เจาะกองทัพ:บ.เครือข่ายพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา พัวพันซื้อชิ้นส่วน"เฮลิคอปเตอร์"อย่างไร?
เจาะจัดซื้ออาวุธและยุทธภัณฑ์ของกองทัพ เครือข่ายคอนเนกชันธุรกิจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนใหม่เกี่ยวข้องกับ บริษัทการจัดหาชิ้นส่วนอะไหล่ซ่อมเฮลิคอปเตอร์ เบลล์ 212 และอื่นๆจากอดีต-ปัจจุบัน อย่างไร?
ภายหลังการขึ้นสู่อำนาจของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกแห่งประเทศไทย โดยมี พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในบริบทของกองทัพนอกจากคำถาม ทำไมต้องเป็น พล.อ.ยุทธศักดิ์? ก็คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนใหม่มีนโยบายในการจัดซื้ออาวุธและยุทธภัณฑ์อย่างไร ประการสำคัญ พล.อ.ยุทธศักดิ์มีปูมหลังทางธุรกิจอย่างไร?
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (TCIJ) นำข้อมูล “ปูมหลัง” มาเสนอดังนี้
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เริ่มทำธุรกิจมา ตั้งแต่ปี 2513มีชั้นร้อยตรีกระทั่งเป็นพลเอก
1 บริษัทก่อตั้งในปี 2513 ชื่อ บริษัท เหมืองทะเล จำกัด จดทะเบียนวันที่ 21 กรกฎาคม 2513 ทุน 3 ล้านบาท ประกอบธุรกิจ ตรวจหา สำรวจ เจาะหา เดืนเรือขุดและทำเหมืองแร่ ที่ตั้งเลขที่ 59/6 ถนนเสือป่า แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ มีกรรมการ 3คนชื่อ นายสมพันธ์ พิศลยบุตรร้อยเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา(ยศขณะนั้น) และ นายประกอบ ถนอมพิชัย
2 บริษัทก่อตั้งในปี 2514 ได้แก่
1.บริษัท แมคเคย์ (ประเทศไทย) จำกัดจดทะเบียน วันที่ 2 มิถุนายน 2514 ทุน 1 ล้านบาทา ที่ตั้งเลขที่ 30 ซอยสีฟ้า ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ มีกรรมการ 8 คน ได้แก่ นายธาตรี ประภาพันธ์(คนใกล้ชิดนายเจริญ สิริวัฒนภักดี) ,นายชลกานต์ บุปผเวส (เป็นกรรมการกลุ่มบริษัทนายเจริญ สิริวัฒนภักดี),พันตรียุทธศักดิ์ ศศิประภา (ยศขณะนั้น),พันตำรวจโทวิชัย ธรรมสุทธิพงษ์ , นางรื่นรมย์ ธรรมกุลางกูร ,นางพินนา เหลาประดิษฐ์ และ นายอรุณเหลาประดิษฐ์ จดทะเบียนเลิกกิจการวันที่ 14 ธันวาคม 2535
2.บริษัท ไทย อินเดียน่า (1971) จำกัดจดทะเบียน วันที่ 7 กันยายน 2514 ทุน 500,000 บาท ประกอบธุรกิจเข้าเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในบริษัทจำกัด ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ตั้งเลขที่ 42 ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตยานนาวา กรุงเทพฯ มีกรรมการ 8 คนคือ พันตรียุทธศักดิ์ ศศิประภา(ยศขณะนั้น) นายธาตรี ประภาพันธ์ พันตรี ถวัลยา ประภาพันธ์ พันตำรวจโทวิชัย ธรรมสุทธิพงษ์ พันตรีทวีสิทธิ์ สร้างสมวงศ์ ร้อยโทไพโรจน์ บูลภักดิ์ ร้อยโทวรรณธนะ เมืองประชา และพันตรีปานต่อ กรรณสูต(ยศขณะนั้น)
อีก 1 บริษัททำธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ได้แก่ บริษัท แมเนจเมนท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัดจด ทะเบียนวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 ทุน 1 ล้านบาท ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง (อาคารที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์) ที่ตั้งเลขที่ 1327/2 ซอยนวมินทร์ 51 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ พลอากาศเอกนพพร จันทวานิช ,พลอากาศเอกปอง มณีศิลป์ ,พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา,นายเกรียงเดช มโนมัยพันธุ์ และพลเอกประยูร มีเดช ถือหุ้น คนละ 20%
จากการตรวจสอบพบว่า นางพินนา เหลาประดิษฐ์ ทำธุรกิจค้าอาวุธ บริการรับจ้างซ่อมอากาศยานเครื่องยนต์อากาศยานและอุปกรณ์อากาศยานชื่อ บริษัท ริชมอนด์ จำกัด จดทะเบียนวันที่ 30 กรกฎาคม 2516 ทุน 5 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 9 ซอยพระราม 9 ซอย 46 ถนนเสรี 8 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ
จากการตรวจสอบพบว่า ในช่วงที่ผ่านมากองทัพเป็นคู่ค้ากับ บริษัท ริชมอนด์ จำกัด ในการจัดหาชื้นส่วนและอุปกรณ์เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ 212 และ แบบ 206 ตั้งแต่ ปี 2546 เป็นต้นมาจนถึงปี 2552 จำนวน 12 สัญญา วงเงิน 275.2 ล้านบาท ได้แก่
1.ซ่อม propeller เครื่องบินลำเลียงแบบ 212 จำนวน 2 รายการ วงเงิน 1,904,000 บาท 18 ก.ย. 2546
2.ซ่อมชิ้นส่วนและอุปกรณ์เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ 212 จำนวน 1 รายการ วงเงิน 1,588,000 บาท 28 ม.ค. 2548
3.ซ่อมชิ้นส่วนซ่อมและอุปกรณ์เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ206 จำนวน 1 รายการ วงเงิน 25,750,000 บาท 29 ก.ย. 2549
4.ซ่อมชิ้นส่วนซ่อมและอุปกรณ์เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ 206 วงเงิน 2,167,000 บาท 29 ก.ย. 2549
5.ซ่อม ชิ้นส่วนเฮลิคอปเตอร์ แบบ212จำนวน 2 รายการ วงเงิน 34,147,000 บาท 28 ก.ย. 2550
6.ซ่อมเครื่องยนต์เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ206 จำนวน 3 รายการ วงเงิน 16,710,000 บาท 15 ก.ย. 2551
7.ซ่อมชิ้นส่วนและอุปกรณ์เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบที่ 212 จำนวน 9 รายการ วงเงิน 37,900,000 บาท 18 ธ.ค. 2551
8.ซ่อมชิ้นส่วนและอุปกรณ์เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ1 จำนวน 1 รายการ วงเงิน 9,270,000 บาท 13 มี.ค. 2552
9.ซ่อมชิ้นส่วนซ่อมและอุปกรณ์เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ 206จำนวน 6 รายการ วงเงิน 21,268,000 บาท 20 มี.ค. 2552
10.ซ่อมชิ้นส่วนและอุปกรณ์เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ212 จำนวน 7 รายการ วงเงิน 122,310,000 บาท 16 พ.ย. 2552 (รายการที่ 1-10 กรมการขนส่งทหารบก)
11.อะไหล่ระบบเครื่องยนต์เครื่องบินขับไล่ แบบที่ 1 ก/ข จำนวน 2 รายการวงเงิน 1,166,500 บาท 24 ธ.ค. 2547 (กองทัพเรือ)
12.ซื้อขาย อะไหล่ระบบโครงสร้างอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง แบบที่ 2 จำนวน 21 รายการ วงเงิน 1,049,714 บาท (กองทัพเรือ)
“เฮลิคอปเตอร์ 212”หากนึกไม่ออกว่าแบบไหน? ก็ขอให้นึกถึงเฮลิคอปเตอร์แบบเดียวกับที่ตกที่แก่งกระจานเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมาทำให้ทหารเสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 1 รายนั่นเอง?
:เปิด“ขาใหญ่”ซิว“เฮลิคอปเตอร์-พิรุธ!ซ่อม“รถถัง”ส่อฮั้ว?
เปิดชื่อบริษัทค้าอาวุธใหญ่ไทย-ต่างชาติ ขายเฮลิคอปเตอร์ เครื่องบิน อะไหล่ และซ่อมรถถังให้กองทัพ พบกระจุกตัวรายเดียว 1.1 พันล้าน พิรุธ!ผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน
ไม่ใช่บริษัทเครือข่ายคอนเนกชันของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ เพียงรายเดียวหาก แต่การจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ อะไหล่ชิ้นส่วนมีอย่างน้อย 13 บริษัทเข้ามาเกี่ยวข้อง
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ(TCIJ)ตรวจ สอบพบว่า กรณีเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบิน ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา(งบประมาณ 2551-2553) กองทัพบกจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบินใช้งานทั่วไป ผ่านบริษัทต่าง ประเทศอย่างน้อย 2 รายคือ บริษัท แอมเบรย์-เอมเปรซาบราซิลเลรา เด ไอโรนอติก้า เอสเอ จำกัด และ บริษัท เอ็นสตรอม เฮลิคอปเตอร์ จำกัด
บริษัท แอมเบรย์-เอมเปรซาบราซิลเลรา เด ไอโรนอติก้า เอสเอ จำกัดเป็นผู้ขายเครื่องบิน EMBRAER ERJ 135จำนวน 1 เครื่องวงเงิน 829.7 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 ก.ย.2551 ส่วน บริษัท เอ็นสตรอม เฮลิคอปเตอร์ จำกัด ขายเฮลิคอปเตอร์ขนาดเบา ยี่ห้อ Enstrom แบบ 480 B จำนวน 16 ลำ ให้วงเงิน 1,187,349,210 บาท เมื่อวันที่ 24 ก.ย.2553
*เปิดชื่อ 11 บ.อะไหล่เฮลิคอปเตอร์
ขณะที่การจัดหาชิ้นส่วนอะไหล่เฮลิคอปเตอร์ มีการจัดซื้อจัดจ้างผ่าน 11 บริษัท ได้แก่
1.บริษัท โรยัลสกาย จำกัด
2.บริษัท เอส วาย พี บางกอก จำกัด
3.บริษัท เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ เอเชีย (พีทีอี) จำกัด
4.บริษัท ศรีวิวัฒน์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ จำกัด
5.บริษัท สกายเทค อีควิปเม้นท์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
6.บริษัท โกลบอล เทคโนโลยี แอนด์ เอ็กซ์-อิม จำกัด
7.บริษัท มาร์ช เอวิเอชั่น จำกัด
8.บริษัท ริชมอนด์ จำกัด
9.บริษัท โรยัลแอร์พอร์ตเซอร์วิสเซส จำกัด
10.บริษัท วี.พี.สตรัคเจอรัล พาแนลส์ จำกัด และ
11.บริษัท สยามเทลเทค จำกัด
จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท โรยัลสกาย จำกัด เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด จากการตรวจสอบพบเข้ามาเป็นคู่สัญญากับกองทัพมาตั้งแต่ปี 2543 มูลค่านับพันล้านบาท ตัวเลขเฉพาะ 3 ปีหลังสุด (2551-2553) มีการจัดซื้อจัดหาจำนวน 34ครั้ง วงเงิน 1,105.4 ล้านบาท ลอต ล่าสุดคือ จัดหาอุปกรณ์และซ่อมเฮลิคอปเตอร์แบบใช้งานทั่วไปแบบ 212 จำนวน 147 รายการ มูลค่า 610.4 ล้านบาท (ทำสัญญาวันที่ 30 ก.ย.2552)
จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท โรยัลสกาย จำกัด มีนายรังสรรค์ เฉลิมไกรวุฒิ และนายวีระพจน์ อัศวาจารย์ ถือหุ้นใหญ่และอยู่ในกลุ่มเดียวกับ บริษัท เอส วาย พี บางกอก จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดหาอะไหล่เครื่องบินลำเลียง แบบ 212ให้กองทัพในช่วงเวลาเดียวกันจำนวน 5 ครั้ง วงเงิน 58.4 ล้านบาท
บริษัท เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ เอเชีย (พีทีอี) จำกัด เป็นคู่ค้าจำนวน 13 ครั้ง วงเงิน 551.3 ล้านบาท การจัดซื้ออะไหล่ลอตใหญ่ 791 รายการ มูลค่า 370 ล้านบาท เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2550
บริษัท ศรีวิวัฒน์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ จำกัด (บริษัทค้าอาวุธรายใหญ่ในกองทัพเรือ นายวิวัฒน์ พัฒโนดม ถือหุ้นใหญ่) มีการจัดซื้อชิ้นส่วนซ่อมเครื่องบินใช้งานทั่วไปแบบ 41 และอื่นๆ จำนวน 7 ครั้ง วงเงิน 27.6 ล้านบาท
