โดยวีรพัฒน์ ปริยวงศ์เมื่อ 30 มิถุนายน 2011 เวลา 21:51 น.
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ที่มา: http://www.facebook.com/verapat.pariyawong
_______________________________________________________________
ประเด็น เรื่อง Vote No มีความชัดเจนมากขึ้นไม่กี่วันก่อนวันเลือกตั้ง 3 ก.ค. เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง และนักวิชาการ เช่น ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ ออกมาอธิบายยืนยันว่า คะแนน Vote No นั้นไม่มีผลต่อการเลือกตั้งในเขตที่มีผู้สมัครมากกว่า 1 คน
แต่ยังมีคำถามว่า การไม่นับคะแนน Vote No ให้ชนะแม้คะแนน Vote No จะสูงสุดในเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครหลายคนนั้น เป็นการไม่เคารพเสียงประชาชน และขัดแย้งกับ "หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย" ตาม มาตรา 3 แห่งรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศหรือไม่?
ตอบ การ ที่ มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ทำ ให้คะแนน Vote No ไม่มีผลทางกฎหมายในเขตที่มีผู้สมัครหลายคนเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ตาม "หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย" และไม่มีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ดังอธิบายได้ดังนี้
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ เป็นเรื่อง อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ควบคู่กับ หลักการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ พวกเราที่เป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญต้องอ่านให้ครบถ้วน คือ
“มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม”
หมาย ความว่า แม้อำนาจอธิปไตยจะเป็นของเราปวงชนชาวไทย แต่เราจะใช้อำนาจนั้นให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างไร จะกำหนดกฎเกณฑ์รายละเอียดเรื่องต่างๆ ในสังคมอย่างไร ย่อมเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญจะแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ไปยัง รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล เป็นผู้ใช้อำนาจหรือทำหน้าที่แทนปวงชน (ส่วนจะเป็นไปตาม "หลักนิติธรรม" หรือไม่นั้น ผู้เขียนขอสงวนไปเขียนเป็นตำรา เพราะมิอาจสรุปสั้นๆได้)
ยกตัวอย่าง แม้ปวงชนจะเป็นเจ้าของอำนาจ แต่ปวงชนจะมาตั้งศาลเตี้ยใช้อำนาจวินิจฉัยลงโทษเพื่อรุมประหารชีวิตนักการ เมืองที่เลวทรามต่ำช้ากันเองมิได้ เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 197 บัญญัติให้ศาลเป็นผู้รับแบ่งอำนาจอธิปไตยไปทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี
ถาม ว่าแล้วเรื่อง Vote No นี้ ปวงชนเจ้าของอำนาจได้ตกลงในรัฐธรรมนูญให้เป็นอำนาจหน้าที่ของใคร ผู้เขียนตอบได้ชัดเจนและปราศจากข้อสงสัยใดๆว่า ปวงชนชาวไทยได้กำหนดให้รัฐสภาเป็นผู้ตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย เรื่องการเลือกตั้ง (รัฐธรรมนูญ มาตรา 138-141)
ที่สำคัญ รัฐธรรมนูญ มาตรา 93 วรรคสาม บัญญัติว่า
“หลัก เกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่ง สมาชิกวุฒิสภา”
ดังนั้น จึงไม่มีข้อสงสัยว่า หลักเกณฑ์การนับคะแนน Vote No จะเป็นอย่างไรนั้น ปวงชนชาวไทยได้ตกลงให้เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 88 และ 89 ที่เคยอธิบายไว้แล้ว และผู้มีอำนาจวินิจฉัยบังคับใช้กฎหมายย่อมได้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (หากมีการโต้แย้งว่าใช้อำนาจไม่ถูกต้อง ก็ย่อมไปโต้แย้งในศาลตามขั้นตอน)
