ได้ติดตามหาข้อมูลสารพัดตั้งแต่วันงานรัฐพิธีเปิดประชุมสภา ค้นในราชกิจจนุเบกษาที่เกี่ยวข้องก็ไม่พบ ขอข้อมูลจากกองอาลักษณ์ก็ไม่มี ใครรู้วานบอกที ข้องสงสัยเล็กๆของผมคือ ( โปรดดูภาพประกอบ )
ในวันงานรัฐพิธีเปิดประชุมสภาฯ ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม สมาชิกรัฐสภาต่างแต่งเครื่องแบบปกติขาวเต็มยศ มาเฝ้าฯรับเสด็จ หนึ่งในนั้นมีท่านนายกรัฐมนตรีหญิงที่ชื่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เช่นกัน จากการพิจารณาและตรวจสอบข้อมูลประวัติของท่านนายกหญิงผู้นี้ เท่าที่ทราบยังไม่ได้เคยรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลใดๆเลย ( เท่าที่ทราบนะครับ ถ้าใครมีข้อมูลก็ขอแชร์ด้วยละกัน ) แต่ในวันนั้นท่านนายกหญิงคนนี้ได้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จำนวน 2 ชิ้น 2 ตระกูลบนหน้าอกด้านซ้าย คือ เครื่อง ราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก ( สีแดง ) และ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย ( สีน้ำเงิน ) ซึ่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้ง 2 ตระกูลนี้ พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานให้แด่พระบรมวงศา นุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดีให้ประเทศชาติ เท่านั้น
สำหรับพ่อค้าคหบดีส่วนมากจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน
และจากการตรวจสอบบัญชีขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 2 ตระกูลขั้นต้น จาก 44 บัญชี ได้แก่
1.บัญชี 1 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่องคมนตรี
2.บัญชี 2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่รัฐมนตรี
3.บัญชี 3 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการการเมืองและคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะ กรรมการประสานงานวุฒิสภา
4.บัญชี 4 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในรัฐสภาและตุลาการรัฐธรรมนูญ
5.บัญชี 5 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการการเมืองในกรุงเทพมหานคร
6.บัญชี 6 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่สภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
7.บัญชี 7 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการ ยกเว้นที่ปรากฏในบัญชีอื่น
8.บัญชี 8 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการทหาร
9.บัญชี 9 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการตำรวจ
10.บัญชี 10 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการตุลาการ
11.บัญชี 11 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการอัยการ
12.บัญชี 12 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
13.บัญชี 13 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องถิ่น
14.บัญชี 14 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชน พนักงานองค์การของรัฐ หรือพนักงานหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ยกเว้นที่ปรากฏในบัญชีอื่น ๆ
15.บัญชี 15 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ลูกจ้างประจำ
16.บัญชี 16 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ดะโต๊ะยุติธรรมและผู้พิพากษาสมทบ
17.บัญชี 17 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่เจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย
18.บัญชี 18 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีลักษณะพิเศษ
19.บัญชี 19 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ราชบัณฑิตและกรรมการตามกฎหมายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
20.บัญชี 20 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ชาวต่างประเทศ
21.บัญชี 21 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสองคมนตรี
22.บัญชี 22 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสรัฐมนตรี
23.บัญชี 23 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสสมาชิกรัฐสภา (บางตำแหน่ง)
