ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับผลที่ตามมาเมื่อสิ้นสุดการปฏิวัติ รัฐประหาร ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ในท้ายสุด การปฏิวัติเกือบทั้งสิ้นก็จบลง ด้วยการวกกลับไปสู่ที่ที่มันเริ่มต้น มีแนวคิดใหม่ๆเกิดขึ้นบ้าง ผู้คนในโครงสร้างอำนาจเปลี่ยนมือไปบ้างเล็กน้อย ควบคู่ไปกับ การปฏิรูปในส่วนโน้นส่วนนี้ และที่สำคัญคือการตัดทิ้งส่วนที่เลวร้ายที่สุดของระบบเก่า นั้นออกไป หากแต่ว่า สถานภาพของชนชั้นปกครองนั้นกลับไม่ได้เปลี่ยนตามไป คงอยู่และเป็นไปตามเดิม ในทันทีที่การหยิบฉวยอำนาจได้เริ่มขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง”
กรอบ แนวคิดทฤษฏีข้างต้นนี้ หากได้เข้าใจกันแล้ว ผมเชื่อมั่นว่า สามารถนำใช้เพื่ออธิบายขยายความ การเมืองการปกครองของบ้านเรา นับแต่ช่วงที่เกิดการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ผ่านเลยมาจนถึงการเลือกตั้ง เมื่อปลายปี2551และสำหรับปี2554 ที่กำลังลุ้นกันตัวโก่งได้เป็นอย่างดี ว่าทำไม "ระบอบทักษิณ" ถึงไม่ยอมตาย ไม่แผ่วปลาย กระทั่งไม่ยอมล่มสลายไป ได้ดังนี้ครับ -
1.จากทฤษฏีข้างต้น พิสูจน์ให้เราได้เห็นแล้วว่า ..ถึงแม้จะมีการตัดส่วนที่เลวร้ายที่สุดของอำนาจเก่า
2.คำตอบของข้อ1. ก็คือ เพราะระบบ วัฒนธรรมทางการเมือง ยังคงถูกปล่อยให้อยู่ตามเดิม และเมื่อ2สิ่งนี้ยังดำรงอยู่ "คน"จึงไม่ใช่อุปสรรค จะใส่ใครเข้าไปแทนก็ย่อมทดแทนกันได้ ตราบใดที่ 2 สิ่งนี้ยังเป็น Process ที่พร้อมจะให้กำเนิด Output แบบเดิมๆ เช่นนี้แล้ว สำหรับอนาคตการเมืองข้างหน้า ขอให้ตระหนักถึงจุดให้มากเข้าไว้ ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่นฉบับเมื่อครั้งปี50 ที่คณะรัฐประหารหยิบจับขึ้นมาทำนั้น ไม่เวิร์ค แล้วก็ไม่เคยเวิร์คเลย เพราะเป็นการเกาไม่ถูกที่คัน มิหนำซ้ำยังเป็นการทำให้เสียเวลา เสียโอกาส และเสียความรู้สึกของผู้คนในชาติอีกต่างหาก
3. ทำไมรัฐธรรมนูญปี50จึงไม่เวิร์ค? โดยหัวใจสำคัญก็เพราะ เป็นการแก้แต่เพียงเฉพาะวิธีการทางการเมือง ในบางเรื่องบางประเด็นที่ไม่ได้แตะไปที่หัวใจสำคัญ เช่น ของปี40 มีลักษณะของ Strong Executive ให้อำนาจฝ่ายบริหารมาก / พยายามให้รัฐบาลมีความมั่นคง ส่วนของปี 50 ก็เพียงแก้ให้การเลือกตั้งนั้นยุ่งยากขึ้น จะได้ซื้อเสียงกันยากขึ้น อำนาจจะได้ไม่กระจุกตัวอีก เพื่อคลาย strong executiveนี้ลง สาระสำคัญสำหรับผมเองมีอยู่เท่าเนี่ย
