บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ "อย่าทะเลาะกันเรื่องปรองดอง"

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
สนทนากับตัวจักรสำคัญของ คอป.ว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร เมื่อตอนนี้หลายฝ่ายชักจะเถียงกันเรื่องปรองดอง ซะแล้ว
พลันสิ้นเสียงขานคะแนนเลือกตั้ง เสียงจากดูไบกับว่าที่รัฐบาลใหม่พูดตรงกันว่า "ความปรองดอง" คือภารกิจแรกของบ้านเมืองนี้ที่ต้องทำให้สำเร็จ
แม้กระแสสังคมจะขานรับ แต่ก็ยังมีคำถามคณานับว่าจะปรองดองกันอย่างไร วิธีไหน และเพื่อใคร ทำไปทำมาจะกลายเป็นว่าสังคมนี้กำลังเถียงกันเรื่องใหม่...คือเรื่องปรองดอง!
จึงน่าลองฟัง "เจ้าภาพปรองดอง" อย่าง คอป. หรือ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ที่มี ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นตัวจักรสำคัญ เพื่อค้นหา "โรดแมพปรองดอง" หรือแผนที่เดินทางเพื่อก้าวข้ามความขัดแย้งครั้งรุนแรงที่สุดของสังคมไทย
บทบาทของ คอป.หลังเปลี่ยนรัฐบาลจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่
ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คือเราทำมาตลอดอยู่แล้ว การทำงานของเราทำตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เราตั้งโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี จึงไม่ได้หมดสภาพเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล ฉะนั้นก็ต้องทำต่อ

บรรยากาศบ้านเมืองตอนนี้เป็นอย่างไร บางคนมองว่าเริ่มปรองดองแล้ว แต่บางคนมองว่ายังไม่เริ่มเลย?
ต้องยอมรับว่าบรรยากาศการปรองดองชัดเจนขึ้นตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งที่มีภาค ธุรกิจและภาคประชาสังคมออกมาเคลื่อนไหว ช่วงหาเสียงทุกพรรคก็พูดเรื่องความปรองดอง เมื่อผ่านการเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่มีแนวโน้มจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ก็พูดเรื่องปรองดองว่าเป็น ภารกิจสำคัญ ทำให้เกิดกระแสในสังคมว่าต้องการความปรองดอง กระแสแบบนี้ก็จะทำให้ คอป.ทำงานง่ายขึ้น
แต่การทำงานของเรา สิ่งสำคัญที่สุดคือตัว "อ." ตัวย่อของเราคือ คอป. ตัว "อ." หมายถึงอิสระ นี่คือสิ่งสำคัญที่สุด ช่วงรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ แม้บรรยากาศของบ้านเมืองจะไม่เอื้อต่อการทำงานมากนัก แต่ คอป.ก็ได้รับอิสระสูงมาก เพราะรัฐบาลไม่เคยเข้ามาแทรกแซงเลย จึงหวังว่าต่อไปนับจากนี้จะได้รับอิสระเหมือนเดิม

แนวทางการทำงานที่จะเดินหน้าต่อไปคืออะไร
เราก็ได้คุยกับเครือข่ายว่าจะเดินหน้าอย่างไร ซึ่งได้เชิญมาหมดทั้งเครือข่ายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนักสันติวิธี นักวิชาการ และภาคประชาสังคม (ประชุมไปเมื่อวันที่ 7 ก.ค.) สิ่งสำคัญที่สุดที่ทางเครือข่ายของเราแสดงท่าทีออกมาก็คือ ต้องมีความเป็นอิสระและปลอดจากการแทรกแซงโดยฝ่ายการเมือง
ส่วนแนวทางการทำงานต่อไปเมื่อบรรยากาศเป็นแบบนี้ เราก็ตั้งเป้าสูงกว่าเดิม คือเดิมเราตั้งเป้าแค่ว่าป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงในระยะเฉพาะหน้า คือป้องกันไม่ให้ตีกันอีกก็ดีใจแล้ว แต่เมื่อบรรยากาศดีขึ้น เราก็ตั้งเป้าสูงขึ้น และกำหนดทิศทางว่าจะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติและประชาชน

แต่เดิมตั้งเป้าไว้ขนาดไหน?
จริงๆ คณะกรรมการในลักษณะ TRC (Truth and Reconciliaton Committee) มีการตั้งและทำงานมาแล้วประมาณ 40 ประเทศ คือทำความจริงให้ปรากฏ กับเดินหน้าสร้างความปรองดองสมานฉันท์ไปพร้อมกัน แต่ประสบการณ์ของประเทศต่างๆ ทั้งหมดตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาในช่วงที่ความขัดแย้งจบไปแล้ว คือตีกันไปแล้ว มีคนตายไปเยอะแล้ว กระทั่งสังคมทั้งสังคมเห็นตรงกันว่าถึงเวลาที่จะปรองดองกัน หันหน้าเข้าหากัน เพราะหายนะเกิดขึ้นแล้ว จึงตั้ง TRC ขึ้นเพื่อเดินหน้าปรองดอง
แต่ของบ้านเราแปลกและไม่มีประเทศใดเหมือนเลย คือตั้ง TRC ระหว่างที่ความขัดแย้งยังไม่จบ และยังตั้งโดยคู่ขัดแย้งด้วย นี่เป็นเรื่องแปลกมาก และทั่วโลกก็จับตามองเรา เพราะบรรยากาศที่สังคมเห็นตรงกันหมดว่าต้องหันหน้ามาปรองดองกันมันยังไม่ เกิด ฉะนั้นเราจึงตั้งเป้าเอาไว้เบื้องต้นว่าเราคือ Truth for Reconciliation คือทำความจริงก่อน และป้องกันไม่ให้ตีกันเฉพาะหน้าก่อน ส่วนกระบวนการปรองดองสมานฉันท์จะเป็นลำดับต่อไป
เบื้องต้นคิดไว้แค่นี้ และเราก็ถือว่าทำได้สำเร็จ แต่เมื่อเกิดการเลือกตั้งแล้วบรรยากาศเปลี่ยนไป สังคมเห็นตรงกันว่าเป้าหมายของบ้านเมือง เป้าหมายของการเลือกตั้งคือปรองดอง ก็ทำให้บรรยากาศดีขึ้น เราก็ทำงานง่ายขึ้น และปรับเป้าหมายให้ชัดเจนขึ้นว่าจะเดินหน้าเรื่องปรองดองไปพร้อมกันได้ โดยสร้างกระบวนการต่างๆ ขึ้นมา

หลายคนยังนึกภาพไม่ออกว่าจะปรองดองได้อย่างไร
เราจะเริ่มจากทำความจริงจากความขัดแย้ง ทำให้สังคมไทยได้เห็นภาพสะท้อนว่าความขัดแย้งเกิดจากอะไร คือค้นหาความจริง และวิเคราะห์สาเหตุก่อน จากนั้นจึงค่อยมาหาทางออกร่วมกันว่าจะทำอย่างไรถึงจะยุติความขัดแย้งนั้น
ทางออกมีหลายวิธี แต่ คอป.ไม่ใช่คนบอก ต้องให้สังคมเป็นคนบอกเมื่อเดินไปถึงจุดนั้น บางคนอาจจะบอกให้จำ บางคนอาจจะบอกให้ลืม ซึ่งแต่ละด้านมันก็จะมีวิธีการตามหลักวิชาการออกมารองรับ แต่เราคงไม่ไปชี้เองว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เราต้องฟังสังคม

