บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นักรัฐศาสตร์แย้ง กกต.ชี้ “โหวตโน” มีผลทาง กม.อัดตีความตามตัวหนังสืออย่างเดียวไม่ได้


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 30 มิถุนายน 2554 16:00 น.

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ธีรภัท ร์ เสรีรังสรรค์ ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อดีตนายกสมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มสธ.สับ กกต.ตีความกฎหมายผิดที่ผิดทาง ไร้ความน่าเชื่อถือ เอาแต่ตีความลายลักษณ์อักษรอย่างเดียว วอนทบทวนเสียใหม่ ชี้ นัก เลือกตั้งเข้าสภาได้ต้องเจอทั้งคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และต้องมากกว่าคะแนนโหวตโน มาตรา 89 ใหม่บัญญัติชัดผู้สมัครหลายคนใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ถือเป็นหลักปกครองเสียงข้างมาก
      
       วันนี้ (30 มิ.ย.) ศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และอดีตนายกสมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้ออกมาเขียนบทความโต้แย้งกรณีที่ นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกต.ได้มีการหารือและมีความเห็นตรงกันถึงมาตรา 88 และมาตรา 89 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส. และการได้มาซึ่ง สว. พ.ศ.2550 (พ.ร.บ.เลือกตั้ง) ระบุว่า คะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโนไม่มีผลทางกฎหมาย โดยเห็นว่าวิจารณญาณในการตีความกฎหมายของ กกต.ผิดทิศทาง ขาดหลักวิชา
      
       ศ.ดร.ธีรภัทร์ ระบุว่า กรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบแบ่งเขตเลือก ตั้งจะได้รับการเลือกตั้งก็ต่อเมื่อได้ผ่านหลักเกณฑ์เงื่อนไขสำคัญอย่างน้อย 2 ประการ คือ ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และผู้สมัครจะต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งหรือโหวตโน ซึ่ง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ฉบับที่ 2 ปี 2554 มาตรา 27 และ 28 ที่แก้ไขมาตรา 88 และ 89 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งปี 2550 ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจน
      
       โดยมาตรา 88 ใหม่ บัญญัติไว้สำหรับกรณีที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งคนเดียวต้องเข้าหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งสองประการข้างต้น และหากไม่เข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขดังกล่าวก็จะต้องมีการเลือกตั้งรอบสอง และหากการเลือกตั้งรอบสองยังไม่ผ่านหลักเกณฑ์เงื่อนไขทั้งสองประการข้างต้น อีก ก็จะต้องมีการเลือกตั้งรอบสาม และการเลือกตั้งรอบสามนี่เองที่ไม่ต้องอาศัยหลักเกณฑ์เงื่อนไขทั้งสองประการ ผู้สมัครได้รับคะแนนจำนวนเท่าใดก็ตามขอให้มีเพียงคะแนนเดียวก็ถือว่าได้รับ เลือกตั้ง
      
       สำหรับมาตรา 89 ใหม่ ก็บัญญัติไว้ชัดเจนว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 88” ซึ่งก็หมายความว่า ให้ใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับมาตรา 88 มาใช้กับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในกรณีที่มี ผู้สมัครรับเลือกตั้งหลายคนด้วย มาตรา 89 เพียงต้องการระบุให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้ง นั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง และในกรณีที่มีผู้สมัครได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้ใช้วิธีการจับสลากเท่านั้น
      
       อย่างไรก็ตาม เหตุผลในการที่ บัญญัติหลักเกณฑ์เงื่อนไขของการได้รับการเลือกตั้งทั้งสองประการเอาไว้ สะท้อนหลักปรัชญาของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างน้อย 2 ประการ คือ หลักการปกครองโดยเสียงข้างมาก ผู้สมัครจะได้รับการเลือกตั้งก็จะต้องมีคะแนนสูงสุดมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ และจะต้องมากกว่าคะแนนโหวตโนด้วย เพราะมิเช่นนั้นจะถือว่าได้คะแนนเสียงข้างมากไม่ได้ และหลักการของการเป็นตัวแทน ผู้สมัครจะได้รับการเลือกตั้งก็ต่อเมื่อได้รับคะแนนในระดับหนึ่ง มิเช่นนั้นก็ไม่อาจถือเป็นตัวแทนได้
      
       “ด้วยเหตุนี้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายด้วยการตีความลายลักษณ์อักษร เพียงประการเดียว โดยขาดองค์ความรู้ในหลักปรัชญาของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่จะรองรับ การวินิจฉัยดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและอาจกล่าวได้ว่าเป็นความผิดพลาดโดยสิ้นเชิง กกต.จึงควรทบทวนความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวนี้เสียใหม่ เหมือนในหลายๆ เรื่องที่เคยผิดพลาดมาแล้ว”
ศ.ดร.ธีรภัทร์ กล่าว
      
       นักรัฐศาสตร์คนเดิมยังกล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า คะแนนโหวตโนมีผลทางกฎหมายในระดับหนึ่ง หากคะแนนโหวตโนมีจำนวนมากกว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ก็จะต้องนำไปสู่การเลือกตั้งในรอบที่สองและรอบที่สามต่อไป และยังสะท้อนถึงหลักปรัชญาของการปกครองโดยหลักเสียงข้างมากและการปกครองใน ระบบตัวแทน นอกจากนั้น ยังสะท้อนถึงความไม่พึงพอใจต่อระบบการเมือง พรรคการเมืองและตัวนักการเมือง ซึ่งจะเป็นหนทางของการนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่ ซึ่งจะต้องทบทวนปัญหาขององค์กรอิสระที่ไม่สามารถสนองตอบต่อเจตนารมณ์ของรัฐ ธรรมนูญและการปฏิรูปการเมืองที่ผ่านๆ มาได้

ดิสเครดิตกระแสโหวตโนอย่างหนักในช่วงโค้งสุดท้าย สับ กกต.ทำตัวไม่เป็นกลาง

พันธมิตรฯ ชี้ รัฐบาลใช้สื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง ดิสเครดิตกระแสโหวตโนอย่างหนักในช่วงโค้งสุดท้าย สับ กกต.ทำตัวไม่เป็นกลาง แถมบิดเบือนข้อเท็จจริง กาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนไม่มีผลทางกฎหมาย ด้าน “ปานเทพ” ท้า กกต.ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาว่ากฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 3 หรือไม่ ขณะที่ “ประพันธ์” ยัน ศาลไม่เคยเอาความคิดเห็นนักวิชาการเป็นบรรทัดฐาน
      
     
       วันนี้ (30 มิ.ย.) ที่บ้านพระอาทิตย์ พลตรี จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมด้วย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ และนายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยร่วมกันแถลงข่าว โดย นายปานเทพ กล่าวว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายมีขบวนการทำลายกระแสโหวตโนอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้สื่อของรัฐเชิญนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับการโหวตโน ไม่ว่าจะเป็นกรณีรายการของช่อง 9 อสมท เมื่อวานนี้เชิญเฉพาะผู้ที่เห็นข้อกฎหมายแตกต่างกับการโหวตโนมีโอกาสพูดฝ่าย เดียวเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าสื่อของรัฐในขณะนี้ถูกชี้นำในลักษณะการฝักใฝ่ทางการเมืองหรือ การวางตัวไม่เป็นกลางจริง ถือเป็นการไม่ให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่รณรงค์โหวตโน ที่มีโอกาสนำเสนอข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งผ่านสื่อของรัฐเลย
     
       นอกจากนี้ ท่าทีของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็แสดงความคลุมเครือออกมาในเรื่องการรณรงค์โหวตโน เหมือนกับกรณีในช่วงที่ผ่านมา ป้ายอย่าปล่อยสัตว์เข้าสภาถูกแถลงข่าวทั้งๆ ที่ไม่มีมติ กกต.สุดท้ายเมื่อพรรคเพื่อฟ้าดินไปขอดูมติ กกต.พบว่า ไม่มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย จะสังเกตเห็นว่าการให้สัมภาษณ์ในลักษณะนี้มีเจตนาให้ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ รัฐไปจัดการทำลายป้ายของพรรคเพื่อฟ้าดิน ล่าสุดพยายามให้ความเห็นว่า กกต.มีความเห็นว่าการกาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนไม่มีผลทางกฎหมาย ทั้งๆ ที่เป็นคำสัมภาษณ์เท่านั้น ยังไม่มีการลงมติอีกเช่นกัน เนื่องจากไม่มีวาระข้อถกเถียงหรือเกิดข้อพิพาทแล้วจริงในทางปฏิบัติ
     
       ทั้งนี้ ทางพันธมิตรฯ รณรงค์การกาลงในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน มิได้มีเจตนาในเรื่องของกฎหมายเป็นตัวเบื้องต้นตั้งแต่ตอนแรก แต่ต้องการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ที่ประชาชนต้องการให้คะแนนของประชาชนไม่ไป ทำร้าย หรือทำบาปให้กับประเทศชาติ ที่จะให้ฝ่ายชนะไปทุจริตคอรัปชั่น ทำลายบ้านเมือง หรือฝ่ายค้านไปยอมจำนนเป็นผู้แพ้ต่อผู้ชนะที่ไปทุจริตคอรัปชั่นในสภา ดังนั้นมาตรการโหวตโนจึงเป็นสัญลักษณ์ในการเรียกร้องเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง ให้กับประชาชน ยิ่งมีมากยิ่งไม่ต้องมีการชุมนุมก็ได้ ยิ่งมีอำนาจต่อรองมาก ยิ่งนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองก็ได้
     
       อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังมีนักกฎหมายมาให้ความรู้และชี้แนะในระดับปรมาจารย์ทางด้านวงการ กฎหมาย มาให้ความเห็นว่ากฎหมายเลือกตั้งมาตรา 88 และ 89 นั้น ชี้ชัดว่าโหวตโนมีผลทางกฎหมาย ได้แก่นายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กุล เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา, นางยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ให้ความเห็นตรงกัน หรือ ศ.นพ.วิทูรย์ อึ้งประพันธ์ นักกฎหมายที่ทำงานในกฤษฎีกา แม้กระทั่ง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ยืนยันว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายนั้น ต้องการให้โหวตโนมีผลทางกฎหมายแน่นอน
     
