..
* นิติเรี่ยราด-ล่ม !
..
.....................
..
ข่าวการเมือง
สภาทาสเมินข้อเสนอคปก. ฉีกรธน.50 อ้างเป็นผลพวงรัฐประหาร
..
..
หวั่นลิดรอนพระราชอำนาจ มีวาระซ่อนเร้นช่วยนักโทษ มีการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ เวลา 9.40 น. พิจารณาเรื่องด่วน ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่.. ) ซึ่งมีผู้เสนอ จำนวน 3 ฉบับ คือ ร่างของ พรรคเพื่อไทย (พท.)ร่างของ พรรคชาติไทยพัฒนา(ชทพ.) และร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยหลักการสำคัญทั้ง 3 ร่าง เสนอแก้ไขมาตรา 291 ให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.ไปดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ เพื่อใช้แทนรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน การประชุมหนนี้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยก่อนจะเข้าสู่ระเบียบวาระ สส.ฝ่ายค้าน อาทิ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ สส. พัทลุง นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ สส.นครศรีธรรมราช ลุกท้วงติง ถึงความไม่เหมาะสมที่รัฐสภาจะพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ โดยไม่รอพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก 3 ฉบับ ที่ภาคประชาชนเข้าชื่อเสนอร่างแก้ไข อีกทั้ง เมื่อมีข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ที่มี นายคณิต ณ นคร เป็น ประธานได้มีหนังสือเสนอให้รัฐบาลและประธานสภาผู้แทนฯ พร้อมเสนอให้ชะลอการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลกลับปฏิเสธ อีกทั้ง ยังมีร่างของภาคประชาชนเสนอเข้าสภาแล้ว จึงควรชะลอเรื่องนี้ไปก่อน รอการตรวจสอบ รายชื่อร่างของประชาชนเสร็จสิ้นก่อน ซีกรัฐบาลเดินหน้าลุยแก้รธน. ขณะที่ในซีกรัฐบาล สส.จากพรรคเพื่อไทย อาทิ นายพีระพันธ์ พาลุสุข สส.ยโสธร นายสามารถ แก้วมีชัย สส.เชียงราย นายไพจิต ศรีวรขาน สส.นครพนม ลุกขึ้นตอบโต้ชี้แจง สนับสนุนให้มีการพิจารณาต่อไปอ้างร่างแก้ไข ของประชาชนเสนอมาต้องใช้เวลาในการตรวจรายชื่อประชาชนอีกนานเป็นปี ซึ่งเรื่องนี้ได้ชี้แจงประชาชนเข้าใจ ไม่ติดใจแล้วให้เดินหน้า แก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไปซึ่งในขั้นแปรญัตติก็พร้อมจะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ ร่วมเสนอ ความเห็นได้จึงขอให้มีการพิจารณาต่อไป โดยนายไพจิต ระบุว่า ร่างแก้ไขของ ภาคประชาชนอยู่ระหว่างตรวจสอบรายชื่อ ล่าสุดร่างของ นางธิดา ถาวรเศรษฐ� แกนนำคนเสื้อแดง รายชื่อถูกต้องครบตามกฎหมาย แล้ว ส่วนอีก 2 ร่างรายชื่อยังไม่ครบตามกฎหมายกำหนดจึงจำเป็นต้องแจ้งให้ส่งรายชื่อใหม่ ซึ่งตามระเบียบการตรวจสอบใช้เวลา อย่างน้อย 90 วัน ฝ่ายค้านเสนอเลื่อนพิจารณา จากนั้น ได้มีการอภิปรายถกเถียงกันนานพอสมควร นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ประธานวิปฝ่ายค้าน เสนอญัตติด้วยวาจาขอให้เลื่อน วาระการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปจน กว่าที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเสนอจะได้รับการตรวจสอบแล้วเสร็จและ บรรจุเข้าสู่วาระพิจารณา ทำไมรัฐบาลพยายามเร่งรีบ รวบรัด แก้ไขรัฐธรรมนูญให้บรรลุเป้าหมายตามวาระ ซ่อนเร้น ตามที่สังคมสงสัย หากรัฐบาลต้อง การเร่งรีบเพื่อประชาชน ทำไมไม่นำระเบียบ วาระที่ค้างอยู่ในการประชุมร่วมซึ่งมีประโยชน์ มาพิจารณา ซึ่งประเด็นความเร่งรีบนี้เพื่อต้องการทำเพื่อบุคคลๆ หนึ่ง อย่างที่ สส. พรรครัฐบาลให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ ข่าวสดหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าว หลังจากนายจุรินทร์ เสนอให้เลื่อนการพิจารณา ทำให้ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส. น่าน พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นเสนอขอให้ที่ประชุม เดินหน้าพิจารณาตามระเบียบวาระต่อไป เหลิมย้ำพาทักษิณกลับบ้าน บรรยากาศการถกเถียง ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านเริ่มดุเดือดเมื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้ตอบโต้ทันทีโดยยืนยันว่าเป็นคนระบุเองว่าจะพา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดีอาญาแผ่นดิน กลับบ้าน คือต้องเสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง 6 มาตรา ส่วนผลจะออกมาอย่างไร ต้องให้สภาพิจารณา อย่าตกใจเกินเหตุ ร.ต.อ.เฉลิมย้ำว่าส่วนประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญรัฐบาลได้รณรงค์มาตั้งแต่ ปี2552 ไม่เอารัฐธรรมนูญที่เป็นกากเดนเผด็จการ ประเด็นแก้ไขใน มาตรา 291 เปิดทางให้มี ส.ส.ร.จำนวน 99 คน ยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 180 วัน แล้วทำประชามติก็ถือว่าทำตามนโยบายซึ่งพรรคประชาธิปัตย์จะทุกข์ร้อนอย่างไร ว่าใครจะกลับมา ท่านเป็นเทวดา หรือถึงรู้ว่าสถาบัน การศึกษาจะส่งใครมา อย่าสร้างความปั่นป่วน จะเล่นการเมืองต้องมี หากคิดอย่างพวกท่าน ก็ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเลย แต่ผมเปิดทางให้มี ส.ส.ร. ส่วน ส.ส.ร.ทำอย่างไร เรื่องของเขา จะ เป็นจะตายกันหรืออย่างไรครับ ผมไม่ก้าวข้าม ทักษิณ มันเป็นสิทธิ์ของผม เพราะผมรักและเคารพ ผมพูด ผมแฟร์พอว่าจะยกร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง การเมืองเข้าที่เข้าทาง ยกเว้น คนที่สั่งฆ่า 91 คน ร.ต.อ.เฉลิม ย้ำ ฝ่ายค้านเตือนอย่าเซ็นเช็คเปล่า นายจุรินทร์ ได้สวนกลับว่า การที่บอกว่าตั้ง ส.ส.ร. ไปทำอะไร ก็เรื่องของเขา เท่ากับว่าเป็นการลงนามเซ็นเช็คเปล่า หาก ส.ส.ร.ไปแก้รัฐธรรมนูญแล้วไปกระทบสถาบัน รัฐบาลจะเอาใช่หรือไม่ ต้องตอบให้ชัดเจน ร.ต.อ.เฉลิม ตอบโต้ว่า รัฐธรรมนูญจะไปลบล้างความผิดใครได้ ผมรับไม่ได้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ โดยเฉพาะ มาตรา 309 แค่อ่านก็เสีย สายตา อย่าพูดกำกวม เซ็นเช็คเปล่าหมายความ ว่าไง อย่าพูดให้เสียหาย พร้อมได้ย้ำห้ามแก้ไข ในหมวดพระมหากษัตริย์ ขณะที่ นายอสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้ลุกขึ้นถามว่า ร.ต.อ.เฉลิม ยืนยันหรือไม่ มีมาตราไหนที่ ระบุว่าห้ามไม่ให้แก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ แต่กลับไม่ได้รับการชี้แจงใดๆ จากร.ต.อ.เฉลิม โหวตผ่านพิจารณาต่อไป นายสุนัย จุลพงศธร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นขอร้องให้ ร.ต.อ.เฉลิม หยุดตอบโต้กับฝ่ายค้านพร้อมย้ำว่า ขอให้ใช้ความอดทน หนักนิดเบาหน่อย ขอให้อดทนเพื่อให้การเดินหน้าประชุมไปได้ ปรากฏว่าในที่ประชุมก็ยังมีการถกเถียง ระหว่างซีกฝ่ายค้านและรัฐบาล อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ นายกฤษ อาทิตย์แก้ว สว.