บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการโหวตโน Vote No Process

กระบวนการโหวตโน Vote No Process

ความสำคัญ และความสัมพันธ์ของโหวตโน ต่อการเมืองในอนาคต -

1.ในส่วนของโครงสร้างทางการเมือง(ส่วนบน)

 -โหวตโน คือ ตัว input ข้อเรียกร้องที่แสดงถึง"การปฏิเสธ+การไม่ยอมรับ"
นักการเมือง และวิธีการที่จะเข้าสู่อำนาจในกล่องที่(1)และ (2)
-ผลของการโหวตโน จะเป็นเช่นไร จะออกมาที่ตัว output โดย
จะมี "ความมีหรือไม่มีความชอบธรรมทางการเมือง" เป็นตัวกำหนด

>>>>>>>>>>[สถาบันพระมหากษัตริย์]<<<<<<<<<<
                                   - รัฐธรรมนูญ -

                                โครงสร้างส่วนบน

input >      1.[บริหาร] 2.[นิติบัญญัติ] 3.[ตุลาการ]    > out put
ข้อเรียกร้อง           4. [ข้าราชการส่วนกลาง]             1.นโยบาย
ข้อสนับสนุน                           |                           2.พรบ /พรก/พรฏ
                   [ทหาร]               |                          3.คำพิพากษา
                                            |                          4.กฏกระทรวง/กรม
                              โครงสร้างส่วนกลาง

              [กลุ่มกดดัน] [กลุ่มผลประโยชน์] [สื่อมวลชน]
                              [ข้าราชการส่วนภูมิภาค]
                                             |
                                             |
                                      [ประชาชน]
                [องค์กรปกครอง/ข้าราชการส่วนท้องถิ่น]

                            โครงสร้างสร้างส่วนล่าง


2.รัฐธรรมนูญ มาตรา๓.
- อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
- อำนาจที่ฝ่ายการเมืองคืนให้ประชาชน จึงกลับมาอยู่ที่พระมหากษัตริย์ เพื่อทรงใช้กับ โครงสร้างส่วนบน
กล่องที่(1 - 3)ทั้งแบบในระบบ และบางเหตุการณ์ที่มีการเข้าสู่อำนาจ แบบนอกระบบ(รัฐประหาร)

3.ความชอบธรรมทางการเมือง
หมายถึง ความชอบธรรมที่เกี่ยวพันกับความสามารถของระบบที่จะก่อให้เกิด และรักษาไว้ซึ่งความเชื่อที่ว่า การคงอยู่ของสถาบันในระบบเป็นความพึงพอใจสูงสุดของสังคม หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าในระบบการเมืองใดก็ตาม ที่สามารถสร้างประสิทธิภาพสูงสุดให้กับสังคมและประชาชน ระบบการเมืองนั้นก็ย่อมมีความชอบธรรมทางการเมืองทั้งสิ้น
โดยไม่ว่าจะเป็นระบบการปกครองแบบกษัตริย์ เผด็จการ คอมมิวนิสต์ หรือ ประชาธิปไตย ปัจจัยสำคัญในการคงอยู่ของความชอบธรรมทางการเมือง จึงมาจากการยอมรับในตัวระบอบการปกครองนั้นๆของประชาชน ซึ่งมีรากฐานมาจากประสิทธิภาพในการดำเนินงานและทำหน้าที่ของกลไกภายในตัว ระบบเอง


- หากผลของโหวตโน มีเกินกึ่งหนึ่ง ของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ประชาชนก็จะสามารถใช้สิทธิ์ ปฏิเสธผลลัพธ์จากการเลือกตั้ง ตามความหมายข้างต้นนี้ได้ ทั้งในระบบ-จากการประท้วงกดดันinput และจากประเพณีปฏิบัติด้วยการถวายฎีกา ถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงมีพระราชวินิจฉัย เพื่อเปิดทางสู่การนำใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา๗

4.รัฐธรรมนูญ มาตรา๗.
- ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วนิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ที่ผ่านๆมา เมื่อเกิดปฏิวัติ รัฐประหารเพื่อยึดอำนาจจากฝ่ายการเมือง คณะผู้ยึดอำนาจจึงเป็นองค์รัฐาธิปัตย์แทนฝ่ายการเมือง และจัดตั้งรัฐบาลเอง ในรูปแบบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มีอำนาจ 3 ฝ่าย กล่อง(1 - 3)คงเดิม และถือได้ว่ามีความชอบธรรมทางการเมือง หากปราศจากการต่อต้านใดๆ

5.ผลลัพธ์ของ "ความชอบและไม่ชอบธรรมทางการเมือง" -
-ในเมื่อคณะผู้ยึดอำนาจ จัดตั้งรัฐบาลภายใต้สภานิติบัญญัติได้ แล้วทำไมประชาชนจะร้องขอพระองค์ท่านให้ทรงมี รัฐบาลโดยภาคประชาชน สำหรับคนทั้งประเทศไม่ได้หล่ะครับ เพราะจะไม่มีความแตกต่างใน"รูปแบบ"กับสภานิติบัญญัติฯเลย และกลับจะอิงต่อความเป็นประชาธิปไตย ที่มาจากประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ได้เข้ามาปรับเปลี่ยน แก้ไขในทุกองคาพยพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้เป็น ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง

บทสรุป -
- ความไม่ชอบธรรมทางการเมืองนั้น สะท้อนให้เห็นได้จากคะแนนโหวตโน เกินครึ่งจากผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
- ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น สะท้อนให้เห็นได้จากเหตุผลที่อ้างอิงจากโครงสร้างทางการเมือง ตัวบทกฎหมาย ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา๓ และมาตรา๗
- การโหวตโน คือ เครื่องมือที่เป็นสันติวิธี ที่ประชาชนมีสิทธิ์ใช้ ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา๖๙

จัดทำโดย : ศูนย์ปฏิบัติการณ์การเมืองภาคประชาชน บนFACEBOOK

1 ความคิดเห็น:

คนไทยกู้แผ่นดิน กล่าวว่า...

อาจารย์ไก่ บอกให้เน้นย้ำ ความชอบธรรมในการเมือง ไว้ว่า

ตราบใดที่คำว่า "ความชอบธรรมทางการเมือง" ยังไม่เป็นที่รู้จัก คุ้นเคยกัน ปลายทางของโหวตโนก็จะยังเป็นที่ถกเถียงหาจุดลงตัวกันไม่ได้ เสมอไปอีกด้วย พยายามนำคำนี้ มาใช้เป็นเหตุผล มากล่าวอ้างกัน เพราะคำๆนี้มันหัวใจสำคัญ มันคือลูกกุญแจ ที่ใช้ไขประเทศไทยให้ไปสู่การเปลี่ยนแปลง ด้วยความชอบธรรมจากประชาชนเอง จำเอาไว้นะ Political Legitimacy อย่าไปห่วงว่าจะไม่เป็นทางการ ไม่ว่าด้วยกฏหมาย เป็นทั้ง2อย่างเลยด้วย

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง