เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา คดีปล้นบ้านนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม
ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ผู้ต้องหาเพิ่มเติมอีก 4 ราย
พร้อมกับสามารถยึดเงินสดของกลางได้เพิ่มเติมอีก จำนวน 13,701,000 บาท
หลังเกิดเหตุตำรวจสามารถยึดเงินสดของกลางคืนมาได้แล้วทั้งหมด 16,523,000
บาท จากข้อมูลที่จำเลยระบุว่าภายในบ้านหลังนี้มีเงินซุกซ่อนอยู่ถึง 165
ล้านบาท สร้างความตระหนกตกใจให้กับผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก
และน่าจะเป็นคดีแรกๆ
ของเมืองไทยที่ผู้คนรู้สึกสะใจและเห็นด้วยกับการปล้นในครั้งนี้
ในสังคมโลกออนไลน์ชื่นชมในวีรกรรมของผู้ร้ายมากกว่ารู้สึกเห็นใจท่านปลัดฯ
ที่ถูกปล้นและต้องสูญเสียเงินไปเป็นจำนวนมาก บางคนก็บอกว่านี่คือมหกรรม
“โจรปล้นโจร” ทำไมความรู้สึก ความคิดของผู้คนในสังคมจึงเป็นเช่นนั้น
คำตอบเดียวที่เป็นความรู้สึกร่วมของสังคมไทยมาตลอดนั่นก็คือ
สังคมไทยเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชัน
การทุจริตคอร์รัปชันที่กำลังกลายเป็นเรื่องปกติของสังคมไทย....
นี่อาจจะเป็นการโกงกินทุจริตคอร์รัปชันในรูปแบบปกติของการได้มาของเงินจำนวน
มาก ที่ไม่สามารถแจงที่มาที่ไปของเงิน
ดังนั้นเงินที่ได้มาจากค่าจ่ายใต้โต๊ะ ค่าหัวคิวจากผู้รับเหมา
หรือเงินค่าซื้อตำแหน่งหน้าที่จากบรรดาข้าราชการที่ต้องการ
การเจริญเติบโตในตำแหน่งหน้าที่
หรือจากนักธุรกิจที่ต้องการผลประโยชน์จากงบประมาณของรัฐด้วยวิธีการที่ไม่
ชอบธรรม ไม่ตรงไปตรงมา
ซึ่งก็ต้องแบ่งผลประโยชน์ที่ตัวเองได้รับไปให้แก่ผู้ที่มีอำนาจในการอนุมัติ
ในการรับเหมา จัดซื้อจัดจ้าง
การตรวจงานรับมอบงานหรือผู้เซ็นเช็คเบิกงบประมาณ
พฤติกรรมดังกล่าวมีตั้งแต่ในระดับกระทรวงทบวงกรม
องค์กรปกครองท้องถิ่นตั้งแต่ระดับใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร
ลงไปถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัดและเล็กสุดอย่าง
อบต.ต่างก็อยู่ในวังวนวงจรอุบาทว์นี้อย่างเสมอหน้ากัน
ภาพที่สังคมไทยคุ้นชินก็คือการแห่แหนกันของข้าราชการ
ไปต้อนรับขับสู้ผู้บังคับบัญชากันเต็มสนามบิน
ทิ้งหน้าที่การงานไว้เบื้องหลัง ไม่ว่าในวงการตำรวจ ฝ่ายปกครอง ฯลฯ
ที่น่าอนาถก็คือลุกลามไปถึงข้าราชการครู
ที่ตัวเองมีหน้าที่จะต้องอยู่กับลูกศิษย์ลูกหาในโรงเรียน
การจัดเลี้ยงมอบของขวัญรางวัลในโอกาสต่างๆ
ของทั้งเหล่าข้าราชการชั้นผู้น้อยและบรรดานักธุรกิจที่ล้วนมีเป้าหมายในผล
ประโยชน์ที่ตนจะได้รับแทบทั้งสิ้น
ภาพของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ยืนรับมอบเงินช่วยเหลือจากผู้บริหารบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานอ
ย่างเชฟรอนเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา
ก็พูดได้ว่าเป็นการติดสินบนรูปแบบหนึ่งที่เนียนและซ่อนรูปได้อย่างสวยงาม
ที่พูดดังนี้ก็เพราะว่าบริษัทเชฟรอนได้เข้ามาเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในด้าน
พลังงานในพื้นที่อาณาจักรของประเทศไทย
ที่จะต้องได้รับการเอื้อผลประโยชน์ให้กับทางบริษัท
ซึ่งต้องใช้อำนาจรัฐเป็นใบเบิกทางในการอนุมัติในการให้สัมปทาน ภาพที่นายกฯ
ยืนฟังนางฮิลลารี คลินตัน รมต.ต่างประเทศของสหรัฐฯ
กล่าวชื่นชมบริษัทเชฟรอนด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม
สะท้อนให้เห็นว่าแหล่งพลังงานของชาติทั้งก๊าซและน้ำมัน
ไม่มีทางที่จะหลุดไปจากเงื้อมมือของทุนต่างชาติมหาอำนาจนี้ไปได้
เพราะขนาดรัฐมนตรีต่างประเทศของเขายังมาทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้กับบริษัท
ด้วยตัวเอง
เรามาทำความรู้จักกับเชฟรอนกันอีกครั้งก็ได้
บริษัทเชฟรอนได้ทำการผนวกรวมกิจการกับยูโนแคลไทยแลนด์เมื่อเดือนสิงหาคม
2548 เป็นผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติชั้นนำของประเทศไทย
ขณะนี้มีแท่นที่ดำเนินการผลิตปิโตรเลียมมากกว่า 180 แท่นในอ่าวไทย
ซึ่งผลิตน้ำมันดิบได้ประมาณ 90,000 บาร์เรลต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลว
(คอนเดนเสท) 46,000 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติอีกกว่า 1,600
ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ปัจจุบันเชฟรอนมีแปลงสัมปทานครอบคลุมพื้นที่ทั้งสิ้นมากกว่า 20,000
ตารางกิโลเมตรในอ่าวไทย นอกจากนี้ เชฟรอนยังถือหุ้นร้อยละ 16
ในแหล่งก๊าซอาทิตย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมนวมินทร์อีก
ด้วย
“ถึงวันนี้บริษัทนี้ดูดพลังงานของคนไทยไปคิดเป็นมูลค่ากว่า 1
ล้านล้านบาท
น้ำมันและก๊าซธรรมชาติในแผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลมีมูลค่าถึง 100
ล้านล้านบาท ตลอดระยะเวลา 25 ปี เฉลี่ยแล้วคนไทยได้รับผลประโยชน์ปีละ
17,320 ล้านบาท และข้อมูลจากบริษัทเชฟรอนประเทศไทยพบว่า ในปี 2550
บริษัทเชฟรอนถือส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติถึง 66% และ 68%
ที่มีการผลิตในประเทศไทย ช่วงระยะเวลา 45 ปีบริษัทจ่ายค่าภาคหลวง 515,235
ล้านบาท
ถ้าคำนวณกลับไปโดยใช้ฐานที่บริษัทต้องจ่ายค่าภาคหลวงร้อยละ 12.6%
ของรายได้ จะพบว่าบริษัทนี้มีรายได้ทั้งหมด 1.247 ล้านล้านบาท
และมีกำไรจากการดำเนินการประมาณ 3.9 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 77%
ของเงินลงทุนทั้งหมด” (ประสาท มีแต้ม
ปิโตรธิปไตย) ประเทศไทยมีแหล่งก๊าซ/น้ำมันอยู่มหาศาล
แต่เราต้องซื้อน้ำมันราคาแพง
เพราะนักการเมืองเอาแหล่งปิโตรเลียมซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวมไปสัมปทานให้กับ
บริษัทต่างชาติจนหมดสิ้น
การมอบเงินให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยในกรณีอุทกภัยเพียง 30
ล้านบาทของบริษัทเชฟรอน ในทางจิตวิทยาสังคม มองว่าเป็นเงินก้อนโต
ที่ควรได้รับการขอบคุณ
แต่เมื่อเรามาดูข้อเท็จจริงจากผลกำไรของบริษัทที่ได้ผลประโยชน์ไปจาก
ทรัพยากรของชาติไทยไปถึง 1.247 ล้านล้านบาท เงิน 30
ล้านบาทจึงเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อย
แต่สิ่งที่บริษัทเชฟรอนจะได้ไปก็คือการคงไว้ซึ่งสัญญาสัมปทาน
ที่ไม่ต้องมีการรื้อฟื้นสัญญาผลตอบแทนที่รัฐไทยควรจะได้รับ
ไม่ว่ากรณีภาษีเงินได้หรือค่าภาคหลวงที่คงไว้เพียงร้อยละ 12.6%
ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เขาคิดในอัตราก้าวหน้าจากผลของการผลิตกันหมดแล้ว
หยั่งงี้ ..จะไม่ให้เรียกว่าการติดสินบนซ่อนรูปแล้วจะให้เรียกว่าอะไร?
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น