กลายเป็นประเด็นตามหน้าสื่อทุกฉบับทันที เมื่อนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ ในวันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2554 ว่าคณะรัฐมนตรีได้หยิบโครงการ “นิวไทยแลนด์” มาฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม
ขณะนี้ รายละเอียดของแผน “นิวไทยแลนด์” ยังไม่ชัดเจนนัก และยังมีเฉพาะเท่าที่นายพิชัยเปิดเผยต่อสื่อมวลชนเท่านั้น เราทราบเพียงแต่ว่าแผนทั้งหมดจะใช้เงิน 6-8 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นการฟื้นฟูประเทศระยะสั้นภายในปีแรก 1 แสนล้านบาท และที่เหลือจะเป็นแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจากหลายกระทรวง ว่า ที่ประชุมเห็นว่าแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมระยะยาวมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะหากประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤตลักษณะนี้อีก จะเป็นเรื่องใหญ่ ฉะนั้นต้องมีการแก้ไขปัญหาระบบน้ำของประเทศทั้งหมด เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยเป็นการวางแผนประเทศไทยใหม่ หรือ “New Thailand” โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 6 – 8 แสนล้านบาทจากข้อมูลของนายพิชัยได้อธิบายว่าแผนการฟื้นฟูระยะสั้นมีประเทศต่างๆ เข้ามาให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำ ส่วนแผนการระยะยาวนั้นยังไม่ชัดเจนนัก และยังไม่มีคำยืนยันว่าจะเห็น “เมกะโปรเจคต์” อย่างการสร้างเขื่อนรอบปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตามไอเดียของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในช่วงการหาเสียงหรือไม่
“ขณะนี้มีประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ได้เสนอแผนฟื้นฟูประเทศไทยเป็นแบบแพ็คเกจมาแล้ว ทั้งเงินทุนและวิทยาการ แต่รัฐบาลยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะใช้แผนใด เนื่องจากจะต้องประชุมหารือกันอีกครั้ง เพื่อได้แผนรวมทั้งหมดเสียก่อน ส่วนความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ยังไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขที่ชัดเจนได้ ต้องรอให้น้ำลดก่อน”นายพิชัยกล่าว
สำหรับการฟื้นฟูระยะแรกภายใน 1 ปีหลังน้ำลดจะใช้งบประมาณ 1 แสนล้านบาทเข้าไปฟื้นฟู เช่น การฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยเรื่องเศรษฐกิจและอัตราการว่างงาน ซึ่งขณะนี้กระทรวงพลังงานได้สั่งซื้อเครื่องสูบน้ำอีก 140 เครื่องมาเตรียมการไว้แล้วที่จะมาถึงภายใน 20 วันรวมทั้งการฟื้นฟูรถยนต์ที่เสียหายจากน้ำท่วม พร้อมพิจารณาลดค่าน้ำมันเครื่อง และอาจจะพิจารณาลดค่าไฟฟ้า ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพลังงาน
ที่มา – โพสต์ทูเดย์
นายพิชัยให้ข้อมูลเพียงว่า เงินทุนสำรองของประเทศไทยมีมาก จึงไม่มีปัญหาเรื่องแหล่งที่มาของเงินทุน รวมถึงได้รับข้อเสนอให้เงินฟื้นฟูจากต่างประเทศอีกด้วย
ด้านพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาวิจารณ์แผนการ “นิวไทยแลนด์” ในประเด็นด้านแหล่งที่มาของเงินทุนเป็นหลัก รวมถึงวิจารณ์ความเหมาะสมของเวลาในการนำเสนอ ซึ่งตอนนี้ควรเน้นการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยมากเป็นอันดับแรก นอกจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังเตรียมจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบไม่ลงมติใน ประเด็นเรื่องการแก้ปัญหาน้ำท่วม ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนอีกด้วย
นายอนุรักษ์ นิยมเวช ส.ว.สรรหา กล่าวว่าจากแนวคิดของโปรเจค “นิวไทยแลนด์” เพื่อฟื้นฟูประเทศนั้น ตนเห็นด้วย แต่ตนมีข้อกังวลว่ารัฐบาลจะนำเงินจากแหล่งใดมาดำเนินการ ดังนั้นรัฐบาลต้องชี้แจงให้ชัดเจนว่า เป็นงบตาม ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2555 หรือ ออกเป็นพระราชกำหนด หรือกู้ยืมจากสถาบันการเงิน นอกจากนั้นแล้วในส่วนของรายละเอียดโครงการตามเม็ดเงินที่ใช้จ่าย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องชี้แจงให้เกิดความชัดเจนส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตอบคำถามผู้สื่อข่าวในวันที่ 31 ตุลาคม 2554 ว่า งบประมาณที่จะนำมาเยียวยาจำนวน 800,000 ล้านบาท นั้น ไม่ได้นำมาจัดทำโครงการนิวไทยแลนด์ แต่จะนำมาแก้ไขปัญหาน้ำอย่างถาวร และฟื้นฟูเยียวยาทุกภาคส่วน – INN
“เบื้องต้นผมมองว่าเรื่องการแก้ไขปัญหาระบบน้ำทั้งประเทศ รัฐบาลควรยกให้เป็นวาระแห่งชาติ รัฐบาลเป็นเจ้าภาพและมีรูปแบบการทำงานแบบคณะกรรมการ มีการศึกษาข้อมูล แผน การปฏิบัติ และรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน อาทิ นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญ, สมาชิกรัฐสภา และ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพราะผมมองว่าการแก้ไขปัญหาระบบน้ำทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อน หรือ ฟลัดเวย์ นั้นอาจสร้างผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง เป็นระยะเวลานานหลายปี ดังนั้นจำเป็นที่ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่” นายอนุรักษ์ กล่าว
นายอนุรักษ์ กล่าวอีกว่าก่อนที่จะปิดสมัยประชุมสามัญ ของวุฒิสภา ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ ทางสมาชิกวุฒิสภา เตรียมยื่นญัตติของเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาลโดยไม่ลงมติ ต่อประธานวุฒิสภา ตามมาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้รัฐบาลได้ชี้แจงต่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รวมถึงมาตรการเยียวยาผู้ประสบภัย และการฟื้นฟูภาพรวมของประเทศ
ด้านนายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนขอตั้งข้อสังเกตว่า ตัวเลขงบประมาณที่รัฐบาลจะใช้ในโครงการนิวไทยแลนด์ ที่ระบุผ่านสื่อจำนวน 8 แสนล้านบาท นั้น รัฐบาลจะนำงบมาจากไหน เพราะขณะนี้รัฐบาลได้กำหนดวงเงินที่จะใช้ชดเชย ฟื้นฟู และเยียวยาเรื่องน้ำท่วม เพียง 1.2 แสนล้านบาทเท่านั้น ซึ่งในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 ไม่ได้ระบุถึงส่วนโครงการนิวไทยแลนด์แต่อย่างใด หากรัฐบาลเลือกที่จะกู้เงินเข้ามาใช้จ่าย ควรคำนึงถึงภาระหนี้ที่จะเกิดกับคนทั้งประเทศด้วย
คมชัดลึก