24.บัญชี 24 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสผู้ดำรงตำแหน่ง (สมาชิกรัฐสภา/ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่/ทหารชั้นผู้ใหญ่/ตำรวจชั้นผู้ ใหญ/ตุลาการ และอัยการ
25.บัญชี 25 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการการเลือกตั้ง
26.บัญชี 26 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
27.บัญชี 27 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
28.บัญชี 28 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
29.บัญชี 29 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ตุลาการศาลปกครอง
30.บัญชี 30 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติและกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ
31.บัญชี 31 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
32.บัญชี 32 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่พนักงานราชการ
33.บัญชี 33 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการการเลือกตั้ง
34.บัญชี 34 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
35.บัญชี 35 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
36.บัญชี 36 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
37.บัญชี 37 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสตุลาการศาลปกครอง
38.บัญชี 38 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติและกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
39.บัญชี 39 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
40.บัญชี 40 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
41.บัญชี 41 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการตามระบบจำแนกประเภทตำแหน่ง
42.บัญชี 42 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่พนักงานของหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นข้าราชการ
43.บัญชี 43 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
44.บัญชี 44 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ก็ยังไม่พบรายชื่อ ท่านนายกหญิงยิ่งลักษณ์ เลย ก็เป็นห่วงท่านนายกหญิงว่าจะมาตกม้าตายเอาตอนนี้ กลัวใครเขายุให้ใส่ๆไป เหมือน ตอนที่ผมเคยเล่าให้ฟังว่า มีลิ่วล้อโทร.ไปปรึกษาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของสำนักพระราชวังท่านหนึ่ง เรื่องจะขอพระราชทานเครื่องราชชั้นสายสะพายให้ท่านนายกหญิง การ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์กับการประดับเหรียญที่ระลึกมันคนละเรื่องกัน ถ้าจะประดับเหรียญที่ระลึกก็ประดับได้ตามชอบใจแต่ถ้าประดับเครื่องราช อิสริยาภรณ์โดยไม่ได้รับพระราชทาน หรือไม่มีสิทธิ์ มันผิดกฎหมาย มาตรา 146 ผู้ใด ไม่มีสิทธิที่จะ สวมเครื่องแบบ หรือ ประดับเครื่องหมาย ของ เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือ สมาชิกสภาเทศบาล หรือ ไม่มีสิทธิใช้ ยศ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือ สิ่งที่หมายถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ กระทำการเช่นนั้น เพื่อให้ บุคคลอื่น เชื่อว่า ตนมีสิทธิ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกิน สองพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ในวันงานรัฐพิธีเปิดประชุมสภาฯ ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม สมาชิกรัฐสภาต่างแต่งเครื่องแบบปกติขาวเต็มยศ มาเฝ้าฯรับเสด็จ หนึ่งในนั้นมีท่านนายกรัฐมนตรีหญิงที่ชื่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เช่นกัน จากการพิจารณาและตรวจสอบข้อมูลประวัติของท่านนายกหญิงผู้นี้ เท่าที่ทราบยังไม่ได้เคยรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลใดๆเลย ( เท่าที่ทราบนะครับ ถ้าใครมีข้อมูลก็ขอแชร์ด้วยละกัน ) แต่ในวันนั้นท่านนายกหญิงคนนี้ได้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จำนวน 2 ชิ้น 2 ตระกูลบนหน้าอกด้านซ้าย คือ เครื่อง ราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก ( สีแดง ) และ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย ( สีน้ำเงิน ) ซึ่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้ง 2 ตระกูลนี้ พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานให้แด่พระบรมวงศา นุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดีให้ประเทศชาติ เท่านั้น
