บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

สมเกียรติยำหนังสือฉาว! แม้วไม่ฉลาดอย่างที่คิด ใช้ภาษาอังกฤษแบบไม่รู้ ชอบพาดพิงถึง'สถาบัน'

thaiinsider

"อ.สมเกียรติ" โพสต์เฟซบุ๊ควิพากษ์หนังสือ "Conversations with Thaksin" ชำแหละเนื้อหาตอนที่ 1-5 "แม้ว"ใช้ภาษาอังกฤษกระท่อนกระแท่น ยกคำพูดTom Plate  ยืนยัน อดีตนายกฯใช้ภาษาอังกฤษแบบคนที่ไม่มีความรู้ ไม่มีทักษะมากพอที่จะสื่อสารให้เจ้าของภาษารู้เรื่องสมบูรณ์ชัดแจ้ง แถมชอบพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์

วันที่ 9 มี.ค.2555 ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการสื่อมวลชนอิสระ อดีตส.ว.สุพรรณบุรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว วิพากษ์หนังสือ "Conversations with Thaksin สนทนา กับ ทักษิณ" By Tom Plate ว่า บทแนะนำหนังสือ โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล

[Plate, Thomas, Conversations with Thaksin - From Exile to Deliverance: Thailand’s Populist TycoonTells His Story, Giants of Asia Series, Marshall Cavendish Editions, Singapore, 2011, 252 pages, ISBN: 978-981-4328-68-5]

[ตอนที่ 1]

ทุกครั้งที่พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร (คุณทักษิณฯ) พูดหรือให้สัมภาษณ์ จะสามารถเรียกร้องความสนใจจากสาธารณชนไทยเสมอ เพราะทุกเรื่องที่คุณทักษิณพูดหรือวิจารณ์จะมีผลกระทบต่อสังคมไทย ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่น้อยก็มาก และหลายเรื่องที่คุณทักษิณพูดก็จะมีผลกระทบต่อคุณทักษิณเองมากยิ่งกว่าน้อย

หนังสือจากการสนทนาเล่มนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ยืนยันความจริงจากความเห็นในย่อหน้าข้างบน

“Conversation with Thaksin” เขียนโดย Tom Plate (ทอม เพลท) จากการสนทนากับคุณทักษิณ ที่นคร Dubai, United Emirates - UAE (ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ ยู.เอ.อี) เป็นการสนทนาในเดือนธันวาคม ปี 2010 แยกเป็นการคุยกันที่บ้านพักชานเมืองในเขต Emirates Hills ของคุณทักษิณสี่ครั้ง ครั้งละสองชั่วโมง และที่ร้านอาหารบนอาคารสูง Burj Khalifa อีกหนึ่งครั้ง ต่อมาอีกครึ่งปี ในกลางปี 2011 มีการสนทนารอบที่หกระหว่างรับประทานอาหารค่ำร่วมกันเป็นการเพิ่มเติมปรับแก้ข้อมูล ตลอดช่วงเวลาทั้งหมดนี้ Tom Plate ยังได้ติดต่อคุณทักษิณฯผ่าน E-mail เป็นระยะๆ, โทรศัพท์คุยกันครั้งสองครั้ง [“a phone call or two” (p.3)], คุยผ่านคอมพิวเตอร์ระบบ Skype ระหว่าง Tom Plate ที่ Los Angeles กับ คุณทักษิณฯที่ Dubai

ปัญหาแรก ที่มักใช้เป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดชอบได้เสมอ หากคุณทักษิณพูดอะไรผิดไปจนอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อผู้อื่นหรือต่อคุณทักษิณเอง หรืออาจจะเป็นความเสียหายต่อความจริงที่มีอยู่แต่เดิม ก็คือปัญหาเรื่องที่ว่าภาษาอังกฤษของคุณทักษิณนั้นไม่ดี คุณทักษิณใช้ภาษาอังกฤษแบบผิดๆถูกๆ ไม่เป็นภาษาอังกฤษที่ฟังรู้เรื่องครบถ้วน เป็นภาษาอังกฤษแบบคนที่ไม่มีความรู้และไม่มีทักษะทางภาษามากพอที่จะสื่อสารให้เจ้าของภาษารู้เรื่องสมบูรณ์ชัดแจ้งได้ Tom Plate ในฐานะผู้สัมภาษณ์และนำบทสัมภาษณ์มาถอดความเพื่อเขียนเป็นหนังสือจึงต้องอธิบายเป็นการออกตัวแต่แรกในคำนำในหน้า (3-4) ว่า:

(3-4)

“… in his enunciation of English, the former  prime minister of Thailand understandably employs Thai-like grammatical constructions and staccato pronunciations that are not difficult to understand in person - but when transcribed exactly as spoken make it next to impossible to easily read. And so for the sake of clarity of meaning and ease of understanding, I have transcribed the conversations from a kind of Thai-literal English to a smoother normal-appearing universal English. To have not done would not only have made the conversations difficult for the reader to follow but would have served to mislead the reader about the clarity and structure of the former prime minister’s thoughts...”

“… ในการพูดภาษาอังกฤษ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยใช้ภาษาเหมือนกับเป็นโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาไทยและการออกเสียงก็กระท่อนกระแท่นตะกุกตะกัก แต่ก็ไม่ยากนักที่จะทำความเข้าใจถ้าหากเป็นเพียงกันคุยกันต่อหน้า - แต่พอนำมาถอดความเป็นประโยคพิมพ์ให้ตรงตามคำพูดแบบคำต่อคำก็ทำให้เกือบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะอ่านรู้เรื่องได้ง่ายๆ ดังนั้นเพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจนและเพื่อให้อ่านรู้เรื่องผมจึงได้นำบทสนทนาที่เป็นเสียงพูดคุยเป็นภาษาอังกฤษแบบไทยๆมาปรับแต่งใหม่ให้ราบรื่นเป็นภาษาอังกฤษแบบปรกติที่ใช้กันเป็นสากล หากไม่ปรับแต่งใหม่ตามที่ว่าแล้ว นอกจากจะทำให้เป็นการยากยิ่งที่ผู้อ่านจะเข้าใจว่าคุยเรื่องอะไรกันแล้ว ก็จะยังทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจผิดในเรื่องโครงสร้างความคิดทั้งหลายของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้อีกด้วย…”

ปัญหาที่สอง คือปัญหาเรื่องการพูดพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย อันเป็นเรื่องที่คุณทักษิณไม่เคยหยุดหรือหลบหลีกที่จะพูดหรือตอบคำถาม และทุกครั้งที่ถูกถามคุณทักษิณก็จะตอบตามที่ใจคิดแล้วก็จะเกิดปัญหาตามมาทีหลังว่าพูดทำไม? มีอะไรในใจลึกซึ้งมากกว่าที่พูดหรืออย่างไร? เป็นการสวนทางกับการแสดงความจงรักภักดี? หรือว่าเป็นการพูดในบริบทแห่งเสรีภาพในสังคมประชาธิปไตย? หรือว่าเป็นเพียงเพราะพูดเป็นภาษาอังกฤษแล้วทำให้เข้าใจหรือแปลความหมายผิดพลาดกันไปเอง โดยคุณทักษิณไม่ได้ตั้งใจจะให้เข้าใจไขว้เขวเช่นนั้น? ก่อนที่จะอ่านแล้วเข้าใจผิดกันไปตลอด 250 หน้าของหนังสือนี้ และเพื่อป้องกันปัญหาการ“หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” คุณทักษิณมิได้เลือกที่จะหลบคำถามหรือไม่ตอบคำถามเรื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและสถาบันพระมหากษัตริย์โดยรวม แต่กลับยินดีที่จะพูดพาดพิงถึงทั้งสองพระองค์และสถาบันพระมหากษัตริย์ตามที่อยากพูดโดยไม่รั้งรอหรือหยุดคิดให้ถ่องแท้

แล้ว Tom Plate ในฐานะผู้เขียนก็เอาทั้งหมดมาพิจารณา ปรับแก้ ตัดแต่ง และตัดทอน ให้เหลือเท่าที่ปรากฏในหนังสือ ลงพิมพ์เฉพาะเนื้อหาที่ Tom Plate คิดว่าจะปลอดภัยจากเงื้อมมือของกฎหมายอาญาไทยว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แล้วจึงลงพิมพ์เฉพาะส่วนของบทสนทนาที่ปรับแต่งแล้วจะปลอดภัยเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะเก็บไว้เผื่อมีการพิมพ์ครั้งที่สองเมื่อสภาวการณ์เปลี่ยนไป รอบรรยากาศและกฎหมายเอื้ออำนวยให้ลงพิมพ์คำวิจารณ์ของคุณทักษิณฯต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ส่วนที่ยังเก็บไว้ได้อย่างเสรี:

(4)

Tom: “Please also note that, given the law of sovereign Thailand, the monarch is accorded special status under le’se majeste’. These pointed laws are designed to provide the King and Queen protection from commentary that might be regarded as critical or disrespectful. Although this book has been, at least initially, published outside of Thailand, and thus is not technically subject to Thailand’s laws, it is intended that the book will be available in Thailand, in perhaps English as well as Thai. It is not the author’s intention or desire to flour these laws, as long as they remain in force, and so the subject matter has been approached appropriately. In this connection, it must be said that at no time did Thaksin Shinawatra in any of these conversations with me anything other than respect for the King and Queen, and any implication on the contrary is not a reflection of the reality of our exchange or anything the former prime minister said or meant to say. However, due to the increasingly assertive degree of prosecution of le’se majeste’, it seemed only prudent for publication and fair to the former prime minister, and his sister Yingluck Shinawatra and his party to hold back certain turns of conversation until the prosecutorial climate change, perhaps for a second edition.”

“ขอได้โปรดบันทึกไว้ด้วยว่าภายใต้อธิปไตยของไทย กฎหมายไทยคุ้มครองสภานภาพพิเศษของสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยหลักการห้ามมิให้ล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ กฎหมายอันเด็ดขาดนี้มีไว้เพื่อปกป้องพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีจากการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆซึ่งอาจเป็นทำนองตำหนิติเตียนหรือการแสดงความไม่เคารพ แม้ว่าหนังสือเล่มนี้แต่แรกเริ่มก็พิมพ์เผยแพร่ในต่างประเทศ ในทางเทคนิคกฎหมายก็ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไทย แต่ในเมื่อตั้งใจไว้ว่าจะเผยแพร่หนังสือนี้ในประเทศไทย ซึ่งอาจมีทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาคภาษาไทย ผู้เขียนจึงมิได้มีความตั้งใจหรือปรารถนาจะให้ไปมีปัญหากับกฎหมายไทย ตราบที่ยังมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่  ด้วยเหตุนี้เรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์จึงได้รับการใส่ใจดูแลอย่างระมัดระวัง สำหรับเรื่องบทสนทนาที่พาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ดังว่านี้ จำต้องขอกล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่าไม่มีตอนใดเลยในบทสนทนากับผมที่คุณทักษิณ ชินวัตร จะแสดงความคิดในทำนองอื่นเลยนอกจากจะแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และพระราชินี และถ้าหากพบว่ามีตอนใดของการสนทนาที่ทำให้เห็นเป็นทำนองตรงข้ามก็ขอให้ถือว่าความเห็นนั้นไม่สะท้อนความจริงในการสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน หรือให้ถือว่าไม่สะท้อนความเห็นที่อดีตนายกรัฐมนตรีได้พูดหรือตั้งใจจะพูด อย่างไรก็ตาม สืบเนื่องมาจากการที่นับวันจะมีการพิจารณาโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกันถี่มากขึ้น จึงย่อมเป็นเรื่องเหมาะสมเพื่อการที่จะพิมพ์เผยแพร่หนังสือ อีกทั้งยังจะเป็นการให้ความเป็นธรรมแก่อดีตนายกรัฐมนตรีและน้องสาวของท่าน คือคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตลอดจนพรรคการเมืองของท่าน ที่เราจะกักเก็บหลายส่วนของบทสนทนาเอาไว้จนกว่าบรรยากาศการลงโทษผู้กระทำผิดคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจะผ่อนคลายลงในอนาคต เผื่อไว้สำหรับการพิมพ์ครั้งที่สอง” (ดูเพิ่มเติมใน Note1 หน้า 24)

แม้จะตัดทอน-กักเก็บบทสนทนาไว้ส่วนหนึ่งแล้ว อีกทั้งได้ขัดเกลาและเขียนใหม่อีกบางส่วน รวมทั้งให้คุณสุรนันท์ เวชชาชีวะ ช่วยแปลเอกสารสิ่งพิมพ์ส่วนที่เกี่ยวกับการยึดอำนาจของฝ่ายทหารในปี 2006/2549 อีกด้วย

ไม่ว่าจะตัดทอนออกไปเท่าใด สิ่งที่พูดไปแล้วแต่ไม่กล้าเอามาลงพิมพ์ก็ยืนยันความจริงอย่างหนึ่งได้ว่าคุณทักษิณพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์มากกว่าและหนักกว่าส่วนที่ลงพิมพ์แน่นอน

(26)

เท่าที่ Tom Plate จะเห็นควรให้ลงพิมพ์ได้ และเท่าที่คุณทักษิณจะเห็นว่าควรให้พิมพ์หรือยกเลิกบทสนทนาบางตอนได้ เพียงเท่าที่เหลือ ว่ากันเฉพาะส่วนที่เอามาลงพิมพ์ได้ ก็มีปัญหาอยู่มากพอแล้ว

ปัญหาของคุณทักษิณอันเกิดจากการสนทนาพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ก็เริ่มอีกครั้ง ด้วยการเต็มใจพูดอย่างเสรี นอกราชอาณาจักรไทย … ใน … “Conversation With Thaksin” โดย Tom Plate

[จบตอนที่ 1]

................................................