       ดังนั้น เมื่อความคิดเห็นทางกฎหมายมีความแตกต่างกัน สุดท้ายคนที่วินิจฉัยไม่ใช่คนให้ความเห็นในทางสาธารณะ จะต้องพิสูจน์กันในชั้นศาล และ กกต.เรื่องนี้มีความชัดเจนเพิ่มขึ้นแล้วว่า เมื่อปี 2540 หลังจากที่มีรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้งของรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 89 หมายถึงผู้สมัครหลายคน มิได้มีข้อความว่าภายใต้บังคับมาตรา 88 ซึ่งก็คือกฎเกณฑ์ 20 เปอร์เซ็นต์ ต้องชนะไม่ประสงค์จะลงคะแนน ซึ่งใช้สำหรับคนเดียว ไม่มีข้อความนี้ แต่ภายหลังรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ ปรากฏว่า มีการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งมาตรา 89 ด้วย โดยเพิ่มข้อความว่า ภายใต้บังคับมาตรา 88 ซึ่งขอย้ำว่า มาตรา 88 เป็นมาตราสำหรับผู้สมัครคนเดียว จึงต้องชนะโหวตโนเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ แต่มาตรา 89 ซึ่งเป็นผู้สมัครหลายคน ผู้ร่างรู้ว่าจะไปบังคับตามมาตรา 88 เป็นผู้สมัครคนเดียวเป็นไปไม่ได้ เหลือกรณีเดียวต้องใช้กฎเกณฑ์เดียวกันเท่านั้น จึงได้ตราบังคับมาตรา 88 เอาไว้
     
       เพื่อให้เกิดความชัดเจน นางยินดี จึงได้ให้ความเห็นทางกฎหมายว่า การตีความกฎหมายเลือกตั้งนั้นจะต้องดูเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วย ในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย และมาตรา 6 บัญญัติไว้ว่า กฎหมายอื่นใดจะขัดต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ ดังนั้นศักดิ์และสิทธิ์ที่บัญญชัติไว้ว่า ประชาชนมีสิทธิ์กากบาทในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน มีสิทธิ์ทัดเทียมกับผู้จะลงคะแนนเลือกตั้ง และผู้สมัครคนใด แต่ กกต.ไม่เคยให้ความกระจ่างในการรณรงค์ มีแต่พูดว่าให้เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ แต่ไม่เคยพูดว่าถ้าไม่มีคนที่รักและพรรคที่ชอบให้ทำอย่างไร ไม่อยู่ในการประชาสัมพันธ์ของ กกต.เลย ถือว่า กกต.มีเจตนาวางตัวไม่เป็นกลางตั้งแต่ตอนต้น
     
       ในท้ายที่สุดเพื่อพิสูจน์เรื่องกฎหมายเลือกตั้ง และรัฐธรรมนูญมาตรา 3 มาตรา 88 และ 89 จะเห็นได้ว่าถ้าเกิดกรณีไม่ประสงค์จะลงคะแนนมากกว่าคะแนนของผู้สมัครรับ เลือกตั้ง และพบว่าคะแนนผู้สมัครรับเลือกตั้งมีคะแนนลำดับที่หนึ่งเพียงแค่ร้อยละ 20 แม้ จะมีผู้สมัครเกินหนึ่งคน หากประชาชนได้ใช้อำนาจอธิปไตยของตัวเองในการกาลงในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน มากเป็นลำดับที่หนึ่ง หากคนที่ได้คะแนนเพียงร้อยละ 20 เป็น ส.ส.เจตนารมณ์ของคำว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยจะเป็นไปได้อย่างไร เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่เลือกใคร ดังนั้นถ้ากฎหมายถูกตีความว่าต้องเป็นคนที่ได้คะแนนเพียงร้อยละ 20 ก็แสดงว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ใช้ไม่ได้ ซึ่งมีอยู่สองกรณี คือ การตีความผิดกฎหมาย หรือกฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ
     
       โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวด้วยว่า หากมีเขตหนึ่งเขตใดมีคะแนนโหวตโนชนะผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทนายพันธมิตรฯ จะยื่นให้ กกต.ไม่รับรองในเขตนั้น ถึงตอนนั้นจะเป็นมติ กกต.ที่แท้จริง ถ้า กกต.มีความเห็นว่าไม่รับรองด้วยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และกฎหมายเลือกตั้งมาตรา 88 และ 89 ถือว่าบรรลุข้อกฎหมายดังกล่าว แต่หาก กกต.เห็นว่า รับรองก็แสดงว่าใช้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะให้ กกต.ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญว่ากฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 3 หรือไม่ แต่น่าเป็นห่วงว่าวันนี้สื่อมวลชนกลับเสนอข้อมูลทางวิชาการด้านเดียว สื่อของรัฐในองคาพยพทั้งหมดนำเสนอมุมเดียวอย่างไม่เป็นธรรม เสมือนว่าฝักใฝ่ทางการเมือง และ กกต.ไม่สนับสนุนแต่กลับพูดลดทอนการกาลงในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน ทั้งๆ ที่ไม่ใช่มติ กกต.หลายครั้ง
     
       ระหว่างการแถลงข่าว นายปานเทพ ได้เปิดหลักฐานล่าสุด เป็นป้ายโครงการไทยเข้มแข็งที่มีภาพ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ระบุว่าที่ กกต.ซึ่งทำงานอยู่ที่ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ มีป้ายโฆษณาโครงการไทยเข้มแข็งซึ่งใช้งบประมาณของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และมีรูปนายอภิสิทธิ์ อยู่ในอาคารศูนย์ราชการฯ ชี้ให้เห็นว่า กกต.ทำงานอยู่ในอาคารนี้แต่กลับปล่อยให้ป้ายโฆษณานายอภิสิทธิ์ในโครงการไทย เข้มแข็งด้วยงบประมาณของรัฐ อยู่ในอาคารที่ใกล้กับบริเวณ กกต. เอง แต่กลับไม่ทำอะไร แสดงให้เห็นว่า กกต.มีการกระทำที่มีลักษณะเข้าข้าง ไม่เป็นกลาง บั่นทอนคะแนนไม่ประสงค์ลงคะแนนเป็นหลัก และไม่รณรงค์ให้ประชาชนรู้ว่ายังมีช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนด้วย ต่างกรรมต่างวาระ
     
       “ในวันนี้ กกต.มีแต่การให้สัมภาษณ์บั่นทอนการกาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเป็นหลัก ทั้งๆ ที่ทุจริตการเลือกตั้งเกลื่อนเมือง มีการจ่ายเงินซื้อสิทธิขายเสียงจำนวนมาก มีการใช้อิทธิพล นักเลง ใช้อาวุธปืนมาข่มขู่พี่น้องประชาชนและผู้รณรงค์จำนวนมาก ที่โคราชก็มีการทุบขว้างหินใส่ศูนย์ประสานงานช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน โดยที่ กกต.ทำอะไรไม่ได้เลย ถือว่า กกต.ล้มเหลวที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้” นายปานเทพ กล่าว
     
       ด้าน นายประพันธ์ กล่าวว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายของรัฐบาลได้ใช้สื่อของรัฐทุกช่อง พยายามที่จะให้นักวิชาการ นักกฎหมาย หรือแม้กระทั่ง กกต.ออกมาพูดในลักษณะต่อต้านหรือทำลายการรณรงค์โหวตโน ความจริงแล้วในช่วงที่พันธมิตรฯ รณรงค์โหวตโน ประเด็นหลักที่สุดคือปัญหาเรื่องการเมือง ต้องการให้ประชาชนแสดงออกซึ่งสิทธิ์และเสรีภาพในทางการเมือง ซึ่งไม่มีใครที่จะบังคับ ขัดขวาง หรือจำกัดสิทธิของเราได้ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ และเป็นไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยทุกประการ
     
       ส่วนนักกฎหมายที่ออกมาโต้แย้งการโหวตโนโดยหลักการนั้น รัฐบาลเดิมทีอาจจะไม่ได้สนใจการรณรงค์โหวตโน นึกว่าประชาชนไม่น่าจะทำให้เกิดกระแสใหญ่โตได้ถึงขนาดนี้ เริ่มแรกมีเพียง นายแก้วสรร อติโพธิ อดีต คตส.เพียงคนเดียวที่ออกมาโต้แย้ง แต่ก็ไม่สามารถหักล้างเหตุผลได้ มาถึงโค้งสุดท้ายกระแสโหวตโนมาแรงขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลจึงใช้วิธีให้ กกต. มาให้ความคิดเห็น ทั้งๆ ที่ความจริง กกต.ไม่มีหน้าที่มาให้ความเห็นในทางกฎหมาย ต้องไปลงมติกรณีมีข้อพิพาทหรือมีเรื่องร้องเรียนที่ต้องพิจารณาตามอำนาจของ กกต.ที่มีอยู่เท่านั้น ถือว่าทำผิดหน้าที่และมีวาระซ่อนเร้นแอบแฝง จงใจในลักษณะที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง
     
       อย่างไรก็ตาม กรณีที่ นายสมคิด เลิศไพทูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปออกรายการให้ความเห็นในเชิงลักษณะแตกต่างไปจากที่นักกฎหมายเคยให้ความเห็น ว่าการโหวตโนมีผลทางกฎหมาย ทำนองว่า มาตรา 88 ไม่นำมาใช้เลือกตั้งคราวนี้ ไม่มีผลทางกฎหมาย นายประพันธ์กล่าวว่านายสมคิดเป็นคณะกรรมการกลั่นกรองงานด้านกฎหมายของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยได้รับการเชื้อเชิญผ่านนายสุรพล นิติไกรพจน์ ที่ได้รับการสนับสนุนให้ไปเป็นประธานคณะกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ไม่ว่ากรณีถอดเครื่องราชย์ ถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พบว่านายสมคิดไปเป็นที่ปรึกษาให้กับนายอภิสิทธิ์
     