สำหรับพ่อค้าคหบดีส่วนมากจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน
และจากการตรวจสอบบัญชีขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 2 ตระกูลขั้นต้น จาก 44 บัญชี ได้แก่
1.บัญชี 1 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่องคมนตรี
2.บัญชี 2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่รัฐมนตรี
3.บัญชี 3 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการการเมืองและคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะ กรรมการประสานงานวุฒิสภา
4.บัญชี 4 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในรัฐสภาและตุลาการรัฐธรรมนูญ
5.บัญชี 5 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการการเมืองในกรุงเทพมหานคร
6.บัญชี 6 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่สภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
7.บัญชี 7 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการ ยกเว้นที่ปรากฏในบัญชีอื่น
8.บัญชี 8 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการทหาร
9.บัญชี 9 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการตำรวจ
10.บัญชี 10 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการตุลาการ
11.บัญชี 11 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการอัยการ
12.บัญชี 12 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
13.บัญชี 13 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องถิ่น
14.บัญชี 14 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชน พนักงานองค์การของรัฐ หรือพนักงานหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ยกเว้นที่ปรากฏในบัญชีอื่น ๆ
15.บัญชี 15 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ลูกจ้างประจำ
16.บัญชี 16 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ดะโต๊ะยุติธรรมและผู้พิพากษาสมทบ
17.บัญชี 17 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่เจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย
18.บัญชี 18 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีลักษณะพิเศษ
19.บัญชี 19 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ราชบัณฑิตและกรรมการตามกฎหมายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
20.บัญชี 20 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ชาวต่างประเทศ
21.บัญชี 21 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสองคมนตรี
22.บัญชี 22 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสรัฐมนตรี
23.บัญชี 23 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสสมาชิกรัฐสภา (บางตำแหน่ง)
24.บัญชี 24 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสผู้ดำรงตำแหน่ง (สมาชิกรัฐสภา/ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่/ทหารชั้นผู้ใหญ่/ตำรวจชั้นผู้ ใหญ/ตุลาการ และอัยการ
25.บัญชี 25 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการการเลือกตั้ง
26.บัญชี 26 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
27.บัญชี 27 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
28.บัญชี 28 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
29.บัญชี 29 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ตุลาการศาลปกครอง
30.บัญชี 30 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติและกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ
31.บัญชี 31 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
32.บัญชี 32 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่พนักงานราชการ
33.บัญชี 33 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการการเลือกตั้ง