[ตอนที่ 2]


“Conversation with Thaksin” ตลอดเล่ม ยึดแนวเรื่องว่า: คุณทักษิณอยากกลับบ้าน อยากกลับเมืองไทยบ้านเกิด เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด มีแต่คนกลั่นแกล้งให้ร้ายป้ายความผิด ทั้งเรื่องการทุจริต และโดยเฉพาะเรื่องที่ถูกกล่าวหาว่าไม่เคารพ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งๆที่คุณทักษิณยืนยันว่ามีความจงรักภักดีแน่นอน คุณทักษิณอยากกลับประเทศไทย อยากกลับมาช่วยพัฒนาประเทศไทย ช่วยเหลือคนยากจน แต่ก็ยังไม่กล้ากลับมา เพราะกลัวว่าจะถูกลอบสังหารชีวิต หากน้องสาวและพรรคเพื่อไทยได้รับเลือกตั้ง ก็น่าจะเป็นโอกาสให้ได้กลับมาเมืองไทยอย่างพ้นผิดได้ทรัพย์สินคืนมา และกลับมาได้อย่างปลอดภัย


บางตอนของบทสนทนา ระหว่าง พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร กับ Tom Plate:


(21)

Tom: “He’s going back even if it kills him … and it just might.”

“ทักษิณจะต้องกลับให้ได้แม้ว่ากลับไปแล้วจะถูกฆ่า… และก็อาจถูกฆ่าจริงๆ”

Thaksin: “2006 coup was dirty deed indeed.”

“การปฏิวัติปี 2549 เป็นเรื่องสกปรกจริงๆ”

Thaksin: “They’re afraid of me, they don’t trust that I’m not out for revenge. But I’m not out for revenge.”

“Even when I am not in Thailand they don’t want me to go back. Because they know they cannot compete directly. So it’s the question of the way I go back. My return must be in a gracious way. And so I have to wait for the right moment. It may be at the end of this year [2011] … in December.”

“No witch-hunt. I think forgiveness is the key. I mean it.”

“I want to forgive and make the whole country forgive each other. Because, if you don’t forgive, you cannot reconcile your country. You cannot be one nation anymore.”

“พวกเขากลัวผม ไม่ไว้ใจผมว่าจะไม่ตามไปล้างแค้น แต่ผมไม่ตามไปล้างแค้นหรอก”

“แม้ว่าผมไม่ได้อยู่ในเมืองไทย พวกเขาก็ยังไม่ต้องการให้ผมกลับไปเมืองไทย เพราะเขารู้ว่าเขาแข่งกับผมตรงๆก็สู้ผมไม่ได้ ดังนั้นมันก็เป็นเรื่องว่าผมจะกลับไปอย่างไร การกลับ ประเทศไทยของผมต้องไปอย่างมีเกียรติ ผมจะต้องคองจังหวะที่เหมาะสม  อาจเป็นตอนปลายปีนี้ [2554] … เดือนธันวาคม

Thaksin: “I definitely want to return.”

(30-31)

Thaksin: “You know, Thailand has never been as bad as in the last four years. In the four years before that, we were able to gradually improve ourselves in the

human rights area and in democracy development. I feel terrible that Thailand has slipped so much. You know why it has gone bad so quickly? Because of the

misunderstandings about me, they [PAD leaders, military leaders] were trying to get me too much, until they used all kinds of forces against me without any

consultation, or even discussion with me. It’s mostly due to a great misunderstanding … they allege that I am not loyal to the Thai monarchy. So they

thought that they would make the monarchy so happy with them by getting me. [content here deleted] The media are prejudiced against me and my supporters,

and my supporters feel that this is not fair, with the result that more and more supporters join us every day. But they still keep doing the same bad things against

me without any principle.”

“คุณรู้ไหม? ประเทศไทยไม่เคยเลวร้ายเท่ากับเมื่อสี่ปีที่ผ่านมาเลย เมื่อสี่ปีก่อนหน้าสี่ปีที่แล้ว เราสามารถปรับปรุงตัวเราให้ดีขึ้นอย่างช้าๆในเรื่องสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาประชาธิปไตย ผมรู้สึกแย่มากๆที่ประเทศไถลลื่นต่ำลงมามาก คุณรู้ไหมว่าทำไมมันจึงเลวลงอย่างรวดเร็วนัก? ก็เป็นเพราะการเข้าใจในตัวผมอย่างผิดๆนั่นเอง พวกเขา [พันมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และผู้นำทหาร] พยามตามไล่ล่าผมมากเกินไป พวกเขาใช้กำลังทุกรูปแบบเพื่อกำจัดผม พวกเขาไม่เคยปรึกษาหารือผมเลย จะมาถกเถียงประเด็นอะไรกับผมก็ไม่เคยทำ ส่วนใหญ่มันเป็นเรื่องเข้าใจผิดกันอย่างใหญ่หลวง … พวกเขากล่าวหาว่าผมไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย พวกเขาคิดกันเอาเองว่าพระมหากษัตริย์คงจะทรงยินดีกับพวกเขา หากพวกเขากำจัดผมได้ [ข้อความตอนนี้ถูกตัดออก] พวกสื่อมวลชนก็มีอคติลำเอียงต่อต้านผมและผู้สนับสนุนฝ่ายผม แล้วผู้สนับสนุนผมก็รู้สึกว่ามันไม่ยุติธรรม ผลก็คือผู้สนับสนุนผมเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างโตวันโตคืน แต่พวกเขาก็ยังทำสิ่งเลวๆต่อต้านผมอยู่ซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างไม่ลดราวาศอกทำแบบไม่มีหลักการอะไรเลย”

คุณทักษิณเชื่อว่าเหตุผลของคณะทหารนำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจและล้มรัฐบาลของคุณทักษิณมีเรื่องสำคัญเรื่องเดียวคือข้อกล่าวหาเรื่องไม่จงรักภักดี ไม่เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์:

(28)

Thaksin: “… if you want to protect the institution of the monarchy of Thailand, if that is your goal, democracy is a good vehicle and good tool to protect the monarchy, not dictatorship.”

“… หากคุณต้องการที่จะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์, ถ้านั่นคือเป้าหมายของพวกคุณ, ประชาธิปไตยก็จะเป็นพาหนะที่ดีและเป็นเครื่องมือที่ดีในอันที่จะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่ระบอบเผด็จการ” คุณทักษิณคิดว่าตัวเองไม่ได้ทำผิดอะไรเลย ไม่สมควรที่จะถูกทำลายโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ที่ยึดอำนาจเมื่อปี 2549:

(29)

Thaksin: “… time is on my side. Because I have done nothing wrong. The longer the wait, the more likely that the truth will be revealed as being on my side, they have done a lot of things just to justify something which is not true. So the longer they do this, the longer they go on like this, the more they get trapped. So what I have said is that I can wait, because in the end, there must be reconciliation, otherwise Thailand will not be prosperous. Thailand will not be a smiling country anymore.”

“… เวลาเข้าข้างผม เพราะว่าผมไม้ได้ทำอะไรผิด ยิ่งรอเวลานานเท่าไร ยิ่งเป็นโอกาสที่ความจริงจะปรากฏ จะเป็นความจริงที่เข้าข้างผม พวกเขาทำอะไรหลายอย่างเพี่ยงเพื่อให้มีเหตุผลสนับสนุนเรื่องที่มิใช่ความจริง ดังนั้นยิ่งพวกเขาทำอะไรๆไปนานเท่าได ยิ่งนานไปนานไปพวกเขาก็จะไปติดกับดักเอง ดังนั้นเรื่องที่ผมพูดอยู่ก็คือ ผมรอได้ เพราะในที่สุดก็จะต้องมีการปรองดองกันในชาติ ไม่อย่างนั้นประเทศไทยก็จะไม่มั่งคั่งร่ำรวย เมืองไทยจะไม่เป็นเมืองยิ้มอีกต่อไป”

คุณทักษิณเริ่มการสนทนาด้วยความมุ่งมั่นที่จะทนรอให้ฝ่ายทหารกองทัพไทย “ติดกับดัก” เสียก่อน จะกับดักอะไรก็แล้วแต่ จะนานแค่ไหนก็รอได้ แล้วจะถึงวันที่คุณทักษิณจะกลับบ้านได้ เป็นการประกาศสงครามด้วยยุทธการแห่งการรอคอย ปล่อยให้ศัตรูทำลายตัวเองในระยะยาว เมื่อประกาศศักดาไว้ชัดเจนแล้ว คุณทักษิณก็พยายามอธิบายปัญหาใหญ่ที่ตนเองไม่คิดว่าตนเองเป็นตัวปัญหาที่แท้ จริง แต่ฝ่ายศัตรู (ฝ่ายทหาร) สร้างเรื่องให้ดูเป็นจริง

ยิ่งอธิบายก็ยิ่งลงลึก ยิ่งพูดก็ยิ่งยุ่ง Tom Plate ถามนำบ่อยครั้ง ราวกับจะล่อให้คุณทักษิณติดกับดักแห่งยุทธศาสตร์การสัมภาษณ์เช่นกัน ชวนคุณทักษิณคุยเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ไร คุณทักษิณจะเดินเข้ากับดักทีนั้น ทุกทีไป

Tom Plate เป็นสื่อมวลชนตะวันตกอีกรายที่ประสพความสำเร็จในการวางกับดักคุณทักษิณ:

(30)

Tom Plate ถามนำ:

“Now, talking about what you can do other than going back as prime minister, or if you do go back, going back in some important capacity for the Crown.”

“เอาหละครับ เรามาคุยกันเรื่องที่ว่าจะมีะไรให้คุณทำ นอกจากจะกลับไปเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ถ้าคุณได้กลับไปเมืองไทยจริงๆ คุณจะกลับไปรับงานที่มีความสำคัญโดยทำงานให้กับพระเจ้าอยู่หัวไหม?”

คุณทักษิณเดินหน้าตอบคำถามอย่างเต็มความ หรืออาจจะเกินความที่ถามด้วยซ้ำ:

(31)

Thaksin: “… over the past four-and-half-years since I left, it has been just like this --- because of one perceived problem: Thaksin is not loyal to the monarchy, which is not true. Which is not true! They make it up in their own imagination, and they move all the political reality  in the direction of their own imagination, which is a bad imagination.”

“ในช่วงสี่ปีครึ่งหลังจากผมออกมานอกประเทศไทยแล้ว เรื่องมันเป็นแบบนี้เลย --- คือว่ามันเป็นเรื่องการรับรู้ปัญหาตามที่อยากจะมอง คือ: ทักษิณไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์, ซึ่งมันไม่จริง ไม่จริง จริงๆเลย! พวกเขากุเรื่องขึ้นมาเองตามจินตนาการที่สร้างเอาเอง พวกเขานำพาการเมืองเข้าไปในทิศทางแห่งจินตนาการของพวกเขากันเอง ซึ่งมันเป็นจินตนาการชั้นเลว”

(33)

Tom: “But if you do go back, do you have to be prime minister? Could you go back as minister-mentor, like Lee Kuan Yew of Singapore used to be for years?”