กำแพงเพชร ได้ลุกขึ้นเสนอว่าขอให้ที่ประชุมลงมติในญัตติที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านเสนอ เพราะอภิปราย มานานหลายชั่วโมงแล้ว ถ้าหากไม่จบ ทางสมาชิกวุฒิสภาจะเดินทางกลับ จนกระทั่งเวลา 11.50 น. นายสมศักดิ์ ตัดบทขอให้ยุติการอภิปราย และประท้วงเพื่อขอให้ลงมติในญัตติที่นายจุรินทร์ เสนอให้เลื่อนการพิจารณาออกไป ปรากฏว่าที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยให้เลื่อนการ พิจารณาด้วยเสียง 341 ต่อ 181 ในที่สุด การ ประชุมได้ดำเนินการไปตามระเบียบวาระต่อไป ได้ซึ่งใช้เวลาถกเถียงเสียเวลากว่า 2 ชั่วโมงเศษ ถกพร้อมกันรวดเดียว3ร่าง เวลา 12.00 น. พล.อ.ธีรเดช มีเพียร รองประธานรัฐสภาทำหน้าที่ประธานในการประชุม นายบุญยอด สุขถิ่นไทย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอให้ที่ประชุมแยกพิจารณาเนื้อหาและแยกการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ฉบับ เนื่องจากหลักการแต่ละร่างมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทยคัดค้านเนื่องจากเห็น ว่าทั้ง 3 ร่างมีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้นควรที่จะรวมพิจารณาไปในคราวเดียวหลัง สส.รัฐบาล และสส.ฝ่ายค้านถกเถียงกันอยู่ระยะเวลาหนึ่ง ประธานได้ตัดบทและขอให้ที่ประชุมลงมติเพื่อตัดสินว่าจะพิจารณาแบบใด ปรากฏว่า ที่ประชุมเห็นว่าควรพิจารณาเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ฉบับในคราวเดียวกันแต่แยกกันลงมติด้วยเสียง 359 ต่อ 79 เสียง จากนั้นตัวแทน ผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ร่างทยอยนำเสนอร่างแก้ไขต่อที่ประชุมสภา ชทพ.ย้ำขัดหลักปชต.-ไร้ถ่วงดุลศาล จากนั้นที่ประชุมร่วมรัฐสภาได้เริ่มพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม จำนวน 3 ฉบับซึ่งได้เปิดโอกาสให้เสนอร่างแก้ไขได้เสนอ หลักการและเหตุผลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยนายชุมพล ศิลปอาชา รมว. การท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะหัวหน้าพรรค ชาติไทยพัฒนา ผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับของพรรคชาติไทยพัฒนากล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 2550 มีบทบัญญัติหลายประการไม่สอดคล้อง กับหลักการประชาธิปไตย ไม่ส่งเสริมระบบพรรคการเมือง ทำให้ไม่เกิดความมั่นคงในการ บริหารราชการแผ่นดิน กระบวนการได้มาซึ่ง องค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยและการได้มาซึ่งบุคคลในองค์กรอิสระต่างๆ ขาดการเชื่อมโยง กับประชาชน ขัดกับหลักประชาธิปไตย ไม่มีระบบถ่วงดุลขององค์กรตุลาการ และองค์อิสระ ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อ ระบบอำนวยความยุติธรรมต่อประชาชน เปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติเป็นสองมาตรฐาน และมีการใช้ดุลพินิจเกินขอบเขต ซัดต้องล้างผลพวงรัฐประหาร นายชุมพลกล่าวว่าปัญหาทั้งหมดเป็น ผลมาจากการรัฐประหาร ทำให้เกิดผลกระทบ ต่อการบริหารราชการแผ่นดิน บทบัญญัติบางมาตรารองรับการกระทำของรัฐประหารโดยปราศจากการตรวจสอบ เป็นผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติเกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม แบ่ง ฝักแบ่งฝ่าย จึงสมควรร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่มีความเป็นประชาธิปไตยโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมและให้ความเห็นชอบกับร่าง รัฐธรรมนูญ อันส่งผลให้ประเทศชาติมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยแท้จริงคืออำนาจเป็นของปวงชนชาวไทย การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กร ตามรัฐธรรมนูญรวมถึงหน่วยงานของรัฐ มีความเป็นนิติรัฐโดยสมบูรณ์ นายชุมพล กล่าวว่า ที่มาของ ส.