คนอยากรู้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เช่น ใครเป็นคนยิงประชาชน คอป.จะมีคำตอบหรือไม่
ตรงนั้นก็ต้องให้ความสำคัญ และต้องไม่ลืมผู้ที่ได้รับผลกระทบด้วย เรื่องหนึ่งที่ต้องทำให้เร็วที่สุดคือดูแลผู้ได้รับผลกระทบให้ได้รับการ เยียวยาอย่างดีที่สุดอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งเรื่องนี้ต้องทำเป็นอย่างแรก

แต่ตลอดมามีการเรียกร้องให้เปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งหมดเพื่อหาผู้รับผิดชอบ?
ใช่ครับ แต่ความรับผิดชอบมีหลายวิธี สิ่งแรกที่ทำได้ทันทีคือดูแลผู้สูญเสีย ทั้งเรื่องทางกาย ความรู้สึก ส่วนการจะลงโทษเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหรือไม่ จะลงโทษฝ่ายอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความรุนแรงด้วยหรือไม่ ต้องดูความจริงทั้งหมด เพราะตอนนี้คนมองความจริงเป็นส่วนๆ ซึ่งจริงๆ แล้วมองอย่างนั้นมันไม่จบ
เช่น เราไปพูดเรื่องการลงโทษผู้ที่ทำให้เกิดความสูญเสียเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 (วันปฏิบัติการกระชับพื้นที่) อีกฝ่ายก็จะถามว่าแล้ววันที่ 10 เม.ย.2553 ล่ะ (เหตุการณ์ที่สี่แยกคอกวัว)  ฉะนั้น คอป.จะไม่พูดไปก่อน แต่เราจะตรวจสอบความจริงทั้งเรื่องเพื่อหาสาเหตุ และวิเคราะห์โดยใช้หลักวิชาการก่อน จากนั้นจึงจะพิจารณาทางแก้โดยยึดหลักวิชาการเช่นกัน แต่สำคัญที่สุดคือทั้งหมดต้องเป็นความเห็นชอบของสังคม
สิ่งสำคัญที่อยากทำความเข้าใจก็คือ ความจริงที่เราค้นหาไม่ได้มีเป้าหมายอยู่ที่ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แล้วชี้ว่าใครเป็นคนผิด เพราะเราไม่ได้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรม แต่เป้าหมายของการค้นหาความจริงคือการนำไปสู่ความปรองดอง ฉะนั้นการเปิดข้อเท็จจริงก็ต้องมีศิลปะ ต้องดูจังหวะเวลาด้วย