“แต่ถ้าคุณจะกลับไป จำเป็นไหมที่คุณจะต้องกลับไปเป็นนายกรัฐมนตรี? คุณจะกลับไปเป็นรัฐมนตรีที่ปรึกษาอาวุโสให้กับนายกรัฐมนตรีแบบที่นายลีกวนยูของสิงคโปร์เคยเป็นอยู่หลายปีได้ไหม?”

Thaksin: “I don’t have to be anything.”

“ผมไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรทั้งนั้น”

Tom: “Could you go back as Sonia Gandhi? The power behind the throne of India?”

“คุณจะกลับไปเป็นแบบโซเนีย คานธี มีอำนาจอยู่เบื้องหลังเก้าอี้นายกรัฐมนตรีอินเดียได้ไหม?

Thanksin: “I do not need to involve myself in politics. For example, if the monarchy were kind enough to appoint me as an advisor to the Crown Property. I can help Crown Property do better financially. So, if I were appointed to any position by the Palace, I cannot be involved in politics. That kind of appointment would have the effect of forcing me not to get involved in politics.”

“ผมไม่จำเป็นเลยที่จะเอาตัวเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ยกตัวอย่างหน่อยว่าถ้าพระมหากษัตริย์จะทรงมีพระเมตตามากพอที่จะแต่งตั้งให้ผมเป็นที่ปรึกษาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผมก็สามารถที่จะทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีเงินมากขึ้น ดังนั้นถ้าทางพระราชวังแต่งตั้งให้ผมได้รับตำแหน่งอะไรในวังก็ได้ มันก็จะทำให้ผมไปยุ่งกับการเมืองไม่ได้ ตำแหน่งในวังแบบนั้นจะมีผลบังคับให้ผมไม่อาจเล่นการเมืองได้”

Tom: “So you might accept the Palace appointment?”

“ถ้าอย่างนั้นคุณก็อาจรับตำแหน่งที่แต่งตั้งโดยพระราชสำนักใช่ไหม?”

(34-35)

Thaksin: Yes. But I don’t want to have a Privy Councilor position [in Thailand a very important posting]. I don’t want to be anything that is ambitious. I just want to prove that I don’t mind being anything, but I want to prove that I am beneficial to my country and my people… When I go back, definitely, I should be appointed something to be beneficial for the country and the people.”

“ใช่ครับ แต่ผมไม่อยากได้ตำแหน่งองคมนตรี [ในประเทศไทยตำแหน่งนี้สำคัญมาก] ผมไม่ต้องการทะเยอทะยานถึงขนาดนั้น ผมต้องการเพียงพิสูจน์ว่าผมเป็นประโยชน์ต่อประเทศของผม และ ประชาชนของผม… เมื่อผมได้กลับไป แน่นอนว่าผมควรจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอะไรสักอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน”

[จบตอนที่ 2]

........................................

[ตอนที่ 3]


เมื่อ Tom พาคุณทักษิณเข้าสู่การสนทนาเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ได้แล้ว ไม่ต้องถามเพิ่มเติม คุณทักษิณก็พูดเสริมโยงใยไปถึงเรื่องที่ติดค้างในใจของตนเองออกมาอย่างละเอียด:

(36)

Thaksin: “Well, you know in Thailand, the government officials, the military … they… [don’t do] anything until they get a signal. Even during the effort recently to bail our arrested Red Shirt leaders out of jail, we talked to the judges, and we asked for leniencies … to let them out, you know. This is not a political thing. By our Constitution the government is supposed to grant bail for every criminal because it’s their duty to grant bail, except in certain circumstances, and so we wanted to protect their rights, but the judges would not allow bail for the Red Shirts. And when we asked a judge why, the judge said, ‘There is no signal.’ And we said ‘Are you the judge or not?’ The judge has been hired to judge, not to look for signals, right? But the judge says to us, ‘I got no signal.’ So it looks like everyone is just waiting for signals.”

“อืมม์ เมืองไทยมันเป็นอย่างนี้ เจ้าหน้าที่รัฐ ทหาร … ใครต่อใคร … [ไม่ทำอะไร] กันเลยจนกว่าจะได้รับสัญญาณ แม้กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ตอนที่เราพยายามจะขอประกันตัวพวกผู้นำคนเสื้อแดงของเราให้พ้นจากการถูกคุมขัง เราไปคุยกับผู้พพิพากษาหลายคน และเราขอความเมตตาจากท่าน … ขอให้ปล่อยตัวพวกเรา นี่มันไม่ใช่เรื่องการเมือง คุณก็คงรู้ ตามรัฐธรรมนูญของเรารัฐบาลลควรจะให้ประกันตัวอาชญากรทุกคน เพราะมันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ยกเว้นในบางกรณีเป็นการเฉพาะ ดังนั้นพวกเราต้องการปกป้องสิทธิ์ของพวกเขา แต่คณะผู้พิพากษาก็ไม่ยอมให้ประกันตัวคนเสื้อแดง พอเราถามผู้พิพากษาคนหนึ่งว่าทำไมจึงไม่ให้ประกันตัว  ผู้พิพากษาคนหนึ่งบอกว่า ‘ไม่มีสัญญาณ’  เราก็เลยบอกว่า ‘ท่านเป็นผู้พิพากษาจริงๆหรือเปล่าล่ะ?’ ผู้พิพากษาถูกจ้างให้มาทำหน้าที่พิพากษา ไม่ใช่ให้มารอดูสัญญาณ ใช่ไหม? แต่ผู้พิพากษาคนนั้น ก็บอกกับเราว่า ‘ผมยังไม่ได้รับสัญญาณเลย’ ดังนั้นมันก็ดูเหมือนกับว่าทุกคนเอาแต่รอดูสัญญาณ”

คุณทักษิณก็ไม่ยอมพูดให้ชัดว่า “สัญญาณอะไร? มาจากใคร? ที่ไหน?” ปล่อยให้เป็นเรื่องกำกวมให้คาดเดากันต่อไป แต่ที่สับสนก็คือคุณทักษิณเอารัฐบาลมาปนกับศาล บอกว่าเป็นหน้าที่รัฐบาลแต่กลับไปคุยกับศาลแล้วโทษศาลว่าไม่ทำตามที่รัฐบาล ควรทำ เป็นความสับสนของคุณทักษิณในความไม่รู้เรื่องรัฐธรรมนูญ และไม่เข้าใจว่ารัฐบาลเป็นฝ่ายบริหาร แต่ศาลเป็ยฝ่ายอำนาจยุติธรรม อำนาจอธิปไตยทั้งสองที่แยกกันมานานกว่า 70 ปีแล้ว ส่วนเรื่องการประกันตัวผู้ต้องหาก็ไม่เคยมีกฎหมายให้อำนาจรัฐบาลสั่งศาลให้ ประกันตัวใครได้ ยิ่งเป็น “อาชญากร”ด้วยแล้ว ศาลเองก็ไม่มีอำนาจหรือหน้าที่ที่จะต้องให้ประกันตัว “อาชญากร” โดยอัตโนมัติ

นี่เป็นอีกตอนหนึ่งที่คุณทักษิณพูดโดยไม่หวาดหวั่นข้อหาหมิ่นศาล!

คุณทักษิณคุยกับผู้พิพากษาคนไหนที่พูดเรื่อง “สัญญาณ”?

แล้วใครเล่าที่คุณทักษิณกล่าวหาว่าเป็นผู้ส่งสัญญาณ?

ถึงคุณทักษิณไม่พูดให้ชัด คำถามของ Tom Plate ที่ตามมาติดๆในหน้า 37

ก็คือการส่งสัญญาณของ Tom หรือ คุณทักษิณ เรื่องเรื่อง “ผู้ส่งสัญาณ” ที่คุณทักษิณอ้างถึงอย่างกำกวมมาก่อนหน้านี้ คราวนี้ Tom ถามแรงมาก ไม่นึกว่าคุณทักษิณจะตอบ ไม่คิดว่าคุณทักษิณควรตอบ หากมีความจงรักภักดี:

(37-38)

Tom: “Who can talk to the King and Queen of Thailand? The Pope? Allah? Buddha? Whom do they listen to?

“ใครบ้างที่พอจะกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีแห่งประเทศไทยได้? พระสันตะปาปาหรือ? อัลเลาะห์ได้ไหม? พระพุทธเจ้าล่ะจะพอได้ไหม? พระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีจะทรงรับฟังใครบ้าง?



คำถามของ Tom หนัก เอียง และแรงเหลือหลาย คุณทักษิณไม่ท้วง หรือวิพากษ์คำถามย้อนกลับไปเลย ราวกับว่าทั้งคุณทักษิณและทอมพูดภาษา “สัญญาณ” เดียวกัน:

Thaksin: “Well, His Majesty respects international opinion. So if it is world opinion that this is time for Thailand to reconcile, and there is consultation with His Majesty, and they give him some ideas, then His Majesty might come to think that okay, this is the solution. I do believe that that will be a solution.”

“ผมว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงเคารพความเห็นจากนานาประเทศ ดังนั้นถ้าหากมันเป็นความเห็นของชาวโลกว่าถึงเวลาแล้วที่เมืองไทยจะต้องปรองดองกัน และให้มีการกราบบังคมทูลปรึกษาหารือกับพระเจ้าอยู่หัวแล้วให้ความคิดบางอย่างกับพระองค์สักหน่อย ถ้าได้อย่างนั้นพระองค์ก็อาจกลับมาทรงคิดได้บ้างว่า เอาหล่ะ นี่เป็นทางออก ผมเชื่อว่านั่นคือทางออกในการแก้ปัญหา”

Tom ลากคุณทักษิณลงลึกมากขึ้น ติดกับดักแห่งคำถามนำสนิทแล้ว:

Tom: “… Supposing someone of respect --- Ban Ki-moon, the United Nations Secretary General --- supposing he were to go to Bangkok and to talk to the King, and say, ‘There has been all this turmoil and bloodshed, this is not good for Thailand. Why can’t there be reconciliation? Would the King listen? Would the King receive him?

“… สมมุติว่าจะมีคนที่น่าเคารพสักคน --- เช่นนายบัน คี-มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ--- สมมุติว่าให้ท่านไปกรุงเทพฯ แล้วเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัว โดยบอกว่า ‘ความวุ่นวายและการนองเลือดทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้นมันเป็นสิ่งไม่ดีสำหรับประเทศไทยเลย ทำไมจึงปรองดองกันไม่ได้?’ พระเจ้าอยู่หัวจะทรงรับฟังไหม? พระองค์จะให้นายบัน คี-มูน เข้าเฝ้าไหม?”

Thaksin: “I think that given Ban’s position, the King will welcome him. That kind of high-level position is the right position to provide international leadership because His Majesty is very senior. He is the most senior head of state.”

“ผมว่าโดยตำแหน่งของนายบัน คี-มูน พระเจ้าอยู่หัวจะทรงต้อนรับท่านแน่ ตำแหน่งระดับสูงเช่นนั้นเป็นตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสมในอันที่จะเป็นผู้นำระดับนานาชาติ เพราะพระเจ้าอยู่หัวทรงพระชนมายุระดับอาวุโสมาก พระองค์ทรงเป็นประมุขของประเทศที่ทรงอาวุโสมากที่สุด”

………………………

“Yes, It’s the job of Ban to express his leadership to express his leadership publicly and have it honored. This is not a matter of international intervention by the UN, it is not just an internal affair at all. This trouble affects the whole region, and really affect the future of democracy and affects the status of human rights. It’s his duty to do so.”

“ครับ ผมว่ามันเป็นงานในหน้าที่ของนายบัน คี-มูน ที่จะต้องแสดงความเป็นผู้นำให้ปรากฏต่อสาธารณชน และแสดงตนให้สมกับเกียรติที่มี เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการแทรกแซงจากต่างประเทศโดยสหประชาชาติ  มันไม่ใช่แค่เรื่องกิจการภายประเทศเท่านั้น ปัญหาวุ่นวายนี้มันกระทบทั้งภูมิภาค แล้วยังกระทบอนาคตของประชาธิปไตยด้วย กระทบเรื่องสถานภาพสิทธิมนุษยชนอีกด้วย มันเป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องทำเรื่องนี้”

Tom: Who, the King?