บริษัท สกายเทค อีควิปเม้นท์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด(ก่อตั้ง 18 มีนาคม 2540 นายพิชัย พฤติศักดาดุลถือ หุ้นใหญ่) ซ่อมแซมและจัดหาอะไหล่เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ212 และ เครื่องยนต์เฮลิคอปเตอร์แบบทั่วไปแบบ 206 ในช่วงปี 2552 -2553 รวม 2 ครั้ง วงเงิน 52.6 ล้านบาท
บริษัท โกลบอล เทคโนโลยี แอนด์ เอ็กซ์-อิม จำกัด(ก่อตั้งวันที่ 29 มกราคม 2540นายไพรัตน์ จารุพงศาถือหุ้นใหญ่) จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ ชิ้นส่วนซ่อมเฮลิคอปเตอร์แบบ212 และรอกค้นหา กู้ภัย รวม 17.7 ล้านบาท (18 ธ.ค. 2551)
บริษัท มาร์ช เอวิเอชั่น จำกัด จัดหาชิ้นส่วนซ่อมเฮลิคอปเตอร์ฝึก แบบ 300 ซ่อมชิ้นส่วนซ่อมและอุปกรณ์เครื่องบินฝึกแบบ 41ซ่อมชิ้นส่วนและอุปกรณ์ เฮลิคอปเตอร์ ใช้งานทั่วไปแบบ 212 รวม 5 ครั้ง 87.1 ล้านบาท
บริษัท ริชมอนด์ จำกัด จัดหาชิ้นส่วนและอุปกรณ์เฮลิคอปเตอร์ 5 ครั้ง วงเงิน 207.4 ล้านบาท
บริษัท โรยัลแอร์พอร์ตเซอร์วิสเซส จำกัด ซ่อม IRAN เครื่องบินลำเลียงแบบ 212 วงเงิน 149.5 ล้านบาท (16 ก.ย.2552)
บริษัท วี.พี.สตรัคเจอรัล พาแนลส์ จำกัดจัดหาชิ้นส่วนซ่อมเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ 47 ดี 4 ครั้ง วงเงิน 225 ล้านบาท
บริษัท สยามเทลเทค จำกัดจัดหาชิ้นส่วนซ่อมเฮลิคอปเตอร์ฝึกแบบ300จำนวน 6 ครั้ง วงเงิน 80 ล้านบาท
และบริษัท สยาม-อเมริกัน กรุ๊ป จำกัดจัดหาชิ้นส่วนซ่อมเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ47และ เฮลิคอปเตอร์ 212 จำนวน 2 ครั้ง 112.5 ล้านบาท
บริษัทคู่ค้าอะไหล่เฮลิคอปเตอร์ให้กองทัพบกมากสุด 5 อันดับ
ชื่อ | วงเงิน (บาท) |
บริษัท โรยัลสกาย จำกัด | 1,105.4 ล้าน |
บริษัท เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ เอเชีย (พีทีอี) จำกัด | 551.3 ล้าน |
บริษัท ริชมอนด์ จำกัด | 207.4 ล้าน |
บริษัท โรยัลแอร์พอร์ตเซอร์วิสเซส จำกัด | 149.5 ล้าน |
บริษัท สยาม-อเมริกัน กรุ๊ป จำกัด | 112.5 ล้าน |
* 2 กลุ่มผูกขาดอะไหล่ “รถถัง”
ในส่วนการจัดหาอะไหล่รถถัง รถเกราะ ลำเลียงพลก่อนหน้านี้มีบริษัท เอ็น เค อินดัสตรีส์ จำกัด (นายนรินทร์ แก้วประโลม และนายอาทิตย์ แก้วประโลม ถือหุ้นใหญ่) เป็นคู่ค้ารายหนึ่ง ทว่าหลังปี 2551 เป็นต้นมาเอเจนซี่รายนี้มิได้มีชื่อเป็นคู่ค้า
จากการตรวจสอบพบว่าในรอบ 3 ปี มีเอกชนรายใหญ่เพียง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบริษัท ชัยเสรี (กรุงเทพ) จำกัด บริษัท ชัยเสรีเม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด (มีผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกันคือนายหิรัญ กุญหิรัญ และ นายกิตติ กุลหิรัญ) และ กลุ่มบริษัท อาร์มี่ ซัพพลาย จำกัด บริษัท เอ็น อาร์ ออโตโมทีฟ จำกัด (สองบริษัทมีผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน)
จากการตรวจสอบพบว่า กลุ่มบริษัท ชัยเสรี (กรุงเทพ) จำกัด และ บริษัท ชัยเสรีเม็ททอลแอนด์ รับเบอร์ จำกัด เป็น รายใหญ่ที่สุด ตัวเลขเฉพาะ 3 ปีจัดหาอะไหล่ 47 ครั้ง (สัญญา) จำนวน 421.4 ล้านบาท แบ่งออกเป็นปี 2551 จำนวน 12 ครั้ง วงเงิน 111.6 ล้านบาท ปี 2552 จำนวน 13 ครั้ง วงเงิน 163 ล้านบาท ปี 2553 จำนวน 22 ครั้ง วงเงิน 146.7 ล้านบาท
ขณะที่บริษัท อาร์มี่ ซัพพลาย จำกัด จัดหาอะไหล่รถถังและปืนใหญ่จำนวน 12 ครั้ง วงเงิน 83.7 ล้านบาท และ บริษัท เอ็น อาร์ ออโตโมทีฟ จำกัด จัด หาอะไหล่ รถถัง เอ็ม 48 เอ5 ยี่ห้อแบบรุ่น TECMOTIV ประเทศผู้ผลิต แคนาดา6 ครั้ง จำนวน 61.7 ล้านบาท รวม 18 ครั้ง 145.4 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัท อาร์มี่ ซัพพลาย จำกัด ก่อตั้งวันที่ 20 มีนาคม 2550นายสุพัฒน์ ชาญศิลป์ นางสาวอรอุฬาร จิรชัยศรี นายเอกรัฐ เชาวนะหุตถือหุ้นใหญ่
บริษัท เอ็น อาร์ ออโตโมทีฟ จำกัดก่อตั้งวันที่ 15 ธันวาคม 2550 นายสุพัฒน์ ชาญศิลป์ นางสาวอรอุฬาร จิรชัยศรี และ นายอุรวิศ ระวีวงษ์ ถือหุ้นใหญ่
สำหรับเอกชนที่จัดหาอะไหล่ซ่อมปืนใหญ่ นั้นจากการตรวจสอบพบว่ามีเพียงรายเดียวคือ บริษัท เอส แอนด์ พี ไฮ-เทคโนโลยี จำกัด (ก่อตั้งวันที่ 28 ส.ค.2549 ทุน 1 ล้านบาท เรือตรีพิสันต์ หาพุฒพงษ์ นายโสฬส ทาระลาภถือหุ้นใหญ่) เป็นผู้จัดหา 1 ครั้ง วงเงิน 38.4 ล้านบาท (ชิ้นส่วนซ่อมปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบ 34ขนาด 155ม.ม.)
บริษัทคู่ค้าอะไหล่รถถังให้กองทัพบก
ชื่อ | วงเงิน (บาท) |
กลุ่มบริษัท ชัยเสรี (กรุงเทพ) จำกัด | 421.4 ล้าน |
กลุ่มบริษัท อาร์มี่ ซัพพลาย จำกัด | 145.4 ล้าน |
การจัดซื้อจากเอกชนไม่กี่รายและเอกชนดังกล่าวมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ทำให้เกิดคำถามเชิงสงสัย ส่อฮั้วหรือมีเงื่อนงำหรือไม่ ?
*สไนเปอร์ 100 กระบอก
ทั้งนี้ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (www.tcijthai.com) ตรวจสอบพบว่า ในการจัดซื้ออาวุธปืน-กระสุน-ลูกระเบิด กองทัพบกจัดซื้อจากบริษัทค้าอาวุธ 14 ราย ในจำนวนนี้เป็นการสั่งซื้อจากบริษัทต่างประเทศ 2 ราย ได้แก่
1.บริษัท israel weapon industries ปืนซุ่มยิง 7.62 ม.ม. จำนวน 20 กระบอก (15 ม.ค. 2553) และ 2. บริษัท NAMMO RAUFOSS AS จากนอร์เวย์ ได้แก่ จรวดรถถัง เอ็ม 72 เอ 5 เครื่องช่วยฝึกยิงจรวดต่อสู้รถถัง ( 24 ก.ย.2552) และกระสุนปืนกล ขนาด .56 นิ้ว ( 16 ม.ค. 2552) รวม 2 ครั้ง 13.9 ล้านบาท
ส่วนอีก 12บริษัทจดทะเบียนในประเทศ มีรายใหญ่เพียง 4-5 ราย (ดูตาราง)
1.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไพบูลย์เศรษฐกิจ เป็นผู้จัดหารายใหญ่ ทั้งอาวุธปืน เครื่องกระสุน กล้องตรวจการณ์ เฉพาะ 3 ปี (2551-2553) จัดหาให้หน่วยงานของกองทัพจำนวน 55 ครั้ง วงเงิน 661.7 ล้านบาท อาทิ ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ ขนาด 9 ม.ม.จำนวน 88 กระบอก 33 ล้านบาท (7 พ.ค.2551) ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ ขนาด 9 ม.ม.(เยอรมันนี)จำนวน 30 กระบอก(5 ส.ค. 2551) ปืนซุ่มยิง ขนาด 7.62 ม.ม.จำนวน 70 กระบอก MSG90 A2 MILITARY SPIPER RIFLEพร้อมอุปกรณ์ประจำปืน 25 ล้านบาท(23 ก.ย. 2551) ซื้อกระสุนปืนเล็ก ขนาด 5.56 ม.ม. ชนิดส่องวิถี จำนวน1 ล้าน นัด19.2 ล้านบาท (27 ก.พ. 2552) ลูกกระสุนปืน 5.56 ม.ม. 5 ล้านนัด 17.5 ล้านบาท (30 ก.ย.2552) ,กระสุนปืนเล็ก 5.56 ม.ม.182,370 นัด 2.4 ล้านบาท (11 มิ.ย.2553)
2.บริษัท รอยัล ดีเฟนส์ จำกัด จัดหาอาวุธปืนและอุปการณ์อื่นๆ 24 ครั้ง 150.8 ล้านบาท อาทิ ปืนลูกซองตัดสั้นไฮบริค รุ่น M3T SUPER 90 FOLDING STOCKประเทศอิตาลี จำนวน 25 กระบอก(25 ก.ย. 2551) ,ปืนพกขนาด 9 ม.ม.ยี่ห้อ STI รุ่นEDGEอเมริกา จำนวน 30 กระบอก (5 ส.ค. 2552) ,ปืนกล 38 7.62 ม.ม.15 กระบอก (30 ก.ย. 2552) ปืนพก 9 ม.ม. 30 กระบอก(17 เม.ย. 2553) ,ปืนกล 7.62 ม.ม. 10 กระบอก(17 เม.ย. 2553) กระสุนปืนขนาดเล็ก 5.56 ม.ม.ชนิดซ้อมรบ(ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา)จำนวน 270,000นัด (30 พ.ค. 2551) กระสุนปืนเล็ก 300,000 นัด (11 มี.ค. 2553) กระสุนปืนลูกกรดยาว ขนาด .22นิ้ว(ฟิลิปปินส์) 4,999,700หัว(28 ก.ค. 2551)
3.บริษัท เดลคอม จำกัดจัดหา ปืนซุ่มยิง ขนาด .50 นิ้วจำนวน 4 กระบอก (16 ก.ย.2552) กระสุนปืนขนาดเล็ก 7.62 ม.ม.ชนิดธรรมดาแบบ D46จำนวน 40,909 นัด (11 ธ.ค.2552) รวม 6.6 ล้านบาท
4.บริษัท ณัติพล จำกัดกระสุนปืนขนาด 5.56 ม.ม. จำนวน17,086,473 นัด วงเงิน 188 ล้านบาท (31 มี.ค. 2553)
5.บริษัท ไทยอาร์มส จำกัด กระสุนปืนพบแบบ 9 ม.ม. (พาราเบลลั่ม)หลายล้านนัด และกระสุนปืนลูกซอง 60,000 นัด รวม 8 ครั้ง 33.7 ล้านบาท
6.บริษัท คราวน์ อิสดัสตรี จำกัด กระสุนปืนจำนวน 291,428 นัด วงเงิน 10.1 ล้านบาท (30 มิ.ย.2553)
7.บริษัท ที.ซี.แอล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กระสุนปืนเล็ก 7.62 ม.ม. 1,800,000 นัด วงเงิน 23.6 ล้านบาท ( 12 พ.ค.2553)
8.บริษัท เนแรค อาร์มิส อินดัสตรี จำกัดปลอกกระสุน จอกทองเหลือง 3 ครั้ง 53.4 ล้านบาท
9.บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จัดหากระสุน กระสุนปืนเล็ก 5.56x45 ม.ม.5,000,000 นัด (31 มี.ค.2553) ,กระสุนปืนพกขนาด9x19มม.(อเมริกา)350,000 นัด (5 ส.ค.2551) ,ลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม.รวม 3 ครั้ง 60.8 ล้านบาท
10.บริษัท รอยัล แอมมูนิชั่น จำกัดจัดหากระสุนปืนพก ขนาด 9 ม.ม. กระสุนปืนกลมือ 88ขนาด11ม.ม. กระสุนปืนพก แบบ86 11 ม.ม. รวม 4 ครั้ง 3,359,741 นัด 50.2 ล้านบาท
11.บริษัท สายทองอาร์มส จำกัด จัดหากระสุนปืนเล็ก ขนาด 5.56 มม. และกระสุนปืนลูกกรด2ครั้ง รวม กว่า 3 ล้านนัด 20 ล้านบาท
12. บริษัท แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี เซ็นเตอร์ จำกัดจัดหาชิ้นส่วนซ่อมปืนเล็กยาว 1 ครั้ง วงเงิน 23.3 ล้านบาท (17 ส.ค.2553)
บริษัทค้าอาวุธปืนและเครื่องกระสุนที่เป็นคู่สัญญากับกองทัพมากสุด 5 ลำดับ
ชื่อ | วงเงิน (บาท) |
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไพบูลย์เศรษฐกิจ | 661.7 ล้าน |
บริษัท ณัติพล จำกัด | 188.0 ล้าน |
บริษัท รอยัล ดีเฟนส์ จำกัด | 150.8 ล้าน |
บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด | 60.8 ล้าน |
บริษัท รอยัล แอมมูนิชั่น จำกัด | 50.2 ล้าน |
*เปิดตัว บ.ขาใหญ่เสื้อเกราะ
ประเภทเสื้อเกราะกันกระสุน บริษัท ช.ไพศาล จำกัด เป็นผู้ค้าใหญ่สุด ได้รับการจัดหา จำนวน 23 ครั้ง วงเงิน 1,446 ล้านบาท ในจำนวนนี้สั่งผลิตเสื้อเกราะลอตใหญ่สุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2551 จำนวน 134,980 ตัว
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่า บริษัท ช.ไพศาล จำกัด จดทะเบียนวันที่1 สิงหาคม 2539
ทุน 5 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 179 หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท มีนายชัยยศ ยอดวานิชนายประชา ยอดวานิชนายประวิทย์ ยอดวานิช นายศักดิ์ชัย ยอดวานิชเป็นเจ้าของ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไพบูลย์เศรษฐกิจ จดทะเบียนวันที่ 18 ตุลาคม 2515 ทุน 5 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 222/14 ถนนหลานหลวง แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ นายไพบูลย์ อนันต์วลี เจ้าของ
บริษัท ณัติพล จำกัด จดทะเบียนวันที่ 15 มิถุนายน 2516 ทุน 3 ล้านบาทประกอบธุรกิจ ให้เช่าอาคาร รับเหมาก่อสร้างอาคาร ที่ตั้งเลขที่ 1371 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ นายอาณัติ อำนวยพล นางเทพินทร์ ทัฬหิกรณ์ถือหุ้นใหญ่
นายอาณัติ อำนวยพล เคยทำธุรกิจร่วมกับ บริษัท สหศรีชัยก่อสร้าง จำกัด ของนายบรรหาร ศิลปอาชา นายสมบัติ พานิชชีวะ เจ้าของดอนเมือลโทลล์เวย์และนายทหารระดับสูงคนหนึ่ง
บริษัท รอยัล ดีเฟนส์ จำกัด จดทะเบียนวันที่ 19 เมษายน 2539 ทุน 50 ล้านบาท ที่ตั้ง เลขที่ 77/153-154 อาคารสินสาธรทาวน์เวอร์ ชั้น 35 ถนนกรุงธนบุรี แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพฯ นายจรัล จาวาลา นายการัณย์ จาวาลา นางสาวทันบีรเกอร์ คานิยอ นายวิษณุ จาวาลา นายหลุยส์ บารอน ร่วมกันถือหุ้น
บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 9 ตุลาคม 2517 ทุน 10 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 5 ซอยสุขุมวิท 30 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ นายซารับยิตซิงห์ สัจจเทพ นายซัตวินเดอร์ซิงห์ สัจจเทพ ถือหุ้นใหญ่
บริษัท รอยัล แอมมูนิชั่น จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท โกลเด้นอาร์ม จำกัด และ บริษัท โอลิมปิคอาร์มแอนด์แอมมูนิชั่นประเทศไทย จำกัด) จดทะเบียนวันที่ 28 มิถุนายน 2533 ทุน 32 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 99/4 หมู่ที่ 2 ถนนนครสวรรค์ท่าตะโก ตำบลพระนอน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ นายจรัล จาวาลา นายวิษณุ จาวาลา นายการัณย์ จาวาลาถือหุ้นใหญ่
จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท โอลิมปิคอาร์มแอนด์แอมมูนิชั่นประเทศไทย จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทค้าอาวุธร่วมกับนายทหารยศพลเอกและพลโท
น่าสังเกตว่า บริษัท รอยัล ดีเฟนส์ จำกัด กับ บริษัท รอยัล แอมมูนิชั่น จำกัด เป็นเครือข่ายเดียวกัน
เจาะกองทัพ:เปิดหลักฐานผู้ถือหุ้นโยงพลเอก-ก๊วนบิ๊ก คมช.ขายอาวุธอื้อ(ตอนที่4)
เปิดหลักฐานผู้ถือหุ้น โยงใยนายพล-ลูกก๊วนบิ๊ก คมช.อดีต ผบ.ทร. สะพานเชื่อมขายอาวุธให้กองทัพ 3 ปีกวาดอื้อหลายร้อยล้าน
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (www.tcijthai.com) เรียงลำดับดังนี้
บริษัท รอยัล ดีเฟนส์ จำกัด จดทะเบียนวันที่ 19 เมษายน 2539 ทุน 50 ล้านบาท ที่ตั้ง เลขที่ 77/153-154 อาคารสินสาธรทาวน์เวอร์ ชั้น 35 ถนนกรุงธนบุรี แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพฯ
ณ วันที่ 30 เมษายน 2553 นายจรัล จาวาลา ถือหุ้น20.3 % นายการัณย์ จาวาลา 20% นางสาวทันบีรเกอร์ คานิยอ 20% นายวิษณุ จาวาลา 20%นายหลุยส์ บารอน 18%ทั้ง 4 คนแรกร่วมเป็นกรรมการ
บริษัท รอยัล แอมมูนิชั่น จำกัด เดิมจดทะเบียนวันที่ 28 มิถุนายน 2533 ชื่อ บริษัท โกลเด้นอาร์ม จำกัด ต่อมาวันที่ 17 สิงหาคม 2542 เปลี่ยนชิ่อ เป็น บริษัท โอลิมปิคอาร์มแอนด์แอมมูนิชั่นประเทศไทย จำกัด กระทั่งวันที่ 31 ตุลาคม 2548 จดทะเบียนเป็น บริษัท รอยัล แอมมูนิชั่น จำกัด ที่ตั้งเลขที่ 99/4 หมู่ที่ 2 ถนนนครสวรรค์ท่าตะโก ตำบลพระนอน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2553 นายจรัล จาวาลา ถือหุ้น 80% นายวิษณุ จาวาลา 9.9% นายชาตรี สุขทวี5% นายอนุชิต การภักดี 3% นางสาว ธนวันต์ หาญศิริการ2% มีนายจรัล จาวาลา นายวิษณุ จาวาลา นาย การัณย์ จาวาลา นายพรเทพ พุทธนรากุลเป็นกรรมการ
จากการตรวจสอบพบว่านายชาตรี สุขทวี และนายอนุชิต การภักดี ถือหุ้นในบริษัทค้าอาวุธให้กองทัพชื่อ กมลรัตน์ คอมเมอร์เชียล ซึ่งมี พล.อ. คนหนึ่งถือหุ้น 1,000 หุ้น และ พล.ท. 1,000 หุ้น
ขณะเดียวกันจากการตรวจสอบพบอีกว่า นายจรัล จาวาลา นายวิษณุ จาวาลา นาย การัณย์ จาวาลา ทำธุรกิจร่วมกับ นายฐิติพันธุ์ เกยานนท์ บุตรชาย พล.ร.อ. สถิรพันธุ์ เกยานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือและรองประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้องแห่งชาติ (คมช.) อย่างน้อย 3แห่ง
แห่งแรก บริษัท อาร์วิชั่น จำกัด ที่ตั้งเดียวกับ บริษัท รอยัล ดีเฟนส์ จำกัด เลขที่ 77/153-154 อาคารสินสาธรทาวน์เวอร์ ชั้น 35 นายการัณย์ และ นายฐิติพันธุ์ ถือหุ้นคนละ 49.7% จากทุนจดทะเบน 1 ล้านบาท นอกจากนี้นายการัณย์
แห่งที่สองชื่อ บริษัท รอยัล มัลติมีเดีย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด จดทะเบียน 21 กรกฎาคม 2551 ทุน 1 ล้านบาท ที่ตั้งลขที่ 88/1 ซอยโพธิ์แก้ว ถนนโพธิ์แก้ว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ นายการัณย์ และ นายฐิติพันธุ์ ถือหุ้นคนละ 17.5% นายธรรศ พจนประพันธ์ 33% นายอัจฉริยะ หร่ำเดช 32%
แห่งที่ 3 ชื่อ บริษัท ท๊อป อะเมซิ่ง จำกัด จดทะเบียนวันที่ 1 สิงหาคม 2551 ทุน 5 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 123/2 หมู่ที่ 4 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ นายฐิติพันธุ์ถือหุ้น 17.2% นายการัณย์13.8%
เห็นได้ว่า บริษัท รอยัล ดีเฟนส์ จำกัด และ บริษัท รอยัล แอมมูนิชั่น จำกัดเป็นเครือข่ายเดียวกัน
ประการสำคัญมีสายสัมพันธ์กับก๊วนคนในกองทัพ และการค้าอาวุธของ 2 บริษัทดังกล่าวเกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 19 ก.ย.49
…..
รายการจัดซื้อกระสุนปืนจาก บริษัท รอยัล แอมมูนิชั่น จำกัด
วันที่-หน่วยจัดซื้อ | รายการ | วงเงิน (บาท) |
26 ธ.ค. 2551 กรมสรรพาวุธทหารบก | กระสุนปืนพก ขนาด 9 ม.ม.ชนิดธรรมดา จำนวน 360,000 นัด | 5,364,000 |
11 ส.ค. 2552 กรมสรรพาวุธทหารบก | กระสุนปืนพก แบบ86ลปืนกลมือ 88ขนาด11ม.ม.จำนวน 1,000,000 นัด | 15,000,000 |
11 ส.ค. 2552 กรมสรรพาวุธทหารบก | ซื้อกระสุนปืนพก ขนาด 9 ม.ม.ชนิดธรรมดา จำนวน 1,000,000 นัด ยี่ห้อ อาร์ เอ | 14,860,000 |
25 ม.ค. 2552 กรมราชองค์รักษ์ | กระสุนปืนพก จำนวน 2 รายการ | 2,299,858 |
8 ธ.ค. 2552 กรมราชองค์รักษ์ | กระสุนอาวุธปืน 2 รายการ | 3,349,216 |
30 ก.ย. 2553 กรมสรรพาวุธทหารบก | กระสุนปืนพก แบบ 86 ปืนกล มือ88ขนาด 11 ม.ม. 2,666,650 นัด | 39,866,418 |
30 ก.ย. 2553 กรมสรรพาวุธทหารบก | กระสุนปืนพก ขนาด 9 ม.ม1,200,000 นัด | 18,000,000 |
รวม | 98,739,491 |
รายการจัดซื้อจากบริษัท รอยัล ดีเฟนส์ จำกัด
วันที่-หน่วยจัดซื้อ | รายการ | วงเงิน (บาท) |
25 ก.พ. 2551 | ผ้าทำความสะอาด จำนวน 3 รายการ | 3,030,554 |
30 พ.ค. 2551 | กระสุนปืนขนาดเล็ก 5.56 มม.ชนิดซ้อมรบ(ปท.บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา)จำนวน 1350 รายการ(270,000นัด) | 2,610,000 |
26 มิ.ย. 2551 | ลำกล้องอะไหล่ปืนกล38 ขนาด7.62ม.ม.จำนวน 15EA(เบลเยี่ยม) | 1,260,000 |
18 ก.ค. 2551 | สิ่งอุปกรณ์ประกอบรวมกระสุน ประเภทหัวกระสุน 3รายการ | 4,814,500 |
28 ก.ค. 2551 | กระสุนปืนลูกกรดยาว ขนาด .22นิ้ว(ฟิลิปปินส์)4,999,700หัว | 5,799,652 |
5 ส.ค. 2551 | สิ่งอุปกรณ์ประกอบรวมกระสุนจำนวน 2 รายการ | 6,961,000 |
15 ก.ย. 2551 | จอกทองเหลืองทำปลอกกระสุนปืนเล็กขนาด 5.56 ม.ม.ยี่ห้อ c260 ALLOY ฯอเมริกาจำนวน 61,476 ปอนด์ | 11,907,901 |
25 ก.ย. 2551 | ปืนลูกซองตัดสั้นไฮบริค 25 กระบอกรุ่น M3T SUPER 90 FOLDING STOCKประเทศอิตาลี | 2,000,000 |
6 ก.พ. 2552 | กล้องกองร้อยเข็มทิศเอ็ม2เอ2 จากอเมริกา | 9,950,000 |
5 ส.ค. 2552 | ปืนพกขนาด 9 ม.ม.ยี่ห้อ STI รุ่นEDGEอเมริกา จำนวน 30 กระบอก | 5,700,000 |
14 ก.ย. 2552 | ปืนเล็กยาว และปืนเล็กสั้นจำนวน 2 รายการ | 3,960,000 |
28 ก.ย. 2552 | กล้องกองร้อยเข็มทิศ เอ็ม 2เอ2จำนวน 46 กล้อง | 22,885,000 |
30 ก.ย. 2552 | อุปกรณ์ประกอบรวมกระสุน 3 รายการ | 4,427,900 |
30 ก.ย. 2552 | ปืนกล 38 7.62 ม.ม.15 กระบอก | 10,830,000 |
30 ก.ย. 2552 | จอกทองเหลืองทำปลอกกระสุน 5.56 ม.ม. 149,940 ปอนด์ | 29,913,030 |
29 ธ.ค. 2552 | ชิ้นส่วนอะไหล่ จำนวน 8 รายการ | 1,162,200 |
30 ธ.ค. 2552 | ถุงมือนักบิน 1 รายการ | 2,388,480 |
7 ม.ค. 2553 | ชิ้นส่วนซ่อมปืน กลขนาด38 (7.62ม.ม)จำนวน 74 รายการ | 1,495,582 |
17 เม.ย. 2553 | ปืนพก 9 ม.ม. 30 กระบอก | 5,700,000 |
17 เม.ย. 2553 | ปืนกล 7.62 ม.ม. 10 กระบอก | 7,220,000 |
9 ก.ค. 2553 | ชิ้นส่วนอะไหล่ 22 รายการ | 1,619,250 |
9 ก.ค. 2553 | ชิ้นส่วนซ่อมปืน 38 รายการ | 1,260,000 |
9 ก.ค. 2553 | ชิ้นส่วนอะไหล่ 8 รายการ | 1,153,800 |
11 มี.ค. 2553 | กระสุนปืนเล็ก 300,000 นัด | 2,845,500 |
รวม | 150,894,349 |
เปิดอีกข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างในกองทัพถึงคิว เครื่องสนาม เครื่องแบบ พบ บ.เครือข่าย 5 เสือค้าอาวุธกวาด 3 ปี 1,000 ล้าน ผู้ถือหุ้นโยงบริษัทขายเสื้อเกราะ รถถัง เป็นคู่ค้ากับทหารมานับสิบปี
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (www.tcijthai.com) ตรวจสอบ พบว่า ในรอบ 3 ปี (2551-2553) ที่ผ่านมาจัดซื้อจากรายใหญ่เพียง 4 ราย
1. บริษัท เสรีชัยยุทธภัณฑ์ จำกัด จำนวน 53 ครั้งวงเงิน 1,043.6 ล้าน บาท
2. บริษัท ลัทธพลเทรดดิ้ง จำกัด จำนวน 21 ครั้ง วงเงิน 855.4 ล้านบาท อาทิ จัดหาเครื่องแบบสนามอาสาสมัครทหารพราน ผ้าสีพรางรองเท้าคอมแบท ฯลฯ
3.บริษัท ไทยเครื่องสนาม (2525) จำกัด จำนวน 46 ครั้ง วงเงิน 703.1 ล้านบาท อาทิ กระโจม กางเกงกีฬา กางเกงลำลอง เปลสนาม ที่นอน พลั่วสนาม หมวกทรงอ่อน ฯลฯ
4.บริษัท ไทยทูเวย์ แฟบริค จำกัด จัดหา เสื้อยืดคอวี เสื้อกันหนาว ถุงเท้า 21 ครั้ง 388 ล้านบาท
จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท ลัทธพลเทรดดิ้ง จำกัด จด ทะเบียนวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550 ทุน 3 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 111 ซอยรามอินทรา 83 ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพฯ นายสุรศักดิ์ โตรุ่งเลิศ ถือหุ้นใหญ่
