หลังจากนัดกับ Blogger JoyGangster เพื่อไปจัดเก็บนิทรรศการ ศิลปะเพื่อการแบ่งปัน "วาดน้ำใจ ช่วยน้ำท่วม" ที่โรงแรม S15 ถนนสุขุมวิท 15 เมื่อวันจันทรที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา ด้วยว่ามีเวลาเหลืออยู่อีกประมาณ 3-4 ชม. ก็เลยชวนกันไปเป็น "อาสาสมัคร"
โดยให้ Joy เลือกว่าจะไป อาคารมาลีนนท์ (ช่อง 3) หรือไปอาคารจันทนยิ่งยง (ศปภ.)
ดี เพราะว่าใกล้ทั้งสองที่มากกว่าที่อื่น ด้วยการเดินทางที่สะดวกกว่า Joy
เลยเลือกที่จะไปศูนย์ของ ศปภ. ที่อาคารจันทนยิ่งยง สนามศุภชลาศรัย
ทันที
ที่ลงจากรถไฟฟ้าสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ
ต้องตกในเพราะเห็นเตนท์สีขาวกางเรียงรายกันอยู่ทั่วไป
นึกว่าเป็นเตนท์ของผู้ประสบภัย ที่ไหนได้ เป็นเด้นท์ที่ร้านค้าต่าง ๆ
มาออกร้านขายของกันที่วางเต็มอยู่หน้าและด้านข้างอาคารนิมิบุตร
เราเดินผ่านเส้นทางออกร้านและค้าขายแทบจะนึกว่าเราเดินอยู่ในงานคาลนิวัลอะไรซักอย่าง กว่าจะเดินไปถึงอาคารจันทนยิ่งยงเล่นเอามึน
ทันที
ที่ไปถึงสิ่งแรกที่เรามองเห็นคือ รถทหารมากมาย
และเต้นท์บริการอาหารที่ผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งประกาศตนด้วยเสือที่ใส่
ทำการแจกจ่ายอาหารให้กับบรรดาเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครในบริเวณนั้นอย่างขัน
แข็ง เช่นเดียวกับเต้นท์อาหารที่ได้รับความเอื้อเผื้อจาก พระพรหมโมลี
(เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กทม.) ที่นำอาหารมาแจกจ่ายเช่นกัน
เรา
เดินมึนไปมึนมาอยู่รอบ ๆ ก็ยังหาไม่เจอว่าบรรดาผู้ประสบภัย
และโต๊ะลงทะเบียนอาสาสมัครอยู่ตรงไหน จนปัญญาเลยหาทางด้วยปาก และก็พบว่า
ที่นี่ไม่มีผู้ประสบภัยอาศัยอยู่เพราะทั้งหมดถูกย้ายจากดอนเมืองไปยัง
สนามรัชมังคลาหมดแล้ว ที่นี่เป็นเพียงศูนย์รับบริจาค
และจัดการสิ่งของที่ได้รับบริจาคเท่านั้น
เรา
เดินเข้าไปในอาคารจันทนยิ่งยงตามที่ป้าที่เตนท์อาหารชี้บอก พอเข้าไปด้านใน
เรายิ่งงงหนักเข้าไปอีก เพราะมีเด็กหนุ่มสาวที่อาสามาช่วยงานนั่งกันเกลื่อน
มีโต๊ะอยู่ด้านใน 2 โต๊ะ ๆ หนึ่งเป็นโต๊ะพยาบาล
อีกโต๊ะหนึ่งเป็นโต๊ะลงทะเบียนอาสาสมัคร
เราสองคนเดินเข้าไปลงทะเบียน แล้วออกมายืนงง ๆ ว่า "กรูจะทำไรดีวะ"
สุดท้ายต้องมายืนกองกันอยู่ในอาคารจันทนยิ่งยง