ส.ร. จะมาจากสภาสถาบันอุดมศึกษา องค์กรทาง ด้านเศรษฐกิจ อีกส่วนจะเป็นผู้แทนมาจากประชาชนมาทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งตรงนี้จะเป็นการป้องกันข้อครหาว่าทำเพื่อบุคคลใด บุคคลหนึ่งเพื่อพรรคใดพรรคหนึ่งและจะช่วย ลดข้อโต้แย้งว่ารัฐธรรมนูญ 2540 หรือ 2550 ฉบับไหนดีกว่ากัน รูปแบบ ส.ส.ร.ที่เสนอมามีความโปร่งใสตรวจสอบได้ เพราะเมื่อมีการ ยกร่างเสร็จต้องนำกลับมาให้ที่ประชุมรัฐสภา ให้ความเห็นชอบ ดังนั้น ข้อหวาดระแวงว่า ส.ส.ร.จะไปปู้ยี่ปู้ยำหรือทำอะไรซ่อนเร้นไม่มีแน่นอน เพราะคงทำได้ลำบาก ปรับจุดแข็งรธน.ปี40-50ผนวกกัน ขณะเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องนำไปทำ ประชามติเพราะในรัฐสภาถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนสามารถตรวจสอบได้อยู่แล้ว แต่ถ้ารัฐสภาไม่เห็นชอบก็ยังสามารถนำร่างรัฐธรรมนูญไปประชามติถามประชาชนได้ การยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ต้องเอาจุดอ่อน และแข็งของรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 มา พิจารณาโดยเอาจุดแข็งของทั้งสองฉบับมาผนวกกัน ที่ผ่านมาเราแก้ทีละประเด็นก็ ไม่สามารถทำให้การเมืองดีขึ้น แต่ทำให้ระบบ พรรคการเมืองเป็นอัมพาตถูกยุบเป็นว่าเล่น นายชุมพล กล่าว ทั้งประชดประชันว่า ขณะนี้เหลือเพียงพรรคเดียวที่มีอายุ 65 ปีซึ่งก็รอวันไม่รู้จะถูกยุบเมื่อไหร่ หากไม่แก้ไขอนาคตพรรค การเมืองสูญพันธุ์แน่นอน เสนอให้เลือกตั้งนายกฯโดยตรง ขอให้ทุกฝ่าย ลดทิฐิลงเพื่อประโยชน์ ของประเทศชาติส่วนรวม เพราะถ้าไม่ทำวิกฤติทางการเมืองก็ยังคงอยู่ต่อไป หากมีการ พิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญควรมีการพิจารณา ที่มาของนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเพราะตอนยกร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ส.ส.ร.ตอนนั้นไม่กล้าพิจารณาประเด็นนี้ แต่วันนี้ในระดับท้องถิ่นตั้งระดับนายก อบจ. เป็นการเลือกตั้งผู้นำโดยตรงแล้ว โครงสร้างระดับล่างทั้งหมดเป็นรูปแบบนี้ เราควรพิจารณา ประเด็นนี้หรือไม่ หรือหลายเรื่องควรมีการศึกษา อย่างเรื่องอำนาจของประธานสภาผู้แทน ราษฎร ที่ควรจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯพระราชบัญญัติ รวมไปถึงความไม่ชัดเจนในอำนาจขององค์กรอิสระหลายองค์กรที่ต้องปรับปรุงแก้ไข อย่างศาลปกครอง หรือ ศาลรัฐธรรมนูญ ควรมีหน้าที่พิจารณาเรื่องใดบ้าง นายชุมพล กล่าว พท.ร่ายเหตุผลแก้รธน.เพียบ ต่อมา นายอุดมเดช รัตนเสถียร สส. นนทบุรี พรรคเพื่อไทย และประธานวิปรัฐบาล ในฐานะตัวแทนผู้เสนอร่างแก้ไขของพรรคเพื่อไทย กล่าวหลักการและเหตุผลในการเสนอว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มีบทบัญญัติหลาย ประการไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ไม่ส่งเสริมระบบพรรคการเมืองทำให้ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ เกิดความไม่มั่นคง ต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน กระบวนการ ได้มาซึ่งองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย และการ ได้มาซึ่งบุคคลองค์กรอิสระต่างๆ ขาดการเชื่อมโยงกับอำนาจของประชาชนและขัดต่อหลักความเป็นประชาธิปไตย ไม่มีระบบการถ่วงดุลอำนาจขององค์กรตุลาการ และองค์กร อิสระตามรัฐธรรมนูญที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบอำนวยความยุติธรรม กับประชาชน เปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติ เป็นสองมาตรฐาน และมีการใช้ดุลพินิจที่เกินขอบเขต สับรธน.ต้นเหตุขัดแย้งไม่เป็นธรรม นายอุดมเดชกล่าวว่าปัญหาทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวเป็นผลมาจากกระบวนการได้มา ซึ่งรัฐธรรมนูญมิได้เป็นไปตามหลักการ ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของ ประชาชน แต่เป็นรัฐธรรมนูญที่สืบทอดอำนาจมาจากอำนาจของการทำรัฐประหารอันเป็นการได้ อำนาจการปกครองประเทศโดย วิธีการมิได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญบางมาตราให้การรับรองการกระทำของคณะรัฐประหารโดยปราศจากการ ตรวจสอบเป็นผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดย ไม่เป็นธรรมจนเกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย จึงเป็น การสมควรที่จะจัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตย โดยกำหนดให้มี ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ของประชาชนจังหวัดละ 1 คนและจากการคัดเลือกจากที่ประชุมรัฐสภา 22 คน การที่ประเทศไทยมีความคิดเห็นที่หลากหลายและมี ส.ส.ร.มาจากทุกภาคส่วน จะเป็นความสวยงามของประชาธิปไตย เชื่อว่า ผู้มาเป็น ส.ส.ร.จะทำหน้าที่ตามหลักนิติรัฐนิติธรรมทำสิ่งประโยชน์ต่อประเทศชาติเพราะ ทุกคนมีที่มาและมีความน่าภาคภูมิใจ ถือเป็นตัวแทนจากภาคประชาชนเช่นเดียว กันกับสมาชิกรัฐสภาจึงขออย่ากังวลให้กับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นนายอุดมเดช กล่าว เหลิมโยน99สสร.ไปยกร่าง ต่อมา ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายก รัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวว่าร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญที่ครม.เสนอได้กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ส.ส.ร.2 ประเภท 1.มาจากการเลือกตั้งในจังหวัด จังหวัดละ 1 คน และ 2.มาจากรัฐสภาคัดเลือกจาก บุคคลหลายสาขาอาชีพ 22 คน เพื่อปรับปรุง โครงสร้างทางการเมืองขึ้นใหม่ให้มีเสถียรภาพ และประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุมัติรัฐ ธรรมนูญ โดยการออกเสียงประชามติได้โดยยังคงรักษา ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไว้ตลอดไป ยันแก้ตามหาเสียงไม่ยุ่งม.112 รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าบรรยากาศ ตอนนี้เกิดความสับสนโดยมีหลายคนแสดงความเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือ การรื้อ โครงสร้างประเทศและรอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งในที่นี้ในนามรัฐบาลขอยืนยันจะรักษาสถาบัน พระมหากษัตริย์ต่อไปและการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และไปยกโทษยกความผิด ให้ใครไม่ได้ทั้งนั้น ไม่ได้เป็นการนิรโทษกรรม หรืออภัยโทษให้ใคร เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของรัฐบาลได้ทำตามที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อ 23 ส.ค. 2554 ว่าจะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญภายใน1ปีซึ่งตอนนี้ถึงเวลาแล้วเท่านั้นเอง ลั่นชงกม.ปรองดองพาแม้วกลับ อย่างไรก็ตามรองนายกฯย้ำช่วงท้ายว่า หลังจากนี้จะเสนอ พ.ร.บ.ปรองดอง เข้าสภา ผู้แทนราษฎร เพื่อหาทางให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ามาในประเทศ ให้ได้ ส่วนจะเข้ามาได้หรือไม่นั้น ต้องดูบริบท ทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง เพราะเป็นการทำ ตามที่หาเสียงเอาไว้ตอนเลือกตั้ง บัญญัติไม่รับร่างทั้ง3ร่าง เวลา 13.40 น. ที่ประชุมได้เริ่มอภิปราย ในสาระสำคัญ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน สส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายเป็น คนแรกว่าไม่รับหลักการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ฉบับ ด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่ 1.รัฐบาลไม่ได้รับฟังข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ที่เสนอให้ชะลอการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ออกไปจนกว่าร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญของ ประชาชนจะได้รับการบรรจุในระเบียบวาระ 2.มีการเลี่ยงบาลีโดยการแก้ไขมาตรา 291 ทั้งที่ในบทบัญญัติมาตราดังกล่าวระบุให้สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องตั้ง ส.ส.ร. และ 3.กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ผ่านการทำประชามติของประชาชนเท่ากับ มีความครบถ้วนในหลักประชาธิปไตยให้ประชาชนมีส่วนร่วม แฉที่มาสสร.ทั้ง3ร่างบกพร่อง นายบัญญัติ กล่าวต่อว่า หากพิจารณา ตัวร่างรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ถือว่ามีข้อบกพร่อง ซึ่งควรปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ 1.ที่มา ส.ส.ร. เลือกตั้ง ที่นำคุณสมบัติของผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสส.เข้ามาเป็นคุณสมบัติของผู้ ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.ร. ทั้งที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องกำหนดคุณสมบัติพิเศษ และห้ามให้อิทธิพลการเมืองครอบงำ หากเจ้าของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญใจกว้าง ควรมีบทบัญญัติเพิ่มเติม ว่า ผู้จะสมัครเป็นส.ส.ร. ต้องไม่เป็นบุพการี คู่สมรส ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งอื่น, ไม่เป็น หรือเคยเป็น สส.ที่พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่ถึงเวลา 5 ปี, ไม่ดำรงตำแหน่งสมาชิกการทาง การเมือง หรือสมาชิกพรรคการเมือง หากเป็น ต้องพ้นจากสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปี ส่วน ส.ส.ร.ที่มาจากสถาบันอุดมศึกษา ที่ ร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่ารัฐบาลไม่สามารถครอบงำได้นั้น จากประสบการณ์ที่ผ่านมา แต่ บทบัญญัติที่ระบุว่าให้เพิ่มนักวิชาการด้านเศรษฐกิจ สังคม และเอกชนเข้ามานั้น เท่ากับ เป็นการเพิ่มจำนวนของนักวิชาการให้ได้จำนวนมาก เพื่อส่งผลต่อการคัดเลือกคนของรัฐบาลชั้นสุดท้าย ส่วนที่ให้รัฐสภาเป็น ผู้คัดเลือกส.ส.ร.ภาคนักวิชาการ จะเชื่อได้อย่างไรว่ามีความเป็นอิสระ หากรัฐบาลยังคง ถูกครอบงำ นายบัญญัติ กล่าว หวั่นกระทบพระราชอำนาจ นายบัญญัติ กล่าวต่อว่า กรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่แตะต้องหมวด พระมหากษัตริย์ เพราะเขียนไว้ชัดเจนว่า ตนไม่เข้าใจว่าระดับดอกเตอร์เฉลิม ไม่สามารถแปลความได้ว่า พระราชอำนาจอาจได้รับการ กระทบและเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ตนมั่นใจในความจงรักภักดีของรัฐบาล แต่ด้วยช่องว่างของรัฐธรมนูญ ทำให้ไม่แน่ใจว่าจะได้ส.ส.ร.ที่มีความอิสระ ปราศจากการครอบงำของบุคคลได้ หากเสียงข้างมากในรัฐสภายังถูกครอบงำ คงไม่มีหลักประกันใดที่จะไม่ให้เกิด การปฏิรูปที่ไม่สุจริตและไม่ปรารถนาได้ สว.ไม่เชื่อลมปากเฉลิม ต่อมา นางตรึงใจ บูรณสมภพ สว. สรรหา ได้อภิปรายว่าไม่เชื่อคำพูด ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ที่ระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้ จะไม่แก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ เพราะมีหลายครั้งที่รองนายกฯพูดแล้วข้อเท็จจริง ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ส่วนที่ไม่เห็นด้วยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เนื่องจาก 1.ต้องการแก้ไขเพื่อให้สถาบัน พระมหากษัตริย์ เป็นเพียงสัญลักษณ์และตรายาง 2.แก้ไขหมวดอื่นๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ ให้คนที่ต้องคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์ ที่มาจากการประพฤติมิชอบ ทำให้ผู้ที่ถูกยึดทรัพย์ ได้รับเงินคืน และหากได้รับการนิรโทษกรรม บุคคลที่ถูกยึดทรัพย์สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้และมาเป็นนายกฯได้ 3.แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปูทางสู่ฐานอำนาจของกลุ่มบุคคลเพื่อเปลี่ยนประเทศให้ เป็นรัฐไทยใหม่ ให้เป็นเผด็จการทุนผูกขาด คือ แก้ไขมาตราที่ขัดขวางการทุจริตเลือกตั้ง ใช้เงินซื้อเสียงเลือกตั้ง หากแก้ไขประเทศไทย จะติดอันดับ 1 ของประเทศที่ทุจริต, แก้ไขให้พรรคการเมืองสามารถซื้อพรรคเล็กมา ควบรวมกับพรรคของตนเพื่อควบคุม สส. สภา นำไปสู่เผด็จการ สภาทาส และ สภาผัว-เมีย, แก้ไขการสรรหาที่มาองค์กรอิสระและที่มาของวุฒิสภา ทำให้นักการเมืองมีอิทธิพลเข้าเลือกคนของตนให้ไปดำเนินการในหน่วยงาน ดังกล่าวได้ ดังนั้นจึงเห็นว่าการแก้ไขครั้งนี้ ไม่เป็นประโยชน์ใดต่อประชาชน ทำให้เกิดระบบทุนผูกขาด เบ็ดเสร็จ สถาบันในสังคมทำให้อ่อนแอ และประชาชนจะถูกยึดครอง ดังนั้นประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตยขณะนี้ กำลังถูกหลอก ส่วนพรรคการเมืองตกอยู่ภายใต้ทุน นางตรึงใจ กล่าว หั่นวาระองค์กรอิสระทิ้ง ด้าน พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย สส. นนทบุรี พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันเป็นผลพวงมาจากการรัฐประหาร จึงต้องแก้ไข โดยเฉพาะผู้มาดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ ไม่ควรมีวาระดำรงตำแหน่ง 9 ปี เพราะทำให้เป็นผู้มีอิทธิพลเอง ควรลดเหลือ 5 ปี รวมถึงควรยกเลิกการยุบพรรค และตัดสิทธิการเมืองกรรมการบริหารพรรค พญ.พรพันธ์ บุญยรัตพันธุ์ สว. สรรหาอภิปรายว่า ตนก็ยังไม่ไว้วางใจต่อการมาทำหน้าที่ของส.ส.ร.ว่าจะไม่แตะต้องหมวดที่เกี่ยว ข้องกับสถาบันกษัตริย์ เพราะ ไม่ได้ระบุไว้ให้ชัดเจนว่า ไม่ให้มีการแก้ไขหมวด 2 แต่ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ ดังนั้นขอเสนอให้เขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนไปเลยว่า ห้าม ส.ส.ร.แตะต้องหมวดดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนได้เกิดความ สบายใจ หมอตุลย์ค้านแก้ไขม.112 ก่อนหน้านี้ เวลา 10.00 น. เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน นำโดย นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ได้นำรายชื่อผู้คัดค้านการแก้ไข หรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำนวน 3 หมื่นรายชื่อ ยื่นต่อนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ทั้งยังคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้ด้วย โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายชี้แจง ให้ชัดก่อนว่าจะแก้ไขประเด็นไหน แก้อย่างไร มาตราใดบ้าง ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประชุมรัฐสภา หนนี้ มีกลุ่มผู้คัดค้าน และกลุ่มผู้สนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำนวนมาก แต่ไม่มีเหตุการณ์ อะไรรุนแรง โดยตำรวจนครบาลได้ส่งกำลัง 400 นายดูแลความเรียบร้อย หึ่งนิติราษฎร์ล่มสลายแล้ว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะนิติราษฎร์ โดยมีนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อ.ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นแกนนำนั้น เป็นผู้เสนอแก้ไข มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา โดยเสนอลดโทษ ของผู้กระทำผิดในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งได้สร้างกระแสและความขัดแย้งต่อสังคมไทย เป็นเวลาเกือบ 2 เดือนนั้น ล่าสุด มีข่าววงในจากนักข่าวในทำเนียบรัฐบาล เริ่มพูดกันเป็นเสียงเดียวว่า ล่าสุดคณะนิติราษฎร์ เริ่มถอดใจ กับการรณรงค์แก้ไข ม.112 เพราะประชาชนออกมา ต่อต้านแถมยังมีแนวต้านจากหลายๆ ฝ่าย ไม่เห็นด้วยทั่วบ้านทั่วเมือง ล่าสุดนั้น รัฐสภา ตอกย้ำยืนยันชี้ชัดว่าจะไม่มีวันแก้กฎหมายฉบับนี้แน่นอน |
|
วันที่ 24/2/2012 |
ข่าวการเมือง
ประมวลภาพ "ขบวนพาเหรดล้อการเมือง"
งานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 68
..
งานฟุตบอลประเพณีฯ ระหว่างสองสถาบันที่จัดต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน
ตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือปี พ.ศ.2477
จากแนวคิดร่วมกันของนิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบัน
เพื่อสร้างความสามัคคีและเป็นหนึ่งในกิจกรรมอันยิ่งใหญ่ของนักศึกษา
ที่ทำขึ้นด้วยแรงกายแรงใจอย่างแท้จริง โดยในปีนี้ งานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 68 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 ณ สนามศุภชลาศัย โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพ ภายใต้แนวคิดหลัก "เปิดรับ" โดยมีวลีเต็มคือ "ฟื้นคืนความหวัง สร้างพลังความคิด ทุกชีวิตเปิดรับความเปลี่ยนแปลง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้มาจากการมองเห็นปัญหาหลายอย่างในสังคมไทย โดยเฉพาะปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เพิ่งผ่านไป สำหรับตราสัญลักษณ์ของงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ในครั้งนี้ มีแนวคิดเน้นถึงความสามัคคี จากการใช้รูปลักษณ์ของเลขหกและแปด เป็นเส้นสายเข้ามารวมที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ตราสัญลักษณ์นี้ยังถูกนำไปประดับบนเสื้อเชียร์ ทั้งนี้ ภายในงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 68 มีกิจกรรมมากมาย อาทิ การแปรอักษร การแสดงจากผู้นำเชียร์และคณะฑูตกิจกรรม แสตนด์แปรอักษร และขบวนพาเหรดล้อการเมือง ที่รับรองว่า ต้องมีทีเด็ดไม่แพ้จากปีก่อนๆ แน่นอน |
|
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น