บริษัท ไทยเครื่องสนาม (2525) จำกัด จดทะเบียนวันที่ 22 เมษายน 2526 ทุน 2,500,000 บาท ที่ตั้งเลขที่ 494 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ นายประดิษฐ์ เลิศรัตนานนท์ นายพีรพล ชวลิตมณเฑียร นางบุษบา เลิศรัตนานนท์ เป็นกรรมการ และ ถือหุ้นใหญ่
บริษัท ไทยทูเวย์ แฟบริค จำกัดจดทะเบียนวันที่ 7 กันยายน 2524 ทุน 5 ล้านบาทที่ตั้งเลขที่ 50/103 หมู่ที่ 1 ซอยเลิศพัฒนาใต้ ถนนจอมทอง แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ นายเรืองยศ อาริยะเรืองกิจ และเครือญาติ ถือหุ้นใหญ่
บริษัท เสรีชัยยุทธภัณฑ์ จำกัด จดทะเบียนวัน ที่3 มิถุนายน 2529 ทุน 5 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 55/20 หมู่ที่ 5 ซอยรณสิทธิพิชัย ถนนสนามบินน้ำ ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรีมีนายชัยยศ นายศักดิ์ชัย ยอดวานิช (กลุ่มนนทบุรีฮอนด้าคาร์ส) เจ้าของ
นายชัยยศ นายศักดิ์ชัย ยอดวานิช นอกจากเป็นเจ้าของบริษัท เสรีชัยยุทธภัณฑ์ จำกัด ยังเป็นเจ้าของเดียวกับ บริษัท ช.ไพศาล จำกัด ผู้ขายเสื้อเกราะรายใหญ่ให้กองทัพ
จากการตรวจสอบพบว่า นายชัยยศเคยทำธุรกิจ นายกิตติ กุลหิรัญ และ นายหิรัญ กุลหิรัญ ชื่อ หจก. สหชัยอุตสาหกรรม จดทะเบียนวันที่ 25 สิงหาคม 2510 ทุน 150,000 บาท ที่ตั้งเลขที่ 62/5 ซอยจารุสงเคราะห์ ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ
นอกจากนี้จดทะเบียนทำธุรกิจค้ายางร่วมกับ นายกิตติ กุลหิรัญ และ นายหิรัญ กุลหิรัญ ในชื่อ บริษัท ชัยเสรีอิมปอร์ต จำกัด จดทะเบียนวันที่ 15 กรกฎาคม 2517 ที่ตั้งเลขที่ 41/1 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
นายหิรัญ กุลหิรัญ ต่อมาจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทขายอาวุธชื่อ บริษัท ชัยเสรี (กรุงเทพ) จำกัด เมื่อ วันที่ 26 มีนาคม 2529 ทุน 2 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 1/1 ซอยยาสูบ 1 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ และเป็นเจ้าของ
ต่อมาได้ก่อตั้งบริษัทค้าอาวุธชื่อ บริษัท ชัยเสรีเม็ททอลแอนด์รับเบอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 ทุน 150 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 41/1 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (อ่านรายเอียดในตาราง)
บริษัท ชัยเสรี (กรุงเทพ) จำกัด และ บริษัท ชัยเสรีเม็ททอลแอนด์ รับเบอร์ จำกัด เป็น ผู้จัดหาชิ้นส่วนอะไหล่รถถัง ปืน กระสุนปืนรายใหญ่ที่สุดของกองทัพ ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ประมาณ 90 ครั้งวงเงิน 1,253 ล้านบาท
ตัวเลขเฉพาะ 3 ปีจัดหาอะไหล่ 47 ครั้ง (สัญญา) จำนวน 421.4 ล้านบาท แบ่งออกเป็นปี 2551 จำนวน 12 ครั้ง วงเงิน 111.6 ล้านบาท ปี 2552 จำนวน 13 ครั้ง วงเงิน 163 ล้านบาท ปี 2553 จำนวน 22 ครั้ง วงเงิน 146.7 ล้านบาท
เห็นได้ว่า บริษัท เสรีชัยยุทธภัณฑ์ จำกัดผู้ขายชุดทหารเครื่องสนาม บริษัท ช.ไพศาล จำกัดผู้ขายเสื้อเกราะ บริษัท ชัยเสรี (กรุงเทพ) จำกัด และ บริษัท ชัยเสรีเม็ททอลแอนด์ รับเบอร์ จำกัดผู้ขายอะไหล่รถถัง มีความเชื่อมโยงเกี่ยวกันและเป็นคู่ค้ากับกองทัพมานาน
........
โครงข่ายผู้ถือหุ้น หจก. สหชัยอุตสาหกรรม ,บริษัท ชัยเสรีอิมปอร์ต จำกัด,บริษัท ชัยเสรี (กรุงเทพ) จำกัด, บริษัท ชัยเสรีเม็ททอลแอนด์ รับเบอร์ จำกัด ,บริษัท ช.ไพศาล จำกัด
หจก. สหชัยอุตสาหกรรม จดทะเบียน 25 ส.ค.2510 | บริษัท ชัยเสรีอิมปอร์ต จำกัด จดทะเบียน 15 ก.ค. 2517 |
นายกิตติ กุลหิรัญ | นายกิตติ กุลหิรัญ |
นายหิรัญ กุลหิรัญ | นายชัยยศ ยอดวานิช |
นายชัยยศ ยอดวานิช | นายหิรัญ กุลหิรัญ |
( ณ วันที่ 20 ต.ค.2544) |
บริษัท ชัยเสรี (กรุงเทพ) จำกัด จดทะเบียน 26 มี.ค. 2529 | บริษัท ชัยเสรีเม็ททอลแอนด์ รับเบอร์ จำกัด จดทะเบียน 14 พ.ย. 2533 | บริษัท ช.ไพศาลจำกัด จดทะเบียน 1 ส.ค. 2539 |
นางนพรัตน์ กุลหิรัญ | นายชาญเวช กุลหิรัญ | นายประชา ยอดวานิช |
นายชาญชัย กุลหิรัญ | นายกานต์ กุลหิรัญ | นาย ชัยยศ ยอดวานิช |
นายหิรัญ กุลหิรัญ | นาย หิรัญ กุลหิรัญ | นาย ประวิทย์ ยอดวานิช |
นายชาญวิทย์ กุลหิรัญ | นายชาญวิทย์ กุลหิรัญ | นาย ศักดิ์ชัย ยอดวานิช |
( ณ วันที่ 30 เม.ย.2554) | ( ณ วันที่ 30 เม.ย.2554) | ( ณ วันที่ 30 เม.ย.2554) |
เจาะกองทัพ:บิ๊กลอตรถยนต์ 6.5 พันล้าน หลักฐานมัดพ่อค้าใหญ่ก๊วนเดียวกัน
ตรวจสอบการจัดซื้อในกองทัพ
คราวนี้ถึงคิวรถยนต์บรรทุกและรถมอเตอร์ไซค์ มูลค่า 6.5 พันล้าน พบข้อมูลลึก
2 ผู้ค้ารายใหญ่เครือข่ายเดียวกัน
โยงเม็ดเงินขายอาวุธนับร้อยล้านในศูนย์รักษาความปลอดภัย บก.สส.
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (www.tcijthai.com) ตรวจ สอบพบว่า ในรอบ 3 ปี (2551-2553) กองทัพบกทำสัญญาจัดซื้อรถยนต์ขนาดต่างๆเพื่อใช้ปฏิบัติภารกิจของกองทัพโดย ใช้งบประมาณ 6,558.8 ล้านบาท ดังนี้
รถยนต์บรรทุก 4*4 แบบ 50 จัดซื้อจาก บริษัท ปรีชาถาวร อุตสาหกรรม จำกัด จำนวน 3 ครั้ง 727 คัน และ ผลิตชิ้นส่วนอื่นๆ 9 ครั้ง รวม756.2 ล้านบาท (ในจำนวนนี้ร่วมกับ บริษัท กันโน่ ซิสเต็มส์ อินทีเกรชั่น จำกัดจัดหาอะไหล่รถเกราะ วี -150 จำนวน 3 ครั้ง)
รถยนต์ขนาด 2 ตันครึ่ง จัดซื้อจาก
1.บริษัท อิทธิพรอิมปอร์ตจำกัด (นายวีรชัย เตชะอิทธิพร และเครือญาติเจ้าของ)วันที่ 30 กันยายน 2552 คัน 1,474 คัน วงเงิน 4,994.6 ล้านบาท (ยุครัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์) และ วันที่ 24 ธันวาคม 2552 จำนวน 79 คัน วงเงิน 273.7 ล้านบาท
2.บริษัท โต้โยต้ากรุงเทพยนต์จำกัด4 ครั้ง 167 คัน วงเงิน 132.4 ล้านบาท
3.บริษัท ยานยนต์(ประเทศไทย) จำกัด รถบรรทุกปกติขนาดเล็กยี่ห้อ อีซูซุ รุ่น rodeo LSจำนวน 22(ปฏิบัติภารกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้)4 ครั้ง 66 คัน วงเงิน 45.2 ล้านบาท
รถยนต์บรรทุก ขนาด 3-5 ตัน และรถบรรทุกน้ำ จัดซื้อจาก บริษัท ฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย)จำกัด 13 ครั้ง 260 คัน วงเงิน 356.7 ล้านบาท
ประเภทยางรถยนต์ ในรอบ 3 ปี โรงงานซ่อมสร้างรถยนต์ทหารและกรมสรรพาวุธทหารบกผูกขาดกับหจก.ที แอล เอ็ม (นายอัฐ อุตสาหกิจอำนวย นายเชิดศักดิ์ อุตสาหกิจอำนวยเจ้าของ) 50 ครั้ง วงเงิน 293.2 ล้านบาท
รถมอเตอร์ไซด์ จัดซื้อจาก บริษัท ไทยเมเจอร์โปรเจค จำกัด ยี่ห้อ คาวาซากิ ขนาด 123 ซี.ซี.จำนวน 4 ครั้ง 631 คัน วงเงิน 25.2 ล้านบาท
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่า บริษัท ไทยเมเจอร์โปรเจค จำกัด จด ทะเบียนวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ทุน 5 ล้านบาท ขายสินค้าอุปโภค บริโภคและบริการซ่อมรถยนต์ ที่ตั้งเลขที่ 43/1 หมู่ที่ 4 ซอยอ่อนนุช 65 ถนนสุขุมวิท 77 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2552 นางสุภาวลี อธิวรกุลถือหุ้น 98.8%
นอกจากเป็นผู้จัดหารรถมอเตอร์ไซค์ บริษัท ไทยเมเจอร์โปรเจค จำกัดยังได้รับว่าจ้างจัดหาชิ้นอะไหล่รถยนต์บรรทุกอีก 27 ครั้ง 162.7ล้านบาท
ส่วนการจัดหา “ชิ้นส่วนอะไหล่” รถยนต์บรรทุกนั้นกองทัพบกทำสัญญากับจากเอกชน 11 ราย
1.บริษัท ชานซ์ อินเตอร์ บิสเน็ซ จำกัดจัดหาอะไหล่ 39 ครั้ง 290 ล้านบาท
2.หจก. ส.สยามพานิชจัดหาชิ้นส่วนซ่อมรถยนต์บรรทุก28 ครั้ง 266.1 ล้านบาท
3.บริษัท ไทยเมเจอร์โปรเจค จำกัดจัดหาอะไหล่ 27 ครั้ง 162.7ล้านบาท
4.บริษัท เจนเนอรัล โกลบอล จำกัดจัดหาอะไหล่ 5 ครั้ง 23 ล้านบาท
5.บริษัท ธนพัฒน์ ออโต้ เซ็นเตอร์ จำกัด(รยบ. 1 1/4 ตัน) 4 ครั้ง 22.8 ล้านบาท
6.บริษัท นันทเทรด จำกัด 7 ครั้ง 62. ล้านบาท
7.บริษัท นีโอ-เทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จัดหาชิ้นส่วนอะไหล่ รถฮัมวี 4 ครั้ง 28.6 ล้านบาท
8.บริษัท เพาเวอร์เอ็นจิเนียริ่ง (2003) จำกัด จัดหาชิ้นส่วนซ่อม รยบ. 1 1/4 ตัน ฮัมวี่ จำนวน 5 ครั้ง 13.7 ล้านบาท
9.บริษัท เอกรัชต์ จำกัดจัดหาชิ้นส่วนซ่อมรถยนต์ จำนวน 9 ครั้งวงเงิน 52.1 ล้านบาท
10.บริษัท ไอเดียล แอสโซซิเอทส์ กรุ๊ป จำกัด จัดหาชิ้นส่วนซ่อมรถยนต์ จำนวน 13 ครั้ง 64 ล้านบาท
11.หจก.พัฒนาอุปกรณ์จัดหาชิ้นส่วนซ่อมรถยนต์ 10 ครั้ง 74.4 ล้านบาท
ในจำนวนนี้บางรายเป็นคู่ค้ากับกองทัพประเภทอาวุธปืนและเครื่องกระสุนด้วย
กล่าวสำหรับบริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม จำกัดจด ทะเบียนวันที่ 7 พฤษภาคม 2533 ทุน 30 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 28/4 หมู่ที่ 4 ถนนเอกชัย ตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ณ วันที่ 30 เมษายน 2554 นายเอกชัย ปูชนียกุล นายชัยณรงค์ ปูชนียกุลถือหุ้นใหญ่
ขณะที่ บริษัท กันโน่ ซิสเต็มส์ อินทีเกรชั่น จำกัดพันธมิตร บริษัท ปรีชาถาวร อุตสาหกรรม จำกัด จดทะเบียนวันที่ 14 กันยายน 2542 ทุน 1 ล้านบาท ประกอบธุรกิจขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รักษาความปลอดภัย ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัย ที่ตั้งเลขที่ 76/47-49 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ ณ วันที่ 30 เมษายน 2554 นายสรัณย์ธร ดวงดีกมลทัศน์ ถือหุ้นใหญ่ นางพิมพ์ผกา ดวงดีกมลทัศน์เป็นกรรมการ
จากการตรวจสอบพบว่าบริษัท กันโน่ ซิสเต็มส์ อินทีเกรชั่น จำกัดยัง ทำสัญญาขายเครื่องตรวจวัตถุระเบิดด้วยรังสีเอ็กซเรย์ควบคุมการทำงานด้วย คอมพิวเตอร์ยี่ห้อ ฟอกซ์เรย์ ประเทศ อิสราเอล ให้กองทัพบก 3 เครื่อง5.1 ล้านบาท
จากการตรวจสอบยังพบอีกว่า นายชัยณรงค์ ปูชนียกุล แห่งบริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม จำกัด ทำธุรกิจร่วมกับ นายกรัณย์ธร ดวงดีกมลทัศน์ แห่ง บริษัท กันโน่ ซิสเต็มส์ อินทีเกรชั่น จำกัด ในชื่อ บริษัท โอ๋ แอนด์ กัน จำกัด จดทะเบียนวันที่ 30 มีนาคม 2543 ที่ตั้งเลขที่ 91 ซอยลาดพร้าว 110 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ
แสดงให้เห็นว่า 2 บริษัทแท้จริงแล้วคือกลุ่มเดียวกัน
ประการสำคัญคู่ค้ากลุ่มนี้ยังเกี่ยวข้องกับการขายอาวุธและอุปกรณ์อื่นให้ ศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.) กองบัญชาการทหารสูงสุดอีกด้วย
ต้องติดตามกันต่อไป
….
การจัดซื้อจัดจ้างที่กองทัพบกทำกับ บริษัท กันโน่ ซิสเต็มส์ อินทีเกรชั่น จำกัด
รายการ | วงเงิน (บาท) | วันทำสัญญา |
1.เครื่องตรวจวัตถุระเบิดด้วยรังสีเอ็กซเรย์ควบคุมการทำงานด้วย คอมฯยี่ห้อ ฟอกซ์เรย์อประเทศอิสราเอล 3 เครื่อง | 5,160,000 | 26 ก.ย. 2551 |
2.จ้างซ่อมเครื่องเพิ่มเพลาขับรถเกราะ วี-150 จำนวน113 เครื่อง | 50,751,000 | 30 ก.ย. 2552 |
3.ซื้อขายชิ้นส่วนซ่อมระบบตัวถัง สำหรับรถเกราะ วี-150จำนวน 113 คัน รวม 37 รายการ | 8,260,000 | 30 ก.ย. 2552 |
4.ซื้อขายชิ้ส่วนซ่อมระบบตรวจการณ์ ช่อทางเข้า-ออกสำหรับรถเกราะ วี-150 จำนวน 113 คัน รวม 34 รายการ | 14,700,000 | 30 ก.ย. 2552 |
5.ซื้อขายชิ้นส่วนซ่อมระบบบังคับเลี้ยว สำหรับรถเกราะวี-150 จำนวน 113 คัน รวม 81 รายการ | 29,000,000 | 30 ก.ย. 2552 |
เจาะกองทัพ:เปิดตัวบริษัทไทย-อินเดียค้าอาวุธปราบม็อบ
เจาะลึกจัดซื้ออาวุธกองทัพ
เปิดชื่อพ่อค้าใหญ่หุ้นส่วนคนอินเดียขายอุปกรณ์ควบคุมฝูงชน หุ่นยนต์
เครื่องเก็บกู้วัตถุระเบิด พบ 1 รายคู่ค้าหน่วยราชการไทยเพียบ
1. บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
2. บริษัท พรีซิพาร์ท จำกัด
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (www.tcijthai.com)ตรวจสอบ พบว่า กองทัพบกจัดซื้อผ่าน บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จำนวน 27ครั้ง วงเงิน 431,176,915 บาท อาทิ ยุทโธปกรณ์การควบคุมฝูงชน วันที่ 3 ก.ค. 2552 วงเงิน 29.4 ล้านบาท ,วันที่ 30 มิถุนายน 2553 วงเงิน 22.5 ล้านบาท ม ลูกระเบิดขว้างแก๊สน้ำตาวันที่ 30 ส.ค. 2553 วงเงิน 13.8 ล้านบาท ,หน้ากากป้องกันสารเคมี-ชีวะ ยี่ห้อAVONรุ่น C 50 ของบริเตนใหญ่และไอแลนด์เหนือเครือแคนนาดา วันที่ 29 ก.ย.2553 วงเงิน 36.3 ล้านบาท เป็นต้น
บริษัท พรีซิพาร์ท จำกัดจัดหากระสุนยาง ,ชุดอุปกรณ์ควบคุมฝูงชน 9 ครั้ง วงเงิน 110.6 ล้านบาท อาทิ กระสุนลูกซองยาง 50,000 นัด วันที่ 21 มิ.ย. 2553 วงเงิน 4 ล้านบาทท ,วันที่ 16 ก.ค. 2553 จำนวน 50,000 นัด 4 ล้านบาท ลอตใหญ่สุด จัดซื้อ“ยุทโธปกรณ์เพื่อปฏิบัติภารกิจ รักษาความสงบ”วันที่ 17 มี.ค.2553 วงเงิน 26.6 ล้านบาท เป็นต้น
จากการตรวจสอบพบว่าบริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 5 ซอยสุขุมวิท 30 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ นายซารับยิตซิงห์ สัจจเทพ นายซัตวินเดอร์ซิงห์ สัจจเทพ ชาวไทย นายกูรมัคซิงห์ สัจจเทพ นางมินเดอร์กอร์ สัจจเทพ ชาวอินเดีย ถือหุ้นใหญ่ เป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และผู้ค้าอาวุธรายใหญ่ให้หน่วยราชการหลายแห่ง
ขณะที่บริษัท พรีซิพาร์ท จำกัดประกอบกิจการผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ จดทะเบียนวันที่ 14 มีนาคม 2531 ทุน 33.6 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 933 หมู่ที่ 15 ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางเสาธง อำเภอกิ่งอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการพันตรี ทรงพล เอี่ยมบุญฤทธิ์กรรมการผู้มีอำนาจ น.ส.ลดาวัลย์ อัศวะประภา ( บริษัท ฐิติพล จำกัด) นายบุญหาญ อู่อุดมยิ่ง นายคมกาจ ประกอบผล นายไพโรจน์ บุพพัณหสมัย นายหิน นววงศ์ ถือหุ้นใหญ่ เป็นการรวมตัวของนักธุรกิจจากหลายกลุ่ม ในจำนวนนี้ บริษัท กันยงอีเลคทริก จำกัด (มหาชน)บริษัท ซาน มิเกล เบียร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผ่านนาย จักก์ชัย พานิชพัฒน์ ผู้ถือหุ้นรายหนึ่ง
สำหรับหุ่นยนต์ – เครื่องเก็บกู้วัตถุระเบิด กองทัพจัดซื้อ จากเอกชน 2 ราย คือ บริษัท ดี.บี.3299 จำกัด หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด (BOB-3 )ยี่ห้อ BOB-3 จำนวน 9 ชุด1,343,385 บาท ( 26 ก.ย.2551) และ บริษัท กันโน่ ซิสเต็มส์ อินทีเกรชั่น จำกัด เครื่องตรวจวัตถุระเบิดด้วยรังสีเอ็กซเรย์ควบคุมการทำงานด้วย คอมฯยี่ห้อ ฟอกซ์เรย์ ประเทศอิสราเอล 3 เครื่อง5.1 ล้านบาท
บริษัท ดี.บี.3299 จำกัด เพิ่งจดทะเบียนวัน ที่17 ตุลาคม 2550 ทุน 1 ล้านบาท ประกอบกิจการค้า และผลิตเครื่องตัดสัญญาณรีโมท แบบพกพาแบบติดตั้งยานพาหนะที่ตั้งเลขที่ 72/43 หมู่ที่ 3 ชั้น 3-4 ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ณ วันที่ 30 เมษายน 2554 นางสาวดารณี บ่อขำ นางทิพาพร สุดจิตร์ นายอนุวัฒน์ วันทรัพย์ ถือหุ้นใหญ่ (น่าสังเกตว่าได้รับการจัดซื้อหลังก่อตั้งบริษัทประมาณ 1 ปี)
บริษัท กันโน่ ซิสเต็มส์ฯถ้าจำกันได้ คือผู้ค้ารถบรรทุกรายใหญ่ให้กองทัพนั่นเอง
….
รายการจัดซื้อผ่าน บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
รายการ | วงเงิน (บาท) | วันทำสัญญา |
ลูกระเบิดขว้างควันสีดำต่างๆจำนวน 6 รายการ | 24,918,660 | 25 มี.ค. 2551 |
ลูกระเบิดขว้างสีต่างๆ และพลุสัญญาณพื้นดินร่มชนิดต่างๆ จำนวน 8 รายการ | 19,954,020 | 27 มี.ค. 2551 |
ลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. | 19,942,400 | 15 พ.ค. 2551 |
ชุดนิรภัยเก็บกู้วัตถุระเบิด รุ่น EOD9จำนวน 1 รายการ | 22,455,000 | 25 ก.ย. 2551 |
ยุทโธปกรณ์การควบคุมฝูงชนจำนวน 4 รายการ | 29,409,800 | 3 ก.ค. 2552 |
ลูกระเบิดขว้างควันสีม่วง ฯจำนวน 5 รายการ | 19,991,730 | 24 มี.ค. 2553 |
ยุทโธปกรณ์ควบคุมฝูงชน 2 รายการ | 22,516,000 | 30 เม.ย. 2553 |
ลูกระเบิดแก๊สน้ำตา 838 นัด | 2,229,450 | 27 พ.ค. 2553 |
ลูกระเบิดขว้างแก๊สน้ำตาประเภท 5 สายวิทยาศาสตร์จำนวน 5,000 ลูก | 13,800,000 | 30 ส.ค. 2553 |
หน้ากากป้องกันสารเคมี-ชีวะ ยี่ห้อAVONรุ่น C 50 ของบริเตนใหญ่และไอแลนด์เหนือเครือแคนนาดา จำนวน 1,500 หน้า | 36,330,000 | 29 ก.ย. 2553 |
ลูกระเบิดยางยิงแก๊สน้ำตา ขนาด 38 มม.จำนวน 2 รายการ | 10,437,095 | 30 ก.ย. 2553 |
พลุสัญญณเครื่องบินดาวคู่แดง-แดง,เหลือง-เหลือง,เขียว-เขียวและพลุสัญญาณเครื่องบินดาวเดี่ยวแดง,เหลือง,เขียวฯ | 19,937,160 | 30 ก.ย. 2553 |
รายการจัดซื้อผ่านบริษัท พรีซิพาร์ท จำกัด
รายการ | วงเงิน (บาท) | วันทำสัญญา |
ชุดควบคุมฝูงชน 3 รายการ | 9,050,640 | 5 มิ.ย. 2551 |
เครื่องช่วยฝึก(เครื่องให้เสียงเทียม)จำนวน 12 รายการ | 4,554,800 | 26 ก.ย. 2551 |
ยุทโธปกรณ์ควบคุมฝูงชน จำนวน 1 รายการ | 3,906,000 | 3 ก.ค. 2552 |
กระสุนยางทรงกลม ขนาด32 มิลลิเมตร | 3,675,000 | 10 ก.ค. 2552 |
เครื่องช่วยฝึก 12 รายการ | 1,116,250 | 30 ก.ย. 2552 |
ยุทโธปกรณ์ควบคุมฝูงชน จำนวน 2 รายการ | 53,777,000 | 15 ก.พ. 2553 |
ยุทโธปกรณ์เพื่อปฏิบัติภารกิจ รักษาความสงบจำนวน 4 รายการ | 26,617,500 | 17 มี.ค. 2553 |
กระสุนลูกซองยาง 50,000 นัด | 4,000,000 | 21 มิ.ย. 2553 |
กระสุนซองยาง 50,000 นัด | 4,000,000 | 16 ก.ค. 2553 |
เจาะกองทัพ:โฉมหน้า บ.ขุมข่ายนักการเมือง-ตระกูลดัง เอี่ยวงบฯจัดซื้อทัพเรือ 1.5 หมื่นล้าน
เปิดโฉมหน้าบริษัทค้าอาวุธใหญ่เครือข่ายนักการเมือง
นักธุรกิจตระกูลดัง เอี่ยวงบฯจัดซื้อจัดจ้างในกองทัพเรือ 1.5 หมื่นล้าน
ขาใหญ่ซ่อม ฮ.กองทัพบกโผล่ จับตา!นายหน้ากลุ่มไหนเข้าวินจัดซื้อเรือดำน้ำ ?
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (www.tcijthai.com) ตรวจสอบพบว่า ในช่วง 3 ปี ( 2551-2553 ) กองทัพเรือทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับเอกชน 3,249 สัญญา วงเงิน 15,558ล้านบาท แบ่งเป็น
ปีงบประมาณ 2551 (1 ต.ค.2550-30 ก.ย.2551) จำนวน 945 สัญญา วงเงิน 4,092.3 ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2552 จำนวน 1,197 สัญญา วงเงิน 6,211.6 ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2553 จำนวน 1,107 สัญญา วงเงิน 5,254.1 ล้านบาท
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (www.tcijthai.com) ตรวจสอบพบว่า ในส่วนของการจัดซื้ออะไหล่-ซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ ตกอยู่ในมือผู้ค้ารายใหญ่ 3 ราย คือ บริษัท มาร์ช เอวิเอชั่น จำกัด บริษัท เมเจอร์ แอร์โร บิสิเนส จำกัด และ บริษัท ศรีวิวัฒน์ แอนด์ พาร์ทเนอร์จำกัด 1 รายคือ บริษัท โรยัลสกาย จำกัด เป็นผู้ค้าเฮลิคอปเตอร์รายใหญ่ของกองทัพบก อีก 3รายได้รับว่าจ้างรองลงมา กล่าวคือ
1. บริษัท มาร์ช เอวิเอชั่น จำกัด ได้รับว่าจ้างจากศูนย์ส่งกำลังบำรุงฐานทัพเรือสัตหีบ ชลบุรี มากสุด 91 ครั้ง วงเงิน 276.9 ล้านบาท อาทิ อุปกรณ์เครื่องยนต์เครื่องบิน ,อะไหล่ระบบไฟฟ้าเครื่องบินตรวจชี้เป้า ,อะไหล่ซ่อมบำรุงระบบโครงสร้างอากาศยานเครื่องบินลำเลียง ,อะไหล่ระบบโครงสร้างอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ 3 (BELL-214ST) ,อะไหล่รถสะเทินน้ำสะเทินบก ,อะไหล่เครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำมอะไหล่เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง แบบที่ 4 (S-76B) ,อะไหล่ระบบโครงสร้างเครื่องบิน F-27 MK200
2.บริษัท เมเจอร์ แอร์โร บิสิเนส จำกัด 52 ครั้ง วงเงิน 151.9 ล้านบาท(ส่วน มากศูนย์ส่งกำลังบำรุงฐานทัพเรือสัตหีบ ชลบุรี) อาทิ อะไหล่ระบบเครื่องยนต์เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ,อะไหล่ซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าอากาศยานเครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำ ,อะไหล่ระบบไฟฟ้าอากาศยานเครื่องบินตรวจการณ์ชี้เป้า ,อะไหล่ระบบไฟฟ้าเฮลิคอปเตอร์
3.บริษัท ศรีวิวัฒน์ แอนด์ พาร์ทเนอร์จำกัด (กลุ่มนายวิวัฒน์ พัฒโนดม ) จำนวน 28 ครั้ง วงเงิน 89.4 ล้านบาท
4.บริษัท โรยัลสกาย จำกัด จำนวน 4 ครั้ง วงเงิน 30.2 ล้านบาท (เข้ามาเป็นคู่สัญญากับกองทัพเรือในช่วงปี 2553) อาทิ อะไหล่ และซ่อมบำรุง เฮลิคอปเตอร์ BELL-212 เป็นต้น
5.บริษัท เอวีเอชั่น เซอร์วิส จำกัด(นางธวัลพร อารีจิตรานุสรณ์ทำ ธุรกิจนายหน้า และ นายเรอเน่ โจเอล มารี โบเชอร์ สัญชาติฝรั่งเศส ถือหุ้นใหญ่)จำนวน 5 ครั้ง วงเงิน 39.8 ล้านบาท อะไหล่ระบบไฟฟ้าเฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น
6.บริษัท แอโรมารีน จำกัด (นางรตี สาครจันทร์ เป็นกรรมการ) จำนวน 12 ครั้ง วงเงิน 23.2 ล้านบาท อาทิ อะไหล่ เฮลิคอปเตอร์BELL-212ศูนย์ส่งกำลังบำรุงฐานทัพเรือสัตหีบ ชลบุรี เป็นต้น
7.บริษัท สยามเอวีเอชั่น จำกัด (นายวิธาน มกราภิรมย์ ถือหุ้นใหญ่) จำนวน 5 ครั้ง วงเงิน 9.6 ล้านบาท อาทิ อะไหล่ระบบอิเล็กทรอนิคส์ เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที2 ,อุปกรณ์สื่อสารประจำเครื่องบินตรวจการณ์ชี้เป้า เป็นต้น
จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท มาร์ช เอวิเอชั่น จำกัด จดทะเบียนวันที่ 31 มีนาคม 2538 ทุน 2 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 19/26 ซอยลาดพร้าว 126 (กรัณฑ์พร) ถนนลาดพร้าวเขตวังทองหลางกรุงเทพฯนางสาวสิรินาทอนันตพงศ์ถือ หุ้น80% นางสาวเต็มสิริ อนันตพงศ์ นางสาวอริสรา อนันตพงศ์ คนละ 5% นางสาวดรุณี วิศิษฏ์ชัยนนท์ นายธนพจน์ วิเศษสินธุ์ นางรัตนา จิรันดร นายศุภชัย จิรันดรคนละ 2.5 %
ส่วน บริษัท เมเจอร์ แอร์โร บิสิเนส จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งวันที่ 4 กันยายน 2545 ทุน 2 ล้านบาท ที่ตั้ง19/290 หมู่ที่ 1 แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ นายนพดล ธรรมวัฒนะ ถือหุ้นใหญ่ 47.5% นายสุพจน์ โชคพิศาลทรัพย์ นายอนุกูล หนูชูแก้ว คนละ 15% นายไพบูลย์ ทองอุหาร 12.5%
ขณะที่ บริษัท ศรีวิวัฒน์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ จำกัดของนายวิวัฒน์ พัฒโนดม จากการตรวจสอบพบว่า เคยทำธุรกิจคาอาวุธร่วมกับนายเนาวรัตน์ พัฒโนดม ชื่อบริษัท คอมเมอร์เชียลแอสโซซิเอทส์ จำกัดซึ่งถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดเมื่อ 29 เมษายน 2553-คดีแดงที่ ล 5376/2553 ) นายเนาวรัตน์มีความใกล้ชิดกับตระกูลศิริวัฒน์โดยนายเนาวรัตน์เคยทำธุรกิจร่วมกับนายวารุจ ศิริวัฒน์ นักการเมืองอุตรดิตถ์ ปัจจุบันสังกัดพรรคใหญ่ในรัฐบาล ชื่อ บริษัท คอร์ปอเรท แอร์คราฟท์ส เซอร์วิส จำกัด
กลุ่มพัฒโนดมเคยเป็นผู้ สนับสนุนทางการเงินให้นักการเมืองใหญ่คนหนึ่งในยุคที่มีการตรวจสอบโดยคณะ กรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ยุค รสช. นักการเมืองคนนั้นกำลังเรืองอำนาจในปัจจุบัน
นายหน้ากลุ่มไหนจะพัวพันกับการจัดซื้อเรือดำนำของกองทัพเรือหรือไม่ ต้องติดตามกันต่อไป
เอกชนที่เป็นคู่สัญญากับกองทัพเรือในการจัดซื้ออะไหล่เครื่องบินในรอบ 3 ปี
ชื่อ | จำนวนครั้ง | วงเงิน ล้าน (บาท) |
บริษัท มาร์ช เอวิเอชั่น จำกัด | 91 | 276.9 |
บริษัท เมเจอร์ แอร์โร บิสิเนส จำกัด | 52 | 151.9 |
บริษัท ศรีวิวัฒน์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ จำกัด | 28 | 89.4 |
บริษัท โรยัลสกาย จำกัด | 4 | 30.2 |
บริษัท เอวีเอชั่น เซอร์วิส จำกัด | 5 | 39.8 |
บริษัท แอโรมารีน จำกัด | 12 | 23.2 |
บริษัท สยามเอวีเอชั่น จำกัด | 5 | 6.9 |
เจาะกองทัพ: 3 บ.บิ๊กค้าอาวุธ"ทัพบก"โผล่"ทัพเรือ"ซิวเรียบปืน-รถยนต์ฮัมวี่ลอตใหญ่
ตรวจสอบการจัดซื้อในกองทัพเรือมูลค่า 1.5 หมื่นล้าน
ตามไปดูบริษัทค้าอาวุธรายใหญ่กองทัพบกที่เข้ามาสร้างอาณาจักรในกองทัพเรือ
กับคำถามทำไมกองทัพจัดซื้อจากผู้ค้าซ้ำๆกัน?
คราวนี้ลองมากดูประเภทอื่นกันบ้าง
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (www.tcijthai.com)ตรวจสอบพบว่า นอกจากกลุ่มบริษัท โรยัลสกาย จำกัดขาใหญ่กองทัพบกอีก 3 รายที่เข้ามาสร้างอาณาจักรในกองทัพเรือ
1.กลุ่มชัยเสรีในนามบริษัท ชัยเสรี เม็ททอลแอนด์รับเบอร์ จำกัดและ บริษัท ชัยเสรี (กรุงเทพ) จำกัด
2.บริษัท รอยัล ดีเฟนส์ จำกัด
3.หจก.พัฒนาอุปกรณ์
จากการตรวจสอบพบว่า ในรอบ 3 ปี ( 2551-2553 ) บริษัท ชัยเสรี เม็ททอลแอนด์รับเบอร์ จำกัดและ บริษัท ชัยเสรี (กรุงเทพ)จำกัด เป็นผู้จัดหาทั้งสิ้น 11 ครั้ง (สัญญา) วงเงิน 62.4 ล้านบาท อาทิ อะไหล่รถยนต์ ฮัมวี่ M 104 ,อะไหล่รถสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ,อะไหล่รถยนต์บรรทุก ขนาด 1/4 ตัน ให้หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
บริษัท รอยัล ดีเฟนส์จำกัด เป็นผู้จัดหาจำนวน 15 ครั้ง (สัญญา) วงเงิน 108.5 ล้านบาท อาทิ ปืนพกขนาด 9 ม.ม. พร้อมอุปกรณ์ฯ จำนวน 2,315 กระบอก ,ปืนพกขนาด 9 ม.ม.พร้อมอุปกรณ์ Model Glock17 จำนวน 40 กระบอก ,ปืนลูกซอง ขนาด 12 เกจ พร้อมอุปกรณ์ประกอบตราอักษรฯ จำนวน 48 กระบอก ,,ปืนเล็กยาว 5.56 มม.,ปืนลูกซอง 12 เกจ พร้อมอุปกรณ์ประกอบ 440 กระบอก ,ปืนกล 7.62 มม. พร้อมอุปกรณ์ 12 กระบอก ,หมวกป้องกันกระสุน จำนวน 2,000 ใบเป็นต้น
หจก.พัฒนาอุปกรณ์ เฉพาะหน่วยงานของกองทัพเรือได้รับการจัดซื้อ จำนวน 5 ครั้ง (สัญญา) วงเงิน 41.7 ล้านบาท อาทิ ปืนเล็กสั้น ขนาด 5.56 มิลลิเมตร รุ่น 416 จำนวน 144 กระบอกเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 40 มล.ม.รุ่น เอ็ม 203 พร้อมอุปกรณ์ประกอบ จำนวน 18 กระบอก เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 40 มิลลิเมตร รุ่นGLM จำนวน 18 กระบอก ปืนเล็กสั้น ขนาด 5.56 มล.ม. รุ่น SIG516 พร้อมอุปกรณ์ 16 อัน เป็นต้น
ส่วนรายอื่นได้แก่
บริษัท อี แอนด์ ซี เน็ทเวิร์ค จำกัด เป็น ผู้จัดหา อะไหล่รถสะเทินน้ำสะเทินบก หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน,อะไหล่รถยนต์บรรทุกอะไหล่รถเกราะคอมมานโด วี รวม 32 ครั้ง(สัญญา) วงเงิน 126.5 ล้านบาท
บริษัท วงศ์พิพัฒน์ เอ็นจิเนียริ่งจำกัด คู่ ค้ากับหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ชลบุรี และ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาชายฝั่ง ชลบุรี จัดหาอะไหล่ซ่อมทำรถยนต์สงครามชนิดช่วยรบ ,ซ่อมเกียร์รถสะเทินน้ำสะเทินบก รวม จำนวน 28 สัญญา วงเงิน 52.3 ล้านบาท
บริษัท เพาเวอร์เทค จำกัด ได้รับว่าจ้างซื้อขายอะไหล่เครื่องยนต์จากกรมอู่ทหารเรือ รวม 29 สัญญา วงเงิน 94.4 ล้านบาท
ตาราง การจัดซื้อจัดจ้างอะไหล่ชิ้นส่วนรถยนต์ -รถลำเลียง กองทัพเรือ
ชื่อบริษัท | จำนวนครั้ง (สัญญา) | วงเงิน ล้าน(บาท) |
บริษัท อี แอนด์ ซี เน็ทเวิร์ค จำกัด | 32 | 126.5 |
บริษัท เพาเวอร์เทค จำกัด | 29 | 94.4 |
บริษัท วงศ์พิพัฒน์ เอ็นจิเนียริ่งจำกัด | 28 | 52.3 |
กลุ่มบริษัท ชัยเสรี เม็ททอลแอนด์รับเบอร์ จำกัด | 11 | 62.4 |
บริษัท วงศ์พิพัฒน์ เอ็นจิเนียริ่งจำกัด | 28 | 52.3 |
บริษัท วิริยะกิจ (1995) จำกัด คู่ค้ากับกรมสรรพาวุธทหารเรือ กล้องตรวจการณ์กลางคืน ,กล้องเล็กกลางวันและกลางคืน ประกอบปืนเล็กยาว M.1622 กล้อง,กล้องเล้ง PANORAMIC M 12A 7H พร้อมฐานสำหรับปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง 105 ม.ม. ชุดศูนย์เล็งด้วยแสงเลเซอร์รวม10 ครั้ง (สัญญา) วงเงิน 53.3 ล้านบาท
บริษัท ไฮเท็คดีเฟนซ์ออปติคส์ จำกัด จัดหหาอะไหล่กล้องส่องกลางคืน จำนวน 3 ครั้ง (สัญญา) วงเงิน 16.3 ล้านบาท
บริษัท ไวเปอร์ (ไทย) จำกัดเป็นคู้ค้ากับ กรมสรรพาวุธทหารเรือ อาทิ เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซื้อขาย เครื่องฉาย X-RAY วัตถุระเบิดกล้องตรวจการณ์กำลังขยายสูง จำนวน 12 ครั้ง (สัญญา) วงเงิน 56.4 ล้านบาท
จากการตรวจสอบพบว่าบริษัท วงศ์พิพัฒน์ เอ็นจิเนียริ่งจำกัด ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท นายโกศล มัธยันต์พลและ นายพิพัฒน์ มัธยันต์พลถือหุ้นใหญ่ ที่ตั้งเลขที่ 9/19 หมู่ที่ 6 ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ขณะที่บริษัท อี แอนด์ ซี เน็ทเวิร์ค จำกัด ทุนจดทะเบียนเพียง 400,000 บาท ที่ตั้งเลขที่ 450 ซอยอุดมสุข 26 ถนนสุขุมวิท 103 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ นายพิพัฒน์ มัธยันต์พลและนาย ชำนาญ มัธยันต์พล ถือหุ้นใหญ่
เท่ากับ 2 บริษัทมีเจ้าของคนเดียวกัน
คำถามก็คือทำไมกองทัพเรือจึงจัดซื้อจากผู้ค้าซ้ำๆกัน?