       ทั้งนี้ ที่ นายสมคิด ออกมาในโค้งสุดท้าย เพราะไม่มีใครที่จะมีเครดิตพอที่จะมาโต้แย้งกับความเห็นทางกฎหมายกับ พันธมิตรฯ ได้ แม้นายสมคิดจะเคยเป็นเลขานุการคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากที่นาวาตรีประสงค์ออกมาให้ความเห็นแล้ว นายอภิสิทธิ์คงอยากจะให้มีคนมาแย้ง เพราะแนวโน้มคนเข้าใจในเรื่องของข้อกฎหมายตรงกันแล้วว่ามีผลทางกฎหมาย แต่นายสมคิดก็เป็นเพียงนักวิชาการคนหนึ่ง ซึ่งในทางกฎหมายศาลไม่เคยเอาความคิดเห็นนักวิชาการเป็นบรรทัดฐาน เช่นคดีซุกหุ้นหรือคดียุบพรรค นักวิชาการบางคนก็มีความคิดเห็นไปอีกทางหนึ่ง ความเห็นทางวิชาการจะไม่ได้ยึดถือเป็นข้อยุติ เพราะมักจะคิดในหลายแง่มุม แต่ฝ่ายที่จะยึดถือและเป็นข้อยุติคือศาล การใช้กฎหมายจะเป็นอำนาจของตุลาการและเป็นอันยุติ การออกมาโต้แย้งในขณะนี้เพียงเพื่อจะทำลายคะแนนที่ประชาชนจะไปโหวตโน และบีบบังคับประชาชนให้หันกลับไปเลือกพรรคการเมืองของตัวเอง ซึ่งเป็นฝ่ายเสียผลประโยชน์จากการรณรงค์โหวตโน
     
       ส่วน พลตรี จำลอง กล่าวว่า เป็นครั้งแรกของการเมืองไทยที่มีการรณรงค์โหวตโนอย่างกว้างขวาง จึงมีการโต้แย้งมากขึ้น ยิ่งมีการโต้แย้งยิ่งเป็นการกระพือโหมให้ประชาชนสนใจมากขึ้น การเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนมากเป็นประวัติการณ์ อันเนื่องมาจากการรณรงค์โหวตโนของพันธมิตรฯ ในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม กกต.น่าจะขอบคุณพวกเราที่ทำให้การเลือกตั้งคึกคักขึ้น มิฉะนั้นการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างหงอยเหงาเหมือนคราวที่ผ่านมา การรณรงค์โหวตโนเมื่อได้ผลอย่างมากมายก็ทำให้พรรคการเมืองต่างๆ เริ่มไหวหวั่น บางพรรคมีป้ายออกมาเพื่อต่อต้านการรณรงค์โหวตโน
     
       ทั้งนี้ ประชาชนให้การสนับสนุนการรณรงค์โหวตโน ซึ่งเป็นเรื่องใหม่เป็นจำนวนมาก เห็นได้จากการที่พรรคเพื่อฟ้าดินตั้งเวทีหาเสียง และมีพรรคการเมืองพรรคใหญ่ตั้งเวทีหาเสียงใกล้กัน ปรากฏว่ามีหลายแห่งเวทีปราศรัยของพรรคการเมืองพรรคใหญ่เลิกการปราศรัยก่อน เวลา เพราะมีคนฟังเวทีรณรงค์โหวตโนมากกว่า ซึ่งเรื่องโหวตโนเป็นเรื่องใหม่ที่สามารถชี้แจงต่อประชาชนได้ ตนเห็นว่าเป็นเรื่องดีที่ดี และคิดว่า ไม่น่าจะต้องหาทางหักล้างหรือทำลายกันในเรื่องนี้ ย้ำว่าการลงคะแนนโหวตโนทำเพื่อประเทศชาติและบ้านเมืองเป็นหลัก ไม่ใช่ทำเพื่อพรรคใดหรือคนใดคนหนึ่ง และไม่ได้คำนึงถึงตัวเองหรือพรรคของตัวเอง ไม่คิดว่าจะทำได้ถึงขนาดนี้

เปิดอีเมลลับกุนซือ “ปู” ซื้อสื่อที่ละ 2 หมื่น พร้อมเลี้ยงข้าว-เหล้า โอดโดน “สาทิตย์” แทรก

เปิดอีเมลลับกุนซือ “ปู” ส่งถึง “พงษ์ศักดิ์” รายงานสถานการณ์ด้านสื่อ เผยต้น มิ.ย.ดูแลสื่อสัปดาห์เดียวที่ละ 2 หมื่น พร้อมเลี้ยงข้าว-เหล้า โอดลูกพรรคไม่ค่อยหาเสียง คอยเกาะกระแส “ปู” อย่างเดียว แนะ “ทักษิณ” ช่วย โทรกระตุ้น พ้อพักหลังมีปัญหากับสื่อ เหตุ “สาทิตย์” สั่งทีวีบางช่องงดตามข่าวปู แถม นสพ.บางฉบับ ไม่ค่อยรับเงินแล้ว เตรียมปรับกลยุทธ์ดึงคะแนนช่วงสุดท้าย ให้ “ทักษิณ” ประกาศยังไม่กลับไทย
       
       วันนี้ (30 มิ.ย.) ได้มีผู้ส่งข้อความในอีเมลส่วนตัว 2 ฉบับ ในหัวข้อ “จดหมายถึงท่านพงษ์ศักดิ์” และ “ข้อเสนอ วิม” ไปยังสื่อมวลชนฉบับต่างๆ โดยผู้ส่งใช้ชื่อว่า “วิม” (wim Rungwattanajinda) อีเมล wim108@live.com ส่วนผู้รับชื่อพงษ์ศักดิ์ ใช้อีเมล rukta_ladawan@yahoo.com และ rukta.pong@yahoo.com
       
       โดยอีเมลหัวข้อ “จดหมายถึงท่านพงษ์ศักดิ์”นั้น ส่งเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 มีข้อความว่า “สถานการณ์ทางด้านกระแสสื่อที่เกิดขึ้นในขณะนี้ สถานการณ์คุณปู ยังอยู่ในภาวะที่ดีมาก ซึ่งจะต้องประคองกระแสนี้ให้อยู่ในระดับที่ไม่ตกไปกว่านี้ โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้าย เนื่องจากผมทราบจากนักข่าวสายประชาธิปัตย์ว่า นอกจากการเปิดแผลโจมตี จากกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่มีสายสัมพันธ์กับประชาธิปัตย์แล้ว ตั้งแต่สัปดาห์หน้าประชาธิปัตย์จะใช้วิธีการทางด้านจิตวิทยา โดยใช้โพลสำรวจสำนักต่างๆ ออกมาสร้างกระแสว่าคะแนนนิยมระหว่างเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์ จะเริ่มใกล้เคียงกัน เพื่อให้สัปดาห์สุดท้าย กระแสของประชาธิปัตย์แซงหน้าเพื่อไทย เพื่อทำให้จิตวิทยาของคนเมืองหันมาเลือกประชาธิปัตย์
       
       สำหรับหน้าที่ ที่ผม และ น้องสุธิศา รับผิดชอบช่วยคุณปูอยู่ในขณะนี้
       1.แจ้งประเด็นให้คุณปู ทราบทุกวันว่าวันนี้มีประเด็นอะไร ประเด็นไหนที่แรง ให้โยนไปให้ทีมคุณนิวัติธำรงค์ ช่วยแนะนำ
       2.เช็กประเด็นจากสื่อมวลชนว่าจะถามอะไรคุณปู เพื่อให้คุณปูเตรียมตัวให้พร้อมที่จะพูด
       3.สร้างประเด็นหรือภาพกิจกรรมในพื่นที่หาเสียงเพื่อให้ได้ภาพหน้า 1 ทุกวัน
       4.ประสานหัวหน้าข่าวและโต๊ะข่าวการเมืองว่าต้องการภาพแบบไหน เพื่อส่งให้ทุกวัน
       5.ประสานสำนักข่าวต่างประเทศเพื่อให้ตามคุณปู ลงพื้นที่เพื่อให้ข่าวคุณปูออกไปทั่วโลก
       6.ประสานสำนักข่าวในประเทศ เพื่อให้พรรค (คุณนิวัตธำรงค์) จัด บุคคลไปตอบคำถามในทีวี
       
       ส่วนเรื่องดูแลสื่อในขณะนี้ ผมพยายามประคองกระแสให้ข่าวและรูปของคุณปูอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ให้ได้ทุกวัน โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์หัวสี ไทยรัฐ (พี่โมทย์) มติชน (พี่เปียก กับ พี่จรัญ) ข่าวสด (พี่ชลิต) เดลินิวส์ (พี่ป๊อป สมหมาย) คม-ชัด-ลึก (คุณโจ้ และปรีชา ที่มาสัมภาษณ์ ที่บ้านเมื่อสัปดาห์ก่อน) ซึ่งทุกคนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี สัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ผมช่วยดูแลไปแล้วที่ละ 2 หมื่น ส่วนผู้สื่อข่าว ทีวี ก็ใช้วิธีเลี้ยงข้าวบ้าง เลี้ยงเหล้าบ้าง ยังไม่ได้มีใครเรียกร้องอะไร ยกเว้นช่อง 7 ที่ขอไวน์และเหล้า ส่วนเวลาไปต่างจังหวัด พี่สุณีย์ ก็ให้บ้าง ส่วนที่พรรคไม่เคยให้เลย เคยบอกพี่สาโรจน์ไปแล้ว แต่ก็ไม่มีคำตอบ
       
       สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองในเพื่อไทยในขณะนี้ ผมมองว่า ผู้สมัครไม่ลงพื้นที่หาเสียงเหมือนไทยรักไทยและพลังประชาชน รอกระแสคุณปูกันเพียงอย่างเดียว ทำให้คุณปูเหนื่อยมากทำให้คะแนนที่ได้กลัวว่าจะไม่ถล่มทลาย หากผู้สมัครช่วยลงพื้นที่หาเสียงมากกว่านี้ผมมองว่ากระแสเพื่อไทยถล่มทายแน่นอน ข้อเสนอแนะของผม หากท่านนายกทักษิณ ช่วยโทรกระตุ้นผู้สมัคร ให้ช่วยกันลงพื้นที่ผมว่าน่าจะเป็นแรงผลักดันที่ดีมาก เพราะวันนี้เสียงสะท้อนจากชาวบ้านกว่า 50% พูดป็นเสียงเดียวกันว่าจะเลือกตั้งอยู่แล้วยังไม่เห็นหน้าผู้สมัครเลย
       