34.บัญชี 34 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
35.บัญชี 35 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
36.บัญชี 36 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
37.บัญชี 37 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสตุลาการศาลปกครอง
38.บัญชี 38 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติและกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
39.บัญชี 39 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
40.บัญชี 40 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
41.บัญชี 41 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการตามระบบจำแนกประเภทตำแหน่ง
42.บัญชี 42 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่พนักงานของหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นข้าราชการ
43.บัญชี 43 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
44.บัญชี 44 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ก็ยังไม่พบรายชื่อ ท่านนายกหญิงยิ่งลักษณ์ เลย ก็เป็นห่วงท่านนายกหญิงว่าจะมาตกม้าตายเอาตอนนี้ กลัวใครเขายุให้ใส่ๆไป เหมือน ตอนที่ผมเคยเล่าให้ฟังว่า มีลิ่วล้อโทร.ไปปรึกษาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของสำนักพระราชวังท่านหนึ่ง เรื่องจะขอพระราชทานเครื่องราชชั้นสายสะพายให้ท่านนายกหญิง การ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์กับการประดับเหรียญที่ระลึกมันคนละเรื่องกัน ถ้าจะประดับเหรียญที่ระลึกก็ประดับได้ตามชอบใจแต่ถ้าประดับเครื่องราช อิสริยาภรณ์โดยไม่ได้รับพระราชทาน หรือไม่มีสิทธิ์ มันผิดกฎหมาย มาตรา 146 ผู้ใด ไม่มีสิทธิที่จะ สวมเครื่องแบบ หรือ ประดับเครื่องหมาย ของ เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือ สมาชิกสภาเทศบาล หรือ ไม่มีสิทธิใช้ ยศ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือ สิ่งที่หมายถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ กระทำการเช่นนั้น เพื่อให้ บุคคลอื่น เชื่อว่า ตนมีสิทธิ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกิน สองพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ช่วยดู ลูกเสธเเดง เดียร์ด้วยซิครับ ว่าเคยได้รับพระราชทานอะไรรึไม่เพราะเห็นมีติดกะเขาเหมือนกัน
การ กระทำโดยขาดสติยั้งคิด ขาดเหตุผล ความรู้จักถูกผิดนั้น เป็นเหตุให้เกิดความหลง ความลืมตัว ทำให้กระทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่โดยชอบได้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก อาจจะนำความเสีย เสื่อมสลาย มาสู่ตนเอง ตลอดทั้งประเทศชาติได้
พระราชดำรัส ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
พระราชดำรัส ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
-
นู๋เดียร์ลูกสาวป๋าแดง นะไม่ได้ประดับเครื่องราชอิสริภรณ์หรอกครับ แต่ประดับเหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบ ( ปีกแมงปอ ) แบบของสตรี ซึ่งเท่าที่ดูในภาพน่าจะเป็นเหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จย่าทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษาปีพุทธศักราช 2527 อันนี้ประดับได้ครับ
แต่ก็จะมีเงื่อนไขในการประดับมีดังนี้
1. ผู้ที่มีสิทธิ์ประดับเหรียญและแพรแถบย่อได้ต้องเกิดก่อนปี พ.ศ. ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีจัดสร้างเหรีญที่ระลึกนั้น ๆ ตัวอย่าง : ผมเกิด พ.ศ. 2535 ผมสามารถประดับเหรียญและแพรแถบที่จัดสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบันได้เลย
2. การประดับเหรียญที่ระลึกสามารถประดับกี่เหรียญก็ได้ตามที่เรามีสิทธิ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจและความสวยงาม เช่นเดียวกับกับแพรแถบย่อ เราสามารถสั่งทำโดยระบุได้ว่าต้องการแบบไหน สำหรับคนที่แผงอกไม่กว้าง การติดเหรียญเยอะ ๆ หรือแพรแถบย่อที่มากชั้นจนเกินไปก็ทำให้ดูไม่สวยและเทอะทะ
3. ในการประดับเหรียญที่ระลึกและแพรแถบย่อต้องเรียงลำดับปี พ.ศ. อดีต-ปัจจุบัน จากซ้ายไปขวา และบนลงมาล่าง
สำหรับ แพรแถบที่เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จะต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ ก่อนจึงจะสามารถนำมาประดับได้ ซึ่งจะมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา บางชนิดก็จะมีประกาศนียบัตรด้วย
แต่สำหรับเหรียญที่ระลึก เป็นเหรียญที่ออกมาเนื่องในพระราชพิธีสำคัญๆต่างๆของประเทศไทยเพื่อเป็นที่ระลึก ซึ่งทุกๆคนสามารถประดับได้ โดยคนผู้นั้นจะต้องเกิดทันในปีที่มีการจัดพระราชพิธีนั้นๆ เช่น พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ.2531 ผู้ที่จะประดับเหรียญนี้จะต้องเกิดทันปี พ.ศ. 2531
แต่ ถ้าหากจะประดับเหรียญที่ระลึกที่ออกมาก่อนปีที่เกิดก็ไม่เป็นไร ถึงแม้จะผิดหลักแต่ก็เป็นเรื่องเล็กน้อยปกติแล้วจะโดนมองข้ามไปไม่มีความผิด อะไร เนื่องจากตามร้านมักจะทำแพรแถบที่เป็นแบบสำเร็จรูปมาซึ่งจะไม่มีทำไว้คนที่ เกิดในช่วงปีหลังๆ เพราะว่าทำออกมาแล้วสีไม่สวยคนไม่นิยมติดกัน
จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก สำหรับสตรี
เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย สำหรับสตรี
http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=4348473255186409443
เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย สำหรับสตรี
http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=4348473255186409443
...ความชอบธรรมต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม...
มาตรา 146 ผู้ใด ไม่มีสิทธิที่จะ สวมเครื่องแบบ หรือ ประดับเครื่องหมาย ของ เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือ สมาชิกสภาเทศบาล หรือ ไม่มีสิทธิใช้ ยศ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือ สิ่งที่หมายถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ กระทำการเช่นนั้น เพื่อให้ บุคคลอื่น เชื่อว่า ตนมีสิทธิ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกิน สองพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับยิ่งลักษณ์อาจจะขอใช้ล่วงหน้าแบบที่คุณหญิงพจมานเคยทำมาก่อน
เปิดหลักฐานมัด 'บรรณพจน์-พจมาน' ใช้ตั๋วเงินจ่ายค่าหุ้นชินฯ ตั้ง 'คุณหญิง' ล่วงหน้า
เปิดหลักฐานสำเนาตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่'บรรณพจน์' สัญญาว่า จะจ่ายเงินให้แก่'พจมาน'กว่า 102 ล้านบาทมัด เป็นการทำขึ้นย้อนหลัง หรือเป็นการตั้งให้เป็น 'คุณหญิง' ล่วงหน้า ก่อนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จตุตถจุลจอมเกล้า ที่มีสิทธิใช้ได้จริงกว่าเดือนครึ่ง
กรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.)ได้ชี้มูลความผิดพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ไปพร้อมกับแสวงหาผลประโยชน์สำหรับธุรกิจครอบครัวชินวัตรในการสั่งการให้ ธนาคารส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ปล่อยกู้ให้แก่รัฐบาลพม่าวงเงิน 4,000 ล้านบาทโดยระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานให้นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุตรธรรมและลูกๆถือหุ้นบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด แทน
ทั้งนี้ หลักฐานที่ คตส.นำมายืนยันเรื่องนี้คือ เงินที่ใช้ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัท ชินคอร์ปจำนวน 6,809,015 หุ้น มูลค่า 102,135,225 บาท ของนายบรรณพจน์ เมื่อเดือนมีนาคม 2542 เป็นเงินจากบัญชีของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร โดยอ้างหลักฐานว่า นายบรรณพจน์ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่คุณหญิงพจมานเป็นหลักฐาน ซึ่งตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับดังกล่าวลงวันที่ 16 มีนาคม 2542 โดยมีข้อความระบุว่า
'' นายบรรณพจน์สัญญาจะจ่ายเงินจำนวน 102,135,225 บาทให้แก่/หรือตามสั่งของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ณ บ้านเลขที่ 526 ถนนพระราม 5 แขวงนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยจะชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถามโดยไม่มีดอกเบี้ย ''
ทั้งๆที่ในวันที่ 16 มีนาคม 2542 นางพจมาน ชินวัตร ยังไม่ไดใช้นำนำหน้านามว่า ''คุณหญิง'' โดยนางพจมาน ชินวัตร เพิ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จตุตถจุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคลวันที่ 5 พฤษภาคม 2542 (หลังออกตั๋วสัญญาใช้เงินกว่าหนึ่งเดือนครึ่ง)แสดงให้เห็นว่า ในวันที่ 16 มีนาคม 2542 ที่มีการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัทชินคอร์ปในนามนายบรรณพจน์ ไม่ได้มีการทำตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 16 มีนาคม 2542 ไว้แต่อย่างใด แต่เป็นการจัดทำขึ้นภายหลัง เมื่อนางพจมานได้ใช้คำนำหน้านามว่า ''คุณหญิง'' แล้ว
หลังจากที่ คตส.แถลงข่าว นายฉัตรทิพย์ ตัณฑประศาสน์ ทนายความส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า'ที่คตส.ระบุว่ามีเอกสารว่าคุณหญิงพจมาน ที่ระบุนำหน้าว่า 'คุณหญิง' ก่อนได้รับตำแหน่งคุณหญิง และตั้งประเด็นว่า อาจเป็นการทำเอกสารย้อนหลัง เรื่องนี้ทีมทนายความอยู่ระหว่างตรวจสอบเอกสารเช่นกันว่า เป็นไปตามที่ คตส.อ้างถึงหรือไม่ เพราะไม่เคยเห็นเอกสารดังกล่าวเลย หาก คตส.มีเอกสารจริงควรนำออกมาโชว์ให้เห็น'
เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ 'มติชนออนไลน์' จึงนำสำนาตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับดังกล่าวที่นายบรรณพจน์ ออกให้แก่คุณหญิงพจมานมา นำเสนอพบว่า ตรงกับข้อเท็จจริงในคำแถลงของ คตส.คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินติดอากรแสตมป์ ลงวันที่ 16 มีนาคม 2542 ระบุว่า สัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ ''คุณหญิงพจมาน ชินวัตร''
ขณะเมื่อตรวจสอบจาก ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 116 ตอนที่ 8 ข. วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 พบว่า ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าวิเศษ ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม 2542 ปรากฏชื่อว่า '' นางพจมาน ชินวัตร '' ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสรยาภรณ์ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าในชื่อรองสุดท้ายซึ่งทำให้สามารถใช้คำนำหน้านามว่า ''คุณหญิง'' ได้
นอกจากนั้นเมื่อเทียบตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับดังกล่าวกับตั๋วสัญญาใช้เงินที่นายบรรณพจน์อ้างหลักฐานว่า ออกให้แก่คุณหญิงพจมานใน วันที่ 29 ธันวาคม 2542 สัญญว่าจะจ่ายเงินให้ 80 ล้านบาท(เป็นการซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัทเอสซี แอสเสท จำกัด)และ 1 กันายน 2543 สัญยาว่าจะจ่ายเงินให้ 268,250,000 บาท(โอนหุ้นชินคอร์ปจำนวน 26.825 ล้านหุ้นให้)แล้ว พบว่า มีการใช้แบบฟอร์มและตั๋วอักษรเดียวกันหมด
ด้านนายฉัตรทิพย์ ตัณฑประศาสน์ ทนายความส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณในคดีที่ถูก คตส.กล่าวหาว่าใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของตน เองและพวกพ้อง กล่าวถึงกรณีตั๋วสัญญาใช้เงินของนายบรรณพจน์ที่ระบุชื่อคุณหญิงพจมานก่อนได้รับคำนำหน้า ''คุณหญิง'' ซึ่งอาจเป็นการทำเอกสารย้อนหลังว่า ทนายความกำลังตรวจสอบข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง คาดว่าต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง เนื่องจากเอกสารประกอบในเรื่องนี้มีมาก
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นได้หรือไม่ที่เอกสารดังกล่าวจะมีปัญหาจริง นายฉัตรทิพย์กล่าวว่า ''จะบอกว่าเอกสารมีหรือไม่มีปัญหาไม่ได้ เพราะยังไม่ทราบว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร แต่เรื่องที่ยืนยันได้แน่นอนก็คือ มีการซื้อขายหุ้นจริงแน่นอน ''
นายฉัตรทิพย์กล่าวว่า ส่วนที่ คตส.กล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีความผิดในคดีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็ก ซิมแบงก์ปล่อยกู้ให้กับทางการพม่านั้น ทีมทนายความได้ทำเอกสารชี้แจงเรียบร้อยแล้ว และส่งให้ทีมโฆษกของ พ.ต.ท.ทักษิณรับทราบเพื่อนำไปแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนแล้ว
ที่มา มติชนออนไลน์
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระราชพิธีฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม 2542
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ระบุ นางพจมาน ชินวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็นคุณหญิง 4 พฤษภาคม 2542
ตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ บรรณพจน์ ดามาพงศ์ จ่ายเงิน 102 ล้านบาท ให้แก่ ''คุณหญิงพจมาน ชินวัตร'' 16 มีนาคม 2542 ก่อนได้รับแต่งตั้งเป็นคุณหญิง
ตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญาจะจ่ายเงิน 80 ล้านบาท ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2542 เหมือนกับ ฉบับวันที่ 16 มีนาคม 2542 เสมือนออกมาพร้อมๆกัน
ตั๋วสัญญาใช้เงินอีกฉบับหนึ่ง จ่ายเงิน 268 ล้าน วันที่ 1 กันยายน 2543 ที่เหมือนกับ ฉบับวันที่ 16 มีนาคม 2542 มาก
ประเด็น HOT แล้วคราวนี้
คุณเด็กปากดี ช่างสังเกตุ และมีความรู้เรื่องนี้ดีมากเลยครับ
ขอบคุณสำหรับโพสนี้ครับ
จริงๆไม่ถึงกับจะจับผิดหรือช่างสังเกตุหรอกครับ ผมเคยโดนมากับตัว ประสบการณ์ครั้งนั้นจำไม่เคยลืม เมื่อ ปีที่ผ่านมาในรัฐพิธีงานสโมสรสันนิบาต ณ ทำเนียบรัฐบาล ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครอบครัวผมได้มีโอกาสเข้าไปในงานด้วย เหตุเนื่องจากผู้ปกครองต้องไปถวายงานรับเสด็จฯ ทั้งคู่ ผมจึงมีโอกาสได้ติดตามท่านทั้งสองเข้าไป ในงานมีคณะบุคคลต่างๆ ตั้งแต่ทูตานุทูต ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารพลเรือนตำรวจ รวมถึงนักการเมืองทั้งซีกรัฐบาลซีกฝ่ายค้านและแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ในระหว่างรอการรับเสด็จฯของ 905 นั้น ผม มายืนอยู่กับพวกข้าราชการเพื่อนของผู้ปกครองและมีนักการเมืองซีกรัฐบาลอยู่ สองท่าน สนทนากันอยู่เรื่องสัพเพเหระ ก็มีชายผู้หนึ่งเดินเข้ามาทักคุณอาที่เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญที่ที่อยู่ใน วง และหันมามองหน้าผมก่อนจะพูดว่า " อายุเท่าไหร่แล้วแต่งชุดขาวประดับเข็มพระราชทานกับเขาด้วยหรือ" ผมจึงได้เรียนชี้แจงชายผู้นี้ว่า ในวันพิธีอย่างนี้ชุดขอเฝ้าฯ น่าจะเหมาะสมที่สุดและเข็มพระราชทานนี้ ครอบครัวผมได้รับพระราชทานกันทั้งบ้าน 3 สำรับ เนื่องจากผู้ปกครองปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชคุณแก่พระบรมราชวงศ์มานานกว่า ยี่สิบปีแล้ว หน่วยงานต้นสังกัดจึงทำเรื่องขอพระราชทานเข็มพระราชทานนี้ให้เพื่อเป็น เกียรติแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล มีพิธีการ จัดรับพระราชทานอย่างถูกต้องที่ศาลาว่าการสำนักพระราชวัง ที่สำคัญมีบัญชีเลขที่กำกับถูกต้องตรวจสอบได้ว่าได้รับพระราชทานในลำดับที่ เท่าไหร่ หน่วยงานไหนเป็นผู้ขอพระราชทาน ไม่เคยไปซื้อจากที่ไหนมาติด เอาเอง ตรวจสอบได้ และผมก็ได้ย้อนกลับไปถามชายผู้นี้ ว่า " แล้วของท่าน ใครเป็นผู้ขอพระราชทานให้และพระราชทานในลำดับที่เท่าไหร่ " ชายผู้นั้นกลับไม่ตอบและเปลี่ยนเรื่องคุยไป หากเรื่องนี้ชายผู้นั้นได้มีญาณวิถีใดๆมาอ่านคงจะจำเหตุการณ์ในคืนนั้นได้ และเท่าที่ผมสังเกตุปัจจุบันชายผู้นี้ก็ไม่ได้ประดับเข็มพระราชทานอันนี้มา อีก หากแต่ประดับดับเข็มกลัดพระปรมาภิไธยย่อแทน ผมหวังว่าท่านคงจะจำคืนนี้ได้นะครับ " ท่าน ส.ส.พร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ "
ติดตามงานเขียนของท่านเด็กปากดีมาสักระยะ แม้จะอายุยังน้อย แต่ความคิดไม่น้อยเลยทีเดียว
นับถือครับนับถือ แสดงถึงการได้รับการอบรมมาอย่างดีจากครอบครัวและสถานศึกษา
เป็นบุญล้นพ้นของครอบครัวของคุณเด็กปากดี ที่ได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด
ขอให้สะสมความดีเอาไว้ครับ จะเป็นเกราะคุ้มกันภัยที่ดีที่สุดที่พึงมีได้
8 ความคิดเห็น:
ใครเอาประดับคุก 1 ปี พร้อมพงษ์ และ ยิ่งลัก ทำไงใครจะเป็นคนเอาเรื่อง
คนไทยอยู่ใต้กฎหมายเดียวกัน ใครทำผิดต้องรับผิดตามที่กฎหมายบัญญัติ
ผู้ละเว้นก็ย่อมมีความผิด ตำรวจ มีไว้ประดับบ้านเมือง หรือไร
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่จะทำแบบนี้ เพื่อจุดประเด็นเรื่องพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ต่อการเมือง เพราะผมว่า พวกนี้เค้ามองไกลเกินกว่าที่จะต้องการเพียงให้คนของตนเป็นแค่นายกแล้ว ผมเชื่อว่า การเป็นนายกของยิ่งลักษณ์ ไม่สามารถทำให้ทักษิณกลับมาได้ ต้องมีอำนาจกว่านั้นอ่ะครับ ( ผมคิดคนเดียวนะครับ )
