1. อากงไม่ได้กระทำความผิด เหตุใดศาลจึงพิพากษาลงโทษจำคุก
2. ศาลลงโทษจำคุก 20 ปี เป็นโทษที่หนักเกินไป
3. อากงอายุมากแล้วควรได้รับการลดโทษ ปล่อยตัวไป หรือได้รับการประกันตัว
4. ศาลไทยไม่มีมาตรฐานสากล ควรรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล
5. ควรยกเลิกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิดว่าด้วย การกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์
ในข้อแรก ผู้ที่เห็นว่า อากงมิได้กระทำความผิดนั้น หากเป็นการตัดสินกันเองโดยบุคคลกลุ่มคนนอกศาลและกระบวนการยุติธรรม คงจะหาเหตุผลรองรับความชอบธรรมยากสักหน่อย เพราะเป็นความเชื่อส่วนตนที่ตัวเองไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ขณะที่มีการกระทำ ความผิดเกิดขึ้น เป็นอัตวิสัยที่อาจปราศจากพยานหลักฐานสนับสนุน ในขณะที่คดีนี้ผ่านกระบวนการสอบสวน การกลั่นกรองจากอัยการ แล้วเปิดโอกาสให้จำเลยต่อสู้คดีในชั้นศาลอย่างเต็มที่ อันเป็นหลักการสากลและหลักกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อสู้ คดีอย่างเสมอภาคเท่าเทียมและเป็นธรรม ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า อากงหรือจำเลย
/ มี ...
มีความผิดเพราะศาลชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายแล้วเชื่อว่าจำเลย
เป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้องของอัยการโจทก์จริง
แต่ถ้าจำเลยไม่เห็นด้วยไม่พอใจในผลคำพิพากษา ก็ยังสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์
ฎีกาได้ตามกฎหมาย
ซึ่งในอดีตมีคดีที่ศาลสูงเห็นต่างจากศาลชั้นต้นพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษา
ศาลล่าง ก็ไม่น้อย ดังนั้นเมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด การจะด่วนสรุปว่าอากงเป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยเสร็จเด็ดขาดนั้น
ก็ยังมิใช่เป็นเรื่องที่แน่แท้เสมอไปดังที่บางคนมีความเชื่อและเข้าใจใน
ทำนองนั้น แท้จริงแล้ว
อากงยังถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดข้อต่อมา ที่ว่าเหตุใดศาลจึงพิพากษาลงโทษถึงจำคุก ปกติการกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นบุคคลธรรมดาที่เป็นการดูหมิ่นใส่ ความทำให้ผู้เสียหายเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงเกียรติคุณอย่างร้ายแรง กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดมีโทษถึงจำคุก ศาลยุติธรรมก็เคยลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษมาแล้ว สำหรับคดีนี้ มีการใช้ถ้อยคำหยาบคายแสดงความอาฆาตมาดร้าย จาบจ้วงล่วงเกินพระมหากษัตริย์และพระราชินีด้วยถ้อยคำภาษาที่ป่าเถื่อนและ ต่ำทรามอย่างยิ่ง เกินกว่าวิญญูชนคนทั่วไปจะพึงพูดจาดูหมิ่นเหยียดหยามกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้กระทำต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระประมุขของ ประเทศ อันเป็นที่เคารพยกย่องเทิดทูนของปวงชนชาวไทยและทั่วโลก ในหลวงทรงครองสิริราชย์มาเป็นเวลากว่า 65 ปี ทรงครองแผ่นดินด้วยหลักทศพิธราชธรรม ห่วงใยทุกข์เข็ญของอาณาประชาราษฎร์ตลอดเวลา แม้ในยามทรงพระประชวร พระองค์ก็ยังทรงงานเพื่อแก้ไขความทุกข์ยากของประชาชนเช่นอุกทุกภัยน้ำท่วม ในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทุ่มเทพระวรกายตลอดพระชนม์ชีพ ทรงงานเพื่อความผาสุกของประเทศชาติและประชาชนทุกหมู่เหล่า ในกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ก็บัญญัติว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" โดย เฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมิใช่คู่กรณีที่มีความขัดแย้ง สร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่จำเลยแม้แต่น้อยนิด รวมทั้งพระองค์ท่านทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองจากมวลชนทุกหมู่เหล่า จึงไม่มีเหตุผลที่จำเลยหรือบางคนจะพยายามบิดเบือนว่า คดีนี้มาจากมูลฐานทางการเมือง ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่เป็นธรรมและห่างไกลจากความเป็นจริง
