"ชัชวาล ปัญญาวาทีนันท์"คุมกฎเหล็ก"เปิด-ปิด"ประตูน้ำ กุมชะตากรรม "กทม.-ปริมณฑล"
ใน ฐานะผู้คุมกฎเปิดปิดประตูน้ำ "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษรองอธิบดีกรมชลประทาน "ชัชวาล ปัญญาวาทีนันท์" เกี่ยวกับแผนและมาตรการในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำท่วม กุมชะตากรรมคนกรุงเทพฯและปริมณฑลหลายล้านชีวิต ภายใต้สถานการณ์น้ำท่วมที่วิกฤตหนักในเวลานี้ - ใช้อำนาจตามที่ได้รับมอบหมายหรือยัง ผม ว่าใช้หรือไม่ใช้อำนาจไม่สำคัญเท่ากับความเชื่อมั่นและความเข้าใจของชาวบ้าน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะการทำงานต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย หลังได้รับมอบหมายให้ ดูแลการเปิดปิดประตูน้ำพระอินทร์ราชา ในภาพรวมเข้าไปดูแลแล้ว จากเดิมที่ ศปภ.อาจจะรอการรายงานจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ประตูน้ำพระอินทร์ราชาบริเวณรังสิต คลอง 1 เป็นจุดหลักที่รับน้ำโดยตรงมาจากคลองข้าวเม่า คลองสาคู และคลองบ้านหว้า ก่อนจะผันไปทางฝั่งตะวันออกสู่ชายทะเล ปัญหาที่พบคือ ระยะทาง 50 เมตรของทั้ง 2 ฝั่งประตูน้ำนี้มีระดับน้ำท่วมสูงและไหลแรงมาก โดยเฉพาะบริเวณสะพาน ถ้าสะพานขาดน้ำก็จะไหลแรงขึ้นอีก ก่อนหน้านี้ เราเคยขอให้ชาวบ้านปิดประตูน้ำพระอินทร์ราชาแต่ถูกต่อต้าน เช้าวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมาก็พยายามเข้าไปปิดประตูลง 10 ซ.ม. เพื่อหรี่น้ำให้ไหลออกน้อยลง แต่ไม่สำเร็จเพราะน้ำแรงมาก ตอนนี้ประตูก็ยังเปิดอยู่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เหตุผลของชาวบ้านยังยอมรับได้ในแง่วิศวกรรม - แก้ปัญหาอย่างไร ปิด ประตูน้ำพระอินทร์ราชา รังสิต คลอง 1 ไม่ได้ เราก็ไปปิดประตูน้ำรังสิต คลอง 2, 5 และขอความร่วมมือชาวบ้านเปิดประตูน้ำรังสิต คลอง 3, 4, 6 และ 8-13 ก็พยายามเปิดอยู่ ส่วนรังสิต คลอง 7 ประตูเปิดปิดเสีย - มั่นใจว่าจะแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯได้ ผม ไม่แน่ใจว่าขณะนี้ชาวบ้านมีความเชื่อมันต่อกรมชลฯและ ศปภ.มากน้อยแค่ไหน แม้ในความรู้สึกส่วนตัวอยากให้เชื่อและมั่นใจมากกว่า 70% ว่า ถ้าชาวบ้านยอมให้ผันน้ำไปทางโซนตะวันออกของ กทม. ทางทุ่งรังสิตเหนือ, ใต้ คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตจะแก้ปัญหาได้ เพราะถ้าผันน้ำได้เร็วเท่าไหร่ การท่วมขังก็จะน้อยลง เพราะตอนนี้มวลน้ำที่เข้ามามีน้อย ถ้าผันไปออกฝั่งอ่าวไทย, แม่น้ำบางปะกง, แม่น้ำนครนายกได้ ระดับน้ำก็จะค่อย ๆ ลดลง - จะบริหารการเปิด-ปิดประตูน้ำอย่างไร มวลน้ำไม่ได้ มาทั้งลอตแต่ทยอยมา ถ้าให้เปิดบ้างปิดบ้างก็จะโอเปอเรตปริมาณน้ำได้ ทำอย่างนี้ได้นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ฯลฯ ก็จะไม่เสียหาย ส่วนวิธีชั่งน้ำหนักว่าจะเปิด-ปิดประตูน้ำที่ไหนจะมองในภาพรวม ดูผลกระทบที่เกิดขึ้น ถ้าผลกระทบมีมากก็จะไม่ทำ - พอจะมีหลักประกันว่าจะได้ผล ขึ้น อยู่กับความเชื่อมั่นและความศรัทธาของชาวบ้าน ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ยาก เพราะชาวบ้านไม่เข้าใจและกลัวน้ำจะท่วม แต่ถ้าให้เราเข้าไปแก้ปัญหาอย่างจริงจังมั่นใจว่าแก้ไขได้ ด้วยการปรับสมดุลเรื่องการเปิด-ปิดประตูน้ำระหว่างกรมชลฯกับ กทม.