“หมายถึงใคร พระเจ้าอยู่หัวหรือ?

Thaksin: No, Ban Hi-moon’s. His duty. He must do it. But I don’t know that he has the courage to do it. He is the right person, because he is the one who upholds the international standard of human rights, raises questions about war crimes, supports the International Criminal Court. You know, eventually these issues [of]  political violence in Thailand] will go to the ICC, regardless, so the more things are prolonged…”

“ไม่ใช่ ผมหมายถึงนายบัน คี-มูน เป็นหน้าที่ของท่าน ท่านต้องทำ แต่ผมไม่รู้ว่าท่านจะกล้าทำไหม ท่านเป็นคนที่เหมาะสมแล้ว เพราะท่านเป็นคนที่มีหน้าที่รักษามาตรฐานระดับนานาชาติในเรื่องสิทธิมนุษยชน ตั้งคำถามในเรื่องอาชญากรรมสงคราม สนับสนุนศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ คุณก็รู้ว่าในที่สุดประเด็นต่างๆเหล่านี้ [เรื่องความรุนแรงทางการเมืองในประเทศไทย] จะต้องไปสู่ศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นยิ่งถ่วงเวลาออกไปนานเท่าใด…”

Tom: The worse it is for Thailand.”

“ก็ยิ่งเลวร้ายมากขึ้นสำหรับประเทศไทย”

Thaksin: “Yes. But I am afraid that he doesn’t have the courage,”

“ใช่แล้ว แต่ผมเกรงว่าท่านคงจะไม่มีความกล้าหาญมากพอ”

Tom: Who, the King?”

“หมายถึงใคร พระเจ้าอยู่หัวหรือ?

Thaksin: “No! Ban.”

“ไม่ใช่! ผมหมายถึงนายบัน”

คุณทักษิณตอบคำถามที่ Tom สมมุติคำถามขึ้นมาเองทั้งนั้น คำถามสมมุติโดยไม่มีความจริงเป็นฐานนี้ เรียกว่า “hyperthetical question” เป็นการถามลวงถามนำที่นักข่าวนิยมถาม แต่นักการเมืองที่ชำ่ชองเวทีมักจะไม่ตอบ นอกจากจะบอกว่า “I can’t answer a hypertetical question”

[จบตอนที่ 3]

...........................................

[ตอนที่ 4]

Tom ถามต่อ ในช่วงที่คุณทักษิณเริ่มเผชิญวิกฤติการเมือง:

(171)

Tom: “Now, when you told the King that you would not stay as prime minister, even if your party won the election, which it was very probably going to do … what was the King’s reaction?

“ตอนนี้ ตอนที่คุณกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวว่าจะไม่อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป แม้ว่าถ้าหากพรรคของคุณจะชนะเลือกตั้งก็ตาม ซึ่งดูท่าทางก็คงจะชนะเลือกตั้งจริงๆ … แล้วพระเจ้าอยู่หัวทรงมีปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง?

Thaksin: “His Majesty just acknowledged what I told him.”

“พระองค์เพียงทรงแสดงว่ารับทราบเรื่องที่ผมกราบบังคมทูลเท่านั้น”

Tom: “You told him directly?”

“คุณกราบบังคมทูลต่อพระพักตร์โดยตรงเลยหรือ?”

Thaksin: “Yes, I told him myself, in the Palace.”

“ครับ ผมกราบบังคมทูลโดยตรงในพระราชวัง

Tom: “He just nodded or something?

“พระองค์ทรงทำเพีงแต่พยักพระพักตร์เท่านั้นหรือ?

Thaksin: No, no, he just gave the feeling he heard. It’s His Majesty’s way, you know, not to seem so involved. Aloof. Aloof. He receives the information, processes it, but no reaction.”

“ไม่ ไม่ พระองค์เพียงแค่ทรงทำให้รู้สึกได้ว่าได้ยินแล้ว เป็นวิธีของพระองค์ คุณรู้ไหม พระองค์จะทรงดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวข้องอะไรด้วย อยู่ห่างๆเลย ห่างๆไปเลย พระองค์ทรงรับข้อมูลแล้วผ่านกระบวนการรับรู้ แต่ก็ไม่มีปฏิกิริยาใดๆเลย”

ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของหนังสือ “Conversation with Thaksin” เล่มนี้ก็คือเรื่องที่คุณทักษิณกล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์มากกว่า ที่ปรากฏในหนังสือ แล้วส่วนที่ตัดออกไม่กล้าพิมพ์โดยอ้างว่ากลัวจะละเมิดกฎหมายอาญาว่าด้วยการ หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น

คุณทักษิณพูดว่าอย่างไร? มีความสำคัญถึงขนาดขอเก็บไว้พิมพ์ในการพิมพ์ครั้งที่สองเมื่อประเทศไทยยกเลิกกฎหมายอาญาส่วนที่เกี่ยวข้องเชียวหรือ?

คุณทักษิณพูดว่าอย่างไร? หรือว่าส่วนที่ตัดออกไปนั้นมาปรากฏทางอ้อมเป็นความเห็นของ Tom Plate เสียเองในช่วงที่พยายามถามนำเรื่องสมมุติที่เกี่ยวข้องกับนาย Ban Ki-moon เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ และในช่วงอื่นๆที่เป็นข้อเขียนเชิงวิเคราะห์สรุปของ  Tom Plate เอง

ดังตัวอย่าง:

(41-42)

Tom: “ Until Thaksin’s dramatic political arrival; what’s more, caring about the poor had been the monopoly of the King of Thailand. It was almost a kind of Buddhist priesthood; the efforts from the Palace over the decades to show concern for the poor became a hollowed Thai tradition. The efforts did not alleviate poverty but they did ease some of the suffering and cement an emotional bond between the King and his people.

It was as if the political culture of the country delegated to the monarchy the task of making the poor seem special. Even as the poor knew they were stuck in poverty, their eternal place in the grand scheme of things.

Thaksin’s approach was radically different. Instead of visiting the poor areas with the gesture of (in effect) passing out loaves and fishes to sate hunger temporarily and show royal caring, his policy proposed to train poorer Thais to start up their own bread-making and fish-packaging businesses to develop sustainable enterprises---in a manner of speaking.. These efforts wouldn’t make them rich overnight, but they might open the door that let them flee a life a lifetime of no-exit poverty.”

“ก่อนหน้าที่ทักษิณจะเข้ามาสู่การเมืองอันตื่นเต้น เร้าใจนั้น ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือการที่ว่าหน้าที่ดูแลคนจนเป็นงานผูกขาดของพระ เจ้าอยู่หัวของไทยเท่านั้น ราวกับว่าเป็นงานของพระสงฆ์ผู้แสวงบุญ ความพยายามของฝ่ายพระราชวังในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาในการแสดงความห่วงใยต่อ คนยากจนนั้นเป็นเสมือนขนบธรรมเนียมประเพณีที่ว่างเปล่า-กลวงกลาง-ไร้แก่นสาร ความพยายามทั้งหลายมิได้ช่วยแก้ปัญหาความยากจน ทำได้เพียงช่วยผ่อนคลายความทุกข์ไปบางส่วนและสร้างผูกพันในความรู้สึก ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนของพระองค์

มันเหมือนกับว่าวัฒนธรรม ทางการเมืองของประเทศแบ่งงานให้กับพระมหากษัตริย์ทำให้ดูว่าคนจนเป็นคนกลุ่มพิเศษ แม้ว่าคนจนจะรู้ว่าจะต้องจมปลักอยู่ในความยากจนต่อไปอย่างมิมีทางหลุดพ้น จนอยู่อย่างนั้นท่ามกลางแผนงานโครงการใหญ่โตต่างๆมากมาย

แต่แนวทางแก้ ปัญหาแบบของทักษิณนั้นแตกต่างกันอย่างพลิกผัน แทนที่จะเดินทางไปเยี่ยมพื้นที่คนยากจน แล้วทำที (อย่างเห็นภาพชัดเจน) ว่าแจกจ่ายข้าวปลาอาหารเพื่อปลดเปลื้องความจนเพียงชั่วคราวและแสดงให้เห็น ว่าทรงมีความห่วงใย ทักษิณกลับเสนอนโยบายฝึกอาชีพคนไทยผู้ยากจนให้รู้จักริเริ่มประกอบกิจการ ผลิตอาหาร ทำธุรกิจผลิตผลิตภันฑ์ปลาใส่หีบห่อบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างกิจการอันยั่งยืน --- หากจะกล่าวเชิงเปรียบเปรย --- ความพยายามทั้งหลายเหล่านี้จะไม่ทำให้ชาวบ้านร่ำรวยขึ้นมาในชั่วข้ามคืน แต่มันอาจจะเป็นการเปิดประตูปลดปล่อยให้คนจนผ่านออกไปจากความยากจนดักดานที่ ไร้ทางออกมาตลอดชีวิตได้”

ทั้งหมดที่เป็นคำพูดหรือข้อเขียน ของ Tom Plate เอง ที่เปรียบเทียบว่าทักษิณทำงานได้ผลกว่าพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องการช่วยคนจน ว่าพระเจ้าอยู่หัวช่วยประชาชนพอเป็นพิธี ไม่ยั่งยืน ทั้งๆที่ข้อเท็จจริงที่ Tom Plate ไม่รู้และไม่ได้ศึกษาก็คืองานทั้งหมดของพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี เป็นงานสร้างวิชาชีพและวิถีชีวิตที่ยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และงานของพระองค์เป็นงานต้นแบบ เป็นแบบอย่างดังปรากฏในศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามพื้นที่ต่างๆ ตอดจนโครงการในพระราชดำริมากมายทัั่วประเทศ เป็นงานที่ประสานทำต่อโดยหน่วยราชการมิใช่การแข่งขันเปรียบเทียบกับงานของ รัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีทักษิณหรือนายกรัฐมนตรีคนอื่นใด ส่วนงานของคุณทักษิณก็ทำไปตามนโยบายของคุณทักษิณ ไม่สมควรที่จะนำไปเปรียบเทียบกับงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ พระราชินี สถาบันพระมหากษัตริย์มิได้แข่งขันกับนายกรัฐมนตรีคนใด้เพื่อแย่งชิงมวลชน หรือเรียกร้องความรักเป็นพิเศษจากประชาชน รัฐบาลและพระมหากษัตริย์ต่างก็มีหน้าที่ทำงานเพื่อประชาชนร่วมกัน มิใช่ตรงข้ามกัน ความคิดของ Tom Plate - ถ้าหากมิใช่ความคิดของคุณทักษิณ - จึงเป็นความคิดของผู้ขาดการศึกษาค้นคว้าให้ได้ความจริงอย่างถ่องแท้ การเขียนหนังสือแสดงความคิดเห็นของ Tom Plate จึงบกพร่อง ไม่ควรให้ความเชื่อถือ

เว้นแต่คำพูดของ Tom Plate จะสะท้อนความเห็นของคุณทักษิณที่ลงพิมพ์ไม่ได้ เรื่องนี้จึงเป็นปัญหาใหญ่ของหนังสือเล่มนี้

เป็นที่สังเกตุว่า “Conversations with Thaksin” ได้เน้นบทบาทของทั้งสองพระองค์เป็นพิเศษ นับเป็นครั้งแรกที่คุณทักษิณนำเรื่องสมเด็จพระราชินีเข้ามาเกี่ยวข้องในความ เห็นสาธารณะของคุณทักษิณ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ทำให้ต้องตั้งข้อสังเกตุด้วยความห่วงใยว่านับวันคุณทักษิณจะก้าวล่วงเข้ามา วิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์มากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นคุณทักษิณยังปล่อยให้ “Conversation with Thaksin” ยกตัวคุณทักษิณเองขึ้นไปเปรียบเทียบกับพระเจ้ายู่หัวอีกด้วย คุณทักษิณเปิดช่องให้ Tom Plate ทำเช่นนี้ได้อย่างไร?

