คู่กัดขั้วทักษิณดักคอพท. นักการเมืองเลว-ก็มีปว. รบ.ปูหวังกองทัพอ่อนแอ แต่'ทหาร'ไม่ขอเป็นทาส
ความ
พยายามของแกนนำคนเสื้อแดง และคนในพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะนายทหารตท.10
ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ที่เสนอให้แก้ไข “พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม”
เพื่อต้องการให้ “ฝ่ายการเมือง”
เข้าไปมีอำนาจในการโยกย้าย-แต่งตั้ง “กำลังพลในกองทัพ” ได้ หลังจากที่
“พ.ร.บ.กลาโหมฯ” ดังกล่าว ออกขึ้นมาในสมัยรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ถึงขนาดมีบางคนตราหน้าว่า เป็น “กฎหมายจับยัด” ที่เป็นมรดกของการรัฐประหาร
มีการให้เหตุผลว่า “กฎหมายฉบับนี้” ไม่เปิดโอกาสให้ “ฝ่ายการเมือง”
เข้าไปมีบทบาทในการแต่งตั้ง-โยกย้ายนายทหารประจำปี โดยเฉพาะตำแหน่งสำคัญๆ
เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับ “ผู้นำแต่ละกองทัพ” จะเสนอขึ้นมา
และหากมีความเห็นไม่ลงรอยกัน ก็ต้องโหวตกันใน “คณะกรรมการสภากลาโหม” ที่มี 7
ตำแหน่งคือ
รมว.กลาโหม-รมช.กลาโหม-ปลัดกระทรวงกลาโหม-ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(ผบ.สส.)-ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)-ผู้บัญชาการทหารเรือ
(ผบ.ทร.)-ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.)
ซึ่งหากมองแล้ว “ฝ่ายการเมือง” จะเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ
เพราะเวลานี้มีเพียง 1 เสียงที่เห็นชัดๆ ขณะที่ “รมช.กลาโหม”
ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ไม่มี
คนในพรรคเพื่อไทย...ถึงกับปะทุอารมณ์ว่า สาเหตุที่จำเป็นต้องเสนอแก้
ไขร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม” เพราะทุกวันนี้ “รมว.กลาโหม”
เปรียบเสมือน “ตรายาง” ที่กองทัพเสนอมาอย่างไร ก็ต้องว่ากันไปอย่างนั้น
เพื่อให้ได้ความกระจ่าง ถึงที่มา-ที่ไปของการออกพ.ร.บ.กลาโหมฯดังกล่าว “ไทยอินไซเดอร์” ขอนำไปสนทนาแบบ “จัดเต็ม-จัดหนัก” กับ “พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม” ส.ว.สรรหา ซึ่งในช่วงที่มีการออกกฎหมายฉบับดังกล่าว “เขา” มีตำแหน่งเป็นถึง “หัวหน้าสำนักงานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) และ “สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ” (สนช.) ทั้งยังเป็น 1 ในสมาชิกที่มีการยกร่างเนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้
เพื่อจะได้ “ความจริง” เป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการออกกฎหมายฉบับนี้...คืออะไร และผ่านมาถึงทุกวันนี้ “ได้ผล...หรือไม่”
เชื่อแน่ว่า “คำตอบ” ที่ออกจากปากของ “พล.อ.สมเจตน์” คงทำให้ “ใครหลายคน...กระอักได้”...เพราะ “เขา” ได้ชื่อว่า เป็น 1 ใน “คู่กัดตลอดกาล” ของ “ระบอบทักษิณ”...
โดยเฉพาะประโยคเด็ดที่ว่า "รัฐบาลทั่วทุกประเทศในโลก เขาต้องการให้กองทัพเข้มแข็งทั้งนั้น มีแต่รัฐบาลไทยนี่แหละที่ต้องการให้กองทัพอ่อนแอ"...ยืนยัน...ทหารไม่พร้อมใจเป็นข้าทาสนักการเมืองที่เลว และ "การปฏิวัติจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนักการเมืองเลวเท่านั้นแหล่ะ"...โปรดติดตาม!!!
Q :
ในฐานะอดีตนายทหารและอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)
ซึ่งเคยร่วมร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม มีความคิดเห็นอย่างไร
เกี่ยวกับกรณีที่พรรคเพื่อไทยต้องการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้
A : พ.ร.บ.ฉบับนี้ร่างขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต ปัญหา
ในอดีตคือ
“นักการเมือง”...รมว.กลาโหมและนายกรัฐมนตรีเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้งนายทหาร
แทรกแซงกองทัพในช่วงนั้น
ซึ่งเห็นได้ชัดเจนคือการนำญาติและเพื่อนร่วมรุ่นเข้ามาอยู่ในกอง ทัพ เป็นมูลเหตุซึ่งเรามองดูว่า การที่นักการเมืองเข้ามาแทรกแซงนี้ มันเป็นอย่าง ไร เรา
ก็ย้อนกลับไปดูว่าองค์กรไหนที่นักการเมืองเข้าไปแทรกแซงแล้ว
องค์กรนั้นเป็นองค์กรที่ดี สามารถปฏิบัติภารกิจรับใช้ประชาชน
หรือภารกิจที่รับมอบหมายได้บ้าง...“ไม่มีเลย” องค์กรที่นักการเมืองเข้าไปแทรกแซงนั้น ก็ล้วนแต่มารับใช้นักการเมืองทั้งสิ้น แล้วนักการเมืองก็มีความมุ่งหมายอยู่ 2 ประการเท่านั้น ก็คือ การกระทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน และเพื่อชนะการเลือกตั้งครั้งหน้า เมื่อเป็นอย่างนี้ปล่อยให้นักการเมืองเข้ามาแทรกแซงกองทัพ แน่นอนกองทัพก็จะเป็น “กองทัพของนักการเมือง” มิใช่ “กองทัพของประเทศชาติของประชาชน” ด้วยเหตุนี้เอง...จึงได้มี “พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม 2551” ขึ้นมาเพื่อป้องกันการแทรกแซงของนักการเมือง
อีกประเด็นที่จะสังเกตได้ว่า “สถาบันทหาร” นั้น “กองทัพ” นั้น
จะมีความแตกต่างจากหน่วยงานราชการอื่นๆ
หน่วยงานราชการอื่นในการแต่งตั้งโยกย้าย จะต้องผ่านมติครม.
แต่ของทหารจะไม่ผ่านมติครม. จะผ่านรมว.กลาโหม-นายกรัฐมนตรี
แล้วก็นำขึ้นกราบบังคมทูลฯเลย ก็มีความแตกต่างกัน
เพราะฉะนั้นในการที่จะเข้ามาแทรกแซงนั้น ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า
ที่ต้องการเข้ามาแก้นั้น “แก้ด้วยเหตุผลอะไร?” “พ.ร.บ
.นี้มันไม่ดีอย่างไร?”
“แก้เพื่อต้องการที่จะเข้ามามีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายอย่างนั้นหรือ?”
“ถ้าแต่งตั้งโยกย้ายแล้วจะทำให้กองทัพเป็นกองทัพของประเทศชาติประชาชนได้
อย่างไร?”
“อย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน
ว่าการที่นักการเมืองเข้าไปแทรกแซงแล้ว
สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะมาดูแลทุกข์สุขของประชาชนได้หรือเปล่า
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติยังเอาตัวเองไม่รอด จะต้องถูกเตะกระเด็นออกไป
แล้วก็ให้ญาติของผู้มีอำนาจ ผู้มีบารมี เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน
ถ้ากองทัพเป็นอย่างนี้ก็มองดูแล้วกันว่า กองทัพเนี่ยจะสามารถไปรักษาอธิปไตย
ความมั่นคงของชาติได้หรือไม่ ผมคิดว่า...ไม่ได้เด็ดขาด”
Q : เป็นการปกป้องสถาบันกองทัพ มากกว่าผลประโยชน์ของทหารกันเอง...ใช่หรือไม่
A : ไม่ใช่ครับ ไม่ได้ปกป้องสถาบันกองทัพ เราปกป้องไม่ให้นักการเมืองที่ไม่ดี โดยสรุปง่ายๆว่า “เราไม่เคยไว้วางใจนักการเมือง” เพราะ
นักการเมืองประเทศไทยไปดูสิว่า ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
เห็นแก่ประโยชน์ประเทศชาติ...หามาให้ได้สิว่า มีมากน้อยขนาดไหน
อยากให้ไปดูว่าองค์กรไหนของประเทศไทยที่นักการเมืองสามารถเข้าไปแทรกแซงการ
แต่งตั้งโยกย้ายแล้วเป็นองค์กรที่สามารถรับใช้ประชาชนได้เป็นอย่างดี
ถ้ามี...ถ้าเป็นลักษณะนั้นได้ นักการเมืองเป็นนักการเมืองที่ดี
ผมคิดว่ามันก็แทรกแซงได้ แต่ว่าตราบใดก็ตาม
ที่ประเทศไทยเรายังมีนักการเมืองในลักษณะนี้ ผมไม่มีความไว้วางใจ
ในความรู้สึกของผมไม่มีความไว้วางใจว่า เราจะเอากองทัพของเราไปฝากไว้กับ
บุคคลต่างๆเหล่านี้ได้
Q : ที่ผ่านมา
ปรากฏแน่ชัดแล้วใช่หรือไม่ว่า
องค์กรไหนที่นักการเมืองสามารถเข้าไปแต่งตั้งโยกย้ายคนขององค์กรนั้นได้
องค์กรเหล่านั้นจะไม่สามารถทำประโยชน์ให้กับประชาชนได้อย่างเต็มที่
A : ถูกต้องครับ
ก็ลองดูว่ามีองค์กรไหนละ
ลองยกตัวอย่างให้ผมดูสิว่าเป็นองค์กรที่จะทำลักษณะ...ปฏิบัติภารกิจของเขา
ได้ แล้วมาปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนได้...มีมั๊ย...มีมั๊ยครับ
Q :
การอ้างว่าฝ่ายการเมืองหรือรัฐบาล จำเป็นต้องมีคนที่ไว้วางใจได้เข้าไปทำงาน
เพื่อขับเคลื่อนกองทัพให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล
เป็นเหตุผลที่รับฟังได้หรือไม่
A : ไม่เป็นเหตุผล กองทัพพร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล รัฐบาลไม่จำเป็น...รัฐบาลมอบนโยบายมา มอบนโยบายมาให้กองทัพ ว่าจะต้องให้ปฏิบัติอย่างไร
ถ้าเป็นนโยบายที่ถูกต้องชอบธรรม กองทัพต้องปฏิบัติ ถ้ากองทัพไม่ปฏิบัติ
ก็ถือว่ากองทัพขัดนโยบายของรัฐบาล
อันนั้นก็เป็นความชอบธรรมของรัฐบาลที่จะดำเนินการกับกองทัพได้
ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาบุคคลของตัวเองลงไปหรอกครับ
ถ้าอย่างนั้นทุกครั้งมันก็เกิดปัญหาอย่างนี้...มันถึงเกิดขึ้นว่า
เวลาเปลี่ยนแปลงศูนย์อำนาจทีหนึ่ง ก็โยกย้ายคนของตัวเข้าไปอีก
ทุกครั้งจะเป็นเหมือนกันหมด
ข้าราชการนั้นพร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลอยู่แล้ว
แต่ถ้าข้าราชการคนไหนไม่ปฏิบัติตามนโยบาย
คุณก็มีสิทธิ์ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง
แต่นี่ไม่ใช่...มันก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งเมื่อตัวเองเข้ามาเป็น
รัฐบาล ก็เอาคนของตัวเองเข้ามา ก็เกิดปัญหาอย่างนี้
ทำให้ข้าราชการเหล่านั้นไปวิ่งเต้นนักการเมือง ไปรับใช้นักการเมือง
ไม่รับใช้ประชาชน ก็อยากถามว่า
เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วอยากให้กองทัพวิ่งเข้าไปรับใช้นักการ เมืองใช่มั๊ย
ถ้าสามารถแต่งตั้งคนของตัวเองมาดำรงตำแหน่งในกองทัพได้
แน่นอนผู้บัญชาการเหล่าทัพก็จะเอากองทัพไปรับใช้นักการเมืองคนนั้นแหล่ะครับ
Q :
มีการยกเหตุผลในช่วงการประชุมของสนช. ที่องค์ประชุมไม่ครบ
แล้วมาพิจารณาร่างกฎหมายฉบับต่างๆ ซึ่งอาจขัดรัฐธรรมนูญ
พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหมเป็นกฎหมายอีกหนึ่งฉบับหรือไม่
ที่เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นในช่วงนั้น
A : ผมไม่แน่ใจ ผมไม่แน่ใจว่า...ว่าการลงมติตอนนั้นเป็นอย่างไร
แต่ถ้าเป็นลักษณะอย่างนี้ ต้องกลับไปดูกฎหมายทั้งหมด
กฎหมายทั้งหมดตั้งแต่มีการร่างกฎหมายมาตั้งแต่ 2475
ถ้าไม่ครบองค์ประชุมต้องยกเลิกหมด ต้องไปทำอย่างนั้นหมด
เพราะฉะนั้นอย่าเอาประเด็นตรงนี้มาเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ท่านจะต้องการ
Q :
ส่วนตัวมองว่าการที่ฝ่ายการเมืองต้องการเข้ามามีบทบาทแต่งตั้งโยกย้ายในกอง
ทัพ
เพียงเพื่อหวังผลประโยชน์ให้กับตัวเองหรือต้องการสร้างประโยชน์ให้กับกองทัพ
จริงๆ
A : “เป็นคำตอบอยู่ใน
คำถามแล้ว” ว่าขณะนี้เขาไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงกองทัพได้
เพราะฉะนั้นก็เลยอยากออกกฎหมายเพื่อมาแทรกแซงกองทัพ
ก็ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า กฎหมายฉบับนี้ไม่ดีอย่างไร
ทำไมต้องการเข้ามาแทรกแซง แทรกแซงแล้วจะดีอย่างไร ต้องตอบคำถามให้ได้
แล้วอย่างที่ผมยกตัวอย่าง
ว่าองค์กรไหนที่นักการเมืองเข้าไปแทรกแซงแล้วเป็นองค์กรที่เรามีความภาคภูมิ
ใจว่าเขาจะรับใช้ประชาชนได้...มีมั๊ย ลองยกตัวอย่างมาให้ดู
Q : เป็นไปได้หรือไม่ว่า
พรรคการเมือง-รัฐบาลกำลังกลัวว่าจะเกิดการปฏิวัติ-รัฐประหารง่ายขึ้นเหมือน
ในอดีตหรือไม่ ถ้าไม่สามารถโยกย้าย สั่งการคนในกองทัพได้
A : การปฏิวัติจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนักการเมืองเลวเท่านั้นแหล่ะ นักการเมืองเลว คอรัปชั่น ไม่ทำเพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติ รัฐบาล
ไม่ต้องกลัวการปฏิวัติหรอก เกราะคุ้มกันการปฏิวัติที่ดีที่สุดก็คือ
การได้ช่วยดูแลทุกข์สุขของประชาชน อย่าสร้างปัญหา อย่าคอรัปชั่น อย่าทำอะไรเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นเกราะป้องกันดีกว่าการปฏิวัติ ไม่ต้องกลัวหรอกครับ ลองไปดูว่า “คนดีไม่เคยกลัวตำรวจ” มีแต่คนเลว ผู้ร้าย คนที่คิดไม่ดีเท่านั้น เป็นคนที่กลัวตำรวจ เพราะฉะนั้นรัฐบาลกลัวกองทัพ รัฐบาลไม่ดีเหรอ ใช่มั๊ย...รัฐบาลพยายามคิดสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ดีหรือ ถึงมากลัวกองทัพ
Q : ถ้ารัฐบาลมองกองทัพเป็นอุปสรรคในการทำงาน จะเกิดปัญหาในการทำงานในอนาคตมากน้อยเพียงใด
A : อุปสรรคอะไร?
Q : อย่างเช่นการที่รัฐบาลมองว่าไม่สามารถเชื่อใจกองทัพได้ หรือไม่สามารถสั่งการคนในกองทัพได้
A : ก็ลองสั่งดู
สั่งให้กองทัพไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย กองทัพไปหรือเปล่าครับ
ถ้ากองทัพบอกกองทัพไม่ไป ไม่ใช่หน้าที่
นั่นแหละกองทัพขัดนโยบายรัฐบาลที่ให้ช่วยเหลือประชาชน แล้วจะกลัวทำไม
Q :
มีเสียงวิจารณ์ว่าการแต่งตั้งโยกย้าย
ยังเป็นการแต่งตั้งคนในก๊กในเหล่าของตนเอง
อย่างฝ่ายบูรพาพยัคฆ์ที่ยังได้รับตำแหน่งที่สำคัญในกองทัพ
A : “ทหาร” จำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งคนที่ตัวเองไว้วางใจ
คนที่มีความเชื่อมั่นว่า จะมาเป็นผู้นำได้
นักการเมืองมารู้จักทหารดีเท่าทหารหรือ?
นักการเมืองถ้ารู้จักทหาร...ก็รู้จักแต่ทหารประจบสอพลอ
ทหารที่ประสบสอพลอ...ไม่ได้เป็นทหารอาชีพ
เป็นแต่บุคคลที่มีอาชีพทหารเท่านั้น เพราะฉะนั้นนักการเมืองไม่รู้จักทหารดี
ไม่จำเป็นว่าเป็นใครก็แล้วแต่ มันเป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา
ถ้าเขาแต่งตั้งผู้ใดไปแล้วผู้นั้นไปทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เขาจะต้องมีการดำเนินการไปตามขั้นตอน
ถ้าไม่ดำเนินการผู้ที่แต่งตั้งนั้นต้องรับผิดชอบ
Q : ทหารในกองทัพรู้ถึงกฎเกณฑ์
กลไกภายในที่จะทำให้กองทัพดำรงดำรงอยู่ได้ และอยู่รอดต่อไป
จึงไม่ต้องการให้นักการเมืองเข้ามามีอำนาจแทรกแซงจนทำให้กลไกที่มีมาพังลงไป
A : ก็...ผมถามว่าต้องการเข้ามาแทรกแซงเพื่ออะไร
คุณเข้ามาแทรกแซงเพื่อให้กองทัพเป็นกองทัพที่ดีขึ้น
หรือต้องการเข้ามาแทรกแซงให้กองทัพอ่อนแอ รัฐบาลทั่วทุกประเทศในโลกเขาต้องการให้กองทัพเข้มแข็งทั้งนั้น มีแต่รัฐบาลไทยนี่แหละที่ต้องการให้กองทัพอ่อนแอ เพื่อที่จะ...เพราะความกลัว ผมบอกแล้วว่าคนเลวเท่านั้นแหละที่กลัวตำรวจ คนดีไม่เคยมีใครกลัวตำรวจหรอกครับ
Q : คนเลวก็ต้องกลัวกองทัพใช่หรือไม่
A : ไม่ใช่...ถ้าเป็นรัฐบาลที่ดี ไม่ต้องกลัวกองทัพ ถ้าเป็นรัฐบาลที่ดี ทำเพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติ เพื่อส่วนรวม ไม่คอรัปชั่น ไม่ทำเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ต้องกลัวกองทัพ
Q : มีคนออกมาอ้างว่า รัฐบาลนี้มาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ย่อมมีสิทธิ์ที่จะสั่งการองค์กรอย่างกองทัพได้
A : เป็นการ “สั่งการที่ถูก” หรือ “สั่งการที่ผิด” ล่ะ
เขาไม่ได้มอบอำนาจให้คุณมาสั่งการที่ผิด
เขามอบอำนาจให้คุณมาบริหารประเทศเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ไม่ได้มอบอำนาจให้คุณมาบริหารประเทศเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ไม่ได้มอบอำนาจให้คุณมาคอรัปชั่น ไม่ได้มอบอำนาจให้คุณมาโกงกิน
เขามอบอำนาจให้คุณมาบริหารประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า
ให้ประชาชนอยู่ดีกินดี
Q : ตั้งแต่ใช้กฎหมายฉบับนี้มาประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด
A : ก็..กองทัพยังสามารถเป็นกองทัพของประเทศชาติประชาชนได้
กองทัพไม่ได้เป็นกองทัพของนักการเมือง
ก็ยังไม่เห็นมีนักการเมืองคนไหนสามารถเอาญาติของตัวเองเข้ามาดำรงตำแหน่ง
สำคัญในกองทัพได้ หรือมาดำรงตำแหน่งได้ก็เป็นตำแหน่งซึ่งไม่สำคัญ
ซึ่งก็ธรรมดา ก็ยอมรับได้ แต่ว่าจะมาดำรงตำแหน่งสำคัญๆเช่นในอดีต สมัยปี 2544-2549 นั้น ทำไม่ได้ ช่วงนั้นเป็นช่วงก่อนที่พ.ร.บ.ฉบับนี้จะออก
Q : ปี 2544-2549 ซึ่งเป็นยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ มีการแทรกแซงกองทัพมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องออกพ.ร.บ.ฉบับนี้
A : ก็ออกไปดูสิ ใครละเอาใครมาเป็น คุณต้องไปดูประวัติ
ว่าใครมาเป็น...จากไหนมาเป็น มันมีความเป็นมาอย่างไร ขึ้นมาได้อย่างไร
และมีความสามารถขนาดไหน ก็อยากฝากให้ไปดู ผมไม่อยากระบุไปถึงตัวบุคคล
Q : ถ้าฝ่ายการเมืองต้องการแก้ไขจริง ด้วยการขับเคลื่อนวิถีทางในสภาฯ โดยอาศัยเสียงข้างมาก คิดว่าจะสามารถทำได้ราบรื่นหรือไม่
A : “เสียงข้างมาก” ถ้าไม่ถูกต้องก็พังได้....ข้างมากถ้าทำในสิ่งไม่ถูกต้องก็พังได้ ตอบคำถามผมมา 2 คำถาม 1.แทรกแซงเพื่ออะไร 2.องค์กรไหนบ้างที่นักการเมืองแทรกแซงแล้วเป็นองค์กรที่ดี
ถ้าตอบคำถามได้ ประชาชนหรือทุกคนมีความพึงพอใจ
แล้วแทรกแซงแล้วทำให้กองทัพเข้มแข็ง
เป็นกองทัพของประเทศชาติประชาชน...ก็แก้ไขได้ แต่ถ้าตอบคำถามเหล่านี้
ว่าแทรกแซงแล้วกองทัพอ่อนแอ ทำให้กองทัพเป็นกองทัพของนักการเมือง
ถ้านักการเมืองไป ต้องไปรับไปส่ง ไม่ต้องมาทำหน้าที่ ไม่ต้องฝึก
ไม่ต้องมาป้องกันประเทศ เหมือนอย่างเช่นข้าราชการอื่นๆ
ที่จะต้องคอยเฝ้าสนามบิน คอยรับคอยส่งอะไรอย่างนี้
ถ้าหากว่าสามารถเข้ามาแทรกแซง
สามารถเข้ามาบริหารจัดการแล้วทำให้กองทัพเข้มแข็งเหมือนประเทศอื่นๆ
เหมือนนานาอารยะประเทศที่เขาเจริญแล้ว ไม่มีใครว่าหรอกครับ
Q : อย่างทหารเองสามารถออกกฎหมายปกป้องตัวเองจากนักการเมืองได้ ข้าราชการหน่วยงานอื่นจำเป็นหรือไม่ที่ต้องดำเนินการแบบทหารบ้าง
A : ก็ขึ้นอยู่กับหน่วยงานนั้น ว่าหน่วยงานนั้นยินยอมพร้อมใจเป็นข้าทาสนักการเมืองหรือเปล่า แต่ทหารไม่พร้อมใจเป็นข้าทาสนักการเมืองที่เลว
Q : อย่างโผทหารที่ออกมาล่าสุดถือว่าเป็นผลสำเร็จที่ได้จากพ.ร.บ.ฉบับนี้หรือไม่
A : ผมคิดว่าก็โอเคนะ ก็รับได้ ผมก็รับได้ มันก็มีบ้าง...ธรรมดา
ผมว่ามีบ้าง...ธรรมดา โดยระบบของคนไทย ซึ่งในตำแหน่งที่ไม่สำคัญก็รับได้
ผมก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเป๊ะอะไรไปหมดทุกอย่างนะ
มันเป็นสิ่งที่ยอมรับได้และไม่เสียในภาพรวมของกองทัพ
ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ครับ
Q : เท่าที่ดู ไม่น่าจะมีการล้วงลูกจากฝ่ายการเมือง
A : เท่าที่ปรากฏในตัวบุคคล ก็ไม่ได้ข่าวตรงนั้น เพียงแต่เห็นว่ามีปัญหาความขัดแย้งกันอยู่บางประการเท่านั้นเอง
Q : บทบาทของรัฐบาลยิ่งลักษณ์กับกองทัพเป็นอย่างไร
A : ผมว่าไม่มีปัญหาหรอกครับ ก็...รัฐบาลดูแลประชาชนไปเถอะ
ตอนนี้ประชาชนกำลังเดือดร้อน ไปช่วยเหลือดูแลแก้ปัญหาให้กับประชาชน
อย่าต้องมาห่วงกับเรื่องการปฏิวัติรัฐประหารเลย ไม่ต้องมาห่วงหรอกครับ
ไม่จำเป็นต้องไปสร้างข่าวปฏิวัติหรืออะไรเพื่อปกปิดเป้าหมายที่แท้จริงของ
ตัวเอง ไม่ต้องไปสร้างข่าวหรอก เอาเวลาทั้งหมดที่จะแก้พ.ร.บ. ที่จะทำอะไรทั้งหมดไปดูแลช่วยเหลือความทุกข์ยากให้กับประชาชนเถอะครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น