ทั้งหมดทั้งปวงนี้ จึงสอดคล้องกับหลักการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 อย่างแท้จริง กล่าวคือ Vote No คืออำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยในลักษณะเป็นไปตามกฎหมาย เขตไหนผู้สมัครคนเดียว (มาตรา 88) Vote No อาจมีผล แต่หากผู้สมัครหลายคน Vote No ย่อมไม่มีผล (มาตรา 89)
แต่ ทั้งนี้ หากเราเชื่อว่า เสียงข้างมากของการ Vote No เป็นเสียงของเจ้าของอำนาจที่ไม่เห็นด้วยกับ มาตรา 88 และ 89 ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแล้วไซร้ เสียง Vote No ข้างมากเหล่านั้นย่อมชอบที่จะดำเนินการแก้ไขหรือยกเลิก มาตรา 88 และ 89 ตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญ เช่น การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย การเลือกพรรคการเมืองที่มีนโยบายแก้ไขกฎหมายดังกล่าว การเรียกร้องการทำประชามติที่กำหนดประเด็นชัดเจน หรือการใช้สิทธิเสรีภาพประท้วงเรียกร้อง ซึ่งหากเลือกตั้งครั้งนี้มีคะแนน Vote No ล้นหลาม ก็ย่อมอาจจุดประกายการดำเนินการเช่นนั้น
ผู้ เขียนย้ำว่า บางคนอาจต้องการ Vote No เพื่อแสดงออกด้วยพลังบริสุทธิ์ตามวิถีรัฐธรรมนูญ เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการเมืองที่ล้มเหลว ซึ่งผู้เขียนยืนยันอีกครั้งว่า Vote No เช่นนั้นเป็นการ ใช้สิทธิเสรีภาพอันประเสริฐยิ่ง
ผู้ เขียนย้ำอีกว่าสังคมไทยเป็นสังคมนิติรัฐ บ้านเมืองมีกฎหมาย มีกติกา แม้ปวงชนชาวไทยกว่า 67 ล้านคนจะเป็นเจ้าของอำนาจก็จริง แต่จะใช้อำนาจอย่างไรย่อมเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ ตามรัฐธรรมนูญ มิฉะนั้นสังคมที่มีกว่า 67 ล้านความคิดเห็นก็มิอาจเคลื่อนเดินไปข้างหน้าได้
และ การเหมารวมว่า Vote No ทุกเสียงคิดเห็นเหมือนกันหมดทุกประการ ก็คงมิใช่ตรรกะที่ถูกต้องนัก บางคนอาจคิดไม่บริสุทธิ์เพื่อขัดขวางวิถีรัฐธรรมนูญ หรือบางคนอาจ Vote No เพียงเพราะรักพี่เสียดายน้อง หรือไม่รู้จะเลือกใคร เมื่อเราสรุปอะไรโดยง่ายไม่ได้ เราจึงต้องมีกฎหมายเป็นกติกา
สรุป การไม่นับคะแนน Vote No ให้ชนะกรณีเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครหลายคน จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องตาม "หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย" อย่างแท้จริง
<span class=" fbUnderline">บทส่งท้ายก่อนวันเลือกตั้ง</span>
Vote No ก็ไม่นับ คนรับสมัครก็ไม่มีดี แล้วแบบนี้จะออกไปเลือกตั้งทำไม?
ตอบ เพราะ เราซื้อของต้องได้เงินทอน น้ำดื่มในขวดต้องสะอาด ตำรวจต้องวิ่งจับโจรและห้ามมายุ่งกับ ทรงผม หรือความนิยมทางเพศของเรา ฯลฯ
สิ่ง เหล่านี้คือสิทธิ เสรีภาพที่เราเรียกร้องได้จากกฎหมายทุกวัน แต่บางครั้งกฎหมายก็ขอให้เราทำหน้าที่ เช่น ต้องชำระหนี้ จ่ายภาษี รวมถึงไปเลือกตั้ง
เราจะเป็นเพียงคนเห็นแก่ตัวมัวแต่ ได้ มีมโนสำนึกแยกเป็นสองมาตรฐาน ใจหนึ่งเรียกร้องสิทธิเสรีภาพจากกฎหมาย แต่อีกใจละเลยหน้าที่เอาปรียบกฎหมาย หาได้ไม่
จะ Vote No หรือ Vote ให้ใคร เป็นสิทธิของเรา เสรีภาพของเรา และหน้าที่ของเรา
โปรด วัดใจของเรา คิดให้ดี ใช้คะแนนให้คุ้ม 3 ก.ค. ผลออกมาเช่นไร ขอให้เรารับผิดชอบร่วมกัน เล่นตามกติกา และพาประเทศเดินต่อไปพร้อมกันครับ!
---
ผู้ใดยังมีข้อสงสัย โปรดดูบทความ “Vote No" แปลว่าอะไรกันแน่? ที่
http://www.komchadluek.net/detail/20110622/101168/VoteNo%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
งานวิชาการอื่น โดยวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ โปรดดู
https://sites.google.com/site/verapat/legal-writings
---
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น