ไอ้ครั้นจะว่าไม่มีอะไรให้ทำเหรอ ก็คงไม่ใช่ เพราะข้าวของกองอยู่เต็มอาคาร
แต่เหมือนไม่มีใครสั่งการให้ทำอะไร
บรรดา
น้อง ๆ ที่มาเป็นอาสาก็เริ่มจับกลุ่มนั่งคุย นั่งเล่น บางคนนอนเล่น
รอว่าจะมีใครมาเรียกให้ไป่ทำอะไร ซักพักมีคนถือโทรโข่งเสียงแตก ๆ
ฟังไม่รู้เรืองมาประกาศอะไรซักอย่าง ประมาณว่า
ให้รอก่อนเดี๋ยวจะมีอะไรให้ช่วยทำ แล้วเขาก็หายไป
เรา
ยืนดูลาดเลากันอยู่ซักพักเห็นว่าไม่มีอะไรให้ทำแน่แล้ว
เลยคิดจะเดินออกจากอาคารไปด้านอื่น แต่พอเปิดประตูมามีคนร้องขออาสาชาย 5
คนไปช่วยยกน้ำ แต่อาจจะเสียงเบาไปหน่อยไม่มีใครขยับ (ทั้ง ๆ
ที่มีผู้ชายนั่งอยู่ตรงนั้นเต็มเลย)
อดรนทนไม่ได้
เลยตะโกนด้วยเสียงอันดัง น่าจะได้ยินไปถึงครึ่งอาคารว่า ต้องการอาสาชาย 5
คนไปยกน้ำ เงียบ ไม่มีใครขยับ รอบที่สองจึงมีเด็กชายอายุ 9
ขวบยกมือและเดินเข้ามาหา บอกว่า "ให้ผมช่วยนะ" ไม่รู้จะดีใจหรือเสียใจดี
ซัก
พักถึงมีเด็กหนุ่ม ๆ
(บางคนที่ไม่ได้นั่งตรงประตูที่สะดวกนั่งสะดวกกินที่สุด)
ลุกขึ้นและเดินตามมาเป็นแถว แถมยังมีเด็กสาวอีกจำนวนหนึ่ง
เดินกันไปอาคารใกล้เคียง ซึ่งมีของบริจาควางไว้เป็นกองท่วมหัวท่วมหู
ที่ยังไม่ได้จัดการอะไร ลองเอามือเข้าไปจับเพราะนึกว่าเป็นเสื้อผ้า
แต่ทีไหนได้ กลายเป็นข้าวสาร
เด็ก
ๆ เดินไปต่อคิวยกน้ำไปขึ้นรถกะบะคันหนึ่งที่จอดอยู่ด้านหน้าอาคาร
ชักเริ่มไม่แน่ใจว่าไอ้คนที่มาให้ยกนี่เป็นเจ้าหน้าที่หรือเปล่า
ถ้ามันไม่ใช่ และอาศัยช่วงชุลมุลมาใช้ให้ยกของบริจาคจะทำไง
เพราะทุกคนแต่งตัวเหมือนกันหมด คือ ไปรเวท ไม่มีสัญญลักษณ์ใด ๆ
ระบุบอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ หรืออาสาฯ ที่มีสิทธิสั่งการได้
แถม
อาคารที่เราเข้าไปก็ไม่ได้มีเจ้าหน้าที่ใด ๆ มาดูแล ลงทะเบียน
รับของจ่ายของ มีเพียงผู้หญิงคนนึ่งเดินก้ม ๆ เงย ๆ
อยู่กับกองข้าวของเท่านั้น อย่างนี้ใครจะมาหยิบอะไร ใครเป็นใคร
ดูแล้วไม่น่าจะรู้เรืองรู้ราวกันได้เลย
อาสาฯ
เองด้วยใจบริสุทธิใครให้เฮไปช่วยทางไหนก็ไป เพราะตั้งใจจะมาช่วย
แต่เรืองของการบริหารจัดการ เราสามารถประเมินได้ด้วยตาเปล่าเลยว่า
หาได้น้อยมาก (อาจจะมีแต่เราไม่เห็นนิ) เราไม่สามารถแยกได้เลยว่าใครคือ
เจ้าหน้าที่ ใครคืออาสาฯ ใครมีหน้าที่ในการบริหารจัดการ
ใครมีหน้าที่ในการดูแล ดูเปะปะปนเปกันไปหมด ยกเว้นคนที่ใส่เสื้อระบุว่าเป็น
"ตำรวจ" นั่นหละ ถึงได้รู้ว่าเป็นตำรวจ ซึ่งจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้
ใน
เมือขาดคนสั่งการ ที่ได้รับการยอมรับ หรือมีอยู่น้อย แถมไม่มีสัญญลักษณ์ใด ๆ
เมือมีใครมาเรียกก็เฮตามกันไป ไม่สามารถบอกได้ว่าอันไหนจริง อันไหนเท็จ
อาสาฯ
เองก็พกกำลังใจ และกำลังกายอยากที่จะมาช่วยกันเต็มเปี่ยม
ข้าวของก็มีให้ทำกัน แต่ไม่มีคนสั่งการ สิ่งที่เราเห็นคือ
บรรดาอาสาสมัครที่จะมาทำงาน จึงนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่กันจนเต็มอาคารจันทนยิ่งยง
จริง
ๆ จะบอกว่าข้าวของยังไม่ครบ จึงยังไม่บรรจุลงถุงยังชีพก็จริงอยู่
แต่บางส่วนอย่างข้าวสาร
หรือของที่ควรจะจับเป็นแพ็คก็สามารถนำมาแพ็ครอไว้ก่อนได้ โดยใช้แรงงานอาสาฯ
ที่มีความต้องการมาช่วยเหล่านี้ ให้ช่วยกันทำรอไว้ก่อนได้เลย
เมื่อข้าวของมาครบตามรายการแล้ว ค่อยเอาแพ็คลงถุงอีกทีก็ยังได้
ไม่ต้องรอให้ของครบก่อนแล้วค่อย ๆ แพ็คทีละอย่าง
ทำ
ให้นึกถึง สส. เขตคลองสามวา เขตที่ประชาชนทำลายคันกั้นน้ำ และบอกว่า
ไม่ได้รับการเยี่ยวยา เพราะไปหาของบริจาค และพบว่ามีถุงยังชีพเพียง 200
ชุดเท่านั้น แต่สิ่งทีเราเห็นอยู่ตรงนี้มันไม่ใช่ ข้าวของมีอยู่มากมาย
อะไรส่งไปให้ได้ก่อนก็ควรส่งไปก่อน ไม่ต้องรอ เพราะคนจะต้องกินต้องอยู่
มากน้อยก็ให้ไปก่อนได้
เราได้แต่ส่ายหัวกับการบริหารจัดการภายใน ศปภ. ที่อาคารจันทนยิ่งยง
เรา
เดินออกจากอาคารดังกล่าวด้วยความ ง๊ง งง ในระบบการจัดการ ออกมาด้านนอก
รถที่มารับน้ำไปก็เป็นรถกะบะธรรมดา ที่ไม่ได้มีป้ายหรือสิ่งใดบอกเลยว่า
เป็นรถขนของ ๆ ศปภ. เหมือนกับว่ารถใครก็มาขนของเอาไปได้ ไม่มีการตรวจ
ไม่มีเจ้าหน้าที่ ไม่มีอาสาฯ ที่มีอำนาจในการปล่อยของใด ๆ
เดิน
ออกมาที่ด้านหน้าอาคาร พบพี่นที่ ๆ ระบุว่า เป็น "พี้นที่ควบคุม
เจ้าหน้าที่" ทำให้สงสัยไปอีกว่า จะควบคุมทำไม เจ้าหน้าที่นี่
หรือโดนควบคุมหมดเลยไม่มีใครออกไปทำงานซักกะคน
ว่า
ไม่ทันขาดคำ ซักพักเจ้าหน้าที่ (ตำรวจ) ก็ได้ทำงาน
รถทหารเข้าเทียบหน้าพื้นที่ควบคุมเจ้าหน้าที่ แล้วก็เริ่มขนน้ำกันอีกรอบ
คราวนี้ไม่ใช่น้ำแร่อย่างครั้งที่แล้ว แต่เป็นน้ำดื่มจากลาว ของบริษัท
เบียร์ลาว ที่เอามาช่วย
เรา
เดินไปพบป้ายนี้เข้า ได้แต่อมยิ้ม เขาใช้คนถูกกับงานมั้ยนี่
จะว่าอ่านไม่รู้เรืองก็ไม่เชิง จะว่ารู้เรืองก็แทบจะไม่ใช่
ทำไมไม่หาคนเขียนให้รู้เรื่องกว่านี้หน่อยมาเขียนก็ไม่รู้
อาสาสมัครก็นั่งกันอยู่เต็มอาคารฯ
เรา
เดินย้อนกลับมายังเต้นท์แจกอาหารอีกครั้ง ที่ยังคึกคักกว่าส่วนอื่น ๆ
บางคนเห็นหน้าตั้งแต่มายันตอนนี้ กินกันไม่อิ่มเสียทีเดินวนกันจนจำหน้าได้
ยิ่งบางคนด้วยแล้ว เวลาทำงานแทบไม่เห็นหน้ากันทีเดียว
แต่เวลากินอยู่แถวหน้า ๆ ไม่ต้องให้เรียกนาน เหมือนที่ JoyGangster บอกว่า
มีทั้ง "อาสามาทำงาน" และ "อาสามากิน" กันจริง ๆ
แต่
คนทำครัวก็ยังขันแข็ง เรียวแรงดีทำแจกไม่มีเกี่ยงงอน
มือตักก็ตักกันแบบมือเป็นระวิง มือผัดก็ควงตะหลิวกันว่องไว มือขูด มือปอก
ก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ของตัวเองอย่างขมีขมัน เหนื่อยนักก็มี "มือนวด" อีกต่างหาก
เรา
เดินย้อนกลับเข้าไปในอาคารจันทนยิ่งยงอีกครั้งหนึ่งเผื่อว่าจะมีอะไรให้เรา
ช่วยได้อีก มุม ๆ หนึ่งที่เราเห็นแต่แรก ดูท่าแข็งขัน คือ
กลุ่มที่นั่งอยู่บนอัศจรรย์กลุ่มใหญ่ เลยชวนกันเดินขึ้นไปดูว่าเขาทำอะไรกัน
กลุ่ม
นี้คือ กลุ่มนักศึกษาแพทย์ที่มาช่วยกันแพ็คยากับเหล่าอาสาฯ อีกหลาย ๆ ท่าน
ที่ทำงานกันอย่างขมีขมัน
ยาเพียงสามอย่างที่ถูกส่งมาให้แพ็คลงถุงพลาสติกเพื่อป้องกันน้ำเข้า
อันได้แก่ ยาใส่แผลสด ยาแก้น้ำกัดเท้า และยาแก้ปวดลดไข้
ทั้ง
อาสาไทย อาสาเทศ ช่วยเหลือเจือจานกันเป็นอย่างดี ว่องไว ไม่มีเกี่ยง
เราได้ที่เลยนั่งช่วยเขาแพ็คยากันตรงนี้ หลายครังที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน
ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ ซึ่งต้องใช้ความใจเย็น
และตัวกลางในการประสานเป็นอย่างมาก การทำงานกับอาสาฯ จำนวนมาก
ไม่ใช่งานที่ง่ายเลยทีเดียว แต่ทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี
จน
กระทั้ง มีชายคนหนึ่งเดินเข้ามาพร้อมกระดาษแผ่นหนึ่ง
และบอกว่าต้องการยาอะไรซักอย่างหนึ่ง ประมาณ 300 กล่อง
และคุณป้าผู้หญิงแถวนั้นเรียกหาน้อง ๆ ว่าใครเป็นเภสัชฯ หรือเรียนเภสัชฯ
ให้มาจัดยาให้เขาหน่อย เด็ก ๆ มองหน้ากันเลิกลัก บอกแต่ว่าผมเรียนหมอ
คุณ
ป้าก็ยังพยายามคะยั้นคะยอให้พวกเขาไปจัดยาให้ชายผู้นั้น ดูแล้วไม่เข้าที
เลยบอกเขาว่า ให้ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ด้านนอก คนที่ใส่เสื้อกาวน์
เพราะมันไม่ได้รีบเร่งออะไร ทำไมต้องให้เด็ก ๆ