ตอนนี้มีการตั้งคำถามเรื่องนิรโทษกรรมเยอะมาก คอป.มีความเห็นอย่างไร?
ก็เป็นเรื่องที่ฝ่ายต่างๆ พูดกัน แต่ก็มีบางฝ่ายถามว่าเป็นการล้างความผิดหรือเปล่า และจริงๆ แล้วอาจจะพูดกันคนละเรื่องคนละมุมกันอยู่ก็ได้ ทำให้มีกระแสทั้งคัดค้านและสนับสนุน ฝ่ายหนึ่งอาจจะกลัวว่านิรโทษไปแล้ว คนที่ใช้กำลังที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐอาจจะได้ประโยชน์ ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งคิดว่านิรโทษไปแล้วฝ่ายกองกำลังติดอาวุธ เช่น คนชุดดำได้ประโยชน์
ตอนนี้ยังไม่ชัดเลยว่าพูดเรื่องเดียวกันหรือเปล่า เราจึงคิดว่าไม่ควรพูดเรื่องนี้ในตอนนี้ เพราะอาจจะยังพูดกันคนละเรื่อง และอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ เพราะจะมีบางฝ่ายคิดว่าไปล้างผิดให้ใครหรือกลุ่มใดหรือไม่ ถือเป็นประเด็นที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ไม่สามารถตกลงกันได้อย่างรวดเร็ว
จริงๆ แล้วเรื่องการใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ความเป็นธรรมในปัญหาแบบนี้มีหลาย วิธี เช่น เอาผิดอย่างเคร่งครัด ลงโทษอย่างรุนแรง ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่เราอาจจะคุ้นชินกัน แต่พอเอาเข้าจริงๆ แล้วก็อาจมีคำถามอีกว่ากระบวนการบังคับใช้กฎหมายมีความเป็นธรรมหรือไม่ สองมาตรฐานหรือเปล่า ฉะนั้นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่คำตอบของปัญหาลักษณะ นี้เสมอไป
ฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องค้นหาให้ได้ว่าความขัดแย้งเกิดจากอะไรเสีย ก่อน การจะปรองดองได้ต้องรู้ว่าทะเลาะกันเรื่องอะไร ไม่ใช่ยังไม่รู้สาเหตุเลยแล้วจะบอกให้ลืมๆ กันไป เพราะยังมีคนที่สูญเสีย มีญาติผู้สูญเสียอีกเป็นจำนวนมาก ต้องฟังคนเหล่านั้นด้วยว่าเขาต้องการอะไร ทำไปๆ ทุกฝ่ายอาจต้องร่วมกันรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นก็ได้ และความรับผิดชอบอาจไม่ใช่ทางอาญาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ทั้งหมดทั้งสิ้นต้องให้สังคมช่วยกันคิดพิจารณาว่าเมื่อสังคมเจอปัญหา ยากๆ แบบนี้ จะหาทางอออกร่วมกันอย่างไร คอป.เป็นแค่คณะกรรมการชุดเล็กๆ คงไม่ได้ทำอะไรมหัศจรรย์ให้เสร็จได้ในวันเดียว สิ่งที่อยากจะย้ำก็คือ เราต้องค้นหาสาเหตุของความขัดแย้งให้ได้เสียก่อนค่อยพูดถึงวิธีการ ไม่ใช่ไปเอาวิธีการมาพูดก่อน แล้วก็สร้างความแย้งเพิ่มขึ้นอีก

วิธีการที่ว่านี้หมายถึงการนิรโทษกรรมหรือเปล่า?
เรื่องการนิรโทษกรรมนั้น ใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคงจะพูดไม่ได้ และเรื่องนี้ไม่ใช่แค่พรรคการเมืองพูด แต่ต้องให้ทั้งสังคมเป็นคนตัดสิน ปัญหาการทำงานของ คอป.ตอนนี้ก็คือ สังคมยังไม่เห็นภาพความย่อยยับจากความขัดแย้งต่อหน้าต่อตาเหมือนกับในต่าง ประเทศ ทำให้ยังถกเถียงกันในประเด็นต่างๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ดี เพราะถือเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยที่จะช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดหายนะ เหมือนในต่างประเทศ

นิรโทษกรรมคุณทักษิณ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) อยู่ในแผนงานของ คอป.ด้วยหรือไม่?
เราไม่มีแผนอะไรทั้งนั้น ถ้าเราทำงานแบบมีแผนหรือมีธงล่วงหน้าคงวุ่นวายตั้งแต่ต้นแล้ว คงอยู่มาไม่ได้ถึงวันนี้ ผมอยากให้ทุกฝ่ายตั้งสติ และมองปัญหาอย่างเป็นจริง คอป.เป็นเพียงสะพานหรือกลไกเพื่อ 1.หาแนวทางโดยอิงหลักวิชาการว่าจะเดินอย่างไรต่อไป และ 2.สร้างกระบวนการให้เกิดขึ้นไปสู่เป้าหมายนั้นโดยใช้องค์ความรู้ซึ่งเป็นที่ ยอมรับ แม้จะไม่เห็นด้วยเหมือนกันทั้งหมด แต่ต้องเป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายยอมรับได้
ที่ผ่านมาเราก็ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาเล่าประสบการณ์ เพื่อให้ได้รู้ว่าสังคมที่มีปัญหามากกว่าเรา เขาหาทางออกกันอย่างไร ซึ่งหลังจากนี้เราก็จะเชิญมาอีก และพยายามหาช่องทางสื่อสารกับสังคม สร้างกระบวนการให้สังคมรับรู้และมีส่วนร่วมมากที่สุด

ท่าทีของพรรคเพื่อไทยทำให้สังคมบางส่วนหวาดระแวงว่า คอป.อาจจะถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ตรงนี้มีวิธีการป้องกันอย่างไร
เรารับผิดชอบต่อสาธารณะ มีความโปร่งใสในการทำงาน หารือกับเครือข่ายเวลาที่มีเรื่องยากๆ ต้องตัดสินใจ คอป.ไม่ได้ทำงานคนเดียว และที่สำคัญเราต้องดึงองค์ความรู้ต่างๆ เข้ามา และดึงสังคมทั้งสังคมมาร่วมแก้ไขด้วยกัน

คุณทักษิณเป็นกลไกหนึ่งที่จะนำไปสู่การปรองดองด้วยหรือไม่?
เรื่องนี้ผมไม่ทราบ คงต้องไปถามรัฐบาล แต่ถ้ามองว่าคุณทักษิณเป็นคู่ขัดแย้งก็คงใช่ เหมือนกับคนอื่นๆ กลุ่มอื่นๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างความปรองดองเช่นกัน หลังจากนี้กระบวนการสร้างความปรองดองต้องเกิดขึ้น คอป.เป็นองค์กรเล็กๆ ที่จะช่วยทำ ช่วยหาความจิง และหากระบวนการที่จะป้องกันปัญหาให้ได้ในระยะยาว
ที่ผ่านมาเราได้คุยกับหลายๆ ฝ่ายในทางลับตลอด มีการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในเชิงลึกว่าแต่ละฝ่ายเห็นอย่างไรกับแต่ละ ประเด็นที่เป็นความขัดแย้งในสังคมไทยขณะนี้ และตั้งคำถามว่าอะไรคือความปรองดองที่จะเกิดขึ้น

คุยแล้วผลเป็นอย่างไร?
ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันว่าสังคมทุกสังคมต้องเปลี่ยนผ่าน เมื่อโลกเปลี่ยน คนก็เปลี่ยน สังคมก็ต้องเปลี่ยน และทุกสังคมเจอแบบนี้ บ้านเราก็กำลังเจอ และเป็นส่วนหนึ่งของกระแสการเปลี่ยนแปลง ทีนี้การจัดการกับความเปลี่ยนแปลงมีหลายรูปแบบ เช่น ไม่รับรู้ ต่อต้าน หรือสำรวจตัวเองแล้วเตรียมตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง
สำหรับประเทศไทย ช่วงที่ผ่านมาและหลังจากนี้ไปจะเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นคือเครื่องเตือนสติให้เราทำอะไรสักอย่างเพื่อให้การ เปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นและผ่านไปได้โดยสันติ แต่ปัญหาตอนนี้คือแต่ละฝ่ายยังคิดไม่ตรงกันว่าจะเปลี่ยนแปลงไปมุมไหน แต่ละคนมีจินตนาการของตัวเอง จึงยังมีความวุ่นวาย ถ้าปล่อยไปเฉยๆ อาจจะควบคุมไม่ได้ เพราะปัญหาการเมืองกระทบกับสังคม ทั้งสังคมภายในของเราเองและสังคมโลก หากอยู่ในจุดที่เกินควบคุม เราอาจกลายเป็นรัฐล้มเหลว ถ้าไม่เตรียมการให้ดีเราอาจไปสู่จุดนั้นได้เลย
นี่คือสิ่งที่ผมพูดว่าถือเป็นความโชคดีที่เราเจอปัญหาก่อน ไม่ต้องรอให้ฆ่ากันตายเป็นหมื่นเป็นแสนแล้วค่อยเริ่มปรองดอง เพียงแต่เราจะทำให้สังคมตระหนักได้อย่างไรว่าถ้าไม่ปรองดอง หายนะแน่ แล้วจึงสร้างกระบวนการที่เดินไปสู่เป้าหมายด้วยกัน คือสังคมสันติสุข
เท่าที่ผมได้ทำงานมา ได้สัมผัสกับหลายๆ ฝ่าย และได้แลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เห็นตรงกันว่าปัญหาของเรายังแก้ง่ายกว่าอีกหลายๆ ประเทศเยอะ เพราะทุกฝ่ายมีจุดร่วมเดียวกันคือไม่เชื่อเรื่องความรุนแรง
ถ้าลองสังเกตข่าวจากต่างประเทศ หรือติดตามบทวิเคราะห์ของต่างประเทศ จะเห็นว่ามีการคาดการณ์ว่าจะเกิดความรุนแรงขึ้นแน่นอน เช่น หลัง 19 พ.ค.ลุกเป็นไฟแน่ หลังเลือกตั้งลุกเป็นไฟแน่ แต่จริงๆ แล้วก็ไม่เกิด นี่คือจุดร่วมประการแรกคือทุกฝ่ายไม่เชื่อเรื่องความรุนแรง
ประการที่สองคือ ทุกคน ทุกฝ่าย ทุกสี มองว่าประเทศของเราเสียเวลากับความขัดแย้งมามากเกินไปแล้ว และประการที่สาม คือ ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเหมาะสมที่สุดสำหรับ ประเทศไทย จุดนี้แทบไม่มีใครเห็นต่างเลย นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเรายังดีกว่าประเทศอื่นที่ฆ่ากันตายเป็นเบือ เพียงแต่เราต้องเชื่อมั่นว่าเราทำได้ และวิเคราะห์ความขัดแย้งให้ได้ว่าแท้ที่จริงแล้วเกิดจากอะไร

แล้วตอนนี้เราทราบหรือยังว่าอะไรคือต้นเหตุความขัดแย้ง ใช่เรื่องความเหลื่อมล้ำหรือไม่?
ความเหลื่อมล้ำทางทรัพยากรก็เป็นปัจจัยหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งที่มีผลวิจัยรองรับชัดเจนก็คือ คนเสื้อแดงที่มาชุมนุมไม่ได้มีแต่กลุ่มรากหญ้าที่ไม่มีโอกาสเท่านั้น แต่จำนวนมากเป็นคนรุ่นใหม่ที่ต้องการการยอมรับทางด้านความคิดทางการเมือง ประเด็นต่างๆ เหล่านี้ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันของสังคม และต้องหาคำตอบร่วมกัน
ฉะนั้นที่บางฝ่ายเคยมองว่าเป็นเรื่องของคนๆ เดียว หรือกลุ่มเดียวอาจจะไม่ใช่ เพราะชัดเจนว่าความขัดแย้งไม่ได้มาจากเรื่องของคนๆ เดียวอีกต่อไปแล้ว จุดเริ่มต้นอาจจะใช่ แต่ต่อมาได้ขยายวงกว้างไปมาก เรื่องเหล่านี้ต้องมองให้ลึกและเห็นภาพทั้งหมด เช่นเดียวกันคนที่เลือกพรรคเพื่อไทยอาจจะไม่ใช่คนเสื้อแดงทั้งหมด ไม่ได้เลือกเพราะตัวคุณทักษิณทั้งหมด แต่อาจมีคนจำนวนมากที่เลือกเพราะอยากให้ประเทศสงบ เลือกเพราะหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหา
แต่แน่นอนว่าจุดลึกที่สุดของปัญหาคือเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองและความ เหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีน้ำหนักพอๆ กัน ทางออกก็จะต้องจัดระบบสังคมทั้งในและนอกการเมืองให้มีธรรมาภิบาล โปร่งใส และสร้างกระบวนการที่เอื้อต่อการพัฒนาประชาธิปไตย แต่การจะไปถึงจุดนั้นได้ กระบวนการยุติธรรมต้องมีประสิทธิภาพด้วย

ทางออกที่ศึกษาจากประเทศต่างๆ มีรูปแบบอย่างไรบ้าง?
ก็มีหลายรูปแบบ สุดโต่งที่สุดบางประเทศก็ตั้งศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศกันเลย บางประเทศก็ตั้งเป็นคณะกรรมการไต่สวนความจริง ขณะที่บางประเทศก็มองว่าเรื่องผิด-ถูกเป็นเรื่องที่ต้องก้าวข้าม ก้าวพ้น เพราะในความขัดแย้งและความรุนแรงอาจจะมีคนเข้าไปเกี่ยวข้องมาก มีเจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องเยอะ การไปดำเนินคดีทุกคนเป็นหลักพันหลักหมื่นอาจไม่ใช่คำตอบ ฉะนั้นมันมีหลายวิธี มีองค์ความรู้มีหลักวิชาที่เราต้องหยิบมาใช้ เช่น กระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) เป็นต้น
จริงๆ แล้วเรื่องหลักการของกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับบ้านเรา เพราะเราเคยใช้แล้วสมัยที่ทำ 66/23 (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/23) สมัยที่เราแก้ไขปัญหาเรื่องคอมมิวนิสต์ ตอนนั้นก็มีการฆ่ากันตายเยอะแยะ ไม่สามารถจัดการได้ด้วยกระบวนการยุติธรรมปกติ เพราะมีคนที่เกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและพลเรือนที่เข้าป่า การฟ้องคดีอาจจะทำให้บางฝ่ายคิดว่าไม่เป็นธรรมกับตัวเอง ความยุติธรรมอาจไม่เกิดขึ้นได้จริง จึงหันมาใช้ช่องทางนี้
แต่การจะทำแบบนั้นได้ สังคมต้องยอมรับด้วย ซึ่งตอนนั้นทำแล้วก็ไม่มีใครบอกว่าไม่ดี หรือขัดต่อหลักนิติธรรม และสังคมไทยก็ก้าวข้ามความขัดแย้งนั้นมาได้ ส่วนหนึ่งเพราะเรามีผู้นำที่ฉลาด ทำให้สังคมเห็นด้วย แต่หากจะทำแบบนั้นในวันนี้ก็คงยากขึ้น เพราะสังคมเปลี่ยนไปมาก ก็ต้องมาพิจารณากันใหม่ว่ามีวิธีการอย่างไร
สิ่งสำคัญคือสื่อ ต้องไม่เน้นหวือหวา สะใจ เพราะเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ ต้องใช้เวลาและสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้องกับสังคม การเปิดข้อมูลก็เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่ทำกระบวนการปิด แล้วมารับรู้ตอนจบทีเดียว อาจจะต้องเปิดพื้นที่สื่อให้มาคุยกันเรื่องนี้มากๆ แทนละคร ไม่ใช่ดูละครอยู่ทุกวัน แล้ววันหนึ่งมาบอกว่านิรโทษกรรมหรือเปล่า คงไม่ใช่ เพราะเรื่องแบบนี้คงสรุปกันสั้นๆ ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนในโลก
กระบวนการที่เราวางไว้ก็คือ ความจริงคืออะไร จากนั้นก็ค้นหาสาเหตุว่าความขัดแย้งที่นำมาสู่สถานการณ์ที่เป็นอยู่นี้คือ อะไร แล้วก็นำไปสู่ว่าจะสร้างความยุติธรรมได้อย่างไร เช่น ฟ้องคดีกับคนที่ควรฟ้อง สร้างกระบวนการรับผิดชอบสำหรับคนที่ควรรับผิดชอบ และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ต้องแก้กันที่โครงสร้างสังคม ก็ต้องทำไป วิธีคิดของเราเป็นแบบนี้
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง