กระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) ทางการบริหาร คือ ปัญหาในการปฏิรูปประเทศของรัฐบาลและคณะกรรมการปฏิรูปชุดต่างๆ ในปัจจุบัน
วันที่ 29 กรกฎาคม 2553 01:00
เนื่อง จากความสับสนในเป้าหมาย และวิธีการปฏิรูปเพราะไม่สันทัดการบริหารคุณภาพ TQM (Total Quality Management) การบริหารคุณภาพ TQM เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารของโลก ที่เรียกกันว่ากระบวนทัศน์ TQM (TQM Paradigm) การบริหารประเภทนี้ ช่วยให้การบริหารของรัฐบาลมีคุณภาพซึ่งหมายถึงความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศ ที่แท้จริง หากนักปฏิรูปขาดคุณสมบัติความรู้กระบวนทัศน์ TQM Paradigm การปฏิรูปจำเป็นต้องใช้ความรู้การบริหารเก่าๆ และเกิดปัญหาการลองผิดลองถูกอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ จนล้มเหลวและต้องเริ่มต้นปฏิรูปกันใหม่ในที่สุด เปรียบเสมือนประเทศเป็นคนไข้หนักที่ต้องการหมอ การที่รัฐบาลไม่คำนึงถึงคุณสมบัติความรู้ตามกระบวนทัศน์ใหม่ในการคัดเลือก คณะกรรมการปฏิรูป เปรียบเสมือนรัฐบาลใช้กลุ่มหมอชาวบ้านที่ไม่มีปริญญาแพทย์รักษาคนไข้ คุณสมบัติ (Qualifications) ความรู้การบริหารคุณภาพ TQM เปรียบเสมือนแพทย์ปริญญาที่นานาชาติใช้ในการปฏิรูปการบริหารของประเทศ ขอย้ำว่าการปฏิรูปประเทศจะสำเร็จได้ด้วยผู้มีพื้นฐานความรู้การบริหารคุณภาพ TQM เท่านั้น
1. รัฐบาล : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รู้ดีว่าประชาชนเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศเพื่อให้การบริหารของรัฐบาลมี คุณภาพตามมาตรฐานสากล แต่รัฐบาลยังสับสนเกี่ยวกับการบริหารตามกระบวนทัศน์ใหม่ อีกทั้งเห็นภาพที่รัฐบาลในอดีตทุกชุดพากันล้มเหลว เพราะสับสนเช่นกัน รัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ต้องการล้มเหลวด้วยตนเอง จึงแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปชุดต่างๆ จำนวน 4 ชุด เพื่อให้รับผิดชอบโดยไม่คำนึงถึงคุณสมบัติกระบวนทัศน์ใหม่ แต่คำนึงถึงคนเด่นคนดังที่สังคมยอมรับนับถือ ประเด็นไม่สนใจคุณสมบัติของรัฐบาลชี้ให้เห็นว่า การปฏิรูปประเทศมิใช่เป้าหมายของรัฐบาล แต่จำเป็นต้องปฏิรูปตามกระแสเรียกร้องของประชาชน การขาดคุณสมบัติกระบวนทัศน์ใหม่ของคณะกรรมการปฏิรูปเป็นเหตุบังคับให้ต้อง ใช้วิธีการลองผิดลองถูก (Trial and Errors) หลงทางและเริ่มต้นปฏิรูปกันใหม่ (Rework) อีก 3 ปีข้างหน้า
2. คณะกรรมการปฏิรูป : นำโดยนายอานันท์ ปันยารชุน และกรรมการอีก 19 ท่าน ทำหน้าที่ยกร่างโครงการปฏิรูปแต่ยังสับสนในทิศทางและกระบวนทัศน์ใหม่ เห็นได้จากการที่นายอานันท์ ปันยารชุน กล่าวย้ำว่า "คณะกรรมการปฏิรูปมิใช่คณะกรรมการแก้ปัญหา" ที่ว่าสับสนเพราะคณะกรรมการปฏิรูป มีหน้าที่สำคัญยิ่งกว่าการแก้ปัญหา นั่นคือ การยกร่างระบบเพื่อ ป้องกันปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสามารถป้องกันปัญหาการโกงชาติและวิกฤติเลวร้ายอื่นๆ ได้ จากการประชุมของคณะกรรมการชุดนี้ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 ชี้ให้เห็นมีการเน้นทำงานในเรื่องปลีกย่อยที่มิใช่ประเด็นสำคัญของความ สำเร็จ เช่น การกำหนดประเด็นการปฏิรูป 5 ด้าน ประกอบด้วย เศรษฐกิจ ทรัพยากร โอกาส สิทธิ และอำนาจซึ่งมิใช่เป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปแต่ประการใด แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการปฏิรูปได้เริ่มต้นการลองผิดลองถูกกันอย่างจริงจัง เป้าหมายสำคัญที่สร้างความสำเร็จ คือ การยกร่างระบบหรือการออกแบบระบบ (System design) ให้มีระบบวิธีปฏิบัติงาน (Set of management practices) อันเป็นหัวใจที่ทำให้การบริหารของรัฐบาลมีคุณภาพนำไปสู่การบริหารระบบ (Quality Management System) ของรัฐบาล
3. คณะกรรมการสมัชชา : นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธานของกรรมการ 27 ท่าน ทำหน้าที่เก็บข้อมูลป้อนฝ่ายยกร่าง โดยการออกสำรวจความเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เพื่อขอทราบทิศทางการปฏิรูปที่ไม่ช่วยสร้างความสำเร็จให้การปฏิรูปแต่อย่าง ไร เพราะประเทศไทยเคยมีฉันทามติเรื่องทิศทางการปฏิรูปร่วมกับนานาชาติแล้ว การสำรวจจึงเป็นกิจกรรมที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น เพราะความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศอยู่ที่ข้อมูลที่ทำให้การบริหารของรัฐบาล มีคุณภาพ...มีระบบ... เพราะระบบเป็นหลักประกันคุณภาพ (Quality Assurance)... ข้อมูลความเห็นของประชาชนมิใช่หลักประกันคุณภาพ ข้อมูลสำคัญที่คณะกรรมการสมัชชาควรป้อนให้ฝ่ายยกร่าง ต้องใช้ความรู้การบริหารตามกระบวนทัศน์ใหม่ คือ การมีระบบคุณภาพ (Quality System) การมีโครงสร้างที่เป็นระบบ (Organization as a system) วิธีการวัด (Measurement) และการปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) และทำอย่างไรจึงสามารถพัฒนาผู้นำ (Leadership Development) ให้รู้วิธีการบริหารระบบต่างๆ เช่น ระบบยุทธศาสตร์ (Strategy Process) ระบบวิธีปฏิบัติงาน (Operation Process) ระบบบริหารคน (Workforce Process) เป็นต้น รวมทั้งช่วยให้รู้วิธีการทำงานตามโครงสร้างที่เป็นระบบ ซึ่งมีนักบริหารระบบ (Process Owner) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญควบคุมการปรับปรุงระบบทั้งองค์กร
4. คณะกรรมการตรวจสอบค้นหาความจริง : มี ดร.คณิต ณ นคร เป็นประธานทำหน้าที่ค้นหาความจริงเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมือง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 เพื่อสร้างความปรองดอง ในเมื่อความปรองดองมิใช่การปฏิรูปประเทศ จึงของดเว้นไม่วิจารณ์
5. คณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและการศึกษาการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ : มี ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธาน ซึ่งท่านได้กล่าวว่า "แก้รัฐธรรมนูญ สุดท้ายต้องทำประชามติ" การทำประชามติมิได้ช่วยให้รัฐธรรมนูญมีคุณภาพแต่ประการใด เป็นเพียงกลยุทธ์แยบยลที่นำมาเป็นข้ออ้างมติของประชาชนเท่านั้น การทำให้รัฐธรรมนูญมีคุณภาพได้ต้องจัดทำระบบรองรับรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับ การบริหารทั่วไป เพราะระบบเป็นหลักประกันคุณภาพรัฐธรรมนูญ ประชามติมิใช่หลักประกันคุณภาพแต่ประการใด ข้อที่น่าสังเกต คือ เมื่อมาตรฐานสากลชี้ให้เห็นรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ไม่มีคุณภาพเพราะขาดระบบ ดังนั้น ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งย่อมไม่มีคุณภาพ เพราะขาดระบบเช่นเดียวกัน การเลือกตั้งของไทยจึงมิใช่สัญลักษณ์ประชาธิปไตย
กระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) คือ กรอบแนวคิดใหม่หรือทฤษฎีใหม่ที่เป็นความจริงที่ดีกว่าของเก่า เช่น คนโบราณเชื่อว่าโลกแบน แต่ปัจจุบันเชื่อว่าโลกกลม โลกกลมเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ คนเคยใช้เกวียนเป็นพาหนะแต่วันนี้ใช้รถยนต์ รถยนต์เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ การบริหารยุคเก่าเน้นความสำคัญที่คน แต่การบริหารตามกระบวนทัศน์ใหม่ หรือการบริหารคุณภาพ TQM เน้นความสำคัญที่ระบบ (Set of management practices) ระบบนี้สามารถปรับปรุงให้เกิดความสามารถแข่งขันได้โดยที่การบริหารยุคเก่า ไม่มี ดังนั้น หากไม่เร่งรีบปฏิรูปประเทศให้รัฐบาลมีการบริหารคุณภาพ TQM แล้ว รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยของชาติย่อมมีปัญหาเรื่องคุณภาพ การโกงชาติจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะขาดระบบป้องกัน รัฐบาลที่ติดยึดกับการบริหารยุคเก่าเช่นรัฐบาลปัจจุบันเปรียบเสมือนคนพิการ เป็นง่อย เพราะขาดการบริหารระบบและปรับปรุงระบบ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขั
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น