ที่มาเป็นอาสาสมัครรับผิดชอบจ่ายยาจำนวนมาก ทั้ง ๆ ที่ไมได้รู้เลยว่า
ชายคนนั้นคือใคร มาจากไหน ตามคำสั่งใคร หากจะมองในแง่ร้ายสุด ๆ
ว่าเขาเป็นมิจฉาชีพ เด็ก ๆ มิต้องมี่ตราบาปในลานบุญกันเลยเร้อ
แต่
ถึงแม้นมองโลกในแง่ดีสุด ๆ หากเขามาด้วยงานอาสาจริง
เขาก็ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ ๆ
รับผิดชอบให้ถูกต้องเพื่อที่จะได้บันทึกเป็นทะเบียนไว้ว่า
ใครมารับอะไรไปบ้าง เราได้แต่ส่ายหัวให้กับการจัดการของศูนย์แห่งนี้
จำนวน
อาสาในอาคารจันทนยิ่งยงเริ่มน้อยลง ๆ ไปจากแต่แรกที่เรามา
เราไม่รู้ว่าเขาไปทำงานกันตรงไหน หรือนั่งเบื่อกันจนหนีกลับบ้านกันไปหมด
แต่สิ่งที่เราเห็นอยู่ตรงหน้านั่นคือ
ข้าวของบริจาคมากมายที่บรรดาผู้ประสพภัยมีความต้องการอย่างยิ่งในยามนี้
ที่ขาดระบบการจัดการที่ดี ต้องมากองเกลือนอยู่ในอาคาร
ที่มีคนรอช่วยปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ แต่ "ขาดคนสั่งการ"
ได้
แต่หวังว่า ศปภ. จะเร่งหาคนมาจัดการได้โดยเร็ว
และลำเลียงสิ่งของเหล่านี้ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วทันความ
ต้องการที่พวกเขาต้องการอย่างรีบเร่ง
อย่าให้ต้องเป็นกรณีที่ปฏิเสธไม่ได้อย่างที่ สส. คลองสามวา พูดเอาไว้ว่า
"มาตรการ
เยียวยาช่วยเหลือก็ไม่มี ของบริจาคมีเพียง 200 ชุด
แล้วชาวบ้านจะอยู่กันได้อย่างไร"
ก็เลยต้องมาพังประตูน้ำและปล่อยให้น้ำไหลเข้ากรุง และพื้นที่โดยรวม
มัน
เป็นข้ออ้างของคนเห็นแก่ตัว ขี้ขลาด และขี้อิจฉาโดยแท้ ที่จะอ้างเช่นนั้น
เพราะ สส. เหล่านั้นย่อมรู้ได้ดีว่า เขาสามารถขอความช่วยเหลือได้ที่ใด
และจากใคร ดังนั้น
มันจึงไม่ใช่ข้ออ้างที่คะแนนเสียงของคุณจะเอามาใช้ในการทำลายประตูน้ำคลอง
สามวาได้
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ระบบการจัดการของบริจาค
และการบริหารอาสาสมัครจะดีขึ้น เพราะตอนนี้สิ่งที่ ศปภ.
กำลังเผชิญมากไปกว่าปัญหาน้ำท่วมคือ "วิกฤตศรัทธา" ของประชาชน
ที่ทำให้เงินบริจาคและของบริจาค รวมถึงอาสาสมัครต่าง ๆ
ลดลงเป็นอย่างมากทีเดียว
หวังว่า ศปภ.
และรัฐบาลจะแก้ปัญหา "วิกฤตศรัทธา" ได้แต่โดยไว ไม่ใช่เพื่อใคร เพื่อ
"ประชาชนตาดำ ๆ ที่กำลังประสบเคราะห์กรรมของท่าน"
ได้รอดพ้นวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน ....
|