ให้สอดคล้องกัน ถ้าการบริหารจัดการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ บริเวณคลอง 1 มั่นใจน้อย น้ำอาจบ่าเข้าท่วมแถวดอนเมือง ส่วนคลอง 8-13 แม้จะมีน้ำท่วมก็มั่นใจว่าจะท่วมไม่เยอะ - เป็นห่วงอะไรมากที่สุด หลัก ๆ มีอยู่ 2 เรื่อง คือ 1.มวลน้ำ 2.เวลา ถ้าให้โอกาสเราบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจัง อาจจะมีน้ำท่วมบ้างแต่จะท่วมไม่มาก ที่สำคัญคือให้มวลน้ำผ่าน จึงอยากให้เปลี่ยนความกลัวเป็นความเชื่อมั่นเรา ถ้าปล่อยให้มวลน้ำสะสมมากเท่าไหร่ ก็จะอันตรายกับ กทม. กับชาวบ้านมากขึ้นเท่านั้น - ปริมาณน้ำที่ไหลมาจากทางเหนือ ทุ่ง ตะวันออกน้ำไหลมา 15-17 ล้านคิว/วัน ปริมาณน้ำในโซนตะวันออกทั้งโซนตอนนี้เท่ากับปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักฯที่ เต็มทั้งเขื่อน ดังนั้น ถ้าทยอยเอาออกสู่ทะเลได้ 10 ล้านคิว/วัน ทุกวันก็จะปรับสมดุลไปเรื่อย ๆ - การแก้ไขปัญหาทางฝั่งตะวันตก ที่น่าเป็นห่วงคือแถบบางบัวทอง บางใหญ่ ที่ช่วงนี้กำลังประสบปัญหารุนแรงและครอบคลุมพื้นที่จำนวนมาก แต่ปริมาณน้ำด้านนี้จะน้อยกว่าโซนตะวันออกของ กทม. เท่าที่ประเมินปริมาณน้ำประมาณ 2.6 พันล้าน ลบ.ม. ส่วนโซนตะวันออก 3.6 พันล้าน ลบ.ม. ตอนนี้เราเข้าไปศึกษา ในพื้นที่แล้ว กำลังหาทางแก้ไขและเร่งระบายน้ำออก ปัญหาของพื้นที่โซนตะวันตกคือคันดินแถวสามโคก ปทุมธานี ขาดเป็นช่วง ๆ บางส่วน ทำให้มีน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลกลับเข้ามาด้วย วิธี การแก้ไขคือ พยายามหรี่น้ำในบางประตูน้ำ เพื่อให้น้ำทยอยมาจากทุ่งพระยาบรรลือ, ทุ่งเจ้าเจ็ดฯ, ทุ่งพระพิมล และไปชะลออยู่ ให้ไหลเข้ามาพืนที่ด้านล่างของ กทม.น้อยลงส่วนนี้อดีตรองอธิบดีกรมชลประทาน ท่านวีระ วงศ์แสงนาค เข้ามาช่วยดูแลด้วย - การระบายทั้งโซนตะวันออก-ตะวันตก ใน ภาพรวมเราสามารถระบายน้ำออกจากกลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้ 400-500 ล้าน ลบ.ม./วัน แบ่งเป็นระบายออกทางแม่น้ำบางปะกง 120 ล้าน ลบ.ม./วัน แม่น้ำท่าจีน 50 ล้าน ลบ.ม./วัน กรมชลฯสูบออก 27 ล้าน ลบ.ม./วัน ขณะ ที่ปริมาณน้ำท่วมทุ่งโซนตะวันออกในพื้นที่ จ.สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กทม. ลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสมุทรปราการ มี 1.2 หมื่นล้าน ลบ.ม./วัน ส่วนโซนตะวันออกใน จ.อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร ปริมาณน้ำท่วมทุ่งมี 1.9 ล้าน ลบ.ม./วัน |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น