บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ธรรมศาสตร์การเมือง

มาตรา 112 โดยการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ ในขณะนี้มีสภาพไม่ต่างไฟป่าที่ตีโอบล้อมเข้าสู่ศูนย์กลาง คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พานให้ร้อนไปถึงเก้าอี้ผู้ปกครองสถาบันบ่มเพาะการศึกษาด้านการเมือง การปกครองอันเก่าแก่ อย่าง “อาจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์”

“วันนี้คนไทยพูดเรื่องมาตรา 112 กันมาก แม้แต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ก็บอกว่า กลุ่มนิติราษฎร์มีเจตนาไม่ดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีคนมาเผาหุ่น อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ที่คณะนิติศาสตร์ ในการเปิด หอประชุมเล็ก ก็ยังมีคนมาคาดคั้นให้กลุ่มนิติราษฎร์ต้องตอบคำถามให้ได้ ซึ่งเป็น ความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น”

เป็นอธิการฯ มธ.ก็ลำบากหน่อย เพราะ 1.แสดงความไม่เห็นด้วยทางวิชาการ กับนิติราษฎร์ก็มีคนออกมาประท้วง ด่าและข่มขู่คุกคาม ให้ปลดจากตำแหน่ง 2.อนุญาต ให้นิติราษฎร์ใช้ที่มหาวิทยาลัยก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งมากดดันคัดค้านต่อว่า 3.เห็นว่าควร พอได้แล้วกับ 112 (หลังจากอนุญาตไปแล้ว 4-5 ครั้ง) คนกลุ่มแรกก็ออกมาอีก 4.เห็น ว่าไม่ควรไล่ล่าแม่มดก้านธูป คนกลุ่มแรกออกมาชม คนกลุ่ม 2 ออกมาว่าอีกสังคมไทยไม่ยอมให้คนยืนบนความถูกต้องและพอดีพองามเลยหรือ ไง..อาจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าว

หลังจากที่ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้โอกาสนิติราษฎร์ใช้สถานที่ในการจัดงานเสวนามาหลายครั้งแม้ว่าตัว อธิการบดีเองจะไม่เห็นด้วยในเรื่องของการแก้ไข มาตรา 112 แต่ก็มองว่าธรรมศาสตร์เป็นสถานที่เปิดกว้างในด้านของความคิด แลกเปลี่ยน ในเชิงวิชาการแต่เมื่อเรื่องดังกล่าวถูกแปลประเด็นไปในเชิงการเมือง สร้างให้เงื่อนไขจน ธรรมศาสตร์เองแทบลุกเป็นไฟเพราะการเปิดกว้างทางความคิดครั้งนี้

สุดท้าย อ.สมคิด ต้องสั่งระงับการใช้พื้นที่ของกลุ่มนิติราษฎร์ โดยฉับพลันเพื่อไม่ ให้เกิดเหตุการณ์เลวร้ายไปมากกว่านี้เพราะไม่ว่าบรรดาศิษย์เก่าและปัจจุบัน ได้ออกมา ต่อต้านการกระทำของคณะนิติราษฎร์อย่างรุนแรง ที่ใช้ชื่อมหาวิทยาลัย สร้างความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทั้งที่มีการเรียกร้องให้สอบวินัย และปลดคณาจารย์ที่ร่วมในกลุ่มนิติราษฎร์ด้วย

สำหรับในเรื่องดังกล่าว อาจารย์สุวินัย ภรณวลัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ได้แสดงความเห็นผ่านบันทึกชื่อ “วิพากษ์ผู้วิพากษ์” และนำไปแบ่งปันบนเฟซบุ๊กของนายสมคิด มีเนื้อหาว่า “มีหลายคนแสดงความไม่เห็นด้วยกับการที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามกลุ่มนิติราษฎร์เคลื่อนไหวเรื่อง ม.112 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกต่อไป โดย มองว่า เป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น นี่ก็เป็นมุมมองหนึ่งที่เข้าใจได้ครับ แต่ผมอยากให้พวกเรามองอีกมุมมองหนึ่งด้วยว่า การที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ต้องออกมาตรการนี้ คงเป็นกรณีฉุกเฉินเพราะเกรงว่าอาจจะลุกลามจนกลายเป็น ‘6 ตุลาครั้งที่สองได้’ และถ้าจะเกิดก็คงจะเกิดที่ธรรมศาสตร์เหมือนเมื่อปี 2519...เพราะฉะนั้น ผมจึงมองว่ามาตรการนี้ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเป็น ‘การตัดไฟแต่ต้นลม’ มากกว่าเป็นการจำกัดเสรีภาพครับ เพราะที่ผ่านมาธรรมศาสตร์ก็เปิดโอกาสให้กลุ่ม นิติราษฎร์ใช้ธรรมศาสตร์เป็นที่เคลื่อนไหวมาหลายครั้งแล้ว...สรุปก็คือผม เห็นด้วยกับการตัดสินใจครั้งนี้ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยครับ”

ในด้านของฝ่ายต่อต้านการตัดสินใจของอธิการบดี ซึ่งเห็นว่าคำสังนี้เป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพทางความคิด ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นในสถาบันแห่งนี้ อย่างองค์การ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ได้มีการออกหนังสือคัดค้านว่าองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ขอแสดงจุดยืนที่มีต่อ มติดังกล่าว ดังนี้

1) อมธ. ร้องขอให้ทบทวนมติของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ตามที่ท่านอธิการบดีได้ระบุไว้ข้างต้น เพราะมติดังกล่าวมีเนื้อหาที่กระทบต่อสาระสำคัญแห่ง สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

2) มหาวิทยาลัยเปรียบได้กับห้องทดลองในทางสังคมศาสตร์เป็นสถานที่หลัก ในการขับเคลื่อนพัฒนาการในทางวิชาการ เปรียบได้กับพัฒนาการในทางวิทยาศาสตร์ ที่ต้องอาศัยห้องทดลองเป็นสำคัญ การไม่อนุญาตให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยแสดงความคิดเห็นย่อมไม่ต่างอะไรกับการ ทำลายเสาค้ำยันในความเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสรีภาพในทางความคิดทิ้งไป

3) เพื่อความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงขอเรียกร้องให้ท่านอธิการบดี ชี้แจงถึงมติดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อความเข้าใจโดยทั่วกัน
สุดท้ายนี้ อมธ. ยังคงยืนยันในจุดยืนแห่งการมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความ คิดเห็นภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเรายังคงเคารพในความเห็นที่แตกต่าง ไม่ว่าจะมาจากกลุ่มใดก็ตาม ตราบเท่าที่ความคิดเห็นเหล่านั้นยังคงอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย

ทั้งนี้ อมธ. ในฐานะผู้แทนของนักศึกษาซึ่งมีความหลากหลายทางความคิด ขอรับรองว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ใช่กลุ่มทางการเมืองใด และไม่มีกลุ่มทาง การเมืองใดเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากแต่ความสวยงามในความคิดเห็นที่แตกต่างคือภาพสะท้อนแห่งความเป็น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่แท้จริง

ซึ่งในเรื่องดังกล่าวจะจบลงในรูปแบบไหนก็ถือว่าไม่มีถูก ไม่มีผิด หากเป็นเพียงเรื่องของวิชาการองค์ความรู้ หากแต่ถูกเชื่อมโยงไปในประเด็นการเมืองก็นับว่าน่าเป็นห่วงเพราะเป็นเรื่อง ที่บอบบางและเกี่ยวเนื่องกับสถาบันอันเป็นที่เคารพรักของคนทั้งประเทศ 


 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง