เบื้องลึกแห่งคอร์รัปชั่นและความไม่มีประสิทธิภาพของนักการเมือง..กรณีเครื่องบินโบอิ้ง 737..ศาลเยอรมันตัดสินจันทร์นี้
by
feng_shui
,
15 ก.ค. เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ ได้เผยแพร่คำสัมภาษณ์ของนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กรณีบริษัทวอลเตอร์ เบา (Walter Bau) ของเยอรมนี ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย มีรายละเอียดดังนี้
คดีบริษัทวาลเทอร์ เบา ของเยอรมนี ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย
"ส่วน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือนายชไนเดอร์ฟ้องร้องกับศาลยุติธรรมเยอรมนี
ได้ตัดสินเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ให้ไปยึดเครื่องบินของไทยที่จอดอยู่ที่นครมิวนิก
รัฐบาลทราบเรื่องเช้าวันที่ 13 กรกฎาคม
และได้เร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วนด้วยความกังวล
ในแง่เนื้อหาคือเจ้าทุกข์สามารถดำเนินการกับทรัพย์สินของรัฐบาลไทยได้
แต่เครื่องบินลำนี้ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินของรัฐบาลไทย ฉะนั้น
ในแง่กฎหมายเป็นการอายัดทรัพย์สินส่วนบุคคลซึ่งศาลไม่มีสิทธิทำเช่นนั้น
ถือเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง" นายกษิตกล่าว
เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่กระทรวงการ ต่างประเทศ เกี่ยวกับคดีบริษัทวาลเทอร์ เบา (Walter Bau) ของเยอรมนี ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
๑.
คดีดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา ของเยอรมนีกับรัฐบาลไทย
โดยบริษัทฯ เป็นโจทก์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย
กรณีผิดสัญญาโครงการทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘
ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับเยอรมนีเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน
ต่างตอบแทน ค.ศ. ๒๐๐๒ ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการได้ตัดสินชี้ขาด เมื่อวันที่ ๑
กรกฎาคม ๒๕๕๒ ให้รัฐบาลไทยชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทฯ เป็นเงินประมาณ ๓๐
ล้านยูโร บวกดอกเบี้ยและค่าดำเนินการของคณะอนุญาโตตุลาการอีกเกือบ ๒
ล้านยูโร
๒. โดยที่สหรัฐฯ เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโต ตุลาการต่างประเทศ ค.ศ. ๑๙๕๘ (Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards) บริษัทฯ
จึงได้นำคดีฟ้องต่อศาลนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๓
เพื่อขอให้บังคับคดีตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ซึ่งต่อมาศาลนครนิวยอร์กได้ตัดสินให้ไทยปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโต
ตุลาการ
รัฐบาลไทยโดยสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำตัดสินของศาล
นิวยอร์ก
๓.
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ
ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเยอรมนีอีกทางหนึ่งเพื่อให้มีการบังคับคดี
ซึ่งศาลเยอรมนีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔
ให้ยึดทรัพย์สินรัฐบาลไทยโดยมิได้มีการสอบถามหรือไต่สวนฝ่ายไทย
ซึ่งนำไปสู่การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฏราชกุมาร ซึ่งจอดอยู่ที่ท่าอากาศยานนครมิวนิก เมื่อวันที่ ๑๒
กรกฎาคม ๒๕๕๔ โดยเข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องบินของรัฐบาลไทย
๔.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า
การดำเนินการดังกล่าวของฝ่ายเยอรมันเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงอันเกิดจาก
ความเข้าใจผิด เนื่องจากเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นเครื่องบินส่วนพระองค์
มิใช่ทรัพย์สินของรัฐบาลไทย
ฝ่ายไทยได้ดำเนินการติดต่อทางการเยอรมันทันทีที่ได้รับทราบเรื่องในทุกช่อง
ทางเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและหลักฐานยืนยันว่า
เครื่องบินลำดังกล่าวเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์
โดยในการดำเนินการของฝ่ายไทยนั้น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
ได้ให้ข้อมูลข้างต้นแก่กระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี และรัฐมนตรีว่าการฯ
ได้มีหนังสือถึง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีแสดงความกังวลอย่างยิ่งของฝ่าย
ไทยและขอให้ฝ่ายเยอรมันถอนการอายัดเครื่องบินลำดังกล่าวในทันที
และได้สนทนาทางโทรศัพท์กับปลัดกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี กระทรวงฯ
ได้เชิญอุปทูตสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย มารับทราบข้อเท็จจริง
และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย นำโดยอัยการสูงสุดและรองอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ
ได้เดินทางไปถึงนครมิวนิคแล้ว ขณะที่เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
ได้ติดต่อทนายความเยอรมันเป็นที่ปรึกษาประเด็นด้านกฎหมาย นอกจากนั้น
รัฐมนตรีว่าการฯ จะเดินทางไปกรุงเบอร์ลินในคืนวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔
เพื่อพบกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีในบ่ายวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔
เพื่อให้มีการถอนอายัดเครื่องบินลำดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
๕.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศย้ำว่า
กรณีที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา กับรัฐบาลไทย
รัฐบาลไทยเคารพและไม่มีความตั้งใจที่จะแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของเยอรมนี
ตลอดจนเข้าใจว่าการดำเนินการเรื่องนี้อาจต้องใช้เวลาบ้าง อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลไทยหวังว่า กรณีที่เกิดขึ้นจะได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด
๖.
สำหรับคดีฟ้องร้องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา กับรัฐบาลไทย
สำนักงานอัยการสูงสุด
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลไทยให้เป็นผู้รับผิดชอบในคดีดังกล่าว
กำลังอุทธรณ์คำตัดสินของศาลนครนิวยอร์ก
ซึ่งเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่จะต้องดำเนินต่อไป
นางคอร์เนเลีย พีเพอร์ รมช.ต่างประเทศเยอรมนี และนายกษิต ภิรมย์
รมช.ตปท.เยอรมนีเสียใจศาลอายัดเครื่องบินไทย
สำหรับเรื่องราวของ เครื่องบินโบอิ้ง 737 พระ
ราชพาหนะของมกุฎราชกุมาร วชิราลงกรณ์
ถูกอายัดที่สนามบินมิวนิคโดยเจ้าหน้าที่เร่งรัดหน้าสินของบริษัทสัญชาติ
เยอรมัน วอลเตอร์ บาว (Walter Bau AG)
ขอนำเรื่องราวเบื้องหลังที่มาของการอายัคมาลำดับความ เนื่องจากมีหลายท่าน คอมเม้นท์ว่างง กับเรื่องราว
เครื่อง
บินลำดังกล่าวถูกยึดเนื่องมาจากข้อเรียกร้องทางการเงินที่มีต่อรัฐไทยโดย
เฉพาะต่อกรมทางหลวง
และไม่ได้เกี่ยวข้องกับหนี้ส่วนตัวของฟ้าชายแต่อย่างใดอย่างก็ตาม
เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้ของบริษัทเยอรมันที่ว่านี้
ยึดเครื่องบินไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาอาจมองได้ว่าเป็นการรุกเพื่อที่จะ
เร่งรัดให้ประเทศไทยจ่ายหนี้ที่ติดค้างไว้
เครื่องบินลำดังกล่าวในทางการแล้วเป็นของกองทัพอากาศไทย
แต่สงวนเป็นการใช้ส่วนพระองค์สำหรับฟ้าชาย
หนี้ดังกล่าว มีที่มาจากการถือหุ้นของบริษัทวอลเตอร์ บาว จำนวน 10เปอร์เซ็นต์
ในบริษัททางยกระดับดอนเมืองซึ่งสร้างและดำเนินการทางด่วนยกระดับจากตัว
เมืองกรุงเทพฯ
เชื่อมต่อสนามบินดอนเมืองซึ่งเป็นอดีตสนามบินนานาชาติของกรุงเทพฯ
บริษัทวอลเตอร์ บาวได้ล้มละลายในปี 2548 และเจ้า
หน้าที่ที่ที่พยายามเร่งรัดหนี้ดังกล่าวให้กับเจ้าหนี้
ได้เรียกร้องสินไหมต่อประเทศไทยสืบเนื่องจากการเปลี่ยนเงื่อนไขของข้อสัญญา
ในการสร้างทางด่วนและการปฏิเสธการขึ้นค่าทางด่วนที่ต้องจ่ายโดยพาหนะผู้ใช้
ถนนดังกล่าวซึ่งถูกมองว่าเป็นสาเหตุให้ทำให้โครงการดังกล่าวขาดทุน
ในปี 2552 คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ มีคำสั่งให้ประเทศไทยจ่ายเงินจำนวน 29.2 ล้านยูโรเป็นค่าชดเชย พร้อมทั้ง 1.98 ล้านยูโรเป็นค่าละเมิดสัญญาการตัดสินใจและความเป็นมาที่เป็นปัญหาของโครงการทางยกระดับสนามบินดอนเมืองสามารถดูข้อมูลได้ คลิก ลิ้งค์นี้ (เอกสาร ร้อยกว่าหน้าPDF)
บทเรียนความไม่มีประสิทธิภาพและการคอร์รัปชั่น
คณะอนุญาโตตุลาการได้พบว่าการลดค่าทางด่วนในสมัยอดีตนายกฯ ทักษิน ชินวัตร ที่ประกาศใช้ในปี 2547 เป็น
การละเมิดข้อตกลงกับวอลเตอร์ บาว
และเมื่อคณะอนุญาโตตุลาการประกาศผลตัดสินนายกรัฐมนตรีในตอนนั้น คือ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
กล่าวว่ารัฐบาลไทยไม่ยอมรับผลการตัดสินดังกล่าวและสัญญาว่าจะต่อสู้กลับ
พร้อม
ตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อต่อสู้คดี โดยประเด็นที่นำมาต่อสู้ มองว่า บริษัท
วอลเตอร์ บาว ฟ้องเรียกค่าเสียหายด้วยเจตนาไม่สุจริต
และคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ยุติธรรม
นอก
จากนี้บริษัท วอลเตอร์ บาว ไม่มีสิทธิจะฟ้องรัฐบาลไทย
เนื่องจากไม่ใช่คู่สัญญากับรัฐบาลโดยตรง
แต่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัททางยกระดับดอนเมืองเท่านั้น ที่สำคัญ
ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้เยียวยาค่าชดเชยให้กับดอนเมืองโทลล์เวย์ไปแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นการขยายสัมปทานออกไปถึงปี 2577, ให้ปรับค่าผ่านทางได้ตามสัญญาเดิม, รวม
ถึงการปรับค่าผ่านทางรถยนต์ 4 ล้อ จาก 55 บาท เป็น 85 บาท
มีผลเมื่อเดือนธันวาคม 2552 ส่วนค่าชดเชยรายได้จากการให้ลดค่าผ่านทางเหลือ
20 บาทตลอดสาย กรมทางหลวงได้จ่ายเงินชดเชยไปแล้ว 30 ล้านบาท
เมื่อ
คณะทำงานฝ่ายไทยเสนอคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่อศาลปกครองกลางของไทย
เพื่อเพิกถอนคำชี้ขาด แต่ศาลปกครองมีคำวินิจฉัยว่า
คดีดังกล่าวไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง
ทำให้กระบวนการต่อสู้หยุดชะงักตั้งแต่นั้นมา
และรัฐบาลไทยยังไม่มีการจ่ายค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น
ปัจ
ุบัน บริษัท วอลเตอร์ บาว อยู่ในสถานะล้มละลายไปแล้ว
บรรดาเจ้าหนี้จึงต้องดำเนินการแปรทรัพย์สินที่หลงเหลืออยู่ให้เกิดมูลค่าให้
ได้ รวมถึงการอายัดเครื่องบินสัญชาติไทยครั้งนี้ด้วย
คลิปรายงานพิเศษ ความคืบหน้าและความเป็นมาของการอายัด โบอิ้ง 737 (TNN24)
17 ก.ค. สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายกษิต ภิรมย์ รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของไทย เข้าพบรัฐบาลเยอรมันแล้ว เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมันคืนเครื่องบินโบอิ้ง 737 โดยนายกษิตได้
เดินทางพร้อมคณะเจ้าหน้าที่ทูตและทนายที่พยายามจะชี้แจงการกระทำที่เขาระบุ
ว่า เป็นความผิดพลาดมหันต์ จากบริษัท"วาลเทอร์ เบา "บริษัทเจ้าหนี้เยอรมัน
ซึ่งร่วมสร้างทางดอนเมืองโทลล์เวย์ให้แก่ไทย เมื่อ 20 ปีก่อน ที่ยึดเครื่องบินดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายกษิตไม่ได้พบกับนายกุยโด เวสต์เตอร์เวลล์ รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมัน
ซึ่งกำลังติดภารกิจเยือนต่างประเทศ แต่เขาได้พบกับนางคอร์เนเลีย ไปเปอร์
ซึ่งได้แสดงความเสียใจที่สร้างความไม่สะดวกให้แก่สมเด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิ
ราชฯ แต่ระบุว่า กรณีดังกล่าวทางการเยอรมันไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้
เนื่องจากคดีนี้กำลังอยู่ในมือศาลแพ่งเยอรมัน
กรณี วอลเตอร์ บาว เกิดขึ้นเป็นปัญหา ตั้งแต่ปลายรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต่อเนื่องมายังรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ รัฐบาลรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการเปลี่ยนรัฐบาลถึง 5 ชุด ทำให้การตัดสินใจล่าช้าและไม่ชัดเจน
ที่มา เว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
บทความของ แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชล นักข่าวอิสระ อดีตนักข่าวสำนักข่าวรอยเตอร์ส
คม ชัด ลึก ,ประชาไท
มติชน และคลิปข่าว TNN24
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น