ข้อสอง คดีนี้มีข้อเท็จจริงบางประการที่ผู้วิจารณ์อาจยังรู้ไม่ครบถ้วนและเข้าใจ คลาดเคลื่อนคือ นอกเหนือจากพฤติการณ์แห่งคดีหรือข้อความหมิ่นประมาทที่มีความรุนแรงและร้าย แรงอย่างมากแล้ว ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า ผู้กระทำไม่ได้กระทำความผิดแค่ครั้งเดียว แต่มีการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ ด้วยถ้อยคำดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายถึง 4 ครั้ง มีถ้อยคำ ที่แตกต่างกันทุกครั้ง แสดงถึงเจตนาที่จงใจกระทำผิดกฎหมายอย่างท้าทายไม่ยำเกรงอาญาแผ่นดิน ไม่มีจิตสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดี เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธมาตลอดจนถึงในชั้นศาลจึงไม่มีเหตุลดโทษ บรรเทาโทษตามกฎหมาย ซึ่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กฎหมายระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมาย
/ ระวาง ...
ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดแต่ละครั้งจำคุกกระทงละ 5 ปี ตามมาตรา
112 ซึ่งเป็นโทษบทหนักนั้น เป็นการลงโทษสูงกว่าโทษขั้นต่ำของกฎหมายเพียง 2
ปี ยังเหลืออัตราโทษอีก 10 ปี ที่ศาลมิได้นำมาใช้ เมื่อนำโทษทั้ง 4
กระทงมารวมกันเป็น 20 ปี
คนทั่วไปที่ไม่รู้จึงเข้าใจผิดคิดว่าศาลลงโทษครั้งเดียว 20 ปี
เห็นว่าโทษหนักไป แต่ถ้าเทียบกับพฤติการณ์ความร้ายแรงแห่งคดีแล้ว
หลายคนที่รู้จริงเห็นตรงข้ามว่าโทษเบาไปหรือเหมาะสมแล้วก็มีข้อสาม แม้สังคมทั่วไปจะเรียกจำเลยว่า “อากง” ฟังดูประหนึ่งว่าจำเลยชราภาพมากแล้ว แต่ตามฟ้องจำเลยอายุ 61 ปี มิได้แก่ชราจนต้องอยู่ในความอนุบาลดูแลของผู้ใดสามารถเข้าใจและ ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ แสดงว่าเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์และมิได้แก่เฒ่าคราวปู่ทวด สำหรับบุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคมสถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความหลงผิดก่อให้เกิดความเสีย หายอย่างใหญ่หลวง ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง หรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้ มาตรการที่เหมาะสมจึงควรตัดโอกาส ในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ที่กระทำความผิดคิดวางแผนไตร่ตรองในการกระทำความผิด อย่างแยบยลแนบเนียนด้วยแล้ว ก็ยิ่งสมควรใช้วิธีการที่เหมาะสม ในการคุ้มครองรักษาความสงบสุขของประเทศชาติและประชาชนด้วย จึงไม่แน่แท้เสมอไปว่าชราชน ที่กระทำความผิดจะต้องได้รับการลดโทษ ลงโทษน้อย หรือปล่อยตัวไปเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อหาความผิด ความเสียหายและพฤติการณ์การกระทำแต่ละคดีที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป ส่วนการจะได้รับการประกันตัวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ข้อเท็จจริงแห่งคดีเป็นเรื่องๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 ,มาตรา 108/1
ข้อสี่ ตามกติการะหว่างประเทศว่า ด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (International Covenant on Civil and Political Rights) ICCPR ได้บัญญัติรับรองในข้อ19 ว่า
1) บุคคลมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากแทรกแซง
2) บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็น สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา ได้รับและสื่อสารข้อมูลและความคิดทุกชนิด โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ไม่ว่าด้วยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยการพิมพ์ ในรูปแบบของศิลปะหรือโดยสื่อประการอื่นใดที่บุคคลดังกล่าวเลือก
3) การใช้สิทธิตามวรรคสองของข้อนี้ต้องประกอบด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบอันเป็นพิเศษ ดังนั้น สิทธิดังกล่าวจึงอาจอยู่ภายใต้ข้อจำกัด บางประการ แต่ข้อจำกัดนั้นต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติและเท่าที่จำเป็น
/ (ก) ...
(ก) เพื่อเคารพต่อสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น (ข) เพื่อคุ้มครองความมั่นคงแห่งชาติ ความสงบเรียบร้อยของประชาชนสาธารณสุขหรือศีลธรรมอันดี
นอกจากนั้น กติการะหว่างประเทศฯ ยังได้ให้ความคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการที่
จะไม่ถูกล่วงละเมิดทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเกียรติภูมิไว้ด้วยตามข้อ 17 ซึ่งกำหนดว่า
“1. ไม่มีบุคคลใดที่จะต้องตกอยู่ภายใต้การแทรกแซงตามอำเภอใจหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อความเป็นส่วนตัว ครอบครัวหรือการติดต่อสื่อสาร หรือการโจมตีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อเกียรติภูมิและชื่อเสียง
2. บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายจากการแทรกแซงหรือการโจมตีเช่นว่านั้น”
ฉะนั้นแม้การแสดงความคิดเห็นถือเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่กติการะหว่าง ประเทศฯ ให้การยอมรับ แต่ในขณะเดียวกัน กติการะหว่างประเทศฯ ก็ได้กำหนดไว้ด้วยว่าการใช้สิทธิดังกล่าวต้องทำด้วยความสำนึกรับผิดชอบและ ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของบุคคล เนื่องจากบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิ ในการรักษาชื่อเสียงและเกียรติภูมิของตนและต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ด้วยเช่นกัน
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ ICCPR เป็นสนธิสัญญา พหุภาคี ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ให้การรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และมีผลใช้บังคับเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2519 สนธิสัญญานี้ให้คำมั่นสัญญาว่าภาคีจะเคารพสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของบุคคล ซึ่งรวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพในศาสนา เสรีภาพในการพูด เสรีภาพ ในการรวมตัว สิทธิเลือกตั้ง และสิทธิในการได้รับการพิจารณาความอย่างยุติธรรม จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 กติการะหว่างประเทศนี้มีประเทศลงนาม 72 ประเทศและภาคี 167 ประเทศ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้โดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทย เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540 อันสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 45 ที่ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การพิมพ์และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น แต่เสรีภาพดังกล่าวก็ยังถูกจำกัดได้โดยกฎหมายหากเป็นไปเพื่อรักษาความมั่นคง ของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิ หรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอัน ดีของประชาชน...” นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 บัญญัติว่า ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต และมาตรา 421ก็บัญญัติว่า การใช้สิทธิ ซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่ง มีมาตรฐานเช่นเดียวกับหลักการสากลข้างต้น อันแสดงว่าประเทศไทยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน มีกฎหมาย ที่ความก้าวหน้าทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ เพียงแต่ภายใต้ระบอบการปกครองบ้านเมืองที่แตกต่างกัน
/ ทุก ...
ทุกประเทศจึงควรที่จะต้องให้เกียรติเคารพในความต่างที่เป็นจุดแข็งทาง
วัฒนธรรมและสังคมของแต่ละประเทศ
หากผู้วิจารณ์คนใดยังศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ไม่ลึกซึ้งถึงแก่นแท้
หรือมีข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วนเพียงพอ ไม่เข้าใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี
สังคมประเทศใดแล้ว
การแสดงความเห็นว่าศาลหรือกระบวนการยุติธรรมของประเทศอื่นในทำนองห่วงใยว่า
จะไม่มีมาตรฐานสากลนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง
และหมิ่นเหม่ต่อการกล่าวหากันอย่างไม่เป็นธรรม
อาจทำให้คิดไปว่าผู้วิพากษ์เจือปนด้วยอคติที่ผิดหลงมีวาระซ่อนเร้น
ประเทศไทยมีเอกราชทางการปกครองและการศาลมาช้านาน
และประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขข้อห้า กฎหมายทุกฉบับออกหรือตราขึ้น โดยฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นผู้แทนมาจากปวงชนชาวไทย สามารถแก้ไขปรับปรุงและยกเลิกได้ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าล้าสมัยไม่เหมาะสม ศาลเป็นเพียงผู้ใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ที่สภานิติบัญญัติตราขึ้น มีกฎหมายหลายฉบับเขียนให้ศาลแทบใช้ดุลพินิจไม่ได้หรือ ต้องลงโทษสถานหนักในบางข้อหาเช่น ผลิตนำเข้ายาเสพติดให้โทษประเภท 1 แม้เพียง 1 เม็ดหรือ ข้อหาฆ่าบุพการี ต้องประหารชีวิตสถานเดียว เป็นต้น แม้การแก้ไขยกเลิกกฎหมายจะกระทำได้ก็ตาม แต่ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน ความสงบเรียบร้อยของสังคมและผลกระทบข้างเคียงอื่นที่ อาจตามมาด้วย อย่าให้อารมณ์หรือกระแสแห่งการปลุกปั่นยั่วยุชักจูงไปในทางที่เสียหายได้
คดีอากงเป็นแค่ปฐมบทในการพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย ตามครรลองแห่งเสรีภาพที่กฎหมายเปิดช่องไว้ตราบใดที่คดียังไม่ถึงที่สุด การด่วนรวบรัดตัดความกล่าวโทษบุคคลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่รักษากติกาสังคม อาจยังไม่เป็นธรรมนัก อย่างไรก็ตาม คนทุกชาติ ทุกภาษา ต่างหวงแหนรักในแผ่นดินเกิดของตนเองเคารพและศรัทธาในศาสดาที่เป็นผู้นำ ทางศาสนาของตนเอง ความแตกต่างทางความคิดเชื้อชาติศาสนาการปกครองบ้านเมืองศิลปวัฒนธรรม ประเพณี มิใช่สิ่งผิดปกติ ในสังคมโลก แต่การกล่าวร้ายใส่ความ แสดงความอาฆาตมาดร้ายศาสดาของศาสนาอื่น เป็นพฤติการณ์ที่ ผู้เจริญมิสมควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะน้ำผึ้งหยดเดียวอาจกลายเป็นความหายนะของชาติได้ ดังนั้น หากท่านผู้อ่านอยากรู้ปัจจุบันและอนาคตของชาติใด ขอจงศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศนั้น สำหรับชาติไทยดำรงคงเอกราชมีเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย เป็นที่ชื่นชมยกย่องของคนทุกชาติทุกภาษา เพราะผู้คนในสังคมไทยยังมีความรักสามัคคี มีน้ำใจ เอื้ออาทรผ่อนปรนเข้าหากัน ไม่ก้าวร้าวรุนแรง โดยขาดสติไร้เหตุผลรักหวงแหน เทิดทูนในชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์จากรุ่นสู่รุ่น และปลูกฝังถ่ายทอดเป็นมรดกสู่ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน หากคนไทยยังรักและภูมิใจในแผ่นดินเกิด ขอได้โปรดช่วยกันรักษาสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ การจะติชมวิพากษ์เป็นเสรีภาพที่กระทำได้ ขอเพียงมีจิตเป็นกลาง ไม่มีอคติ และบนฐานคติที่สร้างสรรค์ พึงอย่าได้ใช้สิทธิส่วนตนเกินส่วนจนเกินขอบเขตก้าวล้ำสิทธิเสรีภาพผู้อื่น อย่าได้แสดงความพยาบาทอาฆาตมาดร้าย ประหัตประหารด้วยอาวุธ
/ ลมปาก ...
ลมปากและความเท็จต่อผู้อื่น
โดยอ้างเหตุผลทางการเมืองหรือเหตุอื่นมาสร้างความชอบธรรมแก่ตนเอง
อย่าให้ลูกหลานในอนาคตเหลือแค่ความทรงจำแห่งความภาคภูมิในอดีตบนซากปรักหัก
พังของชาติไทย
ที่ผองชนรุ่นปัจจุบันได้ทำลายล้างไปอย่างตั้งใจและมิได้ตั้งใจสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ
โฆษกศาลยุติธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น