และหากนำทฤษฏีระบบ input - process - output มาใช้เทียบเคียง เราจะพบว่า ตัว input ที่หมายรวมถึงมาตรการ และข้อกำหนดที่เป็นปราการด่านแรกต่างๆ ที่"ควรจะมี" ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง ไม่ได้ถูกจับต้องเพื่อสกัดกั้น เพื่อสกรีน การเข้าสู่อำนาจแบบเดิมๆกันเลย กระทั่งเข้าสู่อำนาจไปแล้ว การเข้าถึงตำแหน่งรัฐมนตรีก็มิได้ มีข้อกำหนดที่เหมาะสมไว้คอยจำกัด "นายทุน"เอาไว้ด้วย เช่นนี้แล้วคนของระบบทักษิณ จึงได้เฮโลเข้ามากันเป็นฝูงใหญ่อย่างที่หลายคนไม่คาด
4. ทำไมแม้กระทั่งมาถึงการเลือกตั้งครั้งนี้แล้ว คนของระบอบทักษิณ ที่ได้ผนวกรวมเอาพวกเสื้อแดงล้มเจ้าเข้าไปด้วย จึงยังดูจะมีภาษีกว่าพรรคอื่นๆโดยเฉพาะปชป.เอง อันนี้ตอบไม่ยากเลย ก้เพราะการเลือกตั้งเมื่อปี51 กับ 54นี้ มันไม่ได้มีปัจจัยนำ ปัจจัยแวดล้อมใดๆที่แตกต่างกันไปมากนัก และยิ่งปชป.ที่อยู่มาในอำนาจ ดันไปเอื้อไปอ่อนข้อให้ "การเผาบ้านเผาเมืองและการล้มเจ้า" ได้กลับกลายเป็นสิ่ง ที่พอจะปรองดองกันได้แบบสุดแสนจะทุเรศต่อความรู้สึกข
5. "ประชาชนผู้ใต้ปกครอง ยังปล่อยให้การเมืองเป็นไปตามยถากรรมเดิมๆของมัน ใครให้เราไปเลือกตั้งก็ต้องไป ไปแล้วเลือกกันแบบเดิมๆต่อไป" ยังเป็นความคิดที่พวกเราคุ้นเคย เคยชิน และยินดีนำปฏิบัติ รับประกันได้หายนะมาเยือนแน่
แต่ยังดีนะครับ ที่เรามีแกนนำของภาคประชาชนอันทรงพลัง ที่คอยขับเคลื่อนกดดันให้รัฐแก้ไขในสิ่งผิดมาอย่างต่
ถ้า เราไม่อยากให้ประวัติศาสตร์การเลือกตั้งปี51 กลับมาซ้ำรอยเดิมในปี 54 นี้ ก็มีเพียงหนทางเดียวที่จะใช้ปฏิเสธได้ นั่นคือ การร่วมมือร่วมใจกันทั้งชาติ "โหวตโน" บอกพวกนักการเมืองน้ำเน่ากันไปว่า ประชาชนผู้มีสิทธิ์อย่างเต็มเปี่ยมนี้ จะไม่ทน ไม่สมยอม จะไม่ปล่อยให้ การเมืองเป็นเรื่องของนักการเมืองอีกต่อไปแล้ว นับแต่นี้ไป การเมืองจะต้องเป็นเรื่องของประชาชน โดยพวกเราจะลิขิตขีดเส้นให้นักการเมืองเดินเอง ด้วยฉันทามติ ด้วยสัญญาประชาชนคมที่พวกเราจะมีร่วมกัน เพื่อแก้ไขในสิ่งผิดที่นักการเมืองได้กระทำมา และเดินหน้าไปเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปอย่างพร้อมเพรียง
มาร่วมกันเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่กันนะครับ CHANGE FOR GOOD!..FOR THE BETTER AND FOREVER!