ตาราง การจัดซื้อปืนระเบิดกองทัพเรือ
ชื่อบริษัท | จำนวนครั้ง (สัญญา) | วงเงิน ล้าน(บาท) |
บริษัท รอยัล ดีเฟนส์จำกัด | 15 | 108.5 |
หจก.พัฒนาอุปกรณ์ | 5 | 41.7 |
บริษัท วิริยะกิจ (1995) จำกัด | 10 | 53.3 |
บริษัท ไฮเท็คดีเฟนซ์ออปติคส์ จำกัด | 3 | 56.4 |
บริษัท ไวเปอร์ (ไทย) จำกัด | 12 | 56.4 |
เจาะกองทัพ:งบฯจัดซื้อทัพอากาศ 2.7 หมื่นล้าน-โฉมหน้าพ่อค้าอาวุธใหญ่(ตอนที่ 10)
ชำแหละละเอียดงบฯกองทัพอากาศ 2.7 หมื่นล้าน
กับการจัดซื้ออาวุธ เสื้อเกราะ รถยนต์กู้ภัย ปืน กล้องตรวจการณ์
เม็ดเงินก้อนโตในกำมือบริษัทเครือข่ายบิ๊ก?
ปีงบประมาณ 2551 จำนวน 1,170 สัญญา วงเงิน 10,084.7 ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2552 จำนวน 1,203 สัญญา วงเงิน 8,794.7 ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2553 จำนวน 1,227 สัญญา วงเงิน 8,471.2 ล้านบาท
รวม วงเงิน 27,350.6 ล้านบาท
ภายใต้เม็ดเงินมหาศาลดังกล่าวปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัทค้าอาวุธที่มีสายสัมพันธ์กับข้าราชการระดับสูงเข้ามาสร้างอาณาจักร อย่างน้อย 2 ราย
หนึ่ง บริษัท กมลรัตน์ คอมเมอร์เชียล จำกัด
สอง บริษัท แอสโซซิเอเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นยิเนียริ่ง จำกัด
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (www.tcijthai.com) ตรวจสอบพบว่าบริษัท กมลรัตน์ คอมเมอร์เชียล จำกัดเป็น ผู้จัดหาอาวุธปืน ปืนพกกึ่งอัตโนมัติขนาด 9 ม.ม.จำนวน 400 กระบอก วงเงิน 7,150,000 บาท ,พานท้ายปืนเล็กยาวอัตโนมัติขนาด5.56 ม.ม.เอชเค 33(แบบพับ)1,925,000 บาท , ปืนลูกซอง12เกจ จำนวน100กระบอก1,930,000 บาท , ปืนพกกึ่งอัตโนมัติขนาด 9ม.ม.วงเงิน 3,575,000 บาท วงเงินรวม 14.5 ล้านบาท
บริษัท แอสโซซิเอเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นยิเนียริ่ง จำกัดเป็นผู้ขายเครื่องหน่วงความเร็วเครื่องบิน บริษัทจากกรมช่างโยธาทหารอากาศมากสุด จำนวน 9 ครั้ง วงเงิน 225.7 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัท กมลรัตน์ คอมเมอร์เชียล จำกัด มีนักธุรกิจร่วมกับนายทหารชั้นยศพลเอกถือหุ้น ส่วนบริษัท แอสโซซิเอเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นยิเนียริ่ง จำกัด นายนิรยุทธ วันเพ็ญถือหุ้นใหญ่ 94.9% ร้อยตำรวจโทนวลตา วันเพ็ญ4% นายนิรยุทธ วันเพ็ญ ทำธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างร่วมกับ นาวาอากาศเอก พิมล ไพบูลย์ นายยศ นิ่มสมบุญ นาวาอากาศเอก อนุธวัช บุณยสิงห์ นายนินนาท คัมภีรญาณนนท์ นาวาอากาศเอก อำพล งามวงษ์วาน นาวาอากาศเอกชูดวง แสงชูโตชื่อบริษัท ทรัพย์ทราย จำกัดมีสำนักงานแถวถนนพระราม 4
นอกจากนี้ บริษัท รอยัลดีเฟนส์ จำกัด ผู้ค้าอาวุธใหญ่ ในกองทัพ เข้ามาจัดหาอาวุธปืน 4 ครั้ง ได้แก่ ปืนลูกซอง12 เกจ จำนวน40ชุด,ข้อต่อสายกระสุนฯจำนวน50,000EA ,อะไหล่ซ่อมบำรุง RIFLE AUTO CAL5.56MM.M16 และ อะไหล่ซ่อมบำรุงGUN MACHINEฯ รวมวงเงิน 8.3 ล้าน
ส่วนการจัดซื้อประเภทอื่นพบว่า
ประเภทเสื้อเกราะ จัดซื้อจากบริษัท สแตนดาร์ด พร้อมพ์ จำกัด (นายธนกฤต เจนกิตติโชค ถือหุ้นใหญ่) ทั้งหมด 3 ครั้ง 315 ตัว วงเงิน 9.4 ล้านบาท
ประเภทรถยนต์ -อะไหล่ จัดซื้อจาก บริษัท โตโยต้าชัยรัชการ จำกัด จำนวน 21 ครั้ง 87 คัน รวม 86.8 ล้าน บาท อาทิ รถยนต์ตรวจการณ์วัตถุระเบิด ,รถยนต์นำขบวนติดสัญญาณวิทยุไซเรน ,รถยนต์สงครามชนิดช่วยรบขนาด1/2ตัน ,รถยนต์สงครามชนิดช่วยรบขนาด1/4ตัน ,รถตรวจการณ์ขนาดเล็ก , รถยนต์ปฏิบัติการพิเศษ MCP เป็นต้น
บริษัท ช.ทวี ดอลล่าเซียน จำกัด(กลุ่มนายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทยนักธุรกิจ จ.ขอนแก่น) จำนวน 3 ครั้ง 72 คัน วงเงิน 76,760,000บาท ได้แก่ ซื้อรถยนต์สงครามชนิดช่วยรบขนาด3/4 ตัน 2 ครั้งๆ ละ จำนวน 16 คัน และ รถยนต์สงครามติดแท่นปืนกล แบบ RING MOUNT จำนวน 40 คัน
รถยนต์ปฏิบัติการณ์กู้ภัย บริษัท เอกเสคคิวทิฟเทรดดิ้ง จำกัด 2 คัน 6.1 ล้านบาท และยังซื้อเครื่องตรวจวัดสารพิษชนิดมือถือ 2 ครั้ง 3.9 ล้าน บาท
อะไหล่ซ่อมบำรุงอาวุธรถหุ้มเกราะ บริษัท เทพยนต์ แอโรโมทีฟ อินดัสตรี้ส์ จำกัด2 ครั้ง 17.3 ล้านบาท
ประเภทเครื่องตรวจอาวุธและวัตถุระเบิดจัดซื้อจาก บริษัท บี.กริม เทรดดิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด(นาย ฮาราลด์ ลิงค์ และ บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง ถือหุ้นใหญ่ )5 ครั้ง 7.6 ล้านบาท
ประเภทกล้องตรวจการณ์และอะไหล่ทั้งหมดซื้อจาก บริษัท ฮอลลีวู้ด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(นายธีรวุฒิ ตันติวงษากิจนางอรุณี ตันติวงษากิจถือหุ้นใหญ่) 12 ครั้ง วงเงิน 36.6 ล้านบาท อาทิ กล้อง สองตาในเวลากลางคืนจำนวน 40 กล้อง ราคา 12 ล้านบาท ,เครื่องยิงน้ำดับเพลิงแรงดันสูงและเครื่องอัดอากาศช่วยหายใจเคลื่อนย้าย ได้ 1,140,000 บาท , หลอดภาพขยายแสง(IMAGE INTENSIFIER TUBE)ใช้กับกล้อง SABRE PERISCOPE รถหุ้มเกราะCONDOR 1,333,327 บาท เป็นต้น
ประเภทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จัดซื้อจาก บริษัท โกลบอล เทคโนโลยี แอนด์ เอ็กซ์-อิม จำกัด(นายไพรัตน์ จารุพงศา ถือหุ้นใหญ่) 8 ครั้ง วงเงิน 32.9 ล้านบาท อาทิ MULTI-FUNCTION TEST SET,เครื่องช่วยฝึกยิงปืนเล็กด้วยเลเซอร์ ,อุปกรณ์รับสัญญาณภาพของรถยนต์ MCP เป็นต้น
รถจักรยานยนต์ปฏิบัติการทางยุทธวิธีจัดซื้อจาก บริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์ เซลส์ จำกัด (เดิมชื่อบริษัท สหไทยอินโนเวชั่น จำกัด- นางสาวนารีลักษณ์ สมเสมอถือหุ้น 49.9% บริษัท คายัค มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด จากจีน 45%) จำนวน 86 คัน ราคา 4.5 ล้านบาท
อุปกรณ์คุมฝูงชนจากบริษัท ดีเฟนเทค จำกัด (เจ้าของเดียวกับบริษัท ฮอลลีวู้ด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด) จำนวน 2 รายการ วงเงิน 9.8 ล้านบาท
น่าสังเกตว่า การจัดซื้อจากผู้ค้าแบบซ้ำๆ ต่อเนื่องยาวนาน และการมีสายสัมพันธ์กับคนในกองทัพเป็นสิ่งที่สาธารณชนไม่ เคยได้รับการอธิบาย?
………………
บริษัทจากต่างชาติที่เป็นคู่ค้ากับกองทัพอากาศ
ชื่อ | รายการจัดซื้อ | วงเงินล้าน (บาท) |
บริษัท AERO TECHNOLOGY สหรัฐอเมริกา |
จัดหาอะไหล่และอุปกรณ์เฮลิคอปเตอร์ อะไหล่ซ่อมบำรุงเครื่องวิทยุไมโครเวฟMDR-2205 | 9.8 |
บริษัท aero partnersLTD. สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนเหนือ |
อะไหล่ซ่อมPROPELLER P/Nฯเครื่องบินลำเลียง | 8 |
บริษัท FERNAU AVIONICS LIMITED สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ |
เครื่องช่วยเดินอากาศทาแคนภาคพื้นพร้อมติดตั้ง โดยกรมสื่อสารทหารอากาศ | 45.2 |
บริษัท SAAB AB (PULB)SABB MICROWAVE SYSTEMS สวีเดน | ประเทศสวีเดน RECEIVER MODULEจำนวน1EAMMI COMPUTER จำนวน2EA โดยกรมสื่อสารทหารอากาศ | 16.1 |
บริษัท Nera Telecommunication Ltd., ประเทศสิงคโปร์ |
อุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคม | 89.1 |
บริษัท TADIRAN COMMUNITION LTDรัฐอิสราเอล | วิทยุสื่อสารป้องกันฐานบินพร้อมระบบ | 23.2 |
บริษัท Elbit Systems Ltd.รัฐอิสราเอล | อะไหล่ซ่อมบำรุงระบบควบคุมการยิงบ.ขฝ.1 | 11.2 |
บริษัท yieldCO.LTD ประเทศญี่ปุ่น | EMERGENCY LOCATOR TRANSMITTER(ELT) | 6.7 |
บริษัท ROHDE&SCHWARZ INTERNATIONAL GmbHสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี | พื้นดิน-อากาศจำนวน11ชุด | 39.9 |
เปิดข้อมูลจัดซื้ออาวุธ
เครื่องมือในศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.) และ
ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล 1,000 ล้าน 5 เสือ
บ.ค้าอาวุธกวาดเพียบ
ทั้งนี้ในรอบ 3 กองบัญชาการทหารสูงสุดทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับเอกชนทั้งหมด1,496 สัญญา วงเงิน 14,815.6 ล้านบาท แบ่งเป็น
ปี 2551 จำนวน 525 สัญญา วงเงิน 3,637.7 ล้านบาท
ปีงบฯ 2552 จำนวน 603 สัญญา วงเงิน 8,265.7 ล้านบาท
ปีงบฯ 2553 จำนวน 368 สัญญา วงเงิน 2,912.1 ล้านบาท
จากการตรวจสอบพบว่า เฉพาะศูนย์รักษาความปลอดภัย ใช้เงินเพื่อจัดซื้ออาวุธ เครื่องไม้เครื่องมือ และรถยนต์ 640 ล้านบาท จำแนกเป็นประเภทดังนี้
เครื่องรับ-ส่งวิทยุจัดซื้อจัดหาจาก บริษัท เซลโฟล จำกัด รวม 6 ครั้ง 22.2 ล้านบาท
กล้องตรวจการณ์กลางคืน บริษัท กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทรีเกรชั่น จำกัด1.2 ล้าน บาท (14 ก.พ. 2551)
เครื่องมือตรวจใต้ท้องรถจัดซื้อจาก บริษัท กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น จำกัด5.9 ล้านบาท (19 ก.พ.2551) 7.5 ล้าน บาท ( 26 ก.ย.2551) รวม 13.4 ล้านบาท ,บริษัท ติ๊งเน็ท คอร์ปเปอร์เรชั่น จำกัด 4.6 ล้าน บาท (16 ก.พ. 2552)
เครื่องมือสืบสวนหาข่าวจัดซื้อจากเอกชน 3 ราย
1. บริษัท ไวเปอร์ (ไทย) จำกัด 3.2 ล้านบาท (22 ก.พ. 2551) 2. บริษัท กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น จำกัด 3 ครั้ง ได้แก่ 7,500,000 บาท (25 ก.พ. 2551) , 13,690,000 บาท (30 ก.ย. 2551 ) และ 7,980,000 บาท (18 มี.ค.2553) รวม 29.1 ล้านบาท และ 3. บริษัท เพลสซิ่ง แวลู จำกัด8 ล้านบาท ( 22 ก.ย.2551)
เสื้อเกราะกันกระสุน บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 150 ตัว 5.5 ล้านบาท (22 ก.พ. 2551)
ปืน บริษัท สายทองอามส์ จำกัด ปืนพกออโตเมติก ขนาด 9 มม. 1.7 ล้านบาท (22 ก.พ. 2551)
กระสุนปืน บริษัท บุลเล็ท มาสเตอร์ จำกัด 1.8 ล้านบาท (23 ก.ย.2552)
เครื่องมือป้องกันระบบส่งกำลังสัญญาณทางการสื่อสาร บริษัท สตาบิล จำกัด 2 ครั้ง (28 ก.พ. 2551) รวม 12.6 ล้านบาท
เครื่องมือเทคนิคตรวจป้องกันการดักฟังทางคลื่นวิทยุ จัดซื้อ 2 รายการ 1.บริษัท เพลสซิ่ง แวลู จำกัด 2 ครั้ง ได้แก่ 4,847,000 บาท (3 มี.ค.2551) และ 43,980,740 บาท ( 30 ก.ย.2551) รวม 48 .8 ล้านบาท และ 2. บริษัท เซลโฟล จำกัด2 2 ครั้ง 4,995,000 บาท (16 ม.ค. 2552) และ 5,287,500 บาท (20 ม.ค. 2552) รวม 10.2 ล้านบาท
ระบบกล้องตรวจการณ์/ซ่อนพราง พร้อมระบบบันทึกและส่งสัญญาณภาพ บริษัท กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น จำกัด 9.9 ล้านบาท ( 27 มิ.ย.2551)
ระบบกล้องตรวจจับป้ายทะเบียนซื้อจากเอกชน 2 ราย1. บริษัท เพลสซิ่ง แวลู จำกัด9.9 ล้านบาท (30 ก.ค. 2551) บริษัท ติ้งเน็ท คอร์ปเปอร์เรชั่น จำกัด 5.8 ล้านบาท ( 16 ก.พ.2552)
รถยนต์ ตรวจการณ์บริษัท กันโน่ ซีสเต็มส์อินทีเกรชั่น จำกัด1.8 ล้านบาท ( 20 ส.ค.2551)
รถยนต์นั่งเก๋งแบบแวนยี่ห้อ LEXUS รุ่น RX350 1 คัน บริษัท เล็กซ์ซัส กรุงเทพ จำกัด 5.4 ล้านบาท (19 ส.ค. 2552X
รถยนต์ปฏิบัติการหุ้มเกราะกันกระสุนแบบแวน ชนิด2 ตอน 5 ประตู ยี่ห้อ LAND ROVER รุ่น Range Roverจำนวน 20 คัน บริษัท ซิตี้ ออโต้โมบิล จำกัด 122.8 ล้านบาท (27 ส.ค. 2552)
รถยนต์นั่งเก๋งแบบแวน ชนิด 2 ตอน 5ประตู เครื่องยนต์เบนซิน ยี่ห้อ เมอร์เซเดสเบนซ์ รุ่น E350ESTATE จำนวน 3 คัน บริษัท ดีเอเอส เซอร์วิส จำกัด 12.5 ล้านบาท (30 ก.ย. 2552)
รถยนต์นั่งตรวจการณ์ขนาดใหญ่ แบบขับเคลื่อน 4ล้อชนิด 2 ตอน 5 ประตู เครื่องยนต์เบนซิน ยี่ห้อ โตโยต้า รุ่น LAND CRUISER 4 WD (V8) จำนวน 3 คัน บริษัท ดีเอเอส เซอร์วิส จำกัด 10.5 ล้านบาท ( 30 ก.ย.2552)
รถยนต์นั่งขนาดใหญ่สำหรับติดตั้งวิทยุติดต่อสื่อสารเพื่อรักษาความปลอดภัย(แบบ 4 ประตู) บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์(ประเทศไทย) จำกัด21.5 ล้านบาท ( 24 พ.ค. 2553)
รถยนต์นั่งขนาดใหญ่แบบตรวจการณ์ 5 ประตู บริษัท โตโยต้า ลิบรา จำกัด 2.3 ล้านบาท ( 29 มิ.ย.2553)
รถยนต์นั่งขนาดใหญ่ ยี่ห้อ TOYOTA รุ่น CAMRYHYBRID(2.4HV)ปริมาตรกระบอกสูบ 2,362 ซีซีบริษัท โตโยต้า เค.มอเตอร์ส 3.5 ล้านบาท ( 6 ก.ย.2553)
ระบบติดตามเป้าหมายระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม บริษัท กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น จำกัด 3 ครั้ง ได้แก่ 6,600,000 บาท ( 22 ก.ย.2551) 5,500,000 บาท ( 30 ก.ย. 2551)และ 7,980,000 บาท (4 ก.พ. 2552) รวม 20 ล้านบาท
ระบบขยายสัญญาณติดต่อสื่อสารแบบเคลื่อนที่ จัดซื้อจาก 1. บริษัท กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น จำกัด 7.7 ล้าน บาท (26 ก.ย.2551) และ 2. บริษัท อิทธิพร อิมปอร์ต จำกัด 249.8 ล้านบาท (26 ก.ย.2551)
เครื่องตรวจจับและค้นหาวัตถุระเบิด บริษัท แจ๊คสัน อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด 2.6 ล้านบาท ( 13 ม.ค. 2552) บริษัท เพลสซิ่ง แวลู จำกัด 2 ครั้ง 5,900,000 บาท ( 6 มี.ค.2552) 1,510,000 บาท ( 29 ก.ย.2552) รวม 7.4 ล้านบาท
ชุด JAMMER HP(เครื่องตัดสัญญาณ โทรศัพท์มือถือ)ยี่ห้อ Netline รุ่น C-Guard TXP ผลิตภัณฑ์ของประเทศอิสราเอล บริษัท ไฮเท็ครีสอร์ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด1.8 ล้านบาท ( 17 ก.ย. 2552) และ บริษัท กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น จำกัด 1.1 ล้าน บาท ( 23 ก.ย. 2552)
ขณะที่ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากลในช่วง 3 ปี ใช้เงินซื้ออาวุธ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติภารกิจ จำนวน 301 ล้านบาท จากเอกชน 3 ราย
อาวุธปืน จัดซื้อจาก เอกชน 3 ราย
1.บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้แก่ ปืนพก 19 ก.ย. 2551 ปืนยาว 26 ก.ย. 2551 ,ปืนพลซุ่มยิง ( 21 พ.ค.2552) ,ปืนกลมือ ขนาด 9 ม.ม. (25 มี.ค. 2553) และปืนยิงลูกระเบิด ขนาด 40 ลบ.ม. ยี่ห้อ Milkorรุ่น MK 1L (26 ส.ค.2553) รวมทั้งสิ้น 23.6 ล้านบาท
2. บริษัท ฟิกซ์เทค จำกัด ปืนกลมือ ขนาด 9 ม.ม.พร้อมอุปกรณ์7.2 ล้านบาท ( 4 พ.ค. 2552)
3.บริษัท สายทองอามส์ จำกัด ปืนพกและอุปกรณ์ 5.5 ล้านบาท (19 พ.ค.2552)
กระสุนปืนซื้อจาก บริษัท สายทองอาร์ม จำกัด5 ครั้ง 14.6. ล้านบาท ( 24 เม.ย.2552 จำนวน 2 ครั้ง,7 ก.ค.2553 จำนวน 3 ครั้ง ) บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 5.1 ล้านบาท ( 21 พ.ค.2552) ,บริษัท รอยัล ดีเฟนส์ จำกัด กระสุนขนาด 5.56 ม.ม. ชนิดเจาะเกราะจำนวน 200,000 นัด 3 ล้านบาท ( 17 ก.ย. 2553)
กล้องตรวจการณ์ หจก.สยามโพลีเทค ราคา 7.9 ล้านบาท (23 ก.ย.2551) ,หจก.ควอลิตี้ เมทริคซ์
7,560,000 บาท (26 ก.ย.2551) , บริษัท ซีคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 3ครั้ง 19.7 ล้านบาท (11 มิ.ย.2552 จำนวน 2 ครั้ง , 30 ก.ค. 2552 จำนวน 1 ครั้ง ) , บริษัท วิริยะกิจ (1995) จำกัด 7.7 ล้านบาท (13 ก.ค.2552) , บริษัท ดิจิตอล รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลทิ่ง จำกัด 7.6 ล้านบาท (7 ก.ย.2552)
เครื่องมือเก็บกู้วัตถุระเบิด บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 2.6 ล้าน บาท (26 ก.ย. 2551) ,
บริษัท เทพยนต์ แอโรโมทีฟ อินดัสตรีส์ จำกัด 5.8 ล้านบาท (30 เม.ย.2552) , บริษัท ยูนิเวอร์แซล โมบาย เทเลคอม จำกัด 1 ล้านบาท ( 23 ก.ค.2552) , บริษัท คราวน์ อินดัสทรีส์ จำกัด 5.4 ล้านบาท (6 ส.ค.2552)
โล่ป้องกันกระสุนบริษัท คราวน์ อินดัสทรีส์ จำกัด 3.9 ล้านบาท (26 ก.ย. 2551)
อุปกรณ์โรยตัวทางยุทธวิธี หจก.สยามโพลีเทค 5.9 ล้านบาท 26 ก.ย. 2551 , บริษัท ฟูลเมทอลเทคโนโลยี จำกัด 7.2 ล้านบาท (9 เม.ย.2552) ,บริษัท รอยัล อาร์มดรี่ จำกัด540,000 บาท (20 เม.ย.2552)
เสื้อเกราะ บริษัท ฮอลลีวู้ดอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 5.7 ล้านบาท (26 ก.ย. 2551) ,บริษัท ช.ไพศาล จำกัด 9 ล้านบาท (14 พ.ค.2552)
ระเบิดขว้างแสง เสียงซื้อจาก บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 9 ล้านบาท (30 เม.ย.2552,12 ก.ค2553)
เครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดบริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 2.6 ล้านบาท ( 13 ก.ค. 2552)
อุปกรณ์สอดแนมบริษัท ซีคอม อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด 7.8 ล้านบาท (11 มิ.ย.2552)
เครื่องมือสำหรับปฏิบัติการต่อต้านอาวุธเคมี- วชีวะ บริษัท ซันมูนเรย์ จำกัด 5.3 ล้านบาท ( 13 ก.ค.2552)
เครื่องตัดสัญญาณวิทยุและโทรศัพท์พร้อมอุปกรณ์ บริษัท ดิจิตอล รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลทิ่ง จำกัด 7.9 ล้านบาท ( 14 พ.ค.2552)
เครื่องมือสื่อสารและอุปกรณ์บริษัท ยูซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 3.6 ล้านบาท ( 19 ก.ย. 2551) ,บริษัท ยูนิเวอร์แซล โมบาย เทเลคอม จำกัด 5.2 ล้านบาท ( 26 พ.ค. 2552 ,บริษัท 299 จำกัด 2.4 ล้านบาท ( 26 พ.ค.2552) ,บริษัท อร่ามบุญ (ประเทศไทย) จำกัด 6.9 ล้านบาท ( 10 ก.ย.2553 )
น่าสังเกตว่า ผู้ค้าอาวุธรายใหญ่ของกองทัพบก ยังได้รับการจัดซื้อจาก 2 หน่วยงานในกองบัญชาการกองทัพไทยอยู่เหมือนเดิม
…………
บริษัทค้าอาวุธที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานในกองบัญชาการกองทัพไทย
( 1 ต.ค.2550-30 ก.ย.2553)
ประเภท |
ชื่อบริษัท |
มูลค่า (บาท) |
ปืน |
บริษัท สายทองอามส์ จำกัด บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ฟิกซ์เทค จำกัด |
7.2 ล้าน 23.6 ล้าน 7.2 ล้าน |
กระสุนปืน |
บริษัท บุลเล็ท มาสเตอร์ จำกัด บริษัท สายทองอาร์ม จำกัด บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท รอยัล ดีเฟนส์ จำกัด หจก.ควอลิตี้ เมทริคซ์ บริษัท ซีคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท วิริยะกิจ (1995) จำกัด บริษัท ดิจิตอล รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลทิ่ง จำกัด |
1.8 ล้าน 14.6 ล้าน 5.1 ล้าน 3.0 ล้าน 7.5 ล้าน 19.7 ล้าน 7.7 ล้าน 7.6 ล้าน |
เสื้อเกราะกันกระสุน |
บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ฮอลลีวู้ดอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ช.ไพศาล จำกัด |
5.5 ล้าน 5.7 ล้าน 9.0 ล้าน |
กล้องตรวจการณ์กลางคืน |
บริษัท กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทรีเกรชั่น จำกัด หจก.สยามโพลีเทค |
1.2 ล้าน 7.9 ล้าน |
จบ ..............
6 ความคิดเห็น:
มีมานานแล้ว
ตั้งแต่สมัยบิ๊ก จ ก็รวยเป็นพันล้าน จากการสั่งซื้ออาวุธ
ไอเลว
แล้วจะสรุปว่าเค้าโกงได้ยัง แค่ว่าใครทำอะไรก็ไม่ได้หมายความว่ามันโกง ต้องเข้าไปดูว่าการจัดซื้อมันโปร่งใสแค่ไหน ถ้าอย่างนั้นมีญาติเป็นคนใหญ่โตก็ไม่ต้องทำมาหากินกันแล้วใช่ไหม ผมเสียเวลาอ่านมานานจะสรุปไดยังว่ามันโกงกันยังไง แต่ก็เสียดายนะ กระสุนปืนเล็กทำไมไม่ผลิตเอง ทั้งที่กระสุนปืนใหญ่ยังผลิตได้เลย แล้วอากาศยานของหน่วยงานราชกาลทั้งหมดถึงไม่ซ่อมที่ TAI ใครพอจะให้คำตอบได้บ้าง
ผมว่ายังไงก็โกงนะดูจากราคาก็น่าจะรู้แล้ว แพงโคตรๆ
ขออนุญาตพี่ๆทุกๆท่านในลิงค์นี้นะครับ ขออนุญาตเผยแพร่ความเห็นพี่ๆครับ ผมว่ามันมีประโยชน์สำหับผู้ที่ได้มาอ่านอย่างมากครับ ขอบคุณครับ
http://www.thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=6&t=739&start=1830
http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=15145&topic=U206A%20%CA%A1%D9%EA%BB%CB%B9%E9%D21%20%E0%B4%C5%D4%B9%D4%C7%CA%EC
30 ก.ย. 2552 ปืนกล 38 7.62 ม.ม.15 กระบอก 10,830,000 แพงโครต
แสดงความคิดเห็น