดว่าไม่กระทบ อย่างที่บอกรัฐบาลนี้พิเศษ
1.มีเสียงในสภาฯเยอะ 2.มีเสียงนอกสภาฯ อย่างเสื้อแดง อันนี้เป็นฐานเสียง
ในลักษณะแบบนี้ระบบการเมืองไม่ค่อยมีอยู่แล้ว ซึ่งตัวนี้เป็นตัวช่วย
ทั้งในสภาฯนอกสภาฯ
เพียงว่าถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงยังไงก็เป็นเรื่องภายในของเพื่อไทย
ในขณะนี้ผมเชื่อว่าไม่กระทบกับรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ด้วยซ้ำ
เพราะว่า...ต้องยอมรับนะว่าคุณยิ่งลักษณ์เป็นรัฐบาลผูกพัน
เพื่อได้ขึ้นมาก็เพราะผูกพันกับคุณทักษิณ
ความผูกพันเหล่านี้เป็นจุดสำคัญอย่างหนึ่งที่สร้างความต่อเนื่องให้กับทาง
รัฐบาลนี้ได้
“เพราะฉะนั้นในกรณี...แม้ว่าจะไม่มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น
คงไม่กระทบกับเสถียรภาพของรัฐบาลในความหมายของพรรคเพื่อไทย
เพียงแต่รัฐบาลจะสร้างความเชื่อมั่นให้มากขึ้น...คงต้อง 1.แก้ไขในระยะสั้น
คือเรื่องการบรรเทาความเดือดร้อนของคนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้มี
ประสิทธิภาพมากกว่านี้ 2.ฟื้นฟูที่รวดเร็วและเป็นแพ็กเกจ (Package)
โดยเฉพาะแผนฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม 3.จะต้องมีแผนแก้ไขระยะยาว 5-10
ปีในลักษณะที่ฝรั่งหรือใครต่อใครดูแล้ว...ในทางเทคนิคดูแล้วมันน่าเชื่อ
และมีงบประมาณมาเพียงพอในการดำเนินการตามแผน
อันนี้เป็นหัวใจสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นในกลับคืนมา”
Q : ทหารมีผลอย่างไรกับเสถียรภาพของรัฐบาลชุดนี้
A
: ไม่มี “ทหารไม่มีอำนาจต่อรอง” อำนาจต่อรองของทหารมี...แต่มันน้อย
ทหารเองเขาก็รู้ เพราะฉะนั้นคงไม่ไปเป็นปัญหาหรืออะไรต่างๆ
ที่รัฐบาลจะมีปัญหาจะมากจากตัวเขาเอง ทหารเขาก็ดูสถานการณ์ เขาก็มองในใจ
ทำแล้ว (หมายถึงปฏิวัติ) จะมีปัญหากับสำหรับเขา
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เขาพยายามรักษา คือรักษาสถานภาพของเขาขณะนี้
แต่ว่าเรื่องที่จะมีการก่อรัฐประหารอะไร สถานการณ์อันนี้ยังไม่ใช่
Thaiinsider
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
533904
Search
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน