ฟ้อง ปตท.ฉ้อฉล ปล้นประชาชน-สมบัติแผ่นดินกลางแดด
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินจ่อฟ้อง ปตท. ทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ และขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล บรรยายฟ้องเผยกลเม็ดยักษ์ใหญ่พลังงานสูบเลือดประชาชนเอื้อประโยชน์ธุรกิจใน เครืออย่างเลือดเย็น พร้อมขอศาลบังคับกระทรวงคลังทำหน้าที่ทวงคืนสมบัติชาติตามคำสั่งศาลปกครอง สูงสุด
ในที่สุด มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน พร้อมพวก ก็ได้เตรียมยื่นฟ้อง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกระทรวงการคลัง ต่อศาลปกครองกลาง โดยขอให้การกระทำที่ขัดต่อผลประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะ ให้ทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้มาจากอำนาจมหาชนของรัฐ และขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล
“เราได้ใช้เวลารวบรวมพยานหลักฐานและหาผู้ฟ้องคดีร่วมซึ่งเป็นผู้ที่ ได้รับความเสียหายจากการกระจายหุ้นของ ปตท. ตอนนี้เราพร้อมที่จะยื่นฟ้องแล้ว” นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ผู้รับมอบอำนาจในการฟ้องคดี กล่าว
การฟ้องคดีครั้งนี้ของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินและพวก มีอยู่ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ขอให้การกระทำที่ขัดต่อผลประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะ 2) ขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล และ 3) ทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินฯ
ในคำขอให้การกระทำที่ขัดต่อประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะนั้น ตาม คำฟ้องได้อ้างอิงผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มีรายการการพิจารณาศึกษาเรื่อง ธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศ ภาคแรก ซึ่งที่ประชุมวุฒิสภาครั้งที่ 26 (สมัยสามัญทั่วไป) วันที่ 4 พ.ค. 2553 มีมติเห็นด้วย และรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องเดียวกัน ภาคสอง (พฤษภาคม 2552 - ธันวาคม 2553)
รายงานทั้งสองฉบับดังกล่าว ได้ตรวจสอบธรรมาภิบาลในกิจการก๊าซธรรมชาติ กรณีการปรับอัตราค่าบริการผ่านก๊าซธรรมชาติของ ปตท. กรณีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของเจ้าพนักงานของรัฐกับการเข้าไปดำรงตำแหน่ง ในบริษัท ปตท. และบริษัทในเครือ กรณีความไม่โปร่งใสในการจัดการรายได้ของทรัพยากรปิโตรเลียม การทับซ้อนในผลประโยชน์ของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) กับกองทุนน้ำมัน และการปรับคุณภาพก๊าซเอ็นจีวีของปตท. รวมทั้งราคาน้ำมันที่ไม่เป็นไปตามกลไกตลาดที่เป็นธรรม ซึ่งผลการศึกษาได้สะท้อนให้เห็นถึงความฉ้อฉลที่เอื้อประโยชน์ให้ ปตท. โดยโยนภาระมาให้กับประชาชน (อ่านรายละเอียดในข่าวประกอบ)
ส่วนประเด็นการขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล ถือ เป็นประเด็นสำคัญที่ชี้ให้เห็นการกระทำที่เป็นเหตุแห่ง “โมฆะกรรม” ของการขายหุ้น ปตท. เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2544 ว่า มีการแย่งชิงหุ้นของรัฐและประชาชนโดยฉ้อฉล โดยมีการยื่นแบบและรับจองหุ้นก่อนเวลา 9.30 น. ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงการรับจองหุ้นตามหนังสือชี้ชวน จำนวน 863 ราย ซึ่งกรณีนี้ ปตท.ได้รับทราบผลการสอบสวนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อเดือนม.ค. 2545 แล้วว่าผู้จองหุ้นรายย่อยจำนวน 859 ราย สมคบกับธนาคารไทยพาณิชย์ และผู้จองซื้อหุ้น จำนวน 4 ราย สมคบกับธนาคารกสิกรไทย ร่วมกันกระทำการฉ้อฉล ปตท. ชอบที่จะบอกล้างโมยกรรมดังกล่าว แต่ ปตท. กลับเพิกเฉย ทั้งยังยืนยันว่าผู้จองซื้อโดยฉ้อฉลเหล่านั้นเป็นผู้ถือหุ้นของ ปตท.
นอกจากนี้ ยังมีการออกใบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นของผู้ซื้อรายย่อยมากกว่า 1 ใบจอง รวม 428 ราย ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ ที่กำหนดไว้สำหรับการเสนอจองซื้อหุ้นที่กำหนดให้ผู้ซื้อรายย่อยทุกรายมี สิทธิ์ยื่นจองได้เพียง 1 ใบ เท่านั้น (อ่านรายละเอียดในข่าวประกอบ)
ส่วนประเด็นทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการต่อหลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2550 ให้ปตท., นายกรัฐมนตรี, คณะรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงพลังงาน. แบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิ ของ ปตท.
แต่อย่างไรก็ตาม
การแบ่งแยกอำนาจและสิทธิรวมทั้งสาธารณ สมบัติของแผ่นดินกระทั่งถึงวันนี้ยังไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ประเมินมูลค่าระบบท่อก๊าซเพื่อเรียกคืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ราคา 52,393.50 ล้านบาท แต่ ปตท.ส่งคืนตามคำพิพากษาเพียง 16,176.22 ล้านบาท ยังขาดอีก 36,217.27 ล้านบาท โดยเป็นราคาท่อก๊าซบนบกและในทะเล มูลค่า 32,613.45 ล้านบาท และทรัพย์สินอื่นอีก 3,603.83 ล้านบาท ซึ่งรายละเอียดปรากฏตามรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เฉพาะเรื่องการตรวจสอบรับรองความถูกต้องมูลค่าทรัพย์สินที่บริษัทแบ่งแยกให้ กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
สำหรับคดีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและพวก ฟ้อง ปตท. ก่อนหน้านี้ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาเพื่อแปรรูป ปตท. แม้ศาลปกครองสูงสุดจะพิเคราะห์ว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ ปตท.จำกัด (มหาชน) บางส่วนไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเพิกถอนกฎหมายดังกล่าว เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพของปตท.ล่วงเลยขั้นตอนการออกพระราชกฤษฎีกาฯ และมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการซื้อขายเปลี่ยนมือผู้ลงทุนในหุ้นปตท.จำนวนมาก
ศาลเห็นว่า การเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาฯ จะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ และมีการแก้ไขความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยการออกพ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.ฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้ก่อนที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษาในคดีเพียง 3 วัน
การแปรรูป บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เมื่อ พ.ศ. 2544 เป็นตำนานของการฉ้อฉลเชิงนโยบายในวงการเมืองไทยยุคใหม่เพราะมีมูลค่าผล ประโยชน์เกี่ยวข้องหลักหมื่นล้านบาท ผลจากการแปรรูปกระจายหุ้นให้เอกชนถือครองในครั้งนั้น มีการทุจริต ไม่โปร่งใส ขาดธรรมาภิบาลขนาดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยอมรับว่าผิดปกติจริง
นี่คือจุดแรกเริ่มของการเปิดยุคใหม่ให้กับองค์กรพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยนามว่า
บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จากเดิมที่เป็นองค์กรของรัฐกลายมาเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ที่สวม หน้ากากรัฐวิสาหกิจที่มีกำไรหลักแสนล้านบาทต่อปี แต่ไม่สามารถเปิดเผยให้สาธารณะรับรู้ได้ว่าเอกชนผู้รับปันผลประโยชน์ตัวจริง คือใคร กลุ่มใดบ้าง เพราะเทคนิคการถือครองผ่านตัวแทนและบริษัทเอกชนหลายชั้น
ปตท.กระจายหุ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 รวม 800 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 35 บาท (ปัจจุบันประมาณ 260 บาท) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มล้วนมีปัญหาทั้งสิ้น
กลุ่มแรก -
หุ้นผู้มีอุปการคุณ 25 ล้านหุ้น ซึ่งกรรมการ ปตท.สามารถตัดสินใจที่จะให้ใครก็ได้ในนามของผู้มีอุปการะคุณคำถามตัวโตๆ ก็คือ หุ้น ปตท.ตีค่าเป็นทรัพย์สินของส่วนรวมไม่ใช่หุ้นบริษัทเอกชนที่เจ้าของนึกพิศวาส ใครก็ยกให้ได้ในราคาถูก ถ้า ปตท.ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจจะไม่มีคำครหาใดๆ สำหรับประเด็นนี้ มูลค่าส่วนต่างของผู้ที่ได้หุ้นกลุ่มนี้ ถ้าคิดจาก 260-35= 225 บาท/หุ้น จะเป็นเม็ดเงินถึง 5,625 ล้านบาทซึ่งบรรดาผู้มีอุปการะคุณใครก็ไม่รู้ได้ไปสบายๆ จากกิจการที่เป็นทรัพย์สมบัติชาติ
นี่เป็นความไม่ชอบประการแรกในการกระจายหุ้นครั้งนั้น และที่สำคัญสังคมไทยยังไม่เคยทราบข้อมูลจาก ปตท.เลยว่าบรรดาผู้มีอุปการะคุณที่ได้รับแจกหุ้นไปมีใครบ้างและได้ไปคนละ เท่าไหร่ ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นธรรมาภิบาลพื้นฐาน
กลุ่มที่สอง หุ้นขายให้ผู้ลงทุนต่างประเทศ 320 ล้านหุ้น มูลค่าส่วนต่างประมาณ 7.2 หมื่นล้านบาทไม่นับรวมเงินปันผลและสิทธิอื่นๆ หุ้นกลุ่มนี้เชื่อว่ามีฝรั่งหัวดำที่เป็นคนไทยและทุนไทยโดยเฉพาะทุนการเมือง คว้าไปโดยจนบัดนี้ก็ไม่เคยปรากฏจะสืบสาวได้ต่อ
กลุ่มที่สาม เป็นหุ้นสำหรับบุคคลทั่วไปในประเทศ 235 ล้านหุ้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเล่นหุ้นที่มีบัญชีกับโบรกเกอร์อยู่แล้ว
กลุ่มที่สี่ หุ้นที่จัดสรรให้ผู้จองซื้อรายย่อยในประเทศ 220 ล้านหุ้น กลุ่มนี้ ปตท.อ้างว่าสำหรับประชาชนทั่วไปที่พอมีเงินเก็บอยากลงทุนระยะยาว อยู่ตามต่างจังหวัดแท้จริงแล้วก็คือหุ้นแต่งหน้าเค้กที่สร้างภาพลักษณ์ของ การกระจายไปสู่รายย่อยจริงๆ ตบตาว่าการแปรรูปครั้งนี้กว้างขวางและลึกไปถึงมือคนไทยอย่างหลากหลาย
การกระจายหุ้นในทุกกลุ่มมีปัญหาก่อให้เกิดคำถามตามมาในทุกกลุ่ม
สำหรับความไม่ชอบมาพากลเอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นส่วนตัวของเครือข่ายนักการเมือง และนักการพลังงาน กลุ่มแรกที่จะนำเสนอ คือ
หุ้นแต่งหน้าเค้ก หรือหุ้นกลุ่มที่ 4 ซึ่งจัดสรรให้ผู้จองซื้อรายย่อยในประเทศ 220 ล้านหุ้นเพราะการจัดสรรรอบดังกล่าวอยู่ในความสนใจของสื่อมวลชนและประชาชน จำนวนมาก
หุ้นที่จัดสรรให้กับรายย่อย 220 ล้านหุ้น (ซึ่งต่อมากระทรวงการคลังจัดสรรเพิ่มให้อีก 120 ล้านหุ้นรวมแล้วที่จัดสรรผ่านรายย่อยจำนวน 340 ล้านหุ้น) มีเงื่อนไขว่า ลูกค้าผู้สนใจต้องไปจองซื้อผ่านธนาคารพาณิชย์ 5 แห่ง โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นแม่ข่ายศูนย์ข้อมูลรับจองซื้อหุ้นจากสาขาธนาคาร ต่างๆ ทั่วประเทศ
ความผิดปกติของการฮุบหุ้นเกิดจากมีการประกาศล่วงหน้าว่า เงื่อนไขของการจองครั้งนี้มีเพดานจำกัดปรากฏในหนังสือชี้ชวนเขียนว่า “ผู้จองซื้อรายย่อยจะต้องจองซื้อขั้นต่ำจำนวน 1,000 หุ้น และจะต้องเป็นทวีคูณของ 100 หุ้นแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 100,000 หุ้นต่อใบจองซื้อ”
แปลความเป็นภาษาที่ประชาชนทั่วไปรับรู้คือ แต่ละคนห้ามซื้อเกิน 1 แสนหุ้น
ปตท.พยายามจะบอกกับสาธารณะว่า การกระจายหุ้นครั้งนี้ต้องการให้ประชาชนคนไทยรายย่อยในต่างจังหวัดได้หุ้น กระจายไปถ้วนทั่วถึงขนาดที่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในขณะนั้นเปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า “เพื่อให้สามารถกระจายหุ้นไปสู่ประชาชนผู้สนใจได้จำนวนมาก จึงได้มีการ ปรับลดยอดการสั่งจองหุ้นต่อ 1 ใบจองจากเดิม สามารถจองได้ตั้งแต่ 1,000 หุ้น สูงสุดไม่เกิน 500,000 หุ้น มาเป็นตั้งแต่ 1,000 หุ้น สูงสุดไม่เกิน 100,000 หุ้น ดังนั้น เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการในการสั่งจองหุ้น ปตท.ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด บริษัทฯ จึงได้วางมาตรการอย่างรัดกุมให้การแจกใบจองหุ้นพร้อมเอกสารและขั้นตอนการจอง หุ้นมี ความสมบูรณ์ ครบถ้วนและพร้อมเพรียงกันทุกสาขาธนาคารทั่วประเทศ” (ผู้จัดการรายวัน 9 พ.ย. 2544)
เมื่อถึงกำหนดซื้อขายจริงปรากฏว่าการขายหุ้นครั้งประวัติศาสตร์เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2544 หมดเกลี้ยงในพริบตาหุ้นล็อตแรก 220 ล้านหุ้นหมดใน 1.25 นาที!! จากนั้นหุ้นเพิ่มเติมที่กระทรวงการคลังตัดมาให้อีก 120 ล้านหุ้นก็หมดไปด้วยอย่างรวดเร็ว 340 ล้านหุ้นรวมแล้วขายหมดเกลี้ยงในเวลาเพียง 4.4 นาทีเท่านั้น
ข่าวหนังสือพิมพ์ธุรกิจบางฉบับรายงานว่า บางธนาคารผู้ลงทุนรายย่อยบางคนยังไม่ทันกรอกรายละเอียดในใบจองเลยหุ้นก็หมดแล้ว
เรื่องร้อนๆ ที่เป็นผลประโยชน์ติดมือแบบนี้เลี่ยงไม่พ้นการตรวจสอบเพราะต่อจากนั้นมี รายงานว่าผู้จองหุ้นบางรายได้เกินจากเงื่อนไขที่ประกาศไว้ 1 แสนหุ้น บางคนได้ไปหลายแสนหุ้นขณะที่บางคนได้จัดสรรไปถึงล้านหุ้นก็มี
ในที่สุดมีการร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จำเป็นต้องตั้งกรรมการตรวจสอบการกระจายหุ้นซึ่งมีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ร่วมกับธนาคารอีก 4 แห่ง ในที่สุดผลการตรวจสอบก็ออกมาเมื่อมกราคม 2545 ผลสอบระบุว่า การจัดสรรหุ้นครั้งนั้น
“ผิดปกติจริง” เพราะธนาคารไทยพาณิชย์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า web server ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้อชี้ชวน
ลูกเล่นของธนาคาร คือ สามารถกรอกรายการล่วงหน้าแล้วรอกดปุ่มรอบเดียวชื่อที่ล็อกไว้ก็จะเข้าไปใน บัญชีรายการจองได้เร็วกว่าคนอื่น นำมาสู่มติของ ก.ล.ต.ที่ลงโทษธนาคารไทยพาณิชย์ด้วยการพักการเป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้นในประเทศ เป็นเวลา 6 เดือน
การสั่งสอบของ ก.ล.ต.ดูเผินๆ เหมือนจะธำรงความยุติธรรมให้กับสังคมโดยเฉพาะประชาชนรายย่อยแต่แท้จริง แล้วกลับไม่มีผลใดๆ เลยเพราะมีแค่ลงโทษด้วยการไม่ให้ธนาคารไทยพาณิชย์ไม่ต้องขายหุ้นในประเทศแค่ 6 เดือนแต่ไม่ได้สั่งให้เปลี่ยนแปลงสิทธิ์การถือครองและก็ไม่สืบสาวราวเรื่อง ใดๆ ต่อปล่อยให้เรื่องเงียบหายไปโดยมีผู้รับบาปถูกลงโทษแบบจิ๊บจ๊อยอย่างเสียไม่ ได้
การกระจายหุ้นกลุ่มที่ 4 หรือผู้จองซื้อรายย่อยในประเทศ 220 ล้านหุ้นที่มีหลักฐานความผิดปกติยืนยันเป็นเพียงส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งที่ โผล่พ้นน้ำขึ้นมา เพราะการกระจายหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ก็มีความฉ้อฉลไม่ได้กระจายสู่ตลาดเสรีตามปกติ นี่คือต้นทางของการฮุบผลประโยชน์จากองค์กรการพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ด้วยนโยบายการเมืองไปเป็นของตนและพวกพ้องนำมาสู่การบริหารกิจการพลังงาน เพื่อนายทุนนักการเมืองและพวกพ้องแทนที่จะเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและ ประชาชนส่วนรวมในเวลาต่อมา
การกระจายหุ้น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ทั้ง 800 ล้านหุ้น เมื่อปี 2544 ในนามของการแปรรูปนั้นมีปัญหาความไม่ชอบมาพากลทุกกลุ่ม
หุ้นดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของคนไทยทั้งชาติ โดยหลักการแล้วหากจะขายจึงควรขายให้แก่คนไทยโดยเท่าเทียมกันก่อน หากเหลือจึงจะขายให้แก่นักลงทุนต่างชาติได้ แต่เพื่อที่จะเข้าแย่งชิงทรัพย์สินของชาติและประชาชน คณะกรรมการแปรรูปฯ กำหนดสัดส่วนให้ขายแก่นักลงทุนรายย่อยเพียง 220 ล้านหุ้น ขายในราคาพาร์ให้แก่ผู้มีอุปการคุณจำนวน 25 ล้านหุ้น ขายให้แก่นักลงทุนประเภทสถาบันไทย จำนวน 235 ล้านหุ้น แต่ขายให้นิติบุคคลต่างประเทศ จำนวนมากที่สุด และสามารถแอบแฝงเข้าถือครองได้ง่ายที่สุดจำนวน 320 ล้านหุ้น
นี่คือ
เทคนิคการฉ้อฉลชั้นเซียน เปรียบเสมือน
“ล็อกสเปกไว้ล่วงหน้า” เพราะ การกำหนดเช่นนี้คือการวางเงื่อนไขระเบียบวิธีการและกำหนดเพื่อบุคคลเข้าแย่ง ชิงทรัพย์สินของรัฐและประชาชนในนามของการจัดสรรเพื่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขายให้นิติบุคคลต่างประเทศเพราะอยู่นอกเหนือกลไกการ ตรวจสอบใดๆ ของรัฐและอยู่ในรูปของการถือหุ้นในฐานะตัวแทนเชิด (Nominee) ได้
วงการเชื่อกันว่า นักการเมืองไทยได้ครอบครองหุ้นของ ปตท.ด้วยสัดส่วนสูงมาก ผ่านหุ้นกลุ่มที่จัดขายให้นิติบุคคลต่างประเทศจำนวนมาก 320 ล้านหุ้น ซึ่งเป็นการง่ายดายมากที่นักการเมืองไทยจะถือหุ้นผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศ หรือที่วงการหุ้นเรียกขานว่า
“ฝรั่งหัวดำ” นี่เป็นความลับ ดำมืดมายาวนานเกือบ 10 ปี ว่ามีฝรั่งหัวดำถือครองหุ้น ปตท.มากน้อยเพียงใด มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินจึงได้ร้องขอศาลปกครองเพื่อจัดการให้ความลับดำกล่าว คลี่คลายออกมาโดยบรรยายคำฟ้องว่า
“มีบุคคลในรัฐบาลบางคนได้มีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) เข้าไปทำสัญญาจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลเข้ามาซื้อหุ้นของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยหลีกเลี่ยงกฎหมาย ป.ป.ช. และหลีกเลี่ยงการตรวจสอบโดยเจ้าพนักงานของรัฐบาลไทย ผู้ฟ้องคดีจึงประสงค์จะขอให้ศาลเรียกบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเหล่านี้จากผู้ ถูกฟ้องคดีที่ 1 บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และเรียกผู้ถือหุ้นต่างประเทศเหล่านี้เข้ามาในคดี และพิสูจน์ที่มาของเงินที่นำมาซื้อหุ้น ตัวตนของผู้ถือหุ้นที่แท้จริง รวมทั้งเงินปันผลที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศเหล่า นี้ว่า ได้โอนจากบัญชีของนิติบุคคลเหล่านั้นเข้าบัญชีของผู้ใด เพื่อตรวจสอบว่ามีหุ้นที่จำหน่ายให้แก่บุคคลโดยผิดกฎหมาย ป.ป.ช.จำนวนเท่าใด”
นอกจากนั้น ความไม่ชอบมาพากลทั้งหลายปวงนอกเหนือจากหุ้นจัดสรรให้นักลงทุนต่างประเทศ กับหุ้นที่จัดสรรให้กับรายย่อยผ่านธนาคาร 220 ล้านหุ้น ซึ่งขายหมดในพริบตาที่กล่าวมาแล้ว ยังมีหุ้นกลุ่มที่มีปัญหาความไม่โปร่งใสที่น่าเกลียดมากที่สุด อีกกลุ่ม..นั่นก็คือ
หุ้นผู้มีอุปการคุณจำนวน 25 ล้านหุ้น
สำหรับบริษัทห้างร้านทั่วไปที่เป็นของเอกชน การที่เถ้าแก่เจ้าของกิจการจะมอบหุ้นราคาพิเศษให้กับแขกผู้ใหญ่คู่ค้าเก่า แก่ หรือคนสนิทในนามหุ้นผู้มีอุปการคุณ สามารถกระทำได้เพราะสินทรัพย์และผลประโยชน์ดังกล่าวเป็นของเอกชน แต่สำหรับกิจการที่เป็นของรัฐอย่างบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เงินทุนที่ลงไปก้อนหน้าล้วนมาจากภาษีประชาชนข้อเท็จจริงคือในขณะนั้นกระทรวง การคลังถือหุ้น 100% ย่อมต้องถือว่าหุ้นทุกหุ้นเป็นสมบัติส่วนรวมของชาติ
มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ได้เตรียมยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในประเด็นหุ้นผู้มีอุปการคุณด้วย โดยบรรยายคำฟ้องว่ามีการกำหนดให้บุคคลบางกลุ่มที่คณะกรรมการของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เห็นชอบให้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของกระทรวงการคลัง จำนวน 25 ล้านหุ้นได้ในราคาพาร์ (10 บาทต่อหุ้น) ซึ่งต่ำกว่าราคาเปิดจองและต่ำกว่าราคาสินทรัพย์ต่อหุ้นที่แท้จริงของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่า ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดสามารถให้หุ้นอุปการคุณในราคาพาร์ได้ ซึ่งความจริงแล้วคณะกรรมการของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือคณะรัฐมนตรีไม่มีสิทธิกระทำเช่นว่านั้นได้ เพราะผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินของบริษัทส่วนตัวชอบที่จะขายใครใน ราคาเท่าใดก็ได้
มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินระบุในคำฟ้องว่า คณะกรรมการของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และคณะรัฐมนตรีมิใช่เจ้าของบริษัทฯ ดังนั้น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จึงไม่มีอำนาจที่จะขายหุ้นซึ่งไม่ใช่ของตนให้แก่ผู้ใดในราคาตามใจชอบได้ เพราะหุ้นของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นของรัฐ และประชาชนจึงต้องทำไปตามขอบเขตและบทบัญญัติของกฎหมาย ด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้เท่านั้น คือจะต้องขายตามราคาตลาดที่แท้จริง
โดยสรุปก็คือ การขายหุ้นในราคาพาร์จำนวน 25 ล้านหุ้น จึงเป็นการขายโดยไม่โปร่งใสไม่เป็นธรรม ขาดหลักธรรมาภิบาลและไม่อาจตรวจสอบได้ เพราะ ปตท.ไม่ยอมเปิดเผยว่าผู้ใดได้หุ้นอุปการคุณไปจำนวนเท่าใด และบรรดาผู้ได้หุ้นอุปการคุณไปนั้นได้มีอุปการคุณอย่างใดต่อบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
การตรวจสอบทางการข่าวพบว่า ในห้วงเวลาที่กำลังมีการกระจายหุ้น ปตท. ได้มีข้อเสนอเชิญชวนระหว่างบุคคลใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้บริหารของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้รับคำสอบถามว่าต้องการหุ้น ปตท.หรือไม่? ต่อมาก็ได้รับจัดสรรในบัญชีรายชื่อผู้มีอุปการคุณ หาได้มีระเบียบเงื่อนไขกำหนดชัดเจนว่า
“ผู้มีอุปการคุณ” มีองค์ประกอบหรือต้องมีคุณสมบัติเช่นไรจึงเข้าข่ายได้รับสิทธิพิเศษกว่าคนทั่วไป
สมมติหากมีผู้มีอุปการคุณคนหนึ่งได้รับจัดสรรไป 5 หมื่นหุ้นๆ ละ 10 บาท (ราคาพาร์) เขาจ่ายเงินต้นทุนไป 5 เพียงแสนบาทรอจังหวะราคาหุ้นขึ้นแตะ 300 บาท เท่ากับหุ้นที่เขาถือมีมูลค่าถึง 15 ล้านบาททันที - ช่างเป็นการลงทุนด้วยวิธีพิเศษที่ได้ผลงดงามยิ่ง!
ในช่วงปลายปี 2544 ต่อเนื่อง 2545 อันเป็นห้วงเวลาที่สื่อมวลชน พรรคการเมืองฝ่ายค้านในขณะนั้นคือพรรคประชาธิปัตย์กำลังให้ความสนใจการขาย หุ้นปตท.ที่ไม่โปร่งใส มีการเปิดเผยชื่อญาติพี่น้องคนนามสกุลเดียวกับนักการเมืองขึ้นมาจำนวนหนึ่ง คำถามในช่วงแรกคือเหตุใดคนเหล่านี้จึงครอบครองหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้มากเป็นหลักหลายแสนหลักล้านหุ้นมีการใช้เส้นสายล็อกหุ้นแย่งชิงมาจาก ประชาชนรายย่อยที่ต้องต่อคิวซื้อจากเคาน์เตอร์ธนาคารหรือไม่? ปรากฏว่ามีคำพยายามอธิบายจากผู้บริหารบริษัท ปตท.ว่า ผู้ถือครองหุ้นชื่อดังบางคนได้รับจัดสรรจากหลายๆ ช่องทางเช่นได้ครอบครองทั้งหุ้นผู้มีอุปการคุณและหุ้นนักลงทุนทั่วไปซึ่งมี บัญชีเปิดกับโบรกเกอร์อยู่ก่อน ดังนั้นเขาจึงมีหุ้นมาก แท้จริงมิได้ผิดปกติแต่อย่างใด
คำอธิบายดังกล่าวของผู้ บริหาร ปตท.ฟังเผินๆ เหมือนจะเป็นธรรม แต่แท้จริงแล้วยิ่งสะท้อนชัดขึ้นว่า ญาติพี่น้องตระกูลดังใกล้ชิดนักการเมืองก็ได้รับจัดสรรหุ้นอุปการคุณด้วย เช่นกัน มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินจึงร้องศาลปกครอง ขอให้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) แสดงรายชื่อผู้ถือหุ้นอุปการคุณจำนวน 25 ล้านหุ้น และขอให้ศาลได้โปรดเพิกถอนหุ้นอุปการคุณจำนวน 25 ล้านหุ้นดังกล่าวข้างต้นให้เป็นของกระทรวงการคลังเช่นเดิม
แท้จริงแล้วการกระจายหุ้น ปตท.โดยมิชอบนั้น มีหลักฐานยืนยันความผิดปกติมานานแล้ว หากแต่ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้บริหาร บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และฝ่ายการเมืองกลับไม่นำพา จึงทำให้เหตุการณ์ฉ้อฉล “ปล้นสิทธิ” ที่ประชาชนทั่วไปควรจะได้กลายเป็นคลื่นกระทบฝั่งไป
หลักฐานมัดบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ว่าขาดความโปร่งใส ไม่ดำเนินตามธรรมาภิบาล และยังเป็นเครื่องมัดว่ามีการสมคบกันปล้นเอาสิทธิที่ควรได้ของประชาชนไปจาก การกระจายหุ้นครั้งประวัติศาสตร์ นั่นก็คือ
“หนังสือชี้ชวน” การกระจายหุ้นซึ่งได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2544
หนังสือชี้ชวนฉบับดังกล่าวถือเป็น
“เอกสารมหาชน” และ เป็นสัญญาประชาคมของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่ให้ไว้แก่ประชาชนตลอดถึงผู้จองซื้อรายย่อยทุกคน เพื่อความเป็นธรรม จึงเป็นสาระสำคัญที่จะต้องได้รับการปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดแต่เหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
หนังสือชี้ชวน บ่งบอกชัดเจนบอกถึงวิธีจัดสรรหุ้นดังนี้ คือ ผู้จัดการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย (ซึ่งก็คือธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารอื่นๆ) จะใช้หลักการจัดสรรให้ผู้จองซื้อก่อนจ่ายเงินก่อนมีสิทธิ์ได้รับจัดสรรก่อน (First Come Fist Serve) โดยข้อมูลการจองซื้อนั้นจะต้องปรากฏที่ศูนย์กลางข้อมูลที่ผ่านตัวแทนจำหน่าย หุ้น (ธนาคารไทยพาณิชย์) ซึ่งสิทธิ์นี้บังคับใช้กับผู้จองซื้อรายย่อยทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน
ข้อความต่อไปในหนังสือชี้ชวน ลงรายละเอียดเงื่อนไขขั้นตอนการจองอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และรัดกุมมาก เช่นกล่าวว่า โดยผู้จองซื้อจะต้องกรอกรายละเอียดการจองซื้อในใบจองซื้อหุ้นสีน้ำเงินให้ ถูกต้องครบถ้วนชัดเจน พร้อมลงลายมือชื่อ/ผู้จองซื้อหนึ่งรายสามารถยื่นใบจองซื้อได้ครั้งละหนึ่งใบ จองเท่านั้นและจะต้องชำระเงินค่าจองซื้อครั้งเดียวเต็มจำนวนที่จองซื้อ ณ วันจองซื้อที่ราคา 35 บาทต่อหุ้น/ผู้จองซื้อจะต้องเข้าแถวตามวิธีการหรือรูปแบบที่ตัวแทนจำหน่าย หุ้นได้จัดเตรียมไว้ในแต่ละสถานที่/เจ้าหน้าที่ที่รับใบจองซื้อหุ้นจะทำการ เรียกผู้ประสงค์จองซื้อเพื่อดำเนินการจองซื้อตามลำดับ/โดยในการจองซื้อเจ้า หน้าที่ที่รับจองซื้อหุ้นจะลงลำดับเลขที่ในการจองซื้อลงในใบจองซื้อหุ้นทุก ใบและลงลายมือชื่อรับจองเพื่อเป็นหลักฐานในการจองหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อ/ฯลฯ และวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนโดยเคร่งครัด และตัวแทนจำหน่ายหุ้นจะปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนจำหน่ายหุ้นให้ถูกต้องและชอบ ธรรมด้วยความซื่อสัตย์และยุติธรรม เพื่อให้ผู้จองซื้อได้รับความสะดวกในการจองซื้อหุ้น และมีโอกาสจองซื้อหุ้นได้โดยเท่าเทียมกัน
แต่ในความเป็นจริง เงื่อนไขรายละเอียดตามหนังสือชี้ชวนซึ่งเป็นเอกสารสัญญามหาชน กลับถูกฉีกทิ้ง
กรณีความผิดปกติดังกล่าวถูกรายงานโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 ระบุว่า มีผู้จองซื้อหุ้นรายย่อยจำนวน 854 ราย สมคบกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และมีผู้จองซื้อหุ้นรายย่อยจำนวน 4 ราย สมคบกับธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งธนาคารทั้งสองบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้แต่งตั้งให้เป็นตัวแทนรับจองซื้อหุ้นรายย่อยจากประชาชนทั่วไป การฉ้อฉลดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้จองซื้อหุ้นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มนั้นได้เปรียบผู้จองซื้อรายอื่น
แทนที่จะทำเรื่องง่ายๆ แก้ปัญหาที่เกิดโดยพลัน แต่ผู้บริหารของ ปตท.กลับไม่ทำ! อาจเพราะว่าไม่อยากให้เหตุการณ์ที่สังคมจับตาลุกลามบานปลายออกหรือกระไรไม่ สามารถทราบได้ แต่ที่สุดแล้วผู้บริหารของ ปตท.กลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการใดๆ ทั้งๆ ที่รู้ว่ามีการดำเนินการละเมิดเงื่อนไขในหนังสือชี้ชวนที่ตนกำหนดขึ้น
เอกสารบรรยายคำฟ้องของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน กล่าวโทษบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ครั้งนี้ว่า “บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กระทำโดยไม่สุจริต และเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้จองซื้อรายอื่น” เนื่องจากว่า ปตท.ควรจะปฏิเสธไม่สนองรับจองหุ้นที่กระทำโดยฉ้อฉลดังกล่าวยิ่งมื่อทราบว่า การจองซื้อหุ้นดังกล่าวเป็นไปโดยกลฉ้อฉลก็ชอบที่จะใช้สิทธิ์บอกล้าง โมฆียกรรมดังกล่าว แต่ผู้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หาได้กระทำเช่นว่านั้นไม่
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงก็คือ ทั้งๆ ที่รู้ว่ามีผู้จองจำนวน 863 ราย กระทำไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข แต่กลับสวนทางโดยการออกใบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อรายย่อยกลุ่มดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันใบจองซื้อที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนที่ กำหนดไว้สำหรับการเสนอจองซื้อหุ้นที่ตนเองเป็นผู้ประกาศไว้
หลักฐานชุดต่อมา ในคำฟ้องได้พบว่ามีการกระทำผิดเงื่อนไขที่ระบุหนังสือชี้ชวนอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือมีผู้ยื่นใบจองมากกว่า 1 ใบจองจำนวน 428 รายรวมแล้วมากถึง 67,357,600 หุ้น ผู้จองทั้ง 428 รายทำผิดเงื่อนไขและเอาเปรียบผู้จองรายอื่นๆ โดยตรง แต่บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ทราบเรื่องแล้วก็ยังเพิกเฉย ทั้งๆ ที่ควรปฏิเสธการจองซื้อที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในหนังสือชี้ชวนแถมยังได้ออก ใบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อรายย่อยจำนวน 428 ราย ดังกล่าวอีกต่างหาก
ลักษณะการกระทำผิดของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ทั้งสองกรณีคล้ายคลึงกัน คือ เมื่อพบการกระทำผิดเงื่อนไขการจองซื้อ ทั้งเรื่องการใช้เทคนิคเอาเปรียบก่อนเวลาและการสั่งจองมากกว่าสิทธิที่คน อื่นๆ ได้รับ แต่ ปตท.ก็ยังแสร้งทำไม่รู้เห็นปล่อยให้เรื่องราวฉ้อฉลเงียบหาย และให้ผู้ที่ผิดเงื่อนไขได้ประโยชน์ไป
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินจึงฟ้องขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งให้หุ้นของผู้จองซื้อ ก่อนเวลา 09.30 น.ของวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 จำนวน 863 ราย และผู้ยื่นจองซื้อหุ้นของผู้ซื้อรายย่อยมากกว่า 1 ใบจอง รวม 428 ราย ดังกล่าวข้างต้นกลับคืนเป็นของกระทรวงการคลังต่อไป พร้อมๆ กับคำฟ้องในประเด็นอื่นอีกหลายประเด็นที่จะกล่าวถึง
“การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ” เป็นแนวคิดแบบเสรีนิยมที่เป็นกระแสมาก่อนหน้ารัฐบาลไทยรักไทยเข้าบริหารประเทศ แต่การ แปรรูป ปตท. ไปเป็นบริษัทมหาชนนั้นหาได้อิงตามแนวคิดการแปรรูปแบบเสรีนิยมเลยแม้แต่น้อย
การทำความเข้าใจการเปลี่ยนสภาพจากองค์กรรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลแปรรูป ไปเป็นกึ่งเอกชนดังกล่าวต้องเข้าใจสถานะของ ปตท.เสียก่อนว่า รัฐได้ตรา พ.ร.บ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 ก็เพื่อที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจปิโตรเลียมครบวงจร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ธุรกิจปิโตรเลียมอันเป็นกิจการอุตสาหกรรมด้าน สาธารณูปโภคที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน อีกทั้งเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลในธุรกิจพลังงานที่มีผู้ประกอบธุรกิจอยู่น้อย รายและส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติ
ปตท.ในอดีตยังมีบทบาทสำคัญอีกประการหนึ่งในตลาดพลังงาน ทำให้ราคาน้ำมันให้เกิดความเป็นธรรมโดยไม่ปรับราคาเพิ่มโดยรวดเร็วนัก จึงเป็นการช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นมากในยามที่ ราคาน้ำมันผันผวน ยังมีผลทำให้บริษัทน้ำมันต่างชาติไม่ค้ากำไรเกินควรจากการปรับราคาขึ้นจนสูง กว่าราคาน้ำมันของ ปตท. เพราะจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดลดลง การกระทำทั้งหมดนี้ ปตท.ยังคงสามารถมีกำไรได้ตามสมควรเพราะยังเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีส่วนแบ่งการ ตลาดสูงสุดและอยู่ในฐานะเจ้าตลาด (Market leader)
ปตท.ได้รับสิทธิประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจยิ่งกว่ากิจการของเอกชน ทั่วไป ทำให้การสามารถเจริญเติบโตต่อเนื่องในธุรกิจค่อนข้างผูกขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจต้นน้ำ เช่น ฐานขุดเจาะน้ำมันและโรงกลั่นน้ำมัน และมีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น โรงงานอะโรมาติกส์ โรงงานปิโตรเคมี และอื่นๆ อุตสาหกรรมแต่ละประเภทมีผู้ประกอบการน้อยรายและใช้เงินลงทุนสูงโดยธรรมชาติ ของธุรกิจแล้ว ผู้ที่ลงทุนตลอดสายนับจากฐานขุดเจาะน้ำมันจนถึงโรงงานปิโตรเคมีจึงสามารถ เข้าผูกขาดและควบคุมตลาดได้ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่นต่ำ คือ แม้ราคาผลิตภัณฑ์จะสูงขึ้นมากแต่ความต้องการใช้ของผู้บริโภคจะลดลงเพียงเล็ก น้อยเท่านั้น เพราะเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน
พึงเข้าใจว่า สถานะรัฐวิสาหกิจกึ่งผูกขาดที่เป็นเจ้าตลาดของ ปตท. แม้จะเพิ่มอัตรากำไร (Profit Margin) เท่าใด กำไรส่วนเกินที่ได้รับจากการประกอบธุรกิจก็จะตกเป็นของรัฐและประชาชนทั้ง สิ้น แต่หากปันความเป็นเจ้าของเป็นเอกชนผู้ถือหุ้นจะได้ประโยชน์จากสถานะพิเศษ บริษัทมหาชนที่ใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ได้สิทธิผูกขาดเหนือกิจการเอกชนรายอื่นๆ
คำบรรยายฟ้องของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ระบุว่า
เมื่อ วันที่ 11 เมษายน 2544 ได้มีบุคคลบางกลุ่มประกอบด้วยบุคคลในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ บุคคลในคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น กรรมการ ผู้ว่าการและพนักงานของ ปตท.บางคนมีวัตถุประสงค์จะเข้าแย่งชิงทรัพย์สินของรัฐและประชาชนในกิจการ ธุรกิจของ ปตท.ไปเป็นของตนและพรรคพวก อันเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ บุคคลดังกล่าวข้างต้นจึงได้ร่วมกันทุจริตเชิงนโยบายและดำเนินการร่วมกันเข้า แย่งชิงทรัพย์สินของ ปตท.เป็นของตนเองและพรรคพวก ด้วยวิธีการอันฉ้อฉล แยบยล
ข้ออ้างแรกคือ อ้างความจำเป็นที่จะต้องได้รับเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อนำมาชำระหนี้โดยกระทรวงการคลังไม่ต้องค้ำประกัน
ข้ออ้างต่อมา ให้เป็นเครื่องมือในการแทรกแซงราคาน้ำมัน โดยอ้างว่าการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เป็นการลดภาระหนี้ของรัฐบาล
ทั้งที่จริงแล้วข้ออ้างดังกล่าวปราศจากเหตุผล เพราะ ปตท.ในเวลานั้นยังมีฐานะทางการเงินและสภาพคล่องอย่างเพียงพอ โดยมีกำไรในปี 2544 กว่า 2 หมื่นล้านบาท จึงไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน
นอกจากนั้น การระดมเงินในตลาดทุนอาจทำได้โดยวิธีการอื่น เช่น การออกหุ้นกู้ หรือพันธบัตรที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันโดยไม่จำเป็นต้องขายหุ้นสามัญ เพราะสินทรัพย์ของ ปตท.ยังมีมากเพียงพอที่จะค้ำประกันหุ้นกู้ และพันธบัตรของตนเองได้
สำหรับข้ออ้างเรื่องเป็นเครื่องมือแทรกแซงราคาน้ำมัน ยิ่งเหลวไหลไปใหญ่ เพราะสถานะของ ปตท.เป็นเจ้าตลาดอยู่เดิมแล้ว วิธีการเข้าแทรกแซงราคาน้ำมันก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเพียงแค่ประกาศตรึงราคา บริษัทน้ำมันต่างชาติก็จะไม่กล้าปรับราคาให้สูงขึ้นกว่าราคาที่ประกาศตรึง ไว้มากนัก และราคาที่ตรึงไว้ก็ยังเป็นราคาที่สามารถทำกำไรตามทางการค้าปกติได้
ในกรณีที่รัฐมีความจำเป็นต้องใช้เงินแทรกแซงราคาน้ำมัน รัฐก็มีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทำหน้าที่ดังกล่าวตั้งแต่ 27 มีนาคม 2522 แล้ว ดังนั้น การอ้างความจำเป็นที่จะต้องได้รับเงินทุนเพิ่มเติมดังกล่าวจึงเป็นเพียงข้อ อ้างที่ขาดเหตุผล
ข้ออ้างทั้งหลายแหล่ว่าด้วยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจล้วนแต่เป็นแนวคิด กระแสหลักตลาดเสรีอาทิเช่นแปรรูปแล้วประสิทธิภาพจะดีขึ้น เป็นอิสระจากการกำกับของรัฐและทำให้การแข่งขันในตลาดเป็นธรรมล้วนแต่เป็นวาท กรรมสวยๆ ในแผ่นกระดาษเพราะจนบัดนี้สถานะของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ก็คือบริษัทมหาชนที่เป็นรัฐวิสาหกิจในอำนาจพิเศษเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจ พนักงานได้สิทธิรับพระราชทานเครื่องราชอิริยาภรณ์เช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจ อื่นๆ มีเพียงสิ่งเดียวที่เปลี่ยนไปคือแทนที่จะทำธุรกิจเพื่อประชาชนคนไทยเจ้าของ ประเทศทั้งหมดกลับต้องรับผิดชอบต่อการทำกำไรเพื่อตอบสนองผู้ถือหุ้นเป็น ประการสำคัญ
มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินได้สรุปประเด็นข้ออ้างเรื่องการแปรรูปรัฐวิสห กิจ ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งในเอกสารบรรยายคำฟ้องศาลปกครอง “ขอให้แสดงว่าการกระทำที่ขัดต่อผลประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะ ให้ทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้มาจากอำนาจมหาชนของรัฐและขอให้เพิก ถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล” ในส่วนนี้ว่า...