การทำแบบนี้ เค้ามีแต่ได้กับได้นะครับ ถ้าผิดจริงก็หลุดจากการเป็นนายก ก็เข้าสู่ประเด็น พระราชอำนาจมีผลต่อการเมือง แต่ถ้าไม่มีใครเอาผิด คราวนี้ ก็ไม่กลัวอะไรอีกแล้ว อยากทำอะไรก็ทำเลยทีนี้
มันก้อเป็นเพียงพวกหน้าโง่ อวด ฉลาดทั้งนั้น
ค..ย ที่ 1 นั่งหน้า
ค..ย ที่ 2 ยืนอยู่ข้างหลัง
ค..ย ที่ 3 ดีแต่พูด ถึงเวลาจริงๆก้อไม่เคยรู้จริง
เป็นถึงนายกรัฐมนตรีจะเอาความรู้ความสามารถที่มีไปแก้ปัญหาบ้านเมือง เรื่องเล็กๆ ที่ควรรู้ ถึง กาละ เทศะ ขนมธรรมเนีบม จารีต ที่คนไทย โดยเฉพาะผู้นำประเทศ ควรต้องรู้ต้องรอบคอบ ยังทำไม่ได้เลย แล้วเรื่องใหญ่ๆ ข้างหน้าจะทำได้ยังไงล่ะ เฮ้อ!! สงสารประเทศไทย
นอกจากตัวเองประดับเครื่องราชฯ โดยไม่รู้แล้ว คนข้างเคียงและลูกยังติดแถบเหรียญที่ระลึกบนชุดขอเฝ้าเข้าไปอีก ปกติแล้วคนทั่วไปจะไม่สามารถประดับได้เพราะไม่สิทธิครับ
สำนักเลขาฯครม.แจงนายกฯประดับเครื่องราชฯถูกต้อง ในวันงานรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลลงเอกสารคำชี้แจงจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีถึงกรณีการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตามที่มีการตั้งข้อสงสัย โดยมีเนื้อหาว่า ตามที่มีผู้ตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ต่าง ๆ สรุปได้ว่า ในวันงานรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา วันที่ 1 สิงหาคม 2554 การแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ขณะยังไม่ได้ดำรงตาแหน่งนายกรัฐมนตรี) ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ นั้น สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดาเนินการเกี่ยวกับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ ขอชี้แจงข้อมูลในเรื่องดังกล่าวว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ฯ ได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์โดยสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะ ที่ปรึกษาประจาคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามลาดับ ดังนี้
"ชั้น เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) ในปี 2547 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนที่ 23 ข (เล่ม 2) วันที่ 26 พฤศจิกายน 2547 หน้า 26 ลำดับ 132 ชั้น เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.) ในปี 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 17 ข (เล่ม 2) วันที่ 18 ธันวาคม 2551หน้า 11 ลำดับ 86 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสองชั้นดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2536 และบัญชี 4 ท้ายระเบียบ ซึ่งกาหนดหลักเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดารงตาแหน่งในรัฐสภา ดังนั้น การแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานทั้งสองชั้นของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ฯ ในงานรัฐพิธีดังกล่าว จึงเป็นไปโดยถูกต้องตาม
เจ้าของกระทู้แสดงความรับผิดชอบหน่อยครับ ศึกษาหน่อยครับอย่าแสดงความรอบรู้เกินตัวครับ มันไม่ไช่ขึ้นมาหน้าจะแหกครับ คำขอโทษสักคำครับ มีน้ำใจนักกีฬาหน่อย
ผมเป็นเพียงผู้นำประเด็นมาครับ มีที่มาชัดเจนครับ ผมแค่ยกประเด็นมาให้อ่านกัน เพื่อต้องการคนที่รู้หรือเกี่ยวข้องได้เอาข้อมูลหลักฐานอะไรมาแก้ต่างและสนับสนุนครับ ที่พีนำมาคอมเม้นนี่มันจะเป็นการบอกคนอ่านท่านต่อๆไปในตัวมันเองอยู่แล้วครับ ถ้าสังเกตให้ดี ผมพยายามเอาข่าวมาให้อ่านไม่ได้เอนเอียงซะน่าเกลียดเลยนะครับ แต่เป็นกลางเป๊ะมั้ยนี่ผมยอมรับว่า อาจจะไม่เป็นกลางซะทีเดียว อันนี้ต้องขออภัยทุกๆท่านครับ ยังไงผมจะเอาคอมเม้นที่พี่เสนอมาไปแปะไว้เจ้าของกระทู้ตัวจริงได้รับทราบนะครับ ซึ่งผมไม่รู้ว่าผม้ข้าไปได้อยู่มั้ย อันนี้บอกก่อนครับ ผมโดนมาทุกฝ่ายแล้วล่ะครับ เฮ้อ! ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับ ผู้อ่านท่านอื่นๆจะเป็นคนตัดสินใจกันเองถ้าได้มาอ่านครับ ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น