วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจะเกิดอะไรขึ้น


ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

ภาพประทับใจ 007 

ปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวของบุคคลบางคนออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยอ้างว่าเป็นกฎหมายที่ได้มีการนำมาใช้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง และในต่างประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้ใช้กฎหมายเหมือนประเทศไทย

ในความเป็นจริงสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหนึ่งของชาติที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในด้านประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม และศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ ดังนั้น จึงเป็นสถาบันที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับสถาบันอื่นๆ ซึ่งสมควรจะรักษาไว้คู่บ้านเมือง

เจตนารมณ์ของการออกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สืบเนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะที่ป้องกันตัวเองได้ยาก เมื่อมีการหมิ่นประมาท จะทรงเป็นโจทย์ดำเนินการฟ้องร้องผู้ใด ย่อมไม่เป็นการสมควรในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของชาติ ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุให้มีการออกกฎหมายนี้ขึ้นมา

              สำหรับกรณีที่มีผู้ต้องการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มักจะกล่าวว่า มีการนำกฎหมายฉบับนี้มาใช้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามนั้น


                   ประเด็นนี้ ผู้ที่ตกเป็นจำเลยไม่ได้แตกต่างจากคดีความทั่วไป ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงพยานหลักฐานต่างๆ ที่ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยตัดสินคดี โดย ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดสามารถต่อสู้ในศาลได้โดยไม่ได้เดือดร้อน อะไรมากไปกว่าจำเลยในคดีความอื่นๆ และควรที่จะกล้าต่อสู้คดีที่ตนเองสร้างขึ้นมาตามกระบวนการยุติธรรม

              ดังนั้น การที่ใช้ข้ออ้างว่า กลั่นแกล้งจึงเป็นความเจ้าเล่ห์ที่ต้องการยกเลิกกฎหมายนี้เท่านั้น หากเมื่อใดมีการยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ ก็จะเข้าช่องทางของนักวิชาการบางคนและผู้ที่ต้องการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ สามารถจาบจ้วงโจมตีได้โดยสะดวก เพราะเขาทราบว่าสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะที่จะป้องกันตัวเองได้ยาก ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง

               อย่าง ไรก็ตาม ที่ผ่านมาผู้ที่กระทำความผิดในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็มักจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ อยู่เสมอ สำหรับ ในต่างประเทศโทษของผู้ที่กระทำผิดคดีหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็มีทั้งปรับและจำขังแตกต่างกันไปตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ

                กฎหมายของทุกประเทศในโลกนี้ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและความเหมาะสมที่จะออกกฎหมายในลักษณะใด

“เรารักในหลวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น