“ดังนั้น การอ้างความจำเป็นที่จะต้องได้รับเงินทุนเพิ่มเติมดังกล่าวจึงเป็นเพียงข้อ อ้างที่ขาดเหตุผล ใช้อ้างอิงเพียงเพื่อที่จะทุจริตเข้าแย่งชิงทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่ง ประเทศไทยมาเป็นของตนกับพรรคพวกเท่านั้น”
ฟ้อง ปตท.ฉ้อฉล ปล้นประชาชน-สมบัติแผ่นดินกลางแดด
ในที่สุด มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน พร้อมพวก ก็ได้เตรียมยื่นฟ้อง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกระทรวงการคลัง ต่อศาลปกครองกลาง โดยขอให้การกระทำที่ขัดต่อผลประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะ ให้ทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้มาจากอำนาจมหาชนของรัฐ และขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล
“เราได้ใช้เวลารวบรวมพยานหลักฐานและหาผู้ฟ้องคดีร่วมซึ่งเป็นผู้ที่ ได้รับความเสียหายจากการกระจายหุ้นของ ปตท. ตอนนี้เราพร้อมที่จะยื่นฟ้องแล้ว” นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ผู้รับมอบอำนาจในการฟ้องคดี กล่าว
การฟ้องคดีครั้งนี้ของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินและพวก มีอยู่ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ขอให้การกระทำที่ขัดต่อผลประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะ 2) ขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล และ 3) ทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินฯ
ในคำขอให้การกระทำที่ขัดต่อประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะนั้น ตาม คำฟ้องได้อ้างอิงผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มีรายการการพิจารณาศึกษาเรื่อง ธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศ ภาคแรก ซึ่งที่ประชุมวุฒิสภาครั้งที่ 26 (สมัยสามัญทั่วไป) วันที่ 4 พ.ค. 2553 มีมติเห็นด้วย และรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องเดียวกัน ภาคสอง (พฤษภาคม 2552 - ธันวาคม 2553)
รายงานทั้งสองฉบับดังกล่าว ได้ตรวจสอบธรรมาภิบาลในกิจการก๊าซธรรมชาติ กรณีการปรับอัตราค่าบริการผ่านก๊าซธรรมชาติของ ปตท. กรณีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของเจ้าพนักงานของรัฐกับการเข้าไปดำรงตำแหน่ง ในบริษัท ปตท. และบริษัทในเครือ กรณีความไม่โปร่งใสในการจัดการรายได้ของทรัพยากรปิโตรเลียม การทับซ้อนในผลประโยชน์ของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) กับกองทุนน้ำมัน และการปรับคุณภาพก๊าซเอ็นจีวีของปตท. รวมทั้งราคาน้ำมันที่ไม่เป็นไปตามกลไกตลาดที่เป็นธรรม ซึ่งผลการศึกษาได้สะท้อนให้เห็นถึงความฉ้อฉลที่เอื้อประโยชน์ให้ ปตท. โดยโยนภาระมาให้กับประชาชน (อ่านรายละเอียดในข่าวประกอบ)
ส่วนประเด็นการขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล ถือ เป็นประเด็นสำคัญที่ชี้ให้เห็นการกระทำที่เป็นเหตุแห่ง “โมฆะกรรม” ของการขายหุ้น ปตท. เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2544 ว่า มีการแย่งชิงหุ้นของรัฐและประชาชนโดยฉ้อฉล โดยมีการยื่นแบบและรับจองหุ้นก่อนเวลา 9.30 น. ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงการรับจองหุ้นตามหนังสือชี้ชวน จำนวน 863 ราย ซึ่งกรณีนี้ ปตท.ได้รับทราบผลการสอบสวนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อเดือนม.ค. 2545 แล้วว่าผู้จองหุ้นรายย่อยจำนวน 859 ราย สมคบกับธนาคารไทยพาณิชย์ และผู้จองซื้อหุ้น จำนวน 4 ราย สมคบกับธนาคารกสิกรไทย ร่วมกันกระทำการฉ้อฉล ปตท. ชอบที่จะบอกล้างโมยกรรมดังกล่าว แต่ ปตท. กลับเพิกเฉย ทั้งยังยืนยันว่าผู้จองซื้อโดยฉ้อฉลเหล่านั้นเป็นผู้ถือหุ้นของ ปตท.
นอกจากนี้ ยังมีการออกใบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นของผู้ซื้อรายย่อยมากกว่า 1 ใบจอง รวม 428 ราย ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ ที่กำหนดไว้สำหรับการเสนอจองซื้อหุ้นที่กำหนดให้ผู้ซื้อรายย่อยทุกรายมี สิทธิ์ยื่นจองได้เพียง 1 ใบ เท่านั้น (อ่านรายละเอียดในข่าวประกอบ)
ส่วนประเด็นทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการต่อหลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2550 ให้ปตท., นายกรัฐมนตรี, คณะรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงพลังงาน. แบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิ ของ ปตท.
แต่อย่างไรก็ตาม
การแบ่งแยกอำนาจและสิทธิรวมทั้งสาธารณ สมบัติของแผ่นดินกระทั่งถึงวันนี้ยังไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ประเมินมูลค่าระบบท่อก๊าซเพื่อเรียกคืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ราคา 52,393.50 ล้านบาท แต่ ปตท.ส่งคืนตามคำพิพากษาเพียง 16,176.22 ล้านบาท ยังขาดอีก 36,217.27 ล้านบาท โดยเป็นราคาท่อก๊าซบนบกและในทะเล มูลค่า 32,613.45 ล้านบาท และทรัพย์สินอื่นอีก 3,603.83 ล้านบาท ซึ่งรายละเอียดปรากฏตามรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เฉพาะเรื่องการตรวจสอบรับรองความถูกต้องมูลค่าทรัพย์สินที่บริษัทแบ่งแยกให้ กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
สำหรับคดีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและพวก ฟ้อง ปตท. ก่อนหน้านี้ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาเพื่อแปรรูป ปตท. แม้ศาลปกครองสูงสุดจะพิเคราะห์ว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ ปตท.จำกัด (มหาชน) บางส่วนไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเพิกถอนกฎหมายดังกล่าว เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพของปตท.ล่วงเลยขั้นตอนการออกพระราชกฤษฎีกาฯ และมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการซื้อขายเปลี่ยนมือผู้ลงทุนในหุ้นปตท.จำนวนมาก
ศาลเห็นว่า การเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาฯ จะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ และมีการแก้ไขความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยการออกพ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.ฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้ก่อนที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษาในคดีเพียง 3 วัน
รัฐมีหน้าที่กำกับควบคุมกิจการด้านพลังงาน แต่หลังจากปตท.แปรรูปเป็นบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)แล้ว รัฐกลับทำตัวเสมือนเป็นพวกพ้องกับผู้บริหารบริษัท การออกกฎระเบียบและการตัดสินใจเรื่องสำคัญบางประการแทนที่จะยึดผลักผล ประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่กลับยึดประโยชน์ของบริษัทเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด ไปแบ่งปันกัน
ความพิลึกพิลั่นของการแปรรูปปตท.คือรัฐได้ส่งข้าราชการระดับสูงไปนั่งกิน เงินเดือนของปตท.และบริษัทในเครือ ค่าตอบแทนต่าง ๆ รวมถึงโบนัสสูงมากกล่าวได้ว่าสูงกว่าเงินเดือนข้าราชการเสียอีก วิธีการเช่นนี้ขัดกับหลักธรรมาภิบาลอย่างชัดเจนเพราะแนวโน้มที่ข้าราชการ ซึ่งมีหน้ากำกับและออกนโยบายจะตัดสินใจเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทมหาชน ย่อมมีมากกว่าตัดสินใจบนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาลในยุคนั้นยังแก้ไขระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้ข้าราชการที่มีหน้าที่กำกับนโยบายเข้าไปเสวยสุขในกิจการรัฐวิสาหกิจ บริษัทมหาชนง่ายขึ้นกว่าเก่า
มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินมองเห็นความเสียหายจากประเด็นดังกล่าวจึงได้บรรจุร่วม ในคำฟ้องด้วย โดยระบุว่าพฤติกรรมดังกล่าวโดยเริ่มจากการแต่งตั้งให้นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลพลังงานของประเทศในขณะนั้น (2544 ) เข้าไปเป็นกรรมการบริษัทของบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) และบริษัทเอกชนในเครือ ต่อมายังได้มีการแก้ไขพรบ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐ วิสาหกิจ ฉบับที่ 5 เพื่อให้ข้าราชการผู้เป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจเข้าไปเป็นกรรมการหรือผู้ บริหารในบริษัทเอกชน ที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้นได้ และฉบับที่ 5 พ.ศ. 2550 เพื่อให้ข้าราชการเข้าไปเป็นประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้บริหารในนิติบุคคลที่เป็นผู้รับสัมปทาน ผู้ร่วมทุน หรือมีประโยชน์ได้เสียกับรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้ข้าราชการรับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปเบี้ยประชุม โบนัสและผลตอบแทนอื่นที่มิใช่ตัวเงินเป็นจำนวนมากเปิดช่องทางให้นโยบายของ รัฐถูกครอบงำจากภาคธุรกิจซึ่งขัดต่อหลักธรรมาภิบาลสากลอย่างร้ายแรง
หลังรัฐประหาร 2549 รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ พยายามหาวิธีการแก้ปัญหาวิสาหกิจด้านพลังงานที่ถูกแปรรูปไปอาจจะถูกเอกชนและ กลุ่มการเมืองครอบงำ จึงได้เพิ่มองค์กรควบคุมกำกับนโยบายขึ้นมาใหม่เรียกว่าคณะกรรมการกำกับ กิจการพลังงาน เพื่อให้เห็นว่าการกำกับธุรกิจพลังงานมีความเป็นอิสระ จากนักการเมืองหรือข้าราชการประจำ แต่มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินก็พบว่าคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานดังกล่าวกลับ ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างอิสระจริงเพราะได้เอื้อประโยชน์โดยตรงให้กับบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)เบียดบังเอาเปรียบผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติ
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเอื้อประโยชน์ให้ปตท.กระทืบซ้ำประชาชนหลายกรณี เช่นการช่วยปตท.เล่นกลทางบัญชีประเมินมูลค่าท่อก๊าซที่ซื้อมาจากรัฐบาลเสีย ใหม่จากเดิม มีอายุงาน25 ปีมูลค่า 46,189.22 ล้านบาท กลายเป็นมูลค่าระหว่าง 105,000 - 120,000 ล้านบาทแถมอายุเพิ่มเป็น 50 ปี
การตีมูลค่าท่อก๊าซเป็นแค่ลูกเล่นทางบัญชีของปตท. ท่อก๊าซก็อยู่คงเดิมไม่ใช่การเพิ่มทุนลงทุนอะไรเพิ่มของปตท. แต่คณะกรรมการกำกับพลังงานกลับบ้าจี้อนุมัติให้ปตท.ปรับอัตราค่าบริการส่ง ก๊าซให้สูงขึ้น เพราะไปยึดแนวความคิดทางบัญชีท่อก๊าซมีต้นทุนทางบัญชีสูงเท่าไหร่แล้วคิด ย้อนกลับมาเป็นค่าบริการ
การอนุมัติปรับอัตราค่าบริการส่งก๊าซเมื่อเมื่อ 1 มกราคม 2551 มีผลให้อัตราค่าขนส่งก๊าซผ่านท่อเพิ่มขึ้นจากอัตรา 19.7447 บาทต่อล้านบีทียู เป็น 21.7665 บาทต่อล้านบีทียู คือเพิ่มขึ้นอีก 14.32 เปอร์เซ็นต์ ทำให้บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) มีรายได้จากการคิดค่าบริการขนส่งก๊าซผ่านท่อเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปีเป็นกว่า 22,000 ล้านบาทต่อปีในพริบตา
เงินรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 2 พันล้านบาทจากค่าบริการท่อก๊าซดังกล่าวเป็นกำไรจากเทคนิคทางบัญชีเบียดบัง ประโยชน์จากรัฐ และจากการช่วยเหลือของหน่วยงานรัฐบางหน่วยล้วน ๆ หาใช่เกิดจากความสามารถในเชิงธุรกิจหรือการขยายการบริการอย่างใดเลย
มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินชี้ว่าการเอื้อประโยชน์ให้ปตท.ทำกำไรลักษณะนี้ของรัฐ ทำให้ปตท.มีรายได้มากขึ้นและส่งผลเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นภาคเอกชน 49% ที่ถืออยู่ เป็นการหาเงินกำไรบนการขูดรีดประชาชนโดยไม่จำเป็น
การเอื้อประโยชน์เรื่องการส่งมอบท่อก๊าซคืนให้รัฐก็เช่นกันผลสืบเนื่องจาก ที่มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคฟ้องศาลปกครองให้กลับคืนมาเป็นของรัฐ แต่จนกระทั่งบัดนี้ท่อบางส่วนยังไม่ได้กลับคืนมาตามคำพิพากษาศาลเนื่องเพราะ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเพิกเฉยไม่ใส่ใจดูแลปกป้องประโยชน์ส่วนรวม
เฉพาะความพิลึกพิกลหลังศาลปกครองมีคำสั่งให้ท่อก๊าซกลับมาเป็นสมบัติของแผ่น ดินนี้มีหลายเรื่อง โดยสรุปคือกระทรวงการคลังเหมือนจะไม่อยากเอากลับคืนเพราะยังไงก็ต้องส่งมอบ ให้ปตท.เช่าใช้ประโยชน์ต่ออยู่ดี ตกกลับมาเป็นของรัฐแต่เพียงในนาม ความน่าตกใจของเรื่องนี้คือกระทรวงการคลังเอื้อประโยชน์ให้บริษัทมหาชนที่มี เอกชนถือหุ้นอยู่ 49% เกินไป แทนที่จะประเมินราคาค่าเช่าให้สมเหตุสมผลกลับคำนวณแบบขาดทุนเรี่ยดิน
ในปี พ.ศ. 2551 กระทรวงการคลัง ได้ประเมินค่าเช่าใช้ท่อส่งก๊าซและอุปกรณ์ของปตท.(ที่ผนวกเข้าไปเป็น ทรัพย์สินบริษัท) ระหว่างปี พ.ศ.2544 จนถึงปี พ.ศ. 2551 เป็นเงิน 1,300 ล้านบาท ดูเผิน ๆ เหมือนจะเยอะแต่แท้จริงแล้วเป็นค่าเช่าใช้ที่ต่ำกว่าความเป็นจริงหลายเท่า เพราะปตท. ได้เรียกเก็บค่าใช้ท่อส่งก๊าซไปจากประชาชนผู้ใช้ก๊าซไปแล้วเป็นเงิน 137,176 ล้านบาท
ตลกสิ้นดี กรณีนี้เปรียบได้กับมีคนมาเช่าที่นาของหมู่บ้านไป 10 ปี เขาเอาที่นานั้นทำมาหารายได้ไปแล้ว 1 ล้านบาท แต่ผู้ใหญ่บ้านใจดีเรียกเก็บค่าเช่าที่นารวมแล้วเพียงหมื่นบาทแค่นั้นเอง !!
กระทรวงการคลัง คำนวณเรียกคืนจากปตท. 1,300 ล้านบาทซึ่งคิดเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ของเงินที่ปตท.ได้กำไรจากการเก็บค่าบริการจากประชาชน เฉพาะการประเมินช่วยกันของกระทรวงการคลังดังกล่าวเป็นเหตุให้ปตท. ได้กำไรเหนาะ ๆ จากค่าใช้ท่อส่งก๊าซของรัฐและประชาชนไปเป็นเงิน 135,876 ล้านบาทเงินดังกล่าวนำไปแบ่งให้เอกชนที่ถือหุ้น ส่วนประชาชนไทยเจ้าของท่อก๊าซได้เงินจากกระทรวงการคลังเพียง 1,300 ล้านบาทเท่านั้น
นอกจากท่อก๊าซที่ปตท.ส่งคืนกระทรวงการคลังที่ได้กล่าวมาแล้วในปัจจุบันยังคง มีท่อส่งก๊าซที่ปตท. ยังไม่คืนตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดอีก มูลค่าถึง 36,217.28 ล้านบาท ส่วนที่ยังไม่คืน บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) ยังคงหาประโยชน์โดยเก็บค่าผ่านท่อทั้งยังไม่ต้องจ่ายค่าเช่าให้แก่รัฐมาจน ทุกวันนี้ การที่ปตท.กระทำการเช่นนี้ได้ เนื่องจากข้าราชการที่มีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายพลังงานแห่งชาติและกระทรวง การคลังซึ่งควรจะเร่งรัดให้ส่งมอบคืนกลับมาเป็นของหลวงเพิกเฉยเพราะยังมีผล ประโยชน์ทับซ้อนอยู่กับบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)
มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินระบุในบรรยายฟ้องว่า รายละเอียดของข้าราชการและผลประโยชน์ทับซ้อนที่กล่าวข้างต้น ผู้ฟ้องคดีขออ้างส่งศาลในชั้นพิจารณา.