ทั้งๆที่บอกว่า มีความจงรักภักดี แต่เหตุไฉนจึงกลับให้สัมภาษณ์พาดพิงและชักนำให้เกิดข่าวสารสิ่งพิมพ์ที่ล่วง ละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์มากยิ่งขึ้น

จับคู่ให้ดูว่าคุณทักษิณแข่งขันกับพระเจ้าอยู่หัวจนคุณทักษิณเป็นฝ่ายได้คะแนนนำ

เท่านั้นยังไม่พอ ยังมาจับคู่ให้เป็นการแข่งขันระหว่างสมเด็จพระราชินี กับคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้เป็นน้องสาวและเป็นนายกรัฐมนตรี อีกด้วย

Tom Plate แสดงความเห็นในบทสุดท้ายดังนี้:

(237)

Tom: “It now looks as if the future of Thailand might be in the hands of the wills and directions of two women.

Consider Queen Sirikit of Thailand. With King Bhumibol Adulyadej, Rama IX of Chakri Dynasty, known to be very ill, the influence of Her Royal Highness was believed to be on the ascendency. Clearly, Thailand has to sort out the future role of its oft-revered monarchy in this age of globalization. Or maybe the real point is: haven’t they already made their decision?”

“ณ เวลานี้ดูเหมือนว่าอนาคตของประเทศไทยอยู่ในมือแห่งความมุ่งมั่นกำหนดทิศทางของสตรีสองคน

ให้ดูสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ไว้ก็แล้วกัน ในเวลาที่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าพระองค์ทรงพระประชวรมาก อิทธิพลของสมเด็จพระราชินีนั้นเราเชื่อว่ากำลังเพิ่มพูนมากขึ้น ก็ชัดแจ้งอยู่แล้วว่าประเทศไทยจำต้องจัดระเบียบระบบว่าด้วยบทบาทในอนาคตของ สถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพอย่างสูงให้เข้ารับมือกับโลกยุคโลกาภิ วัตน์ให้ได้ หรือประเด็นที่แท้จริงอาจเป็นว่าพวกเขาได้ตัดสินใจไปเรียบร้อยแล้ว?”

คุณทักษิณพูดแล้ว Tom Plate ตัดออกแล้ว Tom Plate นำกลับเอามาพูดเองใหม่ เป็นถ้อยคำของตนเอง หรืออย่างไร Tom Plate ผู้เขียนซึ่งแสดงความไม่รู้และไม่สะท้อนการค้นคว้าเกี่ยวกับงานของพระเจ้า อยู่หัวเลย ก่อนจะมาเขียนหนังสือเล่มนี้ ไม่น่าเป็นไปได้ที่ Tom Plate จะเขียนอะไรโดยการเพียงตั้งทฤษีคิดตามใจประสงค์เท่านั้น หรือ Tom Plate ได้รับอิทธิพลและข้อมูลที่คุณทักษิณพูดแต่ลงพิมพ์ไม่ได้

นี่คือปัญหาใหญ่ของ “Conversations with Thaksin”

ปัญหาใหญ่ ของคุณทักษิณ ที่นับวันจากทับทมท่วมท้นทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ

จากการพูดไม่ยอมหยุด

ไม่ยอมหยุดพูด

ไม่หยุดคำถาม

ไม่ยั้งคำตอบ

พูดแบบไม่มีกรอบจำกัดโดยตัวคุณทักษิณเอง

หากคุณทักษิณจะหยุดพูด

หากคุณทักษิณจะปฏิเสธที่จะตอบคำถามใดๆที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างถาวร ก็จะช่วยให้เห็นการแสดงความจงรักภักดีต่อสสถาบันพระมหากษัตริย์ที่คุณทักษิณ อยากให้ฝ่ายตรงข้ามได้เห็นเป็นความจริงที่ปรากฏได้จริงๆบ้าง

เมื่อคุณทักษิณยังไม่ยอมหยุดพูด แถมยังพูดมากและล่วงล้ำก้ำเกินจนต้องตัดออกจากบทสนทนาที่ลงพิมพ์ไปเพื่อความปลอดภัย การพูดของคุณทักษิณนี่เองที่ทำให้คุณทักษิณต้องเผชิญภัยอันเกิดจากการกระทำของตัวเอง

[จบตอนที่ 4]




.................................................

[ตอนที่ 5]

แม้ถ้าจะไม่มีเรื่องพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์เลย ว่ากันเฉพาะเรื่องการเมืองอื่นๆที่คุณทักษิณพาดพิงถึงใน “Conversations with Thaksin” กระนั้นก็ยังสร้างปัญหาและสร้างศัตรูให้คุณทักษิณเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย ดังตัวอย่างเรื่องเกี่ยวกับ:

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์, ประธานองคมนตรี

(145)

Thaksin: “He’s the most powerful of all the Privy Councillors. He has the clout to tell prime ministers, ‘You do this, you do not do this.’ And he can talk to all the army and air force commanders and say, ‘You should do that, you should do this.’ Now, during my administration, before I was ousted, he, at 80-plus years old, wearing his splendid uniforms, goes to visit every military academy and gives lectures. In one of his lectures he used his metaphor: think of Thailand’s military establishment as a horse; horses don’t have to listen to their jockey. So that was the hint that he told the military, ‘Don’t listen to the prime minister.’”

“ท่านเป็นผู้มีอำนาจมากที่สุดในบรรดาองคมนตรีทั้งหมด ท่านมีบารมีถึงขนาดสามารถสั่งนายกรัฐมนตรีทั้งหลายให้ “ทำโน่น อย่าทำนี่” ได้เลย และท่านสามารถสั่งผู้บัญชาการทหารบก ทหารอากาศว่าควร ‘ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้’ ตอนที่ผมเป็นรัฐบาล ก่อนที่ผมจะถูกโค่นอำนาจ ท่านก็อายุ 80 กว่าแล้ว ใส่เครื่องแบบหทารอันงดงามของท่านออกไปบรรยายตามสถาบันทหารต่างๆ โดยใช้คำเปรียบเปรยว่าให้คิดว่าสถาบันทหารนั้นเปรียบได้ดั่งม้า ม้าไม่ต้องเชื่อฟังคนขี่ม้า นั่นถือเป็นการบอกใบ้ต่อเหล่าทหารทั้งหลายมิให้เชื่อฟังนายกรัฐมนตรี”



การวิจัยและพัฒนา

(58)

Thaksin: “I know we are behind in research. We are strong in a few areas but not many. In agriculture, we are good but other than that, we are very, very lagging in science, terrible in science --- and technology, we are very weak. So we need a lot more investment on research, and on how to improve learning.”

ครั้งที่คุณทักษิณโด่งดังเข้าสู่วงการ เมืองใหม่ๆ ผมในฐานะสื่อมวลชนเคยถามคุณทักษิณว่า “รวยมากๆอย่างที่คุณทักษิณรวย เหตุใดกิจการในกลุ่มชินคอร์ปของคุณทักษิณจึงไม่ใส่ใจลงทุกเรื่องการวิจัยและ พัฒนา เช่นบริษัท Samsung (ซัมซุง) ของเกาหลีใต้?” คุณทักษิณตอบผมว่า “ไม่ไหวครับคุณสมเกียรติ เงินวิจัยแลพัฒนามันแพงเกินไป เราซื้อเทคโนโลยีเอาดีกว่า ส่วนงานวิจัยผมจะให้ทุนวิจัยที่มหาวิทยาลัยชินวัตรของผม” ….. มาได้ยินคำตอบแบบใหม่คราวนี้ คุณทักษิณเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

อารมณ์

Tom: ไม่ได้ถาม แต่ทักษิณพูดเอง

(93)

Thaksin: “I was so angry then … so full of anger. And in my speed of reaching my anger and in showing it to everyone … I was too fast with all that.”… That is my bad quality. My good part is being very constructive and creative in my thinking. But when I cannot stand the pressure, I’m too easily angered.”

Tom: “You can get mean, right?

Thaksin: “Yes, and that is the bad part that grows inside me.”

ความมั่งคั่ง ณ ปี 2011

(98)

1994: $1.6-$2.2 พันล้าน ก่อนเข้าสู่การเมือง

Thaksin: “Because the government robbed me, (now I have) less.

ตอนนี้เหลือความมั่งคั่งลดลง

(99)

Thaksin: “ … I was robbed by the junta through the political court. They ridiculously  took away US$1.4 billion by confiscating the proportion of each share price that increased while I was prime minister, including the interest and dividends earned during my prime- ministership.”

“พวกคณะปฏิวัติยึดอำนาจปล้นเงินผมไปโดยใช้ศาลการเมือง เป็นเครื่องมือ พวกเขาเอาไป อย่างหน้าด้านๆถึง $1.4 พันล้าน โดยการยึดส่วนของราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นตอนที่ผมเป็นนายก รัฐมนตรี รวมทั้งดอกเบี้ยและเงินปันผลช่วงที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย

การลอบสังหาร 4 ครั้ง

(103-110)

(106-107)

Thaksin: “...the general who had been assigned to shoot me [3rd attempt in 2006] … later he confessed to me, after I was in exile, he confessed to me that he had been assigned to shoot me by using a sniper. He was there himself to supervise the sharpshooter, and he knew that my podium was bulletproof, so they had to plan to shoot me from behind. And the second time, also, in Bangkok, this same general, he planned to put the sniper in the building of the Political Science Department of Thammasat University.”…...“The general said he had planned to station the sniper in the building, and planned for the operation to go down at eight o’clock in the evening.”

“นายพลทหารคนที่ได้รับมอบ หมายงานให้สังหารผม [ในความพยายามครั้งที่ 3 ปี 2549] … ตอนหลังนายพลคนนั้นเขามาขอสารภาพกับผม หลังผมลี้ภัยออกไปแล้ว เขาสารภาพว่าเขาถูกสั่งให้ใช้มือปืนซุ่มลอบยิงผม เขาอยู่ ณ ที่ซุ่มยิงคุมมือปืนด้วยตัวเอง เขารู้ว่าแท่นยืนปราศัยของผมมีเกราะกันกระสุน เขาจึงต้องวางแผนยิงผมจากด้านหลัง การลอบสังหารครั้งที่สองก็เช่นกันลอบยิงที่กรุงเทพฯ นายพลคนเดียวกันนี้ก็วางแผนใช้มือปืนแอบซุ่มยิงจากอาคารคณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”…..“นายพลคนนั้นบอกผมว่าวางแผนให้มือปืนซ่อนอยู่ในอาคารและกะจะลงมือยิงตอนสองทุ่ม”

นายพลคนที่ว่านั้น แน่นอน คือพลเอกพัลลภ ปิ่นมณี

ถาม “มาเลย์”

ตอบ “มุสลิม”

(52)

Tom: “To Thailand’s south, in Malaysia, former PM Mahathir wrote a famous book in 1970 called The Malay dilemma, and in that book he claims the problem with the Malays is that they’re not ambitious. He says they don’t really want to work hard. They enjoy life too much, and Malaysia cannot get its country developed properly that way.”

(52-53)

Thaksin: “It’s the same with the Muslims in Thailand’s south. They go only to religious schools. They don’t want to go to normal schools. And, secondly, often the husband is very lazy. They want to stay all day in tea-houses, drinking tea, and then playing with the cuckoo bird, the one that can sing. It is the lady of the house who goes to work the rubber trees.”

“Many men have no ambition.”

เป็นคำวิจารณ์ชาวไทยมุสลิมที่ท้าทายความสงบในชีวิตของคุณทักษิณอีกวาระหนึ่ง ถ้า...เมื่อ...คุณทักษิณกลับมาประเทศไทย


ถามแดง ตอบเหลือง

(131-133)

Tom: “have you been funding them?… Have you sent them money?”

“คุณให้เงินสนับสนุนพวกเสื้อแดงบ้างหรือเปล่า? … คุณส่งเงินไปให้พวกแดงบ้างไหม?”

Thaksin (He sighs): “You know, there is no law prohibiting sending funds to any movement, but most of them they get donations from here and there.”

“(ทักษิณ ถอนหายใจ): “คุณรู้ไหมว่าไม่มีกฎหมายห้ามเรื่องบริจาคเงินให้กลุ่มเคลื่อนไหว ทางการเมือง แต่ว่าส่วนใหญ่เขาก้ได้เงินบริจาคจากที่นี่บ้างที่โน่นบ้าง”

Tom: From where?”

“จากที่ไหนล่ะ?”

Thaksin: “From here and there … many people support the Reds, you know. Then the Yellow Shirts [the anti-Reds, pro-establishment movement], even some member of the elite establishment -- old establishment and elite ---make donations … big money, sometimes openly. No one criticizes that. But for us, we get donations --- but mostly small donations --- but we don’t have to [hire] people to come. They come because they want to fight, but the Yellow Shirts --- sometimes they have to pay people, you know, they sometimes pay those who come to demonstrate and so on. So they need a lot of money. We don’t need a lot of money. We get donations from here and there, and also some friends---some friends, some of my relatives, maybe they donate. I don’t know. And I did not do anything because I’m here. But maybe if some of my friends would like to support the movement, well yes, they do.”

“จากที่นี่ที่โน่น … มีหลายคนสนับสนุนพวกเสื้อแดง รู้ไหม. แล้วพวกเสื้อเหลืองนั้นล่ะ [หมายถึงกลุ่ม ต่อต้านเสื้อแดง ที่อยู่ฝ่ายผู้มีอำนาจ] มีพวกคนระดับสูง ผู้มีอำนาจ --- อำนาจเก่าระดับบน --- บริจาคให้ … ให้เยอะด้วย บางที่ก็ให้กันอย่างเปิดเผย ที่อย่างนั้นทำไมไม่มีใครว่า พอเวลามาพูดถึงเงินบริจาคให้พวกเสื้อแดง เราได้รับบริจาค --- ส่วนใหญ่เป็นเงินไม่มาก --- แต่เราไม่ ต้องไป [จ้าง] คนมาร่วมชุมนุม พวกเสื้อแดงเขาชุมนุมกันเพราะจะมาต่อสู้ แต่พวกเสื้อเหลือง --- บางทีเขาต้องจ่ายเงินจ้างให้มาชุมกันเสมอๆ พวกเสื้อเหลืองต้องการใช้เงินมากๆ ส่วนพวกเรานั้นได้รับเงินบริจาคจากที่นี่ที่โน่น และได้จากเพื่อนๆด้วย --- จากพวกเพื่อนๆ และพวกญาติพี่น้องของผมบางคนเขาอาจบริจาคด้วย ผมไม่รู้ และผมไม่ได้ทำอะไรเลยเพราะผมอยู่ที่นี่ แต่บางที่ถ้าเพื่อนผมบางคนอยากจะสนับสนุนขบวนการเสื้อแดง ก็ใช่ เขาคงบริจาคกัน”

Tom: “ But how much money have you sent back, or given to your supporters?”

“แต่ตัวคุณหล่ะ คุณส่งเงินไปมากน้อยเท่าไร ที่ส่งไปให้พวกผู้ที่สนับสนุนคุณ?”

Thaksin: I don’t have much money outside Thailand and I still doing some investing. I have my family money in Thailand. I never send money back to Thailand for anything.”

“ผมมีเงินนอกประเทศไทยไม่มากนัก และยังต้องใช้เงินลงทุนบางอย่างอยู่บ้าง ผมมีเงินของ ครอบครัวอยู่ในเมืองไทย ผมไม่เคยส่งเงินกลับไปประเทศไทยเพื่ออะไรเลย”

Tom: “But do have ways of getting money out of your accounts in Bangkok to your people?”

“แต่คุณคงมีวิธีเอาเงินออกจากบัญชีในกรุงเทพฯให้พวกคนของคุณ?”

Thaksin: “Everything that is there---they have been monitoring my family closely---every movement will be monitored.”

“ทุกบาททุกสตางค์ที่มีอยู่ที่โน่น --- ครอบครัวผมถูกเฝ้าตามดูอย่างใกล้ชิดโดยพวกเขา ---ความเคลื่อนไหวทุกฝีก้าวถูกติดตามดูตลอด

Tom: “Right. So what is the answer? Are you funding your Reds or not?

“ครับ แล้วคำตอบว่าไงครับ? คุณให้เงินสนับสนุนพวกเสื้อแดงของคุณหรือเปล่า?”

Thaksin: “No.”

“เปล่า”

Tom: “You’re not.”

“เปล่าจริงๆหรือ?”

Thaksin: “No.”

“เปล่า”

Tom: “Okay, because if it comes out you are, it’s going to be awkward.”

“โอเค, เพราะถ้าเกิดพบที่หลังว่าคุณสนับสนุน มันจะดูไม่ดีนะครับ”

Thaksin: “No, no.”

“เปล่า, ไม่ได้ให้”

Tom: “Alright.”

“ครับ”

Thaksin: “No.”

“ไม่ได้ให้”

Tom: “I don’t think there is anything wrong with it. I don’t think there is anything morally wrong with it. I’m just asking, just trying to find out the truth.”

“แต่ผมว่าถึงอย่างไรก็ไม่มีอะไรผิดนะครับหากจะให้เงินสนับสนุน ผมไม่คิดว่ามันจะผิดศีลธรรมอะไรเลย ที่ผมถามก็เพราะแค่อยากทราบความจริงเท่านั้นเอง”

Thaksin: “No, nothing wrong with it.”

“ไม่, ไม่มีอะไรผิดหรอกที่จะบริจาคเงิน”

Tom: “Nothing wrong legally, perhaps; but surely it’s no way to run a democratic railroad. Right?”

“ในทางกฎหมายก็คงไม่มีอะไรผิด แต่ว่าไม่น่าจะเป็นวิธีที่ถูกต้องในการสร้างประชาธิปไตยไช่ไหมครับ?

He nods in agreement.


คุณทักษิณผงกศีรษะรับ

ไม่มีบทสนทนาช่วงไหนจะสนุกเท่ากับช่วงนี้เลย คุณทักษิณไม่ตอบเสียยาว จนรู้คำตอบที่ไม่ยอมตอบในที่สุด เป็นคำตอบที่ผมรู้ดีอยู่แล้วเป็นส่วนตัว เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ก็รู้คำตอบเช่นกัน … นี่คือตัวตนที่แท้จริงของพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร



คุณทักษิณก็ถูกถามให้ประเมินความรู้สึกทั้งหมดต่อชีวิตและการกระทำที่ผ่านมา:

(38)

Tom: “Do you have any regret?

“คุณรู้สึกเสียใจบ้างไหม?”

Thaksin: “Yes, … but the truth is I would do it again. If I could do it all again Tomorrow I would. They could kick me out again, and I’d fight back and I’d go back home. And if they do that again, I will fight it, and I will be back.”

“ครับผมรู้สึกเสียใจ, … แต่ความจริงก็คือว่า ผมจะทำแบบเดิมอีก ถ้าผมสามารถทำใหม่ได้ ผมก็จะทำอย่างเดิมทั้งหมด ถ้าพรุ่งนี้ทำได้ผมก็จะทำพรุ่งนี้เลย พวกเขาสามารถเตะโด่งผมออกนอกประเทศไปได้อีก แล้วผมก็จะตอบโต้สู้กลับ ให้่ผมได้กลับบ้านอีก และถ้าพวกเขาทำกับผมอีก ผมก็จะสู้กับมันอีก และผมจะกลับมา”

เป็นการยืนยันรับประกันชัดเจนโดยตรงจากปากคุณทักษิณว่า คุณทักษิณจะไม่สำนึกผิดอะไรทั้งส้ิน หากกลับมาประเทศไทยอีกก็จะทำแบบเดิมอีก ไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าถูกขัดขวางอีก ก็จะสู้ไม่ถอย ถูกผลักดันให้ออกไปนอกประเทศอีก ก็จะสู้อีก จะกลับมาทำอย่างเดิมแน่นอน!

ท่าทางจะไม่ปรองดองกับใครแน่!

[จบบริบูรณ์]

สมเกียรติ อ่อนวิมล
7 มีนาคม 2555






“ตอนนี้ ตอนที่คุณกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวว่าจะไม่อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป แม้ว่าถ้าหากพรรคของคุณจะชนะเลือกตั้งก็ตาม ซึ่งดูท่าทางก็คงจะชนะเลือกตั้งจริงๆ … แล้วพระเจ้าอยู่หัวทรงมีปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง?

Thaksin: “His Majesty just acknowledged what I told him.”

“พระองค์เพียงทรงแสดงว่ารับทราบเรื่องที่ผมกราบบังคมทูลเท่านั้น”

Tom: “You told him directly?”

“คุณกราบบังคมทูลต่อพระพักตร์โดยตรงเลยหรือ?”

Thaksin: “Yes, I told him myself, in the Palace.”

“ครับ ผมกราบบังคมทูลโดยตรงในพระราชวัง

Tom: “He just nodded or something?

“พระองค์ทรงทำเพีงแต่พยักพระพักตร์เท่านั้นหรือ?

Thaksin: No, no, he just gave the feeling he heard. It’s His Majesty’s way, you know, not to seem so involved. Aloof. Aloof. He receives the information, processes it, but no reaction.”

“ไม่ ไม่ พระองค์เพียงแค่ทรงทำให้รู้สึกได้ว่าได้ยินแล้ว เป็นวิธีของพระองค์ คุณรู้ไหม พระองค์จะทรงดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวข้องอะไรด้วย อยู่ห่างๆเลย ห่างๆไปเลย พระองค์ทรงรับข้อมูลแล้วผ่านกระบวนการรับรู้ แต่ก็ไม่มีปฏิกิริยาใดๆเลย”

ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของหนังสือ “Conversation with Thaksin” เล่มนี้ก็คือเรื่องที่คุณทักษิณกล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์มากกว่า ที่ปรากฏในหนังสือ แล้วส่วนที่ตัดออกไม่กล้าพิมพ์โดยอ้างว่ากลัวจะละเมิดกฎหมายอาญาว่าด้วยการ หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น

คุณทักษิณพูดว่าอย่างไร? มีความสำคัญถึงขนาดขอเก็บไว้พิมพ์ในการพิมพ์ครั้งที่สองเมื่อประเทศไทยยกเลิกกฎหมายอาญาส่วนที่เกี่ยวข้องเชียวหรือ?

คุณทักษิณพูดว่าอย่างไร? หรือว่าส่วนที่ตัดออกไปนั้นมาปรากฏทางอ้อมเป็นความเห็นของ Tom Plate เสียเองในช่วงที่พยายามถามนำเรื่องสมมุติที่เกี่ยวข้องกับนาย Ban Ki-moon เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ และในช่วงอื่นๆที่เป็นข้อเขียนเชิงวิเคราะห์สรุปของ  Tom Plate เอง

ดังตัวอย่าง:

(41-42)

Tom: “ Until Thaksin’s dramatic political arrival; what’s more, caring about the poor had been the monopoly of the King of Thailand. It was almost a kind of Buddhist priesthood; the efforts from the Palace over the decades to show concern for the poor became a hollowed Thai tradition. The efforts did not alleviate poverty but they did ease some of the suffering and cement an emotional bond between the King and his people.

It was as if the political culture of the country delegated to the monarchy the task of making the poor seem special. Even as the poor knew they were stuck in poverty, their eternal place in the grand scheme of things.

Thaksin’s approach was radically different. Instead of visiting the poor areas with the gesture of (in effect) passing out loaves and fishes to sate hunger temporarily and show royal caring, his policy proposed to train poorer Thais to start up their own bread-making and fish-packaging businesses to develop sustainable enterprises---in a manner of speaking.. These efforts wouldn’t make them rich overnight, but they might open the door that let them flee a life a lifetime of no-exit poverty.”

“ก่อนหน้าที่ทักษิณจะเข้ามาสู่การเมืองอันตื่นเต้น เร้าใจนั้น ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือการที่ว่าหน้าที่ดูแลคนจนเป็นงานผูกขาดของพระ เจ้าอยู่หัวของไทยเท่านั้น ราวกับว่าเป็นงานของพระสงฆ์ผู้แสวงบุญ ความพยายามของฝ่ายพระราชวังในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาในการแสดงความห่วงใยต่อ คนยากจนนั้นเป็นเสมือนขนบธรรมเนียมประเพณีที่ว่างเปล่า-กลวงกลาง-ไร้แก่นสาร ความพยายามทั้งหลายมิได้ช่วยแก้ปัญหาความยากจน ทำได้เพียงช่วยผ่อนคลายความทุกข์ไปบางส่วนและสร้างผูกพันในความรู้สึก ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนของพระองค์

มันเหมือนกับว่าวัฒนธรรม ทางการเมืองของประเทศแบ่งงานให้กับพระมหากษัตริย์ทำให้ดูว่าคนจนเป็นคนกลุ่มพิเศษ แม้ว่าคนจนจะรู้ว่าจะต้องจมปลักอยู่ในความยากจนต่อไปอย่างมิมีทางหลุดพ้น จนอยู่อย่างนั้นท่ามกลางแผนงานโครงการใหญ่โตต่างๆมากมาย

แต่แนวทางแก้ ปัญหาแบบของทักษิณนั้นแตกต่างกันอย่างพลิกผัน แทนที่จะเดินทางไปเยี่ยมพื้นที่คนยากจน แล้วทำที (อย่างเห็นภาพชัดเจน) ว่าแจกจ่ายข้าวปลาอาหารเพื่อปลดเปลื้องความจนเพียงชั่วคราวและแสดงให้เห็น ว่าทรงมีความห่วงใย ทักษิณกลับเสนอนโยบายฝึกอาชีพคนไทยผู้ยากจนให้รู้จักริเริ่มประกอบกิจการ ผลิตอาหาร ทำธุรกิจผลิตผลิตภันฑ์ปลาใส่หีบห่อบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างกิจการอันยั่งยืน --- หากจะกล่าวเชิงเปรียบเปรย --- ความพยายามทั้งหลายเหล่านี้จะไม่ทำให้ชาวบ้านร่ำรวยขึ้นมาในชั่วข้ามคืน แต่มันอาจจะเป็นการเปิดประตูปลดปล่อยให้คนจนผ่านออกไปจากความยากจนดักดานที่ ไร้ทางออกมาตลอดชีวิตได้”

ทั้งหมดที่เป็นคำพูดหรือข้อเขียน ของ Tom Plate เอง ที่เปรียบเทียบว่าทักษิณทำงานได้ผลกว่าพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องการช่วยคนจน ว่าพระเจ้าอยู่หัวช่วยประชาชนพอเป็นพิธี ไม่ยั่งยืน ทั้งๆที่ข้อเท็จจริงที่ Tom Plate ไม่รู้และไม่ได้ศึกษาก็คืองานทั้งหมดของพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี เป็นงานสร้างวิชาชีพและวิถีชีวิตที่ยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และงานของพระองค์เป็นงานต้นแบบ เป็นแบบอย่างดังปรากฏในศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามพื้นที่ต่างๆ ตอดจนโครงการในพระราชดำริมากมายทัั่วประเทศ เป็นงานที่ประสานทำต่อโดยหน่วยราชการมิใช่การแข่งขันเปรียบเทียบกับงานของ รัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีทักษิณหรือนายกรัฐมนตรีคนอื่นใด ส่วนงานของคุณทักษิณก็ทำไปตามนโยบายของคุณทักษิณ ไม่สมควรที่จะนำไปเปรียบเทียบกับงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ พระราชินี สถาบันพระมหากษัตริย์มิได้แข่งขันกับนายกรัฐมนตรีคนใด้เพื่อแย่งชิงมวลชน หรือเรียกร้องความรักเป็นพิเศษจากประชาชน รัฐบาลและพระมหากษัตริย์ต่างก็มีหน้าที่ทำงานเพื่อประชาชนร่วมกัน มิใช่ตรงข้ามกัน ความคิดของ Tom Plate - ถ้าหากมิใช่ความคิดของคุณทักษิณ - จึงเป็นความคิดของผู้ขาดการศึกษาค้นคว้าให้ได้ความจริงอย่างถ่องแท้ การเขียนหนังสือแสดงความคิดเห็นของ Tom Plate จึงบกพร่อง ไม่ควรให้ความเชื่อถือ

เว้นแต่คำพูดของ Tom Plate จะสะท้อนความเห็นของคุณทักษิณที่ลงพิมพ์ไม่ได้ เรื่องนี้จึงเป็นปัญหาใหญ่ของหนังสือเล่มนี้

เป็นที่สังเกตุว่า “Conversations with Thaksin” ได้เน้นบทบาทของทั้งสองพระองค์เป็นพิเศษ นับเป็นครั้งแรกที่คุณทักษิณนำเรื่องสมเด็จพระราชินีเข้ามาเกี่ยวข้องในความ เห็นสาธารณะของคุณทักษิณ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ทำให้ต้องตั้งข้อสังเกตุด้วยความห่วงใยว่านับวันคุณทักษิณจะก้าวล่วงเข้ามา วิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์มากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นคุณทักษิณยังปล่อยให้ “Conversation with Thaksin” ยกตัวคุณทักษิณเองขึ้นไปเปรียบเทียบกับพระเจ้ายู่หัวอีกด้วย คุณทักษิณเปิดช่องให้ Tom Plate ทำเช่นนี้ได้อย่างไร?

ทั้งๆที่บอกว่า มีความจงรักภักดี แต่เหตุไฉนจึงกลับให้สัมภาษณ์พาดพิงและชักนำให้เกิดข่าวสารสิ่งพิมพ์ที่ล่วง ละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์มากยิ่งขึ้น

จับคู่ให้ดูว่าคุณทักษิณแข่งขันกับพระเจ้าอยู่หัวจนคุณทักษิณเป็นฝ่ายได้คะแนนนำ

เท่านั้นยังไม่พอ ยังมาจับคู่ให้เป็นการแข่งขันระหว่างสมเด็จพระราชินี กับคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้เป็นน้องสาวและเป็นนายกรัฐมนตรี อีกด้วย

Tom Plate แสดงความเห็นในบทสุดท้ายดังนี้:

(237)

Tom: “It now looks as if the future of Thailand might be in the hands of the wills and directions of two women.

Consider Queen Sirikit of Thailand. With King Bhumibol Adulyadej, Rama IX of Chakri Dynasty, known to be very ill, the influence of Her Royal Highness was believed to be on the ascendency. Clearly, Thailand has to sort out the future role of its oft-revered monarchy in this age of globalization. Or maybe the real point is: haven’t they already made their decision?”

“ณ เวลานี้ดูเหมือนว่าอนาคตของประเทศไทยอยู่ในมือแห่งความมุ่งมั่นกำหนดทิศทางของสตรีสองคน

ให้ดูสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ไว้ก็แล้วกัน ในเวลาที่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าพระองค์ทรงพระประชวรมาก อิทธิพลของสมเด็จพระราชินีนั้นเราเชื่อว่ากำลังเพิ่มพูนมากขึ้น ก็ชัดแจ้งอยู่แล้วว่าประเทศไทยจำต้องจัดระเบียบระบบว่าด้วยบทบาทในอนาคตของ สถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพอย่างสูงให้เข้ารับมือกับโลกยุคโลกาภิ วัตน์ให้ได้ หรือประเด็นที่แท้จริงอาจเป็นว่าพวกเขาได้ตัดสินใจไปเรียบร้อยแล้ว?”

คุณทักษิณพูดแล้ว Tom Plate ตัดออกแล้ว Tom Plate นำกลับเอามาพูดเองใหม่ เป็นถ้อยคำของตนเอง หรืออย่างไร Tom Plate ผู้เขียนซึ่งแสดงความไม่รู้และไม่สะท้อนการค้นคว้าเกี่ยวกับงานของพระเจ้า อยู่หัวเลย ก่อนจะมาเขียนหนังสือเล่มนี้ ไม่น่าเป็นไปได้ที่ Tom Plate จะเขียนอะไรโดยการเพียงตั้งทฤษีคิดตามใจประสงค์เท่านั้น หรือ Tom Plate ได้รับอิทธิพลและข้อมูลที่คุณทักษิณพูดแต่ลงพิมพ์ไม่ได้

นี่คือปัญหาใหญ่ของ “Conversations with Thaksin”

ปัญหาใหญ่ ของคุณทักษิณ ที่นับวันจากทับทมท่วมท้นทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ

จากการพูดไม่ยอมหยุด

ไม่ยอมหยุดพูด

ไม่หยุดคำถาม

ไม่ยั้งคำตอบ

พูดแบบไม่มีกรอบจำกัดโดยตัวคุณทักษิณเอง

หากคุณทักษิณจะหยุดพูด

หากคุณทักษิณจะปฏิเสธที่จะตอบคำถามใดๆที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างถาวร ก็จะช่วยให้เห็นการแสดงความจงรักภักดีต่อสสถาบันพระมหากษัตริย์ที่คุณทักษิณ อยากให้ฝ่ายตรงข้ามได้เห็นเป็นความจริงที่ปรากฏได้จริงๆบ้าง

เมื่อคุณทักษิณยังไม่ยอมหยุดพูด แถมยังพูดมากและล่วงล้ำก้ำเกินจนต้องตัดออกจากบทสนทนาที่ลงพิมพ์ไปเพื่อความปลอดภัย การพูดของคุณทักษิณนี่เองที่ทำให้คุณทักษิณต้องเผชิญภัยอันเกิดจากการกระทำของตัวเอง

[จบตอนที่ 4]




.................................................

[ตอนที่ 5]

แม้ถ้าจะไม่มีเรื่องพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์เลย ว่ากันเฉพาะเรื่องการเมืองอื่นๆที่คุณทักษิณพาดพิงถึงใน “Conversations with Thaksin” กระนั้นก็ยังสร้างปัญหาและสร้างศัตรูให้คุณทักษิณเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย ดังตัวอย่างเรื่องเกี่ยวกับ:

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์, ประธานองคมนตรี

(145)

Thaksin: “He’s the most powerful of all the Privy Councillors. He has the clout to tell prime ministers, ‘You do this, you do not do this.’ And he can talk to all the army and air force commanders and say, ‘You should do that, you should do this.’ Now, during my administration, before I was ousted, he, at 80-plus years old, wearing his splendid uniforms, goes to visit every military academy and gives lectures. In one of his lectures he used his metaphor: think of Thailand’s military establishment as a horse; horses don’t have to listen to their jockey. So that was the hint that he told the military, ‘Don’t listen to the prime minister.’”

“ท่านเป็นผู้มีอำนาจมากที่สุดในบรรดาองคมนตรีทั้งหมด ท่านมีบารมีถึงขนาดสามารถสั่งนายกรัฐมนตรีทั้งหลายให้ “ทำโน่น อย่าทำนี่” ได้เลย และท่านสามารถสั่งผู้บัญชาการทหารบก ทหารอากาศว่าควร ‘ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้’ ตอนที่ผมเป็นรัฐบาล ก่อนที่ผมจะถูกโค่นอำนาจ ท่านก็อายุ 80 กว่าแล้ว ใส่เครื่องแบบหทารอันงดงามของท่านออกไปบรรยายตามสถาบันทหารต่างๆ โดยใช้คำเปรียบเปรยว่าให้คิดว่าสถาบันทหารนั้นเปรียบได้ดั่งม้า ม้าไม่ต้องเชื่อฟังคนขี่ม้า นั่นถือเป็นการบอกใบ้ต่อเหล่าทหารทั้งหลายมิให้เชื่อฟังนายกรัฐมนตรี”



การวิจัยและพัฒนา

(58)

Thaksin: “I know we are behind in research. We are strong in a few areas but not many. In agriculture, we are good but other than that, we are very, very lagging in science, terrible in science --- and technology, we are very weak. So we need a lot more investment on research, and on how to improve learning.”

ครั้งที่คุณทักษิณโด่งดังเข้าสู่วงการ เมืองใหม่ๆ ผมในฐานะสื่อมวลชนเคยถามคุณทักษิณว่า “รวยมากๆอย่างที่คุณทักษิณรวย เหตุใดกิจการในกลุ่มชินคอร์ปของคุณทักษิณจึงไม่ใส่ใจลงทุกเรื่องการวิจัยและ พัฒนา เช่นบริษัท Samsung (ซัมซุง) ของเกาหลีใต้?” คุณทักษิณตอบผมว่า “ไม่ไหวครับคุณสมเกียรติ เงินวิจัยแลพัฒนามันแพงเกินไป เราซื้อเทคโนโลยีเอาดีกว่า ส่วนงานวิจัยผมจะให้ทุนวิจัยที่มหาวิทยาลัยชินวัตรของผม” ….. มาได้ยินคำตอบแบบใหม่คราวนี้ คุณทักษิณเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

อารมณ์

Tom: ไม่ได้ถาม แต่ทักษิณพูดเอง

(93)

Thaksin: “I was so angry then … so full of anger. And in my speed of reaching my anger and in showing it to everyone … I was too fast with all that.”… That is my bad quality. My good part is being very constructive and creative in my thinking. But when I cannot stand the pressure, I’m too easily angered.”

Tom: “You can get mean, right?

Thaksin: “Yes, and that is the bad part that grows inside me.”

ความมั่งคั่ง ณ ปี 2011

(98)

1994: $1.6-$2.2 พันล้าน ก่อนเข้าสู่การเมือง

Thaksin: “Because the government robbed me, (now I have) less.

ตอนนี้เหลือความมั่งคั่งลดลง

(99)

Thaksin: “ … I was robbed by the junta through the political court. They ridiculously  took away US$1.4 billion by confiscating the proportion of each share price that increased while I was prime minister, including the interest and dividends earned during my prime- ministership.”

“พวกคณะปฏิวัติยึดอำนาจปล้นเงินผมไปโดยใช้ศาลการเมือง เป็นเครื่องมือ พวกเขาเอาไป อย่างหน้าด้านๆถึง $1.4 พันล้าน โดยการยึดส่วนของราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นตอนที่ผมเป็นนายก รัฐมนตรี รวมทั้งดอกเบี้ยและเงินปันผลช่วงที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย

การลอบสังหาร 4 ครั้ง

(103-110)

(106-107)

Thaksin: “...the general who had been assigned to shoot me [3rd attempt in 2006] … later he confessed to me, after I was in exile, he confessed to me that he had been assigned to shoot me by using a sniper. He was there himself to supervise the sharpshooter, and he knew that my podium was bulletproof, so they had to plan to shoot me from behind. And the second time, also, in Bangkok, this same general, he planned to put the sniper in the building of the Political Science Department of Thammasat University.”…...“The general said he had planned to station the sniper in the building, and planned for the operation to go down at eight o’clock in the evening.”

“นายพลทหารคนที่ได้รับมอบ หมายงานให้สังหารผม [ในความพยายามครั้งที่ 3 ปี 2549] … ตอนหลังนายพลคนนั้นเขามาขอสารภาพกับผม หลังผมลี้ภัยออกไปแล้ว เขาสารภาพว่าเขาถูกสั่งให้ใช้มือปืนซุ่มลอบยิงผม เขาอยู่ ณ ที่ซุ่มยิงคุมมือปืนด้วยตัวเอง เขารู้ว่าแท่นยืนปราศัยของผมมีเกราะกันกระสุน เขาจึงต้องวางแผนยิงผมจากด้านหลัง การลอบสังหารครั้งที่สองก็เช่นกันลอบยิงที่กรุงเทพฯ นายพลคนเดียวกันนี้ก็วางแผนใช้มือปืนแอบซุ่มยิงจากอาคารคณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”…..“นายพลคนนั้นบอกผมว่าวางแผนให้มือปืนซ่อนอยู่ในอาคารและกะจะลงมือยิงตอนสองทุ่ม”

นายพลคนที่ว่านั้น แน่นอน คือพลเอกพัลลภ ปิ่นมณี

ถาม “มาเลย์”

ตอบ “มุสลิม”

(52)

Tom: “To Thailand’s south, in Malaysia, former PM Mahathir wrote a famous book in 1970 called The Malay dilemma, and in that book he claims the problem with the Malays is that they’re not ambitious. He says they don’t really want to work hard. They enjoy life too much, and Malaysia cannot get its country developed properly that way.”

(52-53)

Thaksin: “It’s the same with the Muslims in Thailand’s south. They go only to religious schools. They don’t want to go to normal schools. And, secondly, often the husband is very lazy. They want to stay all day in tea-houses, drinking tea, and then playing with the cuckoo bird, the one that can sing. It is the lady of the house who goes to work the rubber trees.”

“Many men have no ambition.”

เป็นคำวิจารณ์ชาวไทยมุสลิมที่ท้าทายความสงบในชีวิตของคุณทักษิณอีกวาระหนึ่ง ถ้า...เมื่อ...คุณทักษิณกลับมาประเทศไทย


ถามแดง ตอบเหลือง

(131-133)

Tom: “have you been funding them?… Have you sent them money?”

“คุณให้เงินสนับสนุนพวกเสื้อแดงบ้างหรือเปล่า? … คุณส่งเงินไปให้พวกแดงบ้างไหม?”

Thaksin (He sighs): “You know, there is no law prohibiting sending funds to any movement, but most of them they get donations from here and there.”

“(ทักษิณ ถอนหายใจ): “คุณรู้ไหมว่าไม่มีกฎหมายห้ามเรื่องบริจาคเงินให้กลุ่มเคลื่อนไหว ทางการเมือง แต่ว่าส่วนใหญ่เขาก้ได้เงินบริจาคจากที่นี่บ้างที่โน่นบ้าง”

Tom: From where?”

“จากที่ไหนล่ะ?”

Thaksin: “From here and there … many people support the Reds, you know. Then the Yellow Shirts [the anti-Reds, pro-establishment movement], even some member of the elite establishment -- old establishment and elite ---make donations … big money, sometimes openly. No one criticizes that. But for us, we get donations --- but mostly small donations --- but we don’t have to [hire] people to come. They come because they want to fight, but the Yellow Shirts --- sometimes they have to pay people, you know, they sometimes pay those who come to demonstrate and so on. So they need a lot of money. We don’t need a lot of money. We get donations from here and there, and also some friends---some friends, some of my relatives, maybe they donate. I don’t know. And I did not do anything because I’m here. But maybe if some of my friends would like to support the movement, well yes, they do.”

“จากที่นี่ที่โน่น … มีหลายคนสนับสนุนพวกเสื้อแดง รู้ไหม. แล้วพวกเสื้อเหลืองนั้นล่ะ [หมายถึงกลุ่ม ต่อต้านเสื้อแดง ที่อยู่ฝ่ายผู้มีอำนาจ] มีพวกคนระดับสูง ผู้มีอำนาจ --- อำนาจเก่าระดับบน --- บริจาคให้ … ให้เยอะด้วย บางที่ก็ให้กันอย่างเปิดเผย ที่อย่างนั้นทำไมไม่มีใครว่า พอเวลามาพูดถึงเงินบริจาคให้พวกเสื้อแดง เราได้รับบริจาค --- ส่วนใหญ่เป็นเงินไม่มาก --- แต่เราไม่ ต้องไป [จ้าง] คนมาร่วมชุมนุม พวกเสื้อแดงเขาชุมนุมกันเพราะจะมาต่อสู้ แต่พวกเสื้อเหลือง --- บางทีเขาต้องจ่ายเงินจ้างให้มาชุมกันเสมอๆ พวกเสื้อเหลืองต้องการใช้เงินมากๆ ส่วนพวกเรานั้นได้รับเงินบริจาคจากที่นี่ที่โน่น และได้จากเพื่อนๆด้วย --- จากพวกเพื่อนๆ และพวกญาติพี่น้องของผมบางคนเขาอาจบริจาคด้วย ผมไม่รู้ และผมไม่ได้ทำอะไรเลยเพราะผมอยู่ที่นี่ แต่บางที่ถ้าเพื่อนผมบางคนอยากจะสนับสนุนขบวนการเสื้อแดง ก็ใช่ เขาคงบริจาคกัน”

Tom: “ But how much money have you sent back, or given to your supporters?”

“แต่ตัวคุณหล่ะ คุณส่งเงินไปมากน้อยเท่าไร ที่ส่งไปให้พวกผู้ที่สนับสนุนคุณ?”

Thaksin: I don’t have much money outside Thailand and I still doing some investing. I have my family money in Thailand. I never send money back to Thailand for anything.”

“ผมมีเงินนอกประเทศไทยไม่มากนัก และยังต้องใช้เงินลงทุนบางอย่างอยู่บ้าง ผมมีเงินของ ครอบครัวอยู่ในเมืองไทย ผมไม่เคยส่งเงินกลับไปประเทศไทยเพื่ออะไรเลย”

Tom: “But do have ways of getting money out of your accounts in Bangkok to your people?”

“แต่คุณคงมีวิธีเอาเงินออกจากบัญชีในกรุงเทพฯให้พวกคนของคุณ?”

Thaksin: “Everything that is there---they have been monitoring my family closely---every movement will be monitored.”

“ทุกบาททุกสตางค์ที่มีอยู่ที่โน่น --- ครอบครัวผมถูกเฝ้าตามดูอย่างใกล้ชิดโดยพวกเขา ---ความเคลื่อนไหวทุกฝีก้าวถูกติดตามดูตลอด

Tom: “Right. So what is the answer? Are you funding your Reds or not?

“ครับ แล้วคำตอบว่าไงครับ? คุณให้เงินสนับสนุนพวกเสื้อแดงของคุณหรือเปล่า?”

Thaksin: “No.”

“เปล่า”

Tom: “You’re not.”

“เปล่าจริงๆหรือ?”

Thaksin: “No.”

“เปล่า”

Tom: “Okay, because if it comes out you are, it’s going to be awkward.”

“โอเค, เพราะถ้าเกิดพบที่หลังว่าคุณสนับสนุน มันจะดูไม่ดีนะครับ”

Thaksin: “No, no.”

“เปล่า, ไม่ได้ให้”

Tom: “Alright.”

“ครับ”

Thaksin: “No.”

“ไม่ได้ให้”

Tom: “I don’t think there is anything wrong with it. I don’t think there is anything morally wrong with it. I’m just asking, just trying to find out the truth.”

“แต่ผมว่าถึงอย่างไรก็ไม่มีอะไรผิดนะครับหากจะให้เงินสนับสนุน ผมไม่คิดว่ามันจะผิดศีลธรรมอะไรเลย ที่ผมถามก็เพราะแค่อยากทราบความจริงเท่านั้นเอง”

Thaksin: “No, nothing wrong with it.”

“ไม่, ไม่มีอะไรผิดหรอกที่จะบริจาคเงิน”

Tom: “Nothing wrong legally, perhaps; but surely it’s no way to run a democratic railroad. Right?”

“ในทางกฎหมายก็คงไม่มีอะไรผิด แต่ว่าไม่น่าจะเป็นวิธีที่ถูกต้องในการสร้างประชาธิปไตยไช่ไหมครับ?

He nods in agreement.


คุณทักษิณผงกศีรษะรับ

ไม่มีบทสนทนาช่วงไหนจะสนุกเท่ากับช่วงนี้เลย คุณทักษิณไม่ตอบเสียยาว จนรู้คำตอบที่ไม่ยอมตอบในที่สุด เป็นคำตอบที่ผมรู้ดีอยู่แล้วเป็นส่วนตัว เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ก็รู้คำตอบเช่นกัน … นี่คือตัวตนที่แท้จริงของพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร



คุณทักษิณก็ถูกถามให้ประเมินความรู้สึกทั้งหมดต่อชีวิตและการกระทำที่ผ่านมา:

(38)

Tom: “Do you have any regret?

“คุณรู้สึกเสียใจบ้างไหม?”

Thaksin: “Yes, … but the truth is I would do it again. If I could do it all again Tomorrow I would. They could kick me out again, and I’d fight back and I’d go back home. And if they do that again, I will fight it, and I will be back.”

“ครับผมรู้สึกเสียใจ, … แต่ความจริงก็คือว่า ผมจะทำแบบเดิมอีก ถ้าผมสามารถทำใหม่ได้ ผมก็จะทำอย่างเดิมทั้งหมด ถ้าพรุ่งนี้ทำได้ผมก็จะทำพรุ่งนี้เลย พวกเขาสามารถเตะโด่งผมออกนอกประเทศไปได้อีก แล้วผมก็จะตอบโต้สู้กลับ ให้่ผมได้กลับบ้านอีก และถ้าพวกเขาทำกับผมอีก ผมก็จะสู้กับมันอีก และผมจะกลับมา”

เป็นการยืนยันรับประกันชัดเจนโดยตรงจากปากคุณทักษิณว่า คุณทักษิณจะไม่สำนึกผิดอะไรทั้งส้ิน หากกลับมาประเทศไทยอีกก็จะทำแบบเดิมอีก ไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าถูกขัดขวางอีก ก็จะสู้ไม่ถอย ถูกผลักดันให้ออกไปนอกประเทศอีก ก็จะสู้อีก จะกลับมาทำอย่างเดิมแน่นอน!

ท่าทางจะไม่ปรองดองกับใครแน่!

[จบบริบูรณ์]

สมเกียรติ อ่อนวิมล
7 มีนาคม 2555

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง