ผลพระคุณ ธ รักษา
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขของอังกฤษ
ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณและคณะ
ถ้า
ศึกษาประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญอังกฤษ
สถาบันทุกสถาบันในอังกฤษเกิดจากพระราชอำนาจทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภา ศาล
หรือคณะรัฐมนตรี ก็พัฒนามาจากสภาที่ปรึกษาของกษัตริย์ (Curia Regis ค.ศ. 1066-1215) ทั้งสิ้น จริง ๆ คณะรัฐมนตรีอังกฤษในทางกฎหมายถือว่าเป็นกรรมการชุดหนึ่งของคณะองคมนตรี (Privy Council) เท่านั้นที่เรียกว่า Cabinct Council ใน ค.ศ. 1605 แต่ว่าในอังกฤษนั้นการปกครองนั้นใช้ธรรมเนียมประเพณีการปกครองมากกว่ากฎหมาย
ในอังกฤษซึ่งเป็นต้นแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเริ่มจริง ๆ คือหลัง ค.ศ. 1832 แล้วว่ากันในอันที่จริงก็คือ ค.ศ. 1867
เมื่ออังกฤษก้าวเข้าสู่ประชาธิปไตยยุคใหม่ โดยมีการปรับระบบเลือกตั้ง
ขยายสิทธิเลือกตั้งไปทั่วประเทศจึงถือว่าเป็นประชาธิปไตยแท้จริง ดังนั้น
คำว่า Constitutional Monarchy หรือระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญก็เกิดขึ้นหลัง ค.ศ. 1867 นั่นแหละ
ใน
อังกฤษนั้นมีหลักที่ถือกันเป็นหลักทั่วไป
จนกระทั่งมีอิทธิพลถึงเมืองไทยด้วยก็คือหลักที่ว่า
เมื่อพระมหากษัตริย์อังกฤษทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี ก็จะไม่ทรง
มีพระราชดำริทางการเมือง แต่จะทรงทำตามคำ
แนะนำของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี
ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชน
โดยกระบวนการที่เรียกว่าการลงนามสนองพระบรมราชโองการ (Counterseign) เมื่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นคนทูลเกล้าถวายคำแนะนำก็จะต้องรับผิดชอบทั้งทางกฎหมายและการเมืองแทนองค์สมเด็จพระราชินีนาถ จึงมีหลักว่า สมเด็จพระราชินีนาถอังกฤษไม่ทรงกระทำผิดหรือหลัก The Queen Can Do No Wrong ก็เพราะว่าถ้ามี Wrong เกิดขึ้นหรือความผิดเกิดขึ้นคนที่ต้องรับผิดชอบก็คือนายกรัฐมนตรีคนทูลเกล้าถวายคำแนะนำนั่นแหละ จะปัดไปให้สมเด็จพระราชินีนาถไม่ได้
เพราะ
ฉะนั้นในอังกฤษถือหลักนี้เคร่งครัดมาก
พระมหากษัตริย์อังกฤษหรือสมเด็จพระราชินีนาถจะทรงมีพระราชอำนาจที่ไม่ต้องทำ
ตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีอยู่น้อยมาก
แม้กระทั่งพระราชดำรัสของพระมหากษัตริย์หรือพระราชินีนาถอังกฤษยังต้องให้
นายกรัฐมนตรีเห็นชอบก่อนจะมีพระราชดำรัส ในหนังสือเรื่อง “Constitutional Practice” ของนาย Rodney Brazier พูดไว้ชัดเลยว่ามีพระราชดำรัสเพียงสององค์เท่านั้น ที่พระราชินีนาถมีพระราชอัธยาศัยอย่างไรจะรับสั่งอย่างไรก็ทำได้
องค์แรกก็คือ Christmas Broadcast หรือพระราชดำรัสในวันคริส์ตมาสต่อประชาชนชาวคอมมอนเวลส์ (Commonwealth) หรือ
เครือจักรภพอังกฤษ
แต่ถ้าเป็นพระราชดำรัสคริสต์มาสต่อคนอังกฤษก็ไม่ได้รับยกเว้น
ราชเลขาธิการต้องส่งพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชินีนาถไปให้นายกรัฐมนตรีเห็น
ชอบก่อน กับองค์ที่สองคือ สิ่งที่อังกฤษเรียกว่า Commonwealth Day Message หรือพระราชดำรัสวันเครือจักรภพ สมเด็จพระราชินีนาถจะรับสั่งอะไรกับชาว Commonwealth ก็ได้
มีสองพระราชดำรัสนี้เท่านั้นที่จะเห็นได้ว่าพระราชินีนาถมีพระราชอัธยาศัยจะ
รับสั่งอย่างไรก็ได้ และถามว่าธรรมเนียมนี้ทำหรือไม่ในประเทศไทย
คำตอบว่าไม่เคยมีการทำในประเทศไทย เพราะ
พระราชดำรัสทุกองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น รัฐบาลไม่เคยตรวจ
รัฐบาลไม่เคยไปถวายคำแนะนำ เป็นพระราชดำรัสที่ออกมาจากพระองค์เองทั้งนั้น
จะเอาประชาธิปไตยไทยไปเทียบกับประชาธิปไตยอังกฤษร้อยเปอร์เซ็นต์นั้นคงทำไม่
ได้
ดัง
นั้นในอังกฤษกลไกที่จะทำให้สถาบันที่สืบราชสมบัติอยู่ในระบอบประชาธิปไตยที่
มีการเลือกตั้งโดยประชาชนและประชาชนเป็นใหญ่ทางการเมืองได้นั้น
ก็คือพระมหากษัตริย์ต้องไม่มีพระราชดำริทางการเมืองแล้วก็ทำตามคำแนะนำของ
รัฐบาลคือนายกรัฐมนตรีซึ่งรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรที่ประชาชนเลือกตั้งมา
แต่ว่ากระนั้นก็ตาม อำนาจที่รัฐบาลอังกฤษ
ใช้ทั้งหมดวันนี้เป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์อังกฤษที่มีมาตั้งแต่โบราณกาล
ที่ยังไม่มีกฎหมายที่สภาตราขึ้นออกมาแก้ไขทั้งสิ้น ที่เรียกว่า The Royal Prerogative หรือ
พระราชอำนาจไม่ว่าจะเป็นพระราชอำนาจในการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
พระราชอำนาจในการประกาศสงคราม พระราชอำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการ
พระราชอำนาจในการเรียกประชุมสภา พระราชอำนาจในการยุบสภา
แต่ว่าทรงใช้ตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี โดยมีข้อสังเกต 2 ประการ คือ
ประการ
แรก อังกฤษคงจารีตประเพณีเดิมเป็นพัน ๆ
ปีเอาไว้มีการเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยจึงทำให้ลักษณะของกษัตริย์อังกฤษหรือ
สมเด็จพระราชินีนาถอังกฤษไม่เหมือนกับกษัตริย์ที่อื่น ยกตัวอย่างเช่น
การที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธทรงเป็นประมุขของศาสนจักรอังกฤษที่เรียก
ว่า Church of England ถามว่าพระเจ้าแผ่นดินประเทศอื่นเป็นประมุขศาสนจักรหรือไม่ คำตอบคือไม่ แต่ว่าอังกฤษเป็นอย่างนี้ก็เพราะว่าพระเจ้าเฮนรี่ ที่ 8 ออกกฎหมายมาประกาศตัวแยกออกจากพระสันตะปาปาที่วาติกัน แล้วก็สถาปนาพระองค์ท่านเองเป็นประมุขของ Church of England วันนี้สมเด็จพระราชินีนาถยังเป็นผู้แต่งตั้งสังฆราชแห่งแคนเทอเบอรี่ (The Archbishop of Canterbury) แล้ว
ก็ไม่ขึ้นกับวาติกัน หรือ
ตัวอย่างหนึ่งซึ่งเราจะเห็นได้ว่าอังกฤษคงเอาไว้ก็คือ
ในอังกฤษคนที่แถลงนโยบายของรัฐบาลอังกฤษไม่ใช่นายกรัฐมนตรี
คนที่แถลงคือสมเด็จพระราชินีนาถทรงแถลงในวันเปิดสมัยประชุมสภา
โดยทรงเครื่องราชขัตติยภูษาภรณ์เต็มยศเสด็จพระราชดำเนินเข้ามาในที่ประชุม
ของสภาขุนนางหรือ House of Lords ประทับ
บนพระที่นั่งที่เรียกว่าพระที่นั่งหนังแกะ
บนพระราชบัลลังก์ซึ่งเป็นไม้ในสภาขุนนางนั้น
แล้วขุนนางก็ใส่วิกนั่งอยู่เต็ม
นายกรัฐมนตรีและประธานสภาผู้แทนราษฎรเข้าสภาขุนนางไม่ได้
เพราะว่าเป็นธรรมเนียมมาแต่โบราณพันปีแล้วว่าสมาชิกที่จะเข้าสภาขุนนางได้
ต้องเป็นขุนนาง
เพราะฉะนั้นนายกรัฐมนตรีอังกฤษและประธานสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องยืนอยู่นอก
ห้องเกาะราวประตู
แล้วสมเด็จพระราชินีนาถก็จะทรงรับพระราชดำรัสที่นายกรัฐมนตรีร่างถวายนั้น
มาทรงอ่านในสภาขุนนางโดยประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานสภาสามัญและนายก
รัฐมนตรีเกาะราวประตูฟังอยู่ ว่ารัฐบาลของข้าพเจ้า
จะออกกฎหมายนี้ในสมัยประชุมนี้เพื่อให้นโยบายของรัฐบาลของข้าพเจ้า (My Government) เกิดความสำเร็จขึ้นได้
นี่เรียกว่า Speech From The Throne หรือพระราชดำรัสจากราชบัลลังก์ เมืองไทยก็เคยทำแบบนี้อยู่ระหว่างปี 2493-2500 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงแถลงนโยบายแบบนี้ในสภาเหมือนของอังกฤษแล้วมายกเลิกเอาตอน พ.ศ. 2500 เพราะฉะนั้นถ้าท่านไปค้นพระราชดำรัสในพิธีเปิดสมัยประชุมสภาของประเทศไทยก่อนปี 2500 จะ
พบว่านโยบายของรัฐบาลไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงแถลงแทนรัฐบาลบนพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ในพระที่นั่งอนันตสมาคม
ทำนองเดียวกับสมเด็จพระราชินีนาถอังกฤษทรงแถลงนโยบายรัฐบาลอังกฤษในที่
ประชุมของสภาขุนนาง.
ขอขอบคุณ เดลินิวส์
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น