       อีกเรืองหนึ่ง คือ นักข่าวต่างประเทศหลายสำนักขอสัมภาษณ์ท่านนายกฯทักษิณ เช่น อาซาฮี ยูมิอูริ เอพี และ ไทยพีบีเอส (ไทย) พร้อมที่จะสัมภาษณ์ แต่ก็รอคำตอบจากท่านอยู่ ในความคิดเห็นส่วนตัวผมว่าหากท่านอยากให้คุณปูเป็นนายกจริงท่านน่าจะช่วยคุณปู ชี้แจงให้ชัดไปเลยเรื่องการนิรโทษ
       
       เรียนมาเพื่อทราบ
       วิม”
       
       ส่วนอีเมลหัวข้อ “ข้อเสนอ วิม‏” ส่งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554 ข้อความว่า
       “เรียน ท่านพงษ์ศักดิ์
       เรื่อง เนื้อหา คำกล่าวเกี่ยวกับนโยบายกีฬา
       
       ศูนย์การพัฒนากีฬา
       พรรคเพื่อไทยมีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนการกีฬา เพื่อให้เยาวชนเข้าถึงกีฬาอย่างแท้จริง หากเราได้เป็นรัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการในการก่อสร้างศูนย์การพัฒนากีฬาดังกล่าว โดยศูนย์ดังกล่าวจะต้องมีความพร้อมทั้งทางด้านโค๊ชที่มีซื่อเสียงฝึกในการฝึกสอนนักกีฬา เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการพัฒนาร่างกาย บุคคลากรที่มีความเชียวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางรูปร่างให้สามารถแข่งขันกับนักกีฬาต่างประเทศได้ และจะต้องมีบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางที่คอยให้คำปรึกษาและรักษาพยาบาลในกรณีที่นักกีฬาได้รับบาดเจ็บเป็นการเฉพาะ นอกจากนี้ ศูนย์การพัฒนากีฬาดังกล่าวจะเป็นศูนย์กลางสำหรับกีฬาทุกประเภท เยาวชนที่สนใจกีฬา หรือ นักกีฬาสมัครเล่น ที่มีความสามารถ รัฐบาลก็จะสนับสนุนให้เยาวชนเหล่านั้นเข้าถึงการเรียนรูทางเทคนิค และพัฒนาตนเองไปสู่กีฬาอาชีพได้ และศูนย์ดังกล่าวจะเป็นศูนย์กีฬาแห่งแรกของประเทศไทย ที่เยาวชนได้รับการคัดเลือกหรือผ่านเกณฑ์ที่จะพัฒนาไปสู่นักกีฬาสมัครเล่น หรืออาชีพ จะมีที่พักเพื่อการฝึกซ้อมในศูนย์ดังกล่าวและมีเบี้ยเลี้ยงให้กับนักกีฬา
       
       เนื้อหา เพียงบางส่วนที่เกี่ยวกับศูนย์พัฒนากีฬา ที่ผมจะให้คุณปู พูด ในวันพรุ่งนี้ ครับ
       
       เรื่องสถานการณ์ทางการเมือง
       หลังจากการปราศรัยของพรรคประพชาธิปัตย์ ที่ราชประสงค์จบลงแล้ว กระแสวันนี้ ไม่มีเสียงตอบรับจากสื่อมวลชนและประชาชนมากเท่าที่ควร สิ่งที่ ปชป.พูดไม่เมื่อคืนที่ผ่านมาไม่มีผลอะไรเลย ทำให้กระแสของคุณปู ยิ่งแรงมากขึ้น ขณะนี้ เริ่มเกิดปัญหาเล็กน้อยเกี่ยวกับสื่อสารมวลชน เนื่องจาก สาทิตย์ วงศ์หนองเตย เข้ามาก้าวก่ายการทำงานของบริษัทเอเยนซี ที่ ปชป.จ้างมา ด้วยการสั่งให้ ช่อง 9, TNN, ช่อง 5 และ ช่อง 11 หยุดส่งทีมตามทำข่าวคุณปู ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ส่วนหนังสือพิมพ์ มีบางฉบับ ไม่รับเงินเราแล้ว บอกว่า ปชป.บีบ และตอนนี้ ก็ยังไม่มีใครให้เงินไปดูแลนักข่าวเลย พี่สาโรจน์ บอกว่า จะให้ก็ไม่ให้ รายงานให้พี่ทราบเฉยๆ พี่ไม่ต้องจ่ายแล้ว เพราะหมดไปเยอะแล้ว
       
       อีกเรื่องหนึ่ง อาจเป็นเพียงข้อเสนอที่ไม่มีน้ำหนัก แต่ผมเห็นว่า ประเด็นนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เพื่อไทยและคุณปู ชนะอย่างยิ่งใหญ่ ก็คือ “ผมอยากให้ท่านนายกฯทักษิณ ประกาศ หรือ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ว่า หากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลผมจะยังไม่กลับประเทศไทย เพราะผมไม่ต้องการให้รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์ต้องอยู่ในสถานการณ์ลำบากใจ ผมจะกลับประเทศไทยก็ต่อเมื่อผมเห็นสัญญาณแห่งการปรองดองเกิดขึ้น
       
       และให้ท่านประกาศหรือสัมภาษณ์ออกช่วงวันที่ 30 มิ.ย.54 เพื่อเป็นข่าวช่วงบ่ายและค่ำ ของวันที่ 30 และวันที่ 1 ก.ค.54 ให้คุณปู ย้ำอีกครั้งบนเวที ปราศรัยใหญ่ รับรอง ทะลุ 300 แน่นอน
       
       ส่วนเรื่องสัญญาณของการปรองดอง เราจะเห็นสัญญาณนั้นเมื่อไหร ก็เป็นเรื่องของเรา อยู่แล้ว

นิรโทษกรรมทักษิณ ผู้ชายคนนี้มีคำตอบ!!!

  by หน่อผุด ,


หลังจากที่ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปราศรัยที่ราชประสงค์ถึงพรรคเพื่อไทยว่า "หยุดใช้การตลาด หยุดสร้างภาพลวงตา แล้วประกาศเลยว่า เพื่อไทยมีนโยบายอย่างเดียวคือล้างผิดให้ทักษิณ แล้วให้พี่น้องเลือกสิ!.....ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล จะไม่ยอมคืนเงิน 46,000 ล้านที่ยึดทรัพย์ให้แน่นอน!" กระแสพลิก พลพรรคเพื่อไทยถึงกับเสียกระบวน
เรื่อง แผนการออกกฎหมายนิรโทษกรรมล้างผิดทักษิณนั้น แม้ณัฐวุฒิจะมีน้ำโหถึงกับขู่จะไปยื่นฟ้อง กกต.ว่าประชาธิปัตย์ยัดเยียดนโยบายให้ แม้คุณยิ่งลักษณ์จะปฏิเสธเป็นพัลวันก็ไม่ทันเสียแล้ว แม้แต่ทีมกฎหมายคนสำคัญคู่บารมีของทักษิณ อย่างนายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ยังแสดงความมั่นใจและให้ความหวังแก่พี่น้องเสื้อแดงว่าพรรคเพื่อไทยจะพยายาม จนสุดความสามารถเพื่อจะนำทักษิณกลับบ้านให้ได้หลังการเลือกตั้งและพรรคเพื่อ ไทยได้เป็นรัฐบาล จึงป่วยการจะแก้ตัวให้ใครเชื่อ




ส่วนประเด็นเรื่องคืนเงิน 46,000 ล้านที่ถูกยึดทรัพย์ ทักษิณให้สัมภาษณ์กับ Wayne Hay แห่งทีวี Aljazeera ว่า ไม่แคร์เพราะตัวเองสามารถหาได้มากกว่านั้น
คุณกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เคยตอบโต้ฝ่ายค้านในสภาที่ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พากันอภิปรายทวงเงิน 46,000 ล้านที่ถูกยึดทรัพย์แทนทักษิณว่า "เงิน 46,000 ล้าน ไม่ใช่เงินคุณทักษิณ แต่เป็นเงินของคนไทยที่ได้กลับคืนมา" ...วันนี้ทักษิณยืนยันว่าถูกรัฐบาลขโมยไป ไม่เป็นไรไม่แคร์ เงินแค่นี้หาใหม่ได้!!!
ศาสตราจารย์ พิเศษ วิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) เคยอภิปราย พฤติกรรมการทุจริตเชิงนโยบายหรือผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งเป็นที่มาของความร่ำรวยผิดปกติของนักการเมือง ว่า
ทำธุรกิจกับตัวเอง คิดโครงการที่ตัวเองมีธุรกิจอยู่ แต่มีการเลี่ยงให้ญาติพี่น้องดำเนินการแทน
นำโครงการลงสู่เขตเลือกตั้งของตัวเอง
ตรากฏหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจตัวเอง
ใช้อำนาจแทรกแซงรัฐวิสาหกิจ
หาผลประโยชน์จากตลาดหลักทรัพย์
ถอดถอนผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรอิสระ
จัดตั้งบริษัทและนำเงินของรัฐไปลงทุน
ไปทำงานภาคธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของตน
ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นพิเศษแลกกับการตัดสินใจผลประโยชน์สาธารณะ
ใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์กับบุคคลภายนอก
ใช้อิทธิพลส่วนตัวเพื่อประโยชน์เครือญาติ
ครบถ้วนไหมคะ? พฤติกรรมของทักษิณ ชินวัตร
แก้ไข พรบ.สรรพสามิตโทรคมนาคม ตัวเองเสียภาษีน้อยลง 8,000 ล้าน
ลดสัมปทาน ไอทีวี ที่กลุ่มชินคอร์ปถือหุ้นอยู่ 53% ได้ประโยชน์ 20,000 ล้าน
ปล่อยเงินรัฐให้พม่ากู้ 4,000 ล้านดอกเบี้ยถูก เพื่อเอามาเช่าช่องสัญญาน IP Star ของตัวเอง
เจรจา FTA กับจีน นำเข้าหอม กระเทียม ไม่เสียภาษี เกษตรกรไทยซวย ที่รวยคือ IP Star
แปร รูป ขายหุ้น ปตท.หมดภายใน1นาที17วินาที ตระกูลนายทุนพรรคไทยรักไทยรับไปทั้งหมดโดยได้รับการจัดสรรหุ้นผ่านตลาดหลัก ทรัพย์ในฐานะผู้มีอุปการะคุณ กระบวนการยึดหุ้นนั้นไม่ต้องใช้เงินแม้แต่บาทเดียว คนชาวบ้านมาเข้าแถวรอคิวหน้าธนาคารตั้งแต่ตี 4 ยังไม่ทัน หลังจากนั้นปั่นจาก 35 เป็น 200 บาท กำไรมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว(อ้างอิง ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ ผอ.สถาบันสหสวรรษ สถาบันทางการเมืองภาคประชาชน) กฟผ.ก็เกือบไปแล้ว
แก้กฏหมายให้ต่างชาติถือหุ้นกิจการโทรคมนาคมได้ถึง 49% สำเร็จได้ก็ขายชินคอร์ปให้เทมาเส็ก สิงคโปร์ 73,000 ล้านบาทโดยไม่เสียภาษีสักสตางค์แดงเดียว
บริษัทฮาวคัมของลูกโอ๊คชนะประมูลสัมปทานโฆษณาที่รถไฟใต้ดินทั้งหมดโดยไร้คู่แข่งขัน
และ และ และละไว้ในฐานที่รู้กันอยู่แล้ว ทีนำมาเขียนซ้ำเพื่อย้ำว่า ทักษิณหาเงินเก่ง
ไม่รวมความสามารถเล่นแร่แปรธาตุเงินหาได้ไร้ที่มา ตั้งบริษัทไว้ในดินแดนฟอกเงินกระฉ่อนโลก
หากน้องสาวได้เป็นนายกฯ พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล นโยบายทักษิณคิดจะแผลงฤทธิ์ทันทีที่เขาประมูลประเทศไทยสำเร็จ
คุณเพิ่มค่าแรง 25% ใน 2 ปีเหรอ ผมให้ 300 เลยทันที!
คุณให้เบี้ยยังชีพคนชรา 500 บาท งั้นผมให้เลย 600 700 800 พันนึง
ประกันรายได้คุณขายดีเหรอ เอางี้ จำนำข้าวที่ว่าตันละ 15,000 ไม่พอใจ เอาไป 20,000
คุณให้เรียนฟรี ผมมีฟรี Tablet เด็กประถมเอาไปเลยคนละเครื่อง
บัตรเครดิตชาวนาสร้างหนี้เอื้ออาทร ฯลฯ
ทุกนโยบายใช้เงินรวมกันหลายแสนล้าน ยังไม่รวมโครงการที่อาจคิดได้กระทันหัน
นาย เสนาะ เทียนทอง ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย นักปั้นนายกฯอาชีพ เคยปราศรัยในวันที่น้อยใจน้องทักษิณว่า ทุกโครงการรัฐบาลทักษิณ จะถูกหักเข้าพรรค10% (เข้ากระเป๋าวิธิพิเศษอีกเท่าไหร่ไม่รู้) มีผลสำรวจโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถามความเห็นนักธุรกิจ เมื่อมีนาคม 2552 พบว่า "รัฐบาลทักษิณคอรัปชั่นสูงที่สุด" แค่สมัยแรกของทักษิณคนตระกูลชินวัตรรวยขึ้น3เท่า ดูประวัติการคอรัปชั่นที่ผ่านมา แล้วจินตนาการดูเถิด
อย่าว่าแต่ 46,000 ล้านบาทเลย ถ้าพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล ถ้าอำนาจอยู่ในมือทักษิณ
ถ้า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ เป็น ผบ.ตร. พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เป็น ผบ.กองทัพ
เข้าสู่ยุคทองของ"ชินวัตร"
เขมือบทั้งประเทศยังได้...จะยอมขายมั้ย ประเทศไทยของเรา?????

หาเสียงล่วงหน้า กันยาวๆไปเลย ???

เปิดนโยบายเพื่อไทย “วิสัยทัศน์ประเทศไทย 2020″ หาเสียงโค้งสุดท้ายเลือกตั้ง


Filed under talk of the town, เรื่องเด่นประเด็นร้อน



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพื่อไทยเตรียมชูนโยบาย วิสัยทัศน์ประเทศไทย 2020 หาเสียงเลือกตั้งโค้งสุดท้าย ขึ้นเวทีปราศรัยในวันที่ 1กรกฎาคมนี้ ซึ่งนโยบายหลักที่เพื่อไทยได้นำเสนอมีดังต่อไปนี้้

1. รายได้ของประชาชาติประเทศไทยจะอยู่ที่ไม่น้อยกว่า 800,000 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ โดยประชาชนคนไทยทั้หมดจะมีรายได้เหนือเส้นความจน คนไทยทุกคนจะมีบ้านเป็นของตนเอง เกษตรกรทุกคนจะมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง
2. คนไทยทุกคนจะมีรายได้ขั้นต่ำวันละ 1000 บาทและเงินเดือนผู้ที่จบปริญญาตรีอยู่ที่ 30000 ต่อเดือน
3.คนไทยมีสุขภาพดีถ้วนหน้าและปลอดยาเสพติด รับประทานอาหารปลอดภัย มีสถานพยาบาลที่ทันสมัย และที่ออกกำีลังกายทั่วโลก
4.เยาวชนไทยจะมีการศึกษาทั่วถึงทั่วโลก พรั่งพร้อมด้วยคุณธรรมเลพจริยธรรม
5.ไทยจะมีจำนวนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเป็นสองเท่า
6.การคมนาคมขนส่งกรุงเทพฯ จะสะดวกยิ่งขึ้นเพราะรถไฟฟ้าจะเสร็จทั้ง10สาย มีการสร้งเมืองใหม่และที่อยู่อาศัยตามเส้นทางรถไฟ
7.การ คมนาคมขนส่วระบบรางจะครอบคลุมทั้งประเทศ รวมทั้งรถไฟความเร็มสูงเชื่อมโยงทั้งประเทศจะทำใ่้ห้ค่าขนส่ง(LOGISTIC COST) ของไทยลดลงจากปัจจุบัน25%
8. จะมีการปรับโครงสร้างการใช้พลังงาน โดยการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานสีเขียวเพิ่มขึ้นเป็น 25%ของพลังงานฟอสซิล
9.ประเทศ ไทยจะเป็นประเทศอันดับต้นๆของเอเชีย ใช้ในการเทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำให้เด็กไทยเข้าถึงข้อมูลทั่วโลกได้ พร้อมทั้งระบบการเรียนการสอนจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชียงด้วยเทคโนโลยี สารสนเทศทุกตำบลเป็นตำบลดิจิตอล
10.ไทยจะมีเมืองใหม่ วางผังเมืองมาตรฐานโลก พร้อมเขื่อนกั้นน้ำทะเล และระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพ
11.จะเกิดเมืองหลวงขึ้นหลายแห่งตามภูมิภาค เืพื่อกระจายความเจริญ กระจายงบประมาณกระจายรายได้ ประจายความมั่งคั่งสู่ภูมิภาค
12.ไทยต้องมีบทบาทนำในเวทีโลก คนไทยไม่ว่าจะอยู่ไหน ฐานะใด อาชีพใดต้องอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ของมนุษย์มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
13.ดัชนีคอร์รัปชั่นที่ประเมินโดยต่างประเทศ จะดีขึ้นกว่าปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 75%
14.กระบวน การการใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม จะเป็นตามมาตรฐานสากล อันจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจต่อนานาประเทศซึ่งจะส่งผลดีต่อ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง
15.ไทยจะเป็นศูนย์การการบินแห่งเอเชีย จะมีนักท่องเที่ยว 30 ล้านคนต่อปี ทั้งสนามบินดอนเมืองและอู่ตะเภาจะนำมาถูกใช้เป็นสนามบินสากล
16.ไทยจะเป็นศูนย์กลางการเงินและการพลังงานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
17.ไทยจะเป็นศูยน์กลางทางด้านสุขภาพของเอเชีย
18.ไทยจะเป็นศูนย์ผลิตอาหารเลี้ยงครัวโลก ครัวไทยสู่ครัวโลก ด้วยอาหารคุณภาพ
19.สินค้าไทยจะเป็นสินค้าที่สร้างรายได้จากการเพิ่มมูล มากกว่าการขายวัตถุดิบหรือรับจ้างทำ
20.ไทยจะเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก แต่เคารพเสรีภาพการนับถือศาสนาของคนไทย

Image

Image


หาเสียง ล่วงหน้ากันข้ามสมัยเลยเหรอ ???

ไทยจะเป็นโน่นเป็นนี่ดูดีจัง กลัวอย่างเดียว กลัวแถม  

ไทยจะเป็นของพรรคเพื่อไทย   มาให้ด้วยนี่สิ   น่ากลัววววววว  !!

ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ

 

เข้าใจความหมายของ "ประชาธิปไตย" ผิดมาตลอด

ข้าใจความหมายของประชาธิปไตยผิดมาตลอด

โดย Chor Chang เมื่อ 30 มิถุนายน 2011 เวลา 0:57 น.
     หลายเดือนที่ผ่านมา ทำผมไม่เข้าใจเลยจริงๆ ประชาธิปไตยคืออะไรกันแน่ ? มันสับสนกับที่รู้มาตลอด อยากจะหาคนที่เข้าใจประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้งมาช่วยอธิบายจังเลย อยากรู้และสงสัยที่สุด เพราะเท่าที่ผมเข้าใจมาตลอด ประชาธิปไตยคือ การยอมรับฟังเสียงข้างมาก โดยทุกคนที่ออกเสียงต้องมีเหตุผลของตนเองอย่างแท้จริง มันไม่ถูกเหรอ? ทำไมไม่เห็นมันเป็นแบบที่ผมเคยรู้ ผมคงต้องเรียนรู้และทำความรู้จัก ความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย ใหม่หมดแล้วมั้งครับ

     ผมเข้าใจแบบนั้นมาตลอดเลยครับ จริงๆให้ตายเถอะ  เพิ่งรู้ว่าตัวเองเข้าใจผิดมาตลอด ก็ตอนนี้ที่แต่ละฝ่ายออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับ โหวตโน เนี่ยครับ ถ้าตามความคิดเดิมที่ผมเข้าใจ มันต้องมีผลสิครับ ถ้ากรณี โหวตโนมีเสียงมากกว่าจริงๆ แต่นักวิชาการเก่งๆ นักปกครองบ้านเมือง รัฐมนตรี คนในแวดวงการเมืองการปกคอง ผู้รู้จริงเกี่ยวกับประชาธิปไตยทั้งนั้น ออกมาบอกว่า โหวตโน แม้จะมีมากเท่าไหร่ ก็ไม่มีผลอะไร  ไม่มีความหมาย  เพราะกฎหมายไม่ได้ระบุ ซะงั้น! เท่ากับ สมมุติถ้า โหวตโน เกิดเป็นเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนขึ้นมาจริงๆ คือถ้าเสียงส่วนใหญ่ไม่ชอบในตัวเลือกที่มีให้ จะไม่เลือกก็ไม่ได้เหรอครับ?

      ตกลง ประชาธิปไตย ต้องทำตามกฎหมายเเดิมเท่านั้นเหรอ แล้วที่ผมเห็นพี่ๆในสภาทำไมแก้กฎหมายกันได้ แล้วมีผลบังคับใช้ด้วยล่ะ ? สมมุติว่ากฎหมายมันไม่ชอบธรรมแล้วเสียงส่วนใหญ่บอกว่ามันไม่ชอบธรรม ก็ต้องทำตามกฎหมายที่ไม่ชอบธรรมจนกว่าคนที่มีอำนาจในการแก้กฎหมายจะเห็นว่า มันไม่ชอบธรรมอย่างงั้นเหรอครับ?

      สรุป ประชาธิปไตย คือ เสียงส่วนใหญ่ หรือป่าว ครับ แบบนี้ก็เท่ากับประชาชนคนไทยจะต้องเจอการ วนเวียน บรรดา ญาติๆ ของพี่ๆ 500คน ที่อยู่ในสภา ไปตลอดเลยใช่มั้ยครับ?  เท่ากับ คนไทยทุกคนต้องเลือกคนเข้าไป รวย แล้วตัวเองลำบาก ต้องทนแม้รู้ว่าตัวเลือกที่มีให้จะเข้าไปทำให้ชีวิตประชาชนแย่ลง ต้องทนให้บ้านเมืองวุ่นวาย เหรอครับ?

      จะต้องทนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ จนกว่าจะมีคนดีที่เก่งกาจสามารถเข้าไปแล้วสู้ชนะคนเลวเดิมๆที่มีอำนาจอยู่ ผู้ที่มีเงินไปซื้อเสียง  เหรอครับ?ถึงจะหลุดพ้นจาก คนที่โกงภาษี เอาเปรียบประชาชนทุกๆทาง  นี่คือความหมายของ ประชาธิปไตย ที่แท้จริง ใช่มั้ยครับ  ?

       ถ้านี่คือความหมายของประชาธิปไตยที่แท้จริง ผมว่า ปกครองด้วยเผด็จการ ก็ได้มั้งครับประเทศไทย ไม่เห็นมันจะแตกต่างกันตรงไหนเลย !

       เผด็จการ คือ การปกครองของผู้มีอำนาจ ประชาชนต้องทำตามกฎที่ออกมาจากผู้มีอำนาจ ฝ่าฝืนไม่ได้
       ประชาธิปไตย คือ เสียงของประชาชน แต่ ต้องตั้งอยู่กับการออกกฎของคนมีอำนาจฝ่าฝืนไม่ได้

      มาเข้าใจถูกก็ตอนนี้ รู้สึกดีใจจัง ที่ประเทศผมอยู่นี้ ได้เปลี่ยนระบบจาก เผด็จการ (กฎ และ อำนาจ อยู่ที่กษัตริย์ )  มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย ( กฎ และ อำนาจอยู่ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร )  แหม! ต้องขอบคุณ คนที่คิดระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย อย่างมากเลยครับ ไม่งั้นประเทศก็ไม่มีวันนี้  วันที่ประเทศไทย ได้ชื่อว่าประเทศที่ทันสมัยปกครองในระบอบที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ขอบคุณจริงๆครับ

      ประชาธิปไตย จงเจริญ!!   ประเทศไทยจงเจริญ !!!!!!! ไชโย

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิสัยทัศน์ พท. 2020

ยุทธการสร้างความกลัวของ ประชาธิปัตย์

 ข่าวสดรายวัน


ยุทธการ โค้งสุดท้าย ยุทธการ สร้างความกลัว ของ "ประชาธิปัตย์"



เหตุปัจจัยอันใดทำให้ชาวบ้าน "สยอง" ต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มากกว่าจะสยองต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเป็นโคลนนิ่งของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

เหตุปัจจัย 1 เพราะว่าการได้เป็นนายกรัฐมนตรีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นไปตามพิมพ์เขียวที่การรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 กำหนดเอาไว้

กำหนดเอาไว้เหมือนกับที่เชิด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ทั้งๆ ที่กลุ่มรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 รวมทั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ล้วนสำแดงตนเป็น "คนดี" แล้วเหตุใดชาวบ้านจึงบังเกิดอาการ "สยอง" แล้วกลายเป็นโรคระบาดแพร่ลามมาถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วย

เพราะการรัฐประหารก่อสภาพงันชะงักในการพัฒนาและก้าวไปข้างหน้าของประเทศ และอีกปัจจัยอันทำให้นำไปสู่บทสรุปอย่างเดียวกัน

นั่นก็คือ ปัจจัยที่ "คนดี" เหล่านี้ทำงานไม่เป็น บริหารบ้านเมืองไม่เอาอ่าว

ความเป็น "คนดี" ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เด่นชัดอย่างยิ่ง ณ เบื้องหน้าชาวบ้านจากบทบาทในเรื่องเขา ยายเที่ยง

และการยึดกุมหลักการ "บริหารโดยไม่บริหาร" ในแบบพรรคประชาธิปัตย์

ความเป็น "คนดี" ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เด่นชัดอย่างยิ่ง ณ เบื้องหน้าชาวบ้านจากบทบาทตลอด 2 ปีเศษที่เป็นนายกรัฐมนตรี

1 ก่อให้เกิดข้าวยากหมากแพงทุกหย่อมย่าน ชาวบ้าน เดือดร้อน

1 ผลงานอันโดดเด่นยิ่งของรัฐบาลก็คือ การตายจำนวน 90 กว่าศพ บาดเจ็บเกือบ 2,000 คนในเหตุการณ์เดือนเมษายน พฤษภาคม 2553

1 การโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระ ทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ตำแหน่งนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี ไปจนถึงปลัดกระทรวง

ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นในยุค นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

เมื่อนำเอาผลงานของ "คนดี" อย่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประสานเข้ากับ "คนดี" อย่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

อาการ "สยอง" ย่อมบังเกิดติดตามมา

ยิ่งคำนึงถึงความเป็นจริงที่บ้านเมืองแตกแยก ขัดแย้ง บ้านเมืองอยู่ในภาวะหยุดชะงักไม่ก้าวเดินไปข้างหน้านับแต่รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 เป็นต้นมา

ยิ่งบังเกิดอาการ "สยอง" ในระดับขนลุกขนพอง

ความต้องการ "ร่วม" อย่างหนึ่งซึ่งตรงกันก็คือ ต้องการยุติความขัดแย้ง แตกแยก ต้องการเดินไปข้างหน้าอย่างมีศักดิ์ศรีและเป็นธรรม

ถามว่าสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์นำเสนอในโค้งสุดท้ายสะท้อนให้เห็นแนวคิดอะไร

เด่นชัดยิ่งว่าสะท้อนแนวคิดก่อนและหลังรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 อันเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการสะดุดหยุดชะงักการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง

ยิ่งสร้างความกลัว ชาวบ้านยิ่งจะกลัวพรรคประชาธิปัตย์เป็นทวิ ทวีคูณ

หน้า 6

จตุพร พรหมพันธุ์ ยังมีสิทธิ์เป็นสส.ตามรัฐธรรมนูญ(จริงหรือ ?)

by หมูสนาม ,


หมายเหตุ ก่อนอ่านต่อ กรุณาวางความชอบใจไม่ชอบใจลงก่อนนะครับจะได้ไม่
หงุดหงิดหรืออารมณ์เสีย
ผมอ่านข่าวความเห็นของคุณสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า หากนายจตุพร พรหมพันธุ์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.นี้ นายจตุพรมีปัญหาแน่นอนหากไม่ไปใช้สิทธิ เพราะถือว่าขัดต่อกฎหมาย ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ว่า กกต.จะต้องพิจารณาไม่ประกาศรับรองให้นายจตุพรเป็น ส.ส. เพราะหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติก็เป็นหน้าที่ของ กกต. ทันทีที่นายจตุพรไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งก็ถือว่าขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส.ทันทีเช่นกัน
              “เรื่อง นี้เป็นเรื่องของการขาดคุณสมบัติ มิใช่การกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง จึงไม่ใช่เรื่องการแจกใบเหลือง ใบแดง หรือการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง นาง สดศรีกล่าว และว่าเรื่องนี้หากนายจตุพรไม่เห็นด้วยก็คงต้องยื่นเรื่องต่อศาลฎีกาแผนกคดี เลือกตั้งเพื่อให้พิจารณา เพราะเรื่องนี้ถือเป็นกรณีใหม่และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งในอดีตเคยเกือบจะเกิดเรื่องอย่างนี้ขึ้นมาในกรณีของนายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งขณะนั้นก็ถูกคุมขังอยู่ ซึ่งศาลปล่อยตัวออกมาสมัครแต่ก็ไม่ได้อนุญาตให้ออกมาลงคะแนน แต่ในครั้งนั้นนายก่อแก้วไม่ได้รับเลือกตั้ง กกต.เลยไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้ไว้เป็นบรรทัดฐาน
     
       อย่าง ไรก็ตาม นายจตุพรนั้นอาจจะทำหนังสือแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่จะเป็นเหตุผลที่รับรับฟังหรือเข้าต่อข้อกฎหมายหรือไม่ ก็คงต้องพิจารณากันอีกครั้งและอาจจะต้องยื่นต่อศาลเพื่อให้เป็นผู้พิจารณา แต่
กกต. คงจะพิจารณาประกาศไม่รับรองให้เป็น ส.ส.ไปก่อน…………………………………………………….
ตามความเข้าใจของผม  ความ เห็นของคุณสดศรีคงเป็นเรื่องให้ถกเถียงกันอีกหลายยกเพราะผมคิดว่าคุณจตุพร พรหมพันธุ์ ยังมีสิทธิ์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในครั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญเพราะ
1.    แม้คุณจตุพร เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 100 (3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
2.    แต่คุณจตุพร เป็นผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสส.ตามรัฐธรรมนูญ ม.101และ กกต.รับรองให้สมัครได้แล้ว
3.    แม้ คุณจตุพรไม่ได้รับการประกันตัวให้ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในครั้งนี้ คุณจตุพรจะเสียสิทธิ์ สมัครรับเลือกตั้ง ตามพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสส.สว.2550  มาตรา 26
4.    แต่ ม. 27 ตาม พรบ.การเลือกตั้ง 2550 ก็เขียนไว้ชัดเจนแล้วว่า
การเสียสิทธิ์ตามมาตรา 26 ให้กำหนดตั้งแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง จนถึงวันเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง สส. สว. สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
สรุป ถ้าคุณจตุพร ไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในครั้งนี้  คุณจตุพรจะเสียสิทธิ์สมัครสส.ในครั้งหน้า  ไม่ใช่ครั้งนี้ครับ

แต่บาปของจตุพร  พรหมพันธุ์ คงจะหนักหนาสาหัสมาก พรบ.ว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 ม.20 เขียนไว้ว่า
ม. 20 สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 19
ม.19 ผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก(พรรคการเมือง-จขบ.)ต้องเป็นบุคคลธรรมดามีสัญชาติไทย มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 8 วรรคหนึ่ง............................
ในหมวดหนึ่ง การจัดตั้งพรรคการเมือง
ม. 8 (วรรค หนึ่ง) ผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด หรือผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติซึ่งได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า ห้าปี มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มีจำนานตั้งแต่ 15 คนขึ้นไปอาจรวมกันดำเนินการจัดตั้งพรรคการเมืองได้
คุณจตุพร พรหมพันธุ์เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 100 (3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อคุณจตุพร พรหมพันธุ์  เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ตามพรบ.พรรคการเมือง พ.ศ.2550 จึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา19 ทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกพรรคการเมืองของคุณจตุพรสิ้นสุดลงด้วย  เมื่อไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองก็ไม่มีสิทธิ์สมัครรับการเลือกตั้ง 
เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้แล  สะใจ..................
กรรมออนไลน์ มาไวกว่าที่คิด 55555
พรบ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2550
พรบ.เลือกตั้ง สส.สว.2550 
http://www.ect.go.th/newweb/upload/cms10/download/398-1417-0.pdf

Wayne แห่ง Aljazeera จัดหนัก ทักษิณ


เมื่อวันที่ 25มิย.Wayne สัมภาษณ์ทักษิณที่คฤหาสน์หรู ใน emirate 
บทบาทในอนาคตในทางการเมืองหลังการเลือกตั้งในประเทศไทยและเขาสามารถจะยอมรับความผิดที่อาจถือว่า นำไปสู่การรัฐประหาร19 กันยาฯ coup d'etat
Wayne :ทั้งๆที่ มีคฤหาสน์หรู ธุรกิจที่นี่ คุณ อยากกลับประเทศไทย?
ทักษิณ: ผมถูกป้ายสี ผมต้องการกอบกู้ชื่อเสียงของผมประชาชนต้องสามารถแสดงออกได้ว่า ต้องการบ้านเมืองเดินไปอย่างไร
ทักษิณกล่าวว่า "ผม ขอโทษแต่ ไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ เมื่อคุณปกครองประเทศเป็นเวลาหกปีที่ผ่านมา อาจจะมีสิ่งที่สร้างความไม่พอใจให้กับบางกลุ่ม แต่ประชาธิปไตยคือสิ่งที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่. จากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเรามีส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งถึงที่นั่ง 377เสียงซึ่งเป็นคะแนนเสียงถีง76%ในสภา ก่อนที่จะถูกโค่นโดยการรัฐประหาร. "
เปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมไทยเป็นMickyMouse Courte
เมื่อถูกถามว่า ไม่คิดจะอยากได้เงินที่ถูกยึดคืนหรือ?
ทักษิณบอกว่าตนเอง ไม่แคร์ ตนถือว่า สามารถหาได้มากกว่านั้น นอกเหนือจากจะมีกระบวนการที่จะทำให้การกล่าวโทษโดยไม่เป็นธรรมต่อผม มีความยุติธรรมขึ้น 

Wayneแห่งAljazeeraจัดหนัก
ทักษิณออกอาการแผ่นเสียงตกร่อง เมื่อถูกถามถึงการยึดทรัพย์ และการขอพบกองทัพและที่ออกอาการตกใจอีกทีเมื่อถามถึง การล้มสถาบัน
ผมไม่แก้แค้น แต่จะแก้ไข











ไม่แก้แค้น แต่หากตกใจ จะประท้วง 

ข้อมูลจาก  feng_shui , ขอบคุณครับ

โหวตโน แล้วได้อะไร

โหวตโน...แล้วได้อะไร?







โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์

ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

10 มิถุนายน 2554




การเลือกตั้งเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ เพราะเป็นกลไกสำคัญสำหรับพลเมือง ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง และสามารถกำหนดได้ว่าใครจะเข้ามาทำหน้าที่ในการปกครองในระยะเวลาจำกัด ซึ่งโดยปกติอยู่ในระยะเวลา 4 ปี หรือ 5 ปี

หรืออาจกล่าวได้ว่า การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยเป็นกระบวนการทางการเมืองที่สำคัญยิ่ง ในการถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยของประชาชนไปให้ตัวแทนทำหน้าที่ใช้แทนประชาชน

อย่างไรก็ตาม จะต้องพิจารณาด้วยว่าการเลือกตั้งดังกล่าวนั้นเป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรม สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างแท้จริงมากน้อยเพียงไร หากสิทธิและเสรีภาพในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งเป็นเครื่องกำหนดที่มาของขอบเขตและอำนาจขององค์การทางการเมืองได้อย่างแท้จริงแล้ว สิทธิและเสรีภาพนั้นก็มีความสำคัญทางการเมือง

ตรงข้ามถ้าการเลือกตั้งเป็นไปในทิศทางของการผูกขาด เอารัดเอาเปรียบ หลอกลวง หรืออยุติธรรมแล้ว ความสำคัญของสิทธิและเสรีภาพของการเลือกตั้งก็จะหมดไป

การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยในทรรศนะของนักวิชาการมีความหมายไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วนใหญ่มองว่าการเลือกตั้งเป็นการต่อสู้แข่งขันในการรณรงค์เพื่อชัยชนะ ในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้เกิดตามความคาดหวังอันเป็นที่พึงพอใจ

หรือ การเลือกตั้ง หมายถึง กระบวนการทางการเมืองรูปแบบหนึ่งที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่ในการปกครองประเทศและตัดสินใจในนโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อประชาชน

จากความหมายดังกล่าวข้างต้น การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยที่พึงปรารถนาจึงจำเป็นต้องมีลักษณะที่สำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่

ประการแรก ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องมีหลายคน หรือมีบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งหลายบัญชี (ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้เลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อ) หากมีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงคนเดียว หรือมีบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงบัญชีเดียว ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่พึงปรารถนา

ประการที่สอง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีเสรีภาพบริบูรณ์ที่จะเลือกหรือไม่เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง หรือบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งบัญชีใดบัญชีหนึ่ง ฉะนั้น หากมีการบังคับให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่งหรือบัญชีรายชื่อบัญชีใดบัญชีหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการบังคับโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ย่อมถือว่าไม่ใช่การเลือกตั้งที่พึงปรารถนา

และ ประการที่สาม ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิและเสรีภาพที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่น และมีโอกาสที่จะทราบความคิดเห็นรวมทั้งข้อมูลข่าวสารของผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ก่อนการตัดสินใจเลือก ทั้งนี้ เพื่อให้การเลือกตั้งถูกต้องตามความเป็นจริงที่แต่ละคนชอบ

ฉะนั้น การเลือกตั้งที่ขาดเสรีภาพในการรับฟังความคิดเห็น จึงย่อมไม่ใช่การเลือกตั้งที่พึงปรารถนา

การออกเสียงเลือกตั้งจึงเป็นสิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์ โดยเฉพาะในสังคมประชาธิปไตย ดังปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 21(1) ความว่า "เจตจำนงของประชาชนย่อมเป็นมูลฐานแห่งอำนาจของรัฐบาล ของผู้ปกครอง เจตจำนงดังกล่าวต้องแสดงออกโดยการเลือกตั้งอันสุจริต ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามกำหนดเวลา ด้วยการลงคะแนนเสียงอย่างทั่วถึง โดยถือหลักคนละหนึ่งเสียงเท่านั้น ด้วยกระทำเป็นการลับด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะประกันให้การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นไปโดยเสรี"

การเลือกตั้งยังมีนัยสำคัญในสองแง่มุม กล่าวคือ ส่วนแรก การเลือกตั้งในแง่มุมของปรัชญา และส่วนที่สอง การเลือกตั้งในแง่มุมของกฎหมาย

การเลือกตั้งในแง่มุมของปรัชญา สามารถพิจารณาได้เป็น 3 ประการ ได้แก่

ประการแรก การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพเป็นสิทธิตามธรรมชาติ มาจากแนวคิดที่ว่า สิทธิเลือกตั้งเป็นสิทธิตามธรรมชาติที่ติดตัวมากับบุคคลในฐานะที่บุคคลเป็นหน่วยหนึ่งของรัฐ เพราะบุคคลย่อมเสมอภาคกัน อันเป็นลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์ หากบุคคลเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ มีวุฒิภาวะ และไม่มีลักษณะต้องห้ามแล้ว ก็ย่อมจะมีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้ง

ประการที่สอง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพเป็นภารกิจสาธารณะ มาจากแนวคิดที่ว่าความก้าวหน้าของสังคมย่อมขึ้นอยู่กับการปฏิบัติการของบุคคลให้เป็นไปตามหน้าที่อย่างชาญฉลาด ดังนั้น การให้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแก่บุคคล จึงจำกัดเฉพาะบุคคลที่มีความเหมาะสมและสามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีเท่านั้น การดำเนินการตามแนวคิดนี้ บุคคลอาจถูกจำกัดสิทธิในการลงคะแนนได้เสมอ หากเมื่อปรากฏว่าบุคคลนั้นเข้าลักษณะที่ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างถูกต้อง

ประการที่สาม การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพเป็นสิทธิคัดค้านการกระทำ มาจากแนวคิดที่ว่าผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่ลงคะแนนเพื่อคัดค้านการกระทำหรือนโยบายของรัฐบาลรวมทั้ง เจ้าหน้าที่ทางราชการผู้ใดก็จะไม่ลงคะแนนสนับสนุนพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ทางราชการนั้นๆ ตรงข้ามผู้ออกเสียงเลือกตั้งก็จะลงคะแนนให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองที่ตรงกันข้ามกับผู้สมัครรับเลือกตั้งที่สังกัดพรรครัฐบาลหรือพรรคร่วมรัฐบาล

สำหรับ การเลือกตั้งในแง่มุมของกฎหมาย ก็สามารถพิจารณาออกได้เป็น 3 ประการเช่นเดียวกันได้แก่

ประการแรก การเลือกตั้งในฐานะที่เป็นสิทธิ (rights) หมายความว่า ความสามารถที่แต่ละบุคคลกระทำได้ ภายใต้การยอมรับของกฎหมาย สิทธิจึงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในปัจเจกบุคคลแต่ละคน และกฎหมายให้การรับรอง หากถูกละเมิด กฎหมายจะให้การคุ้มครอง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งถือเป็นสิทธิที่สำคัญประการหนึ่งที่รัฐจะให้การคุ้มครอง

ประการที่สอง การเลือกตั้งในฐานะที่เป็นเอกสิทธิ์ (priviledge) หมายความว่า การที่บุคคลได้มาซึ่งเสรีภาพที่จะไม่ให้บุคคลอื่นแทรกสอดเข้ามาเกี่ยวข้องได้ การออกเสียงลงคะแนนจึงถือเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีความเป็นอิสระที่จะเลือกกระทำการอย่างใดก็ได้ ที่ได้รับการยอมรับจากกฎหมาย ปราศจากการแทรกแซงหรือเกี่ยวข้องของบุคคลอื่นเป็นสำคัญ

ประการที่สาม การเลือกตั้งในฐานะที่เป็นหน้าที่ (duty) หมายความว่า การที่บุคคลจำเป็นต้องกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพเป็นหน้าที่ก็ต่อเมื่อ กฎหมายได้ระบุหรือบังคับให้ผู้ออกเสียงลงคะแนนไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง กฎหมายได้ระบุหรือบังคับว่าการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งที่ต้องกระทำ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจึงเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งในทางการเมืองที่บังคับโดยกฎหมาย

นอกจากนั้น การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยยังมีหลักเกณฑ์ที่เป็นแกนกลางที่ประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกยอมรับกันโดยทั่วไป ได้แก่

ประการแรก หลักอิสระแห่งการเลือกตั้ง (freedom of election) หมายถึง การให้ความเป็นอิสระต่อการออกเสียงเลือกตั้ง โดยมิให้มีการขู่บังคับให้การเลือกตั้งถูกบิดเบือนไปจากเจตจำนงอันแท้จริงของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนยังเป็นเอกสิทธิ์ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยเด็ดขาด ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดให้มีการลงคะแนนที่เป็นความลับ เพื่อให้ประชาชนสามารถลงคะแนนได้อย่างอิสระ ปราศจากอิทธิพล อามิสสินจ้างหรือการข่มขู่ใดๆ อีกด้วย

ประการที่สอง หลักการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา (periodic election) หมายความว่า การเลือกตั้งจะต้องมีการกำหนดเวลาไว้อย่างชัดเจนแน่นอน อาทิ การกำหนดให้มีการเลือกตั้งโดยปกติทุก 4 ปีหรือทุก 5 ปี เป็นต้น

ประการที่สาม หลักการเลือกตั้งอย่างแท้จริง (genuine election) หมายถึง การดำเนินการให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม รัฐบาลจะต้องถือเป็นหน้าที่สำคัญที่จะต้องป้องกันมิให้มีการคดโกงในการเลือกตั้งเกิดขึ้นได้ รวมทั้งอาจให้องค์กรที่เป็นกลางทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเลือกตั้ง โดยเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านการเลือกตั้งได้ เมื่อเห็นว่าการเลือกตั้งนั้นมิได้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง

ประการที่สี่ หลักการออกเสียงทั่วถึง (universal suffrage) หมายถึง การเปิดโอกาสให้มีการออกเสียงเลือกตั้งอย่างทั่วถึงแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า เว้นแต่ในกรณีที่มีข้อจำกัดอันเป็นที่รับรองหรือยอมรับกันโดยทั่วไป อาทิ การไม่อนุญาตสิทธิเลือกตั้งให้แก่เด็ก ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช บุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือผู้ที่ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล เป็นต้น

และ ประการที่ห้า หลักการเลือกตั้งอย่างเสมอภาค (equal suffrage) หมายความว่า บุคคลผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งย่อมมีสิทธิคนละหนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน และคะแนนเสียงทุกคะแนนมีน้ำหนักเท่ากัน

ดังนั้น อาจกล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำได้ว่า การเลือกตั้งเป็นการเลือกรัฐบาลที่จะมาทำการปกครอง ขณะเดียวกัน การเลือกตั้งก็อาจเป็นเสมือน "ห้ามล้อ" ของการปกครองได้เช่นเดียวกัน เพราะผู้เลือกตั้งอาจจะไม่เลือกผู้ที่เคยเป็นรัฐบาล

กระบวนการเลือกตั้งจึงเป็นทั้งการนำมาซึ่งการจัดตั้งรัฐบาลและจำกัดการกระทำของรัฐบาลไปด้วยในขณะเดียวกัน

สำหรับการเลือกตั้งในประเทศไทยหลังการปฏิรูปการเมืองเมื่อ พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ถือได้ว่ามีทั้งความก้าวหน้าและความล้าหลังไปในขณะเดียวกัน กล่าวคือ

ประการแรก การมีคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เป็นอิสระ เป็นกลาง ทำหน้าที่บริหารจัดการเลือกตั้งให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมถือเป็นความก้าวหน้าของการปฏิรูปการเมือง

แต่ขณะเดียวกันก็เกิดความล้าหลัง ได้แก่ ความไร้ประสิทธิภาพของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมได้

มิหนำซ้ำยังมีปรากฏการณ์ของการทุจริตในการเลือกตั้ง การซื้อสิทธิขายเสียงที่แพร่ระบาดมากขึ้น ประกอบกับการขาดความสามารถในการควบคุมการใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กำหนด ได้นำไปสู่ความไม่เสมอภาคในการเลือกตั้งและเปิดโอกาสให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งบางคนหรือพรรคการเมืองบางพรรคได้เปรียบในการแข่งขัน ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

ประการที่สอง กฎหมายเลือกตั้งที่สะท้อนหลักปรัชญาของการเลือกตั้ง คือ เมื่อมีการกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีหน้าที่ต้องไปเลือกตั้งแล้ว ก็ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิที่จะปฏิเสธผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคน หรือพรรคการเมืองทุกพรรคที่เขาไม่ชอบได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้น ในบัตรเลือกตั้งที่มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถกาเครื่องหมายในช่องที่ไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และในช่องที่ไม่ลงคะแนนให้แก่พรรคการเมืองใดเลยในระบบบัญชีรายชื่อหรือเรียกกันสั้นๆ ว่าเป็นการ "Vote No" จึงเป็นการสะท้อนหลักปรัชญาของการเลือกตั้งที่แสดงถึงสิทธิในการคัดค้านการกระทำของนักการเมืองและพรรคการเมืองต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าของกฎหมายเลือกตั้ง

ในขณะเดียวกันความล้าหลังที่เกิดขึ้นก็คือ การเขียนกฎหมายที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่สมบูรณ์ ว่าในกรณีการเลือกตั้งทั้งในระบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือระบบบัญชีรายชื่อ ในกรณีที่เสียงของผู้ใช้สิทธิคัดค้านหรือ "Vote No" มีจำนวนสูงสุดมากกว่าผู้ที่ "Vote Yes" ผลลัพธ์ควรจะเป็นอย่างไร ควรจะต้องจัดการเลือกตั้งซ้ำใหม่หรือไม่ และจะต้องมีการนำเสนอผู้สมัครรับเลือกตั้งใหม่หรือไม่ อย่างไร

อย่างไรก็ตาม การ "Vote No" ที่แสดงถึงการไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรายใดเลย หรือพรรคการเมืองใดเลยนั้น ผลลัพธ์ในทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นและสมควรจะต้องนำไปพิจารณาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ

ประการแรก เป็นการสะท้อนสิทธิของการคัดค้านของประชาชน ซึ่งหมายถึงการสะท้อนถึงหลักปรัชญาของการเลือกตั้ง อันจะมีผลต่อความชอบธรรมของระบบการเมือง พรรคการเมืองหรือนักการเมืองได้เป็นอย่างดี

ประการที่สอง ในกรณีที่เสียง "Vote No" มีจำนวนมากที่สุดหรือเป็นเสียงข้างมาก ย่อมสะท้อนถึงหลักการปกครองโดยเสียงข้างมากที่เป็นหลักการสำคัญของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้รัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งจะไม่ได้รองรับในประเด็นดังกล่าวไว้ก็ตาม แต่ในหลักปรัชญาของระบอบประชาธิปไตยแล้ว รัฐบาลหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะเกิดขึ้นจากเสียงข้างน้อยย่อมขาดความชอบธรรมในการปกครองโดยทันที

ประการที่สาม ในกรณีที่เสียง "Vote No" มีจำนวนน้อยจะจำนวนเท่าใดก็ตาม หลักการของระบอบประชาธิปไตย สิทธิของเสียงข้างน้อยย่อมจะต้องได้รับการพิทักษ์คุ้มครองหรือให้ความเคารพ เสียงส่วนใหญ่ย่อมต้องรับฟังเสียงข้างน้อยด้วยเช่นกัน

กล่าวโดยสรุป เสียง "Vote No" เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการเมือง "น้ำเน่า" ที่ยังหมักหมมอยู่ในระบบสังคมการเมืองไทย

และหากไม่รีบดำเนินการตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องดังกล่าวนี้ การเมืองไทยจะนำบ้านเมืองเข้าสู่กลียุค และการแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงมิได้
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง