1. ฝ่ายการเมืองพยายามจะดึงเงินของ ธ.ก.ส. มาถลุงในโครงการจำนำข้าวเพิ่มขึ้นอีกกว่า 60,000 ล้านบาท เพื่อให้สามารถรับจำนำข้าวฤดูการผลิตนาปรัง 2555/2556 ต่อไปได้อาการของโครงการับจำนำข้าวเวลานี้ลักษณะคล้ายคนหน้ามืด เงินขาดมือ แถมหนี้สินล้นพ้นตัว
2. นายบุญไทย แก้วขันตี รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. ออกมาสารภาพว่า การรับจำนำข้าวนาปรังที่จะเริ่มในเดือน เม.ย.นี้ จะใช้เงินประมาณ 150,000 ล้านบาท กำลังดูว่าจะเอาเงินที่ไหนมาใช้ ลำพังสภาพคล่องของ ธ.ก.ส.ทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 190,000 ล้านบาท ต้องใช้ในการดำเนินการปกติทั่วไปของธนาคารประมาณ 160,000 ล้านบาท จึงสามารถจะแคะกระปุกออกให้ใช้ในโครงการจำนำข้าวเพิ่มได้เต็มที่ 20,000 ล้านบาทเท่านั้นผู้บริหาร ธ.ก.ส. ยืนยันว่า “ธนาคารต้องพิจารณาว่าการใช้สภาพคล่องของธนาคารจะต้องไม่กระทบการดำเนินงานปกติของธนาคาร ดังนั้น ส่วนที่ขาดรัฐบาลต้องดำเนินการกู้ หรือเร่งระบายข้าว เพื่อนำเงินมารับจำนำข้าวรอบใหม่”แต่ปัญหาของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ คือ ขายข้าวไม่ออก และได้กู้+ค้ำประกันเงินกู้จนเกือบจะทะลุเพดานไปแล้ว ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถไปค้ำประกันเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจอื่นๆ ได้อีกเลยที่เป็นห่วงกันเวลานี้ คือ กลัวว่าฝ่ายการเมืองจะเข้าไปบีบ กดดัน แทรกแซง หรือบังคับให้ ธ.ก.ส.เอาสภาพคล่องที่ต้องใช้ดำเนินการทั่วไปของธนาคารนำมาใช้ในโครงการรับจำนำข้าวนี้เอาจนได้ถ้าทำสำเร็จ จะต่างอะไรกับ “ปล้น ธ.ก.ส.”?
3. เป็นที่น่าสังเกตว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์เพิ่งจะใช้อำนาจแต่งตั้งบอร์ด ธ.ก.ส.ล็อตใหญ่ ได้แก่ นายมนัส แจ่มเวหา ผู้แทนกระทรวงการคลัง, นายสมชาย ชาญณรงค์กุล ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์, นายวีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ ผู้แทน สปก., นางฤชุกร สิริโยธิน ผู้แทนแบงก์ชาติ, นายประยูร รัตนเมธางกูร ผู้แทนสหกรณ์การเกษตร, นายสมหมาย กู้ทรัพย์, นายธนรัชต์ วิเชียรรัตน์, นายวีรพล ปานะบุตร, นายวศิน ธีรเวชญาณ, นายวิรัติ ศักดิ์จิรพาพงษ์, นายทวีป ตันพิพัฒนกุล และนายยรรยง พวงราช อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์รายชื่อเหล่านี้ หลายคนถูกมองว่าเป็นคนในเครือข่าย อาทิ นายยรรยง เคยแก้ตัวเรื่องของแพงทั้งแผ่นดินสุดลิ่ม, นายสมหมาย ทนายของครอบครัว ร.ต.อ.เฉลิม คดีดาบยิ้ม, นายวศิน เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ยุครัฐบาลสมชาย, นายวิรัติ อดีตผู้สมัคร ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคไทยรักไทย เป็นต้นด้วยเหตุนี้ จึงถูกมองว่า รบ.พยายาม “กระชับพื้นที่”เพื่ออะไร...จะเกี่ยวข้องกับการพยายามบีบเอาเงิน ธ.ก.ส. หรือจะควบคุมการดำเนินการของ ธ.ก.ส. มิให้แข็งข้อ หรือมิให้แพร่งพรายความเสี่ยหายที่อาจจะเกิดจากนโยบายของรัฐบาลหรือไม่?
4. ที่น่ากลัวที่สุด คือ ถ้า ธ.ก.ส. ถูกดึงเข้าไปติดหล่มจำนำข้าว หายนะจะไปตกแก่เกษตรกรไทยทั่วประเทศที่ต้องพึ่งพาเงินทุนจาก ธ.ก.ส.หลายล้านคน (มากกว่าจำนวนชาวนาที่เข้าร่วมโครงการจำนำข้าว)หาก ธ.ก.ส.ขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถดำเนินการตามปกติ จะเป็นอย่างไร? ใครเดือดร้อน... เกษตรกรอย่าลืมว่า ขณะนี้ ธนาคารของรัฐอย่างน้อย 2 แห่ง คือ ธนาคารอิสลาม และเอสเอ็มอีแบงก์ ต่างแบกภาระหนี้เสียแห่งละกว่า 40,000 ล้านบาท ต้นเหตุสำคัญก็มาจากนโยบายหรือการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองเรื่องที่ ธ.ก.ส.จะเกิดปัญหาจากอำนาจการเมือง เกิดขึ้นได้ไม่ยากเลยและเมื่อนั้น ธ.ก.ส. จะกลายเป็น “ธรณีกรรแสง” ทำให้เกษตรกรร้องไห้ทั้งแผ่นดิน!
5. ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เคยวิพากษ์วิจารณ์ ตักเตือน และแนะนำเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวหลายครั้งประเด็นข้อห่วงใยเกี่ยวกับ ธ.ก.ส. อาจารย์นิพนธ์เคยเตือนไว้ก่อนแล้วว่าถ้ารัฐบาลขายข้าวไม่ได้ รัฐบาลก็ไม่ได้คืนเงิน ธ.ก.ส. และถ้า ธ.ก.ส.ปล่อยกู้ไปเรื่อยๆ ในที่สุดเมื่อจะไปกู้เงินในตลาดดอกเบี้ยต้องแพงขึ้น รัฐบาลก็ไม่ค้ำประกันแล้ว ธ.ก.ส.ต้องจ่ายชำระเอง ค่ารับประกันเอง หากกู้เงินมาเข้าโครงการรับจำนำ แล้วรัฐบาลขายข้าวไม่ได้ ท้ายที่สุด ธ.ก.ส.ก็จะมีปัญหาขาดสภาพคล่อง สิ่งที่จะตามมาคืออัตราดอกเบี้ยที่จะกู้ในตลาดจะสูงขึ้น จะกลายเป็นผู้กู้ประวัติไม่ดี ถ้าสภาพคล่องมีปัญหารุนแรงขึ้น จะกระทบเกษตรกร 90% ของครัวเรือนที่กู้เงินจาก ธ.ก.ส. หากวันหนึ่งสภาพคล่องขาดสะดุด ธ.ก.ส.ก็จะไม่มีเงินกู้ให้แก่เกษตรกรในการทำการผลิต นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่การดำเนินนโยบายไปดันประเทศและหน่วยงานต่างๆ ไปสู่สภาวะที่เสี่ยงมากขึ้นทุกที..”.
นอกจากนี้ อาจารย์นิพนธ์ยังเคยท้าด้วยซ้ำว่าโครงการรับจำนำข้าวแบบนี้ไม่สามารถทำได้ตลอดไป และประเทศไทยจะเผชิญกับวิกฤติเข้าสักวันเวลานี้รัฐบาลรู้ดี เพราะมีข้อมูลทุกวัน ขึ้นอยู่กับว่าจะลงจากหลังเสืออย่างไรเท่านั้นเอง
ทีมา:นสพ.แนวหน้า
/////////////////////////////////////////////////////////////////